วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 04:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2021, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จัดได้ว่าเป็นสมาบัติ
จำพวกเสวยผล มิใช่ประเภททำกิจสมาบัติที่ต่ำกว่านั้น คือตั้งแต่อากิญจัญญายนะลงไป
จึงจะใช้ได้ทั้งสำหรับเสวยผลและทำกิจ ทั้งนี้ เพราะยังมีสัญญาและธรรมอื่น ๆ
ที่ประกอบร่วมอยู่ชัดเจนพอ ดังที่ท่านเรียกอากิญจัญญายตนะว่า
เป็นยอดแห่งสัญญาสมาบัติ(ขุ.จู.๓๐/๒๖๐/๑๓๔; และพึงดู สํ.นิ ๑๖/๓๕๔/๑๘๑;
สํ.อ.๒/๑๗๑; องฺ.อ.๓/๓๕๓ ประกอบด้วย คือสมาบัติชั้นสูงที่ใช้ทำกิจได้ (ที.อ.๑/๔๒๔

เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภาวะที่ละเอียดเกินไป จนเรียกว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ดังกล่าวแล้วข้างบน และมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าสังขารวเสสสมาบัติ แปลว่า
สังขารสักว่าเหลืออยู่ หรือเรียกอย่างง่ายๆ ว่าสมาบัติเศษสังขาร เพราะมีสังขาร
ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ละเอียดที่สุด ตามปกติถือว่าไม่ชัดพอ หรือไม่หยาบพอที่จะทำกิจของวิปัสสนา

ไม่ต้องพูดถึงอยู่ในสมาบัติ แม้แต่ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว จะกลับมายกองค์ธรรมต่างๆ
ที่มีในสมาบัตินี้มาพิจารณา ก็แทบจะไม่มีผู้ใดทำได้ เว้นแต่ปัญญาของพระสารีบุตรขึ้นไป
และแม้แต่พระสารีบุตรเอง ก็พิจารณาแบบเหมารวม ที่รวมเป็นกลุ่มอย่างที่เรียกว่ากลาป
วิปัสสนา อย่างเดียว มีแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ที่จะกำหนดองค์ธรรมแยกออกมา
พิจารณาเป็นรายข้อตามลำดับคือทำอนุปทธรรมวิปัสสนาได้(ดู ม.อุ.๑๔/๓๒/๓๒; สํ.นิ.๑๖/
๓๕๔/๑๘๑;ที.อ. ๑/๔๒๓; ม.อ.๓/๔๙๘; สํ.อ.๒/๑๗๑;สงฺคณี อ.๓๒๗-๓๓๐;วิสุทธิ.๒/๑๔๖-๑๔๘;
วิสุทฺธิ.ฎีกา ๒/๑๖๘.๑๗๔)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2021, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นบาทหาเหมือนกับเอาฌาน
สมาบัติอื่นๆ เป็นบาทไม่ คือไม่ใช่ตัวทำกิจที่แท้จริง
ที่กล่าวมานี้ เห็นได้ชัดในเข้านิโรธสมาบัติ ท่านชี้แจงให้เห็นว่า
สมาบัติที่เป็นขั้นทำการ ก็คืออากิญจัญญายตนะ ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนะ
แม้จะเป็นขั้นตอนที่จำเป็น แต่ก็มีสภาพคล้ายเป็นทางผ่านเท่านั้น(ที.อ.๑/๔๒๔)

ผู้ใดจะเข้านิโรธสมาบัติ แม้เข้าสมาบัติผ่านมาโดยลำดับจนถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว แต่ในตอนที่ผ่านจากอากิญจัญญายตนะ
ก่อนเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ได้ทำบุพกิจ คือไม่เตรียมทำจิต
ให้พร้อมที่จะเข้านิโรธไว้ ก็มิอาจเข้านิโรธสมาบัติได้ และเมื่อ
เข้านิโรธไม่สำเร็จ ก็ต้องถอยกลับไปอยู่ในอากิญจัญญายตนะ
มิใช่อยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ(วิสุทฺธิ๓/๓๖๙; พึงนำเหตุผลเกี่ยวกับ
การที่มรรคซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาเนวสัญญานาสัญญยตนสมาบัติ
ไม่เป็นเหมือนเนวสัญญานาสัญญยตนะโดยสิ้นเชิง ใน สงฺคณี.อ.๓๕๘
มาประกอบการพิจารณาด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุผลเหล่านี้ พอให้ลงสันนิษฐานได้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัติเป็นภาวะจำเพาะตัว
เป็นจุดจำเพาะแห่งการเสวยผลของมันเองล้วนๆ เมื่อออกจากสมาบัตินี้ ก็เป็นการออกมาเลย
พูดโดยนิปริยายว่า ไม่มีภาวะจิตสืบเนื่องในระดับนี้ ในการเจริญวิปัสสนา เมื่อออกจากเนวสัญญา
นาสัญญายตนะมาพิจารณาสังขารธรรม ก็มิใช่ออกเพียงเพื่อเปลี่ยนอารมณ์เหมือนอย่างออก
จากฌานสมาบัติข้ออื่น (ความจริง เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ไม่มีอารมณ์ของมันเอง
ด้วยซ้ำ คนที่จะเข้าสมาบัติข้อนี้ กำหนดเอาอากิญจัญญายตนะนั่นเองเป็นอารมณ์ เพื่อจะก้าว
ล่วงไปเสีย เมื่อก้าวล่วง คือปล่อยหรือผละจากอารมณ์นั้นได้จึงเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่าเป็นเนวสัญ
ญานาสัญญายตนสมาบัตินี้ เช่น ที.ปา. ๑๑/๓๕๕/๒๘๐; อภิ.วิ. ๓๕/๕๙๙/๓๓๐; สงฺคณี อ.๓๓๐;
วิสุทฺธิ.๒/๑๔๔-๑๕๑) แต่เป็นการออกมาสู่ภาวะจิตในระดับของสมาบัติที่รองลงมา คืออากิญจัญ
ญายตนะ จึงนับว่าเป็นการออกจากสมาบัติ ชนิดที่มีความหมายครบถ้วน ทั้งโดยปริยายและโดย
นิปริยาย สำนวนพระสูตรจึงบรรยายความตอนนี้ว่า “ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น”
แล้วพิจารณาสังขารธรรมทั้งหลาย

แม้ว่าโดยหลักการทั่วไป อาจพูดได้ว่า “ทำเนวสัญญานาสัญญายตนะให้เป็นบาทของวิปัสสนา”
(แต่ความจริง คำที่กล่าวจำเพาะเจาะจงลงไปอย่างนี้ ยังไม่พบเลย) คำว่าเป็นบาทในที่นี้ ก็จะ
มีความหมายเพียงว่า ได้ผ่านการเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะออกมาแล้ว ซึ่งก็ย่อมจะช่วยทำ
ให้จิตประณีตสนิทมากขึ้นอีก แต่ก็จะต้องถือว่า ภาวะจิตที่ใช้เจริญวิปัสสนาเวลานั้น เป็นอัป
ปนาสมาธิ ระดับอากิญจัญญายตนะอยู่นั่นเอง (พึงระลึกไว้ด้วยว่า สมาธิในอรูปฌานทั้งหมด
ล้วนเป็นระดับจตุตถฌานทั้งสิ้น มีข้อพิเศษเพียงว่า เป็นภาวะที่ประณีต ห่างไกลจากปัจจนีก
ธรรมคือสิ่งรบกวนออกไปมากขึ้นเท่านั้น – ดู อภิ.สํ. ๓๔/๑๙๒/๗๘; ที.อ.๑/๔๔๑; ๒/๑๔๖;
วินย.ฏีกา ๒/๔๕๘)

ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นข้อที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นสมาบัติสำหรับเสวยผลแท้ๆ และไม่อาจ
เจริญวิปัสสนาภายในสมาบัติได้ เพราะไม่มีสัญญาและเวทนา รวมทั้งขันธ์อื่นๆ อันประกอบร่วม
ที่จะใช้กำหนดพิจารณาได้ ยิ่งกว่านั้นยังมีภาวะพิเศษจากฌานสมาบัติอื่นๆ ทั้งหมด คือ เป็นแต่
สมาบัติอย่างเดียว ไม่เป็นสมาธิ (วิภงฺค.อ.๖๐๕) จึงเป็นการแน่นอนว่า ต้องออกจากสมาบัติ
ก่อน จึงเจริญวิปัสสนาได้

เมื่อออกจากสมาบัตินี้แล้ว จะเจริญวิปัสสนา ก็ควรมาอยู่ในภาวะจิตที่เป็นสมาธิในระดับ
สูงสุดที่จะใช้ทำกิจได้ กล่าวคือ อากิญจัญญายตนะ(หรือจะลงไปใช้ภาวะจิตระดับต่ำลงไป
แม้จนถึง ขณิกสมาธิซึ่งไม่ใช้กำลังฌานสมาบัติเลยก็ย่อมได้ เพราะผู้ที่ได้สมาบัติที่สูงกว่า
ย่อมมีสิทธิในสมาบัติที่ต่ำลงมากว่านั้นเป็นธรรมดา)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสมาบัติสูงสุดข้อนี้จะใช้เจริญวิปัสสนาเองโดยตรงไม่ได้ แต่การเข้าสมาบัติ
นี้ก็ย่อมช่วยเสริมคุณสมบัติของจิตให้ประณีตสนิทยิ่งขึ้น มีผลดีต่อการปฏิบัติธรรมเป็นอันมาก
ดังได้กล่าวไว้แล้วในตัวบทข้างต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2021, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปคือมันละเอียดเกินไปจนพิจารณาไม่ได้นั่นเอง


แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับความคมของปัญญาของแต่ละบุคคล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2021, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
สรุปคือมันละเอียดเกินไปจนพิจารณาไม่ได้นั่นเอง


แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับความคมของปัญญาของแต่ละบุคคล


ก็นัยนั้นแหละครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2021, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




SmartSelectImage_2021-06-15-05-36-30-removebg-preview.png
SmartSelectImage_2021-06-15-05-36-30-removebg-preview.png [ 40 KiB | เปิดดู 620 ครั้ง ]
บันทึกที่ ๔: ขณะจิตที่บรรลุมรรคผล
ตามหลักที่ว่า ในขณะที่บรรลุอริยมรรค แม้แต่ผู้ที่มิได้ฌานมาก่อน จิตก็จะเป็นสมาธิถึงขั้นอัปปนา คือถึงระดับฌานในเรื่องนี้ สำหรับผู้มีพื้นความรู้ด้านอภิธรรม พึงดูลำดับกระบวนการทำงานของจิตในตอนบรรลุมรรคผล (อัปปนาชวนวารแห่งมรรควิถี) ของพระวิปัสสนายานิก ตามนัยที่ท่านแสดงไว้ในอุ.อ.๔๒; ปฏิสํ.อ.๓๒; สงฺคณี.อ.๓๕๙; วิสุทฺธิ.๓/๓๑๖, ๓๒๔; สงฺคห.๒๒) ดังที่ถอดความออกเป็นแผนผังได้ ดังนี้( ดูภาพข้างบนประกอบ)

(สังขารุฯ = สังขารุเบกขาญาณ ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณข้อที่ ๘; มโนทฯ = มโนทวาราวัชชนะ; อนึ่ง ปฏิส.อ.๓๒ และสงฺคณี อ.๓๕๙ ได้แสดงเพิ่มจากนี้อีกแบบหนึ่ง โดยมีอนุโลม ๒ ขณะ และมีผลจิตขณะเดียว แต่มีคำคัดค้านใน วิสุทธิ.๓/๓๒๔)

ส่วนลำดับจิตของสมถยานิกอาจแสดงคร่าวๆ ได้ดังนี้ (ตอนมรรควิถีเหมือนข้างบน จึงไม่แสดงรายละเอียด)

ภวังค์ ------> ฌานวิถี ------> ภวังค์------> วิปัสสนาวิถี ------> ภวังค์ ------> มัคควิถี ----->ภวังค์

(วิปัสสนาวิถีนี้ เป็นการแสดงแบบคลุมๆ ความจริง มีการตกภวังค์ได้แล้วๆ เล่าๆ ในระหว่าง)

หลักการที่ว่าจิตที่บรรลุมรรคผลต้องเป็นอัปปราสมาธินี้ เมื่อมองอย่างกว้างๆ ทำให้เกิดความคิดว่า ความรู้ความเข้าใจหรือความหยั่งรู้หยั่งเห็น ที่จะแจ่มแจ้งชัดเจนและแล่นลึก ถึงขั้นเปลี่ยนแปลงพื้นจิตของคนได้ กำจัดกิเลส เปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพได้นั้น จะต้องเป็นประสบการณ์ภายในชนิดเต็มทั่วหมดทั้งจิตทั้งใจ หรือโพลงทั้งชีวิตทีเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร