วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 09:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2021, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




isolated-2440380__340.png
isolated-2440380__340.png [ 286.67 KiB | เปิดดู 2595 ครั้ง ]
มักมีผู้สงสัยว่า ในฌานเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่
หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใด ๆ ได้หรือไม่ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้
มักอ้างเรื่ององค์ฌาน ในปฐมฌาน มีวิตก วิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง
แต่พอฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียงปิติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร

ความจริงองค์ฌานเป็นตัวองค์ประกอบ ที่เป็นเกณท์ตัดสินว่า
ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใบ่หมายความว่า
ในฌานในองค์ธรรมเพียงเท่านั้นไม่ อันที่จริงนั้น ในฌานมีองคฺธรรมอื่นๆ อีกมากมาย
ดังที่ท่านบรรยายไว้ในพระสูตร และพระอภิธรรม เช่น ม.อุ.๑๔/๑๕๘/๑๑๘
กล่าวถึงฌาน ตั้งแต่ปฐมฌาน ถึงอากิญจัญญายตนะ ทุกชั้นมีองค์ธรรม
เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น

ใน อภิ.สํ ๓๔/๑๓๙/๔๔-๒๗๔/๑๘๐ แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ
โดยเฉพาะในฌานที่เป็นโลกุตระ (สงฺคณี อ.๓๓๖ ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)
มีทั้งอินทรีย์ ๕ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มีองค์มรรคครบทั้ง ๘
มีทั้งสมถะและวิปัสสนา และองค์ธรรมอื่นอีกมาก (อภิ.สํ.๓๔/๑๙๖/๘๓)
วินย.ฏีกา๒/๒๗๑ และวิสุทฺธิฎีกา๑/๒๕๔ ขยายความหมายของข้อความอย่างที่พบ
ในปฏิสํ อ.๑๕๙:วิสุทฺธิ ๑/๑๙๐ และนิท.อ. ๑/๑๖๔ ให้เห็นชัดว่าสมาธิและปัญญา
เกิดขึ้นได้โดยธรรมควบคู่กันในฌานจิต

ส่วนที่ว่าเมื่อไม่มีวิตกไม่มีวิจาร จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไรนั้น
พึงเข้าใจว่า ที่ไม่มีวิตกและวิจาร ก็เพราะจิตตั้งมั่น มีกำลังแน่วแน่เป็นอย่างมากแล้ว
จึงไม่ต้องคอยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์(วิตก)ไม่ต้องประคองจิตให้เคล้าอยู่กับอารมณ์(วิจาร)
ต่อไปอีก จึงยิ่งทำงานพิจารณาได้ดียิ่งขึ้นกว่ามีวิตกวิจาร

ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์(วิสุทธิ๓/๒๐๖)แสดงวิธีเจริญวิปัสสนาว่า"บุคคลที่เป็นสมถยานิก)
ออกจากฌานใดฌานหนึ่งในบรรดารูปฌานและอรูปฌานทั้งหลาย เว้นแต่เนวสัญญา
นาสัญญายตนะแล้วพึงกำหนดพิจารณาองค์ฌานทั้งหลาย มีวิตก เป็นต้น และธรรม
ทั้งหลายประกอบร่วมกับองค์ฌานนั้น โดยลักษณะและรสเป็นอาทิ" คำอธิบายที่ว่า"
ออกจากฌานแล้ว พึงกำหนดนั้น"มองแง่หนึ่งอาจถือว่าเป็นเพียงแสดงตัวอย่างวิธีปฏิ
บัติแบบหนึ่งเพราะในฏีกาที่อธิบายความตอนนี้เอง(วิสุทฺธิ ฎีกา๓/๓๙๘) ได้ไขความไว้ว่า
"คำว่าสมถยานิก เป็นชื่อของผู้ดำรงในฌาน หรือในอุปจาระเพ่งฌานบำเพ็ญอยู่ซึ่งวิปัสสนา"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2021, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ว่า การบำเพ็ญวิปัสสนา จะอยู่ในฌาน
หรือออกฌานก่อนแล้วจึงทำก็ได้ หรือว่าอยู่ในฌานทำไม่ได้ จะต้องออกจากฌานเสียก่อน
จึงจะทำได้นี้ ดูเหมือนว่า อรรถกถาฎีกาทั้งหลายยังขัดแย้งกันอยู่บ้าง

หลักฐานที่กล่าวถึงการบำเพ็ญวิปัสสนาในฌาน นอกจาก องฺ อ.๓/๓๕๒
และวิสุทฺธิ.ฎีกา ๓/๓๙๘ แล้วได้พบอีกเพียงอย่างเดียวคือ ที.อ. ๒/๑๔๓
ซึ่งกล่าวถึงพระอรหันต์ปัญญาวิมุตว่า"ปัญญาวิมุตมี ๕ อย่าง คือ
พระสุกขวิปัสสก ๑ และท่านที่ดำรงอยู่ในฌาน ๔ ฌานใดฌานหนึ่งมีปฐมฌาน เป็นต้นบรรลุ
อรหันตผล(อีก ๔)"

หลักฐานนอกนี้ ล้วนแสดงการปฏิบัติแบบออกจากฌานก่อนเป็นพื้น เฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อบรรยายวิธีบำเพ็ญวิปัสสนาโดยตรง จะมีข้อความทำนองเดียวกันว่า "เข้าฌาน ออกแล้ว
กำหนดองค์ฌาน และธรรมที่ประกอบร่วมกับฌานนั้น" หรือ
เข้าฌาน ออกจากสมาบัติแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย หรือ "ออกจากฌานสมาบัติแล้ว
พิจารณาสมาปัตติธรรม "หรือ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานธรรม" เป็นต้น
(ดู วินย.อ.๑/๕๒๕,๕๒๙,ที.อ.๒/๔๘๒; ม.อ. ๑/๓๔๓; สํ.อ.๓/๓๘๒; องฺ.อ. ๒๒/๑๓;
สุตฺต.อ. ๒/๕๑๑; นิทฺ อ.๒/๒๔๗,๓๓๘; วิสุทธิ.๒/๗๔; ๓/๓๑๓; ฯลฯ) หลักฐานนี้ แสดง
ให้เห็นว่ามติทั่วไปของอรรถกถา ถือว่าถ้าเข้าฌานแล้วจะต้องออกจากก่อน จึงจะบำเพ็ญวิปัสสนาได้

ข้อขัดแย้งกันเช่นนี้ จะยุติอย่างไร ไม่ปรากฏคำชี้แจงโดยตรงในอรรถกาหรือฎีกา
และยากที่จะค้นคำอธิบายออกมาได้ แต่ก็หาข้อประนอมได้ โดยเก็บเหตุผลที่ต่างๆ
มาเชื่อมต่อกัน ดังต่อไปนี้ คำบรรยายวิธีบำเพ็ญวิปัสสนาโดยออกจากฌานแล้วพิจารณา
สังขารนั้นได้แบบจากคัมภีร์ขั้นรองในพระไตรปิฎกนั้นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ใน
คัมภีร์ ขุ.สุ. ๒๕/๔๓๘/๕๔๘
มีข้อความสั้นๆ ตอนหนึ่งว่า "บุคคลรู้จักกรรมที่ปรุงแต่งให้เกิด อากิญจัญญายตนะว่า
มีนันทิเป็นสังโยชน์ ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้ว แต่นั้นย่อมเห็นแจ้ง(=บำเพ็ญวิปัสสนา)
ในอากิญจัญญายตนะนั้น ข้อความท้ายที่ว่า"แต่นั้นย่อมเห็นแจ้งในอากิญจัญญายตนะนั้น"
คัมภีร์จูฬนิทเทส ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นรองในพระไตรปิฎก(ขุ.จู.๓๐/๔๘๗/๒๓๓)
อธิบายขยายความออกมาว่า "หมายความว่าบุคคลนั้นเข้าอากิญจัญญายตนะแล้ว
ออกจากอากิญจัญญยตนะแล้ว เห็นแจ้ง(ทำวิปัสสนา) ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย
ซึ่งเกิดในอากิญจัญญายตนะนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์...
(ในอรรถกถาของคัมภีร์ทั้งสองนี้ คือ สุตฺต.อ.๒/๕๒๓; นิทฺ.อ.๒/๒๙๘ ก็มี
คำอธิบายทำนองเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2021, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำอธิบายเรื่องนี้ ในคัมภีร์ชั้นรองก็ดี ในคัมภีร์อรรถกถาฏีกาก็ดี
ล้วนจัดได้ว่าเป็นแนวพระอภิธรรมทั้งสิ้น ธรรมดาว่าคัมภีร์สายพระอภิธรรมนั้น
ย่อมพยายามวิเคราะห์ธรรมทั้งหลายออกไปอย่างละเอียด เมื่อธิบายเรื่องจิต
ก็วิเคราะห์ออกไปเป็นขณะ ๆ แสดงให้เห็นการทำงานของจิตโดยสัมพันธ์กับอย่างอื่น
เช่น การเกี่ยวข้องกับอารมณ์ เป็นต้น ในกรณีที่จะอาศัยฌานเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนานี้
ขณะอยู่ในฌานสมาบัติแท้ ๆ ยังทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะอารมณ์ของฌานนั้นอย่างหนึ่ง
ส่วนอารมณ์ของวิปัสสนาเป็นอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง ขณะอยู่ในฌาน จิตแนบอยู่กับ
อารมณ์ของฌานการพิจารณาสังขารด้วยจิตเดียวกับจิตที่เข้าสมาบัติ เป็นสิ่งที่ไม่
อาจทำได้(องฺ.อ๒/๔๔๗)ดังนั้นจึงต้องออกจากอารมณ์(ของฌาน)เสียก่อน
(วินย.อ.๑/๒๖๙) เพื่อจะได้เปลี่ยนอารมณ์ใหม่ ซึ่งก็หมายความว่า ต้องออกจากฌานนั่นเอง

การออกจากฌานนั้น ก็ไม่มีอะไรมากเพียงให้กระแสจิตซึ่งแนบอยู่กับในอารมณ์ของ
ฌานนั้นขาดตอนลงเสีย ด้วยการตก ภวังค์ การที่จิตตกภวังค์นั้นเอง คือการออกจาก
ฌาน(ม.อ.๒/๔๐; องฺ.อ.๓/๑๗๐,๓๗๔;วิภงฺค.อ.๖๐๕;
วินย.ฎีกา ๒/๓๕๙;๔/๑๓๗;วิสุทฺธิ.ฎีกา๑/๒๖๓)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2021, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อออกจากฌานแล้วในกรณีนี้ จิตก็ขึ้นสูวิถีอีกทันที และด้วยอิทธิพลของฌานสืบเนื่องมา
จิตก็แนบแน่นเป็นอัปปนาสมาธิต่อไปอีก (ไม่ได้หมายความว่า เมื่อออกฌานสมาบัติแล้ว

จิตจะมาสู่สภาพวุ่นวายหรือหวั่นไหวตามปกติอย่างที่เข้าใจกันไป) บุคคลนั้น
ดำรงอยู่ในอัปปนา หรือใช้จิตที่เป็นอัปปนาสมาธินั่นเอง(วิสุทฺธิ๑/๒๓๙; ๒/๑๙๕)
เจริญวิปัสสนา โดยกำหนดองค์ฌานทั้งหลาย(หรือจะพูดให้กว้างเพื่อควบคุมธรรมอย่างอื่น
ที่มีอยู่ในฌานทั้งหมดก็ว่าพิจารณาฌานธรรม ฌานสัมปยุตตธรรม สมาปัตติธรรม

สมาปัตติสัมปยุตตธรรม จิตและเจตสิกที่เกิดในฌาน หรือพิจารณาสังขารทั้งหลาย
ก็ได้ทั้งสิ้น ในฌานหรือสมาบัติที่ตนเพิ่งออกมานั้น จนเห็นไตรลักษณ์
(เรียกว่า กำหนดองค์ฌาน ฯลฯ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา)สมาธิที่มั่นคงขึ้นด้วยการ
ได้ฌานสมาบัติแล้วนี้

จะช่วยให้การบำเพ็ญวิปัสสนาสะดวก คล่อง สำเร็จผลง่ายมากขึ้น
ยิ่งได้อภิญญาแล้วด้วยยิ่งดี(วิสุทฺธิ. ๒/๑๙๗)ข้อนี้ นับว่าเป็นส่วนดี
หรือเป็นคุณค่าพิเศษของการเจริญสมุะก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง

การปฏิบัติวิปัสสนาด้วยการเข้าฌานสมาบัติก่อน เมื่อออกจากฌานสมาบัติแล้ว
จึงใช้จิตที่เป็นสมาธิแข็งกล้าสืบต่อมาจากกำลังฌานนั้น กำหนดพิจารณา
สังขารดังที่กล่าวมานี้ อรรถกถาบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเรียกว่า
เจริญวิปัสสนาที่มีฌานเป็นบาท หรือทำฌานให้เป็นบาทของวิปัสสนา
(หรือทำฌานสมาบัติให้เป็นบาทของวิปัสสนา) และฌานสมาบัตินั้น
เรียกว่า ฌานที่เป็นบาทของวิปัสสนา หรือสมาบัติที่เป็นบาทของวิปัสสนา
หรือฌานจิตที่เป็นบาทของวิปัสสนา(วิปัสสนาปาทกฌานปวิปัสสนาปาทกสมาบัติ,
ปาทกัชฌาน ฯลฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งนี้ เรียกตามขั้นของฌานสมาบัติที่เป็นบาทนั้นว่า ทำปฐมฌานให้เป็นบาท ทำทุติยฌานให้เป็น
บาท ฯลฯ ทำอากิญจัญ-ญายตนฌานให้เป็นบาท เป็นต้น หรือว่า วิปัสสนามีปฐมฌานเป็นบาท
วิปัสสนามีทุติยฌานเป็นบาท วิปัสสนามีอรูปสมาบัติเป็นบาท ฯลฯ ยิ่งฌานที่เป็นบาทสูงเท่า
ใด สมาธิจิตที่ใช้ทำวิปัสสนาก็ยิ่งประณีตมั่นคงมากขึ้น อยู่ในระดับของฌานสมาบัติที่เป็น
บาทนั้น ปัญญาที่เป็นตัววิปัสสนา ก็อาจถูกเรียกแยกเป็นขั้นๆ ตามฌานสมาบัติที่เป็นบาท
เช่นเรียกว่า วิปัสสนาปัญญาในระดับปฐมฌาน หรือปฐมฌานวิปัสสนาปัญญา (องฺ.อ.๓/๓๕๙)
เป็นต้น และมรรคคือการตรัสรู้ที่จะเกิดขึ้น ก็จะประกอบด้วยฌานสมาบัติระดับเดียวกับที่ใช้
เป็นบาทนั้นเช่นกัน (เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมรรคกับฌานที่เป็นบาท พึงดูรายละเอียดและ
ความเห็นซึ่งแปลกออกไป ที่ สงฺคณี อ.๓๕๕; วิสุทฺธิ.๓/๓๑๒ เป็นต้น ซึ่งได้อ้างแล้วข้างต้น)
ทั้งนี้ ยกเว้นเนวสัญญานา-สัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ

เท่าที่กล่าวมานี้ พอให้เห็นได้ว่า คำพูดว่า บำเพ็ญวิปัสสนาในฌานก็ดี ออกจากฌานแล้วบำ
เพ็ญวิปัสสนาก็ดี ไม่ขัดแย้งกัน

อย่างแรก เป็นการพูดนัยกว้าง จะว่าเป็นการพูดแบบปริยาย หรือสำนวนพระสูตรก็ได้ ตามนัยนี้
คำว่าฌาน หมายถึงทั้งตัวฌานเองแท้ๆ และภาวะจิตที่เรียบสม่ำเสมอมั่นคงด้วยกำลังของ
ฌานนั้น ที่ว่าบำเพ็ญวิปัสสนาในฌาน ก็คือเมื่อเข้าฌานแล้วก็ใช้ภาวะจิตที่ตั้งมั่นด้วยกำลังฌาน
บำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป

ส่วนคำพูดอย่างหลัง (ว่าออกจากฌานแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนา) เป็นการพูดนัยจำเพาะ จะว่าเป็น
การพูดโดยนิปริยาย หรือสำนวนพระอภิธรรมก็ได้ (ท่านว่า สุตตันตเทศนาเป็นปริยายกถา
อภิธรรมเทศนาเป็นนิปปริยายกถา - สงฺคณี อ.๔๕๒; วิสุทฺธิ.ฏีกา ๒/๑๗๒) ตามนัยหลังนี้ คำว่าฌาน
หมายถึง ตัวฌานเองแท้ๆ เท่านั้น คือหมายถึงการที่จิตกำหนดแน่วอยู่กับอารมณ์ของสมถะ
เช่น นิมิตของลมหายใจ และกสิณเป็นต้น เพียงอย่างเดียว ส่วนภาวะจิตที่มั่นคงสม่ำเสมอด้วย
กำลังฌาน สำนวนอภิธรรมแยกออกมาเป็นอีกตอนหนึ่งต่างหาก เป็นตอนที่ออกจากฌานแล้ว
คือจิตปล่อยอารมณ์ของสมถะหลุดไป หรือขาดตอนไปแล้ว แต่ด้วยกำลังฌานจิต จึงยังคงตั้ง
มั่นมีสมาธิเป็นอย่างดี ถึงตอนนี้ผู้ปฏิบัติธรรมอาศัยภาวะจิตนี้แหละบำเพ็ญวิปัสสนา โดยกลับ
ยกเอาฌาน พร้อมทั้งธรรมต่างๆ เช่น วิตก วิจาร ปีติ สุข ฉันทะ วิริยะ เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในฌานที่ตน
เพิ่งออกมาแล้วนั้นเอง ขึ้นมาทำเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาเสีย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อไม่ยอมเรียกภาวะจิตนี้ว่าอยู่ในฌาน ก็ต้องหาถ้อยคำมาเรียกให้เหมาะ เพราะถึงแม้จะออกจาก
ฌานแล้ว แต่ภาวะจิตตอนนี้ก็มิใช่กลับไปมีสภาพอย่างเดิมเหมือนเวลาก่อนเข้าฌาน อรรถกถา
ยุติปัญหานี้ โดยคิดคำขึ้นใช้ใหม่ เรียกว่าทำฌานให้เป็นบาท

ส่วนการตัดแยกระหว่างตัวฌานแท้ๆ กับภาวะจิตที่ตั้งมั่นอยู่ต่อมาด้วยกำลังฌาน อรรถกถาอาศัย
หลักเรื่องภวังคจิตมากำหนดเป็นการออกจากฌานให้ขาดตอนจากกัน (คำว่า ภวังค์ หรือภวังคจิต
มีในพระไตรปิฎกเฉพาะในคัมภีร์ปัฏฐาน แห่งพระอภิธรรมเท่านั้น เช่น อภิ.ป. ๔๐/๕๐๙/๑๖๓;
อภิ.ป. ๔๐/๕๑๖/๑๖๔; อภิ.ป. ๔๐/๕๕๓/๑๘๑; อภิ.ป. ๔๐/๑๑๖๒/๓๘๔ ครั้นถึงรุ่นอรรถกถา
จึงใช้กันดื่นขึ้น

รวมความที่สันนิษฐานตามหลักฐานเหล่านี้ว่า สำนวนพูดโดยปริยายว่า “อยู่ในฌานเจริญวิปัสสนา”
มีความหมายครอบคลุม เท่ากับที่อรรถกถาแยกพูดโดยนิปริยายว่า “เข้าฌาน ออกจากฌานแล้ว
พิจารณาสังขาร” (เช่น องฺ.อ.๒/๑๓) หรือ “ออกจากฌานที่เป็นบาทแล้ว พิจารณาสังขาร” (เช่น
วิสุทฺธิ.๓/๓๑๒) หรือ “ทำฌานให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนา” (เช่น วิสุทฺธิ.ฏีกา ๑/๓๑๖) หรือ “ได้ฌานแล้ว
เจริญวิปัสสนาที่มีฌานเป็นบาท” (เช่น วิสุทฺธิ.๑/๒๔๑; วิสุทฺธิ.ฏีกา ๒/๑๙) หรือ “ออกจากสมา
บัติแล้ว ทำวิปัสสนาด้วยจิตที่ตั้งมั่น” (เช่น ม.อ.๑/๑๗๑; วิสุทฺธิ.๒/๑๙๕)

สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า ทั้งสำนวนพระสูตร และสำนวนอภิธรรม มีสาระสำคัญอย่างเดียวกัน คือ ทำ
ฌานให้เกิดขึ้น (เข้าฌาน) ก็เพื่อใช้กำลังสมาธิของฌานนั้น เตรียมจิตให้อยู่ในสภาพซึ่งพร้อมดี
ที่สุด สำหรับใช้เป็นที่ทำการของปัญญา ที่จะคิดพิจารณาให้เห็นความจริงต่อไป เมื่อเข้าฌาน คือฌาน
เกิดขึ้นแล้ว จิตพร้อมดีแล้ว ก็เดินหน้าต่อไปสู่ขั้นใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะของสิ่งทั้งหลาย ซึ่ง
เรียกว่าวิปัสสนา ภาวะนี้เรียกง่ายๆ ก็ว่า เข้าฌานแล้วเจริญวิปัสสนา หรือคล้ายกับพูดว่าอยู่ใน
ฌานเจริญวิปัสสนา แต่ถ้าจะพูดให้กระชับลงไปอีก ก็ต้องว่าอาศัยฌาน เจริญวิปัสสนา ถึงตอนนี้
ฝ่ายอภิธรรมก็มาช่วยอธิบายว่า ฌานเป็นสมถะ ย่อมยึดหน่วงอารมณ์ของมันไว้อย่างหนึ่งอย่าง
เดียวโดยตลอด เมื่อหันไปใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆ ก็ย่อมต้องเปลี่ยนออกจากอารมณ์ที่กำ
หนดเดิม และเมื่อเปลี่ยนอารมณ์อย่างนั้น จิตก็ตกภวังค์ นั่นคือออกจากฌานไปแล้ว ต่อจากนั้น
การพิจารณาเป็นเรื่องของวิปัสสนา นับเป็นคนละขั้นตอน แต่เพราะได้อาศัยฌานนั้น มีความสัม
พันธ์กันอยู่ อรรถกถาจึงให้เรียกว่า เอาฌานเป็นบาทหรือเป็นปทัฏฐานของวิปัสสนา

คำอธิบายอย่างนี้ ก็รับกันดีกับข้อความที่มีบ่อยๆ ในพระสูตรทั้งหลายว่า เข้าฌานอยู่แล้ว ครั้นเมื่อ
จิตตั้งมั่นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่อวิชชาต่างๆ (เช่น ม.ม.๑๓/๕๐๕-๘-๔๖๐-๑) ซึ่งหมาย
ความว่า อาศัยฌานเป็นเครื่องทำจิตให้พร้อมก่อนแล้ว จึงนำไปใช้งาน ท่านเรียกจิตเช่นนั้นว่า จิตที่
ควรแก่การนำไปใช้ (อภินีหารกฺขม) และจึงเป็นบาทหรือเป็นปทัฏฐาน เพื่อได้ผลสำเร็จที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป

พระอรรถกถาจารย์นับแจงตามข้อความในพระสูตร ให้เห็นว่า จิตเช่นนี้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง
คือ สมาหิตะ – ตั้งมั่น ปริสุทธะ –บริสุทธิ์ ปริโยทาตะ – ผ่องใส อนังคณะ – โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา
วิคตูปกิเลส – ปราศสิ่งมัวหมอง มุทุภูตะ– นุ่มนวล กัมมนิยะ – ควรแก่งาน ฐิตะ อาเนญชัปปัตตะ – อยู่ตัว
ไม่วอกแวกหวั่นไหว (นิท.อ.๒/๕๙; วิสุทฺธิ.๒/๒๐๓)

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ฌานแล้ว แต่ไม่ใช้ฌานเป็นบาท จะเจริญวิปัสสนาเพียงด้วยอุปจารสมาธิ หรือ
ขณิกสมาธิเท่านั้น ก็ย่อมได้ แต่จะมีสภาพเหมือนกับผู้ที่เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวโดยไม่ได้ฌานมา
ก่อน ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป (ดูเชิงอรรถในตัวบท เพราะมีความเนื่องกัน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2021, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อาจจะหมายถึง ขณะที่เป็นมรรคจิตกับผลจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์รึเปล่าครับ

เพราะถ้าจะเจริญวิปัสสนา ก็ต้องออกจากฌานก่อน เพราะขณะอยู่ในฌาน จิตมันแนบสนิทกับอารมณ์พิจารณาอะไรไม่ได้

ผมอ่านก็งงๆ คุณลุงช่วยสรุปหน่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2021, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
อาจจะหมายถึง ขณะที่เป็นมรรคจิตกับผลจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์รึเปล่าครับ

เพราะถ้าจะเจริญวิปัสสนา ก็ต้องออกจากฌานก่อน เพราะขณะอยู่ในฌาน จิตมันแนบสนิทกับอารมณ์พิจารณาอะไรไม่ได้

ผมอ่านก็งงๆ คุณลุงช่วยสรุปหน่อย


เอาตามหัวข้อที่ตั้งไว้นะครับว่าขณะที่อยู่ในฌานจะเจริญวิปัสสนาได้หรือเปล่า

ในกรณีนี้ขณะอยู่ในฌานจิตย่อมแนบแน่นอยู่ในอารมณ์ของฌาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์

ขณะอยู่ในฌานก็ย่อมมีองค์ฌาน ๕ และเจตสิกที่ประกอบร่วมอีก เมื่อเราวางอารมณ์บัญญัติ
ก็เปลี่ยนมารับอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์เพื่อพิจารณาให้เห็นความเกิดดับหรือไตรลักษณ์
มันดูเหมือนว่าขยับมารับอารมณ์ มาพิจารณา อารมณ์ใหม่นั่นเอง

ก็เหมือนอารมณ์ของวิปัสสนาก็เช่นเดียวกันที่มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เมื่อจะก้าวสู่โลกุตระ
ก็ต้องทิ้งอารมณ์ปรมัตถ์หรืออารมณ์เดิมเพื่อจะไปเอาอารมณ์ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2021, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจละครับ สาธุครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร