ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

การละกิเลสในสำนวนของนักปฏิบัตื
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=58970
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 30 พ.ค. 2020, 17:20 ]
หัวข้อกระทู้:  การละกิเลสในสำนวนของนักปฏิบัตื

พึงรู้เพียงเพื่อโดยการตีความ โดยอาศัยหลักการ
และสมเหตุสมผล เป็นการตีความตามอำเภอใจ เพราะไม่สามารถ
รู้โดยตรงจากศัพท์ได้ เช่น รูปํ ภิกฺขเว ปชหถ. "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละรูป" คำว่า "รูปํ" เป็นเนยฺยตฺถ เพราะรูปเป็นอัปปหาตัพพธรรม

ธรรมที่ละไม่ได้ เพราะฉะนั้น รูปํ นั้นหมายเอากิเลสที่อาศัยรูปนั้นเกิดขึ้น
อันนี้เรียกว่าการตีความโดยเอาหลักพระอภิธรรมมาจับ คำว่า "รูปํ ปชหถ"
ซึ่งแปลว่า"เธอทั้งหลายจงละรูป" นี้เป็นคำในสมัยนั้น ดังนั้น คำว่า ละรูป

จึงไม่ยากสำหรับคนในยุคพุทธกาล เพราะบุคคลในยุคพุทธกาลนั้น
สามารถเข้าใจอยู่แล้วว่า การละรูปก็หมายถึงการละตัณหาที่เกิดขึ้น
โดยอาศัยรูป เช่นเวลาที่เห็นรูปสวยงาม ถ้าไม่สำรวมสติ ตัณหาก็จะฟุ้งขึ้นมา

ทำให้จิตเกิดความอยากในรูปสวยงามและเป็นอิฏฐารมณ์ ตัณหานี้
ประกอบอยู่ในวิถีชวนะใด วิถีแห่งชวนะนั้นก็จะเกิดขึ้น
ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เราละจิตตุปบาทนั้นที่เป็นชวนะนั้น
ซึ่งประกอบด้วยตัณหา

ไฟล์แนป:
Download-Camera-Girl-PNG.png
Download-Camera-Girl-PNG.png [ 155.61 KiB | เปิดดู 1934 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 30 พ.ค. 2020, 17:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การละกิเลสในสำนวนของนักฏิบัตื

อนึ่ง คำว่า "ละ" นั้นความจริงละไม่ได้หรอก คำว่า "ละ" ในสำนวน
ของนักปฏิบัติ ไม่ได้หมายความว่าทอดทิ้ง คำว่าละ หมายถึงการสังวรณ์ปิดกั้น
นั่นคือปิดกั้นมิให้กิเลสที่ประกอบกับชวนะจิตนั้น มีโอกาสเกิดขึ้น
อันนี้ท่านเรียกว่าละกิเลส ยิ่งถ้าเป็นการละโดยพระอรหันตมรรค
หรือโดยมรรคอื่นๆ ก็จะเป็นการปิดกั้นตลอดไป หมายความง่ากิเลสหมดสิทธิ์เกิดชั่ว

แต่ถ้าไม่ใช่มรรคก็เป็นการปิดกั้นชั่วคราว ดังนั้น ก็คือการทำให้กิเลส
ไม่มีทางที่จะทะลักเข้าสู่กระแสจิตใจของพระอริยบุคคล

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 30 พ.ค. 2020, 19:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การละกิเลสในสำนวนของนักฏิบัตื

นีตตฺถนย คำว่า นีต แปลว่า กระจ่าง ตรงไปตรงมา ไม่ต้องตีความ
หมายความว่า พระองค์ตรัสอย่างไรก็ถือเอาตามนั้น เช่น
"สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" อย่างนี้
ต้องถือเอาตามคำศัพท์เหล่านี้เลยโดยไม่ต้องตีความเช่นตรัสว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

เราก็จะต้องถือเอาความตามนี้ไม่ใช่ไปตีความเอาเอง
ซึ่งการตีความเอาเองโดยพลการนี้พระพุทธองค์ตรัสเตือนไว้ว่า

ผู้ใดก็ตาม เวลาฟังธรรมหรือเวลาอ่านพระไตรปิฏกแล้วไปตีความผิด
จากที่ตถาคตประสงค์ ผู้นั้น ชื่อว่ากล่าวหาใส่ร้าย ตถาคต

สมมุติว่าพระองค์ตรัสไว้โดยเนยยัตถะ(โดยอ้อม) แต่ผู้ฟังหรืออ่าน
ไปถือเอาความโดยตรง อย่างเช่นคำว่า ละรูป ซึ่งเป็นคำที่ไม่ถูกหลักธรรม
อยู่แล้ว ถ้าเราไปถือเอาโดยตรงตามนี้ ก็เท่ากับเรากล่าวตู่พระองค์เลยทีเดียว

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 พ.ค. 2020, 04:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การละกิเลสในสำนวนของนักฏิบัตื

อีกกรณีหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสไว้โดยตรง แต่ผู้ฟังหรือผู้เรียน
ไปถือเอาโดยอ้อมอีก พระพุทธองค์กล่าวเตือนว่า มันเป็นกล่าวตู่
พระองค์ การอ้างคำของพระองค์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ไม่ได้ตรัส
ก็เป็นการกล่าวตู่ พระพุทธองค์ การนำเอาคำของพระพุทธองค์
ไปอ้างผิด ๆ ก็เป็นการกล่าวตู่พระพุทธพจน์เช่นกัน

อันนี้ต้องมีสติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาตีความธรรม อย่าลืมว่า
ปัณฑิตเวทนียธรรมนั้น ไม่ใช่จะตีความง่าย ๆ ต้องอาศัยหลัก
เพราะฉะนั้นธรรมจึงถือเป็นธรรมชาติที่คัมภีรภาพสุขุมลุ่มลึก


ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่สามารถตรัสรู้ได้ ความจริงแล้ว นัยทั้งสองนี้
อาจจะไม่เกี่ยวกับเนตติเท่าไหร่ แต่เห็นว่ามีส่วนสำคัญในการที่
จะทำให้เรามีหลักเกณฑ์ ในเวลาที่จะไปอ่านพระไตรปิฎก
จึงนำเอามาอธิบายไว้ในนี้ด้วย

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/