วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ย. 2024, 22:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


สหชาตอวิคตปัจจัย

สหชาตอวิคตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ สหชาตัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับสหชาตปัจจัยทุกประการ

๑. สหชาต หมายความว่า เกิดพร้อมกัน

๒. ประเภท นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมเกิดพร้อมกับปัจจยุบ บันนธรรม และช่วยอุดหนุนปัจจยุบบันนธรรมนั้นด้วย

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ คือยังไม่ทันดับไป

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ทั้งในปฏิสนธิกาลและ ในปวัตติกาล, มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ ทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติ กาล หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ ดวง เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒, มหาภูตรูปกับอุปา ทายรูป ที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔,หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจนิก ไม่มี เพราะปัจจัยนี้ไม่มีธรรมที่ไม่ใช่ผล

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตอวิคตปัจจัยนี้ มี ๙ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔ แล้วแต่จะ ยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล นามขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย จิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาต อวิคตปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้นด้วย เป็นสหชาตอวิคต ปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ แล้ว แต่จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลจิต ๑๒ เป็น สหชาตอวิคตปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้นด้วยเป็น สหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ
กิริยานามขันธ์ ๔ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ
กิริยานามขันธ์ ๔, วิบากจิตตชรูป กิริยา จิตตชรูป ตามสมควรเป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ แล้วแต่จะยกเอารูปใดว่าเป็นสหชาต อวิคตปัจจัย รูปที่เหลือ ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย อุปาทายรูป ที่อาศัยเกิดกับมหาภูตรูปนั้น เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๘) กุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล นามขันธ์ ๔ ด้วย และมหาภูตรูปที่เกิดจากกุสลจิตนั้นด้วย เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย กุสลจิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๙) อกุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ ด้วย, และอกุสลจิตตชมหาภูตรูปด้วย เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย อกุสลจิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และอกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย ๒. อัญญมัญญปัจจัย ๓. สหชาตนิสสยปัจจัย

๔. วิปากปัจจัย ๕. สัมปยุตตปัจจัย ๖. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย

๗. สหชาตัตถิปัจจัย ๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับอารัมมณปุเรชาตปัจจัยทุก ประการ

๑. อารัมมณปุเรชาต หมายความว่า อารมณ์เฉพาะที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น และเกิดก่อน
ปัจจยุบบันนธรรมด้วย

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยนี้ได้แก่ อารมณ์ และในที่นี้ หมายเฉพาะอารมณ์ที่เป็นนิปผันนรูปเท่านั้น

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า แม้อารมณ์นั้นจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง คงมีอยู่ ยังไม่ทันดับไป คือ ยังอยู่ใน ฐีติขณะ จึงจะเป็นปัจจัยได้

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่เป็น นิปผันนรูป ๑๘ และยัง อยู่ในระหว่างฐีติขณะ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันนได้แก่ กามจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา) ที่เกิดจากปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๗๖(เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) ที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัยนี้มี ๓ วาระ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อารมณ์ ๖ คือปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
กามวิบาก ๒๓ กามกิริยาจิต ๑๑ กิริยาอภิญญา จิต ๑ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิรตี) เป็น
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน เช่น

รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓ เป็นอารัมมณ ปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย มโนทวาราวัชชน จิต ๑, กามกิริยาชวนะ ๙, ตทาลัมพนะ ๑๑ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

พระอรหันต์พิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็น ปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย มหากิริยาจิต ๘ ที่พิจารณารูปเหล่านี้ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วยทิพพโสต รูปและเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย กิริยาอภิญญาจิตของพระอรหันต์ ที่เห็นรูปนั้น ที่ได้ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มหากุสล ๘, กุสลอภิญญา ๑ เจตสิก ๓๖ (เว้น อัปปมัญญา) เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน เช่น พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลายพิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบันเป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มหากุสลจิต ๘ ที่พิจารณา รูปเหล่านี้ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลาย เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วย ทิพพโสต รูปและเสียงนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย กุสลอภิญญาจิตที่เห็น รูปนั้น ที่ได้ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ เป็นอารัมมณปุเรชาต อวิคตปัจจยุบบันน เช่น

ยินดีเพลิดเพลินต่อ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ เมื่อนึกถึงรูปเหล่านี้แล้ว มีราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัสเกิดขึ้น รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจยุบบันน เป็น อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย ราคะ ทิฏฐิ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นอันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ นั้น เป็น อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ๒. อารัมมณปัจจัย

๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย ๔. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย

๕. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับวัตถุปุเรชาตปัจจัยทุกประการ

๑. วัตถุปุเรชาต หมายความว่า วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้น โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย และโดยการที่เกิดก่อนด้วย

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือ ยังอยู่ในระหว่างฐีติขณะ ยังไม่ทันถึงภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔) ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอนในปัญจโวการภูมิ ที่เป็นปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปจิต ๑๒ และ โลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๖ ดวง ทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน, ปัญจโวการปฏิสนธิจิต ๑๕ และ รูปทั้งหมด

ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๓ ตอน วัตถุสังคหะแล้ว แต่เพื่อทบทวนความจำ จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีกว่า

(๑) ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน ได้แก่ โทสมูลจิต ๒, อเหตุกจิต ๑๗ (เว้น มโนทวาราวัชชนจิต ๑), มหาวิบาก ๘, รูปาวจรจิต ๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑ รวม ๔๓ ดวงนี้ ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน

(๒) ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑,
มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปกุสลจิต ๔, อรูป กิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑)
รวมจิต ๔๒ ดวงนี้ ถ้า เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิ ไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้

(๓) ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และ รูปทั้งหมดซึ่งเกิด ขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน

(๔) ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน ก็คือ จิต ๔๒ ดวง ตามข้อ (๒) นั่นเอง ซึ่ง จิต ๔๒ ดวงนี้เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม ถ้าเกิดในจตุโวการ ภูมิ ก็เป็นปัจจนิกธรรมไป จึงว่าไม่แน่นอน

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ คือ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน เป็นวัตถุปุเรชาต อวิคตปัจจัย วิบากจิต ๓๒
(เว้นอรูปวิบาก ๔), กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน เช่น

วัตถุ ๕ มีจักขุวัตถุเป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิตเป็นต้น เป็นวัตถุ ปุเรชาตอวิคตปัจจัย วิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔) เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาต อวิคตปัจจัย อนาคามิผลจิต ๑
อรหัตตผลจิต ๑ ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธ สมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

วัตถุ ๖ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นวัตถุ ปุเรชาตอวิคตปัจจัย จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖ ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่ โลกีย วิบากจิต ๒๘(เว้นอรูปวิบาก ๔) กิริยาจิต ๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสล จิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง เป็น
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่ โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุ ปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๒. อารัมมณปัจจัย

๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย ๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

๕. วัตถุปุเรชาตปัจจัย ๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

๗. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ๘. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือน กับปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับปัจฉาชาตปัจจัยทุกประการ

๑. ปัจฉาชาตะ หมายความถึง นามที่เกิดทีหลังช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นปัจฉาชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้วช่วย อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป

๕. สัตติ มีอำนาจเป็น อุปถัมภกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิ จิต) เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่รูปที่เป็นฐีติปัตตะที่เกิดพร้อมกับขณะทั้ง ๓ ของจิตที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, รูปขณะที่เกิดขึ้น(อุปาท ขณะของรูป), พาหิรรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ, จตุชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อม กับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย จตุชกาย ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตอวิคต ปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่ วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิจิต), กิริยานามขันธ์ ๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย เอกชกาย ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป, ทวิชกาย ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป, ติชกาย ในปัญจโวการ รูปภูมิ, จตุชกาย ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


อาหารอวิคตปัจจัย

อาหารอวิคตปัจจัย คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ อาหารัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับ รูปอาหารปัจจัย ทุกประการ

๑. รูปอาหาร หมายความว่า อาหารที่เป็นรูปธรรม คือ กพฬีการาหาร

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอาหารชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อาหารนั่นเอง

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ พหิทธโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ กัมมชโอชา จิตตชโอชา อุตุชโอชา อาหารชโอชา ที่อยู่ภายใน (อัชฌัตตสันตานะ)
และอุตุชโอชา ที่อยู่ภายนอก (พหิทธสันตานะ) คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่อาหารสมุฏฐานิกรูป คือรูปที่เกิดจากอาหาร

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จตุสมุฏฐานิกรูปที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับ ปัจจัยธรรม และที่ตั้งอยู่ใน
กลาปอื่น ๆ (เว้นโอชาที่อยู่ในกลาปเดียวกัน)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป, พาหิรรูป, อุตุชรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒ และพาหิรรูป

๗. ความหมายโดยย่อ อาหารอวิคตปัจจัย มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะ
กพฬีการาหาร บ้างก็เรียก กวฬิงการาหาร คือโอชา ที่อยู่ใน อาหารต่าง ๆ หรืออีกนัยหนึ่งได้แก่ โอชาที่อยู่ทั้งภายในและภายนอก เป็นรูปอาหาร ปัจจัย จตุสมุฏฐานิกรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียว กันกับปัจจัยธรรม และตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ เป็นอาหารอวิคตปัจจยุบบันน

ขยายความว่า โอชาที่เป็นปัจจัยธรรมนั้น เมื่อช่วยอุปการะแก่อาหารชรูป คือ อาหารชโอชานั้นเป็นไปโดยอำนาจชนกสัตติ แต่ถ้าเป็นการช่วยอุปการะแก่ ติชรูป ที่เหลือนอกนั้น คือ กัมมชโอชา จิตตชโอชา และอุตุชโอชา แล้ว เป็นไปโดย อำนาจอุปถัมภกสัตติ

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย ๒. อาหารัตถิปัจจัย ๓. อาหารอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


อินทริยอวิคตปัจจัย

อินทริยอวิคตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือน กับอินทริยัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับ รูปชีวิตินทริยปัจจัย ทุกประการ

๑. รูปชีวิตินทรีย หมายความถึง ชีวิตรูป

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ ชีวิตรูป ซึ่งทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ ชีวิตรูป ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป และชีวิตรูป (ที่เป็นปัจจัย)

๗. ความหมายโดยย่อ อินทริยอวิคตปัจจัยนี้มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะได้แก่ ชีวิตรูปทั้งหลายเป็นอินทริยอวิคตปัจจัย กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘ รูปซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ เป็นอินทริยอวิคตปัจจยุบ บันน เช่น

จักขุทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ และชีวิตรูป ๑ รวม ๑๐ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว
อวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๙ รูป ที่เหลือนี้ก็เป็นปัจจยุบบันน

โดยทำนองเดียวกัน ชีวิตนวกกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ และชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป ๘ ที่เหลือ ก็เป็นปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย ๒. รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย

๓. รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย

สรุปปัจจัยโดยนัยต่าง ๆ

ปัจจัยทั้งหมด เมื่อสรุปโดยนัยต่าง ๆ คือ ๑.จำนวน, ๒.ประเภท, ๓.ชาติ, ๔.กาล, ๕.สัตติ เป็นต้น ก็ได้ดังนี้

กล่าวโดยจำนวน

ปัจจัยทั้งหมดนั้นมีจำนวน ๒๔ ปัจจัย แต่ว่าบางปัจจัยก็ยังจำแนกได้อีกเป็น ๒ เป็น ๓ จนถึงเป็น ๖ ก็มี เมื่อนับจำนวนโดยพิสดารแล้ว ก็มีจำนวน ๔๗ ปัจจัย รายละเอียดที่หน้า ๗๕-๗๖ นั้นแล้ว

กล่าวโดยประเภท

ก. นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๗ ปัจจัย คือ
๑. อนันตรปัจจัย ๒. สมนันตรปัจจัย ๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย ๕. สัมปยุตตปัจจัย ๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๔ ปัจจัย คือ
๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ค. นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๙ ปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย ๒. สหชาตาธิปติปัจจัย ๓. สหชาตกัมมปัจจัย
๔. นานักขณิกกัมมปัจจัย ๕. วิปากปัจจัย ๖. นามอาหารปัจจัย
๗. สหชาตินทริยปัจจัย ๘. ฌานปัจจัย ๙. มัคคปัจจัย

ง. รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๖ ปัจจัย คือ
๑. รูปอาหารปัจจัย ๒. รูปชีวิตินทริยปัจจัย ๓. อาหารัตถิปัจจัย
๔. อินทริยัตถิปัจจัย ๕. อาหารอวิคตปัจจัย ๖. อินทริยอวิคตปัจจัย

จ. รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๑๑ ปัจจัย คือ
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๒. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตปัจจัย ๔. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๕. ปุเรชาตินทริยปัจจัย ๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ๘. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๙. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ๑๐. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๑๑. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

มีข้อสังเกตตรงนี้ว่า รูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี

ฉ. นามรูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณาธิปติปัจจัย ๒. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

มีข้อสังเกตตรงนี้ว่า นามรูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี

ช. นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๖ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตปัจจัย ๒. อัญญมัญญปัจจัย ๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๕. สหชาตัตถิปัจจัย ๖. สหชาตอวิคตปัจจัย

ซ. บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณปัจจัย ๒. ปกตูปนิสสยปัจจัย

มีข้อสังเกตว่า บัญญัติ นามรูป เป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยชาติ

ในปัจจัย ๒๔ หรือโดยพิสดาร ๔๗ ปัจจัยนั้น มี ชาติ ๙ อย่าง คือ
๑. สหชาตชาติ ๒. อารัมมณชาติ ๓. อนันตรชาติ
๔. วัตถุปุเรชาตชาติ ๕. ปัจฉาชาตชาติ ๖. อาหารชาติ
๗. รูปชีวิตินทริยชาติ ๘. ปกตูปนิสสยชาติ ๙. นานักขณิกกัมมชาติ

ก. ปัจจัยที่เป็น สหชาตชาติ มี ๑๕ ปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย ๒. สหชาตาธิปติปัจจัย ๓. สหชาตปัจจัย
๔. อัญญมัญญปัจจัย ๕. สหชาตนิสสยปัจจัย ๖. สหชาตกัมมปัจจัย
๗. วิปากปัจจัย ๘. นามอาหารปัจจัย ๙. สหชาตินทริยปัจจัย
๑๐. ฌานปัจจัย ๑๑. มัคคปัจจัย ๑๒. สัมปยุตตปัจจัย
๑๓. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๑๔. สหชาตัตถิปัจจัย ๑๕. สหชาตอวิคตปัจจัย

ข. ปัจจัยที่เป็น อารัมมณชาติ มี ๘ ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณปัจจัย ๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ค. ปัจจัยที่เป็น อนันตรชาติ มี ๖ ปัจจัย คือ
๑. อนันตรปัจจัย ๒. สมนันตรปัจจัย ๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย ๕. นัตถิปัจจัย ๖. วิคตปัจจัย

ง. ปัจจัยที่เป็น วัตถุปุเรชาตชาติ มี ๖ ปัจจัย คือ
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย ๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ๖. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


จ. ปัจจัยที่เป็น ปัจฉาชาตชาติ มี ๔ ปัจจัย คือ
๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ฉ. ปัจจัยที่เป็น อาหารชาติ มี ๓ ปัจจัย คือ
๑. รูปอาหารปัจจัย ๒. อาหารัตถิปัจจัย ๓. อาหารอวิคตปัจจัย

ช. ปัจจัยที่เป็น รูปชีวิตินทริยชาติ มี ๓ ปัจจัย คือ
๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย ๒. อินทริยัตถิปัจจัย ๓. อินทริยอวิคตปัจจัย

ซ. ปัจจัยที่เป็น ปกตูปนิสสยชาติ มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. สุทธปกตูนิสสยปัจจัย คือ จิต เจตสิกที่เกิดก่อน และรูป บัญญัติที่มีกำลัง มากที่อุปการะแก่ จิต เจตสิกที่เกิดทีหลังได้
๒. มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย คือ เจตนากรรมที่มีกำลังมาก (เว้นมัคคกรรมเจตนา) ที่อุปการะแก่วิบากนามขันธ์ได้

ฌ. ปัจจัยที่เป็น นานักขณิกกัมมชาติ มี ๑ ปัจจัย คือ
นานักขณิกกัมมปัจจัย คือ เจตนากรรมที่มีกำลังน้อย อุปการะแก่กามวิบาก และเจตนากรรมที่มีกำลังมากและกำลังน้อย อุปการะแก่กัมมชรูป

กล่าวโดยกาล

ก. ปัจจัยที่เป็น ปัจจุบันกาล มี ๑๗ หรือ ๓๖ ปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย ๒. สหชาตาธิปติปัจจัย
๓. สหชาตปัจจัย ๔. อัญญมัญญปัจจัย
๕. นิสสยปัจจัย ๓ ปัจจัย ๖. ปุเรชาตปัจจัย ๒ ปัจจัย
๗. ปัจฉาชาตปัจจัย ๘. สหชาตกัมมปัจจัย
๙. วิปากปัจจัย ๑๐. อาหารปัจจัย ๒ ปัจจัย
๑๑. อินทริยปัจจัย ๓ ปัจจัย ๑๒. ฌานปัจจัย
๑๓. มัคคปัจจัย ๑๔. สัมปยุตตปัจจัย
๑๕. วิปปยุตตปัจจัย ๔ ปัจจัย ๑๖. อัตถิปัจจัย ๖ ปัจจัย
๑๗. อวิคตปัจจัย ๖ ปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ปัจจัยที่เป็น อดีตกาล มี ๗ ปัจจัย คือ
๑. อนันตรปัจจัย ๒. สมนันตรปัจจัย ๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย ๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย ๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

ค. ปัจจัยที่เป็น ปัจจุบัน อดีต อนาคต (ติกาลิกะ) มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณาธิปติปัจจัย ๒. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

ง. ปัจจัยที่เป็น ติกาลิกะ และกาลวิมุตติ มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณปัจจัย ๒. ปกตูปนิสสยปัจจัย

กล่าวโดยสัตติ

ก. ปัจจัยที่มี ชนกสัตติ อย่างเดียวมี ๘ ปัจจัย คือ
๑. อนันตรปัจจัย ๒. สมนันตรปัจจัย ๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. ปกตูปนิสสยปัจจัย ๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย ๖. อาเสวนปัจจัย
๗. นัตถิปัจจัย ๘. วิคตปัจจัย

ข. ปัจจัยที่มี อุปถัมภกสัตติ อย่างเดียว มี ๔ ปัจจัย คือ
๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ค. ปัจจัยที่มี ทั้ง ๒ อย่าง คือมีชนกสัตติด้วย และอุปถัมภกสัตติด้วยนั้น มี ๓๕ ปัจจัย คือ ปัจจัยที่เหลือจากข้อ ก. และข้อ ข. ทั้งหมด

กล่าวโดยจำนวนวาระ

ก. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระเพียง บทเดียว คืออพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ นั้นมี ๘ ปัจจัย ได้แก่
๑. วิปากปัจจัย ๒. รูปอาหารปัจจัย ๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔. รูปชีวิตินทริยปัจจัย ๕. อาหารัตถิปัจจัย ๖. อาหารอวิคตปัจจัย
๗. อินทริยัตถิปัจจัย ๘. อินทริยอวิคตปัจจัย

ข. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ ๒ บท คือกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะบทหนึ่ง และ อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะบทหนึ่งนั้น มีปัจจัยเดียวได้แก่ นานักขณิกกัมมปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


ค. ปัจจัยที่มี ๓ บท นั้น มี ๑๘ ปัจจัย

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑ และอพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑
อย่างนี้ มี ๓ ปัจจัย ได้แก่
๑. อัญญมัญญปัจจัย ๒. อาเสวนปัจจัย
๓. สัมปยุตตปัจจัย

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่พยากตะ ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ และ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑
อย่างนี้ มี ๕ ปัจจัย ได้แก่
๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๒. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย ๔. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๕. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑ และ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑
อย่างนี้ มี ๑๐ ปัจจัย ได้แก่
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๒. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตปัจจัย ๔. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๙. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ๑๐. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ง. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ ๗ บท มี ๑๔ ปัจจัย

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑,แก่อพยากตะ ๑,แก่กุสลด้วยอพยากตะด้วย ๑,

อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย ๑

อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ อย่างนี้ มี ๗ ปัจจัย ได้แก่
๑. เหตุปัจจัย ๒. สหชาตาธิปติปัจจัย ๓. สหชาตกัมมปัจจัย
๔. นามอาหารปัจจัย ๕. สหชาตินทริยปัจจัย ๖. ฌานปัจจัย
๗. มัคคปัจจัย

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑

อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑ แก่อพยากตะ ๑

อพยากตะเป็นปัจจัยแก่ อพยากตะ ๑, แก่กุสล ๑,แก่อกุสล ๑

อย่างนี้ มี ๕ ปัจจัย ได้แก่
๑. อนันตรปัจจัย ๒. สมนันตรปัจจัย ๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. นัตถิปัจจัย ๕. วิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่อกุสล ๑

อกุสลเป็น ปัจจัยแก่อกุสล ๑

อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, แก่กุสล ๑, แก่อกุสล ๑

อย่างนี้ มี ๒ ปัจจัยได้แก่
๑. อารัมมณาธิปติปัจจัย ๒. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

จ. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ ๙ บท มี ๖ ปัจจัย คือ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อกุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑,

อกุสลเป็น ปัจจัยแก่อกุสล ๑, แก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑,

อพยากตะเป็นปัจจัยแก่ อพยากตะ ๑, แก่กุสล ๑, แก่อกุสล ๑,

อย่างนี้ มี ๒ ปัจจัย ได้แก่
๑. อารัมมณปัจจัย ๒. ปกตูปนิสสยปัจจัย

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่กุสลด้วยอพยากตะด้วย ๑,

อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่อกุสลด้วยอพยากตะด้วย ๑,

อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑,

กุสลและอพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑,

อกุสลและอพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑,

อย่างนี้ มี ๔ ปัจจัย ได้แก่
๑. สหชาตปัจจัย ๒. สหชาตนิสสยปัจจัย
๓. สหชาตัตถิปัจจัย ๔. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยภูมิ

ก. ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน ปัญจโวการภูมินั้น เป็นได้หมดทั้ง ๒๔ ปัจจัย หรือ ๔๗ ปัจจัย

ข. ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน จตุโวการภูมิ นั้นเป็นได้เพียง ๒๑ ปัจจัย หรือ ๒๕ ปัจจัย คือ
๑. เหตุปัจจัย ๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อธิปติปัจจัย ๒ ปัจจัย ๔. อนันตรปัจจัย
๕. สมนันตรปัจจัย ๖. สหชาตปัจจัย
๗. อัญญมัญญปัจจัย ๘. สหชาตนิสสยปัจจัย
๙. อุปนิสสยปัจจัย ๓ ปัจจัย ๑๐. อาเสวนปัจจัย
๑๑. กัมมปัจจัย ๒ ปัจจัย ๑๒. วิปากปัจจัย
๑๓. นามอาหารปัจจัย ๑๔. สหชาตินทริยปัจจัย
๑๕. ฌานปัจจัย ๑๖. มัคคปัจจัย
๑๗. สัมปยุตตปัจจัย ๑๘. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๙. นัตถิปัจจัย ๒๐. วิคตปัจจัย
๒๑. สหชาตอวิคตปัจจัย

ค. ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน เอกโวการภูมิ นั้น เป็นได้เพียง ๗ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตปัจจัย ๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย ๔. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๕. รูปชีวิตินทริยปัจจัย ๖. อินทริยัตถิปัจจัย
๗. อินทริยอวิคตปัจจัย

กล่าวโดยภายในภายนอก

ปัจจัยที่เกิดได้เฉพาะภายนอก คือใน สิ่งที่ไม่มีชีวิต นั้น มี ๕ ปัจจัยเท่านั้น
คือ ๑. สหชาตปัจจัย ๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย ๔. สหชาตัตถิปัจจัย
๕. สหชาตอวิคตปัจจัย

ส่วนในภายใน คือใน สิ่งที่มีชีวิต ปัจจัยทั้งหมดสามารถจะเกิดได้ ไม่มียกเว้น

กล่าวโดยสัพพัฏฐานิกปัจจัย

สัพพัฏฐานิกปัจจัย คือ ปัจจัยที่เป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งสังขตธรรม อันได้แก่ รูปนามทั้งหมด หมายความว่า
ในสังขารโลก บรรดาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลาย ต้องเข้าอยู่ในสัพพัฏฐานิกปัจจัยทั้งนั้น ที่จะพ้นจากสัพพัฏฐานิกปัจจัยไปนั้นไม่มีเลย สัพพัฏฐานิกปัจจัย ได้แก่ ปัจจัย ๔ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตปัจจัย ๒. นิสสยปัจจัย
๓. อัตถิปัจจัย ๔. อวิคตปัจจัย

ส่วนปัจจัยที่เหลืออีก ๒๐ ปัจจัย ชื่อว่า อสัพพัฏฐานิกปัจจัย มีความหมาย ว่าเป็นปัจจัยที่เป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งสังขตธรรมไม่ทั่วทั้งหมด เป็นปัจจัยได้เฉพาะ แต่สังขตธรรมที่เกี่ยวข้องกับตนเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยความเป็นคู่

ปัจจัยทั้ง ๒๔ เมื่อกล่าวโดยความเป็นคู่แล้ว ก็ได้ ๕ ประเภท คือ

๑. อตฺถยุค เป็นคู่กันโดยมีเนื้อความเหมือนกัน ได้แก่ อนันตรปัจจัย กับ สมนันตรปัจจัย

๒. สทฺทยุค เป็นคู่กันโดยมีสำเนียงเหมือนกัน ได้แก่ นิสสยปัจจัย กับ อุปนิสสยปัจจัย

๓. กาลปฏิปกฺขยุค เป็นคู่กันโดยกาลที่ตรงกันข้าม ได้แก่ ปุเรชาตปัจจัย กับ ปัจฉาชาตปัจจัย

๔. อญฺโญญฺญปฏิปกฺขยุค เป็นคู่กันโดยลักษณะอาการที่แตกต่างกัน มีอยู่ ๓ คู่ คือ สัมปยุตตปัจจัยกับวิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยกับนัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย กับอวิคตปัจจัย

๕. เหตุปฺปผลยุค เป็นคู่กันโดยความเป็นเหตุเป็นผล ได้แก่ นานักขณิกกัมมปัจจัย กับ วิปากปัจจัย

ปัจจัย ๒๔ ย่อมรวมลงใน ๔ ปัจจัย

มีคาถาสังคหเป็นคาถาที่ ๒๕ แสดงว่า

๒๕. อาลมฺพนูปนิสฺสย กมฺมตฺถิ ปจฺจเยสุ จ

สพฺเพเปนฺติ สโมธานํ จตุวีสติ ปจฺจยาฯ

แปลความว่า ปัจจัยแม้ทั้งหมด ๒๔ อย่าง ย่อมถึงความประชุมลงใน

อารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย และ อัตถิปัจจัย

มีความหมายว่า ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งในปัจจัย ๒๔ นั้น ย่อมรวมลงได้ใน ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือหลายปัจจัยในจำนวน ๔ ปัจจัยที่กล่าวมานี้

ถ้าถือตาม ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวมกี่ปัจจัยของแต่ละปัจจัยดังที่ได้ กล่าวมา (คือข้อ ๘ ของทุก ๆ ปัจจัย)นั้น เป็นหลักเป็นเกณฑ์แล้ว ก็รวมลงได้ดัง ต่อไปนี้

๑. เหตุปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๒. อารัมมณปัจจัย รวมลงได้ใน อารัมมณปัจจัย, อุปนิสสยปัจจัย (อารัมมณูปนิสสยปัจจัย) และอัตถิปัจจัย (อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย)

๓. อธิปติปัจจัย

ก. อารัมมณาธิปติปัจจัย เหมือนเลข ๒

ข. สหชาตาธิปติปัจจัย เหมือนเลข ๑

๔. อนันตรปัจจัย รวมลงได้ใน อุปนิสสยปัจจัย(อนันตรูปนิสสยปัจจัย) และ กัมมปัจจัย (นานักขณิกกัมมปัจจัย)

๕. สมนันตรปัจจัย เหมือนเลข ๔

๖. สหชาตปัจจัย เหมือนเลข ๑

๗. อัญญมัญญปัจจัย เหมือนเลข ๑

๘. นิสสยปัจจัย

ก. สหชาตนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๖ ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๑ ด้วย

ข. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๓ ก.ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๒ ด้วย

ค. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๘ ข.ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

๙. อุปนิสสยปัจจัย

ก. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๓ก. ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๒ ด้วย

ข. อนันตรูปนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๔

ค. ปกตูปนิสสยปัจจัย รวมลงได้ใน อุปนิสสยปัจจัย (ปกตูปนิสสยปัจจัย) และ กัมมปัจจัย (นานักขณิกกัมมปัจจัย)

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

ก. วัตถุปุเรชาตปัจจัย เหมือนเลข ๘ ข. ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๓ ก. และ เหมือนเลข ๒ ด้วย

ข. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย เหมือนเลข ๘ ค. ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๘ ข. เหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย)

๑๒. อาเสวนปัจจัย รวมลงได้ใน อุปนิสสยปัจจัย (อนันตรูปนิสสยปัจจัย)

๑๓. กัมมปัจจัย

ก. สหชาตกัมมปัจจัย รวมลงได้ใน กัมมปัจจัย (สหชาตกัมมปัจจัย) และ อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

ข. นานักขณิกกัมมปัจจัย รวมลงได้ใน กัมมปัจจัย (นานักขณิกกัมมปัจจัย) และ อุปนิสสยปัจจัย
(อนันตรูปนิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย)

๑๔. วิปากปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๑๕. อาหารปัจจัย

ก. รูปอาหารปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (อาหารัตถิปัจจัย)

ข. นามอาหารปัจจัย รวมลงได้ใน กัมมปัจจัย (สหชาตกัมมปัจจัย) และ อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๑๖. อินทริยปัจจัย

ก. สหชาตินทริยปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

ข. ปุเรชาตินทริยปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย)

ค. รูปชีวิตินทริยปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย)

๑๗. ฌานปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๑๘. มัคคปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

ก. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

ข. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย เหมือนเลข ๘ ข.ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

ค. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย เหมือนเลข ๘ ค.

ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๘ ข. เหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

ง. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย เหมือนเลข ๑๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร