วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อาโป

คำว่า อาโปธาตุ หรืออาโปรูป เป็นรูปปรมัตถที่รู้ได้ด้วยใจ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือ เกาะกุม
ซึ่งมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปคฺฆรณ ลกฺขณา มีการไหล เป็นลักษณะ
พฺยูหน รสา ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วยมีความเจริญ เป็นกิจ
สงฺคห ปจฺจุปฏฺฐานา มีความเกาะกุมรูปที่เกิดร่วมกัน เป็นผล ปรากฏ
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเกาะกุมก็ดี การไหลก็ดี ที่มีอยู่ในร่างกายนั้น เรียก ว่า อาโปธาตุ
อาโปธาตุนี้ มีจำนวนพอประมาณในวัตถุใด ก็ทำหน้าที่เกาะกุมอย่างเหนียว แน่น วัตถุนั้นจึงแข็ง
ถ้าวัตถุใดมีอาโปธาตุมากก็เกาะกุมไม่เหนียวแน่น จึงทำให้ วัตถุนั้นอ่อนลงและเหลวมากขึ้น
หากว่าในวัตถุใดมีอาโปธาตุเป็นจำนวนมากแล้ว การเกาะกุมก็น้อยลง ทำให้วัตถุนั้นเหลวมากจน
ถึงกับไหลไปได้

เมื่ออาโปธาตุถูกความร้อน ปัคฆรณลักษณะ หรือทรวภาวะ ปรากฏ คือ ทำให้ไหล แต่ถ้าอาโปธาตุ
ถูกความเย็น อาพันธนลักษณะ ปรากฏ คือทำให้เกาะกุม เช่น เหล็กหรือขี้ผึ้งถูกความร้อนก็เหลว
จนไหลได้ เมื่อเย็นแล้วกลับแข็งตัวตามเดิม หรือน้ำแข็ง ถ้าถูกความร้อนก็ละลายและไหล เมื่อให้
ถูกเย็นจัด ก็จะจับกันเป็นก้อน น้ำแข็งอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อาโปธาตุ ธาตุน้ำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
ก. ลกฺขณอาโป หรือ ปรมตฺถอาโป ได้แก่ ลักษณะไหลและเกาะกุม อันมี อยู่ทั้งในสิ่งที่มีวิญญาณ
และในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ซึ่งมี ๒ ลักษณะ คือ

(๑) ปคฺฆรณ ลกฺขณ หรือ ทรวภาว มีลักษณะ หรือสภาพที่ไหล

(๒) อาพนฺธน ลกฺขณ มีลักษณะเกาะกุม

ปรมัตถอาโป เป็นอาโปธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่า ธาตุน้ำ และธาตุน้ำในที่นี้ หมายถึงธาตุน้ำ
ที่เป็นปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือเกาะกุม ไม่ใช่น้ำที่มองเห็นหรือ ใช้ดื่มกันอยู่นี้ น้ำที่ใช้ดื่ม
ใช้สอยกันอยู่นี้ เป็นน้ำโดยสมมติ เป็นสสัมภารอาโป หรือสมมติอาโป น้ำโดยปรมัตถที่เรียกว่า
ธาตุน้ำนั้น จะต้องหมายถึงลักษณะที่ ปรากฏรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตา หรือสัมผัสได้
ด้วยกายปสาท เพียงรู้ ได้ด้วยใจเท่านั้น

ธรรมชาติที่รักษาสหชาติรูปได้อย่างมั่นคง ไม่ให้กระจัดกระจายไป ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า อาโป
หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวว่า ธรรมชาติที่แผ่ซึมซาบทั่วไปในรูปที่เกิดร่วมกับตน แล้วตั้งอยู่กับรูป
เหล่านั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป

อาโปธาตุนี้ มองเห็นไม่ได้ สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ส่วนน้ำที่เรามองเห็นกัน ใช้กันอยู่นี้
เป็นการเห็นธาตุต่าง ๆ รวมกันอยู่ในลักษณะอ่อนหรือเหลว เพราะมี ปฐวีธาตุน้อย มีอาโปธาตุมาก
ไม่ได้เห็นอาโปธาตุโดยส่วนเดียว ความปรากฏเป็น ลักษณะอ่อนเหลวของน้ำที่เราใช้ดื่มกันอยู่นี้
เนื่องด้วยอาโปธาตุนั้น

มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง
มีเตโชธาตุ ตามรักษา
มีวาโยธาตุ กระพือพัด

เมื่อใดที่อาโปธาตุมาก มีปฐวีธาตุน้อย ปรมาณูต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่นี้จะไหล ไปได้ ที่เราพูดกันว่า
น้ำไหล ๆ นั้น แท้จริงเป็นการไหลของปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นทำหน้า
ที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ เพราะปฐวีธาตุปรากฏน้อย จึงปรากฏอ่อนเหลว และไหลไปได้ ธรรมชาติ
ที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ แล้วไหลไปได้ นั่นเอง ที่เป็นอาโปธาตุ
อาโปธาตุนั้นมีอยู่ทั่วไปในวัตถุต่าง ๆ ที่แข็งและเหลวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ข. สสมฺภารอาโป ได้แก่ สสัมภาระธาตุต่าง ๆ ที่ประชุมรวมกันอยู่สมมติ เรียกว่า " น้ำ " หรือ ธาตุน้ำ
ตามนัยแห่งพระสูตร แบ่งออกเป็น ๒ อย่างดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๑) อชฺฌตฺติกอาโป ธาตุน้ำภายใน ได้แก่ ธาตุน้ำที่เป็นส่วนประกอบ
ภายใน ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย
โดยยกเอาอาการ ๓๒ ที่มีลักษณะเหลว สงเคราะห์เป็น ธาตุน้ำ มี ๑๒ คือ

เมทจฺฉกฺก
ปิตฺตํ - น้ำดี
เสมฺหํ - น้ำเสมหะ
ปุพฺโพ - น้ำหนอง
โลหิตํ - น้ำเลือด
เสโท - น้ำเหงื่อ
เมโท - น้ำมันข้น

มุตฺตจฺฉกฺก
อสฺสุ - น้ำตา
วสา - น้ำมันเหลว
เขโฬ - น้ำลาย
สิงฺฆาณิกา - น้ำมูก
ลสิกา - ไขข้อ
มุตฺตํ - น้ำมูตร

(๒) พาหิรอาโปธาตุน้ำภายนอก หมายถึง ธาตุน้ำอันเป็นส่วนประกอบ
ที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่นน้ำจากผลไม้ น้ำจากเปลือกไม้ น้ำจากลำต้นไม้ น้ำจาก ดอกไม้ เป็นต้น
ค . กสิณอาโปหรือ อารมฺมณอาโป ได้แก่น้ำที่นำมาใช้เป็นอารมณ์ในการ เพ่งกสิณ
ง. ปกติอาโป หรือ สมฺมติอาโป ได้แก่ น้ำที่สมมติเรียกกันว่า " น้ำ " ได้แก่ น้ำที่ใช้ดื่ม ใช้อาบ น้ำในคลอง น้ำในแม่น้ำ เป็นต้น ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า สสัมภารอาโป สำหรับปรมัตถอาโปธาตุนั้นเป็นรูปธาตุ ทำหน้าที่สมานเกาะกุมรูปทั้งหลายอันเกิดร่วมกับตน ทำให้รูปต่าง ๆ รวมกันอยู่ได้ ไม่ให้กระจัดกระจายไป เหมือนดังน้ำผึ้งที่ประสมกับยาผงเพื่อประสานให้ปั้นติดกันเป็นก้อนเป็นยาลูกกลอน ได้ฉะนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. เตโช

คำว่า เตโชธาตุ หรือ เตโชรูป เป็นรูปปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะร้อนหรือเย็น มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อุณฺหตฺต ลกฺขณา มีความอบอุ่น เป็นลักษณะ
ปริปาจน รสา ทำให้รูปเกิดร่วม สุกงอม เป็นกิจ
มทฺทวานุปฺปาทน ปจฺจุปฏฺฐานา ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วย ให้อ่อนนิ่ม เป็นผลปรากฏ
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการสุกงอมก็ดีความอบอุ่นก็ดีที่มีในกายนั้นเรียก เตโชธาตุ
ที่ว่า เตโชธาตุ มีความร้อน (อุณฺห) เป็นลักษณะนั้น หมายถึงความเย็น(สีต) ด้วย เพราะที่ว่าเย็นก็คือความร้อนมีน้อยนั่นเอง เช่น ใช้คำว่า อุณฺหเตโช หมายถึง ความร้อนและใช้คำว่า สีหเตโช หมายถึงความเย็น ซึ่งมีคำว่า เตโช อยู่ด้วยทั้งคู่

เตโชธาตุ ธาตุไฟ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

ก. ลกฺขณเตโช หรือ ปรมตฺถเตโช ได้แก่ ลักษณะของธาตุไฟที่มีสภาวะยืน
ให้พิสูจน์ด้วยการสัมผัสถูกต้องได้ มี ๒ ลักษณะ คือ

(๑) อุณหเตโช มีลักษณะร้อน
(๒) สีหเตโช มีลักษณะเย็น คือร้อนน้อย

ปรมัตถเตโช เป็นเตโชธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่าธาตุไฟและธาตุไฟในที่นี้ หมายถึง ธาตุไฟที่เป็นปรมัตถ ซึ่งมี
ลักษณะร้อนหรือเย็น ไม่ใช่ไฟที่มองเห็น หรือใช้หุงต้มกัน อยู่ขณะนี้ และไฟที่เรามองเห็นกันอยู่นี้ เป็นไฟ
โดยสมมติ ไม่ใช่ไฟโดยปรมัตถ ธาตุไฟโดยปรมัตถนั้น ต้องหมายถึงลักษณะที่ปรากฏทางกายปสาท เมื่อมีการกระทบกันเกิดขึ้น ความร้อนหรือเย็นนั่นแหละ คือธาตุไฟ

เตโชธาตุนี้มองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ การที่เรามองเห็นได้นั้น เป็นการเห็น ธาตุต่าง ๆ ที่รวมกันเป็น
ปรมาณูแล้วปรากฏเป็นความวิโรจน์ด้วยอำนาจของ เตโชธาตุ จึงปรากฏเห็นเป็นเปลวไฟลุกขึ้นมา
เปลวไฟที่เห็นนั้นไม่ใช่ธาตุไฟ แต่เป็นรูปารมณ์หรือวรรณะรูป คือรูปที่เห็นเป็นสีนั่นเอง

ดังนั้นความปรากฏของเตโชธาตุ จึงหมายถึงไออุ่น หรือไอเย็นที่สามารถรู้ได้ ด้วยปสาทกาย และเตโชธาตุนี้ มีหน้าที่เผาทำให้วัตถุต่าง ๆ สุก และทำให้ละเอียด นุ่มนวล อาหารต่าง ๆ จะสุกได้นั้นต้องอาศัยความร้อนหรือไออุ่นบางอย่างก็อาศัย ไอเย็น คือ ธรรมชาติใดที่ทำให้สุก ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เตโช
การเกิดขึ้นของเตโชธาตุ อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นปัจจัย คือ

๑. มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง
๒. มีอาโปธาตุ เกาะกุม
๓. มีวาโยธาตุ กระพือพัด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. สสมฺภารเตโช คือ สัมภาระของไฟ แบ่งออกเป็น ๒ จำพวก คือ

(๑) อชฺฌตฺติกเตโช ธาตุไฟภายใน หมายถึงธาตุไฟอันเป็นส่วนประกอบ ที่มีอยู่ในร่างกายที่มีวิญญาณ
มีอยู่ ๔ คือ
อุสมาเตโช ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นพอสบาย เป็นอุณหเตโช มีเป็น ประจำ และมีอยู่ทั่วร่างกาย
ปาจกเตโช ไฟที่ย่อยอาหาร (ที่เราเรียกว่า ไฟธาตุ) เป็นอุณหเตโช มีเป็นประจำ และมีอยู่ที่ลิ้นจนถึง
ทวารหนัก
ชิรณเตโช ไฟที่บ่มให้ร่างกายทรุดโทรมเหี่ยวแห้ง เป็นทั้ง อุณหเตโช และสีตเตโช มีเป็นประจำ และมีอยู่ทั่วร่างกาย
สนฺตาปนเตโช ไฟที่ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วย เป็นอุณหเตโช มีจรมา เป็นครั้งคราว (อาคันตุกะ)

(๒) พาหิรเตโช ธาตุไฟภายนอก หมายถึงธาตุไฟอันเป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ
มีอยู่มากมาย เช่น ไฟฟืน ไฟเผาหญ้า ไฟคูตโค ไฟแกลบ ไฟเผาขยะ ไฟแก๊ส ฯลฯ เป็นต้น

ค. กสิณเตโช หรือ อารมฺมณเตโช คือ ไฟที่เป็นนิมิตทั้งปวง มีในบริกรรม นิมิต อุคคหนิมิต และ
ปฏิภาคนิมิต

ง. ปกติเตโช หรือ สมฺมติเตโช คือไฟตามธรรมดาที่ใช้ในการหุงต้มเป็นต้น
อนึ่ง เตโชนี้แม้จะเป็นรูปธาตุที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของธาตุอื่น ๆ ก็ตาม แต่ว่ามีประสิทธิภาพเหนือธาตุอื่น ๆ ตรงที่ว่าสัตว์ทั้งหลายอายุจะยืนหรือไม่ ก็ เพราะเตโชธาตุนี่แหละ เช่น อุสมาเตโชให้ความอบอุ่นไม่พอ ปาจกเตโชไม่พอย่อย อาหาร เพียงเท่านี้ สัตว์ทั้งหลายก็จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้แล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อัชฌัตติกเตโช คือเตโชธาตุภายใน อีกนัยหนึ่งแสดงว่ามี ๕ อย่างดังจะแสดง โดยย่อ ต่อไปนี้

เตโชธาตุ ...............กิจ ..............ลักษณะ .........................ฐาน
๑. อุสมาเตโช .......อบอุ่น ..............อุณหะ ........................ทั่วกาย
๒. ปาจกเตโช .....ย่อยอาหาร ...........อุณหะ .................จากลิ้นถึงทวารหนัก
๓. ชิรณเตโช .........บ่ม .............อุณหะและสีตะ ...................ทั่วกาย
๔. สนฺตาปนเตโช ....ร้อน ...............อุณหะ ........................อาคันตุกะ
๕. ทาหนเตโช ...กระวนกระวาย ......อุณหะและสีตะ ...................อาคันตุกะ

เป็นการแสดงเตโชธาตุที่ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วยให้ละเอียดออกไปว่า เป็นไข้
ได้ป่วยชนิดที่ร้อนอย่างเดียวนั้นประเภทหนึ่งและเป็นชนิดที่สะบัดร้อนสะบัดหนาว
จนถึงกับกระวนกระวายอีกประเภทหนึ่งเท่านั้นเอง

เตโชธาตุทั้ง ๕ นี้ มีประจำอยู่ในร่างกายที่มีวิญญาณก็มี เป็นเตโชธาตุที่จะมา ก็มี เช่น อุสมาเตโช และ
ปาจกเตโช เป็นธาตุไฟที่มีอยู่ประจำในร่างกายที่มีวิญญาณ ส่วนสันตาปนเตโช ทาหนเตโช ไม่มีอยู่ประจำเป็นอาคันตุกะจรมาที่ปรากฏว่า ร้อนจัดหรือกระวนกระวาย ก็เพราะอุสมาเตโช เกิดมีอาการผิดปกติด้วยอำนาจ กรรมบ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง และอาหารบ้าง เป็นปัจจัยให้เกิดวิปริตผิดปกติไป เช่น คนที่เป็นไข้ มีอาการตัวร้อนกว่าคนที่ไม่เป็นไข้ บางคนเป็นไข้มีความร้อนสูงมาก ถึงกับเพ้อคลั่ง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก อุสมาเตโช แปรสภาพเป็นสันตาปนเตโช นั่นเอง จึงมีอาการตัวร้อนจัดและสันตาปนเตโชแปรสภาพเป็นทาหนเตโช จึงมีอาการร้อน จัดจนเพ้อคลั่งบางคนร้อนจัดจนร้องครวญคราง ร้องให้คนช่วย แต่ตัวผู้ร้องก็ไม่รู้ ปรอทวัดก็ไม่ขึ้น

แต่มีอาการร้องว่าร้อนจนคลุ้มคลั่ง ทั้งนี้ก็เพราะร้อนด้วยอำนาจกรรมนั่นเอง ส่วนความแก่ชราของคนและสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏนั้น ก็เพราะอุสมาเตโชที่มีอยู่ประจำในร่างกายคนและสัตว์นั่นเอง เปลี่ยนสภาพเป็นชิรณเตโช เผาให้ ปรากฏอาการทรุดโทรม แก่ชรา ผมหงอก ฟันหัก ตาฟาง เนื้อหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. วาโย

คำว่าวาโยธาตุ หรือวาโยรูป เป็นรูปปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหวหรือเคร่งตึง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิตฺถมฺภน ลกฺขณา มีความเคร่งตึง เป็นลักษณะ
สมุทีรณ รสา มีการไหว เป็นกิจ
อภินิหาร ปจฺจุปฏฺฐานา มีการเคลื่อนย้าย เป็นผล
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเคร่งตึงก็ดี การไหวก็ดีที่มีอยู่ในกายนั้น เรียกว่า วาโยธาตุ

วาโยธาตุ ธาตุลม แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
ก. ลกฺขณาวาโย หรือ ปรมตฺถวาโย ได้แก่ลักษณะของธาตุลมที่มีสภาวะให้ พิสูจน์รู้ได้ ๒ ลักษณะ คือ
(๑) วิตฺถมฺภน ลกฺขณ มีลักษณะเคร่งตึง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
(๒) สมุทีรณ ลกฺขณ มีลักษณะไหวโคลง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
วาโยธาตุตามนัยแห่งปรมัตถนั้น หมายถึง ธรรมชาติที่มีลักษณะ " ไหวหรือ เคร่งตึง "ธาตุลมที่มีลักษณะไหว เรียกว่า " สมุทีรณวาโย "และธาตุลมที่มีลักษณะ เคร่งตึง เรียกว่า " วิตฺถมฺภนวาโย "
ธรรมชาติของวิตถัมภนวาโยนี้ ทำให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ตั้งมั่นไม่ คลอนแคลนเคลื่อนไหวได้
ในร่างกายของคนเรา ถ้ามีวิตถัมภนวาโยปรากฏแล้ว บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกตึง ปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย
หรือเมื่อเวลาที่เราเกร็งแขน ขา หรือ เพ่งตาอยู่นานๆ โดยไม่กระพริบตา ก็จะปรากฏเป็นอาการเคร่งตึง
นั่นคือ วิตถัมภนวาโยธาตุปรากฏ
ในร่างกายของคนและสัตว์ ถ้ามีวิตถัมภนวาโยมากมีสมุทีรณวาโยน้อยร่างกาย หรือส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกายจะเคร่งตึง ถ้ามีสมุทีรณวาโยมากวิตถัมภนวาโยน้อย ร่างกายหรือสัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
จะเคลื่อนไหวหรือไหวไปได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. สสมฺภารวาโย คือ สัมภาระของลม หรือสสัมภาระต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่ รวมเรียกว่า ลม
แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ
(๑) อชฺฌตฺติกวาโย ธาตุลมภายใน หมายถึงธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบของ ร่างกายที่มีวิญญาณ ซึ่งมีอยู่๖ อย่างคือ
อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การเรอ การหาว การไอ การจาม เป็นต้น
อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องต่ำ เช่น การผายลม การเบ่ง (ลมเบ่ง) เป็นต้น
กุจฺฉิสยวาโย หรือ กุจฺฉิฏฺฐวาโย ลมที่อยู่ในช่องท้อง ทำให้ปวดท้อง เสียดท้อง เป็นต้น
โกฏฺฐาสยวาโย ลมที่อยู่ในลำไส้ เช่น ท้องลั่น ท้องร้อง เป็นต้น
องฺคมงฺคานุสาริวาโย ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย ทำให้ไหวร่างกายได้
อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าออก

(๒) พาหิรวาโย ธาตุลมภายนอก หมายถึง ธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบ ที่มีอยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่น ลมพายุ ลมเหนือ ลมหนาว เป็นต้น
ความปรากฏของธาตุลมซึ่งเรียกว่า วาโยธาตุ นั้น อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ ให้ปรากฏ และเป็นไปดังนี้
๑. มีปฐวีธาตุเป็นที่ตั้ง
๒. มีอาโปธาตุเกาะกุม
๓. มีเตโชธาตุ ทำให้อุ่นหรือเย็น
ค. กสิณวาโย หรือ อารมฺมณวาโย คือ ลมที่เป็นกสิณซึ่งเป็นอารมณ์ของ จิตแห่งพระโยคาวจร ผู้ทำ
ฌานด้วยการที่เอาวาโยธาตุที่ทำให้ใบไม้ไหว ที่ทำให้ เส้นผมไหว ที่ทำให้ก้อนเมฆลอยไป เป็นนิมิต ตั้งแต่ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต จนถึงปฏิภาคนิมิต
ง. ปกติวาโย หรือ สมฺมติวาโย คือ ลมธรรมดาที่พัดผ่านไปมานี่แหละ อนึ่ง วาโยธาตุนี้ เป็นรูปธาตุที่มีความสำคัญมากแก่สัตว์ที่มีวิญญาณ เพราะ ถ้าไม่มีลมหายใจก็ตาย และธาตุลมนี่แหละที่ทำให้ไหววาจาและไหวกายได้ ไหววาจา ไหวกายดีมีประโยชน์ ก็เป็นบุญเป็นกุสล ให้ผลเป็นสุข ไหววาจาไหวกายชั่ว มีโทษ ก็เป็นบาปเป็นอกุสลให้ผลเป็นทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ธาตุทั้ง ๔ หรือมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย นี้เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมที่เกิด
พร้อมกันเกิดร่วมกัน กล่าวคือไม่ว่าจะปรากฏ ณ ที่ ใด จะต้องปรากฏ ณ ที่นั้นครบทั้งคณะ คือทั้ง ๔ ธาตุเสมอเป็นนิจและแน่นอน ต่างกันแต่เพียงว่า อาจจะมีธาตุใดธาตุหนึ่งยิ่งและหย่อนกว่ากันเท่านั้น จะขาดธาตุใดธาตุหนึ่งใน ๔ ธาตุนี้ไปแม้แต่เพียงธาตุเดียว เป็นไม่มีเลย
ธาตุดินที่แข็ง ย่อมจะอยู่กับน้ำที่เกาะกุมอยู่กับไฟที่เย็นและอยู่กับลมที่เคร่งตึง
ส่วนธาตุดินที่อ่อน ย่อมจะอยู่กับน้ำที่ไหล อยู่กับไฟที่ร้อนและอยู่กับลมที่ไหว

อนึ่ง ในจำนวน ๔ ธาตุนี้ ยังจัดได้เป็น ๒ พวก คือ มิสฺสก มิตรธาตุ และ ปฏิปกฺข ศัตรูธาตุ หรือจะเรียก
ง่ายๆ ว่า คู่ธาตุ คู่ศัตรู ก็ได้เข้าคู่กันดังนี้

ปฐวี ดิน กับ อาโป น้ำ เป็นมิสฺสก มิตรธาตุ คู่ธาตุ
เตโช ไฟ กับ วาโย ลม เป็นมิสฺสก มิตรธาตุ คู่ธาตุ
ปฐวี ดิน กับ วาโย ลม เป็นปฏิกฺข ศัตรูธาตุ คู่ศัตรู
เตโช ไฟ กับ อาโป น้ำ เป็นปฏิกฺข ศัตรูธาตุ คู่ศัตรู

ที่ปฐวีธาตุ กับ อาโปธาตุ เป็นมิสฺสก เป็นคู่ธาตุกัน เพราะเป็นธาตุหนักเหมือนกัน ที่ใดมีดินมาก
ที่นั้นจึงมีน้ำมากด้วย
ที่เตโชธาตุ กับ วาโยธาตุ เป็นมิสฺสก เป็นคู่ธาตุกัน เพราะเป็นธาตุเบาเหมือนกัน ที่ใดมีไฟมาก
ที่นั้นมีลมมากด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28P06.gif
Rup28P06.gif [ 26.7 KiB | เปิดดู 5131 ครั้ง ]
ธาตุทั้ง ๔ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เฉพาะที่เป็นส่วนประกอบในสรรพางค์กายที่มีวิญญาณนั้น
เมื่อประมวลแล้วย่อมได้ จำนวน ๔๒ โกฏฐาส ( อาการ ๔๒ ) คือ

ปฐวีธาตุ ประกอบใน ๒๐ โกฏฐาส
อาโปธาตุ ประกอบใน ๑๒ โกฏฐาส
เตโชธาตุ ประกอบใน ๔ โกฏฐาส
วาโยธาตุ ประกอบใน ๖ โกฏฐาส
รวม ๔๒ โกฏฐาส

ธาตุทั้ง ๔ คือ ๔๒ โกฏฐาส หรือ อาการ ๔๒ นี้ มีนามสติปัฏฐานว่า จตุธาตุววัฏฐาน

ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป

ปสาทรูป คือ รูปที่เป็นความใสอันเกิดจากกรรม มีความสามารถในการรับ อารมณ์ได้
เรียกว่า ปสาทรูป ซึ่งมีอยู่ ๕ รูป คือ
๑. จักขุปสาทรูป ได้แก่ ปสาทตา
๒. โสตปสาทรูป ได้แก่ ปสาทหู
๓. ฆานปสาทรูป ได้แก่ ปสาทจมูก
๔. ชิวหาปสาทรูป ได้แก่ ปสาทลิ้น
๕. กายปสาทรูป ได้แก่ ปสาทกาย
ปสาทรูปทั้ง ๕ นี้ มีสภาพเป็นความใส เกิดจากกรรมโดยสมุฏฐานเดียว สามารถรับอารมณ์ได้
และยังผลให้สำเร็จกิจเป็นกุสลหรืออกุสลได้ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.gif
ลุงหมานออกแบบ.gif [ 30.08 KiB | เปิดดู 5094 ครั้ง ]
๕. จักขุปสาทรูป

จักขุปสาท คือ ดวงตาของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เรียกว่า มังสจักขุ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
๑. สสมฺภารจกฺขุ คือ ส่วนต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่ทั้งหมดเรียกว่า " ดวงตา " ซึ่งมีทั้งตาขาวและตาดำ
มีก้อนเนื้อเป็นฐานรองรับปสาทจักขุไว้
๒. ปสาทจักขุ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " จักขุปสาท " คือ ความใสของมหา ภูตรูปอันเกิดจากกรรม
ที่ตั้งอยู่บนกลางตาดำ
ดวงตาทั้งหมดไม่ชื่อว่า จักขุปสาท ที่เรียกว่าจักขุปสาทนั้นก็คือ ธรรมชาติ ที่เป็นรูปชนิดหนึ่ง เกิดจากกรรม มีความใสดุจเงากระจก เป็นเครื่องรับรูปารมณ์ ตั้งอยู่ระหว่างตาดำมีหลักฐานแสดงไว้ชัดว่า เป็นเยื่อบางๆ ซับซ้อนกันอยู่ถึง ๗ ชั้น ประดุจปุยนุ่นที่ชุ่มด้วยน้ำมันงาชุ่มอยู่ทั้ง ๗ ชั้น โตประมาณเท่าศีรษะของเหา มี หน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ
(๑) เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณจิต ๒
(๒) เป็นทวาร คือ ทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของจักขุทวารวิถีจิตในปัญจ ทวารวิถี

จักขุปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

รูปาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบ รูปารมณ์ เป็นลักษณะ
รูเปสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการชักดึงมาซึ่งรูปารมณ์ เป็นกิจ
จกฺขุวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการรองรับซึ่งจักขุวิญญาณ เป็นผล
ทฏฺฐกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม ( รูปตัณหา ) มีความใคร่ที่จะเห็น รูปารมณ์ เป็นเหตุใกล้

อนึ่ง คำว่า จักขุ ยังจำแนกเป็น ๒ ประการคือ ปัญญาจักขุ และ มังสจักขุ
ปัญญาจักขุ เป็นการรู้ด้วยปัญญา เป็นการรู้ทางใจ ไม่ใช่เห็นด้วยนัยน์ตา มีอยู่ ๕ ชนิด คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๑) พุทฺธจกฺขุเป็นจักขุญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ ญาณที่รู้ในอัชฌาสัยของสัตว์โลก เรียกว่า อาสยานุสยญาณ ญาณที่สามารถรู้อินทรียของสัตว์ทั้งหลายว่ายิ่ง หรือหย่อนเพียงใด เรียกว่า อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณดังกล่าวแล้วองค์ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตต จิต ๔
(๒) สมนฺตจกฺขุ เป็นจักขุญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ สัพพัญญุตญาณ ญาณที่สามารถรอบรู้สิ้นปวงสังขตธรรมและอสังขตธรรม องค์ ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตดวงที่ ๑
(๓) ญาณจักขุ คือ อรหัตตมัคคญาณ ญาณของพระอรหันต์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน
อรหัตตมัคคจิต
(๔) ธมฺมจกฺขุ คือ ญาณของพระอริยทั้ง ๓ มีพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี องค์ธรรม
ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมัคคจิตเบื้องต่ำ ๓
(๕) ทิพฺพจกฺขุ คือ ญาณที่รู้ด้วยตาทิพย์ คือ อภิญญา องค์ธรรมได้แก่ อภิญญาจิต ๒
(๖) ส่วน มังสจักขุ นั้นคือ การเห็นด้วยนัยน์ตาเนื้อ ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา ได้แก่ จักขุของมนุษย์ และสัตว์
ทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ รวมเป็น ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขุ ๖ เมื่อเอ่ยว่า จักขุ ๖ ก็หมายถึง
ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ นี่แหละ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. โสตปสาทรูป

โสตปสาทรูป หมายถึงประสาทหู ที่อยู่ในช่องหู มีสัณฐานเป็นวง ๆ คล้าย วงแหวน และมีขนอันละเอียดอ่อนสีแดงปรากฏอยู่โดยรอบ เป็นรูปธรรมที่มีความ สามารถในการรับสัททารมณ์ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งโสตวิญญาณ และเป็นทวาร อันเป็นทางให้เกิดโสตทวารวิถีจิต
โสตะ คือ หูของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มี ๒ อย่าง คือ
๑. สสมฺภารโสต ได้แก่ หูทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยสสัมภารธาตุ อันเป็นที่ ตั้งที่อาศัยเกิดของโสตปสาท
๒. ปสาทโสต ได้แก่ โสตปสาท ซึ่งตั้งอยู่กลางหู มีสัณฐานคล้ายวงแหวน มีขนละเอียดอ่อนล้อมอยู่โดยรอบ
ฉะนั้นหูทั้งหมดที่มองเห็นเป็นรูปหูนั้น ไม่ชื่อว่า โสตปสาท ที่ชื่อว่าโสตปสาท นั้นก็คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความสามารถรับเสียงต่าง ๆ ได้ ตั้งอยู่ภายในช่องหู มีสัณฐานเหมือนวงแหวน มีขนสีแดง เส้นละเอียดเกิดขึ้นโดยรอบ โสตปสาทแผ่อยู่ทั่วบริเวณนั้น มีหน้าที่สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ
ก. เป็นที่อาศัยเกิด ของโสตวิญญาณ ๒
ข. เป็นทวาร คือ ทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของโสตทวารวิถี

โสตปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

สทฺทาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูป ที่กระทบ สัททารมณ์ เป็นลักษณะ
สทฺเทสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการแสวงหาสัททารมณ์ เป็นกิจ
โสตวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของโสตวิญญาณ เป็นผล
โสตุกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม (สัททตัณหา) เป็นเหตุใกล้

อนึ่งคำว่า โสต นี้ยังแบ่งเป็น ๓ ประการอันเรียกกันสั้น ๆ ว่า โสต ๓ คือ
(๑) ทิพฺพโสต ญาณที่รู้ด้วยหูทิพย์ คือ อภิญญา องค์ธรรมได้แก่ อภิญญาจิต ๒
(๒) ตณฺหาโสตกระแสของตัณหา หมายความว่า ตัณหานั้นเป็นกระแสร์ พาให้ไหลไปในอารมณ์ทั้ง ๖
และไหลไปสู่กามภพ รูปภพ อรูปภพ
(๓) ปสาทโสต ได้แก่โสตปสาทรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ฆานปสาทรูป

ฆานปสาทรูป หมายถึง ประสาทจมูก ที่อยู่ในช่องจมูก อันมีสัณฐานเหมือน กีบแพะ เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถในการรับคันธารมณ์ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้ง แห่งฆานวิญญาณ และเป็นทวารอันเป็นทางให้เกิดฆานทวารวิถีจิต

ฆานปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

คนฺธาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูป(ที่เกิดจาก กรรม) ที่กระทบคันธารมณ์ เป็นลักษณะ
คนฺเธสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการแสวงหาคันธารมณ์เป็นกิจ
ฆานวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของฆานวิญญาณ เป็นผล
ฆายิตุกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม (คันธตัณหา) เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. ชิวหาปสาทรูป

ชิวหาปสาทรูป หมายถึง ประสาทลิ้น ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางลิ้นอันมีสัณฐาน เหมือนปลายกลีบดอกบัว เรียงรายซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถ ในการรับรสารมณ์ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งชิวหาวิญญาณ และเป็นทวารอันเป็น ทางให้เกิดชิวหาทวารวิถีจิต
ชิวหาปสาท คือ ประสาทลิ้นของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. สสมฺภารชิวหา ได้แก่ ลิ้น ซึ่งประกอบด้วยสสัมภารธาตุต่าง ๆ อัน เป็นที่เกิดของชิวหาปสาท คือ
ลิ้นทั้งหมดที่เราเห็นนั่นเอง
๒. ปสาทชิวหา ได้แก่ ชิวหาปสาท ซึ่งมีสัณฐานคล้ายกลีบดอกบัว ตั้งอยู่ โดยรอบบริเวณปลายลิ้น
สำหรับชิวหาปสาทในที่นี้ มุ่งหมายเอาชิวหาปสาทที่เป็นสภาพของรูปปรมัตถ ที่เรียกว่าชิวหาปสาท ก็คือ
ธรรมชาติที่เป็นรูปชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรม มีความใส บริสุทธิ์ เป็นเครื่องรับรสต่าง ๆ ตั้งอยู่โดยรอบ
บริเวณลิ้น มีสัณฐานคล้ายกลีบบัวมีหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ
ก. เป็นที่อาศัยเกิดของชิวหาวิญญาณจิต
ข. เป็นทวาร คือทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของชิวหาทวารจิตในปัญจทวารวิถี

ชิวหาปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

รสาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบ รสารมณ์ เป็นลักษณะ
รเสสุ อาวิญฺฉน รสํ มีการแสวงหารสารมณ์ เป็นกิจ
ชิวหาวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของชิวหาวิญญาณ เป็นผล
สายิตุกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม (รสตัณหา) เป็นเหตุใกล้

ชิวหาเป็นรูปที่มีสภาพคล้ายกับเรียกรส ซึ่งเป็นเหตุให้อายุยืน รูปนั้นชื่อว่า ชิวหา ทั้งนี้เพราะธรรมชาติ
ของชิวหาปสาทนี้ ย่อมน้อมอยู่ในรสต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ พอใจของชิวหาวิญญาณให้มาสู่ตน รวมความแล้วก็คือ ชิวหาปสาทเป็นรูปที่เกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่องรับรสต่าง ๆ นั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร