ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ปัจจเวกขณวิถี http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=35724 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 13 ธ.ค. 2010, 18:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | ปัจจเวกขณวิถี |
ปัจจเวกขณะ แปลว่า พิจารณา หมายถึง การพิจารณาเพื่อให้ทราบตาม สภาวะธรรมที่เป็นจริง ปัจจเวกขณวิถี ก็คือ วิถีจิต หรือ ลำดับความเป็นไปของจิตที่พิจารณาถึง สภาพแห่งความเป็นจริง ดังนั้นจึงเป็นมหากุสล หรือมหากิริยาชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี เมื่อ มัคควิถีสิ้นสุดลงแล้ว ต้องมีปัจจเวกขณวิถีอย่างแน่นอน จะไม่มี ปัจจเวกขณวิถีเกิดภายหลังมัคควิถีนั้นไม่ได้ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลังมัคควิถี ก็เพื่อพิจารณาธรรม ๕ ประการ คือ ๑. พิจารณามัคค ๒. พิจารณาผล ๓. พิจารณานิพพาน ๔. พิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว ๕. พิจารณากิเลสที่คงเหลืออยู่ ในปัจจเวกขณะ ๕ ประการนี้เฉพาะ ๓ ประการแรกคือ การพิจารณามัคค ๑ การพิจารณาผล ๑ และการพิจารณานิพพาน ๑ ต้องมี ต้องพิจารณาอย่างแน่นอน ขาดไม่ได้ ส่วนการพิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว ๑ และการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ๑ นั้น บางทีก็พิจารณา บางทีก็ไม่พิจารณา กล่าวคือ ถ้าผู้นั้นได้ศึกษาทางปริยัติ จึงจะ ทราบเรื่องราวของกิเลส เมื่อทราบก็พิจารณาได้ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษามา ก็ไม่ทราบเรื่อง จึงไม่พิจารณา ปัจจเจกขณวิถี ที่เกิดหลังจากโสดาปัตติมัคควิถี สกทาคามีมัคควิถี และ อนาคามีมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่ ก็พิจารณาทั้ง ๕ ประการ ส่วนปัจจเวก ขณวิถีที่เกิดภายหลังอรหัตตมัคควิถี ก็พิจารณาเพียง ๔ ประการ เว้นการพิจารณา กิเลสที่คงเหลือ เพราะพระอรหันต์ท่านละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสที่เหลือเลย รวมปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลังมัคควิถี คิดจำนวนอย่างเต็มที่เป็น ๑๙ ประการ คือ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง โสดาปัตติมัคควิถี ๕ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง สกทาคามิมัคควิถี ๕ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อนาคามิมัคควิถี ๕ ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อรหัตตมัคควิถี ๔ ปัจจเวกขณวิถี เกิดหลังจาก อาทิกัมมิกฌานวิถี และ ฌานสมาบัติวิถี ทำ หน้าที่พิจารณาองค์ฌานนั้น ก็มีได้ แต่ไม่แน่นอนว่าจะต้องมีเสมอไป แต่หลังจาก อภิญญาวิถี ผลสมาบัติวิถี หรือ นิโรธสมาบัติวิถีนั้น ปัจจเวกขณ วิถีไม่เกิด นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้บุคคลสามัญที่มิใช่ฌานลาภีบุคคล หรือเป็น พระอริยบุคคล ก็มีปัจจเวกขณวิถีได้ เป็นมหากุสลชวนมโนทวารวิถี อันเป็นกามวิถี เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง เช่น อภิณหปัจจเวกขณะ ๕ คือ ๑. พิจารณาว่า เรามีความ แก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒. พิจารณาว่า เรามีความ เจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ ๓. พิจารณาว่า เรามีความ ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔. พิจารณาว่า เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕. พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นของตัว ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |