วันเวลาปัจจุบัน 06 ธ.ค. 2024, 21:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อารัมมณสังคหะ คือ การรวบรวมกล่าวเรื่องอารมณ์ คำว่า อารัมมณะ นี้บางทีเรียกว่า อารัมพนะ มีความหมายอย่างเดียวกัน

อารมณ์ คือ ธรรมชาติอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก “สภาวะที่ สามารถยังให้จิตและเจตสิกธรรมข้องได้นั้น ชื่อว่า อารมณ์”

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ มี ๖ ประเภท

จิตจะต้องมีอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวอย่างแน่นอน จิตที่ ไม่มีอารมณ์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนั้นไม่มีเลย

อารมณ์ในสังคหะนี้มี ๖ ประเภท อันเป็นการจำแนกตามความสามารถแห่ง ทวารที่จะพึงรับอารมณ์นั้น ๆ ได้ คือ

๑. รูปารมณ์ แปลว่า รูปเป็นอารมณ์ ได้แก่ วัณณะ (สี) เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ของจิตและเจตสิก ทางตา

๒. สัททารมณ์ แปลว่า เสียงเป็นอารมณ์ ได้แก่ สัททะ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ของจิตและเจตสิก ทางหู

๓. คันธารมณ์ แปลว่า กลิ่นเป็นอารมณ์ ได้แก่ คันธะ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ของจิตและเจตสิก ทางจมูก

๔. รสารมณ์ แปลว่า รสเป็นอารมณ์ ได้แก่ รสะ คือ อมฺพิล รสเปรี้ยว, มธุร รสหวาน, โลณิก รสเค็ม, กฎก รสเผ็ด, ติตฺต รสขม และ กสาว รสฝาด รวมทั้งหมด ๖ รสเท่านี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางลิ้น

๕. โผฏฐัพพารมณ์ แปลว่า การสัมผัสถูกต้องกาย เป็นอารมณ์ ได้แก่ ปฐวี ความแข็ง ความอ่อน, เตโช ความร้อน ความเย็น, วาโย ความหย่อน ความเคร่ง ตึง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางกาย

ทั้ง ๕ อารมณ์นี้ รวมเรียกว่า ปัญจารมณ์

๖. ธัมมารมณ์ แปลว่า สภาพธรรมที่สาธารณแก่ใจเป็นอารมณ์ ได้แก่ สภาว ธรรม ๖ ประการ คือ ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพาน และ บัญญัติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางใจ (ทางมโน)

รวมอารมณ์ทั้ง ๖ นี้เรียกว่า ฉอารมณ์

รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ อันรวมเรียกว่า ปัญจารมณ์ หรือ อารมณ์ทั้ง ๕ นี้เป็น รูปธรรม

ส่วน ธัมมารมณ์ นั้น จิต เจตสิก และนิพพาน เป็น นามธรรม ปสาทรูป ๕ และสุขุมรูป ๑๖ เป็น รูปธรรม เฉพาะบัญญัติ นั้น ไม่ใช่รูปธรรม และไม่ใช่นาม ธรรมด้วย แต่เป็น บัญญัติธรรม

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ ๖ จำแนกเป็น ๔ นัย

อารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และ ธัมมารมณ์ นี้ จำแนกได้เป็น ๔ นัย คือ

๑. กามอารมณ์
๒. มหัคคตอารมณ์
๓. บัญญัติอารมณ์
๔. โลกุตตรอารมณ์

นัยที่ ๑ กามอารมณ์ บ้างก็เรียก กามารมณ์ องค์ธรรม ได้แก่ กามจิต ๕๔, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘ หมายความว่า เมื่อจิตยึดหน่วงเอากามจิต ๕๔ ดวงนั้น ดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี หรือยึดหน่วงเอารูป ๒๘ นั้นรูปใดรูปหนึ่งเป็น อารมณ์ก็ดี ก็ได้ชื่อว่า จิตนั้นยึดหน่วงกามอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็น กามธรรม

นัยที่ ๒ มหัคคตอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ มหัคคตจิต ๒๗ เจตสิก ๓๕ หมายความว่า เมื่อจิตยึดหน่วงเอามหัคคตจิต ๒๗ นั้นดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ ก็ได้ชื่อว่าจิตนั้นยึดหน่วงมหัคคตอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็นมหัคคตธรรม

กามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ เป็น โลกียอารมณ์ เพราะองค์ธรรมของ อารมณ์ทั้ง ๒ นี้ เป็นโลกียธรรมทั้งนั้น เมื่อจิตยึดหน่วงเอาโลกียธรรมเป็นอารมณ์ ก็ได้ชื่อ ว่าจิตนั้นมีอารมณ์เป็นโลกีย

นัยที่ ๓ บัญญัติอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ บัญญัติธรรม ๒ ประการ คือ อัตถบัญญัติ และ สัททบัญญัติ

อัตถบัญญัติ ได้แก่ การสมมติขึ้นเพื่อให้รู้เนื้อความ หรือความหมายแห่ง รูปร่าง สัณฐาน หรือลักษณะอาการของชื่อนั้น ๆ เช่น ภูเขา ต้นไม้ บ้านเรือน เดิน วิ่ง เป็นต้น

สัททบัญญัติ ได้แก่ รู้จักเสียงที่เรียกชื่อนั้น ๆ คือ รู้ด้วยเสียงที่หมายถึง อัตถบัญญัตินั้น ๆ เช่น ในขณะที่ไม่ได้เห็นภูเขา ไม่ได้เห็นต้นไม้ แต่เมื่ออกเสียง พูดว่าภูเขา พูดว่าต้นไม้ ก็รู้และเข้าใจได้ว่า ภูเขา ต้นไม้ มีรูปร่างสัณฐานเป็น อย่างนั้น ๆ หรือไม่ได้เห็นขณะที่เดิน ขณะที่วิ่ง แต่เมื่ออกเสียงพูดว่า เดิน วิ่ง ก็รู้และเข้าใจได้ว่า เดิน วิ่ง มีอาการอย่างนั้น ๆ เช่นนี้เป็นต้น

เมื่อจิตยึดหน่วงเอาบัญญัติอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ ก็ได้ชื่อว่าจิตนั้นยึด หน่วงบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็นบัญญัติธรรม

นัยที่ ๔ โลกุตตรอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ และ เจตสิก ๓๖ และ นิพพาน เมื่อจิตยึดหน่วงเอามัคคจิตดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี ยึด หน่วงเอาผลจิตดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ดี ก็ได้ชื่อว่า จิตนั้นยึดหน่วงโลกุตตรอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็น โลกุตตรธรรม

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตใดยึดหน่วงอารมณ์อะไร

ขอกล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า จิตต้องมีอารมณ์ ขึ้นชื่อว่าจิตแล้วจะไม่ยึดหน่วง อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นไม่มีเลย แต่ว่า จิตใดยึดหน่วง หรือข้องอยู่ในอารมณ์ใด บ้างนั้น มีแสดงไว้ดังนี้

จิต ๒๕ ดวง ยึดหน่วงกามอารมณ์

จิต ๖ ดวง ยึดหน่วงมหัคคตอารมณ์

จิต ๒๑ ดวง ยึดหน่วงบัญญัติอารมณ์

จิต ๘ ดวง ยึดหน่วงนิพพานอารมณ์

จิต ๒๐ ดวง ยึดหน่วงอารมณ์ที่เว้นจาก โลกุตตร

จิต ๕ ดวง ยึดหน่วงอารมณ์ที่เว้นจาก อรหัตตมัคค อรหัตตผล

จิต ๖ ดวง ยึดหน่วงอารมณ์ได้ทั้งหมดทั้งสิ้น

อธิบาย

๑. จิต ๒๕ ดวง ยึดหน่วง กามอารมณ์ นั้น คือ

ก. จิต ๑๐ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ยึดหน่วงปัญจารมณ์ โดยเฉพาะๆ ที่เป็นปัจจุบัน

ข. จิต ๓ ดวง ได้แก่ มโนธาตุ ๓ ยึดหน่วงปัญจารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน

ค. จิต ๑๒ ดวง ได้แก่ ตทาลัมพน ๑๑ หสิตุปปาท ๑ ยึดหน่วงอารมณ์ ๖ ที่เป็น กามธรรม

๒. จิต ๖ ดวง ยึดหน่วง มหัคคตอารมณ์ นั้น คือ

ก. วิญญาณัญจายตนจิต ๓ ดวง มี อากาสานัญจายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ เป็นอารมณ์

ข. เนวสัญญานาสัญญายตนจิต ๓ ดวง มีอากิญจัญญายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ เป็นอารมณ์

๓. จิต ๒๑ ดวง ยึดหน่วง บัญญัติอารมณ์ นั้น คือ

ก. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง มีบัญญัติเป็นอารมณ์

ข. อากาสานัญจายตนจิต ๓ ดวง มีกสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติเป็นอารมณ์

ค. อากิญจัญญายตนจิต ๓ ดวง มีนัตถิภาวบัญญัติ เป็นอารมณ์

๔. จิต ๘ ดวง ยึดหน่วง นิพพานอารมณ์ นั้น คือ

โลกุตตรจิต ๘ ดวง ได้แก่ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่อย่างเดียว

๕. จิต ๒๐ ดวง ยึดหน่วง อารมณ์ที่เว้นจากโลกุตตรนั้น คือ

ก. อกุสลจิต ๑๒ ดวง

ข. มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ ดวง

ค. มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ ดวง

มีอารมณ์ ๖ ที่เป็นโลกีย และบัญญัติ คือ มีกามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ บัญญัติอารมณ์ได้ (เว้นโลกุตตรอารมณ์)

๖. จิต ๕ ดวงยึดหน่วงอารมณ์ที่เว้นจากอรหัตตมัคค อรหัตตผล คือ

ก. มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ดวง

ข. อภิญญากุสล ๑ ดวง

มีอารมณ์ ๖ ที่เป็นโลกีย บัญญัติ และโลกุตตรได้(เว้นเฉพาะอรหัตตมัคคอรหัตตผล)

๗. จิต ๖ ดวง ยึดหน่วง อารมณ์ได้ทั้งหมดนั้น คือ

ก. มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง

ข. มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ดวง

ค. อภิญญา กิริยา ๑ ดวง

มีอารมณ์ ๖ ที่เป็น โลกีย บัญญัติ และโลกุตตรได้ทั้งหมด ไม่มีเว้นเลย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ

๑. กามอารมณ์

ในข้อ ๑ ก. ที่ว่าจิต ๑๐ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มี ปัญจารมณ์ โดยเฉพาะ ๆ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวนั้น คือ

จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ รูปารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์

โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ สัททารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์

ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ คันธารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์

ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ รสารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์

กายวิญญาณจิต ๒ ดวง มีเฉพาะ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว เป็นอารมณ์

ในข้อ ๑ ข. ที่ว่าจิต ๓ ดวง ได้แก่ มโนธาตุ ๓ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ มีปัญจารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารมณ์นั้น คือ

ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวงนี้ จิตแต่ละดวงก็มี รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ หรือ โผฏฐัพพารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ก็ได้ ไม่จำกัดเป็นเฉพาะอย่างเหมือนในข้อ ๑ ก. แต่ข้อสำคัญอารมณ์ นั้นจะต้องเป็นปัจจุบันด้วย

ในข้อ ๑ ค. ที่ว่าจิต ๑๒ ดวง ได้แก่ ตทาลัมพนจิต ๑๑ หสิตุปปาทจิต ๑ มีอารมณ์ ๖ ที่เป็นกามธรรมนั้น คือ

จิต ๑๒ ดวงที่ว่านี้มีอารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่งเฉพาะที่เป็นกามธรรมเป็น อารมณ์ได้ และอารมณ์นั้นจะเป็นปัจจุบัน หรืออดีต หรืออนาคตก็ได้ ไม่จำกัดว่า จะต้องเป็นปัจจุบันอย่างเดียว เหมือนข้อ ๑ ก. และข้อ ๑ ข.

ในข้อ ๑ นี้ รวมจิตได้ ๒๕ ดวง แม้จะมีอารมณ์ต่างกันก็จริง แต่ว่าอารมณ์ เหล่านั้นล้วนแต่เป็นกามธรรมทั้งนั้น เมื่อจิตทั้ง ๒๕ ดวงนี้ต่างก็มีกามธรรมเป็น อารมณ์ จึงได้ชื่อว่า จิต ๒๕ ดวงยึดหน่วง กามอารมณ์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. มหัคคตอารมณ์

ในข้อ ๒ ก. วิญญาณัญจายตนจิต ๓ ดวง มี อากาสานัญจายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ เป็นอารมณ์ นั้น คือ

(๑) เบื้องต้นต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ผู้ที่ได้อากาสานัญจายตนฌานแล้ว เจริญ สมถภาวนาต่อ เพื่อให้ได้มาซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานก็ดี หรือผู้ที่ได้วิญญาณัญจาย ตนฌานแล้ว จะเข้าวิญญาณัญจายตนฌานอีกครั้งใดเมื่อใดก็ดี จะต้องมีอากาสานัญ จายตนกุสลจิต หรือกิริยาจิตที่เคยเกิดแล้วแก่ตนนั้น เป็นอารมณ์เสมอไปอย่าง แน่นอน (จะใช้อารมณ์อย่างอื่นใด หาได้ไม่) วิญญาณัญจายตนฌานจึงจะเกิดขึ้นได้

(๒) ติเหตุกปุถุชนก็ดี ผลเสกขบุคคลก็ดี ผู้เป็นวิญญาณัญจายตนฌานลาภี บุคคลเข้าฌาน เพื่อให้วิญญาณัญจายตนกุสลเกิด ก็มีอากาสานัญจายตนกุสล ที่เคย เกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์

(๓) เมื่อบุคคลใน (๒) ตายไป ก็ไปบังเกิดเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ปฏิสนธิด้วยวิญญาณัญจายตนวิบากจิต สถิตในวิญญาณัญจายตนภูมิ วิญญาณัญ จายตนวิบากจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจนี้ ก็มีอากาสานัญจายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ ตนในภพก่อนนั้นเป็นอารมณ์

ตลอดจนวิญญาณัญจายตนวิบาก ที่ทำหน้าที่ภวังคกิจ และจะทำหน้าที่จุติกิจ ต่อไปนั้น ก็มีอากาสานัญจายตนกุสล ที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพก่อนเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน

(๔) เมื่อบุคคลใน (๒) ยังไม่ตาย เจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไปจนบรรลุ อรหัตตมัคค อรหัตตผล เป็นอเสกขบุคคล คือเป็นพระอรหันต์แล้ว เข้าวิญญาณัญ จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌานที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นวิญญาณัญจายตนกิริยา (ไม่ ใช่กุสลเพราะขณะนี้เป็นพระอรหันต์แล้ว) วิญญาณัญจายตนกิริยานี่แหละมีอากาสานัญจายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์

(๕) พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคล เข้าอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อ อากาสานัญจายตนฌานเกิด ก็เป็นกิริยาจิต แล้วเข้าวิญญาณัญจายตนฌานต่อไป ฉะนั้น วิญญาณัญจายตนกิริยาจิตที่เกิดขึ้นนี้โดยมีอากาสานัญจายตนกิริยาจิต ที่เคย เกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์

ความในข้อ ๒ ก. นี้ สรุปได้ว่า วิญญาณัญจายตน กุสลจิต ๑ วิบากจิต ๑ กิริยาจิต ๑ รวม ๓ ดวง มีอากาสานัญจายตนกุสล ๑ กิริยา ๑ ที่เคยเกิดมาแล้ว แก่ตนในภพนี้ หรือภพก่อนเป็นอารมณ์

ในข้อ ๒ ข. ที่ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนจิต ๓ ดวง มี อากิญจัญญายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ เป็นอารมณ์นั้น คือ

เนวสัญญานาสัญญายตน กุสลจิต ๑ วิบากจิต ๑ กิริยาจิต ๑ รวม ๓ ดวง มีอากิญจัญญายตน กุสล ๑ กิริยา ๑ ที่เคยเกิดแล้วแก่ตน ในภพนี้ หรือภพก่อน เป็นอารมณ์

(๑) ผู้ที่ได้อากิญจัญญายตนฌานแล้ว เจริญสมถภาวนต่อเพื่อให้ได้มาซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ดี หรือผู้ที่ได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว จะเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอีกครั้งใดเมื่อใดก็ดี จะต้องมีอากิญจัญญายตนกุสลจิต หรือกิริยาจิตที่เคยเกิดแล้วแก่ตนนั้นเป็นอารมณ์

(๒) ติเหตุกปุถุชนก็ดี ผลเสกขบุคคลก็ดี ผู้เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ลาภีบุคคลเข้าฌาน เพื่อให้เนวสัญญานาสัญญายตนกุสลเกิด ก็มีอากิญจัญญายตน กุสล ที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์

(๓) เมื่อบุคคลใน (๒) ตายไป ก็ไปบังเกิดเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิต สถิตในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจนี้ ก็มีอากิญจัญญายตนกุสล ที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพก่อนนั้นเป็นอารมณ์

ตลอดจนเนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก ที่ทำหน้าที่ภวังคกิจ และจะทำหน้าที่ จุติกิจต่อไปนั้น ก็มีอากิญจัญญายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพก่อนเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน

(๔) เมื่อบุคคลใน (๒) ยังไม่ตาย เจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไปจนบรรลุ อรหัตตมัคค อรหัตตผล เป็นอเสกขบุคคล คือเป็นพระอรหันต์แล้ว เข้าเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเนวสัญญานา สัญญายตนกิริยา (ไม่ใช่กุสล เพราะขณะนี้เป็นพระอรหันต์แล้ว) เนวสัญญา นาสัญญายตนกิริยานี่แหละ มีอากิญจัญญายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็น อารมณ์

(๕) พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคล เข้าอากิญจัญญายตนฌาน เมื่ออากิญ จัญญายตนฌานเกิด ก็เป็นกิริยาจิต แล้วเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานต่อไป ฉะนั้นเนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิตที่เกิดขึ้นนี้โดยมีอากิญจัญญายตนกิริยาจิต ที่ เคยเกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์

ความในข้อ ๒ ข. นี้ สรุปได้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตน กุสลจิต ๑ วิบากจิต ๑ กิริยาจิต ๑ รวม ๓ ดวง มีอากิญจัญญายตนกุสล ๑ กิริยา ๑ ที่เคยเกิดมาแล้วแก่ ตนในภพนี้หรือภพก่อนเป็นอารมณ์

ในข้อ ๒ นี้ รวมจิตได้ ๖ ดวง มีมหัคคตจิต (๔ ดวง) เป็นอารมณ์ จึงได้ชื่อ ว่าจิต ๖ ดวงยึดหน่วง มหัคคตอารมณ์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. บัญญัติอารมณ์

ในข้อ ๓ ก. ที่ว่า รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง มีบัญญัติเป็นอารมณ์ นั้น คือ

รูปาวจรจิต เป็นจิตที่เกิดจากการเพ่งกัมมัฏฐาน ๒๖ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ ตามวิธีการจนเกิดฌานจิต กัมมัฏฐานทั้ง ๒๖ อย่างนั้นล้วนแต่เป็น บัญญัติทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่า รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง มีอารมณ์เป็นบัญญัติ

กัมมัฏฐาน ๒๖ อย่างนั้น ได้แก่ กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, กายคตาสติ ๑, อานาปาณสติ ๑ และ พรหมวิหาร ๔

ในข้อ ๓ ข. ที่ว่า อากาสานัญจายตนจิต ๓ ดวง มีกสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ เป็นอารมณ์นั้น คือ

กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ หมายถึง ความว่างเปล่า จากที่ได้เพิกกสิณแล้ว ความว่างเปล่านี้แหละเป็นบัญญัติ เมื่อหน่วงเอาความว่างเปล่าซึ่งเป็นบัญญัติเป็น อารมณ์ จึงได้ชื่อว่า อากาสานัญจายตนจิต ๓ ดวง มีอารมณ์เป็นบัญญัติ

ในข้อ ๓ ค. ที่ว่าอากิญจัญญายตนจิต ๓ ดวง มีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ นั้น คือ

นัตถิภาวบัญญัติ หมายถึง ความไม่มี นิดหนึ่งก็ไม่มี หน่อยหนึ่งก็ไม่มี อะไร ๆ ก็ไม่มี เอาบัญญัติที่สมมติว่าไม่มีอะไร นี่แหละเป็นอารมณ์ จึงได้ชื่อว่า อากิญจัญญายตนจิต ๓ ดวง มีอารมณ์เป็นบัญญัติ

ความในข้อ ๓ นี้ รวมจิตได้ ๒๑ ดวง ล้วนแต่มีบัญญัติธรรมเป็น อารมณ์ทั้งนั้น จึงได้ชื่อว่าจิต ๒๑ ดวงนี้ ยึดหน่วงอารมณ์ที่เป็นบัญญัติ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. นิพพานอารมณ์

ในข้อ ๔ ที่ว่า โลกุตตรจิต ๘ ดวง ได้แก่ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ มีนิพพานเป็น อารมณ์ แต่อย่างเดียวนั้น

นิพพาน หมายถึง ความสิ้นไปแห่งตัณหาอันเป็นเครื่องร้อยรัดไว้ไม่ให้พ้นไป จากวัฏฏะ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ เป็นจิตที่ตัดวัฏฏะ ตัดเครื่องร้อยรัด เพื่อให้พ้น จากความเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้น มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ จึงต้องมีพระนิพพานเป็น อารมณ์แต่อย่างเดียว จะมีอารมณ์อย่างอื่นหาได้ไม่ เหตุนี้จึงได้ชื่อว่า โลกุตตรจิต ๘ ดวง ยึดหน่วงพระนิพพานอารมณ์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กาลวิมุตตอารมณ์

ทั้ง ๔ ข้อที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า ข้อ ๑ มีกามอารมณ์ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต ได้ คือ มีกามอารมณ์ในกาลทั้ง ๓ ได้

ข้อ ๒ มีมหัคคตอารมณ์เฉพาะที่เป็นอดีตแต่อย่างเดียว จะมีมหัคคตธรรมที่ เป็นปัจจุบันหรืออนาคตเป็นอารมณ์หาได้ไม่

ส่วนข้อ ๓ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ และข้อ ๔ มีนิพพานเป็นอารมณ์นั้น ไม่ได้ แสดงว่า บัญญัติ หรือ นิพพาน นั้นเป็น ปัจจุบัน หรืออดีต อนาคต แต่อย่างใดเลย ทั้งนี้เพราะบัญญัติและนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีกาลทั้ง ๓ พ้นจาก กาลทั้ง ๓ อัน เรียกว่า กาลวิมุตต

ธรรมที่มีกาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต ได้นั้น ต้องเป็นธรรมที่ไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือ มีการเกิดขึ้น มีการดำรงคงอยู่ แล้วก็ มีการดับไป ธรรมใดที่ดับไปแล้วนั้นเป็นอดีต คือล่วงเลยไปแล้ว, ธรรมใดที่ยังดำรงคงอยู่นั้น เป็นปัจจุบัน คือกำลังมีอยู่ และธรรมใดที่จะเกิดขึ้นอีกต่อไปนั้นเป็นอนาคต คือจะมี มาในภายหน้า

บัญญัติธรรม เป็นธรรมที่ไม่มีสภาวะ จึงไม่มีสภาพที่จะมีความเปลี่ยนแปลง แปรผัน เพราะไม่มีความเที่ยงหรือไม่เที่ยง ทั้งไม่มีการเกิดการดับ อันเป็น สัญญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปร และแห่งความไม่เที่ยงนั้นด้วย จึงไม่เข้าอยู่ในกาล ทั้ง ๓ เพราะไม่มีอดีต ปัจจุบัน และอนาคต บัญญัติจึงเป็นกาลวิมุตต คือพ้นจาก กาลทั้ง ๓ ไม่มีกาลทั้ง ๓

นิพพาน เป็นธรรมที่มีสภาวะ มีสภาพเป็นของเที่ยงถาวร ไม่มีความ เปลี่ยนแปลงแปรผัน เป็นไม่เที่ยง และไม่มีการเกิดดับเพราะเป็นสิ่งที่เที่ยงอยู่เสมอ จึงไม่เข้าอยู่ในกาลทั้ง ๓ เพราะไม่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ดังนั้น นิพพานจึงเป็นกาลวิมุตต คือ พ้นจากกาลทั้ง ๓ ไม่มีกาลทั้ง ๓

รวมความว่า ธรรมที่เป็นกาลวิมุตต หรืออารมณ์ที่เป็นกาลวิมุตตนั้น มีเพียง ๑ คือ บัญญัติ และ นิพพาน

จำนวนจิตที่กล่าวแล้วทั้ง ๔ ข้อ รวมได้ ๖๐ ดวง คือ

- จิตที่รับกามอารมณ์ได้นั้นมี ๒๕ ดวง

- จิตที่รับมหัคคตอารมณ์ได้นั้นมี ๖ ดวง

- จิตที่รับบัญญัติอารมณ์ได้นั้นมี ๒๑ ดวง

- จิตที่รับนิพพานอารมณ์ได้นั้นมี ๘ ดวง

ล้วนแต่เป็นจิตที่มีอารมณ์ดังกล่าวแล้วนั้นแน่นอน อย่างที่เรียกว่าเป็น เอกันตะ

จิตทั้งหมด ๘๙ ดวง มีอารมณ์ที่แน่นอนดังกล่าวแล้ว ๖๐ ดวง คงเหลืออีก ๒๙ ดวง เป็นจิตที่มีอารมณ์ได้หลายอย่างทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่า สัพพารมณ์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สัพพารมณ์

ส่วนที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นจำนวนจิต ๒๙ ดวง และนับอภิญญาจิตกุสล ๑ กิริยา ๑ รวม ๒ ดวงนั้น รวมเข้าไปอีกด้วย จึงเป็นจิต ๓๑ ดวง ในจำนวนจิต ๓๑ ดวงนี้เป็นจิตที่มีอารมณ์ได้หลายอย่าง หลายกาล ตลอดจนกาลวิมุตตด้วย จึงเรียกว่า สัพพารมณ์

ในข้อ ๕ ที่ว่าจิต ๒๐ ดวง ยึดหน่วงอารมณ์ที่พ้นจากโลกุตตรนั้น คือ

อกุสลจิต ๑๒ มหากุสลญาณวิปปยุตตจิต ๔ และมหากิริยาญาณวิปปยุตตจิต ๔ นี้ มีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ทั้งที่เป็นโลกียและบัญญัติ คือ มีกาม อารมณ์ก็ได้มีมหัคคตอารมณ์ก็ได้ หรือมีบัญญัติอารมณ์ก็ได้ทั้งนั้น เว้นแต่โลกุตตร อารมณ์ เพราะว่า

อกุสลจิต ๑๒ เป็นจิตที่ชั่ว ที่หยาบ ที่บาป จึงไม่สามารถที่จะมีโลกุตตรธรรม คือ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ นิพพาน ๑ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ได้ เพราะ โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ นี้ เป็นธรรมที่ดี ที่ประณีต ที่สุขุม ที่ประเสริฐ

แม้มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔, มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ ก็ไม่สามารถรับ โลกุตตรอารมณ์ได้ เพราะจิต ๘ ดวงนี้เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่ ไม่ได้ใช้ปัญญาประกอบ จิตที่จะรับโลกุตตรธรรมเป็นอารมณ์ได้นั้น จะต้องเป็นจิต ที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่ใช้ปัญญาประกอบด้วยเสมอไป

ในข้อ ๖ ที่ว่าจิต ๕ ดวงยึดหน่วงอารมณ์ที่เว้นจากอรหัตตมัคค อรหัตตผลนั้น

มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ก็ดี อภิญญากุสล ๑ ก็ดี รับอารมณ์ ๖ ที่เป็น โลกีย และบัญญัติ ตลอดจนโลกุตตรอารมณ์ก็ได้ เว้นแต่จะรับอรหัตตมัคค อรหัตต ผล มาเป็นอารมณ์หาได้ไม่ เพราะอรหัตตมัคค อรหัตตผลนั้น จะต้องเป็นพระ อรหันต์แล้ว จึงจะหน่วงเอาเป็นอารมณ์ได้ ผู้ที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ จะได้อรหัตต มัคค อรหัตตผลที่ไหนมาเป็นอารมณ์ได้

ในข้อ ๗ ที่ว่า จิต ๖ ดวง ยึดหน่วงอารมณ์ได้ทั้งหมด นั้น

มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔, อภิญญากิริยาจิต ๑ รวม ๖ ดวงนี้ รับอารมณ์ได้ทั้งหมด ไม่มียกเว้นเลย เพราะจิตเหล่านี้เป็นจิตของ พระอรหันต์ จึงรับอารมณ์ได้ทั้งสิ้น ไม่มีเว้นเลย

จำนวนจิตที่กล่าวแล้วในข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ นี้รวมได้ ๓๑ ดวง เป็นจิต ที่รับอารมณ์ได้หลายอย่าง อย่างนั้นก็ได้อย่างนี้ก็ได้ ไม่แน่นอนว่าจะต้องเป็นอารมณ์ นั้นอารมณ์นี้แต่อย่างเดียว เพราะเหตุที่รับอารมณ์ได้มากกว่า ๑ จึงเรียกว่าเป็น อเนกันตะ หมายความว่า ไม่แน่นอนด้วย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต

ได้กล่าวแล้วในทวารสังคหะ ว่าจิตที่พ้นทวาร เป็นจิตที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัย ทวารนั้น มี ๑๙ ดวง ได้แก่ อุเบกขา สันตีรณจิต ๒ มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบากจิต ๙

ด้วยเหตุที่จิต ๑๙ ดวงนี้ทำหน้าที่ ปฏิสนธิ ภวังคกิจ จุติกิจ จึงไม่ต้องอาศัย ทวาร แต่ก็ต้องมีอารมณ์ตามหลักที่ว่า จิตต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว อารมณ์ ของจิต ๑๙ ดวงที่ทำหน้าที่ ปฏิสนธิ ภวังคจุติ นี้มีชื่อเรียกเป็นพิเศษโดยเฉพาะว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และ คตินิมิตอารมณ์

ในกาลแห่งสัตว์อันใกล้มรณะนั้น จะต้องมี กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏแก่ชวนจิตในมรณาสันนวิถี อารมณ์ นี้ จะต้องเกิดทั่วทุกตัวสัตว์ เว้นแต่ อสัญญสัตต และ พระอรหันต์

ที่เว้น อสัญญสัตตนั้น เพราะอสัญญสัตตไม่มีจิต จึงไม่มีอารมณ์ ส่วนที่เว้นพระ อรหันต์นั้น เพราะพระอรหันต์ไม่ต้องไปเกิดอีกแล้ว จึงไม่มีอารมณ์ ๓ อย่างนี้ อัน เป็นเครื่องหมายแห่งการเกิด

ชวนจิตในมรณาสันนวิถี เรียกว่า มรณาสันนชวนะ ก็ได้ แต่ชาติก่อน มีสิ่งใด เป็นอารมณ์ จิตที่เป็นปฏิสนธิ และภวังค ตลอดจน จุติจิตในปัจจุบันชาตินี้ ก็ถือเอา สิ่งนั้นเป็นอารมณ์

ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ในภพเดียวกัน ในชาติเดียวกัน ในบุคคลเดียวกัน เป็นจิตดวงเดียวกัน และมีอารมณ์ก็อย่างเดียวกัน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมอารมณ์

กรรมอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายกุสล คือ ตนได้ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญ ภาวนามานั้น เคยทำอย่างไร ก็นึกก็คิดอย่างที่ทำอยู่อย่างนั้น มรณาสันนชวนจิต ก็ถือเอาเป็นอารมณ์

ที่เป็นฝ่ายอกุสล คือ ตนเคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฉ้อ ชิง เฆี่ยนตี จำจองสัตว์ อย่างไร ก็นึกก็คิดอย่างที่ได้ทำอยู่อย่างนั้น มรณาสันนชวนจิต ก็น้อมเอามาเป็น อารมณ์

กรรมอารมณ์นี้ปรากฏทางมโนทวารทางเดียว ไม่ปรากฏทางทวารทั้ง ๕ คือ ปัญจทวาร เพราะกรรมอารมณ์นี้ นึกถึงคิดถึงการกระทำในอดีต เป็นอดีตอารมณ์ เป็นกรรมในอดีตที่ตนได้ทำแล้วอย่างไร ก็หน่วงโน้มน้ำใจให้คิดให้นึกเหมือนดังที่ได้ ทำอยู่อย่างนั้น เป็นแต่นึก เป็นแต่คิด ไม่ถึงกับมีเป็นภาพเป็นนิมิตมาปรากฏ

เมื่อมีกรรมอารมณ์เป็นกุสล ก็นำไปสู่สุคติ ถ้าหากว่ามีกรรมอารมณ์เป็นอกุสล ก็จะต้องไปสู่ทุคคติ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมนิมิตอารมณ์

กรรมนิมิตอารมณ์ หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ตนได้ใช้ในการกระทำ กรรมนั้น ๆ ที่เป็นฝ่ายกุสลก็เห็นเครื่องที่ตนได้ทำกุสล เป็นต้นว่า เห็นเครื่อง สักการะที่ตนใช้บูชา เห็นผ้าผ่อนที่ตนให้ทาน เห็นโบสถ์ เห็นพระพุทธรูปที่ตนสร้าง เห็นพระสงฆ์ที่ตนอุปการะบวชให้ มรณาสันนชวนจิตก็หน่วงเอาเป็นอารมณ์

ที่เป็นฝ่ายอกุสล เช่น เห็นแห อวน หอก ดาบ มีด ไม้ ปืน เครื่องเบียดเบียน สัตว์ ที่ตนเคยใช้ในการทำบาปเหล่านี้ เป็นต้น มรณาสันนชวนจิตก็น้อมมาเป็น อารมณ์

ทั้งนี้ ถ้าเป็นแต่เพียงนึก เพียงคิดถึงวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้นั้น ๆ ก็ปรากฏทาง มโนทวาร เป็นอดีตอารมณ์ แต่ถ้าได้เห็นด้วยนัยตาจริง ๆ ด้วย ได้ยินทางหูจริง ๆ ด้วย ได้กลิ่นทางจมูกจริง ๆ ด้วย ก็เป็นทางปัญจทวารและเป็นปัจจุบันอารมณ์

เมื่อมีกรรมนิมิตอารมณ์เป็นกุสลก็นำไปสู่สุคติ แต่ถ้าหากว่ามีกรรมนิมิตอารมณ์ เป็นอกุสลแล้ว ย่อมนำไปสู่ทุคคติ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


คตินิมิตอารมณ์

คตินิมิตอารมณ์ เป็นการนึกเห็นเครื่องหมายที่จะนำไปสู่ สุคติ หรือ ทุคคติ ถ้าจะไปสู่สุคติ ก็จะปรากฏเป็นวิมาน เป็นปราสาททิพยสมบัติ เป็นนางเทพอัปสร เป็นรั้ววัง เป็นครรภ์มารดา เป็นวัดวาอาราม เป็นภิกษุ สามเณร ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดี

คตินิมิตอารมณ์ที่จะนำไปสู่ทุคคติ ก็จะปรากฏเป็นเปลวไฟ เป็นเหว เป็นถ้ำอัน มืดมัว เป็นนายนิรยบาล เป็นสุนัข แร้ง กา เป็นต้น จะมาเบียดเบียนทำร้ายตน ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เลวร้าย

ทั้งนี้ปรากฏทางมโนทวารแต่ทางเดียว คือ เห็นทางใจ และจัดเป็นปัจจุบัน อารมณ์ เพราะกำลังนึกเห็นนิมิตนั้น ๆ อยู่

สำหรับผู้ไปเกิดเป็น รูปพรหม และ อรูปพรหมนั้น มรณาสันนชวนจิตมีเฉพาะ กรรมนิมิตอารมณ์แต่อย่างเดียว โดยมีบัญญัติธรรม หรือ มหัคคตธรรม เป็นอารมณ์ ตามควรแก่ฌาน

รวมความว่า กรรมอารมณ์ กล่าวโดยอารมณ์ได้เฉพาะ ธัมมารมณ์ กล่าวโดย ทวาร เกิดเฉพาะทางมโนทวาร กล่าวโดยกาล ได้แก่อารมณ์ที่เป็นอดีต

กรรมนิมิตอารมณ์ กล่าวโดยอารมณ์ได้ในอารมณ์ทั้ง ๖ กล่าวโดยทวาร เกิดได้ ทั้ง ๖ ทวาร กล่าวโดยกาลได้แก่ อารมณ์ที่เป็นอดีต และอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วย

คตินิมิตอารมณ์ กล่าวโดยอารมณ์ได้เฉพาะธัมมารมณ์ กล่าวโดยทวารเกิดได้ เฉพาะทางมโนทวาร กล่าวโดยกาลเป็นได้เฉพาะปัจจุบัน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตมีอารมณ์ได้กี่อย่าง

จิตต้องมีอารมณ์ และจิตที่เกิดขึ้นขณะหนึ่ง ๆ นั้น มีอารมณ์แต่อย่างเดียว เท่านั้น จิตดวงเดียวที่เกิดขึ้นขณะเดียว จะมีอารมณ์หลายอย่างไม่ได้

แต่ว่าจิตดวงเดียวกันเกิดขึ้นในขณะนี้มีอารมณ์อย่างนี้ แต่เมื่อเกิดขึ้นในขณะอื่น อาจมีอารมณ์อย่างอื่นก็ได้ อย่างนี้เรียกว่า จิตมีอารมณ์ได้หลายอย่าง

จิตบางดวงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในขณะนี้หรือขณะไหน ๆ ก็ต้องมีอารมณ์ อย่างนั้นแต่อย่างเดียว ไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอารมณ์อย่างอื่นเลย ก็มีเหมือนกัน อย่างนี้เรียกว่า จิตมีอารมณ์ได้อย่างเดียว ดังต่อไปนี้

๑. จิตที่มีอารมณ์ได้ อย่างเดียวมี ๒๘ ดวง

๒. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๒ อย่างมี ๒ ดวง

๓. จิตที่มีอารมณได้ ๕ อย่างมี ๓ ดวง

๔. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๖ อย่างมี ๑๒ ดวง

๕. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๑๒ อย่างมี ๓ ดวง

๖. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๑๔ อย่างมี ๙ ดวง

๗. จิตที่มีอารมณ์ได้ ๒๕ อย่างมี ๓ ดวง

มีรายละเอียดดังนี้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร