วันเวลาปัจจุบัน 14 ต.ค. 2024, 22:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องพระเมตติยะ และพระภุมมชกะ

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ กำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้แลเห็นแพะผู้กับแพะเมียกำลังสมจรกัน ครั้นแล้วได้พูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ผิฉะนั้น พวกเราจะสมมติแพะผู้นี้เป็นพระทัพพมัลลบุตร สมมติแพะเมียนี้เป็นภิกษุณี เมตติยา จักกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ครั้งก่อน พวกกระผมได้กล่าวหาพระทัพพมัลลบุตร ด้วยได้ยิน แต่บัดนี้พวกกระผมได้เห็นพระทัพพมัลลบุตรปฏิบัติผิดในภิกษุณี เมตติยาด้วยตนเอง เธอทั้งสองได้สมมติแพะผู้นั้นเป็นพระทัพพมัลลบุตร สมมติแพะเมียนั้นเป็นภิกษุณีเมตติยาแล้ว จึงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อนพวกกระผมได้กล่าวหาพระทัพพมัลลบุตรด้วย ได้ยิน แต่บัดนี้ พวกกระผมได้เห็นพระทัพพมัลลบุตรปฏิบัติผิด ในภิกษุณีเมตติยาด้วยตนเอง ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านพระทัพพมัลลบุตร จักไม่ทำกรรมเช่นกล่าวมานี้ แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่าดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือ ว่า เป็นผู้ทำกรรมอย่างที่ภิกษุเหล่านี้กล่าวหา

ท่านพระทัพพมัลลบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นฉันใด

แม้ครั้งที่สองแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมอย่างที่ภิกษุเหล่านี้กล่าวหา

ท่านพระทัพพมัลลบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นฉันใด

แม้ครั้งที่สามแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมอย่างที่ภิกษุเหล่านี้กล่าวหา

ท่านพระทัพพมัลลบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นฉันใด

พระผู้มีพระภาค // ดูกรทัพพะ คนฉลาดย่อมไม่แก้ข้อกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอทำ จงบอกว่าทำ ถ้าเธอ ไม่ได้ทำ จงบอกว่าไม่ได้ทำ

พระทัพพมัลลบุตร // ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมา แม้โดยความฝันก็ยังไม่รู้จักเสพเมถุนธรรม จะกล่าวไย ถึงเมื่อตื่นอยู่ พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าเช่นนั้น พวก เธอจงสอบสวนภิกษุพวกนี้ ครั้นรับสั่งเท่านี้แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ เข้าพระวิหาร จึงภิกษุ เหล่านั้นได้ทำการสอบสวนพระเมตติยะ และพระภุมมชกะ เมื่อเธอทั้งสองถูกสอบสวน ได้แจ้ง เรื่องนี้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว

ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์ อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดท่านพระทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมอันมีโทษถึง ปาราชิกหรือ

พระเมตติยะและพระภุมมชกะรับว่า จริงอย่างนั้น ขอรับ

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จึงได้ถือเอาเอก เทศบางแห่ง แห่งอธิการณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดท่านพระทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิกเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัด พระทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิกจริงหรือ

ภิกษุสองรูปนั้นทูลรับว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ถือ เอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดพระทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกเล่า ดูกรโฆษบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระเมตติยะ และพระภุมมชกะโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความ เป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัด เกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยายแล้วทรง กระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ ข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดซึ่งภิกษุ ด้วยธรรมอันมีโทษ ถึงปาราชิก ด้วยหมายว่า แม้ไฉนเราจักยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม แต่อธิกรณ์นั้น เป็นเรื่องอื่นแท้ เอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศ แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่ เป็นสังฆาทิเสส.



สิกขาบทวิภังค์

บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็น ผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อม เพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

บทว่า ซึ่งภิกษุ หมายภิกษุอื่น

บทว่า ขัดใจ มีโทสะ คือโกรธ ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ

บทว่า ไม่แช่มชื่น คือ เป็นคนมีใจไม่ชุ่มชื่น เพราะความโกรธนั้น เพราะโทสะนั้น เพราะความไม่ถูกใจนั้น และเพราะความไม่พอใจนั้น

บทว่า แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น คือ เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ หรือเป็น ส่วนอื่นแห่งอธิกรณ์

อธิกรณ์เป็นส่วนอื่นแห่งอธิกรณ์ อย่างไร

๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์

๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ และวิวาทาธิกรณ์

๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ และอนุวาทาธิกรณ์

๔. กิจจาธิกรณ์ เป็นส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และอาปัตตาธิกรณ์ อย่างนี้ อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นส่วนอื่นแห่งอธิกรณ์

อธิกรณ์เป็นส่วนเดียวกันแห่งอธิกรณ์ อย่างไร

๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนเดียวกันแห่งวิวาทาธิกรณ์

๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนเดียวกันแห่งอนุวาทาธิกรณ์

๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นส่วนเดียวกันแห่งอาปัตตาธิกรณ์ก็มี เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ก็มี อาปัตตาธิกรณ์เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ อย่างไร

เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นส่วนอื่นแห่งอทินนาทานปาราชิกาบัติ มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ และอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ

อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นส่วนอื่นแห่งมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ อุตตริมนุสสธรรม ปาราชิกาบัติ และเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ

มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นส่วนอื่นแห่งอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เมถุนธรรม ปาราชิกาบัติ และอทินนาทานปาราชิกาบัติ

อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นส่วนอื่นแห่งเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ อทินนาทาน ปาราชิกาบัติ และมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ

อย่างนี้ อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ ก็อาปัตตาธิกรณ์เป็นส่วนเดียวกันแห่งอาปัตตาธิกรณ์ อย่างไร

เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นส่วนเดียวกันแห่งเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ

อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นส่วนเดียวกันแห่งอทินนาทานปาราชิกาบัติ

มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นส่วนเดียวกันแห่งมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ

อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นส่วนเดียวกันแห่งอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ

อย่างนี้ อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นส่วนเดียวกันแห่งอาปัตตาธิกรณ์

๔. กิจจาธิกรณ์เป็นส่วนเดียวกันแห่งกิจจาธิกรณ์ อย่างนี้ อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นส่วนเดียวกันแห่งอธิกรณ์.

เลศ ๑๐ อย่าง

ที่ชื่อว่าเลศ ในคำว่า ถือเอาเอกเทศบางแห่ง ... เป็นเพียงเลศ นั้น อธิบายว่า เลศมี ๑๐ อย่าง ได้แก่ เลศคือชาติ ๑ เลศคือชื่อ ๑ เลศคือวงศ์ ๑ เลศคือลักษณะ ๑ เลศคืออาบัติ ๑ เลศคือบาตร ๑ เลศคือจีวร ๑ เลศคืออุปัชฌายะ ๑ เลศคืออาจารย์ ๑ เลศคือเสนาสนะ ๑.

อธิบายเลศ ๑๐ อย่าง

ที่ชื่อว่า เลศคือชาติ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้ เห็นภิกษุผู้กษัตริย์ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้กษัตริย์รูปอื่นโจทว่า ภิกษุผู้กษัตริย์ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้พราหมณ์ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้พราหมณ์ รูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้พราหมณ์ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็น สมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วม กับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุแพศย์ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้แพศย์รูปอื่นแล้ว โจทว่า ภิกษุผู้แพศย์ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ศูทร ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้ศูทรรูปอื่นแล้ว โจทว่า ภิกษุผู้ศูทร ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ที่ชื่อว่า เลศคือชื่อ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นพระพุทธรักขิต ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นพระพุทธรักขิตรูปอื่นแล้วโจทว่า พระพุทธรักขิต ข้าพเจ้าได้เห็นท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นพระธรรมรักขิต ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นพระธรรมรักขิตรูป อื่นแล้วโจทว่า พระธรรมรักขิต ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็น พระสังฆรักขิต ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นพระสังฆรักขิตรูป อื่นแล้วโจทว่า พระสังฆรักขิต ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ที่ชื่อว่า เลศคือวงศ์ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้ เห็นภิกษุผู้วงศ์ โคตมะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้วงศ์โคตมะรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้วงศ์โคตมะ ข้าพเจ้า ได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้วงศ์โมคคัลลานะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้วงศ์โมคคัลลานะรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้วงศ์โมคคัลลานะ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้วงศ์กัจจายนะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้วงศ์กัจจายนะรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้วงศ์กัจจายนะ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้วงศ์วาสิฏฐะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้วงศ์วาสิฏฐะรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้วงศ์วาสิฏฐะ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่ เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วม กับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ที่ชื่อว่า เลศคือลักษณะ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจษก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้สูง ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้สูงรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้สูง ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้อง ปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ ทุกคำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ต่ำ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้ต่ำรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ต่ำ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ดำ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้ดำรูปอื่นแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ดำ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ขาว ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้ขาวรูปอื่นแล้ว โจทว่า ภิกษุผู้ขาว ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ที่ชื่อว่า เลศคืออาบัติ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ต้องลหุกาบัติ ถ้าโจทเธอด้วยปาราชิกธรรมว่า ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็น สมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด.

ที่ชื่อว่า เลศคือบาตร นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ใช้บาตร โลหะ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นผู้ใช้บาตรโลหะแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ใช้บาตรโลหะ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ใช้บาตรดินเหนียว ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่น ผู้ใช้บาตรดินเหนียวแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ใช้บาตรดินเหนียว ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรม ก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ใช้บาตรเคลือบ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่น ผู้ใช้บาตรเคลือบแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ใช้บาตรเคลือบ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ใช้บาตรดินธรรมดา ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุ รูปอื่นผู้ใช้บาตรดินธรรมดาแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ใช้บาตรดินธรรมดา ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้อง ปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ที่ชื่อว่า เลศคือจีวร นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นผู้ทรงผ้าบังสุกุลแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ทรงผ้าของคหบดี ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่น ผู้ทรงผ้าของคหบดีแล้วโจทว่า ภิกษุผู้ทรงผ้าของคหบดี ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด.

ที่ชื่อว่า เลศคืออุปัชฌายะ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุ ผู้สัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะผู้มีชื่อนี้ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้สัทธิวิหาริกรูปอื่นของ พระอุปัชฌายะผู้มีชื่อนี้แล้วโจทว่า ภิกษุผู้สัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะผู้มีชื่อนี้ ข้าพเจ้าได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด.

ที่ชื่อว่า เลศคืออาจารย์ นั้น อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้อัน- เตวาสิกของพระอาจารย์ผู้มีชื่อนี้ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุผู้อันเตวาสิกรูปอื่นของพระอาจารย์ ผู้มีชื่อนี้แล้วโจทว่า ภิกษุผู้อันเตวาสิกของพระอาจารย์ผู้มีชื่อนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้อง ปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด.

ที่ชื่อว่า เลศคือเสนาสนะ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้อยู่ใน เสนาสนะของคหบดีผู้มีชื่อนี้ ต้องปาราชิกธรรม ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นผู้อยู่ในเสนาสนะของคหบดี ผู้มีชื่อนี้แล้วโจทว่า ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะของคหบดีผู้มีชื่อนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิก ธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด.

บทว่า ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก คือ ด้วยปาราชิกธรรมทั้ง ๔ สิกขาบท ใดสิกขาบทหนึ่ง

บทว่า ตามกำจัด ได้แก่ โจทเอง หรือสั่งให้โจท

พากย์ว่า แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ความว่า ให้เคลื่อน จากภิกษุภาพ ให้เคลื่อนจากสมณธรรม ให้เคลื่อนจากศีลขันธ์ ให้เคลื่อนจากคุณคือตบะ

คำว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น ความว่า เมื่อ ขณะ คราว ครู่หนึ่ง ที่ภิกษุผู้ถูกตาม กำจัดนั้นผ่านไปแล้ว

บทว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตาม คือ มีบุคคลเชื่อในเรื่องที่เป็นเหตุให้เขาตามกำจัดนั้น

บทว่า ไม่ถือเอาตาม คือ ไม่มีใครๆ พูดถึง

ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่อธิกรณ์ ๔ อย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑

บทว่า เอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศ คือ ถือเอาเลศ ๑๐ อย่าง นั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง

บทว่า แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่ ความว่า ภิกษุกล่าวปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าพูด เปล่าๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง ข้าพเจ้าไม่รู้ ได้พูดแล้ว

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะ เหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


บทภาชนีย์

เอเกกมูลจักร โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสส ว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็น อาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อม เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อม เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็น อาบัติทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อม เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.

โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อม เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติ ทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติ ทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติ สังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.

โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติ ทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็น อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อม เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่ง อาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ สังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิต ว่าเป็นอาบัติ ทุพภาสิต ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติสังฆาทิเสส ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระ ศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่าเป็น อาบัติถุลลัจจัย ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระ ศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติทุกกฏ ถ้าโจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

พึงทำอาบัติหนึ่งๆ ให้เป็นมูลแล้วผูกเป็นจักร.

สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสส ว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.

สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็น อาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็น อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติ ทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็น อาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็น อาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ ว่าเป็น อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.

สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะ เป็นอาบัติ อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อ สายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่าเป็น อาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.

สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ สังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.

สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติ ทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด

ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.

อนาปัตติวาร

ภิกษุผู้สำคัญเป็นอย่างนั้นโจทเองก็ดี สั่งให้ผู้อื่นโจทก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


เล่าเรื่องพระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ, พระกฏโมรกดิสสกะ, พระที่เป็นบุตรของนางปัณฑเทวี และพระสมุทรทัตชักชวนให้ทำสงฆ์ให้แตกกัน พร้อมทั้งบอกแผนการที่จะเสนอไปในทางเคร่งครัดยิ่งขึ้น ๕ ข้อ ซึ่งเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคคงไม่ทรงอนุญาต และตนจะได้นำข้อเสนอนั้นประกาศแก่มหาชน. ข้อเสนอ ๕ ข้อ คือ
๑. ภิกษุพึงอยู่ป่าตลอดชีวิต เข้าละแวกบ้าน ต้องมีโทษ
๒. ภิกษุพึงถือบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต ผู้ใดรับนิมนต์ (ไปฉันตามบ้าน) ต้องมีโทษ
๓. ภิกษุพึงใช้ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น คือผ้าหรือเศษผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะบ้าง ตามที่ต่าง ๆ บ้าง นำมาซักและปะติดปะต่อเป็นจีวร) จนตลอดชีวิต ผู้ใดรับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) ต้องมีโทษ
๔. ภิกษุพึงอยู่โคนไม้จนตลอดชีวิต ผู้ใดเข้าสู่ที่มุง (ที่มีหลังคา) ต้องมีโทษ
๕. ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสัตว์ ผู้ใดฉัน ต้องมีโทษ

ภิกษุเหล่านั้นเห็นมีทางชนะก็ร่วมด้วย พระเทวทัตจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลข้อเสนอทั้งห้าข้อนั้น.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนเทวทัต๒ ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า, ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ละแวกบ้าน ก็จงอยู่ในละแวกบ้าน. ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาตก็จงเที่ยวบิณฑบาต, ผู้ใดปรารถนาจะรับนิมนต์ ก็จงรับนิมนต์, ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าบังสุกกุล ก็จงใช้ผ้าบังสุกุล, ผู้ใดปรารถนาจะรับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) ก็จงรับคฤหบดีจีวร, เราอนุญาตที่นอนที่นั่ง ณ โคนไม้ ตลอด ๘ เดือน (ที่มิใช่ฤดูฝน), เราอนุญาตเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ (ว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงจะให้ภิกษุบริโภค).

พระเทวทัตดีใจ จึงเที่ยวประกาศให้เห็นว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตข้อเสนอที่ดีของตน ทำให้คนที่มีปัญญาทรามบางคนเห็นว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก. แต่คนที่เข้าใจเรื่องดี กลับติเตียนพระเทวทัต ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนพระเทวทัต รับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุพากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกัน เมื่อภิกษุอื่นห้ามปราม ไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์) เพื่อให้เธอเลิกเรื่องนั้นเสีย ถ้าสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.



เรื่องพระเทวทัตต์

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเทวทัตต์เข้าไปหา พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ ครั้นแล้วได้ กล่าวคำนี้ กะพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม

เมื่อพระเทวทัตต์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะได้กล่าวคำนี้กะพระเทวทัตต์ว่า อาวุโส พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ไฉน เราจักทำ สังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมได้เล่า

วัตถุ ๕ ประการ

พระเทวทัตต์กล่าวว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักเข้าเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอ วัตถุ ๕ ประการว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุ ทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลาย ควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลาย ควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลาย ควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น พระสมณโคดม จักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ พวกเราทั้งนั้นจักโฆษณาให้ชุมชนเชื่อถือด้วย วัตถุ ๕ ประการ นี้ อาวุโสทั้งหลาย พวกเราสามารถที่จะกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมได้ เพราะ วัตถุ ๕ ประการนี้แล เพราะคนทั้งหลายเลื่อมใสในลูขปฏิบัติ

ครั้งนั้น พระเทวทัตต์พร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย อเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก ปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่า ตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาต ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุล ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลา และเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น

พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่ป่า ภิกษุใด ปรารถนา ก็จงอยู่บ้าน ภิกษุใดปรารถนา ก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีการ นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีผ้าคหบดี ดูกรเทวทัตต์ เราอนุญาตรุกขมูลเสนาสนะตลอด ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ

ครั้งนั้น พระเทวทัตต์ร่าเริงยินดีเป็นอย่างยิ่งว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ ประการนี้ แล้วพร้อมด้วยบริษัท ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำ ประทักษิณหลีกไป ต่อมา เธอพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ โฆษณาให้ประชาชนเชื่อถือ ด้วยวัตถุ ๕ ประการว่า อาวุโสทั้งหลาย เราเข้าเฝ้าพระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใด อาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุ ใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ พวกเราเท่านั้น สมาทานประพฤติวัตถุ ๕ ประการนี้อยู่

บรรดาประชาชนชาวพระนครราชคฤห์นั้น จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ทราม พากันกล่าวนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดม เป็นผู้มีความมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก

ส่วนประชาชนจำพวกที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นบัณฑิต มีความรู้สูง ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระเทวทัตต์จึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้าม ในพุทธจักร ของพระผู้มีพระภาคเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น ผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระเทวทัตต์จึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามใน พุทธจักรเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระเทวทัตต์ว่า ดูกรเทวทัตต์ ข่าวว่า เธอตะเกียก ตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร จริงหรือ?

พระเทวทัตต์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้ตะเกียก ตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า

ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเสื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบาง พวกที่เลื่อมใสแล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระเทวทัตต์ โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงหรือ ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ยกย่องยันอยู่ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว อย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอา อธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกันย่อมอยู่ผาสุก แลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หาก เธอถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็น การดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.


ที่มาhttp://www.polyboon.com/dhumma/01_062.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2010, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


สิกขาบทวิภังค์

บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์ อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลาย แล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อัน ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วย ญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

สงฆ์ที่ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียง คือมีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน,

คำว่า ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย คือ แสวงหาพวก ร่วมเป็นก๊ก ด้วยหมายมั่นว่า ไฉนภิกษุเหล่านี้ พึงแตกกัน พึงแยกกัน พึงเป็นพรรคกัน.

คำว่า หรือ...อธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ได้แก่ วัตถุเป็นเหตุกระทำการแตกกัน ๑๘ อย่าง.

บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา.

บทว่า ยกย่อง คือ แสดง.

บทว่า ยันอยู่ คือ ไม่กลับคำ.

บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดได้เห็น ภิกษุเหล่าใดได้ยิน ภิกษุเหล่านั้นพึงว่ากล่าวภิกษุผู้ทำลายสงฆ์รูปนั้นว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ยกย่องยันอยู่ ขอท่าน จงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศ เดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่า กล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงว่ากล่าว ว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็น เหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาสน์

ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อ ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้ สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มี ชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้ สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด สมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้ สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ภิกษุผู้มีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ.

จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะบัญญัติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจา สองครั้ง ย่อมระงับ.

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัส เรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.


บทภาชนีย์

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัยว่า ต้องอาบัติทุกกฏ.

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๑ ภิกษุผู้สละเสียได้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.


ที่มา http://www.polyboon.com/dhumma/01_064.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2010, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องมาจากสิกขาบทที่ ๑๐ คือภิกษุโกกาลิกะ เป็นต้น สนับสนุนพระเทวทัต ว่าไม่ควรติเตียนพระเทวทัต พูดเป็นธรรม เป็นวินัย ต้องด้วยความพอใจของตน. ภิกษุทั้งหลายพากันติเตียนภิกษุพวกที่สนับสนุน ภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกันนั้น. ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ได้ความจริงแล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามสนับสนุนภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกัน ถ้าห้ามไม่ฟัง ให้ภิกษุทั้งหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

เรื่องภิกษุผู้ประพฤติตามพระเทวทัตต์

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระเทวทัตต์ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า พระเทวทัตต์พูดไม่ถูก ธรรม พูดไม่ถูกวินัย ไฉน พระเทวทัตต์จึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้าม ในพุทธจักรเล่า.

เมื่อภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกะติสสกะ พระขัณฑเทวี. บุตร และพระสมุททัตต์ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดอย่างนั้น พระเทวทัตต์พูดถูกธรรม พูดถูกวินัย ก็พระเทวทัตต์กล่าวคล้อยตามความพอใจและความเห็นชอบ ของพวกเรา พระเทวทัตต์ทราบความพอใจ และความเห็นชอบของพวกเราจึงกล่าว คำนั้นย่อม ควรแม้แก่พวกเรา.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพา กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้ประพฤติตาม พูดสนับสนุนพระเทวทัตต์ ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า มีพวกภิกษุประพฤติ ตามผู้พูดสนับสนุนเทวทัตต์ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ประพฤติตาม พูดสนับสนุนพระเทวทัตต์ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์เล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว.

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพวกภิกษุผู้ประพฤติตามผู้พูดสนับสนุนพระเทวทัตต์ โดย อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคน มักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตาม พระวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

อนึ่ง มีภิกษุผู้ประพฤติตาม ผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้นแล ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำ อะไรๆ ต่อภิกษุนั่น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วย ภิกษุนั่น ถือเอาความพอใจและความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย เธอทราบความพอใจ และความชอบใจของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว คำที่เธอกล่าวนั่น ย่อมควรแม้แก่พวก ข้าพเจ้า ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้ กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่นหาใช่ผู้กล่าวถูกธรรมไม่ด้วย ภิกษุนั่นหาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ ด้วย ความทำลายสงฆ์อย่าได้ชอบแม้แก่พวกท่าน ขอพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ ผาสุก แลภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรม นั้นเสีย หากเธอทั้งหลายถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดี หากเธอทั้งหลายไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.

สิกขาบทวิภังค์

บทว่า อนึ่ง ... ของภิกษุนั้นแล คือภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น.

บทว่า มีภิกษุทั้งหลาย คือมีภิกษุเหล่าอื่น

บทว่า ผู้ประพฤติตาม ความว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เห็นอย่างไร ชอบอย่างไร พอใจ อย่างไร แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เห็นอย่างนั้น ชอบอย่างนั้น พอใจอย่างนั้น.

บทว่า ผู้พูดเข้ากัน คือผู้ดำรงอยู่ในพวกในฝ่ายของภิกษุนั้น.

คำว่า ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ความว่า มีภิกษุ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูป บ้าง ภิกษุเหล่านั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวคำอะไรๆ ต่อภิกษุนั่น ภิกษุนั่น กล่าวถูกธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วย แลภิกษุนั่นกล่าวคล้อยตามความพอใจและความเห็น ชอบของพวกข้าพเจ้า เธอทราบความพอใจและความเห็นชอบของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว คำที่เธอ กล่าวนั้น ย่อมควรแม้แก่พวกข้าพเจ้า.

บทว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้น.

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดเห็นอยู่ ภิกษุ เหล่าใดได้ยินอยู่ ภิกษุเหล่านั้นควรว่ากล่าวภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าได้กล่าว อย่างนั้น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมก็หาไม่ ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยก็หาไม่ ความทำลายสงฆ์อย่าได้ ชอบใจแม้แก่พวกท่าน ขอใจของพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันมีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงกล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงกล่าวแม้ ครั้งที่สาม หากภิกษุเหล่านั้นสละเสียได้ สละได้อย่างนี้นั่น เป็นการดี หากภิกษุเหล่านั้นไม่สละ เสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้ว ไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุ ทั้งหลายพึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงว่ากล่าวว่าพวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่น กล่าวถูกธรรมก็หาไม่ ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยก็หาไม่ ความทำลายสงฆ์อย่าได้พอใจแม้แก่พวกท่าน ขอใจของพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกันไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงกล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงกล่าวแม้ครั้งที่สาม หากภิกษุเหล่านั้น สละเสียได้ สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากภิกษุเหล่านั้น ไม่สละเสียต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาสน์

ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์ พึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากัน ของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อ ทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากัน ของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อ ทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อ นี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อ นี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้นี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ ทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากัน ของภิกษุ ผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วยเพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การ สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ ทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติตาม เป็นผู้พูดเข้ากัน ของภิกษุ ผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้อ บทภาชนีย์

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๑ ภิกษุผู้สละเสียได้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

งอาบัติถุลลัจจัย

จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสอง ครั้ง ย่อมระงับ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์คราวหนึ่งต่อภิกษุ ๒ รูป ๓ รูปได้ ไม่ควรสวดสมนุภาสน์ ในคราวหนึ่งยิ่งกว่านั้น

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกันมากมาย ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกาย นั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

ที่มาhttp://www.polyboon.com/dhumma/01_067.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2010, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


สมัยนั้น พระฉันนะ ประพฤติอนาจาร (ความประพฤติอันไม่สมควร) ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว กลับว่าติเตียน. ภิกษุทั้งหลายจึงพากันติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียนและทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำตนเป็นผู้ว่ายาก ถ้าไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.


[code] เรื่องพระฉันนะ

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม เขต พระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะ ประพฤติมารยาทอันไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายกล่าว ตักเตือนอย่างนี้ว่า ดูกรฉันนะ ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ ประพฤติดังนี้ไม่ควร

พระฉันนะกล่าวตอบว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พวกท่านสำคัญว่าเราเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าว กระนั้นหรือ เราต่างหากควรว่ากล่าวพวกท่าน เพราะพระพุทธเจ้าก็ของเรา พระธรรมก็ของเรา พระลูกเจ้าของเราตรัสรู้ธรรมแล้ว พวกท่านต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ต่างสกุลกัน บวชรวมกันอยู่ ดุจลมกล้าพัดหญ้าไม้ และใบไม้แห้งให้อยู่ร่วมกัน หรือดุจแม่น้ำที่ไหลมาจาก ภูเขา พัดจอกสาหร่ายและแหนให้อยู่รวมกันฉะนั้น ดูกรท่านทั้งหลาย พวกท่านสำคัญว่าเราเป็น ผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวกระนั้นหรือ เราต่างหากควรว่ากล่าวพวกท่าน เพราะพระพุทธเจ้าก็ของเรา พระธรรมก็ของเรา พระลูกเจ้าของเราตรัสรู้ธรรมแล้ว

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะ อันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่ ถูกทางธรรม จึงได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี พระภาค.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูกรฉันนะ ข่าวว่า เธออันภิกษุทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้จริงหรือ?

พระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธออันภิกษุ ทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม จึงได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ดูกรโมฆบุรุษ การ กระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระฉันนะโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคล ผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระ วินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายาก อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ถูกทางธรรม ในสิกขาบททั้งหลายอันเนื่องในอุเทศ ทำตนให้เป็นผู้อั สิกขาบทวิภังค์

คำว่า อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายาก ความว่า เป็นผู้ว่าได้โดยยาก ประกอบด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุสาสนี โดยเบื้องขวา

คำว่า ในสิกขาบททั้งหลายอันเนื่องในอุเทศ ได้แก่สิกขาบทอันนับเนื่องใน พระปาติโมกข์

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุเหล่าอื่น

ที่ชื่อว่า ถูกทางธรรม คือสิกขาบทใดอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว สิกขาบทนั้น ชื่อว่าถูกทางธรรม ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ โดยถูกทางธรรมนั้น ย่อมทำตนให้เป็น ผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ด้วยกล่าวโต้ว่าพวกท่านอย่าได้กล่าวอะไรๆ ต่อเรา เป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม แม้เราก็จักไม่กล่าวคำอะไรๆ ต่อพวกท่าน เป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม ขอพวกท่านจงเว้นจากการว่ากล่าวเราเสีย

บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ภิกษุผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายากนั้น

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่าภิกษุเหล่าใดเห็นอยู่ ได้ยินอยู่ ภิกษุเหล่านั้นควรว่ากล่าวภิกษุผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายากนั้นว่า ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ขอท่านจงทำตนให้เขาว่าได้แล แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าวท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคนั้นเจริญแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้คือ ด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากอาบัติ ควรว่า กล่าวแม้ครั้งที่สอง ควรว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ นั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์แล้วพึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้ อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ขอท่านจงทำตนให้เขาว่ากล่าวได้แล แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลาย โดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าวท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาค นั้นเจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือ ด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจาก อาบัติ ควรว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง ควรว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาสน์

ภิกษุนั้น อันสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวด สมนุภาสน์อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว อยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละ เรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว อยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้ สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ มีชื่อนี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าว ไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกันมากมาย ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกาย นั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

นใครๆ ว่ากล่าว ไม่ได้ ด้วยกล่าวโต้ว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอะไรต่อเรา เป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่ว ก็ตาม แม้เราก็จักไม่กล่าวอะไรๆ ต่อพวกท่านเหมือนกัน เป็นคำดีก็ตาม เป็นคำชั่วก็ตาม ขอพวกท่านจงเว้นจากการว่ากล่าวเราเสีย ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ ว่า ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ขอท่านจงทำตนให้เขาว่ากล่าว ได้แล แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าว ท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคนั้น เจริญแล้วด้วยอาการ อย่างนี้ คือด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากอาบัติ แลภิกษุ นั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุ ทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวด สมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละเสีย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละเสีย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละเสีย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๑ ภิกษุผู้สละเสียได้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ที่มาhttp://www.polyboon.com/dhumma/01_070.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2010, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งนั้น ภิกษุเลว ๆ ที่ชื่อว่าเป็นพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เป็นพระเจ้าถิ่นอยู่ในชนบท ชื่อว่ากิฏาคิริ เป็นพระอลัชชี.

มีภิกษุรูปหนึ่ง จำพรรษาในแคว้นกาสี ผ่าน เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ บิณฑิกะคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เป็น เจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี ชั่วช้า ภิกษุพวกนั้นประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น ทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น ทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเอง บ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้แห่งสกุล เพื่อกุลทาสี ภิกษุพวกนั้น ฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้แห่งสกุล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับ หญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำ บ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำ กับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิง ประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วง บ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยไม้ไบ้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่ง ผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกัน บ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำแล้ว พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจง ฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสี เดินทางไปพระนครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงชนบทกิฏาคีรีแล้ว ครั้นเวลาเช้าภิกษุนั้นครองอันตรวาสก ถือ บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชนบทกิฏาคีรี มีอาการเดินไป ถอยกลับ แลเหลียว เหยียดแขน คู้แขน น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ

คนทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้นแล้ว พูดอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้เป็นใคร ดูคล้ายคนไม่ค่อยมี กำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนมีหน้าสยิ้ว ใครเล่าจักถวายบิณฑะแก่ท่านผู้เข้าไปเที่ยว บิณฑบาตรูปนี้ ส่วนพระผู้เป็นเจ้าเหล่าพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะของพวกเรา เป็นผู้อ่อนโยน พูดไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อนมักพูดว่า มาเถิด มาดีแล้ว มีหน้าไม่สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน ใครๆ ก็ต้องถวายบิณฑะแก่ท่านเหล่านั้น

อุบาสกคนหนึ่ง ได้แลเห็นภิกษุรูปนั้นกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุนั้น กราบเรียนถามภิกษุรูปนั้นว่า พระคุณเจ้าได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ

ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลยจ้ะ

อุบาสกกล่าวอาราธนาว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำภิกษุนั้นไปเรือน นิมนต์ ให้ฉันแล้ว ถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ

ภิกษุ // อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค อุบาสก // ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า จงกราบถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย เศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ด้วยขอรับว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรีโทรม ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจารเห็นปานดั่งนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เอง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำ มาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้าน ยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส พระผู้มีพระภาคพึงส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบท กิฏาคีรี เพื่อวัดชนบทกิฏาคีรีนี้จะพึงตั้งมั่นอยู่.

ภิกษุนั้นรับคำของอุบาสกนั้นแล้ว หลีกไปโดยหนทางอันจะไปสู่พระนครสาวัตถี ถึง พระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดีโดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พุทธประเพณี

อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี

พระพุทธเจ้าทรงปราศรัย

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ เธอยังพอทนอยู่ดอกหรือ ยังพอครองอยู่ดอกหรือ เธอเดินทางมาเหนื่อยน้อยหรือ ก็นี่เธอมาจากไหนเล่า?

ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนอยู่ได้ ยังพอครองอยู่ได้พระพุทธเจ้าข้า และ ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาลำบากเล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เมื่อจะมายัง พระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ผ่านชนบทกิฏาคีรี พระพุทธเจ้าข้า ครั้นเวลาเช้า ข้าพระพุทธเจ้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชนบทกิฏาคีรี พระพุทธเจ้าข้า อุบาสกคนหนึ่ง ได้เห็นข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ครั้นแล้วได้เข้าไป หาข้าพระพุทธเจ้า กราบไหว้ข้าพระพุทธเจ้าถามว่า ท่านได้บิณฑะบ้างไหมขอรับ ข้าพระพุทธเจ้า ตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลยจ้ะ เขาพูดว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำข้าพระพุทธเจ้า ไปเรือน ให้ฉันแล้วถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า จักไปพระนคร สาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคจ้ะ เขาพูดว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้นขอท่านจงกราบถวายบังคม พระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรีโทรม ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่น ในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม ประพฤติอนาจารเห็นปานดั่งนี้ คือ ปลูกต้นไม้ ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง ... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำ ของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทราม อยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส พระองค์ควรส่งภิกษุทั้งหลาย ไปสู่ชนบทกิฏาคีรี เพื่อวัดในชนบทกิฏาคีรีนี้จะพึงตั้งมั่นอยู่ ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามาจากชนบท กิฏาคีรีนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงสอบถามภิกษุสงฆ์

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม ประพฤติ- *อนาจารเห็นปานดั่งนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น รดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ... ประพฤติอนาจารต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง ดังนี้ จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระพุทธเจ้าทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ประพฤติอนาจารเห็นปานดั่งนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง พวกเธอนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผง สำหรับ ประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้แห่งสกุล เพื่อกุลทาสี พวกเธอ ฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาด และคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้แห่งสกุล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิง ฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำ กับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิง ประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถาน เต้นรำ แล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำ อย่างนี้ว่า น้องหญิงเธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ดั่งนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้างเล่า.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อ ความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

รับสั่งให้ปัพพาชนียกรรม

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ โดย อเนกปริยายดังนี้แล้ว ทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะว่า ไปเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะ พวกเธอไปถึงชนบทกิฏาคีรีแล้วจงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุ นัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของเธอ.

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้า จะทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีได้ด้วย วิธีไร เพราะภิกษุพวกนั้น ดุร้าย หยาบคาย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตรและโมคคัลลานะ ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงไปพร้อม ด้วยภิกษุหลายๆ รูป.

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

วิธีทำปัพพาชนียกรรม

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีปัพพาชนียกรรมพึงทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะก่อน ครั้นแล้วพึงให้พวกเธอให้การ ครั้นแล้ว พึงยกอาบัติขึ้น ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็น อยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระ อัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ ในชนบทกิฏาคีรี นี่เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้เป็นผู้ ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็น อยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขา ได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความ ประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอัน ภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติ เลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันภิกษุเหล่านี้ ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึง อยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบท กิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรีชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ปัพพาชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบท กิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ลำดับนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประมุขได้ไปสู่ ชนบทกิฏาคีรีแล้ว ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบท กิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี

ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านั้น ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษ การกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วย ความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะถูก สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอ ขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียง ด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี เล่าแล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี จริงหรือ?

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน พวก ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ เพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ โดยอเนก ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดี นิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เป็น ผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของเธอ เขาได้ เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันเธอประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็น อยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้ เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ พึงว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า พวกภิกษุถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย ถึงความกลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูป เพราะอาบัติ เช่นเดียวกัน ภิกษุนั้นอัน ภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย หาได้ถึง ความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ หาได้ถึงความกลัวไม่ ท่านเองแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม ของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันท่านประทุษร้าย แล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ ในที่นี้ และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาสากว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่น เป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.

มาพัก ณ ชนบทนั้น เพื่อจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค. ภิกษุนั้นเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านด้วยอาการสำรวม แต่มนุษย์ทั้งหลายไม่ชอบ เพราะไม่แสดงอาการประจบประแจง เหมือนภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จึงไม่ถวายอาหาร. แต่อุบาสกผู้หนึ่ง (เป็นผู้เข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง) เห็นเข้า จึงนิมนต์ภิกษุรูปนั้นไปฉันที่บ้านของตน สั่งความให้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ประพฤติตนไม่สมควรต่าง ๆ

ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท มีใจความว่า ภิกษุประทุษร้ายสกุล (ประจบคฤหัสถ์ ทอดตนลงให้เขาใช้) มีความประพฤติเลวทราม เป็นที่รู้เห็นทั่วไป ภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวและขับเสียจากที่นั้น ถ้าเธอกลับว่าติเตียน ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์) ให้เธอละเลิก ถ้าสวดครบ ๓ ครั้ง ยังดื้อดึง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

สิกขาบทวิภังค์

คำว่า อนึ่งภิกษุ ... บ้านก็ดี นิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่ง ความว่า บ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ชื่อว่า บ้านและนิคม.

บทว่า เข้าไปอาศัย ... อยู่ คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัย ของภิกษุไข้ เป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องอยู่ในที่นั้น.

ที่ชื่อว่า สกุล หมายสกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุลแพศย์ สกุลศูทร

บทว่า เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล คือ ประจบสกุลด้วยดอกไม้ก็ดี ผลไม้ก็ดี แป้งก็ดี ดินก็ดี ไม้สีฟันก็ดี ไม้ไผ่ก็ดี การแพทย์ก็ดี การสื่อสารก็ดี

บทว่า มีความประพฤติเลวทราม คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง.

บทว่า เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย คือ ชนเหล่าใดอยู่เฉพาะหน้า ชนเหล่านั้น ชื่อว่าได้เห็นอยู่ ชนเหล่าใดอยู่ลับหลัง ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ยินอยู่.

บทว่า และสกุลทั้งหลาย อันเธอประทุษร้ายแล้ว คือ ชนทั้งหลายเมื่อก่อนมี ศรัทธา อาศัยภิกษุนั้นกลับเป็นคนไม่มีศรัทธา เมื่อก่อนเป็นคนเลื่อมใสอาศัยภิกษุนั้นกลับเป็นคน ไม่เลื่อมใส

บทว่า เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย คือ ชนเหล่าใดอยู่เฉพาะหน้า ชนเหล่านั้น ชื่อว่าได้เห็นอยู่ ชนเหล่าใดอยู่ลับหลัง ชนเหล่านั้น ชื่อว่าได้ยินอยู่

บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลรูปนั้น

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุพวกที่ได้เห็นได้ ยินเหล่านั้น พึงว่ากล่าวภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลรูปนั้นว่า ท่านแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความ ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่านแล เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และ สกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสีย จากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ พึงว่าภิกษุ เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย ถึงความกลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูป เพราะอาบัติเช่นเดียวกัน

บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ภิกษุผู้ทำกรรมรูปนั้น

บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดได้เห็น ภิกษุ เหล่าใดได้ยิน ภิกษุเหล่านั้น พึงว่ากล่าวภิกษุผู้ทำกรรมรูปนั้นว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุ ทั้งหลายหาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ และหาได้ถึง ความกลัวไม่ ท่านแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม ของท่านแล เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ พึงว่า กล่าว แม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์แล้วพึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่าง นั้น ภิกษุทั้งหลาย หาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ หา ได้ถึงความกลัวไม่ ท่านแลเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติ เลวทรามของท่านแล เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ พึงว่า กล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส

ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสม นุภาสอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่า ดังนี้:-

กรรมวาจาสวดสมนุภาส

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความ ภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวด สมนุภาส ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดมมนุภาสภิกษุผู้นี้ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวด สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วย ความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่อง นั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วย ความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละ เรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ภิกษุผู้มีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสอง ครั้ง ย่อมระงับ

บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติ เดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึง ตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกาย นั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ

กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร

ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ภิกษุผู้สละเสียได้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล


ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม คือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทข้าพเจ้ายกขึ้นแสดง แล้ว เก้าสิกขาบทให้ต้องอาบัติเมื่อแรกทำ สี่สิกขาบทให้ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งแล้ว รู้อยู่ แต่ปกปิดไว้สิ้นวันเท่าใด ภิกษุนั้น ต้องอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนา สิ้นวันเท่านั้น ภิกษุอยู่ปริวาสแล้ว ต้องประพฤติวัตรเพื่อ มานัตสำหรับภิกษุเพิ่มขึ้นอีก ๖ ราตรี ภิกษุประพฤติมานัตแล้ว ภิกษุสงฆ์ ๒๐ รูปอยู่ในสีมาใด พึงเรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่ในสีมานั้น ถ้าภิกษุสงฆ์ ๒๐ รูป หย่อนแม้รูปหนึ่ง พึงเรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่ ภิกษุนั้นก็ไม่เป็นอันสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว และภิกษุเหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นสามีจิในกรรมนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในอาบัติสังฆาทิเสสเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม แม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม แม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในอาบัติ สังฆาทิเสสเหล่านี้ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.


หัวข้อประจำเรื่อง

สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท คือ ปล่อยสุกกะ ๑ เคล้าคลึงกาย ๑ วาจาชั่วหยาบ ๑ บำเรอกามของ ตน ๑ ชักสื่อ ๑ ทำกุฎี ๑ ทำวิหาร ๑ โจทด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ๑ โจทอ้างเลศบางอย่าง ๑ ทำลายสงฆ์ ๑ ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่นแหละ ๑ ว่ายาก ๑ ประทุษร้ายสกุล ๑ ดังนี้แล.

ที่มาhttp://www.polyboon.com/dhumma/01_074.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2010, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


สมัยนั้น พระอุทายี เป็นผู้เข้าสู่สกุลมากด้วยกัน ในกรุงสาวัตถี วันหนึ่งเข้าไปนั่งในห้องลับตาสองต่อสองกับหญิงสาว สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง. นางวิสาขาได้รับเชิญไปสู่สกุลนั้น เห็นเข้า จึงทักท้วงว่าเป็นการไม่สมควร ก็ไม่เอื้อเฟื้อ เชื่อฟัง. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับตาสองต่อสองกับหญิงเป็นที่อันพอจะประกอบกรรมได้ ถ้าอุบาสิกา๑ ผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่า ภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง คือ อาบัติปาราชิก (เพราะเสพเมถุน) ก็ตาม , อาบัติสังฆาทิเสส (เพราะถูกต้องกายหญิง หรือเกี้ยวหญิง เป็นต้น) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิง) ก็ตาม. ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับตารับสารภาพอย่างไร ในอาบัติ ๓ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามสารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม)

เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมาตา

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นท่านพระอุทายีเป็นพระประจำสกุลในพระนครสาวัตถี เข้าไปหาสกุลเป็นอันมาก สมัยนั้น สาวน้อยแห่งสกุลอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี เป็นสตรีที่ มารดาบิดายกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลหนึ่ง

ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปหาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงไต่ถามพวกชาวบ้านว่า สาวน้อยผู้มีชื่อนี้อยู่ไหน

พวกชาวบ้านตอบอย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้าได้ยกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลโน้นแล้ว เจ้าข้า

แม้สกุลนั้นแล ก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงถามพวกชาวบ้านว่า สตรีผู้มีชื่อนี้ อยู่ไหน?

พวกชาวบ้านตอบว่า นางนั่งอยู่ในห้อง เจ้าข้า

จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหาสาวน้อยนั้น ครั้นแล้วสำเร็จการนั่งในที่ลับคือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับสาวน้อยนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา.

ก็โดยสมัยนั้นแล นางวิสาขา มิคารมาตา เป็นสตรีมีบุตรมาก มีนัดดามาก มีบุตรไม่มีโรค มีนัดดาไม่มีโรค ซึ่งโลกสมมติว่าเป็นมิ่งมงคล พวกชาวบ้านเชิญนางไปให้ รับประทานอาหารก่อนในงานบำเพ็ญกุศล งานมงคล งานมหรสพ ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นพระอุทายี นั่งในที่ลับคือในอาสนะกำบัง ซึ่ง พอจะทำการได้กับหญิงสาวนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่ พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้าสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับ มาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร แม้พระคุณเจ้าจะไม่ต้องการด้วยธรรมนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส จะบอกให้เชื่อได้โดยยาก

ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้เชื่อฟัง

เมื่อนางวิสาขา มิคารมาตา กลับไปแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาค

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่ง ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ?

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้ สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ ข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกันมาตุคาม นั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วย สังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์ บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับ ด้วยธรรมนั้น ธรรมนี้ชื่อ อนิยต.

สิกขาบทวิภังค์

บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง ประสงค์ในอรรถนี้

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย โดยที่สุด แม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น ไม่ต้องพูดถึงสตรีผู้ใหญ่

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน

คำว่า รูปเดียว ... ผู้เดียว ได้แก่ภิกษุ ๑ มาตุคาม ๑

ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ๑ ที่ลับหู ๑

ที่ลับตา ได้แก่ที่ซึ่งเมื่อภิกษุหรือมาตุคามขยิบตา ยักคิ้ว หรือชูศีรษะ ไม่มีใครสามารถ จะแลเห็นได้

ที่ลับหู ได้แก่ ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดตามปกติได้

อาสนะที่ชื่อว่า กำบัง คือเป็นอาสนะที่เขากำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใดอย่างหนึ่ง

บทว่า พอจะทำการได้ คือ อาจเพื่อจะเสพเมถุนธรรมได้

คำว่า สำเร็จการนั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ก็ดี เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ก็ดี นั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคน ก็ดี

อุบาสิกาที่ชื่อว่า มีวาจาที่เชื่อได้ คือ เป็นสตรีผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี

ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ

บทว่า เห็น คือ พบ

อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เช่นนั้น พึงพูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใด อย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่ง การนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกประการหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น.

ปฏิญญาตกรณะ

เห็นนั่งกำลังเสพเมถุนธรรม

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพเมถุนธรรม ในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่าข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนกำลังเสพเมถุนธรรม

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังเสพเมถุนธรรม ในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ดังนี้ พึงปรับเพราะ การนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังเสพเมถุนธรรมใน มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังเสพเมถุนธรรมใน มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึง ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึง ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนั่งในที่ลับ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับเพราะ การนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็น พระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับ คือนั่งในอาสนะ กำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้า นอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็น พระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับ คือในอาสนะ กำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนในที่ลับ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับ เพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับ คือใน อาสนะกำบัง พอจะกระทำได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับ คือในอาสนะ กำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้า ยืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

บทว่า อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน คือ เป็นปาราชิกก็ได้ เป็นสังฆาทิเสส ก็ได้ เป็นปาจิตตีย์ก็ได้.

บทภาชนีย์

ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับเพราะการนั่ง

ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับเพราะการนั่ง

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2010, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


เล่าเรื่องสืบมาจากสิกขาบทก่อน. พระอุทายีเห็นว่าพระผู้มีพรภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง จึงนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิงนั้น (ไม่ลับตา แต่ลับหู) สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง. นางวิสาขาไปพบเข้าอีก จึงทักท้วงว่าไม่สมควรเช่นเคย พระอุทายีก็ไม่เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับหญิง ถ้าอุบาสิกาผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่าภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คืออาบัติสังฆาทิเสส (เพราะพูดเกี้ยวหญิง หรือพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง) ก็ตาม. ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับหูรับสารภาพอย่างไร ในอาบัติ ๒ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามที่สารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม).


เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขา มิคารมาตา

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อานาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสารวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีดำริว่า พระผู้มีพระภาค ทรงห้ามการสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะการทำได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จึงสำเร็จการนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยคนนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา

แม้ครั้งที่สองแล นางวิสาขา มิคารมาตา ก็ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นท่าน พระอุทายีนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายี ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้านั่งในที่ลับ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร พระคุณเจ้าแม้ไม่ต้องการ ด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส จะบอกให้เชื่อได้โดยยาก

ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้เชื่อฟัง

เมื่อนางวิสาขา มิคารมาตากลับไปแล้ว ได้แจ้งนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่งใน ที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ?

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้สำเร็จ การนั่งในที่ลับกับมาตุคามหนึ่งต่อหนึ่งเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ กระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอวัยวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว หาเป็นที่พอจะทำการ ได้ไม่ แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ แลภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับด้วยมาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น อุบาสิกามีวาจา ที่เชื่อได้เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่าง หนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วย ธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีก อย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรม นั้น แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ อนิยต.

สิกขาบทวิภังค์

คำว่า อนึ่งสถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว อธิบายว่า อาสนะเป็น ที่เปิดเผย คือ เป็นสถานที่มิได้กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใดอย่างหนึ่ง

บทว่า หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ คือ ไม่อาจเสพเมถุนธรรมได้

คำว่า แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่ คือ อาจจะพูด เคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้

บทว่า แล ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตามนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า แล ... ใด

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น ผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง ประสงค์ในอรรถนี้

บทว่า ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น คือ ในอาสนะเห็นปานนั้น

ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นสตรีผู้รู้เดียงสา สามารถซาบซึ้งถึงถ้อยคำ เป็นสุภาษิต ทุรภาษิต วาจาชั่วหยาบ และสุภาพ

บทว่า กับ คือ ร่วมกัน

คำว่า รูปเดียว ... ผู้เดียว ได้แก่ ภิกษุ ๑ มาตุคาม ๑

ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ๑ ที่ลับหู ๑ ที่ลับตา ได้แก่สถานที่ซึ่งเมื่อภิกษุ หรือ มาตุคาม ขยิบตา ยักคิ้ว หรือชูศีรษะไม่มีใครสามารถจะแลเห็นได้

ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดตามปกติได้

คำว่า สำเร็จการนั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ก็ดี เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ก็ดี นั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคนก็ดี

อุบาสิกาที่ชื่อว่า มีวาจาที่เชื่อได้ คือ เป็นสตรีผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจ ศาสนาดี

ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึง พระสงฆ์เป็นสรณะ

บทว่า เห็น คือพบ

อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เช่นนั้น พึงพูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วย ปาจิตตีย์บ้าง อีกประการหนึ่งอุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้น พึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น.

ปฏิญญาตกรณะ

เห็นนั่งกำลังเคล้าคลึง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็น พระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึง ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ

เห็นนอนกำลังเคล้าคลึง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึง ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

ได้ยินนั่งกำลังพูดเคาะ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจา ชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจา ชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

ได้ยินนอนกำลังพูดเคาะ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะ มาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่ว หยาบ ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอนข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนั่งในที่ลับ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับกับ มาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับเพราะการนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับกับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะ การนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับกับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนในที่ลับ

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับกับ มาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับกับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะ การนั่ง

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับกับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสท้าวถึงสิกขาบทก่อน

บทว่า อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน คือ เป็นสังฆาทิเสสก็ได้ เป็นปาจิตตีย์ก็ได้.

บทภาชนีย์

ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับเพราะการนั่ง

ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับเพราะการนั่ง

ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ.

บทสรุป

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ อนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรม คืออนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หัวข้อประจำเรื่อง

อนิยต ๒ สิกขาบท คือ นั่งในที่ลับพอจะทำการได้ ๑ แลนั่งในที่เช่นนั้น แต่หาเป็นที่ พอจะทำการได้ไม่ ๑ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้คงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ดั่งนี้แล.


ร่วมสร้าง พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา บูชาพระรัตนตรัย

โดย

พุฒิวงศ์ บุษบวรรษ
ปิยมน อัจฉริยปัญญา
บริษัท โพลีบูรณ์ จำกัด

ที่มา http://www.polyboon.com/dhumma/01_081.php


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร