ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
มหาสติปัฏฐาน http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=29915 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | walaiporn [ 07 มี.ค. 2010, 22:29 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | มหาสติปัฏฐาน | ||
เนื่องจากเจอปัญหาในการโพสกระทู้บ่อยครั้งมากๆ คือ บางทีโพสไปแล้ว ปรากฏว่า เราหลุดออกจากระบบตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ แล้วข้อความที่เรานั่งพิมพ์มาทั้งหมดนั้น หายวั๊บไปกับตา เราล่ะรู้สึกสุดแสนเสียดายยิ่งนัก เพราะกว่าจะพิมพ์ได้ บางบทความยาวมากๆเลย จากที่เจอกับเหตุการณ์นี้บ่อยมากๆ ก็เลยทำให้ระวังมากขึ้น ต่อมาได้ทำการก๊อปข้อความไว้ก่อนทุกๆครั้ง แต่สุดท้ายก็เจอปัญหาใหม่อีกคือ จู่ๆ เมื่อเรากดขอแสดงตัวอย่างข้อความก่อน แต่เราก็ก๊อปข้อความไว้ก่อนเหมือนทุกครั้ง ครั้งนี้ ปัญหาที่เจอคือ เว็บบอร์ดหายวั๊บไปกับตา ฮ่าๆๆๆๆ ..... แถมข้อความที่ก๊อปเอาไว้นั้น พอเราเปิดหน้าเว็บขึ้นมาใหม่ ก็ยังมีความหวังอยู่ว่า ข้อความที่ก๊อปเอาไว้นั้น คงจะใช้งานได้ โอ้วพระเจ้า !!!!! ...... อันนี้อุทานแบบนั้นจริงๆ จะไม่ให้อุทานแบบนั้นได้ยังไง แม้แต่ข้อความที่ก๊อปเอาไว้ ก็อันตธานหายไปหมดสิ้น เมื่อก่อนที่เราเจอกับปัญหานี้ เราจะโมโหมากๆเลย จะไม่ให้โมโหได้ยังไง นั่งพิมพ์เองตั้งนาน ไม่ได้ก๊อปมาแปะ ถ้าก๊อปมาแปะจะไม่โมโหเลย แต่วันนี้ สิ่งที่เห็นชัดเกิดขึ้นในจิตของเราคือ นั่งมอง แค่นั่งมอง ไม่ได้เกิดความรู้สึกโกรธหรือโมโหแต่อย่างใด แต่ใจคิดว่า ควรลงเรื่องราวเหล่านี้ ไว้ตรงนี้ดีกว่า เผื่อใครเจอปัญหาตรงนี้ จะได้รู้จักเตรียมตัวพร้อม วิธีเตรียมตัวคือ เราควรก๊อปข้อความที่พิมพ์แล้วทั้งหมด นำไปเซฟไว้ในที่ๆเราสามารถเก็บ ข้อความไว้ได้ แล้วถ้าเกิดขัดข้องทางเทคนิด เจอปัญหานี้ จะได้ไม่อารมณ์เสีย และข้อความยังคงอยู่ครบทุกอย่าง ให้ก๊อปเอาไปแปะที่ๆสามารถเก็บข้อความได้ เมื่อเปิดเว็บขึ้นมาใหม่ ก็นำข้อความที่เก้บไว้มาแปะได้ดังเดิม วันนี้เราเสียค่าความรู้ไปแล้ว หายหมดเลย เป็นการทดสอบสติเราด้วยนะ ความละเอียด ความรอบครอบ ทำให้เราเจออะไรทุกครั้งนี่ ดูเหมือนสามารถรับมือได้มากขึ้น คือ อยู่กับการกระทบหรือทุกๆสภาวะได้มากขึ้น ไม่มารู้สึกโกรธหรือหงุดหงิดแต่อย่างใด แต่จะให้มานั่งพิมพ์ใหม่นี่ ไม่เอาแล้ว วันนี้พอก่อน ไว้มีเวลา ค่อยมาเริ่มต้นใหม่ ก็ตั้งใจว่า อยากจะทำอะไรสักอย่าง เพื่อตอบแทนเว็บบอร์ดนี้ เราได้สิ่งดีๆมากมายจากที่นี่ ก็คิดอยู่ว่าจะตอบแทนยังไงดี ...... พอดีมาอ่านหนังสือที่หลวงพ่อโชดกท่านเขียนไว้ เรื่อง มหาสติปัฏฐาน ท่านแบ่งอธิบายไว้เป็นหมวดๆ อ่านแล้วเข้าใจมาก มีครบทุกขบวนความ เรียกว่า ชาวบ้านทั่วๆไปนี่ อ่านแล้ว ไม่ต้องไปถามว่า ตัวนี้แปลว่าอะไร แล้วจะต้องทำอย่างไรบ้าง จะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง ท่านอธิบายทั้งภาคบัญญัติและปรมัตถ์หรือสภาวะไว้ให้แบบเรียบร้อย ก็เลยคิดว่า นี่แหละคือ สิ่งที่เราสามารถจะตอบแทนคืนสิ่งดีๆให้กับบอร์ดนี้ได้ สิ่งที่ครูบาฯท่านได้ถ่ายทอดเอาไว้ครบทุกอย่าง ไว้รออ่านนะคะ จะทะยอยนำมาลงให้เรื่อยๆ ![]() ตอนนี้ก็ดูภาพหลวงพ่อโชดกไปพลางๆก่อนละกันค่ะ
|
เจ้าของ: | sirisuk [ 07 มี.ค. 2010, 23:28 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: มหาสติปัฏฐาน | ||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เลยแก้ปัญหาโดย พิมพ์ต้นฉบับไว้ที่ word จัดให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยก๊อปมาโพสที่เว็บบอร์ด ก็เลยหมดปัญหา ทั้งยังได้ต้นฉบับเก็บไว้ และไม่เสียเวลาด้วยค่ะ ![]() ![]()
|
เจ้าของ: | walaiporn [ 12 มี.ค. 2010, 00:02 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มหาสติปัฏฐาน |
บทที่ ๑ โพธิปักขิยะธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้ หมายความว่า ผู้ปฏิบัติธรรมขั้นสูง คือ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เวลาจะได้ผลเต็มที่ โพธิปักขิยธรรมนี้ จะต้องเกิดพร้อมกันอย่างสมบูรณ์ ไม่มีขาดตกบกพร่องแต่ประการใดๆเลย โพธิปักขิยธรรมนั้น มีอยู่ ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๘ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ จะได้นำมาบรรยายเป้นข้อๆไป จะได้เริ่มบรรยายถึง สติปัฏฐาน ก่อน คำว่า สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ หมายความว่า บุคคลผู้ประสงค์จะฝึกจิต ให้เกิดศิล สมาธิ ปัญญานั้น ต้องอาศัยสติเป็นหลักใหญ่และสำคัญที่สุด เพราะ สติเป็นผู้คอยควบคุมกาย กับใจ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า สติคอยควบคุมรูปกับนาม ให้ดำเนินไปถูกทางที่เราต้องการ ดุจบุคคลเลี้ยงเด็กๆ ที่กำลังซุกซน ต้องคอยดูแล ระมัดระวังอยู่เสมอ จะประมาทหรือเผลอมิได้ ทางนั้นได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้า ๓๒๕ เป็นต้นไป กับเล่มที่ ๑๒ หน้า ๑๐๓ เป็นต้นไป พระพุทธองค์ตรัสเทศนาสติปัฏฐาน ๔ ที่กัมมาสทัมมนิคม แว่นแคว้นกุรุ ให้ภิกษุทั้งหลายฟัง แล้วจึงเทศน์ให้ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาฟังต่อๆไป ในสมัยหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิ์ ได้เสด็จเหาะไปยังทวีปทั้ง ๔ คือ บุพพวิเทหทวีป อุตตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป และชมพูทวีป ครั้นเสด็จเหาะไปถึงอุตตรกุรุทวีปแล้ว ในคราวเสด็จกลับมาชมพูทวีป พระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงนำคนชาวอุตตรกุรุทวีปมาด้วย มีพระบรมราชโองการให้อยู่อาศัยในแว่นแคว้นนั้น เพราะฉะนั้น แว่นแคว้นนั้นจึงเรียกว่า กุรุ ส่วนกัมมาสทัมมนิคมนั้น เป็นสถานที่ที่พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ ได้พระราชทานโอวาทแก่พระเจ้าโปริสาทผู้มีเท้าดำด่าง ภูมิประเทศของแว่นแคว้นนั้น มีอากาศดี มีอาหารประณีต มีที่อยู่อาศัยสะดวกสบายดี อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารทุกๆอย่าง ภิกษุ ภิกษุณี อุบากสก อุบาสิกา ในแว่นแคว้นนั้น มีสุขภาพพลานามัยดี มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถฟังพระธรรมเทศนาอันลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพได้เป็นอย่างดี และเป็นผู้สนใจในพระธรรม ด้วยกันแทบทุกคน แทบจะไม่มียกเว้นใครๆเลย |
เจ้าของ: | walaiporn [ 14 มี.ค. 2010, 15:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มหาสติปัฏฐาน |
คำว่า " คัมภีรภาพ " แปลว่า " ความลึกซึ้ง " มีอยู่ ๔ อย่างคือ ๑. ธมฺมคมฺภีรภาโว ลึกซึ้งโดยธรรม ได้แก่ พระบาลี พระบาลีนั้น ได้แก่ พระไตรปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก อันเป็นที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป้นหมวด เป็นหมู่ เป็นวรรค เป็นวาร มีความลึกซึ้งทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ คือ ทั้งความหมายและตัวหนังสือ |
เจ้าของ: | walaiporn [ 14 มี.ค. 2010, 15:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มหาสติปัฏฐาน |
๒. อตฺถคมฺภีรภาโว ลึกซึ้งโดยอรรถ ได้แก่ อรรถกถา อรรถกถานั้นแก้พระบาลี มีความหมายแห่งพระบาลี ให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น พระบาลี มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นสภาพถึงก่อน อรรถกถาแก้คือ อธิบายความต่อไปว่า มโนติ อวิเสเสน สพฺพมฺปิ จตุภูมิกจิตฺตํ วุจฺจติ เป็นต้น ความว่า จิตเป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า ใจ ในพระคาถามนั้น โดยไม่แปลกกัน แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อนิยมกะกำหนดลงไปจริงๆ ในบทนี้ได้แก่ กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง และในจิต ๘ ดวงนี้ ก็หมายเอาเฉพาะดวงที่ประกอบด้วยโสมนัส มีปัญญาเท่านั้น อย่างนี้เรียกว่า ลึกซึ้งโดยอรรถ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจกว้างขวางขึ้นไปอีก จะได้อธิบายเพิ่มเติมต่อไปนี้คือ คำว่า กามาวจรกุศลจิต แปลว่า จิตที่เป็นกุศล มีผลให้สรรพสัตว์ท่องเที่ยวอยู่ในกามภูมิ ๑๑ คือ อบายภูมิ ๔ มนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ มีอยู่ ๘ ดวงคือ ๑. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ เวลาทำบุญ มีความดีใจ มีปัญญาปรารถนามรรค ผล นิพพาน ทำบุญเอง ไม่มีใครมาชักชวน ๒ . เวลาทำบุญมีความดีใจ มีปัญญาปรารถนามรรค ผล นิพพาน ทำบุญเอง มีผู้มาชักชวนจึงทำบุญ ๓. เวลาทำบุญมีใจเฉยๆ มีปัญญาปรารถนามรรค ผล นิพพาน ไม่มีใครชักชวนจึงทำบุญ ๔. เวลาทำบุญ มีใจเฉยๆ มีปัญญา ปรารถนามรรค ผล นิพพาน มีผู้ชักชวนจึงทำบุญ ๕. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ เวลาทำบุญ มีความดีใจ ไม่มีปัญญา คือไม่ปรารถนา มรรค ผล นิพพาน มีผู้มาชักชวนจึงทำบุญ ๖. เวลาทำบุญ มีความดีใจ ไม่มีปัญญา คือไม่ปรารถนามรรค ผล นิพพาน ไม่มีผู้มาชักชวน ๗.เวลาทำบุญ มีใจเฉยๆ ไม่มีปัญญา คือไม่ปรารถนามรรค ผล นิพพาน ทำบุญเอง ไม่มีผู้มาชักชวน ๘. เวลาทำบุญ มีใจเฉยๆ ไม่มีปัญญา คือไม่ปรารถนามรรค ผล นิพพาน มีผู้มาชักชวนจึงทำบุญ ทั้ง ๘ ข้อนี้ เรียกว่า กามาวจรกุศล จิตที่ประกอบกับกุศลอย่างนี้เรียกว่า กามาวจรกุศลจิต ในบทที่ว่า มโน ซึ่งแปลว่า ใจ ในพระคาถามนี้ ท่านประสงค์เอาเฉพาะข้อที่ ๑-๒ คือ จิตที่มีโสมนัส ด้วย มีปัญญาด้วยเท่านั้น อย่างนี้เรียกว่า ลึกซึ้งโดยอรรถ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |