ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=5&t=30275 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | Bwitch [ 22 มี.ค. 2010, 20:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | ::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: |
![]() ท่านโพธิธรรมตั้กม๊อ เกิดในวรรณะพราหมณ์เป็นชาวอินเดีย เป็นสังฆนายกของนิกายเซนองค์ที่ 28 ของนิกายเซน (องค์แรกคือพระมหากัสสปะ องค์ที่สองคือพระอานนท์) แต่ชาวจีนนับท่านเป็นองค์แรก ของนิกายเซนของจีน ท่านอยู่ที่เมืองจีนประมาณ 50 กว่าปี จากคัมภีร์เล่มหนึ่งท่านกล่าวว่า ผู้ที่จะปฏิบัติธรรมได้ดี จะต้องมีความศรัทธาและเชื่อมั่นก่อน ถึงจะเข้าถึงธรรมได้ดี ส่วนการนั่งสมาธินั่งนั้น เมื่อนั่งจนสงบนิ่งเหมือนไม่มีลมหายใจ จิตหยุดกระเพื่อม ความรู้สึกไม่รับผัสสะที่มาจากภายนอกทั้งหมด จิตแน่วแน่และมั่นคงดั่งหินผา จะสามารถเข้าสู่ทางเดินแห่งการรู้แจ้งได้ ส่วนการดำเนินจิตในชีวิตประจำวัน จะต้องเข้าถึงหลักดังนี้ 1. กฏแห่งกรรม เมื่อพบความทุกข์ใดๆ ก็ต้องสำนึกว่า ความทุกข์และความเจ็บปวดเป็นผลกรรมจากการกระทำในชาติก่อน เพราะเหตุนี้จึงไม่ควรหลงโกรธโทษฟ้าดิน ยอมรับผลกรรม โดยไม่โอดครวญและหลงโทษสิ่งใดๆ 2. ไปตามครรลองของธรรมชาติ แม้ว่าทุกอย่างจะเกิดจากเหตุ สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม แต่ทุกสิ่งก็เป็นอนัตตา ทุกข์สุขความเป็นไปของชีวิต เกิดจากกรรมภายในภายนอก เป็นตัวกำหนด ยามเมื่อมีเงินทองเกียรติยศชื่อเสียง พึงสำเหนียกว่า เป็นผลจาการกระทำในอดีต แต่เมื่อเสวยผลบุญจนสิ้นสุด ก็จะกลายเป็นไม่มี ได้หรือเสียเป็นไปตามกรรม จิตไม่มีเพิ่มหรือลด ดีมาก็ไม่กระเพื่อมเป็นไปตามครรลอง 3. ไม่แสวงหาสิ่งใดๆ คนในโลกนี้ล้วนแต่มีความโลภ คนมีปัญญาถึงจะเข้าใจถึงความเป็นจริง นึกถึงเมื่อวนเวียนอยู่ในสามโลกอันยาวนาน นึกถึงความทุกข์ของการมีกายมีการแสวงหา เมื่อมาถึงการรู้แจ้งถึงการแสวงหาสิ่งเหล่านี้ จิตก็จะหยุดดิ้นรน ก็จะเข้าถึงมรรคที่แท้จริงได้ 4. บำเพ็ญตนใน 6 สิ่งนี้ คือ ทำทาน รักษาศีล อดทน ใฝ่ก้าวหน้า จิตสงบ เดินทางสายกลางและสุญตา |
เจ้าของ: | Wylsmith [ 09 เม.ย. 2010, 20:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: |
![]() ด้วยความเคารพครับ โปรดชี้แนะผมด้วยครับ Wylsmith |
เจ้าของ: | Bwitch [ 09 เม.ย. 2010, 22:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: |
![]() สุญญตา เป็น สภาวะหนึ่งค่ะ ไม่ใช่ อุบายวิธี หรือ กระบวนการ เรื่อง ความว่าง เป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุดในบรรดาเรื่องของพระพุทธศาสนา ติดตามอ่านการสนทนาธรรมของบัณฑิตหลายๆ ท่าน ดิฉันก็ยัง ![]() ![]() เรื่องความว่างถือเป็นหัวใจหรือแก่นของพระุพุทธศาสนา ความว่างตามหลักพระพุทธศาสนาคือความว่างจากกิเลส (ความโลภ ความโกรธ ความหลง) ว่างจากตัณหา (ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น) ว่างจากสุข ว่างจากทุกข์ ว่างจากความรู้สึกว่ามีตัวเรา ของเรา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักมองดูโลกโดยความเป็นของว่าง "สุญญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต" มีใจความว่าเธอจงมองดูโลกโดยความเป็นของว่าง มีสติอยู่อย่างนี้ทุกเมื่อ และเมื่อเธอมองเห็นโลกอยู่ในลักษณะอย่างนี้ ความตายก็จะค้นหาตัวเธอไม่พบนี้อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งมีใจความว่า ถ้าใครเห็นโลกโดยความเป็นของว่างอยู่แล้วผู้นั้นจะอยู่เหนือ อำนาจของความทุกข์ ซึ่งมีความตายเป็นประธาน "นิพฺนานํ ปรมํ สัญญํ" "นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ" ว่างอย่างยิ่งคือนิพพาน นิพพานคือเครื่องนำมาซึ่งความสุขอย่างยิ่ง-อธิบายเป็นภาษาชาวบ้าน- *"นิพพาน" ที่แปลว่า ดับไม่เหลือทุกข์นั้น มีความหมายลึกลงไปว่า ***ว่างอย่างยิ่ง*** สถาวะนิพพาน ไม่สามารถอธิบายให้เห็นภาพได้ (มีเพียงผู้ปฏิบัติเท่านั้นรู้ได้ด้วยตนเอง) นิพพานอยู่เหนือทุกข์เหนือสุขค่ะ สรุปแบบโลกๆ (ตามความเข้าใจของดิฉันเอง) ว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้มนุษย์ทำความเข้าใจความจริงของชีวิตว่า ขันธ์๕ มีลักษณะเป็นกฎไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง ไม่จีรัง มีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น จนเกิดอัตตา ยึดว่านี่ตัวกู-ของกู ปุถุชนอย่างเรา ที่ัยังต้องทำงานเลี้ยงชีพ การปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็มีความสุขเพียงพอแก่ฐานานุรูป ส่วนหนทางดับทุกข์ หรืออริยมรรค มีอุบายวิธี คือ สติปัฏฐาน๔ ค่ะ ![]() ลองศึกษาี ความว่าง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-051.htm นำคำแปลในพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระธรรมปิฎกมาให้ศึกษาค่ะ สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”,ความว่าง 1. ความเป็นสภาพที่วางจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตนตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยาย หมายถึงหลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ทีแสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่า ปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมสั้นๆ 2. ความว่างจากกิเลสมีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน 3. โลกุตตรมรรคได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง(จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือนิพพานเป็นอารมณ์ 4. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่นผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย; สุญตา ก็เขียน http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/003495.htm |
เจ้าของ: | Wylsmith [ 10 เม.ย. 2010, 07:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: |
![]() อีกประการหนึ่งโลกและสังคมเราทุกวันนี้ยังต้องอยู่กันสิ่งสมมุติทั้งสิ้น ตัวเรา ชื่อเรา ทรัพย์เรา หน้าที่ของเรา สิทธิของเรา ฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนถูกสมมุติขึ้น เราก็ติดอยู่ในสิ่งสมมุติแทบจะเรียกได้ว่าเป็นสภาพบังคับ หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะเดินทางไปสู่สภาวะ "สุญญตา" ได้อย่างไรครับ? ต้องขอประทานอภัยนะครับ ผมอาจจะถามคำถามที่ไม่สมควร แต่ผมเข้ามาในลานแห่งนี้เพื่อค้นหาหนทางปลดทุกข์ (เห็นแก่ตัวจริง ๆ) ผมไม่เคยศึกษาธรรมะมาก่อน ดังนั้นคำถามจึงอยู่ใน Tone แบบนี้ อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ คิดว่าเมตตาผมก็แล้วกัน ขอบพระคณครับ Wylsmith |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 10 เม.ย. 2010, 08:21 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: | ||
คุณ Wylsmith ศึกษาวิธีปฏิบัติลิงค์นี้ดูสิครับ viewtopic.php?f=2&t=21861 นำมาให้พิจารณาตรงนี้หน่อยหนึ่ง “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ 1) พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ 2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้ 3) พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้ 4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้ (ที.ม. 10/299/349 ฯลฯ )
|
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 10 เม.ย. 2010, 08:48 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: | ||
สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ 1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย 2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา 3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต 4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม
|
เจ้าของ: | Wylsmith [ 10 เม.ย. 2010, 09:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: |
![]() กล่าวคือ การทำความเข้าใจและปฎิบัติเพื่อเข้าถึงสุญญตานั้นดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยาก และใกลเกินไปสำหรับผู้ที่คิดศึกษา และเริ่มต้น แต่วิธีการควรจะเริ่มจากพื้นฐานให้แน่นเสียก่อน สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ 1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย 2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา 3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต 4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม ผมเข้าใจเช่นนี้พอจะถูกทาง และเป็นไปได้ใช่หรือไม่ครับ ขอบพระคุณครับ Wylsmith |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 10 เม.ย. 2010, 10:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: |
อ้างคำพูด: ดังนั้นผมขอสรุปอย่างนี้พอจะเป็นไปได้มั๊ยครับ กล่าวคือ การทำความเข้าใจและปฎิบัติเพื่อเข้าถึงสุญญตานั้นดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยาก และใกลเกินไปสำหรับผู้ที่คิดศึกษา และเริ่มต้น แต่วิธีการควรจะเริ่มจากพื้นฐานให้แน่นเสียก่อน 1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย 2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา 3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต 4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม. ผมเข้าใจเช่นนี้พอจะถูกทาง และเป็นไปได้ใช่หรือไม่ครับ เป็นไปได้ครับ อย่างนี้ครับ คุณ Wylsmith ชีวิตนี้มีครบ ทั้งทุกข์และทางพ้นทุกข์ จะใช้คำว่าพื้นฐานดังคุณว่า หรือตามหัวข้อทั้ง 4 นั้น ก็คือชีวิตนี้ เอง ข้อ 1 ได้แก่ร่างกาย (รูปธรรม) ที่เหลืออีกสามข้อ เป็นด้านจิตใจ (นามธรรม) ชีวิตนี้ประกอบด้วยร่างกาย กับจิตใจเท่านั้น ชีวิตจึงดำรงอยู่ได้ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไม่เรียกว่าชีวิต ดังนั้นชีวิตนี้จึงมีครบอยู่แล้วทั้งทุกข์และความดับทุกข์ การแสวงหาทางพ้นทุกข์พึงแสวงหาที่ชีวิตนี้เอง โดยไม่พึงยึดติดกับคำศัพท์สุญญตาเป็นต้นนัก สรุปก็คือเมื่อปฏิบัติจนเข้าใจชีวิตนี้แล้วก็เข้าใจคำว่า สุญญตา เป็นต้น ด้านตรงข้าม หากไม่เข้าใจชีวิตของตนๆแล้ว จะไม่เข้าใจธรรมหรือเข้าใจคำศัพท์อื่นๆในทางธรรมเลย ![]() |
เจ้าของ: | Wylsmith [ 10 เม.ย. 2010, 11:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ::คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ:: |
![]() Wylsmith |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |