วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 15:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อทินนาทาน
อทินนาทาน แยกบทได้ ๓ บท คือ.....
อ + ทนฺน +อาทาน
อ - เป็นคำปฏิเสธ
ทินฺน - สิ่งที่เจ้าของอนุญาตให้
อาทาน - ยึดถือเอา
เมื่อรวมบทแล้ว เป็นอทินนาทาน แปลความว่า "ยึดเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้อนุญาต"

อทินฺน คือ วัตถุสิ่งของที่เจ้าของมิได้อนุญาตให้ หมายถึงการมิได้อนุญาต
โดยเขียนหนังสืออนุญาต หรือมิได้หยิบยื่นให้ กล่าววาจาอนุญาต หรือแสดงกิริยาอาการ
ให้รู้ว่า อนุญาต.....

อาทาน หมายถึงการยึดถือเอาโดยการลักขโมย จี้ ปล้น วิ่งราว ข่มขู่ ยักยอก ฉ้อโกง
หรือสับเปลี่ยน เป็นต้น
อทนฺนํ อาทียนฺติ เอเตนาติ - อทินฺนาทานํ
แปลความว่า บุคคลทั้งหลายย่อมยึดถือเอาวัตถุสิ่งของ ที่เจ้าของมิได้อนุญาตนั้น

ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ยึดเอาวัตถุสิ่งของที่เจ้าของ มิได้อนุญาตนั้น
ชื่อว่า อทินนาทาน ได้แก่ เถยยเจตนา คือ เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการลักทรัพย์

องค์ประกอบของอทินนาทาน
การก้าวล่วงกรรมบทแห่งอกุศลกรรม อทินนาทานนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

๑. ปรปริคฺคหิตํ ได้แก่ วัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ
๒. ปรปริคฺคหิต สญฺญิตา ได้แก่ รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ
๓. เภยฺยจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตคิดจะลักทรัพย์
๔. ปโยโค ได้แก่ ทำความเพียรเพื่อลักทรัพย์นั้น
๕. อวหาโร ได้แก่ ได้สิ่งของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น

เมื่อการกระทำครบองค์ทั้ง๕ประการนี้แล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่า ก้าวล่วงกรรมบท
ถ้ากระทำไม่ครบองค์๕ ย่อมไม่สำเร็จเป็นกรรมบท
ปโยคะ ความเพียรพยายามในการลักทรัพย์ มี ๖ ประการ
เหมือนกับ ปโยคะของปาณาติบาต คือ

๑. สาหัตถิกะ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกะ ใช้คนอื่นลักทรัพย์ด้วยวาจา
๓. นิสสัคคิย ทิ้งวัตถุสิ่งของไว้ หรือโยนให้คนอื่นพวกเดียวกัน
หรือทิ้งของที่ต้องเสียภาษีออกไปให้พ้นเขต
๔. ถาวระ สั่งสมัครพรรคพวกไว้ ได้โอกาศให้พยายามลักทรัพย์นั้นมา
๕. วิชชามยะ ใช้เวทมนต์คาถาให้เจ้าของหลงไหล หยิบยื่นทรัพย์นั้นให้
หรืใช้คาถาสะกดให้เจ้าทรัพย์หลับ แล้วเข้าลักทรัพย์
๖. อิมธิมยะ ใช้อิทธิฤทธิ์ต่างๆ ที่นอกจากวิชชามยะ

แต่ผู้มีอิทธิฤทธิ์นี้ ย่อมไม่ทำอทินนาทานที่เป็น โลกวัชชะ
คือการกระทำที่มีโทษในทางโลก กระทำแต่จะหยิบฉวยมาใช้เป็นประโยชน์ชั่วคราว
ที่เจ้าของทรัพย์นั้น ไม่มีความเสียหายแต่อย่างใด ข้อนี้ไม่จัดว่าเป็นการลักทรัพย์
ที่ครบองค์ประกอบ

(คัดจาก คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค)
รวบรวม โดย อ.วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี มูลนิธิ อ.แนบ มหานีรานนท์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2014, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสาวัชชะ และอัปปสาวัชชะของอทินนาทาน

การลักทรัพย์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับทรัพย์สิ่งของที่ลักขโมยนั้น
เป็นประการสำคัญ

เมื่อว่าโดยราคาแล้ว ถ้าทรัพย์สิ่งของที่ลักขโมยมานั้น
มีราคามากก็เป็นมหาวัชชะคือมีโทษน้อยและทรัพย์สิ่งของที่มีค่าเสมอกัน
ต้องวินิจฉัยที่เจ้าของทรัพย์สิ่งของนั้น กล่าวคือ ถ้าเจ้าของเป็นผู้มีศีลธรรม
ผู้ลักขโมยนั้น ก็มีโทษมากถ้าเจ้าของไม่มีศีลธรรม ผู้ลักขโมยก็มีโทษน้อย

เจ้าทรัพย์อาจจำแนกได้เป็น ๔ ประเภท คือ :-

๑. คิหิสนฺตก ทรัพย์นั้นเป็นของ ฆารวาส
๒. ปุคฺคสสนฺตก ทรัพย์นั้นเป็นของ พระ หรือเณร องค์ใดองค์หนึ่ง
๓. คณสนฺตก ทรัพย์นั้นเป็นของ พระ หรือเณร ๒ ถึง ๓ องค์
๔. สงฺฆสนฺตก ทรัพย์นั้นเป็นของ พระ หรือเณร ตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไป

ผู้ใดลักทรัพย์ของเจ้าของทั้ง ๔ ประเภทนี้ ย่อมมีโทษมากน้อยไม่เท่ากัน
ถ้าลักทรัพย์ของบุคคล สนฺตก ถ้าลักทรัพย์ของ สงฺฆสนฺตก มีโทษมากที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 119 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร