วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 01:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 17:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 07:24
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเคยได้ยินมาว่าหากเราปรารถนานิพพานแล้วจะทำให้กรรมไม่ดีที่เราเคยทำจะมาให้ผลกับเราก่อนที่เราจะนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 13:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กลางทาง เขียน:
ผมเคยได้ยินมาว่าหากเราปรารถนานิพพานแล้วจะทำให้กรรมไม่ดีที่เราเคยทำจะมาให้ผลกับเราก่อนที่เราจะนิพพาน


ถ้าหากจะนิพพาน หมายถึง เข้าสู่วิถีที่ลาดสู่ นิพพาน
กรรมที่จะให้ผล ควรจะเป็นกรรมที่เป็นเหตุใกล้ ให้น้อมไปในนิพพาน
ซึ่งจะเป็น กรรมไม่ดี ไม่น่าจะใช่เน๊าะ ... :b1:

ส่วนการปราถนา นี่ น่าจะเป็นเพียงลำดับแห่งการทำความตั้งใจไว้
ซึ่ง กรรม ก็คือ กรรม
เราจะทำความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ กรรม ก็ดำเนินไปโดยตัวมันเองอยู่แล้วส่วนหนึ่ง
ส่วนกรรมที่ได้กระทำการตั้งใจไว้ ก็จะเป็นกรรมที่จะยังให้เกิดเหตุใกล้ เหตุแห่งความน้อมไป น่ะ

...

เอกอนเข้าใจว่างั๊นนะ
เพราะ ยังไม่เห็นความสัมพันธ์ที่จะฟันธงลงไปได้ว่า
การปราถนานิพพานแล้วจะเป็นแรงดึงดูดกรรมไม่ดีให้ส่งผลน่ะ
....
จะสังเกตเห็นได้แต่ในแง่ที่ว่า เมื่อเราปราถนานิพพาน
กรรมจากการที่ได้กระทำการตั้งใจไว้
ก็จะส่งผลเป็นกรรมที่ยังให้เกิดเหตุใกล้ เหตุแห่งความน้อมไป น่ะ

ซึ่ง กรรมดี กรรมไม่ดี เราต่างตีความไปกันเช่นไร
เพราะ ถ้ามองในแง่ง่าย ๆ
กรรมดี ก็เป็นกรรมที่นำไปสู่อัตภาพที่ดี
กรรมไม่ดี ก็เป็นกรรมที่นำไปสู่อัตภาพที่ไม่ดี
ซึ่ง กรรมที่จะนำไปสู่นิพพาน ก็น่าจะเป็นกรรมที่นำไปสู่อัตภาพที่ดี

อันนี้คิดเอาเอง เข้าใจว่าอย่างนั้น

รอท่านอื่น ๆ มาร่วมเสวนา...

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 13:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 07:24
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่านเอกอนครับ ด้วยที่ผมความรู้น้อยจึงต้องขอออกตัวขออภัยก่อนล่วงหน้าครับ ที่ผมสงสัยในสิ่งที่ผมตั้งกระทู้ไปนั้นเพราะเคยได้อ่านมาจากบางเว๊ปแต่เว๊ปไหนจำไม่ได้แล้วเป็นการถามตอบกระทู้กันตามปกติทั่วไป ซึ่งเหตุผลที่ปรารถนานิพพานแล้วจะมีเรื่องไม่ดีมานั้น ก็ประมาณว่าเหมือนมาทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายอยากละสิ่งสมมติต่างๆที่มีในโลกนี้ครับหรืออาจเป็นการทดสอบจิตใจเราเช่น คนที่เคยปกติดีกับเราวันหนึ่งก็นินทาให้ร้ายเรา ครั้งแรกเราอาจทนไม่ได้ต่อๆไปก็เริ่มเข้าใจและปลง เมื่อบททดสอบนี้ทำอะไรเราไม่ได้ก็เริ่มมุ่งไปที่คนที่เรารักเช่นลูกเราเหมือนบททดสอบที่ยากขึ้น อะไรประมาณนี้ครับ แต่ทั้งหมดนี้ผมอ่านมาจากที่อื่นๆครับ และสงสัยเท่านั้นครับ ซึ่งผมต้องขออภัยล่วงหน้าก่อนครับเพราะเป็นคำถามที่อาจดูไร้สาระกับอีกหลายๆท่าน ไม่ได้มีเจตนาปรามาสผู้ใดครับ ขออภัยอย่างสูงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กลางทาง เขียน:
ผมเคยได้ยินมาว่าหากเราปรารถนานิพพานแล้วจะทำให้กรรมไม่ดีที่เราเคยทำจะมาให้ผลกับเราก่อนที่เราจะนิพพาน


เอาคำตอบแบบคุยๆกันนะคะ แต่เคยได้ยินรุ่นพี่เปรียบเทียบให้ฟังว่า เหมือนลูกหนี้กำลังจะหนีหนี้ เจ้าหนี้ก็ตามบี้แบบกระหน่ำค่ะ เก็บหนี้คืนให้มากที่สุด คือ จะหนีไปบรรลุมรรค ผล นิพพาน เดี๋ยวหนี้สินจะกลายเป็นอโหสิกรรมไปในที่สุดค่ะ ก็ตามเก็บให้ได้มากที่สุดค่ะ

เหมือนมีมารมาคอยขวางเวลาเราจะทำความดี มารก็คือ อกุศลที่เราเคยทำไว้ค่ะ จะตามมาส่งผลและ
จะต้องมีเหตุปัจจัยพร้อมให้ส่งผลได้ด้วยนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 14:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กลางทาง เขียน:
ขอบคุณท่านเอกอนครับ ด้วยที่ผมความรู้น้อยจึงต้องขอออกตัวขออภัยก่อนล่วงหน้าครับ ที่ผมสงสัยในสิ่งที่ผมตั้งกระทู้ไปนั้นเพราะเคยได้อ่านมาจากบางเว๊ปแต่เว๊ปไหนจำไม่ได้แล้วเป็นการถามตอบกระทู้กันตามปกติทั่วไป ซึ่งเหตุผลที่ปรารถนานิพพานแล้วจะมีเรื่องไม่ดีมานั้น ก็ประมาณว่าเหมือนมาทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายอยากละสิ่งสมมติต่างๆที่มีในโลกนี้ครับหรืออาจเป็นการทดสอบจิตใจเราเช่น คนที่เคยปกติดีกับเราวันหนึ่งก็นินทาให้ร้ายเรา ครั้งแรกเราอาจทนไม่ได้ต่อๆไปก็เริ่มเข้าใจและปลง เมื่อบททดสอบนี้ทำอะไรเราไม่ได้ก็เริ่มมุ่งไปที่คนที่เรารักเช่นลูกเราเหมือนบททดสอบที่ยากขึ้น อะไรประมาณนี้ครับ แต่ทั้งหมดนี้ผมอ่านมาจากที่อื่นๆครับ และสงสัยเท่านั้นครับ ซึ่งผมต้องขออภัยล่วงหน้าก่อนครับเพราะเป็นคำถามที่อาจดูไร้สาระกับอีกหลายๆท่าน ไม่ได้มีเจตนาปรามาสผู้ใดครับ ขออภัยอย่างสูงครับ


:b12: ขออภัยทำไม เป็นคำถามที่น่าสนใจ
เพราะ อย่างที่คุณโสมอุษา แสดงความเห็นเพิ่มเติมมา
ก็จะพบว่า ความคิดเช่นนี้ แทรกซึมอยู่ในวงการปฏิบัติ ... :b1: ... ใช่ม๊า
และ ...ก็จะตอบคำถามกับลักษณะเช่นนี้ ไปในทำนองอย่างนั้น....

แล้วจริง ๆ มันเป็นอย่างไรกันแน่ล่ะ
เพราะถ้าบางคนเขาไม่ได้มีอุปสรรค์

เอกอนจึงเห็นว่า คำถามนี้เป็นคำถามที่ดี ....
เป็นกระทู้ที่ตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลาย ๆ แง่
ช่วยกันเข้ามาคลายปม ...

ว่ามันเป็นความจริง หรือเป็นความเชื่อที่เราคิดตามกันไปเอง
ที่ยังไม่ได้มีบทพิสูจน์อะไรที่ ฟันธงลงไปในแง่นั้น ๆ ว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น
ถ้าเป็นความเป็นเหตุเป็นผลกัน เราต้องแจงออกมาได้ว่าทำไม
ลูกหนี้ถึงได้ตามมาทวงหนี้แบบกระหน่ำซัมเมอร์เซลล์อย่างนั้น...

คือ มันเป็นความจริงที่มีเหตุผลสอดรับ หรือมันเป็นเพียง ทิฐิอย่างหนึ่ง
กระทู้นี้ ถ้ามีโอกาส พวกเราก็คงจะได้มาช่วยกันไขข้อข้องใจร่วมกัน

:b1: :b27: :b27: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 15:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แบบว่า...

:b32: :b32: :b32:

คือเอกอนก็คิดเล่น ๆ นะ
แบบว่า

นาย ก. ตั้งจิตปราถนานิพพาน แล้วก็พบว่าชีวิตพบเจอแต่กรรมไม่ดี
นาย ก. ก็ไปฟังมา ก็นึกในใจ เออใช่...
แล้ว นาย ก. ไปถามใครล่ะ สมมติ นาย ข.
แล้ว นาย ข.ได้ นิพพาน แล้วหรือยัง หรือก็เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างตั้งจิตปราถนาเหมือนกันอยู่
แล้วก็ได้รับรู้เรื่องราวเช่นนี้มาจาก นาย ค.
แล้ว นาย ค. .... :b1:

ดีแล้ว ที่ตั้งคำถาม เราจะได้มาช่วยกันหาคำตอบร่วมกัน ...
ว่าที่เราเชื่อตาม ๆ กันมาอย่างนั้น นั่นด้วยหลักการอะไร

ซึ่งอย่างที่เอกอนได้ทิ้งท้ายเอาไว้ ว่ามันเป็นความจริง หรือมันเป็นเพียงทิฐิที่ตาม ๆ กันมา

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ดีแล้ว ที่ตั้งคำถาม เราจะได้มาช่วยกันหาคำตอบร่วมกัน ...
ว่าที่เราเชื่อตาม ๆ กันมาอย่างนั้น นั่นด้วยหลักการอะไร
:b4: :b13:
ปรารถนาพระนิพพาน คงจะหมายถึง อธิษฐาน คือตั้งใจ ตั้งความปรารถนาไว้

เหมือนอยากไป Paris แหละ ..

อยากไปก็ต้องลงมือ .. ออกเดินทาง จะไปทางเรือ ทางเครื่องบิน รถยนต์หรือเดินเอา
ก็ว่ากันไป เตรียมสเบียงให้พร้อม ต้องตั้งใจ มีความอดทน มีความเพียร มีสัจจะ
ความปรารถนานั้นก็สัมฤทธิ์ผลตามที่ปรารถนาไว้ ..

ปรารถนานิพพานก็เหมือนกัน ต้องเดินตามมรรคแปด คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องมีความมุ่งมั่น
อดทน เพียรพยายาม มีความจริงใจ จึงจะสมความปรารถนา เช่นกัน ..

ถ้าเอาแต่ปรารถนา (อธิษฐาน) แล้วทำเฉย ๆ ไม่ลงมือทำ ก็กินแห้วตามระเบียบ
เหมือนไอ้กระผมแล ..
:b32: :b13:

กลางทาง เขียน:
ผมเคยได้ยินมาว่าหากเราปรารถนานิพพานแล้วจะทำให้กรรมไม่ดีที่เราเคยทำจะมาให้ผลกับเราก่อนที่เราจะนิพพาน

กรรม การกระทำ ทำดีหรือไม่ดี ผลของการกระทำย่อมแตกต่างกันไปตามความหนักเบา

หมือนการปลูกต้นไม้ ..

บางชนิดก็ให้ผลเร็วบางชนิดก็ให้ผลช้า ที่ถามข้างบนนั้น จึงเป็นความเข้าใจไม่ถูกต้อง
เมื่อถึงเวลากรรมย่อมให้ผล เว้นแต่มีกรรมอื่นที่หนักกว่ามาตัดรอน ..

เช่น พระองคุลีมาล ท่านก็นิพพานเสียก่อน หรืออย่างพระพาหิยะ เป็นต้น


:b11: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กลางทาง เขียน:
ขอบคุณท่านเอกอนครับ ด้วยที่ผมความรู้น้อยจึงต้องขอออกตัวขออภัยก่อนล่วงหน้าครับ ที่ผมสงสัยในสิ่งที่ผมตั้งกระทู้ไปนั้นเพราะเคยได้อ่านมาจากบางเว๊ปแต่เว๊ปไหนจำไม่ได้แล้วเป็นการถามตอบกระทู้กันตามปกติทั่วไป ซึ่งเหตุผลที่ปรารถนานิพพานแล้วจะมีเรื่องไม่ดีมานั้น ก็ประมาณว่าเหมือนมาทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายอยากละสิ่งสมมติต่างๆที่มีในโลกนี้ครับหรืออาจเป็นการทดสอบจิตใจเราเช่น คนที่เคยปกติดีกับเราวันหนึ่งก็นินทาให้ร้ายเรา ครั้งแรกเราอาจทนไม่ได้ต่อๆไปก็เริ่มเข้าใจและปลง เมื่อบททดสอบนี้ทำอะไรเราไม่ได้ก็เริ่มมุ่งไปที่คนที่เรารักเช่นลูกเราเหมือนบททดสอบที่ยากขึ้น อะไรประมาณนี้ครับ แต่ทั้งหมดนี้ผมอ่านมาจากที่อื่นๆครับ และสงสัยเท่านั้นครับ ซึ่งผมต้องขออภัยล่วงหน้าก่อนครับเพราะเป็นคำถามที่อาจดูไร้สาระกับอีกหลายๆท่าน ไม่ได้มีเจตนาปรามาสผู้ใดครับ ขออภัยอย่างสูงครับ


:b12: ขออภัยทำไม เป็นคำถามที่น่าสนใจ
เพราะ อย่างที่คุณโสมอุษา แสดงความเห็นเพิ่มเติมมา
ก็จะพบว่า ความคิดเช่นนี้ แทรกซึมอยู่ในวงการปฏิบัติ ... :b1: ... ใช่ม๊า
และ ...ก็จะตอบคำถามกับลักษณะเช่นนี้ ไปในทำนองอย่างนั้น....

แล้วจริง ๆ มันเป็นอย่างไรกันแน่ล่ะ
เพราะถ้าบางคนเขาไม่ได้มีอุปสรรค์

เอกอนจึงเห็นว่า คำถามนี้เป็นคำถามที่ดี ....
เป็นกระทู้ที่ตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลาย ๆ แง่
ช่วยกันเข้ามาคลายปม ...

ว่ามันเป็นความจริง หรือเป็นความเชื่อที่เราคิดตามกันไปเอง
ที่ยังไม่ได้มีบทพิสูจน์อะไรที่ ฟันธงลงไปในแง่นั้น ๆ ว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น
ถ้าเป็นความเป็นเหตุเป็นผลกัน เราต้องแจงออกมาได้ว่าทำไม
ลูกหนี้ถึงได้ตามมาทวงหนี้แบบกระหน่ำซัมเมอร์เซลล์อย่างนั้น...

คือ มันเป็นความจริงที่มีเหตุผลสอดรับ หรือมันเป็นเพียง ทิฐิอย่างหนึ่ง
กระทู้นี้ ถ้ามีโอกาส พวกเราก็คงจะได้มาช่วยกันไขข้อข้องใจร่วมกัน

:b1: :b27: :b27: :b27:


พระพุทธเจ้าในอดีตชาติเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติปาละ ได้กล่าว
ก้าวล่วงเกินพระพุทธเจ้ากัสสปะ ว่าการตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีมาแต่
ไหน การตรัสรู้เป็นของได้ยากยิ่ง.
เพราะวิบากของกรรมนั้น จึงทำให้พระสมณโคดมในครั้งก่อนตรัสรู้นั้นต้องทำทุกรกิริยา
ที่ตำบลอุรุเวลา นานอยู่ ๖ ปี ถึงได้บรรลุพระโพธิญาณ เพราะถูกกรรมเก่าที่เคยกล่าวก้าวล่วง
พระพุทธเจ้ากัสสปะ
ทำให้ต้องเสียเวลานานกว่าพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ พระพุทธเจ้าบางพระองค์ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน
ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 18:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กลางทาง เขียน:
ซึ่งเหตุผลที่ปรารถนานิพพานแล้วจะมีเรื่องไม่ดีมานั้น ก็ประมาณว่าเหมือนมาทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายอยากละสิ่งสมมติต่างๆที่มีในโลกนี้ครับหรืออาจเป็นการทดสอบจิตใจเราเช่น คนที่เคยปกติดีกับเราวันหนึ่งก็นินทาให้ร้ายเรา ครั้งแรกเราอาจทนไม่ได้ต่อๆไปก็เริ่มเข้าใจและปลง เมื่อบททดสอบนี้ทำอะไรเราไม่ได้ก็เริ่มมุ่งไปที่คนที่เรารักเช่นลูกเราเหมือนบททดสอบที่ยากขึ้น อะไรประมาณนี้ครับ แต่ทั้งหมดนี้ผมอ่านมาจากที่อื่นๆครับ และสงสัยเท่านั้นครับ ซึ่งผมต้องขออภัยล่วงหน้าก่อนครับเพราะเป็นคำถามที่อาจดูไร้สาระกับอีกหลายๆท่าน ไม่ได้มีเจตนาปรามาสผู้ใดครับ ขออภัยอย่างสูงครับ


การปราถนานิพพาน แล้วมีเรื่องไม่ดี เช่น เรื่องรู้สึกเบื่อหน่ายอยากละสิ่งสมมติ...

:b1: มันได้แต่เฝ้าเบื่อ...แล้วมันละได้มั๊ยล่ะ

ตรงนี้ เอกอนรู้สึกว่าจะมีพระสูตรเกี่ยวกับ กวางในลักษณะต่าง ๆ นอนจมกองบ่วง
แต่ติดบ่วง ไม่ติดบ่วง
ซึ่งจิตที่ปราถนานิพพาน แต่ยังต้องไปเจอกับอารมณ์เบื่อเนือง ๆ
ก็ต้องไปดูพระสูตรนี้ และพิจารณาว่า ตนเป็นกวางในลักษณะไหนอยู่ :b1:

ส่วนการทดสอบจิตใจ เรื่องการนินทา
...
เออ...เน๊อะ
คือ...อันนี้ก็ไม่รู้ เพราะเอกอนไม่ใช่คนที่มักจะนินทาใครมาแต่ไหนแต่ไร
เอกอนแทบจะไม่พูดถึงใครในทางไม่ดีลับหลัง
คือไม่ใช่แค่การนินทา การคิดก็จะไม่เก็บเอาใครไปคิดในแง่ไม่ดี
ดังนั้น การถูกนินทาหรือไม่ ไม่ว่าจะคนไกลตัว ใกล้ตัว
เรื่องพวกนี้สำหรับเอกอน มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่คอยรบกวนใจน่ะ
แต่สำหรับคนอื่น เอกอนก็พอจะรู้อยู่ว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างรบกวนใจ
คือก็เห็นจากพี่ ๆ ที่ทำงานน่ะ ให้ได้รู้ว่าใครนินทาไม่ได้ งี๊เป็นไฟกันขึ้นมาเรย
ซึ่งมันก็เป็นอะไรที่ดูจะสนุกกันด้วย เพราะมันจะมีอีกาคอยคาบข่าวไปบอกกัน
คือมันก็เป็นอย่างนั้นล่ะ เมื่อเขายังวางใจกับเรื่องทำนองนี้กันยังไม่ได้ :b1:

เอกอนไม่ค่อยเดือดร้อนในเรื่องการนินทา
ไม่ใช่ว่าไม่โดนนินทานะ ก็โดนนินทาเป็นปกติ และก็มีอีกาคาบข่าวมาให้รู้เป็นปกติ
แต่เอกอน ไม่ค่อยมีอารมณ์ตอบสนองกับเรื่องทำนองนี้ ...
จะรู้หรือไม่ ก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรกับมันนัก ...
คือเรื่องมันก็เจอ ๆ เหมือน ๆ กันล่ะ ไม่ได้โดนมากน้อยยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
เพียงแต่ คนหนึ่งเห็นเป็นบททดสอบ
แต่อีกคนอาจจะไม่เห็นว่ามันเป็นบททดสอบอะไร ... :b9:

ซึ่ง เรื่องบททดสอบ
จริง ๆ ถ้าเจอบททดสอบ ก็เป็นที่เข้าใจว่า
ธรรมที่เราต้องขัดเกลามันก็วนเวียนอยู่ในสิ่งยังติดข้องอยู่นั่นล่ะ

ถ้าใครปฏิบัติธรรมแล้วมีความรู้สึกว่าเหมือนมีฝูงอุกาบาตคอยวิ่งเข้าชน
ถ้าภาษาที่เอกอนเคยใช้กับตัวเองเมื่อแรก ๆ ก็คือ "ก็เพราะเรามันตัวใหญ่"
ตรงนี้ เอกอนไม่ได้คิดถึงว่าเป็น กรรม
แต่มองในแง่ "ก็เรามันตัวใหญ่"

:b1: :b1: :b1:

นี่เอกอนก็แสดงความเห็นไปในแง่ส่วนตัวนะ

ส่วนในแง่วิชาการจริง ๆ ขอยกให้เป็นหน้าที่สมาชิกท่านอื่น

smiley smiley smiley


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 22 ต.ค. 2013, 23:25, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 19:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 07:24
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ผมครับ ตอนนี้ผมก็ลองผิดๆถูกๆอยู่(ส่วนใหญ่จะผิดๆมากกว่า)ในเรื่องการปฏิบัติ หากมีอะไรที่ไม่แน่ใจหรือไม่เข้าใจโอกาสหน้าผมขออนุญาติรบกวนขอคำแนะนำอีกครับ โมทนาสาธุครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 19:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ยังมีพวกบริโภคกามโดยไม่จมกาม

ภิกษุ ท.! กามคุณเหล่านี้มีห้าอย่าง. ห้าอย่างเป็นอย่างไรเล่า ?
ห้าอย่างคือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้มด้วย
ลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยผิวกาย, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด. ภิกษุ ท.! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้แล

ภิกษุ ท.! ชนเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ติดอก-
ติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ไม่มองเห็นส่วนที่
เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภค
กามคุณทั้งห้านั้นอยู่; ชนเหล่านั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า เป็นผู้ถึง
ความพินาศย่อยยับ แล้วแต่มารผู้มีบาปต้องการจะทำตามอำเภอใจอย่างใด ดังนี้.
ภิกษุ ท.! เปรียบได้ดังเนื้อป่าที่ติดบ่วง นอนจมอยู่ในกองบ่วง ในลักษณะที่
ใคร ๆ พึงเข้าใจได้ว่า มันจะถึงซึ่งความพินาศย่อยยับ เป็นไปตามความประสงค์
ของพรานทุกประการ, เมื่อพรานมาถึงเข้า มันจะหนีไปไหนไม่พ้นเลย ดังนี้,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุ ท.! ส่วนชนเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ไม่
ติดใจ ไม่สยบอยู่ ไม่เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าเหล่านี้แล้ว มองเห็นส่วนที่เป็น
โทษอยู่ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ บริโภคกามคุณทั้งห้า
นั้นอยู่; ชนเหล่านั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจได้อย่างนี้ว่า เป็นผู้ไม่ถึงความ
พินาศย่อยยับไปตามความประสงค์ของมารผู้มีบาปแต่อย่างใด ดังนี้. ภิกษุ ท.!
เปรียบเหมือนเนื้อป่าตัวที่ไม่ติดบ่วง แม้นอนจมอยู่บนกองบ่วง มันก็เป็นสัตว์ที่
ใคร ๆ พึงเข้าใจได้ว่า เป็นสัตว์ที่ไม่ถึงความพินาศย่อยยับไปตามความประสงค์ของ
พรานแต่อย่างใด, เมื่อพรานมาถึงเข้า มันจะหลีกหนีไปได้ตามที่ต้องการ ดังนี้,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุ ท.! (อีกอย่างหนึ่ง) เปรียบเหมือนเนื้อป่า เที่ยวไปในป่า
กว้าง เดินอยู่ก็สง่างาม ยืนอยู่ก็สง่างาม หมอบอยู่ก็สง่างาม นอนอยู่ก็สง่างาม.
เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท.! เพราะเหตุว่าเนื้อป่านั้นยังไม่มาสู่คลองแห่งจักษุ
ของพราน, ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน : สงัดแล้ว
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งปฐมฌาณ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้
เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร ไปแล้วสู่ที่ที่มารผู้มีบาป
มองไม่เห็น.

(ต่อไปนี้ได้ตรัสถึงการบรรลุ ทุติยฌาณ-ติตยฌาน-จตุตถฌาน-อากาสนัญจายตนะ-
วิญญาณกัญจายตนะ-อากิญจัญญายตนะ-เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยนัยเดียวกันกับการบรรลุ
ปฐมฌาน เป็นลำดับไป. จนกระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ โดยข้อความสืบต่อไปว่า :-)

ภิกษุ ท.! ยิ่งไปกว่านั้นอีก : ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง เข้าถึงซึ่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่ง เพราะเห็น
แล้วด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็สิ้นไปรอบ. ภิกษุ ท.! ภิกษุนี้เรา
กล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร
ไปแล้วสู่ที่ซึ่งมารผู้มีบาปมองไม่เห็น, ได้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาในโลก. ภิกษุนั้น
ยืนอยู่ก็สง่างาม เดินอยู่ก็สง่างาม นั่งอยู่ก็สง่างาม นอนอยู่ก็สง่างาม. เพราะ
เหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท.! เพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นไม่ได้มาสู่คลองแห่งอำนาจ
ของมารผู้มีบาป. ดังนี้แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2013, 17:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กลางทาง เขียน:
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ผมครับ ตอนนี้ผมก็ลองผิดๆถูกๆอยู่(ส่วนใหญ่จะผิดๆมากกว่า)ในเรื่องการปฏิบัติ หากมีอะไรที่ไม่แน่ใจหรือไม่เข้าใจโอกาสหน้าผมขออนุญาติรบกวนขอคำแนะนำอีกครับ โมทนาสาธุครับ


ไหง๋มาไว เครมไว ... :b10: :b32: :b32: :b32:

กลางทาง เขียน:
ซึ่งเหตุผลที่ปรารถนานิพพานแล้วจะมีเรื่องไม่ดีมานั้น ก็ประมาณว่าเหมือนมาทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายอยากละสิ่งสมมติต่างๆที่มีในโลกนี้ครับ


อันนี้เห็นอยู่เหมือนกัน ในผู้เข้าไปปฏิบัติธรรมในวัดส่วนใหญ่
เวลาคุยกัน ก็จะมีหัวข้อนี้ปะปนอยู่ในวงสนทนาด้วย
ซึ่งพอฟังแล้ว เหมือนจะไม่อะไร ๆ ทางโลกแล้ว จะหลุดพ้นแล้วเรย ...

ผู้ปฏิบัติทุกคน ที่เบื่อสภาพชีวิตทางโลก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร
มันจะพยายามเขย่งไปหาอีกด้านหนึ่ง เสมอ
อย่างนักเที่ยว มันก็มีวันหนึ่งล่ะ ที่มันไม่อยากให้ใครโทรมาชวนมันไปเที่ยว
เมื่อเพื่อนโทรมา ก็ตอบ "ไม่ไปเว้ย ... วันนี้อยากอยู่นอนอยู่บ้านเงียบ ๆ"
พอมันไม่เงียบอย่างที่พอใจ มันก็เบื่อ ไม่อยู่บ้านแล้วไปอยู่วัดดีกว่า
แรก ๆ ก็ ok เงียบสงบกว่าอยู่บ้าน แต่พออยู่บ่อย ๆ นาน ๆ เข้า เบื่อวัด เบื่อคนที่วัด
เบื่อหมาที่วัด เบื่อข้าววัด(อยากกินสเต๊กซะแระ) เห็นอะไร คิดอะไร มันก็จะเบื่อ

ผู้ปฏิบัติจะต้องเป็นผู้รู้จักสังเกต การพลิกไปพลิกมาของอารมณ์
แม้ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม แต่โดยสภาพร่างกายและจิตใจมันมีพฤติกรรมการพลิกขั้วอารมณ์แฝงอยู่
แต่คนทั่วไป อารมณ์มันจะพลิกเร็ว และมีความหลากหลายมาก
ดังนั้น มันจะมีอารมณ์ให้กระโดดเข้าจับ ปล่อย - จับ - ปล่อย - จับ ให้เลือกจับได้มากมาย
ดังนั้น อารมณ์เบื่อ มันจะเด่นขึ้นมาให้ผู้ปฏิบัติรับรู้ ก็คือ
- มันเป็นอารมณ์แบบว่า เบื่อฟุดฟุด น่ะ แต่เบื่อฟุดฟุด เดี่ยวมันก็เปลี่ยนอารมณ์ไปได้ไม่ยากนัก
- มันเป็นอารมณ์เบื่อแบบว่า การซ้ำวิถี การย่ำวิถี ซึ่งจะพบในทั้งปุถุชน และผู้ปฏิบัติ
ที่กำลังมีชีวิตวนเวียนอยู่กับสิ่งซ้ำซากจำเจ และ(จิต)ยังหาทางพ้นไปไม่ได้

ถ้าเป็นปุถุชน เอกอนก็แนะนำให้ไปหางานอดิเรกทำ กีฬา สันทนาการ
เพื่อเปลี่ยนอิริยาบทของกายและใจ เพราะจะไปบอกให้เขาต้องเข้ามาดู มารู้ มาพิจารณา
มันก็จะเป็นการยากอยู่สำหรับเขา (เพิ่มเติม)

ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติ มันก็ต้องรู้จักพิจารณาอารมณ์ที่ปรากฎน่ะนะ
อารมณ์เบื่อไม่ได้บ่งบอกว่าผู้ปฏิบัติกำลังไปในทิศทางที่กำลังจะสลัดจะหลุดพ้นจากสมมตินะ
คือมันยังเป็นอารมณ์ที่จิตยังเข้าไปวนเวียน เข้าไปติดในอารมณ์
ที่มันต้องการจะสลัดแต่มันสลัดไม่ได้ สลัดไปได้บ้าง แต่มันก็จะวนเวียนกลับซ้ำอารมณ์เดิม
ผู้ปฏิบัติต้อง ตีให้แตก ว่าทำไมจิตมันจึงเข้าไปวนเวียนในอารมณ์นั้น ๆ
ทำไมจิตจึงเข้าไปติดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ
แล้วผู้ปฏิบัติจึงจะรู้การพ้นไปจากอารมณ์นั้น ๆ

จริง ๆ อารมณ์เบื่อ ไม่ใช่อารมณ์ที่ไม่ดีนะ มันเป็นอารมณ์ของมันอย่างนั้นแหละ
ในพรหม ก็เช่นกัน สุขกันจนเบื่อ แต่เมื่อยังไปไหนไม่ได้ มันก็สุข แต่ เบื่อ กันไปอย่างนั้น
ต้องอยู่กับอารมณ์นั้นจนกว่าจะครบอายุน่ะ ... :b14: :b9:
อารมณ์เบื่อในอัตภาพนั้น ๆ จึงจะดับไป

:b1: :b1: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 24 ต.ค. 2013, 23:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2013, 19:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 07:24
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กลางทาง เขียน:
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ผมครับ ตอนนี้ผมก็ลองผิดๆถูกๆอยู่(ส่วนใหญ่จะผิดๆมากกว่า)ในเรื่องการปฏิบัติ หากมีอะไรที่ไม่แน่ใจหรือไม่เข้าใจโอกาสหน้าผมขออนุญาติรบกวนขอคำแนะนำอีกครับ โมทนาสาธุครับ


ไหง๋มาไว เครมไว ... :b10: :b32: :b32: :b32:

กลางทาง เขียน:
ซึ่งเหตุผลที่ปรารถนานิพพานแล้วจะมีเรื่องไม่ดีมานั้น ก็ประมาณว่าเหมือนมาทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายอยากละสิ่งสมมติต่างๆที่มีในโลกนี้ครับ


อันนี้เห็นอยู่เหมือนกัน ในผู้เข้าไปปฏิบัติธรรมในวัดส่วนใหญ่
เวลาคุยกัน ก็จะมีหัวข้อนี้ปะปนอยู่ในวงสนทนาด้วย
ซึ่งพอฟังแล้ว เหมือนจะไม่อะไร ๆ ทางโลกแล้ว จะหลุดพ้นแล้วเรย ...

ผู้ปฏิบัติทุกคน ที่เบื่อสภาพชีวิตทางโลก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร
มันจะพยายามเขย่งไปหาอีกด้านหนึ่ง เสมอ
อย่างนักเที่ยว มันก็มีวันหนึ่งล่ะ ที่มันไม่อยากให้ใครโทรมาชวนมันไปเที่ยว
เมื่อเพื่อนโทรมา ก็ตอบ "ไม่ไปเว้ย ... วันนี้อยากอยู่นอนอยู่บ้านเงียบ ๆ"
พอมันไม่เงียบอย่างที่พอใจ มันก็เบื่อ ไม่อยู่บ้านแล้วไปอยู่วัดดีกว่า
แรก ๆ ก็ ok เงียบสงบกว่าอยู่บ้าน แต่พออยู่บ่อย ๆ นาน ๆ เข้า เบื่อวัด เบื่อคนที่วัด
เบื่อหมาที่วัด เบื่อข้าววัด(อยากกินสเต๊กซะแระ) เห็นอะไร คิดอะไร มันก็จะเบื่อ

ผู้ปฏิบัติจะต้องเป็นผู้รู้จักสังเกต การพลิกไปพลิกมาของอารมณ์
แม้ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม แต่โดยสภาพร่างกายและจิตใจมันมีพฤติกรรมการพลิกขั้วอารมณ์แฝงอยู่
แต่คนทั่วไป อารมณ์มันจะพลิกเร็ว และมีความหลากหลายมาก
ดังนั้น มันจะมีอารมณ์ให้กระโดดเข้าจับ ปล่อย - จับ - ปล่อย - จับ ให้เลือกจับได้มากมาย
ดังนั้น อารมณ์เบื่อ มันจะเด่นขึ้นมาให้ผู้ปฏิบัติรับรู้ ก็คือ
- มันเป็นอารมณ์แบบว่า เบื่อฟุดฟุด น่ะ แต่เบื่อฟุดฟุด เดี่ยวมันก็เปลี่ยนอารมณ์ไปได้ไม่ยากนัก
- มันเป็นอารมณ์เบื่อแบบว่า การซ้ำวิถี การย่ำวิถี ซึ่งจะพบในทั้งปุถุชน และผู้ปฏิบัติ
ที่กำลังมีชีวิตวนเวียนอยู่กับสิ่งซ้ำซากจำเจ และ(จิต)ยังหาทางพ้นไปไม่ได้

ถ้าเป็นปุถุชน เอกอนก็แนะนำให้ไปหางานอดิเรกทำ กีฬา สันทนาการ
เพื่อเปลี่ยนอิริยาบทของกายและใจ เพราะจะไปบอกให้เขาต้องเข้ามาดู มารู้ มาพิจารณา

ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติ มันก็ต้องรู้จักพิจารณาอารมณ์ที่ปรากฎน่ะนะ
อารมณ์เบื่อไม่ได้บ่งบอกว่าผู้ปฏิบัติกำลังไปในทิศทางที่กำลังจะสลัดจะหลุดพ้นจากสมมตินะ
คือมันยังเป็นอารมณ์ที่จิตยังเข้าไปวนเวียน เข้าไปติดในอารมณ์
ที่มันต้องการจะสลัดแต่มันสลัดไม่ได้ สลัดไปได้บ้าง แต่มันก็จะวนเวียนกลับซ้ำอารมณ์เดิม
ผู้ปฏิบัติต้อง ตีให้แตก ว่าทำไมจิตมันจึงเข้าไปวนเวียนในอารมณ์นั้น ๆ
ทำไมจิตจึงเข้าไปติดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ
แล้วผู้ปฏิบัติจึงจะรู้การพ้นไปจากอารมณ์นั้น ๆ


จริง ๆ อารมณ์เบื่อ ไม่ใช่อารมณ์ที่ไม่ดีนะ มันเป็นอารมณ์ของมันอย่างนั้นแหละ
ในพรหม ก็เช่นกัน สุขกันจนเบื่อ แต่เมื่อยังไปไหนไม่ได้ มันก็สุข แต่ เบื่อ กันไปอย่างนั้น
ต้องอยู่กับอารมณ์นั้นจนกว่าจะครบอายุน่ะ ... :b14: :b9:
อารมณ์เบื่อในอัตภาพนั้น ๆ จึงจะดับไป

:b1: :b1: :b1:

แล้วอย่างนี้ต้องเป็นเบื่อในลักษณะอย่างไรถึงจะเป็นเบื่อในลักษณะที่ไม่ต้องวนกลับมาอีกครับ ผมอ่านหนังสือ ก็มักจะบอกว่าต้องบำเพ็ญจนเกิดวิปัสนาญาณ จึงสามารถจะตัดกิเลสได้ขาด และอีกอย่างที่มักอ่านเจอจะเป็นคำพูดประมาณว่าต้องพิจารณาตามความจริงที่เกิดแล้วละเสีย ซึ่งผมพิจารณาแล้วแต่ตัวผมก็ยังเหมือนเดิมแล้วที่ผมเป็นเหมือนเดิมเพราะผมไม่มีวิปัสนาญาณหรือเปล่า ส่วนการพิจารณาใช่ประมาณนี้หรือไม่ครับ เช่น หมาที่บ้านสกปรกมากทำบ้านสกปรก อึ ฉี่เต็มไปหมด ถ้าเป็นปกติแล้วอารณ์โกรธจะมา ผมต้องพิจารณาว่า หมาแก่แล้วขับถ่ายในบ้านเป็นเรื่องปกติก็เราปิดประตูไม่ให้มันออกมันก็ต้องปล่อยในบ้านซิ แล้วสังเกตตัวเองว่าอารมณ์เราไม่โกรธถือว่าใช้ได้หรือเปล่า ประมาณอย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2013, 22:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กลางทาง เขียน:
แล้วอย่างนี้ต้องเป็นเบื่อในลักษณะอย่างไรถึงจะเป็นเบื่อในลักษณะที่ไม่ต้องวนกลับมาอีกครับ ผมอ่านหนังสือ ก็มักจะบอกว่าต้องบำเพ็ญจนเกิดวิปัสนาญาณ จึงสามารถจะตัดกิเลสได้ขาด และอีกอย่างที่มักอ่านเจอจะเป็นคำพูดประมาณว่าต้องพิจารณาตามความจริงที่เกิดแล้วละเสีย ซึ่งผมพิจารณาแล้วแต่ตัวผมก็ยังเหมือนเดิมแล้วที่ผมเป็นเหมือนเดิมเพราะผมไม่มีวิปัสนาญาณหรือเปล่า ส่วนการพิจารณาใช่ประมาณนี้หรือไม่ครับ เช่น หมาที่บ้านสกปรกมากทำบ้านสกปรก อึ ฉี่เต็มไปหมด ถ้าเป็นปกติแล้วอารณ์โกรธจะมา ผมต้องพิจารณาว่า หมาแก่แล้วขับถ่ายในบ้านเป็นเรื่องปกติก็เราปิดประตูไม่ให้มันออกมันก็ต้องปล่อยในบ้านซิ แล้วสังเกตตัวเองว่าอารมณ์เราไม่โกรธถือว่าใช้ได้หรือเปล่า ประมาณอย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่าครับ


ไม่รู้สิ่ ว่าถูกหรือไม่
เอกอนไม่ค่อยจะรู้จักวิปัสนาญาณด้วยล่ะ
เอกอนเป็นคนที่ออกจะจับโนน่ชนนี่เรื่อยเปื่อย
บางอย่างมันเป็นการทำไปด้วยความเข้าใจแบบง่าย ๆ ของเรา
มันได้ผลในแบบที่เราใช้งาน แต่ถูกต้องตรงตามหลักการหรือเปล่า ก็ไม่รู้

เช่นกัน เอกอนชอบเลี้ยงแมว
ซึ่งเอกอนก็ให้เขาเข้าออกบ้านได้
ซึ่งเขาควรจะชอบดิน และออกไปขี้กับดินนอกบ้าน
แต่เจ้านี่ ไม่ เขาชอบปูนเย็น ๆ ในอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในห้องครัว(ใหญ่พอกับแท๊งค์น้ำ)
ตอนแรกไม่มีน้ำเขาก็ปีนลงไปขี้ เอกอนก็ต้องปีนไปเก็บขี้มัน
เสร็จ...เอกอนก็เอาน้ำขังไว้หน่อย เพื่อไม่ให้เขาปีนลงไปขี้ข้างในอีก
เสร็จ...เขาก็ปีนไป เหมือนเดิม แต่ไม่ลงไป ใช้วิธีเกาะขอบหย่อนระเบิด "จ๋อม" :b32:
เอกอนก็ได้ปีนลงไปวิดน้ำออก พอดีก๊อกปล่อยน้ำใช้ไม่ได้
และเอกอนก็หากระดานมากั้นทางเข้าเรย
พออ่างนั้นเข้าไม่ได้ เขาก็จะไปหาอ่างทดแทน
ซึ่งคืออ่างเก็บน้ำในห้องน้ำที่รองน้ำไว้อาบนั่นล่ะ
ก็ได้ล้างอ่าง และก็ระวังปิดห้องน้ำไว้ตลอด :b32: :b32: :b32:
พอปิดห้องน้ำ เขาก็ไปหาที่ใหม่
ซึ่งจะเป็นที่ที่คิดไม่ถึงว่าเขาจะทำไปได้ ใต้ตู้เก็บของ
ซึ่งขอบตู้ก็พ้นจากพื้นนแค่คืบเดียว เขาก็มุดไปขี้ ขี้ด้วยท่าแมวหมอบ :b32:
คือเขาชอบบรรยากาศกลิ่นปูนเย็น ๆ
ถ้ากลับบ้านมาได้กลิ่น ก็จะไปเดินสำรวจและก็จัดการทำความสะอาด กลิ่นก็หาย
คือ...ตอนนั้นเอกอนก็กำลังฝึก เขาก็...ช่างทำให้เราได้ฝึกใจจริง ๆ :b32: :b32:

อย่าให้ใจมันแว๊บคิดไปเรื่อยเปื่อย
ได้กลิ่นขี้แมว
ตามหาขี้แมว
เห็นขี้แมว
เข้าทำความสะอาด
ทำแนวป้องกัน
ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม
ซึ่งเขาจะทำซ้ำซาก ซึ่งเราก็จะไม่ไปรื้อทบทวนอดีต
และก็ไม่ต้องไปคาดหวังว่าอนาคตจะไม่เกิดอีก
ดูแลใจให้อยู่กับกิจจริง ๆ แค่นี้
ถ้าลองทำ แล้วทำได้ จะพบว่าความโกรธแทรกเข้ามาไม่ได้

คือเอกอนใช้เทคนิคนี้มาจากการทำการบ้าน
เอกอนเป็นคนที่ขี้เกียจทำการบ้าน ซึ่งก็พบว่า ก่อนที่อารมณ์ขี้เกียจจะปรากฎ
มันมีความคิดถึงอีกอย่างที่สนุกกว่า ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ และมันจะค่อนข้าง
น้อมไปในทางที่ชอบความสบาย
เอกอนก็เรยเอาเทคนิคนี้มาใช้
คือ พยายามฝึกให้จิตอยู่กับกิจตรงหน้า
ถ้ามันจะแว๊บไปคิดเรื่องอื่น ก็จะดึงมันกลับมาอยู่กับสิ่งตรงหน้า

คำพูดประมาณว่าต้องพิจารณาตามความจริงที่เกิดแล้วละเสีย

มันจะเหมือนกับการตามดูลมหายใจ ถ้าหลุดจากลมหายใจ
ก็ละความเพลินและก็ดึงจิตกลับมาที่ลมหายใจ

:b6: เอกอนตีความอย่างนี้ได้มั๊ย
คือถ้าเราจะวิปัสสนาก็คือก็เป็นการวิปัสสนาอยู่ในอารมณ์กรรมฐานนั่นล่ะ

:b1:

แล้วอย่างนี้ต้องเป็นเบื่อในลักษณะอย่างไรถึงจะเป็นเบื่อในลักษณะที่ไม่ต้องวนกลับมาอีกครับ
คือ ทำวิชาให้ปรากฎ ทำวิมุติให้ปรากฎ

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 23 ต.ค. 2013, 23:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2013, 13:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

อย่าใช้คำว่า วิปัสสนา กับเอกอนเรยเน๊อะ
เพราะ เอกอนไม่ถนัดใช้ ภาษามันดูจะสูงเกินภูมิธรรมเอกอน :b9:

สำหรับเอกอนใช้แค่ว่า การพิจารณาธรรม ก็แล้วกัน

แล้วแต่การสังเกตเห็น

อย่างการขับรถ ใครขับรถจะรู้ว่ามัน จิ๊จ๊ะ ถี่ยิบ กันขนาดไหน

อย่างขับรถแล้วติดไฟแดง ก็พิจารณาอารมณ์ได้แล้ว
ว่าเรารอไฟแดงด้วยอารมณ์เป็นปกติ หรือร้อนรุ่ม
ถ้าพบว่า อารมณ์ร้อนรุ่ม ก็เข้าไปดูว่าอะไรเป็นเหตุปัจจัย

ส่วนใหญ่จะมี นาฬิกา เวลาเป้าหมาย สถานที่เป้าหมาย
ที่เราไปน้อมมันเข้ามาคิดมาปรุงผสมไปกับไฟแดงนี่ล่ะ เป็นเหตุปัจจัย
รถติดเป็นสิ่งที่เป็นอยู่ ซึ่งถ้ามันไฟเขียวเมื่อไร และมันไปได้มันก็ไป
ถ้าเราวางใจอยู่แค่ตรงนั้น
อาการร้อนรุ่มจะไม่แว๊บเข้ามากระพือพรึบพับ พรึบพับ ให้เรารู้สึกอะไร ๆ ไปกับมัน

เอกอนเคยมองว่า อาการหงุดหงิดเมื่อต้องรอรถติดไฟแดง
เป็นเพราะเราใจร้อน เราเป็นคนขี้หงุดหงิดขี้รำคาญ
...
แต่เมื่อรู้จักมอง เราก็รออย่างสงบ เย็นได้นี่ ใช่ม๊ะ
...
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมทำให้คนที่ใจร้อนขี้หงุดหงิด ใจเย็นได้แน่
...
ถ้าเราค่อยฝึกค่อย ๆ ปฏิบัติไป เรียนรู้ที่จะเท่าทันอารมณ์
และเรียนรู้ที่จะรู้จักเข้าไปแก้ไขปรับอารมณ์อย่างเป็นผู้รู้เท่าทันปัจจัย ...
ซึ่งปฏิบัติถูกทางหรือไม่ ก็วัดกันได้ทุกขณะนั่นล่ะ ...
วัดกันได้เห็น ๆ นั่นล่ะ :b1:

ถ้าทำเรื่องเล็ก ๆ ยิบ ๆ ย่อย ๆ ปลาซิวปลาสร้อยสำเร็จ
เรื่องที่ใหญ่ ๆ ขึ้นมามันก็จะมีแนวโนม้ที่จะสำเร็จได้เช่นกัน
เพียงแต่ต้องอาศัยกำลังใจที่ยิ่งขึ้น ... :b1:

เอกอนก็ตามดูใจ พิจารณาใจ ทุกไฟแดงไฟเขียว ทุกการถูกปาดหน้า
ตัดหน้า แม้แต่มีคนเอาโน้นเอานี่มาโดนรถเรา

เมื่อเราพิจารณาเห็นแล้ว เราก็ฝึกตัดวงจรการแผล็บไปคิดในสิ่งที่จะเป็นเชื้อออกไป
เราก็ไม่ไปร้อนรนอะไรกับ สิ่งที่เข้ามาให้รับรู้

มันก็จะวางใจสงบอยู่ได้

เรื่องยิบ ๆ ย่อย ๆ แต่เกิดถี่ ๆ นี่ล่ะเป็นตัวฝึกอย่างดี
เพราะพฤติกรรมที่เกิดบ่อย ๆ มันจะเป็นอุปนิสัย
แรก ๆ เราต้องคอยดึงสติให้อยู่กับกิจที่ควรอยู่ แต่เมื่อเป็นเรื่องที่เรากระทำกับมันถี่ ๆ
จิตมันจะเกิดความเคยชิน พออะไรมากระทบ
มันก็จะเข้าสู่วิถีกระจายองค์ประกอบออกมาให้เราได้พิจารณา

:b1:

เมื่อความร้อนรน ฟุ้งซ่านไม่เกิด มันก็สงบอยู่ได้

สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมจะพบบางสิ่งที่ต้องเท่าทัน
นักวิ่งแข่งยังไงเขาก็ไม่ได้หยุดวิ่งทันทีที่ถึงเส้นชัย...
นักปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน
เมื่อจิตตนไปตั้งอยู่ในความสงบแล้ว ก็มักจะเตลิดเช่นกัน
คือจิตมันไหลไปคิด ถึงความสุข ... สงบที่ยิ่งกว่า ...
ทันทีที่ความคิดในลักษณะนี้เข้ามา มันก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติไม่พอใจในสถานภาพปัจจุบัน
และก็จะเข้าสู่วิถี ไล่ไขว่คว้าหาดาว ... :b1:
ซึ่งเมื่อทำ ๆ ไป มันก็จะเป็น สุข สงบ ระคนทุกข์

คือ เราต้องรู้จักน้อมจิตเข้าไปสู่อารมณ์ที่สงบ
และรู้จักประคองจิตให้ พอดี ...

:b1: :b16: :b16: :b1:

ความเห็นส่วนตัว จร้า ...
เชื่อถือได้ ไม่ 100% :b9: :b9: :b9:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron