ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
มีข้อสงสัยเรื่องสิ่งเร้นลับ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=39804 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | นะโมพุทธายะ [ 07 ต.ค. 2011, 14:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | มีข้อสงสัยเรื่องสิ่งเร้นลับ |
ดิฉันเป็นคนไม่ค่อยเชื่อเรื่องสิ่งเร้นลับ แต่ก็ไม่ได้ลบลู่น่ะค่ะ คือมีสงสัยค่ะและควรแก้อย่างไรค่ะ 1. ดิฉันได้ไปไหว้สถานที่ 2 แห่ง (คือเป็นสถานที่กำลังก่อสร้าง ไหว้เจ้าหน้าที่เจ้าทางเพื่อเป็นสิริมงคล) ตอนแรกดิฉันนั่งมาบนรถก็ไม่มีอะไร แต่พอลงสถานที่ที่จะไหว้่ ก็จามโดยไม่มีสาเหตุเป็นสิบครั้ง ทั้ง 2 แห่งเลย มีเพื่อนบอกว่าดิฉันชอบทำบุญ สัมพเวสีคงมาขอส่วนบุญ (คือไปไหว้แต่เจ้าที่เจ้าทาง) แต่พอกลับขึ้นรถก็ไม่จามเลย ตอนแรกก็ไม่คิดอะไร พอเพื่อนมาทักก็คิด ถ้าเป็นอย่างนั้น ต้อง ทำอย่างไรค่ะ ดิฉันได้ใส่บาตรและอุทิศให้กับเจ้ากรรมนายเวร และสัมพเวสี 2. เมื่อวันก่อน ดิฉันได้ไปสถานที่ที่ดิฉันเคยไปไหว้เจ้าที่เจ้าทาง ก็ไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้น แต่พออีกวัน หนึ่ง อยู่ดี ๆ ก็จามเป็นสิบครั้ง แล้วก็มีน้ำมูก มีเสหะ และปวดท้องเหมือนท้องอืด ดิฉันกินยาแก้ ท้องอืดดีขึ้น แต่น้ำมูกเยอะมาก หายใจไม่ออก และมีเสหะจุกอยู่ต้นคอ พออมยาละลายเสหะ ก็ออกมาเป็นก้อนเลย แล้วค่อย ๆ ดีขึ้น ดิฉันเชื่อว่าเป็นเพราะเจ้ากรรมนายเวร เพราะอยู่ดี ๆ ก็มีอาการ แบบนี้ 3. เมื่อคืน ประมาณตี 4 เกือบตี 5 ดิฉันหลับอยู่ได้กลิ่นหอมแบบแป้งฝุ่นทาหน้าหรือทาตัว (ดิฉันนอนคน เดียว ไม่มีใครอยู่) จนดิฉันตื่นขึ้นมาประมาณ ตี 5.15 ดิฉันเลยนั่งสมาธิ แล้วอุทิศให้เจ้ากรรมนาย เวร และสัมพเวสี ดิฉันสงสัย และอยากถามผู้รู้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับดิฉัน คืออะไรกันแน่ และดิฉันต้องทำอย่างไรค่ะ บางครั้งก็รู้สึกกลัว พยายามคิดว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองเราอยู่ ขอรบกวนผู้รู้ด้วยค่ะ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | นายฏีกาน้อย [ 09 ต.ค. 2011, 05:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มีข้อสงสัยเรื่องสิ่งเร้นลับ |
ให้ทานรักษาศีล ภาวนาเป็นเรื่องสว่างกระจ่างแจ้งดีแล้วครับ การไม่ได้ให้ทาน ไม่รักษาศีล ไม่ได้ภาวนานี้แหละเรื่องเร้นลับ ถ้าคนมีศีลมีธรรมก็ดี คนไม่มีศีลมีธรรมก็ดี ถ้ามีเหตุมีปัจจัย ให้ได้สัมผัสสิ่งเ่หล่านี้ มีความเชื่อ มีทัศนคติเชื่อมโยง จาก ประสบการณ์ จากคำบอกเล่า บุคคลนั้นๆ ก็ต้องมีความปักใจ ศรัทธาเชื่อถือในสิ่งที่ตนได้สัมผัสอย่างแน่นอน เพราะมีเหตุมีปัจจัยให้เชื่อ ในเหตุปััจจัยเหล่านั้นเขาเรียกกันว่า เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยก็ได้ มีอาการ มีอารมณ์ที่ถูกรู้ก็ได้ เหล่า นี้แหละครับ คือสิ่งเร้นลับ เมื่อบุคคลขาด สติสัมปชัญญะขาด ความรู้เนื้อรู้ตัวที่ชัดเจน เช่นรู้ว่า บางทีกลัวนะ รู้อารมณ์ที่กลัว อย่างหนึ่ง สังเกตุเ็ห็นอารมณ์ที่กลัว และสังเกตุเห็นตัวรู้ในใจ เราด้วยพร้อมกัน เห็นทั้งอารมณ์ที่ถูกรู้ และตัวรู้ไม่ก่อนไม่หลัง กันได้แบบนี้ อย่างนี้เรียกว่า เห็นแจ้งในสิ่งเร้นลับครับ ส่วนมาก บุคคลโดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยสังเกตุเห็นอารมณ์ที่ ถูกรู้ เช่นกลัว เช่นเอ่!ใจถึงเรื่องที่กลัว เช่นเรื่อง สงสัยเรื่องเจ้า กรรมนายเวร หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง เหล่านี้ ฯลฯ เมื่อคนเราขาดสติสัมปชัญญะ ไ่ม่ค่อยได้ภาวนา อบรมจิตใจ อารมณ์ที่ถูกรู้ และตัวรู้หรือผู้รู้ ก็จะถูกซ่อนเร้น ทำให้สงสัยใน สิ่งต่างๆ บางคราวเป็นอารมณ์ที่ดี ก็หลงดีใจเสียมากมาย บางคราวเป็นอารมณ์ที่ร้ายๆ ก็หลงขัดเคืองขุ่นข้องมากมาย เหมือนๆ กัน นั่นเพราะถูกสิ่งเร้นลับ (ความไม่รู้) ปิดซ่อนเอาไว้ จะไม่เท่่าทันอารมณ์บ่อยๆ และไม่เห็นตัวรู้ผู้รู้เลย นั่นทำให้ ทุกครั้งเิกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้น มองไม่เ็ห็นเหตุปัจจัยให้เกิด ของ อารมณ์ และความคิดต่างๆ นั่นแหละครับ เร้นลับ ส่วนคนที่หมั่นทำบุญให้ทานรักษาศีล และคอยมีสติสัมปชัญญะ ก็จะเฝ้าสังเกตุอารมณ์ที่ถูกรู้ ทั้งพอใจและไม่พอใจ พร้อมด้วย ตัวรู้และผู้รู้ ไม่หลงอารมณ์ที่ถูกรู้ ไม่หลงพอใจไม่พอใจ คนนั้น จะมีความสุข มีความรุ้ความเ้ข้าใจมากขึ้น เรื่องที่เร้นลับๆ จะไม่ มารบกวน หรือโผล่มาให้เห็นอีกเลย จะมีแต่ความกระจ่างสว่าง รู้เห็นในสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เห็นอารมณ์ที่ถูกรู้ ผู้รู้ตัวรู้ ก็ล้วนไม่เที่ยง ไ่ม่ใช่เราของเรา ความเร้นลับก็จะหมดไปไม่กลับ มาทำให้สงสัยอีก มีธรรมเป็นเครื่องรักษา มีสติเป็นเครื่องระลึก ลองพิจารณาสิ่งเร้นลับ(ความไม่รู้)ที่ติดตามคนเราไปทุกหนทุก แห่งทุกสถานที่ และทำความรู้จัก ตัวรู้ผู้รู้ และอารมณ์ที่ถูกรู้ดู นะครับ ส่วนเรื่องเจ้ากรรมนายเวร เรื่องเจ้าที่เจ้าทาง ขึ้นชื่อ ว่าสัตว์ในสังสารวัฏฏ พระท่านว่าไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน พอผู้รู้ ตัวรู้เราไปเจออารมณ์ที่ชอบใจ เราเผลอเราหลงไม่รู้ ไม่เท่่าทัน เจ้ากรรมนายเวร เจ้าที่เ้จ้าทาง ยังไม่เผลอขึ้นมา ในความรู้สึกนึกคิดเลยจริงไหม แ่ต่ความเร้นลับ ความไ่ม่รู้ นี่สิที่ไม่เห็นอารมณ์ี่ที่ถูกรู้ และตัวรู้ หรือจิตผู้รู้ นี่เร้นลับกว่า ติดตามเราไปตลอดเลย ทั้งอารมณ์พอใจไม่พอใจลอง ทำความรู้จักลองสังเกตุดูนะครับ ว่าเขาเที่ยงไม่เที่ยง ตั้งอยู่ แล้วดับไปไหม บังคับได้ไหม ผู้รู้ตัวรู้นี้ ก็เหมือนกันไม่เที่ยง บังคับให้มีหรือไม่มีก็ไม่ได้ ลองดูนะครับ ส่วนเรื่องภูมิแพ้ เรื่องฝุ่นละออง เรื่องอากาศมลภาวะ ไปปรึกษาแพทย์ดู นะครับ ป้องกันไว้หน่อยก็ดี ออกกำลังกายครับเล่นโยคะ ช่วยเรื่องทางเดินหายใจ ส่วนเรื่องจิตใจ ลองดูจะเดินออก จากความเร้นลับความไม่รู้ได้ไหม เอาใจช่วยครับ ขอเจริญพร |
เจ้าของ: | แก้วเก้า [ 11 ต.ค. 2011, 15:02 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มีข้อสงสัยเรื่องสิ่งเร้นลับ |
กราบนมัสการพระคุณเจ้า ท่านพุทธฎีกา กราบสาธุ สาธุ สาธุ เจ้าค่ะ ท่านพระคุณเจ้ากล่าวไว้ชอบแล้วทุกประการ กราบอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ สำหรับเจ้าของกระทู้ขออนุโมทนาในสิ่งที่ปฎิบัติด้วยนะคะ ขอให้บุญกุศล ส่งให้พบแต่สิ่งดีๆ ด้วยค่ะ ถ้าพบเห็นสิ่งใดๆ ก็ตามก็เป็นสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น คงจะช่วยให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบันนะคะ อีกประการหนึ่งที่ดิฉันใช้เป็นประจำคือการอธิษฐานจิต การส่งกระแสจิต และการแผ่เมตตา โดยเฉพาะการแผ่เมตตานี้ใช้เป็นอาวุธประจำตัวเลยค่ะ คุณนะโมพุทธายะจะนำไปใช้บ้างก็ได้นะคะ อยากคุยกับผู้ปฎิบัติด้วยกัน จึงขอเข้ามาคุยด้วย ขอให้พบเห็นในสิ่งที่เกิดปัญญาด้วย สาธุ แก้ไขเพิ่มเติม ตัวอย่างของปัญหานิเทสที่เกี่ยวกับการละฉันทราคะในอุปทานขันธ์ ๕ ชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑. “...[๔๐๗] คำว่า ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในปัจจุบัน ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นปัจจุบัน ตรัสว่า ท่ามกลาง. ท่านจักไม่ถือ คือ จักไม่ยึด ถือ จักไม่ลูบคลำ จักไม่เพลิดเพลิน จักไม่ติดใจซึ่งสังขารอันเป็นปัจจุบัน ด้วยสามารถตัณหา ด้วยสามารถทิฏฐิ คือ จักละ จักบรรเทา จักทำให้สิ้นสุด จักให้ถึงความไม่มี ซึ่งความยินดี ความชอบใจ ความยึด ความถือ ความถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิ- *สังขาร) ในท่ามกลาง. [๔๐๘] คำว่า จักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป ความว่า ชื่อว่า จักเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ เพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว สงบวิเศษ เผาเสียแล้ว ให้ดับไปแล้ว จักเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จักเป็นผู้สงบ แล้วเที่ยวไป. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้ง ไป. กิเลสเครื่องกังวลในภายหลังอย่าได้มีแล้วแก่ท่าน. ถ้าท่าน จักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง ท่านจักเป็นผู้สงบ แล้วเที่ยวไป. [๔๐๙] ดูกรพราหมณ์ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพ ผู้ปราศจากความกำหนัดในนาม รูปโดยประการทั้งปวง. [๔๑๐] คำว่า โดยประการทั้งปวง ในอุเทศว่า สพฺพโส นามรูปสฺมึ วีตเคธสฺส พราหฺมณ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ มีส่วน ไม่เหลือ. คำว่า สพฺพโส นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่านาม. มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่า รูป ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า ความกำหนัด. คำว่า ดูกรพราหมณ์ ... ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูป โดยประการทั้งปวง ความ ว่า ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูป คือ มีความกำหนัดในนามรูป ไปปราศแล้ว มีความกำหนัดอันสละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากความยินดี คือ มีความยินดีไปปราศแล้ว มีความยินดีอันสละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ในนามรูป โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูกรพราหมณ์ ... ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยประการทั้งปวง. [๔๑๑] อาสวะ ในคำว่า อาสวา ในอุเทศว่า อาสวสฺส น วิชฺชนฺติ ดังนี้ มี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ. คำว่า อสฺส คือ พระพระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ย่อมไม่มี คือ อาสวะเหล่านี้ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น คือ อาสวะเหล่านี้อันพระอรหันตขีณาสพนั้นละได้แล้ว ตัด ขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาสวะทั้งหลาย ... ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพนั้น. [๔๑๒] คำว่า เป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ความว่า บุคคลพึงถึงอำนาจแห่งมัจจุ พึงถึงอำนาจแห่งมรณะ หรือพึงถึงอำนาจแห่งพวกของมาร ด้วยอาสวะเหล่าใด อาสวะเหล่านั้น ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น คือ อาสวะเหล่านั้น อันพระอรหันตขีณาสพนั้นละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่ง มัจจุ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพผู้ปราศจากความกำหนัด ในนามรูปโดยประการทั้งปวง. พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา ของข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็นพระสาวก ฉะนี้แล. เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๓๕๕๙ - ๓๗๘๒. หน้าที่ ๑๔๕ - ๑๕๓. อชิตมาณวกปัญหานิสเทส “ …[๙๗] คำว่า กุสโล สพฺพธมฺมานํ ความว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็น ธรรมดา พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงโดยเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นสภาพชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นสภาพไม่สำราญ เป็นภัย เป็นอุปสรรค หวั่นไหว ผุพัง ไม่ยั่งยืน ไม่มีอะไร ต้านทาน ไม่มีที่เร้น ไม่มีสรณะ ไม่เป็นที่พึ่ง ว่าง เปล่า สูญ เป็นอนัตตา มีโทษ มีความ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่เป็นแก่นสาร เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นผู้ฆ่า เป็นสภาพปราศจาก ความเจริญ มีอาสวะ ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีชาติเป็นธรรมดา มีชราเป็นธรรมดา มีพยาธิเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา โดยความเกิด โดยความดับ ไม่มีคุณ มีโทษ ไม่มีอุบายเป็นเครื่องออกไป พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในขันธ์ ... ธาตุ ... อายตนะ ... ปฏิจจสมุปบาท ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ ... มรรค ... ผล ... นิพพาน พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง อายตนะ ๑๒ คือ จักษุรูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่า ธรรมทั้งปวง. ก็ภิกษุเป็นผู้ละความกำหนัดในอายตนะ ภายในภายนอก คือ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งเหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีใน ภายหลัง มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด ภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง แม้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉลาดในธรรมทั้งปวง. [๙๘] บทว่า สโต ในอุเทศว่า "สโต ภิกขุ ปริพฺพเช" ความว่า ภิกษุมีสติด้วย เหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ๑ มีสติเจริญเวทนานุปัสสนา- *สติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ๑ มีสติเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ๑ มีสติเจริญธัมมา- *นุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ๑. ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะเว้นความเป็นผู้ไม่มีสติ ๑ เพราะนำธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความทำสติ ๑ เพราะละธรรมเป็นข้าศึกแก่สติ ๑ เพราะไม่หลงลืมธรรม อันเป็นนิมิตแห่งสติ ๑. ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยสติ ๑ เพราะความชำนาญด้วยสติ ๑ เพราะความเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยสติ ๑ เพราะไม่กลับลงจากสติ ๑. ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะความเป็นผู้มีสติเสมอ ๑ เพราะ ความเป็นผู้สงบ ๑ เพราะความเป็นผู้ระงับ ๑ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของผู้สงบ ๑. มีสติเพราะพุทธานุสสติ เพราะธัมมานุสสติ เพราะสังฆานุสสติ เพราะสีลานุสสติ เพราะจาคานุสสติ เพราะเทวดานุสสติ เพราะอานาปานัสสติ เพราะมรณานุสสติ เพราะกาย- *คตาสติ เพราะอุปสมานุสสติ สติ ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วย สตินี้ ภิกษุนั้นเรียกว่ามีสติ. คำว่า "ภิกขุ" คือ ชื่อว่าภิกขุ เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม ๗ ประการ คือ เป็นผู้ทำลาย สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำลาย อกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบาก เป็นทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป. (พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรสภิยะ) ภิกษุนั้นบรรลุถึงปรินิพพานแล้ว เพราะธรรมเป็นหนทางที่ตนทำ (ดำเนิน) แล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ละแล้วซึ่งความเสื่อม และความเจริญ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีภพใหม่สิ้นแล้ว. คำว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ ความว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ คือ พึงมีสติเดิน พึงมี สติยืน พึงมีสตินั่ง พึงมีสตินอน พึงมีสติก้าวไปข้างหน้า พึงมีสติถอยกลับ พึงมีสติแลดู พึงมีสติเหลียวดู พึงมีสติคู้เข้า พึงมีสติเหยียดออก พึงมีสติทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร พึงมีสติเที่ยวไป พึงมีสติอยู่ คือ เป็นไป เปลี่ยนแปลง รักษา บำรุง เยียวยา ให้เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง พึงมีสติเว้นรอบ. [๙๙] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค) ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มีฉันทะร่วมกัน มีประโยคร่วมกัน มีความประสงค์ร่วมกัน มีความอบรมวาสนาร่วมกัน กับอชิตพราหมณ์นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. และจิตของอชิตพราหมณ์ นั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่น น้ำ ผม และหนวดของอชิตพราหมณ์หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัต. อชิตพราหมณ์ นั้น เป็นภิกษุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร เพราะการปฏิบัติตาม ประโยชน์ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี- *พระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้. จบ อชิตมาณวกปัญหานิสเทสที่ ๑. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๑๗๐ - ๖๔๓. หน้าที่ ๘ - ๒๖. ป.ล. อย่าลืมไปตรวจสุขภาพอย่างที่พระคุณเจ้าท่านพุทธฎีกา แนะนำด้วย นะคะ จะได้ทำให้สุขภาพดีขึ้น อีกทั้งการกราบไหว้สิ่งที่อยู่ในสังสารวัฎฎ ถ้าเราเจอปัญหาเรื่อยๆ ก็เลี่ยงไปกราบไหว้เจดีย์ โบถส์ พระพุทธรูป พระสงฆ์ อื่นๆ เพิ่มมากขึ้นก็ได้นี่คะ จะได้เป็นสิริมงคลยิ่งๆ ขึ้นไปนะค่ะ ป.ล. สุดท้ายขอกราบนมัสการพระคุณเจ้า ท่านพุทธฎีกา เคารพในธรรมของ ท่านพระคุณเจ้า ขออานิสงส์จากพระคุณเจ้าขอให้ลูกและทุกๆ ท่านพบแต่สิ่งดีๆ ด้วยเทอญ สาธุ |
เจ้าของ: | ทักทาย [ 11 ต.ค. 2011, 23:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มีข้อสงสัยเรื่องสิ่งเร้นลับ |
มีจริง หรือไม่มีจริง เชื่อหรือไม่เชื่อนั้น ไม่สำคัญ....แต่ถ้าเราทำบุญแล้วอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์ สรรพสิ่ง เป็นสิ่งที่ควรกระทำ อนุโมทนาค่ะ ![]() น้ำท่วมหรือเปล่า? |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |