วันเวลาปัจจุบัน 30 เม.ย. 2024, 15:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อควรรู้พิเศษเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด


มีจุดหรือแง่สำคัญบางประการที่ควรย้ำไว้ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดที่ร้ายแรงในเรื่องกรรมดังต่อไปนี้



๑) สุขทุกข์ ใครทำให้ ?

ตามหลักพุทธพจน์ว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลจึงปรุงแต่งกายสังขาร ...วจีสังขาร...

มโนสังขารขึ้นเองบ้าง ...เนื่องจากตัวการอื่นบ้าง...โดยรู้ตัวบ้าง...ไม่รู้ตัวบ้าง” (สํ.นิ. 16/83/48)

และพุทธพจน์ที่ปฏิเสธทฤษฎีที่ว่า สุขทุกข์ตนทำเองของพวกอัตตการวาท และ ทฤษฎีว่าสุขทุกข์ตัวการอื่น

ทำของพวกปรการวาท

เป็นการย้ำให้มองเห็นกรรมในฐานะกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ตนเองก็ดี ผู้อื่นก็ดี จะมีส่วนเกี่ยวข้องแค่ไหน

เพียงใด ย่อมต้องพิจารณาให้ถูกต้องตามกระบวนการ มิใช่ตัดสินขาดลงไปง่ายๆ

ที่กล่าวมานี้ เป็นการป้องกันความเข้าใจผิดสุดโต่งที่มักเกิดขึ้นในเรื่องกรรมว่า อะไรๆเป็นเพราะตนเองทำ

ทั้งสิ้น ทำให้ไม่คำนึงถึงตัวการ และ สิ่งแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ดี ต้องแยกความเข้าใจอีกชั้นหนึ่งระหว่างหลักกรรมในแง่ตัวกฎ หรือ สภาวะกับในแง่ของ

จริยธรรม

ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการแสดงในแง่ตัวกฎ หรือ ตัวสภาวะ ซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนการตามธรรมชาติที่

ครอบคลุมเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งหมด

แต่ในแง่ของจริยธรรม อันเป็นคำสอนให้ปฏิบัติ ผู้ที่ต้องการให้ปฏิบัติ ก็คือผู้ที่ถูกสอน

ในกรณีนี้ คำสอนจึงมุ่งไปที่ตัวผู้รับคำสอน เมื่อพูดในแง่นี้ คือ เจาะจงเอาเฉพาะตัวบุคคลนั้นเองเป็นหลัก

ย่อมกล่าวได้ทีเดียวว่า เขาต้องเป็นผู้รับผิดชอบอย่างเต็มที่ ในการกระทำต่างๆ ที่เขาคิดหมายกระทำลงไป

และที่จะให้ผลเกิดขึ้นตามที่มุ่งหมาย เช่น พุทธพจน์ว่า “ตนเป็นที่พึ่งของตน” เป็นการเพ่งความรับ

ผิดชอบของบุคคล โดยมองจากตัวเองออกไป

ในกรณีนี้ นอกจากจะมีความหมายว่าต้องช่วยเหลือตัวเอง ลงมือทำเองแล้ว ในแง่ที่สัมพันธ์กับการกระทำ

ของผู้อื่น ยังหมายกว้างไปถึง การที่ความช่วยเหลือจากผู้อื่นจะเกิดขึ้น จะคงมีอยู่ และจะสำเร็จผล

ต้องอาศัยการพึ่งตนของบุคคลนั้นเอง ในการที่จะชักจูง เร้าให้เกิดกระทำจากผู้อื่น ในการที่จะรักษา

การกระทำของผู้อื่นนั้นให้คงอยู่ต่อไป

และในการที่จะยอมรับ หรือ สนองต่อการกระทำของผู้อื่นนั้น หรือ ไม่เพียงใดด้วย ดังนี้เป็นต้น

โดยเหตุนี้ หลักกรรมในแง่ตัวสภาวะก็ดี ในแง่ของจริยธรรมก็ดี จึงไม่ขัดแย้งกัน แต่สนับสนุนซึ่งกันและกัน

แต่ต้องทำความเข้าใจให้ถูก

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


กายสังขาร การปรุงแต่งการกระทำทางกาย (volitional acts of the body)

วจีสังขาร การปรุงแต่งคำพูด (volitional acts of speech )

มโนสังขาร การคิดนึกปรุงแต่งในใจ (volitional acts of mind)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒)เชื่ออย่างไร ผิดหลักกรรม ?


มีลัทธิมิจฉาทิฏฐิ เกี่ยวกับสุขทุกข์และความเป็นในชีวิตของมนุษย์อยู่ ๓ ลัทธิ ซึ่งต้องระวังไม่ให้เข้าใจ

สับสนกับหลักกรรม คือ



๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action

determinism)

เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตเหตุวาท


๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่

(theistic determinism)

เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท


๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

(indeterminism หรือ accidentalism)

เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_9370.jpg
IMG_9370.jpg [ 67.38 KiB | เปิดดู 3823 ครั้ง ]
ช่วงนี้พิจารณาดีๆ ดูว่าพระพุทธเจ้าตรัสแก้เรื่องกรรมทั้งสามลัทธิต่อไปนี้ยังไงที่คำ

อธิบายแต่ละข้อๆ แล้วชาวพุทธบ้านเราส่วนใหญ่คิดเรื่องนี้ยังไง



ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ที่ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆ

กันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ

๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี

อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน

(ปุพฺเพกตเหตุ)

๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี

อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้า

(อิสฺสรนิมฺมานเหตุ)

๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี

อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้

(อเหตุอปจฺจย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มี.ค. 2010, 15:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ ๓ พวกนั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๑)

แล้วถามว่า “ทราบว่า ท่านทั้งหลายมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้...จริงหรือ ?”

ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว รับว่าจริง

เราก็กล่าวกะเขาว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านก็จักต้องเป็นผู้ทำปาณาติบาต เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ

จะต้องเป็นผู้ทำอทินนาทาน เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ

จะต้องเป็นผู้ประพฤติอพรหมจรรย์....

เป็นผู้กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ

เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุน่ะสิ”


“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอากรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นสาระ

ฉันทะก็ดี

ความพยายามก็ดีว่า “สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี

เมื่อไม่กำหนดถือเอาสิ่งที่ควรทำ และ สิ่งไม่ที่ควรทำ โดยจริงจังมั่นคง ดังนี้ สมณพราหมณ์พวกนี้

ก็เท่ากับอยู่อย่างหลงสติ ไร้เครื่องรักษา จะมีสมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตนไม่ได้ นี้แล

เป็นนิคหะอันชอบธรรมอย่างแรกของเราต่อสมณพราหมณ์ ผู้มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มี.ค. 2010, 18:26, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๒ ) กล่าวกะเขาว่า

ท่านจักเป็นผู้ทำปาณาติบาต ก็เพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเหตุ

จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน...

ประพฤติอพรหมจรรย์...

กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ

เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ ก็เพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเหตุน่ะสิ”


“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอาการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นสาระ ฉันทะก็ดี

ความพยายามก็ดีว่า “สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี

เมื่อไม่กำหนดถือเอาสิ่งที่ควรทำ และ สิ่งไม่ที่ควรทำ โดยจริงจังมั่นคง ดังนี้ สมณพราหมณ์พวกนี้

ก็เท่ากับอยู่อย่างหลงสติ ไร้เครื่องรักษา จะมีสมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตนไม่ได้ นี้แล

เป็นนิคหะอันชอบธรรมอย่างที่สองของเราต่อสมณพราหมณ์ ผู้มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มี.ค. 2010, 18:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๓ ) กล่าวกะเขาว่า

“ท่านก็จักเป็นผู้ทำปาณาติบาต โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน....

ประพฤติอพรหมจรรย์....

กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ

เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยน่ะสิ”


“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอาความไม่มีเหตุไม่มีเป็นสาระ ฉันทะก็ดี

ความพยายามก็ดีว่า “สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี ฯลฯ


(องฺ.ติก.20/501/222 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มี.ค. 2010, 18:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเฉพาะลัทธิที่ ๑ คือ ปุพเพกตวาทนั้น เป็นลัทธิของนิครนถ์ ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า “สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใด

ที่บุคคลได้เสวย ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ตัวทำไว้ในปางก่อน โดยนัยนี้ เพราะกรรมเก่าหมดสิ้นไป

ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จะไม่ถูกบังคับต่อไป

เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป ก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา

เพราะสิ้นเวทนา ก็จักเป็นอันสลัดทุกข์ให้หมดสิ้น“ ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้”

(ม.อุ.14/2/1)

นอกจากนี้ มีพุทธพจน์ตรัสย้ำความอันเดียวกัน ก็มีดังนี้


“ดูกรสิวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี...

เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี ฯลฯ

สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี

ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี เวทนานั่นเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อน” ฯลฯ เรากล่าวว่า เป็นความผิด

ของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเอง”

(สํ.สฬ.18/427/284)


พุทธพจน์เหล่านี้ ป้องกันความเห็นที่แล่นไปไกลเกินไป จนมองเห็นความหมายของกรรม

แต่ในแง่กรรมเก่า กลายเป็นคนนั่งนอนรอคอยผลกรรมเก่า สุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป

ไม่คิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง กลายเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง ตามนัยพุทธพจน์ที่กล่าวมาแล้ว

นอกจากนั้น จะเห็นได้ชัดด้วยว่าในพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าทรงถือความเพียรพยายาม

เป็นเกณฑ์ตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรมและคำสอนเหล่านี้ทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธพจน์เหล่านี้ มิได้ปฏิเสธกรรมเก่า เพราะกรรมเก่าก็ย่อมมีส่วนอยู่ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

และย่อมมีผลต่อปัจจุบัน สมกับชื่อที่ว่าเป็นเหตุปัจจัยด้วยเหมือนกัน แต่มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

อยู่นั่นเอง ไม่ใช่อำนาจนอกเหนือธรรมชาติอะไรที่จะไปยึดไปหมายมั่นฝากโชคชะตาไว้ให้

ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท รู้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยดีแล้ว ย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ ฯลฯ ดังนั้น จึงควร

เข้าใจกรรมเก่าเพียงเท่าที่มันเป็นตามกระบวนการของมัน

ในทางจริยธรรม ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท ย่อมถือเอาประโยชน์จากกรรมเก่าได้ในแง่เป็นบทเรียน

เป็นความตระหนักแน่นเหตุผล เป็นความเข้าใจตนเอง และ สถานการณ์ เป็นความรู้พื้นฐานปัจจุบันของตน

เพื่อประกอบการวางแผนทำกรรมปัจจุบัน และ หาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1254130563n70dc-11499.jpg
1254130563n70dc-11499.jpg [ 50.86 KiB | เปิดดู 3696 ครั้ง ]
ต่อ 8


viewtopic.php?f=4&t=29672

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร