ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=29775 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 6 |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 26 ก.พ. 2010, 14:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
"จงเป็นผู้มีศีลเถิด" พระพุทธองค์ตรัสวลีนี้ หมายถึง ศีลขันธ์อันเป็นอริยะ การเป็นผู้มีศีล ไม่ใช่เป็นผู้ถือศีล การถือศีล ในพระไตรปิฎกจะเขียนว่า "การบำเพ็ญพรตด้วยตะบะ" ซึ่งสมณะพราหมณ์เหล่าหนึ่งเข้าใจว่า สามารถหน่ายบาป (ล้างบาป) ได้ด้วยศีล จึงกำหนดให้มีการถือศีลบริสุทธิ์ ศีลขันธ์อันเป็นอริยะ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นในอริยบุคคล เกิดหลังจากปัญญา หรือสัมมาทิฏฐิที่นับเนื่องเป็นองค์มรรคเกิดในบุคคลนั้น จึงมีผู้กล่าวไว้ว่า ศีลของพระอริยะเป็นศีลที่มีความมั่นคง เพราะเหตุว่า อริยบุคคลทั้งหลายได้ดับเหตุอันจะทำให้เกิดความคิดการกระทำที่จะออกนอกกรอบของกุศลได้บ้างแล้ว อริยะบุคคลขั้นโสดาบันก็ยังไม่มีศีลที่บริสุทธิ ทำได้เพียงข้อเดียว คือ งดสุรา เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะ ศีลข้อนี้เป็นการทำผิดอย่างหยาบที่สุด (กายกรรม) เหล้าไม่เข้าปากก็ไม่ผิด ส่วนศีลข้ออื่นเป็นการทำผิดที่ละเอียด คือ ทั้งทางกาย วาจา ใจ หรือพูดง่ายๆ ว่า แค่คิดก็ผิดแล้ว เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะ อวิชชายังถูกกำจัดไม่หมด หญิงแลเห็นชายชายแลเห็นหญิง หรือดูหนังเห็นพระเอกหล่อนางเอกสวย ใจมันก็ไปแล้ว อริยบุคคลเว้นพระอรหันต์ จึงยังผิดศีลได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีพระอรหันต์เท่านั้นที่มีศีลบริสุทธิ์ อวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังอกุศลให้ถึงพร้อม ส่วน วิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลให้ถึงพร้อม ทางสายเอก ทางสายกลาง ที่พระพุทธองค์ตรัสสอน ไม่มีการฝืนธรรมชาติ ทุกอย่างเป็นไปตามหลักของเหตุปัจจัย เป็นไปตามกฏธรรมชาติ ประกอบด้วยความจริง ไม่มีความเห็น ไม่มีหมายว่า คาดว่า และเขาว่า ... |
เจ้าของ: | นิดหนึ่ง [ 27 ก.พ. 2010, 19:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
ไม่เคยได้ยินคำนี้เลย ไม่ทราบตรัสไว้ตอนไหน ไม่เห็นด้วย กับบทความนี้คะ ขอยก คำเทศน์ของหลวงตาฯ มาแสดง ++ อย่างพระโสดาท่าน เพียงท่านสำเร็จโสดา นั่นคือเข้าสู่ความจริงแล้ว เชื่อบาปเชื่อบุญเชื่อกรรมแล้วนั่น ฝังแล้ว เมื่อฝังแล้วท่านจึงมีธรรมประจำใจ เป็นนิสัยขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นพระโสดาจึงไม่มีการรับศีล เป็นสมุจเฉทวิรัติโดยอัตโนมัติไปเลย คือหิริโอตตัปปะสะดุ้งกลัวต่อบาปต่อกรรมไปในนั้นเสร็จเลย เช่นรับศีล ๕ ศีล ๘ ศีลอะไรนี้ หากว่าอยู่กับหมู่กับเพื่อน ท่านก็นำบรรดาประชาชนรับเท่านั้น ผู้ที่เป็นพระโสดานั้นท่านจะไม่มีเจตนาว่าตั้งใจจะรับศีล เพราะศีลเราด่างพร้อยหรือขาดทะลุ ไม่มี เป็นแต่เพียงเป็นผู้นำๆ นี่เรียกสมุจเฉทวิรัติของพระอริยบุคคล สมุจเฉทวิรัติของปุถุชนนี้ตั้งความงดเว้นไว้ตลอดวันตาย นี้เรียกว่าวิรัติตลอดวันตายเลย ส่วนพระอริยบุคคล เช่น ขั้นพระโสดาขึ้นไปนี้ จะเป็นสมุจเฉทวิรัติโดยอัตโนมัติตลอดวันตายเหมือนกัน ไม่ได้ตั้งท่าตั้งทาง เรื่องหิริโอตตัปปะสะดุ้งกลัวต่อบาปต่อกรรมทั้งหลายนี้เป็นขึ้นมาเองๆ นี่ละออกจากภาวนา ออกจากการได้ยินได้ฟัง รู้เห็นธรรมเป็นความจริงแล้วปลูกขึ้นมาทุกอย่าง ขึ้นชื่อว่าความจริง ความจอมปลอมปัดออกๆ ท่านเป็นอย่างนั้น ที่มา http://board.palungjit.com http://www.luangta.com/thamma/thamma_ta ... 50&CatID=2 |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 27 ก.พ. 2010, 21:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 28 ก.พ. 2010, 07:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
ขอบพระคุณสำหรับความเห็น ไปต่ออีกหน่อยนะท่าน ต่อไปให้ถึงคำพระพุทธเจ้า อย่าหยุดตรงเขาว่า อย่าเอาแต่เขาว่า ... ชาวพุทธต้องเอาพระพุทธเจ้าว่า ... ![]() ความจริงคือความจริง ธรรมชาติคือความจริง ธรรมะคือธรรมชาติ ไปถามที่เขาว่าต่อนะท่านว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้คนทำผิดในกรอบของความดี (ศีล) อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนอยู่ในกรอบของความเลว (อกุศล) ... แล้วถ้าเหตุปัจจัยของความชั่วยังไม่หมด คนจะเป็นคนดีบริสุทธิ์ได้หรือไม่? เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ
|
เจ้าของ: | kanalove [ 02 มี.ค. 2010, 22:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
อ้างคำพูด: อริยะบุคคลขั้นโสดาบันก็ยังไม่มีศีลที่บริสุทธิ ทำได้เพียงข้อเดียว คือ งดสุรา เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะ ศีลข้อนี้เป็นการทำผิดอย่างหยาบที่สุด (กายกรรม) เหล้าไม่เข้าปากก็ไม่ผิด ส่วนศีลข้ออื่นเป็นการทำผิดที่ละเอียด คือ ทั้งทางกาย วาจา ใจ หรือพูดง่ายๆ ว่า แค่คิดก็ผิดแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ ก็อย่าเป็นพระโสดาบันเลย ยังตกนรกอยู่ดี = =" ปล. พระโสดาบันคือ ผู้ที่แยกแยะความชั่วและความดีออก ศีล5 ทั้ง 5 ข้อ ต้องละเอียด เมื่อไม่มีการทำผิดไม่ว่าจะทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็จะเป็นผุ้ไม่ตกนรก หรือเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 04 มี.ค. 2010, 21:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
อริยะบุคคล ในระดับโสดาบัน ยังประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ ถึงจะเบาบาง แต่ก็ยังมีอยู่ ไม่ได้หมดไป โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือนี้ ยังมีอิทธิพลต่อการคิดการตัดสินใจของโสดาบันบุคคลอยู่ ด้วยเหตุนี้ ศีลของโสดาบันจึงยังไม่สามารถบริสุทธิ์ได้ แต่หากเทียบกับบุคคลธรรมดาที่ยังไม่กำหนดรู้ทุกข์ ยังไม่ประกอบด้วยวิชชา โสดาบันจะดูเหมือนว่า เป็นคนดีกว่ามาก Quote Tipitaka: [๘๙] อะไรเป็นศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร ฯ อะไรเป็นศีล คือ เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล ความสำรวมเป็นศีล ความไม่ล่วงเป็นศีล ฯ ศีลมีเท่าไร คือ ศีล ๓ คือ กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล ฯ ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน คือ กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีล มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีลมีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน ฯ การบรรลุธรรมขั้นโสดาบันบุคคล (โสดาปัฏฏิผล) เป็นบุญชนิดหนึ่งที่จะทำให้โสดาบันพ้นจากทุคติภูมิ โสดาบันไม่ทำอนันตริยกรรมและประกอบด้วยกรรมที่เป็นกุศลในช่วงเวลาที่เหลือของชีวิต ทำให้ผู้ที่บรรลุโสดาบันพ้นจากนรกโดยเด็ดขาด |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 12 มี.ค. 2010, 12:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
[๔๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ไม่ละมลทิน ๓ ประการ จะต้องถูกเก็บไว้ในนรก เหมือนถูกขังฉะนั้น ธรรม ๓ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ทุศีล และไม่ละมลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ริษยา และไม่ละมลทินแห่งความริษยา ๑ เป็นผู้ตระหนี่ และไม่ละมลทินแห่งความตระหนี่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่ละมลทิน ๓ ประการนี้ จะต้องตกนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ละมลทิน ๓ ประการเสียย่อมจะประดิษฐานบนสวรรค์ เหมือนถูกนำเอามาวางไว้ ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มีศีล และละมลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ไม่ริษยาและละมลทินแห่งความริษยา ๑ เป็นผู้ไม่ตระหนี่ และละมลทินแห่งความตระหนี่๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ และละมลทิน ๓ ประการนี้แล ย่อมจะต้องได้ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญไปวางไว้ ฉะนั้น ฯ |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 12 มี.ค. 2010, 12:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
สีลัพพตสูตร [๕๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ศีล พรต ชีวิต พรหมจรรย์มีการบำรุงดี มีผลทุกอย่างไปหรือ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัญหาข้อนี้ ไม่ควรแก้แต่แง่เดียว ฯ พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น จงจำแนกไป ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อบุคคลนั้นเสพศีล พรต ชีวิต พรหมจรรย์ ซึ่งมีการบำรุงดี อกุศลธรรมเจริญมากยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป ศีล พรต ชีวิตพรหมจรรย์ ซึ่งมีการบำรุงดี เห็นปานนั้นไม่มีผล และเมื่อเขาเสพศีล พรตชีวิต พรหมจรรย์ซึ่งมีการบำรุงดี อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญมากยิ่งขึ้นศีล พรต ชีวิต พรหมจรรย์ ซึ่งมีการบำรุงดี เห็นปานนั้นมีผล ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลธรรมปริยายนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพอ พระทัยลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์คิดว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา จึงลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคพอพระอานนท์หลีกไปได้ไม่นาน ได้รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์ยังเป็นพระเสขะ แต่จะหาผู้ที่เสมอเธอทางปัญญาไม่ได้ง่ายเลย ฯ |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 13 มี.ค. 2010, 20:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
... ฯ ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕ อยู่ ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียง เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดูกรอัคคิเวสสนะ ในเมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ ... ฯ ทันตภูมิสูตร
|
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 13 มี.ค. 2010, 23:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น พราหมณ์นั้น ผู้ไม่เข้าไปติดในบุญ และบาป ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น. ว่าด้วยความหมดจดด้วยศีลและวัตร มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อม เชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ พ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง เหตุสักว่าความไม่ละเมิดศีล. ปริพาชกผู้เป็นบุตรนางปริพาชิกา ชื่อสมณมุณฑิกา กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรช่างไม้ เรา ย่อมบัญญัติปุริสบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศล เป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใครๆ ต่อสู้ไม่ได้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? ดูกรช่างไม้ ปุริสบุคคลในโลกนี้ ย่อมไม่ทำบาปกรรมด้วยกาย ๑ ย่อมไม่กล่าววาจาอันลามก ๑ ย่อมไม่ดำริถึงเหตุที่พึงดำริอันลามก ๑ ย่อมไม่อาศัยอาชีพอันลามกเป็นอยู่ ๑ ดูกรช่างไม้ เราย่อมบัญญัติ ปุริสบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นผู้มีกุศลถึง พร้อมแล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใครๆ ต่อสู้ไม่ได้. สมณพราหมณ์บางพวกปรารถนาความหมดจดด้วยศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อ ถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น รอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง เหตุสักว่าความไม่ละเมิดศีล อย่างนี้เทียว. |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 14 มี.ค. 2010, 00:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม สมาทานวัตรแล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวมว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และความหมดจดแห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เข้าถึงภพ และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด. ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต บุคคลนั้นพลาดกรรม แล้วย่อมหวั่นไหว ย่อมเพ้อถึงและปรารถนาถึงความหมดจด เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไม่ทันพวก ฉะนั้น. อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง ละกรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและ อนวัชชกรรม ไม่ปรารถนาความหมดจด และความไม่หมดจด เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึดถือทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป. |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 14 มี.ค. 2010, 21:05 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
ขอขยายความคำว่า "สิกขา" ในประโยคว่า "สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด" ดังนี้ อธิบายคำว่าเสขะและคำว่าศึกษา [๙๖๐] ชื่อว่า เสขะ ในคำว่า ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย พึงเป็นผู้ไม่มีกังวล ท่องเที่ยวไป ความว่า เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า เสขะ เพราะศึกษา จึงชื่อว่า เสขะ. ศึกษา อะไร? ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง. อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ... ฯลฯ ... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุคำนึงถึงสิกขา สมมตินี้ ก็ชื่อว่าศึกษา รู้ก็ชื่อว่าศึกษา เห็นก็ชื่อว่าศึกษา พิจารณาก็ชื่อว่าศึกษา ตั้งจิตก็ชื่อว่าศึกษา น้อมใจไปด้วยศรัทธาก็ชื่อว่าศึกษา ประคองความเพียรก็ชื่อว่าศึกษา เข้าไปตั้งสติก็ชื่อว่าศึกษา ตั้งจิตไว้ก็ชื่อว่าศึกษา รู้ชัดด้วยปัญญาก็ชื่อว่าศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งก็ชื่อว่าศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ก็ชื่อว่าศึกษา ละธรรมที่ควรละก็ชื่อว่าศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็ชื่อว่าศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญก็ชื่อว่าศึกษา คือ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี ย่อมสมาทานศึกษา เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เสขะ. ภิกษุผู้เสขะศึกษาแม้อธิศีล แม้อธิจิต แม้อธิปัญญา เพื่อบำบัด กำจัด ละเว้น สงบ สละคืน ระงับเสีย ภิกษุผู้เสขะเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ ก็พึงศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย. พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
|
เจ้าของ: | ปฐมกรรม [ 27 ก.ย. 2010, 19:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
Supareak Mulpong สาธุ เห็นด้วยครับ ผมว่ายังมีอีกหลายคนที่เข้าใจผิดกับเรื่องนี้อีกมากมาย ผมเจอบ่อยแต่อธิบายไม่ถูก ข้อความที่นำมากล่าวได้ถูกแล้ว |
เจ้าของ: | ปฐมกรรม [ 27 ก.ย. 2010, 19:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
เพิ่มต่ออีกนิดตามความเข้าใจของผมคือ สมัยพุทธกาล - ไม่ว่าจะสำเร็จแล้ว เป็นพระโสดาบัน แต่ก็ไม่ได้บอกว่าจะ หลุดจากโสดาบันเมื่อใด สำเร็จ แค่ชั่วขณะจิต เพียงเท่านั้นก็มี พอมีสิ่งยั่วยุ ก็หลุดจากโสดาบันก็มี (คำถาม ..วินัยสงฆ์เกิดขึ้นตอนไหนครับ แล้วใช้กับใคร ) การเวลามีการเปลียนแปลง ใจคนก็มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เป็นความคิดส่วนตัวครับภาษาที่ใช้อาจจะไม่สวยหรู เพราะพิมพ์ไปจากความคิด ณ ตอนที่อ่านบทความนี้ |
เจ้าของ: | เจโตวิมุติ [ 27 ก.ย. 2010, 22:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: จงมาเป็นผู้มีศีลเถิด |
![]() ....พระโสดาบันบุคคล ท่านเข้าสู่กระแสพระนิพพานแล้ว ลาดเอียงไป บ่าไปตามลำดับ มีแต่จะไหลลงไปสู่นิพพานในลำดับต่อไปหรือชาติต่อไป เมื่อละความเห็นผิดในข้อต่อๆไปได้ ไม่ไหลย้อนแล้ว ถ้าใครไหลย้อนมาผิดศีล5อีกนั่นเป็นโสดาบันจากจีน(ของก็อฟ/ของปลอม) และก็จะไปคิดว่าเป็นโสดาบันบุคคลนั้นเป็นของง่าย ได้ง่ายๆ แค่สักกายะทิฐิตัวเดียว ละได้ก็เข้าขั้นคนประเสริฐแล้ว ลองนึกดูเอาใครมาด่าก็ไม่โกรธ เป็นนายพลเดินเข้ากรมไปทหารทั้งกรมที่เคยตะเบ๊ะกันพรึ่บพรั่บ วันนี้ไม่มีใครสนใจเราเลย ทำเหมือนเราเป็นความว่างเปล่า แล้วเรารู้สึกเฉยๆ(อุเบกขา) คิดว่ามันอยู่ในวิสัยที่ทำง่ายไหม ผมไม่เปิดคำภีร์มาโตแย้ง เพราะผมผ่านการศึกษาและปฏิบัติมาระดับหนึ่ง เอาความรู้ที่เคยเรียนเคยปฏิบัต มาคุยกัน ไม่อยากให้คนต้องมาตีความ ว่ากันง่ายๆไมต้องใช้ศัพย์ลึกจะได้เข้าใจง่ายๆได้ทุกคน/เจโตวิมุติ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 6 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |