ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ศีลห้าแก้ปัญหาสังคมได้ทุกอย่าง http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=23834 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ไหว้พระปล่อยปลา [ 13 ก.ค. 2009, 18:30 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | ศีลห้าแก้ปัญหาสังคมได้ทุกอย่าง | ||
ศีลห้าแก้ปัญหาสังคมได้ทุกอย่าง โดย พระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ข้อความเบื้องต้น – ความเข้าใจของคนทั่วไปมักเข้าใจว่า ศีลห้า เป็นของพระพุทธศาสนา ความเข้าใจดังกล่าวนี้ก็ไม่ถือว่าผิด เพราะเข้าใจและยอมรับกันมานานแล้ว แต่จากศึกษาค้นความหลักฐานทางลัทธิศาสนา มีนักปราชญ์ทางศาสนาหลายท่านให้ความเห็นว่า ศีลห้า มีมาก่อนหรือมีอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ หมายความว่าเป็นหลักการหรือกฎของสังคม ที่สังคมก่อนพระพุทธเจ้าอุบัตินำมาใช้กันอยู่แล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่า หลักศีลห้า เป็นหลักการสังคมที่ดีและมีประโยชน์ จึงทรงรับไว้หรือรับเข้าเป็นหลักคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา จนคนทั่วไปเห็นว่าเป็นของพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้ว จะต้องเข้าใจด้วยว่า ในการประกาศหรือเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนนั้น พระพุทธเจ้าทรงใช้หลักการอยู่ ๓ ประการ คือ – ๑. หลักการปฏิวัติ (REVOLUTION) คือถ้าทรงเห็นแล้วว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มีเหตุผล ขัดต่อข้อเท็จจริง และไม่เป็นประโยชน์สุข่อสังคม พระพุทธเจ้าจะทรงยกเลิกหรือล้มเลิกเสียเลยทันทีเช่น สังคมของคนอินเดียหรือชมพูทวีปสมัยโน้น เขาจัดแบ่งสังคมออกเป็นชนชั้น เรียกว่า วรรณะ มี วรรณกษัตริย์ วรรณพราหมณ์ วรรณแพศย์ และวรรณศูทร วรรณะเหล่านี้มีการดูถูกเหยียดหยามและเอารัดเอาเปรียบกันอย่างที่สุด วรรณกษัตริย์กับวรรณพราหมณ์ ถือตัวเองว่าเป็นวรรณสูง มีอิทธิพลหรือมีอภิสิทธิ์มาก รังเกียจเดียดฉันท์กันอย่างที่สุด อย่าว่าแต่จะคบหาสมาคมกันเลย จะเดินทางร่วมถนนหนทางสายเดียวกันก็ไม่ได้ จะดื่มน้ำบ่เดียวกันก็ไม่ได้ โดยเฉพาะวรรณศูทรได้รับการดูถูกเหยียดหยามมากที่สุด พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า การจัดแบ่งชนชั้นอย่างนี้ มันไม่ยุติธรรมและมันไม่เป็นประโยชน์ต่อส่งคม เพราะคนจะดีหรือชั่วไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิดหรือชาติตระกูล แต่อยู่ที่การกระทำเป็นสำคัญ คนที่เกิดในตระกูลสูง ถ้าเขาทำบาปหรือทำชั่ว เขาก็ต้องเป็นคนชั่วอย่างแน่นอน คนที่เกิดในตระกูลต่ำ ถ้าเขาทำแต่กรรมดี เขาต้องเป็นคนดีเหมือนกัน ดังธรรมสุภาษิตที่ว่า น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พราหฺมโณ กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พราหฺมโณ. แปลว่า คนจะเป็นคนเลวเพราะชาติตระกูลหามิได้ คนจะเป็นคนประเสริฐเพราะชาติตระกูลมิได้ แต่คนจะเป็นคนเลวทรามเพราะกรรม คนจะเป็นคนประเสริฐก็เพราะกรรม ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรง ปฏิวัติ คือเลิกล้มระบบชนชั้นนั้นเสีย เช่น ใครก็ตามออกมาบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงให้ความเคารพนับถือกันตามลำดับอาวุโส ผู้ที่บวชทีหลังต้องเคารพนับถือกราบไหว้ผู้ที่บวชก่อน โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ที่บวชก่อนออกมา มาจากตระกูลไหนหรือวรรณะไหน ๒. หลักปฏิรูป (REFOEMATION) หลักการนี้ไม่ได้ทรงล้มล้างหรือยกเลิกไปเลยทีเดียว แต่จะทรงนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและมีเหตุผลยิ่งขึ้น หรือให้มันตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น เช่น ในศาสนาพราหมณ์กล่าวถึงหรือสอนเรื่อง พระพรหมเป็นเจ้า ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในโลก แล้วพรรณนาว่าพระพรหมมีรูปร่างหน้าตาอย่างนั้นอย่างนี้ อยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ เช่น ที่เข้าใจกันว่ามีรูปร่างเขียวๆ มีสี่หน้าแปดตา มีอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง ตลอดจนสอนให้เชื่อว่า คนจะดีหรือชั่วขึ้นอยู่กับอำนาจของพระพรหมเป็นเจ้าดลบันดาล ดังที่พูดว่า พรหมลิขิต ซึ่งเป็นความเชื่อถือมาตั้งแต่ดั้งเดิม พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงปฏิเสธเด็ดขาดเกี่ยวกับเรื่องพระพรหม แต่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ เช่น ถ้ามีใครก็ตามไปทูลถามว่า ในศาสนาของพระศาสนโคดมมีหลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องพระพรหมหรือไม่ ? พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า มี แต่จะทรงอธิบายให้เขาฟังทันทีว่า คำว่าพระพรหมในศาสนาของเราตถาคตนี้ มันไม่เหมือนคำว่าพระพรหมในศาสนาของพราหมณ์ดอกนะ คือ เรากล่าวว่าเป็นพระพรหมโดยธรรม ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมหรือเป็นอยู่ด้วยพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพรหมหรือเป็นพระพรหม กรณีอื่นๆ ก็ทรงใช้หลักการปฏิรูปเหมือนกัน ซึ่งปรากฏเห็นอยู่มากในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา การประกาศหรือเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยการใช้หลักการนี้เอง ทำให้พระพุทธเจ้ามีศัตรูมาก สามารถผสมผสานดูดกลืนคำสอนลัทธิศาสนาอื่นโดยไม่รู้สึกตัว และสามารถประกาศพระพุทธศาสนาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องตระหนักเรื่องนี้ด้วย ๓. หลักการสร้างขึ้นใหม่ (CONSTRUCTION) หลักการนี้เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงคิดค้นหรือค้นพบด้วยพระองค์เอง คือ การตรัสรู้อริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หลักการตรัสรู้อริยสัจสี่นี้ ไม่เคยมีอยู่ในหลักคำสอนของลัทธิศาสนาอื่นก่อนเลย แต่เป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง จึงได้ทรงพระนามว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แปลว่า ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ต้องเข้าใจด้วยว่า การตรัสรู้อริยสัจสี่ของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่หลักการของปรัชญาหรือตรรกวิทยา (อนุมาน – ประมาณ) คือคาดเดาเอาแต่อย่างใด เพราะอริยสัจสี่เป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (PURE SCIENCE OR ABSOLUTE SCIENCE) จึงใช้วิธีการพิสูจน์ทดลองเหมือนวิทยาศาสตร์ทั่วไป เครื่องมือที่พระพุทธเจ้าทรงใช้พิสูจน์ทดลองอริยสัจสี่ เรียกว่า ญาณ หรือ ญาณะ ได้แก่ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อริยสัจแต่ละข้อเอาญาณทั้งสามนี้แหละเข้าไปจับ เมื่อพิสูจน์ทดลองแล้วทดลองอีก ผลมันก็ออกมาอย่างเดิม พระพุทธเจ้าจึงทรงนำมาวางเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น แล้วนำมาประกาศเผยแผ่ สรุปว่า การตรัสรู้อริยสัจสี่เกิดพระปัญญาอันแจ่มแจ้ง (วิปัสสนาญาณ) ของพระพุทธเจ้าโดยแท้ หลักอริยสัจสี่จึงเป็นหลักที่ว่าด้วยเหตุผล เป็นหลักของสัจธรรมที่สามารถพิสูจน์ทดลองได้เหมือนกับหลักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ยอมรับกันว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และในการทำงานทุกประเภท ปัจจุบันในวงการศึกษาหรือการเรียนการสอน ก็ได้นำเอาอริยสัจสี่มาใช้ทั่วไปแล้ว หลักการของศีลห้า – ถ้าจะว่าตามหลักของสังคมศาสตร์ ศีลห้าก็คือ หลักประกันสังคม อย่างหนึ่งนั้นเองและตามหลักของสังคมวิทยากล่าวว่า สังคมเกิดมาจาก ปัจเจกชน คือ นับเอาบุคคลแต่ละคนมารวมกัน จุดเริ่มต้นของสังคมคือ ครอบครัว อันประกอบด้วยสามีภรรยาและลูก หลายๆ ครอบครัวรวมกันเป็นหมู่บ้านหรือชุมชน หลายๆ หมู่บ้านเป็นตำบล หลายๆ ตำบลเป็นอำเภอ หลายๆ อำเภอเป็นจังหวัด หลายๆ จังหวัดรวมกันเป็นประเทศ หลายประเทศรวมกันเป็นสังคมพลโลก ปัญหาสังคมคืออะไร ? ปัญหา ได้แก่เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องได้รับการแก้ไข เพราะเรื่องนั้นๆ มันนำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนแก่สังคม ปัญหาอุปสรรคบางเรื่องสามารถแก้ไขได้ง่าย บางเรื่องอาจแก้ไขได้ยาก ทั้งนี้ มันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหรือปัญหาสาเหตุ แต่มันจะยากหรือง่ายก็ตามในที่สุดต้องได้รับการแก้ไขอยู่ดี เพราะถ้าไม่ได้รับการแก้ไข สังคมโลกนี้คงอยู่กันไม่ได้ ปัญหาสาเหตุของสังคมที่แท้จริงคืออะไรบ้าง ? เรื่องนี้นักปกครองหรือผู้บริหารประเทศชาติ อาจจะมองไปคนละแง่คนละมุม บางคนก็ว่ามาจากปัญหาด้านการเมือง บางท่านก็บอกว่ามาจากปัญหาด้านการทหาร บางคนบอกว่ามาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ฯ ซึ่งสามารถมองได้ทั้งนั้น และอาจถูกต้องทั้งนั้นด้วย ใครมองด้านไหนก็พยายามแก้ปัญหาไปทางด้านนั้น แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมายาวนาน ปัญหาสังคมไม่เคยหมดไปสักที จนมีสงครามรบราฆ่าฟันกันตาย ทั้งในและนอกประเทศ สงครามโลกก็มีมาแล้ว ๒ ครั้ง มันอาจจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๓ อีกเมื่อไรก็ได้ ถ้าจะมองในทรรศนะของพระพุทธศาสนา ปัญหาสาเหตุของสังคมที่แท้จริงนั้น สรุปลงไปให้สั้นๆ คือ อกุศลมูล ได้แก่มูลหรือรากเง้าของความชั่วต่างๆ อันได้แก่ โลภะ โทสะ และ โมหะ ถ้าจะพูดอีกอย่างหนึ่งคือ กิเลส ถ้าคนในสังคมพากันลดละเลิกหรือหมดกิเลสดังกล่าวเมื่อไร ปัญหาสังคมในด้านต่างๆ มันจะหมดไปอย่างแน่นอน จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าในโลกหรือสังคมของพระอรหันต์ไม่มีปัญหา เพราะพระอรหันต์หมดกิเลสแล้วตัณหาแล้ว อกุศลมูลหรือกิเลสตัณหา คือ โลภะ โทสะ โมหะ อันถือว่าเป็นปัญหาสาเหตุที่แท้จริงของสังคม มันมาจากไหน? คำตอบก็คือ การต่อสู้แย่งชิงในการแสวงหา ปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร การกิน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ปัจจัยสี่ คือ สิ่งจำเป็นในการดำรงชีพและวิถีดำเนินชีวิตของมนุษย์ หมายความว่ามนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยสี่ในความเป็นอยู่ ถ้าขาดหรือไม่มีปัจจัยสี่ก็ไม่สามารถจะดำรงชีพอยู่ได้ ในสมัยก่อนโน้นธรรมชาติต่างๆ ยังมีมากหรืออุดมสมบูรณ์ การแสวงหาปัจจัยสี่เพื่อดำรงชีพมันก็หาได้ง่าย กิเลสตัณหาของคนในสมัยโน้นก็ไม่มากเหมือนทุกวันนี้ สมัยนี้เขาเรียกว่า ยุควัตถุนิยม และ สังคมบริโภคนิยม คือ มนุษย์พากันแสวงหาปัจจัยสี่อย่างไม่อั้น มีแต่พอกพูนกิเลส ไม่รู้จักคำว่า พอเพียง สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “โลกคือหมู่มนุษย์พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสของตัณหา” ตัณหาคือกิเลสหรืออกุศลมูลดังกล่าวข้างต้นนั้นเอง เมื่อโลภะ โทสะ โมหะ มันเพิ่มพูนมากขึ้น ปัญหาสังคมต่างๆ มันเกิดขึ้นดังที่เห็นๆ แล้ว ศีลห้าแก้ปัญหาสังคมได้อย่างไร ? ๑. สังคมมีปัญหาเกี่ยวกับการเบียดเบียน ประทุษร้ายร่างกายชีวิตของกันและกันเพิ่มขึ้นทุกวัน มีการทรมานและฆ่ากันตายในรูปแบบต่างๆ ทั้งประชาชนธรรมดา นักการเมืองท้องถิ่น และทั้งนักการเมืองระดับชาติ แม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้าก็ไม่ยกเว้น ฆ่ากันตายอย่างทารุณโหดร้ายไม่เคยมีมาก่อน มองเห็นร่างกายและชีวิตของคนเหมือนผักปลา มีข่าวทางสื่อมวลชนทุกวันขึ้นดังที่เห็นๆ อยู่แล้ว ทีนี้ ถ้าคนในสังคมทุกคนมีศีลห้าหรือถือศีลห้าข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวระมะณี มีจิตเมตตาต่อกันและกัน เรารักหวงแหนร่างกายชีวิตฉันใด คนอื่นเขารักร่างกายชีวิตฉันนั้น คิดได้อย่างนี้ปัญหาเกี่ยวกับการเบียดเบียนหรือประทุษร้ายร่างการชีวิตของกันและกัน ก็จะไม่มีหรือหมดไป ที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติความผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายมาตรา ก็ไม่จำเป็นต้องไปจดจำ ๒. สังคมมีปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดในทรัพย์สินของกันและกัน เช่น การลักขโมย การปล้นจี้ การฉกชิงวิ่งราว การหลอกลวงต้มตุ๋น การยักยอก การฉ้อราษฎร์บังหลวง การทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการ เพิ่มมากขึ้น มีคดีความขึ้นโลงขึ้นศาลมากมาย ทีนี้ ถ้าคนในสังคมทุกคนมีศีลหรือถือศีลข้อที่ ๒ อะทินนาทานา เวระมะณี เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการละเมิดทรัพย์สินของคนอื่น ประกอบสัมมาอาชีพ ปัญหาสังคมเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะไม่มีหรือหมดไป ความผิดอาญาเกี่ยวกับการละเมิดต่อทรัพย์สินก็ไม่มีความหมาย ๓. สังคมมีปัญหาเกี่ยวกับการทำผิดทางเพศมากขึ้น เช่น การคบชู้สู่สาว การทำลามกอนาจาร การพรากผู้เยาว์ การข่มขืนแล้วฆ่า การค้าโสเภณีข้ามชาติ พ่อข่มขืนในไส้ ครูอาจารย์ข่มขืนลูกศิษย์ เป็นต้น ทีนี้ ถ้าคนในสังคมทุกคนมีศีลหรือถือศีลข้อที่ ๓ กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี เว้นจากการประพฤติผิดในกามได้ การทำผิดเรื่องเพศจะไม่มีหรือหมดไป กามโรคและโรคเอดส์จะไม่ระบาด ความผิดอาญาเกี่ยวกับเรื่อเพศก็ไม่ต้องพูดถึง ๔. สังคมมีปัญหาเกี่ยวกับการไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน การกล่าวหาโจมตีซึ่งกันและกัน การเขียนหนังสือหรือการออกข่าวเป็นเท็จ การทำหนังสือสัญญาแบบกลฉ้อฉล การต่อว่าด่ากันด้วยคำหยาบคาย การพูดเสียดสีนินทาซึ่งกันและกัน เป็นต้น ทีนี้ ถ้าคนในสังคมทุกคนมีศีลหรือถือศีลข้อที่ ๔ มุสาวาทา เวระมะณี เว้นจากการกล่าวเท็จต่อกันและกัน ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีหรือหมดไป ทุกคนจะมีความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกัน ๕. สังคมมีปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุและก่อการทะเลาะวิวาททุกวัน คือ อุบัติเหตุทางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อันเกิดจากความประมาทเพราะดื่มเหล้าเมาสุรา การทะเลาะวิวาทถึงกับตีรันฟันแทงและฆ่ากันตาย ส่วนมากเกิดจากการดื่มน้ำเมาประเภทต่างๆ ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ ความยั้งคิด ทีนี้ ถ้าคนในสังคมทุกคนมีศีลหรือถือศีลข้อที่ ๕ สุราเมระยะมัชฌะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อุบัติเหตุต่างๆ การทะเลาะวิวาทกันจะไม่มีหรือหมดไป ปัญหาเรื่องการเสพติดยาให้โทษต่างๆ ก็จะหมดไปด้วย ศีลห้าหญ้าปากคอก – คนทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า ศีลห้าไม่มีความจำเป็นหรือสำคัญ เปรียบเสมือนหญ้าปากคอกที่วัวควายไม่ชอบกัดกิน แต่ความจริงนั้น ศีลห้าเป็น หลักประกันสังคม เพื่อให้มนุษย์เป็นอยู่กันด้วยความสงบสุข นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นแล้ว ศีลห้ายังจัดว่าเป็น – ๑. มนุษยธรรม แปลว่า ธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์ มนุษย์ แปลว่า ผู้มีจิตใจสูง คนที่มีศีลห้าหรือประพฤติปฏิบัติตามศีลห้าได้ จัดเป็นมนุษย์สมบูรณ์ ๒. อภัยทาน แปลว่า การให้อภัยแก่ชีวิตทรัพย์สินแก่คนอื่น เช่น รักษาศีลข้อที่ ๑ ได้ เป็นการให้อภัยแก่ชีวิตร่างกายของคนอื่น สัตว์อื่น รักษาศีลข้อที่ ๒ ได้ เป็นการให้อภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น รักษาศีลข้อที่ ๓ ได้ เป็นการให้อภัยแก่ลูก เมีย สามี ของคนอื่น เป็นต้น
|
เจ้าของ: | PloYSaii [ 13 ก.ค. 2009, 18:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีลห้าแก้ปัญหาสังคมได้ทุกอย่าง |
ขอบคุณมากเลยค่ะ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | บัวศกล [ 13 ก.ค. 2009, 19:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีลห้าแก้ปัญหาสังคมได้ทุกอย่าง |
ศีล5 แก้ปัญหาให้สังคมได้ นี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ควรเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ยากกว่า และเป็นส่วนสำคัญยิ่งกว่า คือ ทำยังไง ให้คนทุกคนในสังคม มีศีล5 ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ภัทร์ไพบูลย์ [ 13 ก.ค. 2009, 19:52 ] |
หัวข้อกระทู้: | สิกขบทที่ 1 อเจลกวรรค ในปาจิตติยัณฑ์ |
![]() ![]() ขนมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ (เหลือเฟือ) พระผู้มีพระภาคจึงทรงโปรดให้พระอานนท์แจกทานแก่คน อดอยาก พระอานนท์จึงแจก มีนักบวชนอกศาสนาที่เป็นผู้หญิงมารับแจกด้วย เผอิญให้เกินไป 1 ก้อน แก่นักบวชหญิงนั้น ด้วยเข้าใจผิด พวกเขาเองจึงล้อกันว่า พระอานน์เป็นชู้ของหญิงนั้น และภิกษุรูปหนึ่งฉันเสร็จก็เอาข้าวสุกคลุกเนยใสให้แก่อาชีวกผู้หนึ่ง มีผู้เห็นว่าไม่เหมาะสม (เพราะการยื่นให้ด้วยมือแสดงคล้ายเป็นศิษย์ หรือคฤหัสถ์ประเคนของพระ จะกลายเป็นเหยียดหยามตัวเองลงเป็นคฤหัสถ์) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามให้อาหารแก่ชีเปลือย แก่ปริพพาชก ด้วยมือของตน ทรงปรับอาบัติปาจิตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ขออำนาจกุศลที่ข้าพเจ้าแผยแพร่ธรรมนี้บูชา คุณครูอาจารย์ด้วยความเคารพนอบน้อมตลอดทั้งบูชามารดาบิดาด้วยบุญนี้หนอ และขอให้กัญญามิตรมีดวงเห็นธรรมทุกท่านเทอญ ( หากมีข้อความผิดพลาดกลาบขออภัยในความผิดนี้ด้วยจิตที่นอบน้อมครับ ) ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 13 ก.ค. 2009, 20:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีลห้าแก้ปัญหาสังคมได้ทุกอย่าง |
ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ.แต่ยังไม่ได้อ่านเนื้อในนะ..เห็นปุ๊ป ก็ว่าใช่เลย เพียง 5 ข้อนี้ เป็นสิ่งวิเศษจริง ๆ นะครับ แต่อาจจะคิดว่า..แล้วปุถุชนจะทำได้จริงๆ หรือ หมายถึง ใช่ได้จริงในการดำเนินชีวิตประจำวัน คนที่ยังทำไม่ได้..ก็มักจะอ้างเหตุผลต่างๆ นา นา ซึ่งก็จริง (ของเขา) คนที่ทำได้..ก็บอกว่าทำได้จริง ๆ อย่างบริสุทธิ์ ได้จริง ๆ และยังเกื้อหนุนการใช้ชีวิตของเขาอย่างมีคุณภาพได้อีกด้วย คนที่ทำได้..เขาก็แนะเคล็ดไม่ลับว่า..ให้มีพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุติตา อุเบกขา ประกอบจะทำให้การรักษาศีลได้ง่าย ขึ้น... ให้เชื่อกฏแห่งกรรม คนที่ทำได้ยังบอกอีกว่า..ให้เริ่มรักษาศีลที่ใจ..ดูใจให้ดี ..ดูใจให้ดี..ถ้าใจมันอยากได้ อยากฆ่า อยากโกง..ก็ดูมัน..แล้วบอกมันว่า..อย่าทำโง่ ๆ นะ ของ ๆ ใคร ของใครก็รัก ก็ห่วง ..ถ้าใจมันจะโกหกเขา..ก็บอกมันว่า..น่าสงสารนะ อ่อนแอจังเลย แค่ความจริงมันก็ไม่กล้า..พูด..ดูที่ใจ..ดูที่ใจ |
เจ้าของ: | ไหว้พระปล่อยปลา [ 14 ก.ค. 2009, 12:05 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีลห้าแก้ปัญหาสังคมได้ทุกอย่าง | ||
;วันพระต้องถือศีลแปดครับสาธุ
|
เจ้าของ: | ตักบาตรถามพระ [ 17 ก.ค. 2009, 23:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีลห้าแก้ปัญหาสังคมได้ทุกอย่าง |
วันพระ ถือศีลแปด กัน ครับ เป็นกิจกรรม ที่ดีมากเลยครับ จะขอ ทำด้วย คนครับ โมทนาบุญด้วยครับ ![]() ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |