วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 12:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2015, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 23:17
โพสต์: 257

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประเภทธรรมะ
ชื่อเล่น: หยุย
อายุ: 0
ที่อยู่: ห้วยขวาง

 ข้อมูลส่วนตัว




1908136_388000711324787_21085355378403210381_n.jpg
1908136_388000711324787_21085355378403210381_n.jpg [ 75.97 KiB | เปิดดู 2196 ครั้ง ]
อริยสัจ ๔ และมรรค ๘

ในเมื่อสภาวะตามธรรมชาติของสรรพสิ่งคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงถูกบีบคั้นให้ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้เป็นทุกข์อยู่เนืองๆ พระพุทธเจ้าจึงทรงบอกวิธีจัดการกับความทุกข์ และวิธีออกจากทุกข์ให้แก่สรรพสัตว์ไว้ ดังนี้

อริยสัจ ๔

ทุกข์ ภาวะบีบคั้น และเป็นปัญหา --> ควรรู้และเข้าใจ
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ --> ควรกำจัด
นิโรธ ความดับทุกข์ --> ควรเข้าถึง
มรรค หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ --> ควรปฏิบัติ

หลักอริยสัจ ๔ นี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกปัญหาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือยิ่งใหญ่ ลึกซึ้งเพียงใด ก็สามารถใช้หลักอริยสัจเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ทั้งสิ้น

ในทางธรรม อริยสัจ ๔ คือหลักที่ใช้นำหมู่สัตว์ให้พ้นไปจากทุกข์และการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างถาวร ดังนี้

๑. ทุกข์ พระพุทธศาสนามองว่าความทุกข์ที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ความทุกข์ในขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่
- การเกิด
- การแก่
- การตาย
- การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
- การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
- การผิดหวัง

๒. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์มาจากอวิชชา คือความไม่เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นต้นเหตุใหญ่ของการเกิดกิเลส และตัณหาที่นำมาซึ่งความทุกข์

๓. นิโรธ ความดับทุกข์ เกิดจากการดับกิเลส และตัณหา ซึ่งทำได้ ๕ ระดับ ได้แก่
๑) การดับด้วยการใช้ฌาณ (สมาธิขั้นสูง) ข่มไว้
๒) การดับด้วยการใช้ธรรมคู่ตรงข้ามมาหักล้าง เช่น ใช้ปัญญาเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ ดับความยึดติดในตัวตน
๓) การดับอย่างเด็ดขาดด้วยการบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล
๔) การดับด้วยสภาวะสงบ ระงับปราศจากตัณหาของพระอริยบุคคล
๕) การดับด้วยการสลัดตัณหาออกได้อย่างถาวรด้วยนิพพาน

๔. มรรค หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ ทำได้ด้วยการดำรงชีวิตตามทางสายกลาง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งมีหลักอยู่ ๘ ประการ ได้แก่ มรรค ๘
๑) สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นในทางที่ถูกตรงตามธรรม
๒) สัมมาสังกัปปะ มีความตั้งใจในทางที่ถูกตรงตามธรรม
๓) สัมมาวาจา พูดในสิ่งที่ถูกตรงตามธรรม
๔) สัมมากัมมันตะ ทำในสิ่งที่ถูกตรงตามธรรม
๕) สัมมาอาชีวะ ประกอบอาชีพในทางที่ถูกตรงตามธรรม
๖) สัมมาวายามะ มีความเพียรในทางที่ถูกตรงตามธรรม
๗) สัมมาสติ รู้สึกตัวในทางที่ถูกตรงตามธรรม
๘) สัมมาสมาธิ มีความแน่วแน่ในทางที่ถูกตรงตามธรรม

สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เป็นปัญญาในไตรสิกขา
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เป็นศีลในไตรสิกขา
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิในไตรสิกขา

Source: อัจฉริยะ ๑๐๐ หน้า พระธรรมคำสอน โดย ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัฒนา
Credit pic: Sahamongkolfilm international

-HS Thailand Admin-

.....................................................
สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
ทุกอย่างไม่ควรยึดถือ
อกุศลน้อยนิด อย่าคิดทำ
กุศลน้อยนิด ให้คิดทำ
ทำกุศลวันละนิด ดีกว่าคิดที่จะทำ

พระพุทธองค์ยังถูกนินทา
ประชาชนธรรมดามีหรือจะหนีพ้น

ไม่อยากทุกข์แต่ก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่เรียนรู้ทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2015, 06:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 10:07
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร