วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 06:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 16:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. พระพุทธเจ้า
หลักพระพุทธศาสนา

๑. พระพุทธเจ้า
ประสูติ คำทำนายคติ
ในชมพูทวีป ซึ่งเป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน
และเนปาลในบัดนี้ ในมัชฌิมชนบทคือในภูมิประเทศ
ส่วนกลางของชมพูทวีปนั้น เมื่อก่อนพุทธศก ๘๐ ปี
ศาสดาเอกของโลกได้ประสูติแล้ว
ที่อุทยานลุมพินีวัน ตั้งอยู่
ในกึ่งกลางแห่งนครกบิลพัสดุ์และนครเทวทหะ
เมื่อ ณ วันบุรณมี (วันเพ็ญ) เดือนเวสาขะ (ตรง
กับวันเพ็ญเดือน ๖ ในปีปกติ เดือน ๗ ในปีมีอธิกมาส
ตรงกับเดือนพฤษภาคมเป็นพื้น)
เป็นโอรสแห่งพระเจ้าสุทโธทนะ ศากยะ กับ
พระนางมายา กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
เป็นพระราชกุมารในศากยราชตระกูล
โคตมโคตร อยู่ในฐานะ
เป็นองค์รัชทายาทแห่งพระราชบิดา
พระราชกุมารทรงมีพระรูปลักษณะงามสง่า
ต้องด้วยมหาบุรุษลักษณะตามตำรับของพราหมณ์
ซึ่งมีทำนายไว้ว่า มหาบุรุษผู้ประกอบ
ด้วยลักษณะเหล่านี้จักมีคติเป็น ๒ คือถ้า
อยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นจักรพรรดิราช
พระราชาเอกในโลก ถ้าออกผนวช จักได้ตรัส
เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาเอก
ในโลก ดังกล่าวว่า เมื่อพระราชกุมารประสูติ
ใหม่ มีดาบสองค์หนึ่งชื่ออสิตะ ผู้อาศัยอยู่ข้าง
เขาหิมพานต์ ผู้คุ้นเคยและ
เป็นที่นับถือของราชตระกูล ได้เข้าไปเฝ้าเยี่ยม
ได้เห็นพระลักษณะนั้นแล้วไม่อาจยอม
ให้พระราชกุมารนมัสการตน
กลับกราบลงที่พระบาทของพระราชกุมารเอง
แล้วกล่าวทำนายลักษณะของพระราชกุมารดังกล่าว
นั้น
ศึกษา อภิเษก
เมื่อประสูติแล้วได้ ๕ วัน พระราชบิดา
ได้ประกอบพระราชพิธีขนานพระนามพระราชกุมารว่า
“สิทธัตถะ” แปลว่า “ผู้สำเร็จประโยชน์ที่ประสงค์”
เมื่อประสูติแล้วได้ ๗ วัน พระนางมายา
พระมารดาสิ้นพระชนม์ พระเจ้าสุทโธทนะ
จึงมอบพระราชโอรสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระมาตุจฉา (น้า เป็นพระน้องของพระนางมายา)
บำรุงเลี้ยงต่อมา พระนางได้ทรงทำนุบำรุงเลี้ยง
เป็นอย่างดี แม้ในต่อมาทรงมีพระราชบุตร
ทรงพระนามว่า “นันทะ”
และพระราชบุตรีทรงพระนามว่า “รูปนันทา”
ก็ทรงทำนุบำรุงไม่ยิ่งกว่า พระสิทธัตถะกุมาร
จึงทรงได้รับทะนุถนอมบำรุงเลี้ยงอย่างดียิ่งมา
โดยลำดับ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๗ ปี
พระราชบิดาตรัสให้ขุดสระโบกขรณี ๓ สระ
ปลูกบัว ๓ อย่าง อย่างละสระ
ในพระราชนิเวศน์ตกแต่งให้
เป็นที่เล่นสำราญพระหฤทัย
และจัดประทานเครื่องเล่น เครื่องทรง
เครื่องประดับตกแต่ง ล้วนเป็นของประณีต
มีคนคอยปฏิบัติทะนุถนอมระแวดระวังทุกเวลา
ครั้นมีพระชนมายุเจริญควรจะศึกษาศิลปวิทยา
ได้ พระราชบิดาจึงทรงมอบหมายให้ศึกษา
ในสำนักครูวิศวามิตร
พระสิทธัตถะกุมารทรงเรียนได้ว่องไวจนสิ้น
ความรู้อาจารย์แล้ว ได้แสดงให้ปรากฏ
ในที่ประชุมเป็นที่รับรองว่าทรงมีความรู้ความ
สามารถเป็นอย่างยอดเยี่ยม ครั้นมีพระชนม์ได้ ๑๖
ปี พระราชบิดาโปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลัง
เพื่อเป็นที่เสด็จอยู่แห่งพระราชโอรสใน ๓ ฤดู
ตรัสขอพระราชบุตรีแห่งพระเจ้าสุปปพุทธะ
ในเทวทหนคร มีพระนามว่า “ยโสธรา” หรือ “
พิมพา”
อันประสูติแต่พระนางอมิตาพระกนิฏฐภคินีของพระองค์
มาอภิเษกเป็นพระชายา
พระราชกุมารทรงเสวยสุขสมบัติตามฆราวาสวิสัยบริบูรณ์ตลอดมาจนมีพระชนมายุ
ได้ ๒๙ ปี
มีพระโอรสประสูติแต่พระนางยโสธราองค์หนึ่ง
ทรงพระนามว่า “ราหุล”
คุณลักษณะของมหาบุรุษโพธิสัตว์
พระสิทธัตถกุมารแม้จะทรงถูกผูกพัน
ด้วยอภิรมย์สมบัติต่างๆ เพื่อให้เสด็จ
อยู่ครองฆราวาส มิให้เสด็จออกทรงผนวช
แต่พระองค์ทรงเป็นมหาบุรุษหรือบุคคลชั้นยอด
เป็นโพธิสัตว์ คือผู้พอใจรักในการแสวงหาความรู้
ความจริง พร้อมทั้งพอใจรักในความดีความบริสุทธิ์
และในสรรพสัตว์ด้วยเมตตากรุณา
ทรงมีพระปัญญา มีความดีความบริสุทธิ์
และมีพระกรุณาสูงกว่าสามัญชน จะกล่าวว่าทรง
เป็นผู้มีกำหนดจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จึง
ไม่ทรงลุ่มหลงไปในเครื่องอภิรมย์ต่างๆ
อย่างงมงาย ทรงเห็นประโยชน์ที่ควรทำว่าค่าสูงกว่า
ทั้งทรงเข้มแข็งสามารถเพื่อที่
จะสละอภิรมย์สุขต่างๆ เพื่อประกอบประโยชน์กิจ
แม้จะทำได้ยากสักเพียงไรก็ตาม
พระคุณสมบัติดังกล่าวนี้พึงเห็นได้
จากพระประวัติตั้งแต่ต้น
พระคุณสมบัติที่ควรถือเป็นตัวอย่าง
เมื่อทรงอยู่ในวัยศึกษาศิลปวิทยา
ก็ทรงบากบั่นศึกษาจนสำเร็จเป็นอย่างดีเยี่ยม
เพราะทรงสละความเกียจคร้าน
และการเล่นการสนุกตลอดถึงอภิรมย์สุขต่างๆ
ที่เป็นอุปสรรคอันตรายต่อการศึกษาอันมี
อยู่อย่างฟุ่มเฟือย มีพระหฤทัยรักในการศึกษา
และพากเพียรแสวงหาความรู้เพียงอย่างเดียว
ไม่พะวักพะวนแวะเวียนไปเสียในเรื่องอื่น ข้อนี้จึงควร
เป็นตัวอย่างของผู้ที่กำลังอยู่ในวัยหรือสมัยศึกษา
ทั่วไป ที่จะมีแต่ความพอใจรักเรียนรักศึกษา
แสวงหาความรู้จนสำเร็จ
เมื่อทรงเจริญพระวัยขึ้นเป็นพระดรุณ
ถึงคราวควรอภิเษกจึงทรงอภิเษก
ด้วยพระราชกุมารีที่คู่ควรกัน
ประกอบพิธีการตามพระราชประเพณี
ไม่มีข้อพึงครหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้ควร
เป็นตัวอย่างของผู้ประสงค์จะมีคู่ครองทั่วไป ในอันที่
จะรอให้ถึงกาลเวลาอันสมควรและปฏิบัติ
ในทางที่ถูกที่ควร ยอมให้มีการพินิจพิจารณา
โดยรอบคอบ ทั้งทางฝ่ายตนเอง ทั้งทางฝ่ายผู้
ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ทำผลุนผลันไปตามลำพังใจที่วิ่ง
เร็วแรงของคนดรุณวัย ซึ่งจะเป็นเหตุ
ให้เสียใจภายหลัง
เมื่อทรงอภิเษกมีพระชายาแล้ว
ก็ทรงปฏิบัติหน้าที่ระหว่างกันด้วยดี
ไม่ปรากฏว่ามีการร้าวฉาน มีความสมัครสามัคคี มี
ความสุขสมบูรณ์ในฆราวาส ข้อนี้ควร
เป็นตัวอย่างของผู้ครองเรือนทั่วไป ในอันที่
จะครองเรือนให้ดี ให้มีความเรียบร้อยสงบสุข
ในครอบครัวด้วยทุกฝ่ายต่างปฏิบัติชอบในหน้าที่ต่อ
กัน ไม่นอกใจกัน อะลุ้มอล่วยสมัครสมานกัน
พระสิทธัตถกุมาร แม้จะไม่มีแสดงไว้โดยตรงว่า
ได้ทรงปกครองแว่นแคว้น แต่ก็พึงเห็นว่าได้ทรง
ช่วยพระราชบิดาในการปกครองเป็นแน่
เพราะทรงเป็นเจ้านายในราชตระกูล
ซึ่งมีหน้าที่ปกครองประชาชน ทรงตั้งอยู่ในฐานะ
เป็นทายาทของพระราชบิดา
เหตุอีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือทรง
เป็นมหาบุรุษโพธิสัตว์ผู้มีพื้นเพฉลาดหลักแหลม
มีพระอัธยาศัยดีบริสุทธิ์เต็มไปด้วยเมตตากรุณา
จึงทำให้อยู่มืดๆ มิได้ ต้องคิด
ให้เห็นเหตุผลจนสว่างกระจ่างแจ้ง และเมื่อเห็นใคร
เป็นทุกข์เดือดร้อน อย่างน้อยในที่เฉพาะตา
แล้วก็ทนเฉยอยู่มิได้ ต้องขวนขวายช่วยอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง อันอัธยาศัยที่ทนอยู่จะไม่ช่วยทุกข์ใครมิ
ได้นี้เป็นลักษณะของมหาบุรุษโดยแท้ ข้อนี้ควร
เป็นตัวอย่างของผู้มีหน้าที่ปกครองตั้งแต่ส่วนน้อย
เช่นภายในครอบครัว ภายในวงธุรกิจย่อยๆ ต่างๆ จน
ถึงในส่วนใหญ่ขึ้นไปโดยลำดับ ในอันที่จะสำเนียกให้มี
ความรอบรู้เพียงพอ ทำความดี มี
ความบริสุทธิ์สะอาด ประกอบด้วยเมตตากรุณา นำผู้
อยู่ในปกครองไปสู่ความสว่าง ความสุข ความเจริญ
ทำให้อยู่ด้วยกันเป็นสุข ไม่ขาดแคลนคับแค้น
ไม่หวาดระแวงนอนสะดุ้ง เหมือนอย่างอยู่ด้วยกัน
ในระหว่างญาติมิตรเป็นที่รัก
ถึงเวลาจะทรงผนวช ทรงเห็นเทวทูต
พระราชกุมารได้ประทับเสวยสุขสำราญ
ในท่ามกลางสุขสมบัติอันพึงอภิรมย์ต่างๆ ล่วงปีมา
โดยลำดับ ความบริบูรณ์ต่างๆ มิได้บกพร่อง
คงมีบำรุงบำเรออยู่อย่างพรักพร้อม แม้อย่าง
นั้นทุกอย่างก็ไม่อาจผูกพันกั้นกางบุคคลผู้
เป็นมหาบุรุษโพธิสัตว์ไว้ได้ เวลาดังกล่าวได้มาถึง
เข้าแล้ว เมื่อพระสิทธัตถกุมาร
ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตคือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย
และสมณะ
ในระหว่างทางเมื่อเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ๔
วาระโดยลำดับกัน
พระโพธิสัตว์ทรงสังเวชพระหฤทัยเพราะ
ได้ทอดพระเนตรเห็น ๓ เทวทูตข้างต้น
ทรงพอพระหฤทัยในบรรพชาเพราะ
ได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะ จนถึงน้อมพระหฤทัย
จะเสด็จออกไปบรรพชา
เทวทูต แปลว่า ทูตเทพยดา อย่างที่พูด
กันว่าทูตสวรรค์ ท่าน
จึงแสดงตามศัพท์ว่าทูตที่เทพยดาสร้างนิมิตไว้ เพื่อ
ให้พระราชกุมารทอดพระเนตรเห็น
แต่ท่านก็แสดงไว้โดยความว่า
พระโพธิสัตว์ทรงปรารภถึงความแก่ เจ็บ ตาย
อันครอบงำมหาชนทุกคน ทรงดำริแสวงหาทางพ้น
อันเรียกว่าโมกขธรรม (ธรรมเป็นเครื่องพ้น)
ทรงเห็นว่าสภาพทั้งปวงย่อมมีของแก้กัน เช่นมีร้อน
แล้วก็มีเย็นแก้ มีมืดแล้วก็มีสว่างแก้ บางที
จะมีทางแก้ทุกข์ ๓ อย่างคือ แก่ เจ็บ ตาย นี้ได้ แต่ถ้ายัง
อยู่ในฆราวาสก็ไม่มีโอกาสปฏิบัติแสวงหา
ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสแสวงหาได้ จึงมีพระดำริ
จะเสด็จออกบรรพชา ไม่ใยดีในฆราวาสสมบัติ
ในเวลาอื่นเมื่อทรงเห็นคนแก่ เจ็บ ตาย และสมณะ
ก็มิได้ทรงปรารภจนเห็นจริง ส่วน
ในเวลาสุดท้ายนี้ทรงปรารภจนเห็นความจริง
จึงเรียกว่าได้ทรงเห็นเทวทูต
ผนวช ตรัสรู้
เมื่อพระโพธิสัตว์
ได้ทรงปรารภเห็นประโยชน์ของการบรรพชา
ก็ตัดพระหฤทัยรักในพระชายา และพระโอรส
ซึ่งประสูติใหม่ กับทั้งบุคคลและวัตถุที่รักทั้งปวง
แล้วเสด็จออกผนวชเที่ยวจาริกไปแต่พระองค์เดียวเมื่อมีพระชนมายุ
ได้ ๒๙ ปี ด้วยพระหฤทัยมุ่งมั่นจะได้โมกขธรรม อัน
เป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่โลก ไม่ใยดีสิ่งอื่นทั้งหมด
ตามวิสัยของมหาบุรุษโพธิสัตว์ ได้เคยประทับ
อยู่บนปราสาท แวดล้อมด้วยบุคคล
และวัตถุที่พึงอภิรมย์ ก็ต้องมาประทับอยู่องค์เดียว
แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ภูเขาและสัตว์ป่านานาชนิด
เคยเสด็จพระราชยานต่างๆ ก็ต้องเสด็จ
ด้วยพระบาท บนภาคพื้นตามธรรมชาติ เคยมี
ผู้ตั้งเครื่องเสวยถวายบริบูรณ์ ก็
ต้องเสด็จภิกขาจาร ได้อาหารพอเสวยบ้าง ไม่พอบ้าง
ตามแต่เขาจะถวาย แต่พระโพธิสัตว์ก็ไม่ทรงย่อท้อ
ทรงปฏิบัติแสวงหาโมกขธรรมเรื่อยไป ในขั้นแรก
ได้เสด็จไปสู่สำนักของดาบส ๒ ท่าน คือ อาฬารดาบส
กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร
ทรงศึกษาจนสิ้นความรู้ของอาจารย์ทั้ง ๒
โดยลำดับแล้ว ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้
จึงเสด็จหลีกออกไปปฏิบัติในทางทรมานพระกาย
ให้ลำบาก อันเรียกว่าทุกรกิริยา (การทำที่ทำ
ได้ยาก) โดยลำพังพระองค์
ทรงทดลองเปลี่ยนไปให้ลำบากยิ่งยวดเข้าทุกที
จนถึงขั้นยิ่งยวดอย่างที่สุดไม่มีโยคีอื่นจะทำ
ให้เกินขึ้นไปกว่าได้แล้ว ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้
จึงทรงเลิก ทรงบำรุงพระกาย
ให้กลับมีพระกำลังขึ้น แล้วทรงเริ่มปฏิบัติทางจิต
ซึ่งเรียกในภายหลังว่าอริยมรรค มีองค์ ๘ จึง
ได้ตรัสรู้ธรรม หรือเรียกว่าตรัสรู้อริยสัจ ๔
ณ ควงโพธิพฤกษ์ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
แคว้นมคธ ในราตรีวันบุรณมี เดือนเวสาขะ เช่นเดียว
กับเมื่อประสูติ เมื่อมีพระชนมายุ ๓๕ ปี เมื่อตรัสรู้
แล้วได้พระนามว่า “พุทธะ” “ผู้ตรัสรู้” เรียกกันว่า
“พระพุทธเจ้า” ทรงได้โมกขธรรมเมื่อได้ตรัสรู้
นั้นแล
ความไม่ยอมแพ้ และความเสียสละเพื่อประโยชน์
ส่วนใหญ่
พระสิทธัตถกุมารทรงเป็นมหาบุรุษโพธิสัตว์
จึงทรงมีความคิดสูงก้าวล่วงสามัญชน
สิ่งที่คนธรรมดาได้ยินได้เห็นแล้วไม่คิด ก็ทรงคิด
และคิดจนพบเหตุผล คิดจนไม่ติดในเหตุผล ถ้า
ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาก็คง
ไม่เกิดขึ้นในโลก ข้อนี้ควรเป็นตัวอย่างของบุคคล
ทั่วไป ในอันที่จะใช้ความสังเกตและคิดหาเหตุผล
ในสิ่งที่ประสบพบผ่าน ให้เหมือนอย่างคนตาดีดูรูป มิ
ใช่เหมือนคนตาบอดดูรูป และเมื่อมองเห็นทุกข์
หรืออุปสรรคอันตรายต่างๆ ก็ไม่ยอมอับจนพ่ายแพ้
เพราะต้องมีสิ่งที่แก้กันได้อย่างแน่นอน จึง
ต้องพยายามหาสิ่งที่อาจแก้กันได้นั้นให้ได้ ผู้ประสบ
ความสำเร็จทุกคนในกิจการทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือ
ใหญ่ก็เพราะมองเห็นเหตุผล เมื่อพบอุปสรรคก็
ไม่ยอมแพ้ พยามยามแก้ไขจนสำเร็จ ในการแก้ไข
หรือในการปฏิบัติเพื่อให้สำเร็จประโยชน์จำ
ต้องมีการเสียสละ แต่การเสียสละที่ถูกต้อง
นั้นหมายถึงเสียสละสุขส่วนน้อยเพื่อสุขที่ไพบูลย์
เช่นสละสุขเฉพาะตนเพื่อสุขส่วนรวม
หรือสละดังที่ท่านแนะนำไว้ว่า “
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ
พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต พึงสละทั้งทรัพย์
ทั้งอวัยวะตลอดถึงชีวิตเพื่อรักษาธรรม”
ในประการสุดท้ายนี้ พึงเห็นพระโพธิสัตว์
เป็นตัวอย่าง เพราะในเย็นวันที่ตรัสรู้
เมื่อประทับนั่งลงบนฟ่อนหญ้าคาที่ทรงเกลี่ย
เป็นที่ประทับนั่ง ณ ภายใต้โพธิพฤกษ์แล้ว ก็
ได้ทรงตั้งพระหฤทัยเด็ดเดี่ยว ความว่า “เนื้อ
และเลือดจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนัง เอ็นกระดูก
ก็ตามที ยังไม่บรรลุถึงธรรมเพียงใด ก็จัก
ไม่ลุกขึ้นเพียงนั้น” จึงชื่อว่า
ได้ทรงยอมสละทุกอย่างเพื่อธรรม ข้อนี้ควร
เป็นตัวอย่างของบุคคลผู้มุ่งบำเพ็ญคุณประโยชน์
ทั่วไป ในอันที่จะไม่มุ่งสุขประโยชน์เฉพาะตนเท่านั้น แต่
ให้มุ่งกว้างออกไป และยอมเสียสละประโยชน์สุข
ส่วนน้อยนั้นเพื่อส่วนใหญ่ คนที่
สามารถทำคุณประโยชน์แก่หมู่ชนก็เพราะ
สามารถสละเพื่อหมู่ชน ถ้าไม่สามารถสละก็ไม่
สามารถสร้างคุณประโยชน์อะไรได้เลย แต่
ทั้งนี้ก็ต้องยึดธรรมเป็นหลัก ไม่เช่นนั้นก็จะกลาย
เป็นสละทางถูกไปถือเอาทางที่ผิด ตรงกันข้าม
กับพระพุทธจรรยา
ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ
พระพุทธเจ้า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้
เรียกว่าพระโพธิสัตว์ ผู้ใฝ่แสวงรู้ ครั้นตรัสรู้
แล้วจึงเรียกว่าพระพุทธะ ผู้รู้แล้วบริบูรณ์
พระพุทธเจ้าทรงรู้แล้วบริบูรณ์ด้วย
บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วย มีพระกรุณาบริบูรณ์ด้วย
ฉะนั้น เพราะพระกรุณา
จึงทรงดำริเพื่อแสดงธรรมโปรดโลก
ทรงอธิษฐานพระหฤทัยจะดำรงพระชนม์อยู่จนกว่า
จะตั้งพระพุทธศาสนาและมีบริษัท ๔ คือ ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ลงมั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่หมู่ชนทุกเหล่า
ครั้นทรงดำริอธิษฐานพระหฤทัยจะทรงดำรง
อยู่ก่อนเพื่อโปรดโลกดังนี้แล้ว
จึงเสด็จเที่ยวจาริกไปในแว่นแคว้น จังหวัด อำเภอ
ตำบล หมู่บ้านนั้นๆ
ทรงแสดงธรรมสั่งสอนคนที่ควรสั่งสอนแนะนำที่เรียกว่า
เวไนย ให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงบ้าง
อย่างกลางบ้าง อย่างต่ำบ้าง ไม่เลือกชาติ ชั้น
วรรณะ ยากดีมีจน ทรง
สามารถประกาศพระศาสนา
ให้คณาจารย์เจ้าลัทธิผู้มีชื่อเสียงมีศิษย์มาก
ให้คนชั้นสูงผู้มีกำลังอำนาจ คือกษัตริย์ อำมาตย์
มนตรี เป็นต้น ให้คนคงแก่เรียนคนฉลาดเช่น
พราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงต่างๆ ตลอดจนถึงเศรษฐีคฤหบดี
มีศรัทธาเลื่อมใสยอมรับนับถือ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็
เป็นเครื่องชักจูงคนอื่นๆ ให้เข้านับถือได้ง่าย
อย่างน้อยก็ทำให้เกิดสนใจ และเป็นวิธีให้เกิด
ความสวัสดีจากภัยทางการเมืองเป็นต้นทั่วกัน เพราะ
ผู้ปกครองบ้านเมืองก็ได้นับถือแล้ว กล่าวโดยสรุป
ได้ทรงบำเพ็ญพุทธจริยาบริบูรณ์ คือ
โลกัตถจริยา ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก
ได้แก่ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่มหาชนที่นับว่า
เป็นสัตว์โลกทั่วไป
เช่นทรงแผ่พระญาณเล็งดูสัตว์โลกทุกเช้าค่ำ ผู้
ใดปรากฏในข่ายพระญาณก็ได้เสด็จไปโปรดผู้นั้น
ญาตัตถจริยา ทรงประพฤติ
เป็นประโยชน์แก่พระญาติ หรือโดยฐานะ
เป็นพระญาติ เช่นเสด็จไปโปรดพระญาติ ณ
นครกบิลพัสดุ์ เสด็จไปห้ามพระญาติฝ่ายศากยะ
และโกลิยะผู้วิวาทถึงกับจะรบกันด้วยเหตุแห่งน้ำ
เข้านา พุทธัตถจริยา ทรงประพฤติประโยชน์
โดยฐานะเป็นพระพุทธเจ้า เช่นทรงแสดงธรรม
ทรงบัญญัติพระวินัย ประดิษฐานพระพุทธศาสนา
และบริษัท ๔ ให้ยั่งยืนสืบมา กล่าวสั้นๆ
ว่าทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เหตุฉะนี้จึงทรง
ได้รับยกย่องเป็นพระศาสดาเอกของโลก
นิพพาน
พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปด้วยพระบาทเปล่า
โปรดมหาชนในแว่นแคว้นต่างๆ
ประดิษฐานพระพุทธศาสนาและบริษัท ๔
ให้ตั้งมั่นแพร่หลาย สำเร็จดังที่
ได้ทรงอธิษฐานพระหฤทัยไว้แล้ว
จึงทรงปลงอายุสังขาร กำหนดพระหฤทัยว่า
จะปรินิพพาน แม้เช่นนั้นก็
ได้เสด็จจาริกไปโปรดมหาชนต่อไป จนถึงวันบุรณมี
เดือนเวสาขะ ก่อนพุทธศก ๑ ปี
แม้กำลังประชวรลงพระโลหิตก็ได้เสด็จดำเนิน
ด้วยพระบาทต่อไปจนถึงสาลวโนทยานเมืองกุสินารา
ที่ได้ทรงกำหนดพระหฤทัยว่าจะเป็นที่ปรินิพพาน
ได้เสด็จผทมตะแคงเบื้องขวา อันเรียกสีหไสยา
บนพระแท่นระหว่างไม้สาละทั้งคู่
ประทานโอวาทอนุศาสน์ภิกษุสงฆ์จนสิ้นสงสัยทั้งปวง
แล้ว ได้ตรัสปัจฉิมพจน์ (คำสุดท้าย) ความว่า “บัดนี้
เราขอกล่าวเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำความ
ไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด” ดังนี้แล้ว
ไม่ตรัสอีกต่อไป ทรงผทมเพ่งพระหฤทัยนิ่งสงบ
แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพานในราตรีวันบุรณมี
เดือนเวสาขะนั้น นับพระชนมายุได้ ๘๐ ปี
ทรงประกาศพระศาสนาได้ ๔๕ ปี นับรัฐ
ใหญ่ที่เสด็จจาริกไปประกาศพระศาสนาได้ ๗ รัฐ
ตรงกับที่กล่าวว่า เมื่อประสูติเสด็จดำเนินไป
ด้วยพระบาท ๗ ก้าว
ปฏิปทาของพระพุทธเจ้าแม้ตั้งแต่ตรัสรู้จนถึงนิพพาน
เป็นเนติที่พึงนำไปปฏิบัติตามได้เป็นอันมาก เป็นต้นว่า
ควรมีกรุณาช่วยเปลื้องทุกข์แก่ผู้อื่นตามที่สามารถ
ควรฉลาดในอุบาย คือวิธีการที่จะทำ
ให้สำเร็จประโยชน์ ควรปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์
ควรตั้งใจว่าจะทำอะไรให้ได้สักเท่าไรในวิสัยของตน
แล้วทำให้สำเร็จ ข้อสำคัญคือควรทำความ
ไม่ประมาทอยู่เสมอ
สรุปพระคุณ
สรุปกล่าวโดยพระคุณ
พระพุทธเจ้าทรงบริบูรณ์ด้วยพระปัญญาคุณ (
พระคุณคือปัญญา) พระวิสุทธิคุณ (พระคุณคือ
ความบริสุทธิ์) พระกรุณาคุณ (พระคุณคือกรุณา)
ดังบทสวดพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พุทฺโธ
ผู้รู้จริง สุสุทฺโธ บริสุทธิ์จริง กรุณามหณฺณโว
มีกรุณาจริงดังห้วงทะเลหลวง
เพราะฉะนั้น ทุกๆ
คนพึงตั้งใจนอบน้อมพระพุทธเจ้าตามบทนโม ว่า “นโม
ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาค (คือพระ
ผู้จำแนกแจกธรรมสั่งสอนประชุมชน – กรุณาคุณ)
พระอรหันต์ (คือพระผู้ควรบูชาสักการะเป็นต้น –
วิสุทธิคุณ) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (คือพระ
ผู้ตรัสรู้ชอบเอง – ปัญญาคุณ) พระองค์นั้น”
ด้วยประการฉะนี้
๔ เมษายน ๒๕๐๒
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งจากทั้งหมด ๓๕ กัณฑ์
ในเรื่องหลักพระพุทธศาสนา
ที่ส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 16:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักพระพุทธศาสนา
๒. พระธรรม
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้พระธรรมแล้ว ก็
ได้มีพระกรุณาแสดงพระธรรมสั่งสอนแก่โลก
พระธรรมจึง
เป็นสมบัติเลิศล้ำที่พระพุทธเจ้าประทานแก่โลก
ยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้
พระธรรมเป็นสมบัติสำหรับประดับใจให้งดงาม
บำรุงใจให้วัฒนะ (เจริญ) ทำให้คนเป็นคน
โดยสมบูรณ์ ให้เป็นกัลยาณชน (คนงาม) ให้
เป็นอารยชน (คนเจริญ คนประเสริฐ) และให้อยู่
เป็นสุขสงบ ถ้าเทียบอย่างสมบัติภายนอกก็เทียบได้
กับโภคสมบัติเครื่องบำรุงร่างกายและชีวิต
ให้เจริญเติบโต ให้ดำรงอยู่ และอาภรณ์สมบัติ
เครื่องประดับตบแต่งร่างกายให้งดงาม
เพื่อกำหนดง่าย จักได้แสดงพระธรรมเป็นข้อๆ
ไปตามปัญหาว่า อะไร อย่างไร ทำไม เพื่ออะไร
เป็นต้น
อะไร
๑. คำว่า ธรรม แปลว่าอะไร
และพระธรรมคืออะไร? คำว่า ธรรม แปลว่า
ทรงไว้ หมายถึงทรงตัวเองคือคงตัวอยู่เสมอ
และหมายถึงทรงคือรักษาคนที่มีธรรมไว้ให้
เป็นตามธรรม ฉะนั้น ธรรมจึง
เป็นกฏธรรมดาที่คงตัวอยู่เสมอ ใครจะค้นพบหรือ
ไม่ ธรรมก็คงเป็นธรรม คือเป็นกฏธรรมดา
อยู่นั่นเองตลอดไป เทียบอย่างกฏธรรมชาติต่างๆ
ที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้ค้นพบ
กฏธรรมชาติเหล่านี้คงมีอยู่คู่กับโลก ใครจะ
ค้นพบหรือไม่ก็คงมีอยู่อย่างนั้นนั่นเอง
พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระธรรม ก็คือ ได้ทรง
ค้นพบกฏธรรมดาของโลกที่นำให้ออกไปหรือ
ให้พ้นไปจากความทุกข์ทั้งปวงได้ กล่าวแต่เพียง
ส่วนหนึ่ง คือทรงค้นพบกฏธรรมดาที่เป็นไป
ในชีวิตของคน ว่าคนประสบผลต่างๆ ในชีวิตอย่างนี้
เพราะเหตุอย่างนี้ หรือเพราะทำเหตุนี้จึง
ได้รับผลอย่างนี้ เหมือนอย่างสอบไล่ได้
เพราะตั้งใจเรียนดี หรือเพราะทำดีจึงได้รับชมว่า
เป็นคนดี
ปรากฏการณ์หรือทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างที่ปรากฏ
ในโลก ดังเช่น ตะวัน เดือน ดาว
ที่มองเห็นเมื่อแหงนขึ้นไปดูบนฟ้า
พื้นแผ่นดินที่มองเห็นเมื่อทอดตาดู พืชพันธุ์ ผู้คน
สัตว์นานาชนิด อาคารบ้านเรือน และสิ่งต่างๆ
ที่มองเห็นเมื่อเหลียวดูรอบๆ ตลอดทั้งความสว่าง
ความมืด ความหนาว ความร้อน เป็นต้น
ที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ ล้วนมีเหตุผล
มีกฎเกณฑ์ คือ
เป็นไปตามกฎธรรมชาติธรรมดาที่แน่นอน ฉันใด
ความเป็นไปแห่งชีวิตของคน หรือที่เรียกวิถีชีวิต
ก็มีเหตุผลมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ฉันนั้น
พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้กฎธรรมดาเหล่านี้ทั้งหมด
จึงมีคำเรียกพระนามว่า พระสัพพัญญู แปลว่า
พระผู้รู้สิ่งทั้งปวง แต่ถึงแม้จะทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
แต่ก็ทรงเลือกแสดงสั่งสอนแก่โลกเฉพาะที่จะ
ให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังเท่านั้น ฉะ
นั้นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอน
จึงจำกัดเฉพาะข้อที่อาจนำไปปฏิบัติให้เกิด
เป็นประโยชน์ขึ้นได้เท่านั้น
ถ้าจะตั้งปัญหาว่า พระธรรม หมาย
ถึงเฉพาะธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอนคืออะไร
ก็พึงตอบได้โดยย่อว่า คือกฎธรรมดา
หรือธรรมดา คือความจริงที่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ต่างๆ ความจริงเหล่านี้
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอนเองก็ตาม ที่ท่านผู้รู้
อื่นๆ แสดงตามพระพุทธเจ้าก็ตาม
เรียกว่าพระธรรมทั้งนั้น พระพุทธเจ้า
ได้ทรงแสดงพระธรรมดังกล่าว
ในรูปของศาสนาที่แปลว่า คำสั่งสอน คือวาง
เป็นสูตรสำหรับปฏิบัติได้ทีเดียว ดังเช่นทรงแสดงว่า
“ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม
ชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว” นี้
เป็นรูปศาสนา คือคำสั่งสอนที่วางรูปเป็นสูตรปฏิบัติ
ไว้เลย
ใครมีเพียงศรัทธา คือความเชื่อเพียงอย่างเดียว ก็
สามารถปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ของตนได้ และ
ถ้าประสงค์จะใช้ปัญญา
คือพิสูจน์เหตุผลต้นปลายของสูตรสำเร็จนี้ ก็ทำได้
แต่ต้องตั้งใจศึกษาพระพุทธศาสนา
ทั้งด้านพระปริยัติ คือแบบแผนตำรับตำรา
ทั้งด้านปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ก็จะได้ข้อพิสูจน์ ได้ความ
เข้าใจชัดเจนขึ้นทุกที จนหมดสงสัย
ตัวศาสนาคือคำสั่งสอนนี้
ทั้งหมดก็เรียกว่าพระธรรม
อันที่จริงตัวธรรม คือธรรมดา คือความจริง
กับศาสนา คือคำสั่งสอน ต้องประกอบกันกลมกลืน
รับรองกัน จึงจะจริงแท้ถูกต้อง
เหมือนอย่างธรรมชาติ หรือกฎธรรมชาติ
และทฤษฏีว่าด้วยธรรมชาติ ถ้าทฤษฏีนั้น
ยังผิดพลาดบกพร่องจากธรรมชาติที่ปรากฏ
เป็นไปจริง ก็ยังไม่เป็นทฤษฏีที่บริสุทธิ์สมบูรณ์ ยังไม่
อยู่ตัว ต้องแก้ไขกันต่อไป แต่ถ้าทฤษฏีนั้นไม่มีผิดที่จะ
ต้องแก้ ไม่มีบกพร่องที่จะต้องเพิ่มเติม จึง
เป็นทฤษฏีที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ เป็นทฤษฎีที่อยู่ตัว ไม่
ต้องแก้ไขเพิ่มเติมกันต่อไป ฉันใด ในเรื่องของ
ความจริงและคำสั่งสอนก็ฉันนั้น ถ้าคำสั่งสอน
ยังผิดพลาดบกพร่องจากความจริง ก็ยัง
เป็นคำสั่งสอนที่ไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ยังไม่อยู่ตัว
ต้องแก้ไขกันต่อไป แต่ถ้าคำสั่งสอนนั้นไม่มีผิดที่จะ
ต้องแก้ ไม่มีบกพร่องที่จะเพิ่มเติม ถูกต้องกับ
ความจริงตลอดไปหมด จึงเป็นคำสั่งสอนที่อยู่ตัว ไม่
ต้องแก้ไขเพิ่มเติมกันต่อไป
คำสั่งสอนที่อยู่ตัวบริบูรณ์ดังกล่าวนี้แหละ
คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เรียกว่าพระพุทธศาสนา
แปลว่าศาสนาคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า (พระ
ผู้รู้แล้วบริบูรณ์) พระพุทธศาสนาจึง
เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ดังมีคำกล่าวไว้แปล
ความว่า พระธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด (คือถูกต้องกับความจริงตลอดไปทั้งหมด
)
กล่าวแสดงข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างประเสริฐ
พร้อมทั้งอรรถ (ความ) พร้อมทั้งพยัญชนะ (
ถ้อยคำ) บริบูรณ์ (ไม่มีข้อบกพร่องที่จะเพิ่มเติม)
บริสุทธิ์ (ไม่มีข้อผิดพลาดที่จะต้องแก้ไข) สิ้นเชิง
เพราะเหตุนี้ จึงมีบทสวดสรรเสริญพระธรรมว่า
สฺวากขาโต ภควตา ธมฺโม ธรรมอันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวดีแล้ว ดังนี้
อย่างไร
๒. พระธรรมดังกล่าวนั้นเป็นอย่างไร ?
พระธรรมดังกล่าวนั้นเป็นความจริง
ในตนเองของทุกๆ คน
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนว่าควรจะทำอย่างไรกับ
ความจริงนั้น
ความจริงตรงกันข้ามกับความเท็จ
เหมือนอย่างสัจวาจา (วาจาจริง) ตรงกันข้าม
กับมุสาวาจา (วาจาเท็จ) อย่างไรเรียกว่าวาจาจริง
หรือพูดจริง อย่างไรเรียกว่ามุสาหรือพูดเท็จ คง
เข้าใจกันดีแล้ว แต่เพื่อทบทวนและกระชับความ
เข้าใจเข้าอีก จักกล่าวโดยสมมติให้เป็นคน ๒ คน
ชื่อนายกุศลกับนายอกุศล วันหนึ่งเวลาเย็น
บิดาถามบุตรทั้งสองว่า วันนี้ได้ไปโรงเรียน
หรือเปล่า นายกุศลได้ไปโรงเรียนจึงตอบว่าไป
ส่วนนายอกุศลไม่ได้ไปโรงเรียน แต่ก็ตอบว่าไป
ถ้าตั้งปัญหาว่า ทั้ง ๒ คนนี้ ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ
ทุกคนคงตอบได้ทันทีว่า นายกุศลพูดจริง
นายอกุศลพูดเท็จ คราวนี้ตั้งปัญหาต่อไปว่า พูดจริง
เพราะอะไร พูดเท็จเพราะอะไร ปัญหานี้อาจ
ต้องคิดสักหน่อยหนึ่ง ก็คงตอบได้ว่า พูดจริง
เพราะพูดถูกกับเรื่องที่เป็นจริง พูดเท็จ
เพราะพูดผิดจากเรื่องที่เป็นจริง
คราวนี้จะย้อนมากล่าวถึงพระธรรม ความจริง
ในตนเอง ก็คือเรื่องที่เป็นจริงในตัวเอง
เกี่ยวแก่ที่ตัวเราเองทำอะไรบ้าง พูดอะไรบ้าง
คิดอะไรบ้าง ซึ่งบางทีตัวเราเองต้องการปกปิด
จึงปฏิเสธคนอื่น แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธตนเองได้
เรื่องของตัวเราเองนี้แหละที่พระพุทธเจ้าแสดง
เป็นธรรมสั่งสอนว่าควรทำอย่างไร
โดยครบถ้วนทุกเรื่อง ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
ในเวลาเช้า ถึงเวลาควรจะออกจากที่นอน ก็
ยังนอนซบเซาต่อไป ควรจะช่วยกันทำอะไรบ้าง ก็ไม่
ช่วย ควรจะรีบทำกิจต่างๆ ให้สำเร็จทันเวลา ก็
ไม่รีบทำ พระธรรมจักสอนว่า “อถ ปจฺฉา กุรุเต
โยคํ กิจฺเจ อาวาสุ สีทติ ถ้าทำความเพียร
ในกิจการล้าหลัง จะจมอยู่ในวิบัติ”
เมื่อจะไปโรงเรียน ไปทำงาน เกิดคร้านที่จะไป คิด
จะหนีจะเลี่ยงหลบ หรือ
ในเวลาเรียนเวลาทำงานคิดท้อแท้ คิดมักง่าย
สักแต่ว่าเรียน สักแต่ว่าทำไปหยุดไป พอให้สิ้นเวลา
หมดความตั้งใจให้ก้าวหน้าในการเรียนในการงาน
พระธรรมจักสอนว่า “วายเมเถว ปุริโส ยาวอตฺถสฺส
นิปฺปทา คนพึงพยายามไปกว่าสำเร็จประโยชน์”
เมื่อเกิดความรักต้องการในวัตถุ (ที่ตั้งของความรัก
เป็นบุคคลหรือสิ่งของก็ได้) ที่ไม่สมควร
ในกาลสมัยที่ไม่สมควร พระธรรมจักสอนว่า “
เปมโต ชายเต ภยํ ภัยเกิดจากรัก”
เมื่อเกิดความชิงชังโกรธแค้นขัดเคือง
พระธรรมจักสอนว่า “ทุกฺขํ สยติ โกธโน
คนโกรธนอนจมทุกข์”
เมื่อควรจะให้การศึกษา แต่ก็กลัว
จะสิ้นเปลืองทรัพย์ พระธรรมจักสอนว่า “ปญฺญาว
ธเนน เสยฺโย ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์”
เมื่อปล่อยตัวไปตามใจ พระธรรมจักสอนว่า “วิหญฺ
ญติ จิตฺตวสานุวตฺตี
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก” และสอน
ให้ห้ามใจด้วยสติ ให้หักใจด้วยปัญญา
รวมความว่า พระธรรมจักสั่งสอน
ในเรื่องตัวเราทุกเรื่องทุกราวไป ว่าข้อนี้ๆ
เป็นอกุศล ไม่ดีอย่าทำ ข้อนี้ๆ เป็นกุศล ดีงามควรทำ
ใจของตนนี้ให้หมั่นชำระให้สะอาด อย่าเที่ยวพล่านไป
เพราะรักชังและหลงจนเสียหาย
และพระธรรมสอนให้หมั่นศึกษาให้
เป็นคนสมบูรณ์ ให้มีความเพียรพยายาม ให้มี
ความอดทน เป็นต้น พระธรรมที่ยกมานี้เพียง
เล็กน้อย เป็นตัวอย่างพอสาธกให้เห็นว่าพระธรรม
เป็นอย่างไร ฉะนั้น เมื่อพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว
จึงอาจกล่าวได้ว่า
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเพียงพอ
กับเรื่องของตนทุกแง่ทุกมุมโดยครบถ้วน
พระธรรมจึงเป็นประมวลระบบของชีวิตทั้งหมด
เป็นประทีปส่องให้เห็นความจริงของชีวิต ให้เห็น
ความจริงของตนเอง ตลอดของโลกทั้งหมด
๑๘ เมษายน ๒๕๐๒
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งจากทั้งหมด ๓๕ กัณฑ์
ในเรื่องหลักพระพุทธศาสนา
ที่สมเด็จพระญาณสังวร ได้เรียบเรียงขึ้น
และเทศน์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สำนักราชเลขาธิการเลือกสรรหนังสือ
เพื่อจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด
สำหรับทรงถวายสมเด็จพระญาณสังวร
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ในการฉลองชนมายุครบ ๖๐ ทัศ วันที่ ๓ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๕๑๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 16:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักพระพุทธศาสนา
๒. พระธรรม (ต่อ)
ทำไม ? เพื่ออะไร ?
๓. ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระธรรม
และทรงแสดงเพื่ออะไร ?
พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมมิใช่
ด้วยทรงมุ่งหมายให้เขาชอบให้เขาชมแล้วจัก
ได้บูชาพระองค์ต่างๆ คือมิ
ได้ทรงมุ่งผลตอนแทนอะไรสำหรับพระองค์เองเลย
แต่ทำไมจึงทรงแสดงพระธรรม ? ทรงแสดงก็
เพราะทรงมีพระกรุณาอนุเคราะห์จำแนกแจกพระธรรม
ให้แก่โลก
เพื่ออะไร ? ก็เพื่อให้โลกหรือสัตว์โลกทุกๆ ผู้ทุกๆ
คนประสบประโยชน์ประสบสันติสุขถ้วนทั่วหน้า
เหมือนพ่อแม่มีเมตตากรุณาอนุเคราะห์ลูกๆ
อย่างบริสุทธิ์
จึงทนยากลำบากถนอมเลี้ยงส่งเสริมลูกๆ มิ
ได้มุ่งผลอะไรตอบแทนจากลูก เพียงแต่หวังจะ
ได้เห็นความสำเร็จ ความสุข ความเจริญของลูก
แล้วพลอยปีติยินดีด้วยเท่านั้น บางที
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม ผู้ฟัง
ไม่ชอบใจหาว่าทรงสาปแช่งเขาก็มี แต่พระพุทธเจ้าก็
ไม่ทรงยับยั้งที่จะแสดงในเมื่อทรงเห็นว่าจะ
เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างผู้พยาบาลไข้ที่ดีพยายาม
ให้ยาแก่คนไข้แม้ว่าคนไข้ไม่ชอบ ทั้งไม่ยอมตามใจ
ให้ของแสลงแม้คนไข้จะเรียกร้อง
บางทีถูกคนไข้บริภาษด่าว่าต่างๆ ก็ทนได้
ด้วยเมตตากรุณา คิดปลงใจว่า ถ้าเป็นคนดีไม่
เป็นคนไข้ก็คงไม่เป็นอย่างนี้ ไฉนคนดีจะถือคนไข้
มีเรื่องในสมัยพระพุทธเจ้าที่เล่าไว้
ในพระสูตรหนึ่งว่า
พระราชโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสาร
กรุงราชคฤห์ มคธรัฐ มีพระนามว่า อภยราชกุมาร
กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
ตรัสพระวาจาเช่นไร พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า
พระองค์ตรัสวาจาแต่ที่ทรงทราบว่าจริงแท้
และประกอบด้วยประโยชน์
และทรงรู้กาลเวลาเพื่อที่จะตรัสวาจาดังกล่าว
จะเป็นที่ชอบใจหรือไม่ก็ตาม เพราะทรงอนุเคราะห์
เท่านั้น ในขณะ
นั้นพระราชกุมารกำลังทรงประคองกุมารน้อย
ให้นอนอยู่บนเพลา พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า
ถ้ากุมารน้อยนั้นอมเสี้ยนไม้หรือเศษกระเบื้องในปาก
เพราะพี่เลี้ยงหรือพระราชกุมารเผลอไป
จะทรงทำอย่างไร พระราชกุมารกราบทูลว่า
จะต้องทรงบีบศีรษะกุมารน้อย
ให้อ้าปากล้วงเสี้ยนไม้หรือเศษกระเบื้องนั้นออก
ให้จงได้ แม้จะต้องถึงเลือดออก เพราะเป็นวิธีเดียวที่
เป็นการอนุเคราะห์ ฉะนั้น
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง จึงเต็มเปี่ยม
ด้วยพระกรุณาอนุเคราะห์ทุกบท
ได้ฟังพระธรรมเมื่อใด ก็
ได้รับพระกรุณาของพระองค์ที่ประทับอยู่
ในพระธรรมเมื่อนั้น ทุกครั้งทุกคราวไป
เกี่ยวข้องอะไร
๔. พระธรรมเกี่ยวข้องอะไรกับคน ? คนควร
จะทำอย่างไรกับพระธรรม ?
เพราะพระธรรมเป็นความจริงของคน
ที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงสั่งสอนชี้ทางปฏิบัติของคนเพื่อ
ให้บรรลุถึงประโยชน์ต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว
พระธรรมจึงเกี่ยวข้องกับคนโดยตรง
กล่าวให้ใกล้ที่สุด พระธรรมนั้นเกี่ยวข้อง
กับตัวเราทุกๆ คน จะกล่าวว่า
พระธรรมคือตัวเราเอง
ที่พระพุทธเจ้ายกขึ้นแสดงก็ได้
และทรงแสดงแก่ใคร
ทรงแสดงแก่ตัวเราเองนี้แหละ ข้อสำคัญ
ให้ตัวเราเองนี้
๑. เงี่ยหูให้
ได้ยินพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
อันเรียกว่าพระปริยัติธรรม
คือคำสั่งสอนที่ควรเรียนควรฟังทั้งหมด
๒. เดินเข้าไปหาพระธรรม
เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า “จงมานี่”
แล้วก็เดินเข้าไปเฝ้าพระองค์ นี้เป็นภาคปฏิบัติ คู่
กับปริยัติเทียบดังภาคทฤษฎี การเดิน
เข้าไปหาพระธรรมเรียกว่าปฏิบัติธรรม กล่าว
โดยสรุป คือ
ก. ศีล ประพฤติดีงาม เว้นจากประพฤติเสียหายต่างๆ
เป็นต้นว่า ศีล ๕
ข. สมาธิ ตั้งใจมั่นคงดี
ค. ปัญญา รอบรู้ดีในเหตุผล บาปบุญ คุณโทษ
ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ และในวิธีนำตนให้พ้น
จากทุกข์ภัยพิบัติ บรรลุถึงความสวัสดี
ทุกๆ คนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ชายหรือหญิง ประพฤติดี
ตั้งใจมั่นคงดี รู้จักเหตุผล และรู้จักช่วยตนได้ดีเมื่อ
ใด ก็ชื่อว่าเดินเข้าไปหาพระธรรมเมื่อนั้น นี้ก็คือเดิน
เข้าไปหาทางที่ถูก หรือเดินไปในทางที่ถูกนั้นเอง
การฟังพระธรรม
และการปฏิบัติพระธรรมดังกล่าวมานี้แหละ
เป็นกิจอันทุกๆ คนควรทำกับพระธรรม
แต่ก็ควรน้อมมาปฏิบัติให้พอเหมาะแก่ภาวะของตน
ดังพระธรรมคุณบทว่า “โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา
” ดังที่เรียกว่าประยุกต์กับตน แต่
ให้รักษาแนวของพระธรรม คือให้ดำเนินไป
ในทางที่ชอบ การน้อมพระธรรมมาประยุกต์
กับตนโดยชอบนั้น เช่น
สำหรับนักเรียน ศีล คือประพฤติดี
เพราะเว้นการที่ควรเว้น
ประพฤติการที่ควรประพฤติ สมาธิ คือตั้งใจเรียนดี
ปัญญา คือจำได้ เข้าใจดี มีความรอบรู้
สำหรับผู้ประกอบการงาน ศีล คือประพฤติดี
เว้นอบายมุขต่างๆ เป็นต้น สมาธิ คือ ตั้งใจทำดี ปัญญา
คือรอบรู้ฉลาดสามารถในการงาน
สำหรับคนวัยรุ่น ศีล คือระมัดระวังตนให้ประพฤติ
อยู่ในขอบเขตที่ชอบ ไม่ปล่อยตนให้เหลวแหลก
สมาธิ คือตั้งใจมั่นคงดี ไม่ให้ตกจมลงไปในห้วงรัก
ห้วงชัง ห้วงหลง ที่มีเหตุชักจูงยั่วเย้าอยู่มากมาย
ปัญญา คือคิดให้รู้ตลอดเหตุผล ตลอดปัจจุบัน
ตลอดภายหน้า คิดให้กว้างให้ยืดยาว ไม่คิดแคบๆ สั้นๆ
คนวัยรุ่นกำลังเจริญด้วยพลัง
กำลังทะยานกายทะยานใจ เหมือนน้ำตกแรง เมื่อ
ไม่สมหวังก็มักจะทำอะไรแรงๆ จึงมักพลาดง่าย
และถ้าพลาดลงไปในห้วงอะไรที่แรงๆ แล้ว
ก็อันตรายมาก เหมือนอย่างไปเล่นสนุกกับน้ำตก
เผลอพลาดตกลงไปกับน้ำตกที่โจนลงไป
จากหน้าผาสูงชัน ฉะนั้น
ถ้าหันมาสนใจพระธรรมบ้างก็
จะมีพระธรรมคุ้มครองรักษา เป็นเครื่องป้อง
กันแก้ไขมิให้เป็นอันตรายดังกล่าว
ข้อสำคัญควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้ หรือถ้าจะ
ต้องแก้ ก็แก้เมื่อยังเล็กน้อยง่ายกว่าแก้เมื่อโตใหญ่
เหมือนอย่างดับไฟกองเล็กง่ายกว่าดับไฟกองโต และ
ไม่ควรเชื่อใจตนเองเกินไป เพราะอาจไม่มีเหตุผล
ถ้าใจนั้นถูกบังคับหรือท่วมทับเสียแล้ว
จึงควรหารือกับท่านผู้ที่สามารถจะให้เหตุผลที่ถูก
ต้องได้ ทั้งเมื่อสนใจในพระธรรมอยู่
พระธรรมอาจให้เหตุผลแก่ตนได้กระจ่าง พร้อม
กับชี้ทางปฏิบัติได้ถูกต้อง พระธรรมจึง
เป็นกัลยาณมิตร (มิตรดี) ของใจ
เทียบอย่างบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตรซึ่งเป็น
ผู้ชี้เหตุผลให้แก่ตนดังกล่าวนั้น
อีกอย่างหนึ่ง
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเปรียบเหมือนกระจกเงาสำหรับส่องดูตัว
หรือภาพยนตร์ฉายเรื่องของตน โดยปกติ
ตัวเราเห็นหน้าของคนอื่นยิ้มย่องบ้าง
มึนตึงเกรี้ยวกราดบ้าง เห็นแล้วก็ชอบใจบ้าง
ไม่ชอบใจบ้าง แต่ไม่เห็นหน้าของตนเอง ครั้นเมื่อยืน
อยู่หน้ากระจกเงา จึงอาจเห็นหน้าของตนเองว่า
เป็นอย่างไร น่าเกลียดหรือไม่น่าเกลียดอย่างไร
บางทีก็อาจรู้สึกไม่ชอบหน้าของตนเอง จึง
ต้องตกแต่งแก้ไขให้งดงาม ฉันใด โดยปกติ
คนเราก็มองไม่เห็นตนเอง ฉันนั้น ต่อมา
ได้ศึกษาพระธรรมที่ส่องย้อนเข้ามาหาตนเอง
จึงจักมองเห็นตนเองว่าเป็นอย่างไร ดีไม่ดี ถูกผิด
ตามเหตุผลที่เป็นจริงอย่างไร เมื่อมองเห็นตนเอง
รู้จักตนเองตามเป็นจริงแล้ว จึงสามารถแก้ไขตน
ให้ดีได้ ดูภาพยนตร์ก็เหมือนกัน เห็นตัวแสดง
เป็นคนร้ายคนดีต่างๆ เมื่อนำพระธรรมมาฉายดูตน
ก็จักเห็นตนเป็นเช่นไร
ฉะนั้น ศึกษาพระธรรม (อันหมาย
ถึงปริยัติคือเรียน กับปฏิบัติพระธรรม) จึง
เป็นการศึกษาตนเอง ข้อเตือนใจสั้นๆ เกี่ยว
กับเรื่องนี้คือ นึกถึงอะไรๆ ก็ให้หวนนึก
ถึงพระธรรม มองอะไรๆ ภายนอกก็
ให้มองย้อนดูตน กำหนดนิ่งดูที่ใจ ดูให้ดี จักเห็นทางสว่าง
ผลอย่างไร ?
๕. เมื่อศึกษาพระธรรมอย่างนี้แล้ว
จะรับผลอย่างไร ? กล่าวอย่างสั้นจะ
ได้รับผลคือ ความไม่ตกต่ำ
เพราะเมื่อรักษาพระธรรม
พระธรรมก็ย่อมรักษา สมดังพระพุทธภาษิตว่า “
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษา
ผู้ประพฤติธรรม” คือรักษาไว้มิให้ตกต่ำ
ดังบทสวดพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “ธมฺโม
กุโลกปตนา ตทธาริธารี พระธรรมทรง
ผู้ทรงธรรมไว้มิให้ตกไปอยู่โลกที่ชั่ว”
ด้วยประการฉะนี้
ในที่สุดนี้ ขอกล่าวความที่ควรกำหนดโดยย่อ
แล้วประมวลลงในบทพระธรรมคุณว่า
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอน
เปรียบเหมือนกระจกสำหรับส่องดูตน
เปรียบเหมือนภาพยนตร์ที่ฉายเรื่องของตน
เปรียบเหมือนไฟฉายที่ฉายแสงย้อนมาที่ตน เพื่อ
ให้เห็นตนเองตามเป็นจริง หรือให้เห็นความจริงทุกๆ
อย่างที่ตนแล้วพระธรรมก็เป็นดังประทีปส่องทาง
ให้ตนทุกๆ คนดำเนินไปในทางที่ถูก
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
สนฺทิฏฺจิโก อันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง
อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล
เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู
โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญู (ผู้รู้)
พึงรู้เฉพาะตน
๒ พฤษภาคม ๒๕๐๒
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งจากทั้งหมด ๓๕ กัณฑ์
ในเรื่องหลักพระพุทธศาสนา
ที่สมเด็จพระญาณสังวร ได้เรียบเรียงขึ้น
และเทศน์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สำนักราชเลขาธิการเลือกสรรหนังสือ
เพื่อจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด
สำหรับทรงถวายสมเด็จพระญาณสังวร
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ในการฉลองชนมายุครบ ๖๐ ทัศ วันที่ ๓ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๕๑๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 16:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักพระพุทธศาสนา
๓. พระสงฆ์
เวไนย = ดอกบัว ๓ จำพวก
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมแล้วใหม่ๆ
ได้ทรงพิจารณาพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แล้ว
ทรงเห็นว่าเป็นคุณอันลึกซึ้ง ยากที่โลกซึ่งยุ่งยาก
อยู่นี้จะรู้ได้ เกือบจะทอดพระหฤทัยว่าจะ
ไม่ทรงแสดงธรรม
จะประทับเสวยสุขอย่างสงบที่สุด
อยู่เฉพาะพระองค์เดียว หากแต่ทรงเปี่ยม
ด้วยพระกรุณาแก่โลก
จึงทรงกลับหวนพิจารณาอีกว่า ถ้า
จะเสด็จเที่ยวไปทรงแสดงพระธรรมสั่งสอน
พูดง่ายๆ ว่าเสด็จเที่ยวไปเทศน์โปรด
จะมีใครรู้พระธรรมที่ทรงเทศน์โปรดบ้างหรือ
ไม่ ก็ได้ทรงทราบด้วยพระญาณว่า คน
ในโลกนี้มีมากหลายจำพวก บ้างกิเลสบาง
บ้างกิเลสหนา บ้างมีพื้นดี บ้างมีพื้นไม่ดี บ้างมีอาการดี
บ้างมีอาการไม่ดี บ้างสอนง่าย บ้างสอนยาก บ้าง
สามารถจะรู้ บ้างไม่สามารถจะรู้
เปรียบเหมือนดอกบัวขาบ (สีเขียวขาบ) ดอกบัวหลวง
(สีแดง) หรือดอกบัวขาว บรรดาที่เกิดสะพรั่งอยู่
ในสระบัว บ้างก็ยังจมอยู่ในน้ำ บ้างก็อยู่เสมอน้ำ
บ้างก็ชูขึ้นพ้นน้ำ ดอกบัวเหล่านี้ จำพวกที่ชูขึ้นพ้นน้ำ
แล้ว พอต้องแสงพระอาทิตย์ก็จักบานในวันนี้ทีเดียว
จำพวกที่อยู่เสมอน้ำพรุ่งนี้ก็จะบาน จำพวกที่ยังจมอยู่
ใต้น้ำก็ยังหวังจักโผล่ขึ้นบานในวันถัดต่อไป สัตว์โลก
ผู้เป็นเวไนยนิกร คือหมู่แห่งผู้ที่ควรรับแนะนำ
ก็คล้ายกับดอกบัว ๓ จำพวกนั้น
คือจำพวกที่มีคุณสมบัติดีพิเศษก็อาจจะรู้พระธรรม
ได้โดยฉับพลันทันที
จำพวกที่มีคุณสมบัติปานกลางเมื่อ
ได้รับแนะนำอบรมเพิ่มเติมก็อาจรู้พระธรรมได้
ไม่ช้านัก จำพวกที่มีคุณสมบัติอ่อนเมื่อ
ได้รับอบรมเสมอๆ เรื่อยๆ ไปถึงจะช้าสักหน่อยก็
ยังอาจจะรู้พระธรรมได้ในที่สุด
ทั้งนี้เว้นแต่สัตว์โลกชนิดที่ไม่ใช่เวไนย คือ
ไม่รับแนะนำ จะเป็น
เพราะมีปัญญาทึบเหลือประมาณ ทำบาปมาหนักหนา
หรือถือทิฐิมานะรั้นอย่างเหลือเกินก็ตาม
สัตว์โลกจำพวกนี้เปรียบเหมือนดอกบัวอันนอก
จากดอกบัว ๓ จำพวกนั้น ซึ่งกลาย
เป็นอาหารปลาอาหารเต่าในสระ หมดโอกาสที่
จะบานได้
ครั้นพระพุทธเจ้า
ได้ทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ว่ามีหลายชนิดหลายจำพวก
หมู่สัตว์ที่เป็นเวไนยอันจะโปรดได้ก็มีอยู่
จึงทรงตกลงพระหฤทัยว่า
จะเสด็จเที่ยวเทศน์โปรดโลก และได้ตั้งพระหฤทัยว่า
จะทรงดำริพระชนมายุเที่ยวเทศน์โปรดไปจนกว่าคน
ทั้งหลายจะได้รู้จักพระธรรม สามารถ
เป็นธรรมทายาท คือเป็นทายาทรับพระธรรม
จากพระพุทธเจ้าสืบกันต่อไปให้
เป็นอมตะสมบัติของโลกตลอดกาลนาน
พรหม
พระโบราณาจารย์ (พระอาจารย์เก่าแก่)
ได้เล่าเรื่องพระพรหมมากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าแทรก
เข้ามา มีความว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเกือบ
จะทอดพระหฤทัยว่าจะไม่ทรงแสดงพระธรรมนั้น
พระพรหมมีนามว่าสหัมบดี ที่มักเรียก
กันว่าท้าวสหัมบดีพรหม ได้ลงมาจากพรหมโลก
กราบทูลอาราธนา ดังทำฉันท์คาถาว่า
พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ สหมฺปติ
กตญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ
องค์โลกธิบดีสหัมบดีพรหม
ยอกรประนมทูลขอพระประเสริฐ
หมู่สัตว์เกิดมาในโลกนี้ ที่มีผงกิเลสเข้าตาแต่น้อยมีอยู่
ขอจงทรงเอ็นดู แสดงธรรมโปรดสัตว์นี้ เทอญ
พระพุทธเจ้าได้ทรงสดับคำอาราธนานี้
ทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ว่ามีต่างๆ กันเปรียบได้ดัง
กับดอกบัวต่างๆ ชนิดดังกล่าวแล้ว
จึงทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม
ในเมื่องไทยเรานิยมใช้คำฉันท์คาถาบทนี้ (ที่กล่าว
กันว่าเป็นพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
เป็นคำอาราธนาธรรมเป็นประเพณีนิยมโดยทั่วไป
เมื่อพระภิกษุได้ฟังคำอาราธนานี้แล้ว
จึงเริ่มแสดงพระธรรม
เรื่องพระพรหมอาราธนานี้
เป็นเรื่องประกาศพระกรุณาคุณของพระเจ้า
เพราะเมตตากรุณาเป็นธรรมประจำใจของท่านผู้
เป็นพรหม คนที่มีเมตตากรุณาเป็นอันมาก เช่นพ่อแม่
ก็เรียกว่าเป็นพระพรหมของลูก ฉะนั้น
จึงอาจถอดถือเอาแต่ใจความจากเรื่องนี้ได้ว่า
ท้าวสหัมบดีพรหมก็คือพระกรุณาอย่าง
ใหญ่หลวงของพระพุทธเจ้า อาราธนา
คือพระกรุณานี้เองเหมือนมาขอร้องให้ทรง
ช่วยโลก ทรงรับอาราธนา
ก็คือทรงพิจารณาเห็นว่าจะทรงช่วยโลกจำพวกที่
เป็นเวไนยสัตว์ได้ จึงทรงตกลงพระหฤทัยว่า
จะทรงแสดงพระธรรมโปรดด้วยพระกรุณา
นิยามศัพท์
คำว่า โปรดโลก หมายความว่าช่วยโลกให้พ้นจาก
ความทุกข์เดือดร้อนต่างๆ คำว่าโลก หมาย
ความว่าสัตว์โลก คือหมู่สัตว์ตามที่นิยมพูดกัน เมื่อพูด
กันว่าสัตว์ก็มักหมายถึงสัตว์ดิรัจฉานต่างๆ ไม่หมาย
ถึงคน แต่ในทางพระธรรมทั้งคน
ทั้งดิรัจฉานรวมเรียกว่าหมู่สัตว์
หรือรวมเรียกว่าสัตว์โลก เรียกสั้นๆ ว่าโลก
เพราะทั้งหมดต่างก็เกี่ยวข้องพัวพันยุ่งเหยิงอยู่กับโลก
หรือถ้าพูดให้ทันสมัยก็ว่าทั้งหมดต่างก็ตกอยู่ใน
ความดึงดูดของโลก ทั้งทางกาย ทั้งทางใจอย่างเดียว
กัน ฉะนั้น เมื่อได้ฟังเทศน์ว่าหมู่สัตว์ ก็ให้เข้าใจว่าหมาย
ถึงทั้งมนุษย์และดิรัจฉานซึ่งรวมตัวเราเองอยู่ด้วย
ผู้หนึ่ง เมื่อได้ฟังเทศน์ว่าพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์ ก็ให้
เข้าใจว่าโปรดตลอดถึงตัวเราเองด้วยผู้หนึ่ง
แต่ใครจะเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าโปรดได้หรือไม่
ได้ก็สุดแต่ว่าตัวเองจะเป็นเวไนยหรือไม่เป็นเวไนย
ถ้าตัวเองเป็นเวไนย คือรับแนะนำอบรม ก็เป็น
ผู้ที่พระพุทธเจ้าโปรดได้ เทียบ
กับดอกบัวสามเหล่าที่มีหวังจะบานได้แน่ ไม่
เร็วก็ช้าดังกล่าวแล้ว หรือเทียบ
กับคนไข้ที่รับการรักษาของหมอ ถ้าตัวเองไม่
เป็นเวไนย คือไม่รับแนะนำอบรม ก็เป็น
ผู้ที่พระพุทธเจ้าโปรดไม่ได้ เทียบกับดอกบัวที่
เป็นอาหารปลาอาหารเต่าในสระเสียแล้ว
ไม่มีโอกาสบานได้เลย หรือเทียบกับคนไข้ที่
ไม่รับการรักษาของหมอ
โปรดโลก
ครั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงตกลงพระหฤทัย
จะทรงแสดงพระธรรมโปรด และ
ได้ตั้งพระหฤทัยจะครองพระชนม์ชีพอยู่เพื่อสัตว์โลก
แล้ว ก็ได้ทรงพิจารณาหาคนฟังเทศน์ซึ่งมีลักษณะ
เป็นเวไนยดังกล่าวแล้ว เมื่อทรงเห็นว่าคนเช่น
นั้นมีถิ่นที่ใดก็เสด็จไปในถิ่นที่นั้น ทรงเทศน์โปรดไป
โดยลำดับ ในตอนแรกต้องเสด็จไปเองโดยมาก
เพราะคนยังไม่รู้จักพระองค์ บางที
เขารู้จักแต่เพียงว่าพระองค์คือเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกทรงผนวช
ยังไม่รู้จักและยังไม่เกิดศรัทธา (เชื่อ) ว่าพระองค์
เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรมแล้ว
หรือจะเรียกว่าเป็นผู้สำเร็จวิชาแล้วก็ได้ เมื่อเขายัง
ไม่รู้จักยังไม่เชื่อเช่นนั้นจึงต้องเสด็จไปเทศน์ให้
เขาฟังจนเห็นจริงในธรรม ดังที่เรียกว่า
ได้ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม เขา
จึงเริ่มรู้จักว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า บางทีเขาถึง
กับพูดออกมา “โอ พระพุทธเจ้าจริง!” ถ้า
จะพูดอย่างไทยๆ ก็ว่า “โอ รู้วิเศษจริง” เมื่อเป็นเช่นนี้
เขาจึงมีศรัทธา (ความเชื่อ) ปสาทะ (ความเลื่อมใส)
ในพระองค์ นับถือพระองค์เป็นพระศาสดา คือ
เป็นยอดครูยอดอาจารย์ของตน และพา
กันบอกกล่าวเล่าลือ
กันจนข่าวกระฉ่อนออกไปว่าพระองค์เสด็จออกบวช
จากศักยราชตระกูล
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วแต่ใครเห็นอย่างใด เชื่อ เลื่อมใสอย่างใด
ก็พูดอย่างนั้น
บทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
ที่สวดกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นคำบอกกล่าวเล่าลือกัน
นั้นเอง จึงไม่มีใครเป็นผู้แต่งขึ้นอย่างบทสดุดีทั่วๆ ไป
เมื่อคนพากันรู้จักพระองค์ตามข่าวที่ลือ
กันกระฉ่อนไปเช่นนี้ จะเสด็จไปประทับพักในที่ใด
เขาก็ทราบกันและพากันมาเฝ้าฟังเทศน์ของพระองค์
ถึงในที่ประทับพัก เหมือนอย่างคนพากันไปฟังเทศน์
ในวัดในวันพระ หรือในวันสำคัญในศาสนา
เช่นวันวิสาขบูชา และก็มีไม่น้อยที่ไปเฝ้าเพื่อสังเกต
หรือเพื่อไล่เลียงประลองภูมิ แต่พระพุทธเจ้าก็
ได้ทรงแสดงพระธรรมโต้ตอบ จนคนเหล่า
นั้นเห็นจริงหรือต้องนิ่งอั้นไป
ในตอนหลังมีคนนับถือพระพุทธเจ้ามาก พระองค์
จะประทับอยู่ในที่ไหนคนที่ประสงค์พระธรรมก็พา
กันมาเฝ้าเอง ถึงอย่างนั้นพระพุทธเจ้าก็
ไม่ทรงหยุดประทับอยู่ประจำที่เดียว
คงเสด็จเที่ยวเทศน์โปรดเรื่อยไปจนกระทั่ง
ในวันสุดท้ายของพระชนมชีพ
ดอกบัวจะบาน = เวไนย บานแล้ว = พระสงฆ์
เรื่องพระพุทธเจ้าเทศน์โปรดโลกตามที่เล่ามา
ถึงเพียงนี้ ดูเป็นการเล่าแต่เรื่องของพระพุทธเจ้า
ยังไม่มีกล่าวถึงพระสงฆ์เลย แต่ถ้ากำหนดดูให้ดี
แล้วก็จะเห็นว่า ได้เล่าถึงเรื่องพระสงฆ์ควบคู่มา
แล้วตั้งแต่ต้น คือบรรดาคนที่อาจรับแนะนำอบรม
ที่เรียกว่าเวไนย อันเปรียบกับดอกบัว ๓
จำพวกที่มีหวังจะบานได้แน่ พระสงฆ์ออกมา
จากคนเหล่านั้นเอง เพราะพระสงฆ์ก็คือหมู่ของคน
ผู้บานแล้ว เพราะได้รับแสงสว่าง
จากพระธรรมของพระพุทธเจ้า
ได้เห็นพระธรรม
ได้บรรลุพระธรรมตามพระพุทธเจ้า
ตามลำดับชั้น เหมือนอย่างดอกบังที่บานแล้วเพราะ
ต้องแสงอาทิตย์ รวมความสั้นๆ ว่า
หมู่คนที่เหมือนดอกบัวอันมีหวังจะบานได้ เมื่อยัง
ไม่บานก็เรียกว่าเวไนยนิกร เมื่อบาน
แล้วก็เรียกว่าพระสงฆ์ และดอกบัวจะบานได้ก็
เพราะต้องแสงอาทิตย์ ฉันใด หมู่ของเวไนยจะบานก็
เพราะต้องแสงพระธรรม ฉันนั้น
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเที่ยวไปเทศน์โปรด ก็เท่า
กับทรงฉายแสงพระธรรมไปยังคนฟัง เมื่อคนฟัง
เป็นเวไนยซึ่งอาจโปรดได้ก็จะบาน
เพราะแสงพระธรรม ถ้าพระพุทธเจ้า
ไม่เสด็จเทียวไปเทศน์โปรดประชุมชนก็ไม่อาจบานขึ้น
ได้เอง เหมือนอย่างถ้าอาทิตย์ไม่อุทัย ดอกบัวชนิดที่
ต้องอาศัยแสงอาทิตย์ก็ไม่อาจจะบานขึ้นได้เองฉะนั้น
ลองนึกดูถึงดอกไม้บานว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ?
อันดอกไม้บานย่อมเผยกลีบ เผยเกสร เผยกลิ่น เผย
ความงามความสดชื่นอย่างเต็มที่ สิ่งที่เผยนั้นล้วน
เป็นสิ่งที่น่าดูชม คนที่บานแล้วเพราะ
ต้องแสงธรรมของพระพุทธเจ้า ก็พอเทียบกันได้ คือ
เป็นผู้ที่เผยออกแต่
ความประพฤติปฏิบัติที่น่าดูน่าชมน่าเลื่อมใส เป็นต้นว่า
เผยกลีบ คือปฏิบัติดี เผยเกสรคือปฏิบัติตรง
เผยกลิ่น คือปฏิบัติถูก เผยความงามสดชื่น
คือปฏิบัติชอบเหมาะ
หมู่ของคนที่เหมือนอย่างดอกบัวบานเหล่านี้ ล้วน
เป็นสาวก คือผู้ฟัง โดยความคือ
เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น ดังบทสังฆคุณว่า
ภควโต สาวกสงฺโฆ หมู่แห่งสาวกของพระ
ผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้า และบทแสดงข้อปฏิบัติว่า
สุปฏิปนฺโน ปฏิบัติดีแล้ว อุชุปฏิปนฺโน ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายปฏิปนฺโน ปฏิบัติถูกแล้ว สามีจิปฏิปนฺโน
ปฏิบัติชอบเหมาะแล้ว นี้แล คือพระสงฆ์ หมู่ของคน
ผู้บานแล้ว เหมือนอย่างดอกบัวบานเพราะ
ได้รับแสงพระธรรมของพระพุทธเจ้า
เหตุที่เรียกว่าสงฆ์
ในชั้นแรก เมื่อยังไม่มีใครรู้จักพระพุทธเจ้า
หรือรู้จักแต่น้อย เว้นพระพุทธเจ้าเสียแล้ว ก็
ไม่มีดอกบัวบานในหมู่ชน หรือจะมีก็ยังน้อย แต่
ในกาลต่อมาดอกบัวบานในหมู่ชนได้มีมากขึ้น
โดยลำดับ เพราะ
ได้รับแสงพระธรรมของพระพุทธเจ้าที่เสด็จไปเที่ยวเทศน์โปรดอย่าง
ไม่หยุดยั้ง ฉะนั้น จึงเรียกว่าสงฆ์ ที่แปลว่าหมู่ หมาย
ความว่ามีรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งโดยชั้น ทั้ง
โดยจำนวน อย่างหมู่นักเรียน หมู่นักศึกษา ก็หมายความ
ถึงนักเรียน นักศึกษามากชั้นมากจำนวนรวมกัน
ดอกบัวบานในหมู่ชน คือคนผู้บานแล้วเพราะ
ต้องแสงธรรมดังกล่าว เรียกว่าอริยะ
หรืออารยะ ที่แปลว่าคนประเสริฐ คนเจริญ
เรียกกันในคำไทยว่า พระอริยะ เรียกรวมกัน
ทั้งหมดว่าพระสงฆ์ เรียกในฐานะ
เป็นหมู่ของคนประเสริฐว่าพระอริยสงฆ์ เรียก
ในฐานะเป็นสาวก (คนฟังเทศน์)
หรือศิษย์ของพระพุทธเจ้าว่าพระสาวกสงฆ์
หรือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
บริษัท ๔
อนึ่ง
คนที่รับแสงพระธรรมของพระพุทธเจ้าแม้แต่น้อย
ถึงจะยังไม่บาน ก็ย่อมจะเกิดความเชื่อ ความเลื่อมใส
ในพระพุทธเจ้า และแสดงตนนับถือพระพุทธเจ้า
เป็นพระศาสดายอดครูอาจารย์ของตน
บางพวกสละออกบวชเป็นพระภิกษุหรือพระภิกษุณี
ถ้าเป็นเด็กก็บวชเป็นสามเณรหรือสามเณรี
บางพวกแสดงตนเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกา ผู้มีใจ
ใกล้ชิดพระหรือแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
หรือพุทธมามิกา ผู้นับถือเฉพาะพระพุทธเจ้า
เป็นของตน ในฝ่ายฆราวาส ถ้าเทียบอุบาสกอุบาสิกา
กับภิกษุภิกษุณี ก็พอเทียบพุทธมามกะพุทธมามิกา
กับสามเณรสามเณรี
รวมพุทธบริษัท (บริษัทคือหมู่ของ
ผู้แสดงตนนับถือพระพุทธเจ้า) เป็น ๔ คือ ภิกษุบริษัท
๑ ภิกษุณีบริษัท ๑ อุบาสกบริษัท ๑ อุบาสิกาบริษัท
๑ (บัดนี้ภิกษุณีบริษัทตลอดถึงสามเณรีไม่มีแล้ว)
ในบริษัท ๔ นี้ ภิกษุบริษัทย่อมจะเป็นหลัก
เป็นประธานในการสืบธำรงรักษาพระธรรม
พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งไว้ (ในพระวินัย)
ให้พระภิกษุประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตั้งแต่ ๔
รูปขึ้นไปทำการงานของหมู่ที่เรียกว่า สังฆกรรม
ความประชุมแห่งพระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปนี้
เรียกว่าพระภิกษุสงฆ์ แปลว่าหมู่แห่งพระภิกษุ
เรียกสั้นๆ ว่าพระสงฆ์เหมือนกัน พระภิกษุสงฆ์นี้
พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งไว้ว่าให้ประชุมกันเป็นสงฆ์
จึงมีคำเรียกกันว่า พระสมมติสงฆ์ พระสงฆ์
โดยสมมติ คือโดยพระบัญญัติสั่งไว้ว่าให้
เป็นสงฆ์ของพระพุทธเจ้า และก็นับว่า
เป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน
สระบัวมหึมา คือ โลก
เราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ถ้าจะเทียบ
กับดอกบัวดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเทียบกับหมู่สัตว์
แต่ละคนก็เป็นดอกบัวแต่ละดอก
ในสระมหึมาคือโลก แต่ใครจะเป็นดอกบัวชนิดไหน
คือจะเป็นดอกบัวที่มีหวังโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ หรือจะจม
อยู่แต่ใต้น้ำต้องเสียแก่ปลาเต่า ก็แล้วแต่ตนเอง คือ
ถ้าตนเองทำตนเองให้เป็นอเวไนยแนะนำไม่ได้
พ่อแม่แนะนำก็ไม่ได้ ครูอาจารย์แนะนำก็ไม่ได้
พระเทศน์ก็ไม่ฟัง การเล่าเรียนศึกษาก็ไม่ตั้งใจ
การงานก็ไม่เอาธุระ ไม่รักตัวสงวนตัว
ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ต้องเข้ากลุ่มดอกบัวที่จมอยู่แต่
ใต้น้ำเป็นอาหารของปลาเต่า ชีวิตต้องเสื่อมเศร้า
ครั้นได้คิดแต่ก็สายเสียแล้ว ก็ยิ่งเป็นทุกข์
เข้าที่อับจนหาทางออกไม่ได้ ก็ยิ่งเป็นทุกข์ หรือเห็นคน
อื่นเขารุ่งเรือง กลับมาดูตน ก็ยิ่งเป็นทุกข์
ส่วนคนที่ทำตนเองให้เป็นเวไนยแนะนำได้ ตรงกันข้าม
กับที่กล่าวมาแล้ว ขยันหมั่นเพียรเล่าเรียนศึกษา
เอาการเอางาน รู้จักรักตัวสงวนตัว ไม่ปล่อยตัว
ไม่ปล่อยใจ ก็ได้เข้ากลุ่มดอกบัวที่มีหวัง
จะชูดอกขึ้นมาบานเหนือน้ำ เมื่อประสบความสำเร็จ
ในขั้นหนึ่งๆ แม้ว่าสอบไล่ได้ชั้นหนึ่งๆ ก็เป็นดอกบัวบาน
ในชั้นหนึ่งๆ ฉะนั้น จะเข้ากลุ่มดอกบัวชนิดไหน ก็
ให้คิดดูให้ดี คิดให้ดีตั้งแต่เวลาที่ยังไม่ช้าเกินไป
พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าล้วนเป็นผู้ที่ได้คิด
แล้ว เพราะ
ได้รับแสงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอน
บางท่านได้คิดเร็ว บางท่านได้คิดไม่เร็วไม่ช้านัก
บางท่านได้คิดช้าไปหน่อย แต่ก็ยังได้คิดและกลับตัว
ได้ทันก่อนที่จะเหลือแก้ จึง
เป็นดอกบัวที่ชูดอกขึ้นมาบานเหนือน้ำได้ด้วยปัญญา
ที่ทำให้ได้คิดเพราะกระทบแสงพระธรรม
สมดังพุทธภาษิตว่า “อติโรจติ ปญฺญาย
สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรืองล่วงพวกบุถุชนคนบอด
ด้วยปัญญา” ดังนี้
เราทุกคนเมื่อ
ได้ฟังเทศน์ที่แสดงพระธรรมของพระพุทธจ้า
ก็ควรตั้งใจฟังให้ดี ให้ได้รับแสงพระธรรม
เข้าไปสะกิดใจให้ได้คิด เพื่อจะได้ไม่พลัด
เข้ากลุ่มดอกบัวจม หากจะเผลอพลัดเข้าไปบ้าง ก็จะ
ได้รีบถอนตนออก และนำตนให้
เข้ากลุ่มดอกบัวลอยบาน เพื่อให้ตัวเรา
เป็นดอกบัวที่มีหวังจะลอยบาน และ
เป็นดอกบัวลอยบานดอกหนึ่งอยู่ในสระมหึมา
คือโลกนี้
๒๓ พฤษภาคม ๒๕๐๒
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งจากทั้งหมด ๓๕ กัณฑ์
ในเรื่องหลักพระพุทธศาสนา
ที่สมเด็จพระญาณสังวร ได้เรียบเรียงขึ้น
และเทศน์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สำนักราชเลขาธิการเลือกสรรหนังสือ
เพื่อจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด
สำหรับทรงถวายสมเด็จพระญาณสังวร
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ในการฉลองชนมายุครบ ๖๐ ทัศ วันที่ ๓ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๕๑๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 17:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักพระพุทธศาสนา
๔. พระรัตนตรัย
ไม้ ๓ อันพิงกัน
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ตามที่
ได้แสดงมาแล้วในกัณฑ์ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ โดยลำดับ
แม้มี ๓ แต่ก็เนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยเนื้อความ
คือพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม
ด้วยพระองค์เองแล้ว
ทรงแสดงพระธรรมสั่งสอน
พระธรรมอันพระสงฆ์ได้ฟังได้ปฏิบัติ
แล้วดำรงรักษาไว้ พระสงฆ์ก็เป็นสาวก
หรือศิษย์ของพระพุทธเจ้า ทั้ง ๓ นี้ จึงต่างอิงอาศัยกัน
เหมือนอย่างไม้ ๓ อันตั้งพิงกันอยู่
จะขาดเสียสักอันหนึ่งหาได้ไม่ พระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ ทั้ง ๓ นี้จึงรวมเรียกว่า
พระรัตนตรัย แปลว่า หมวด ๓ แห่งพระรัตนะ
เรียกว่าพระไตรรัตน์ก็ได้ แปลว่า พระรัตนะ ๓
รัตนะ
ทุกคนคงมีความยินดีปลาบปลื้มใจ เมื่อ
ได้รับของที่ชอบใจ หรือเมื่อได้รับความสำเร็จ
เช่นสอบไล่ได้ จะยินดีปลาบปลื้มใจน้อยหรือมากก็
แล้วแต่จะเป็นที่ชอบใจน้อยหรือมาก สิ่งที่ทำ
ให้ยินดีปลาบปลื้มใจนี้แหละทำให้เกิดคำว่า รัตนะ
ที่แปลว่า สิ่งที่ทำให้ยินดีปลาบปลื้มนั้นเอง แต่นิยม
ใช้เรียกของดีของวิเศษต่างๆ สัตว์พิเศษต่างๆ ตลอด
ถึงคนดีพิเศษต่างๆ ก็เรียกว่า รัตนะ เพราะ
เป็นที่ยินดีปลาบปลื้มใจได้เป็นอย่างมาก ฉะนั้น
รัตนะจึงเป็นสิ่งที่นิยมชมชอบ เป็นสิ่งมีค่ามาก
ยอดเยี่ยมไม่มีสิ่งอื่นที่มิใช่รัตนะเสมอ ยากที่จะเห็นได้
เป็นของที่มิใช่คนต่ำๆ จะใช้สอย ใครได้รัตนะมา
จึงยินดีปลาบปลื้มใจ
ในภาษาไทยเรา มีคำแปลรัตนะที่เหมาะมากเหมือน
กัน ว่าแก้ว และมีนพรัตน์ (แก้ว ๙)
ดังคำที่ผูกเรียกระบุชื่อระบุสีอย่างคล้องจอง
กันมานานแล้วว่า เพชรดี (เพชรที่ ๑) มณีแดง (
ทับทิม) เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม
แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ
มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย
สังวาลย์สายไพฑูรย์ ถึงไม่ใช่เครื่องประดับ แต่
เป็นส่วนยอดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
บางทีไทยเราก็เรียกว่าแก้ว เช่น แก้วตา แก้วหู
รัตนะทั้งหลายในโลกนี้มีมาก ตามแต่จะนิยมเรียก
กันในจำพวกสิ่งที่มีค่าสูงดังกล่าว ตั้งแต่ชนิดที่ยังมี
เป็นสาธารณะทั่วไปได้จนถึงชนิดที่เป็นอสาธารณะ (
ไม่ทั่วไป) และที่เป็นของดีวิเศษอย่างสูงสุด
ในโลกก็คือจักรพรรดิรัตนะ
รัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ประการ คือ
จักกรัตนะ จักรแก้ว หัตถิรัตนะ ช้างแก้ว อัสสรัตนะ
ม้าแก้ว มณีรัตนะ มณีแก้ว อิตถีรัตนะ นางแก้ว
คหปติรัตนะ ขุนคลังแก้ว ปริณายกรัตนะ
นายกแก้ว รัตนะ ๗ ประการนี้ เป็นเครื่องทำ
ให้ท่านที่มีอยู่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ โดยความก็คือ
เป็นเจ้าโลก และ
เป็นเครื่องบำรุงบำเรอพระเจ้าจักรพรรดิให้
เป็นสุขสมบูรณ์เป็นอย่างที่สุด จึงเป็นยอดรัตนะ
ในทางโลก แม้ในปัจจุบันตลอดถึงโลกอนาคต ใคร
จะเป็นเจ้าโลกได้แต่ผู้เดียวก็ต้องมีองค์อำนาจเป็นวัตถุ
เป็นพาหนะ เป็นบุคคล ที่เป็นอย่างวิเศษยิ่งจนคน
ทั้งโลกพากันยินยอม ถ้ามีก็พอนับว่า
เป็นจักรพรรดิรัตนะได้
ปัญญาที่รู้จักคุณค่า
กล่าวโดยทั่วไป รัตนะทั่วๆ ไปทุกอย่าง
จะมีประโยชน์เป็นที่ยินดีพอใจก็เฉพาะแก่
ผู้ที่รู้จักคุณค่าเท่านั้น ถ้าไม่รู้จักคุณค่า จะ
เป็นรัตนะชนิดไหน ก็สิ้นความหมาย
เหมือนอย่างยื่นแก้วให้วานร โยนไข่มุกให้แก่สุกร
ประดับอาภรณ์ให้แก่ตุ่น หรืออย่างไก่ได้พลอย
ซึ่งสู้ได้ข้าวสารเม็ดเดียวไม่ได้
บางทีคนเราประดับอาภรณ์
ให้แก่สัตว์เลี้ยงที่น่ารัก ก็เพื่อให้เราเอง
นั้นแหละเห็นว่างาม มิใช่เพื่อ
ให้สัตว์เลี้ยงเห็นตัวเองว่างาม โดยที่แท้จึงเท่า
กับประดับอาภรณ์เข้าที่ตัวเจ้าของเอง ฉะนั้น
ความสำคัญของรัตนะทั้งปวงจึง
อยู่ที่ปัญญาที่รู้จักคุณค่าของรัตนะ ปัญญาจึง
เป็นรัตนะเองด้วย เป็นเหตุให้รู้จักรัตนะอื่นๆ อีกด้วย
จึงมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญา
เป็นรัตนะของนรชน
มนุษย์เราเป็นสัตว์โลกชนิดที่มีปัญญาสูงกว่าสัตว์โลก
ด้วยกันชนิดอื่น จึงรู้จักว่าอะไรเป็นรัตนะ และรู้จัก
ใช้รัตนะ เช่นรู้จักใช้
เป็นอาภรณ์สำหรับประดับกายให้งดงาม
และรู้จักรัตนะที่ยิ่งไปกว่าอาภรณ์ประดับกาย
คือรัตนะที่อำนวยประโยชน์และความสุขที่ยิ่งไปกว่า
เมื่อรู้จักรัตนะที่มีคุณค่าสูงขึ้นไปกว่า
ก็อาจสละรัตนะที่ต่ำกว่าได้ ทั้งนี้ก็สุดแต่ใคร
จะมีปัญญารู้จักว่าอะไรเป็นรัตนะที่อุดม
คือสูงสุดของตน
รัตนะดวงที่ ๑
พระพุทธเจ้าเมื่อยังไม่ตรัสรู้พระธรรม ได้ทรง
เป็นพระโพธิสัตว์ ผู้รักความรู้ ใฝ่หาความรู้ แม้จะ
ได้ทรงรับคำนายว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และทรงบริบูรณ์
ด้วยรัตนะของฆราวาส ก็ทรงมีพระปัญญาเห็นว่า
ยังมีรัตนะที่ดีวิเศษกว่า คือพระธรรม ซึ่ง
เป็นเครื่องปลดเปลื้องทุกข์ของพระองค์เอง
และของโลก อันจะให้ประสบสุขอย่างยิ่ง
จึงทรงสละรัตนะอื่นๆ ทั้งหมด ตลอด
ถึงจักรพรรดิรัตนะที่จะทรงได้รับ
ทรงแสวงหาพระธรรมรัตนะจนทรงได้พบ
ด้วยพระปัญญา
แล้วทรงจำแนกธรรมรัตนะแก่โลก
ด้วยมีพระกรุณา เพื่อให้โลกพลอยหลุดพ้น
จากทุกข์ประสบสุขอย่างยิ่งที่พระองค์ได้ประสบนั้น
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงเป็นรัตนะ
คือแก้วดวงที่หนึ่งของโลก
ชาวโลกซึ่งมีส่วนได้รับพระธรรมรัตนะ พา
กันนิยมนับถือพระองค์ว่าเป็นรัตนะ ทั้งใน
ส่วนพระกาย ทั้งในส่วนพระจิต ในส่วนพระกายนั้น
ปรากฏว่ามีคนเป็นอันมากนิยม
ในพระรูปลักษณะมหาบุรุษของพระองค์จน
ถึงกล่าวทำนายไว้ ดังแสดงแล้วในกัณฑ์ที่ ๑
บางคนหลงใหลจนถึงออกบวช เพื่อจะ
ได้ติดตามไปคอยเฝ้าดูอยู่อย่างใกล้ชิดเสมอ จน
ถึงพระพุทธเจ้าต้องตรัสอบรมว่า “ประโยชน์อะไร
ด้วยกายอันเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา”
แม้เมื่อเสด็จปรินิพพานแล้ว พระบรมสารีริกธาตุ
(กระดูก) พระสรีรังคาร (ถ่านเ
ถ้าแห่งพระสรีรกาย) ก็
เป็นพระธาตุเจดีย์ที่เคารพบูชาอย่างสูง สถานที่
ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระองค์ เป็นต้นว่า ที่ประสูติ
ที่ตรัสรู้ ที่ทรงแสดงเทศนาครั้งแรก
ที่เสด็จปรินิพพาน ตลอดถึงบริขารที่เคยทรง
ใช้สอย ก็
เป็นบริโภคเจดีย์ที่เคารพบูชาอย่างสูงเหมือนกัน
และยังพากันสร้างพระพุทธปฏิมาเป็นอุทเทสิกเจดีย์
(เจดีย์ที่สร้างอุทิศเฉพาะ) เป็นที่เคารพบุชา
กันอีกมากมาย ด้วยเหตุแม้เช่นนี้พระกายจึงเป็นรัตนะ
แต่เหตุที่สำคัญก็คือ เพราะพระกาย
เป็นที่อาศัยของพระจิตอันบริบูรณ์ด้วยพระคุณ
ทั้งปวง กล่าวโดยย่อคือ พระปัญญาคุณ
พระวิสุทธิคุณ พระกรุณาคุณ ดังแสดงแล้ว
ในกัณฑ์ที่ ๑ ด้วยเหตุแม้เช่นนี้ พระจิตจึงเป็นรัตนะ
พระพุทธเจ้าทรงมีพระกายและพระจิตบริบูรณ์
ด้วยพระคุณทั้งปวงในส่วนพระองค์เองแล้ว
ทรงแผ่พระคุณเหล่านี้ออกไปแก่โลกพร้อม
ด้วยพระธรรมที่ทรงสั่งสอน ยังโลกที่
เป็นเวไนยนิกรให้ยินดีปลาบปลื้มในพระธรรม
และพากันได้รับสุขประโยชน์ จึงทรง
เป็นพระพุทธรัตนะของโลกดวงที่ ๑
รัตนะดวงที่ ๒
แท้ที่จริง พระธรรมควรจะเป็นรัตนะดวงที่ ๑
เพราะพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
เป็นกฎธรรมดาที่คงตัวอยู่เสมอ ใครจะค้นพบหรือ
ไม่ธรรมก็คงมีเป็นธรรม คือเป็นกฎธรรม
อยู่นั่นเอง ดังที่ได้แสดงแล้วในกัณฑ์ที่ ๒ แต่
เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าได้ทรง
ค้นพบพระธรรมก่อนใครๆ
แล้วทรงนำพระธรรมออกแสดงเปิดเผย
ชาวโลกจึง
ได้พลอยรู้พระธรรมตามพระพุทธเจ้า
จึงนับพระธรรมเป็นรัตนะดวงที่ ๒ ของโลก
พระธรรมเป็นรัตนะ เพราะมีสาระ (แก่นสาร)
ล้วนๆ ไม่มีสักหน่อยหนึ่งในพระธรรมที่ไร้สาระ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมดังกล่าว
ในรูปศาสนา คือคำสั่งสอน
เป็นสูตรปฏิบัติอย่างมีระเบียบ
เป็นประมวลระบบของชีวิตทั้งหมด เป็นประทีปส่อง
ให้เห็นความจริงทุกแง่ทุกมุมของชีวิตของตนเอง
เป็นคำสั่งสอนที่เพียงพอกับเรื่องของชีวิตของคนทุกๆ
คนอย่างครบถ้วนถูกต้อง และทุกๆ
บทของตัวพระธรรมเปี่ยมไป
ด้วยพระกรุณาของพระพุทธเจ้า
ได้ฟังพระธรรมเมื่อใดก็
ได้รับพระกรุณาของพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่
ในพระธรรมเมื่อนั้นทุกครั้งทุกคราวไป
เพราะเหตุดังกล่าวนี้ พระธรรมจึงเกี่ยวข้อง
กับตัวเราเองโดยตรง
เพราะเรื่องของตัวเราเองนี้แหละที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดง
เป็นพระธรรมสั่งสอนกลับไปให้แก่ตัวเราทุกๆ คน
เหมือนอย่างประทานกระจกเงาให้ส่องดูตัวเพื่อจะ
ได้เห็นภาพตัวแล้วแก้ไขตกแต่งตัว
หรือเหมือนอย่างประทานประทีปโคมไฟสำหรับส่อง
ให้มองเห็นทาง ดังที่ได้แสดงแล้วในกัณฑ์ที่ ๒
จึงอาจกล่าวได้ว่า พระพุทธเจ้าเหมือน
ได้ทรงมีพระเนตรมองเห็นตลอดหมด ใครจะทำ
พูด คิด อย่างไร ทรงเห็นตลอด
และทรงสั่งสอนว่า อย่างนี้ไม่ดีอย่าทำนะ อย่างนี้ดี
ให้ทำเถิด ดังนี้เป็นต้น เหตุฉะนี้
ใครประพฤติตามพระธรรมที่ทรงสั่งสอนจึงไม่มีที่
จะเสีย ไม่มีจะตกต่ำ มีแต่จะดีขึ้นเจริญขึ้นโดย
ส่วนเดียว พระธรรมล้วนมีสาระ (แก่นสาร)
อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกๆ ด้าน ไม่มีเลยที่
จะไร้สาระ จึงเป็นที่ยินดีปลาบปลื้มใจของคนที่
ได้ฟังพระธรรม ได้ปฏิบัติพระธรรม
ได้ประสบสาระในพระธรรม พระธรรมจึง
เป็นรัตนะของโลกดวงที่ ๒
รัตนะดวงที่ ๓
พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
เป็นหมู่ของคนที่เบิกบานแล้วเพราะ
ได้รับแสงพระธรรมของพระพุทธเจ้า
เหมือนอย่างดอกบัวที่บานแล้วเพราะต้องแสงอาทิตย์
เป็นรัตนะดวงที่ ๓ ของโลก เพราะเป็นหมู่ของ
ผู้บริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติอันดีงาม มีศีล คือ
ความประพฤติดี มีทิฐิ คือความเห็นดีเห็นชอบถูก
ต้องตามพระธรรมเฉพาะตนแล้ว ยังแสดงออกซึ่ง
ความประพฤติและความเห็นดีตามพระธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแก่โลกอีกด้วย
จึงมีบทสรรเสริญว่า สุปฏิปนฺโน ปฏิบัติดีแล้ว
เป็นต้น ดังแสดงแล้วในกัณฑ์ที่ ๓
เพราะเหตุดังกล่าวมา พระสงฆ์จึงเป็น ธรรมเขต (
นาธรรม) เพราะเป็น
ผู้สืบรักษาพระธรรมของพระพุทธเจ้า เป็น
บุญเขต (นาบุญ) เพราะเป็นที่เพาะปลูกบุญ คือ
ความดีต่างๆ ของโลก ดังเช่นพระภิกษุสงฆ์ แม้จะ
เป็นเพียงพระสมมติสงฆ์ดังกล่าวแล้วในกัณฑ์ที่ ๓ ก็
ยังเป็นธรรมเขตเป็นบุญเขตของโลก ใคร
จะขอศีลฟังธรรม โดยปกติก็ขอก็ฟัง
ในสำนักพระภิกษุสงฆ์ เพราะเป็นผู้มีศีลที่จะให้
มีธรรมที่จะจำแนกแจกแสดง ถ้ามาขอบาปทุศีล
มาอาราธนาให้แสดงอธรรม (ไม่ใช่ธรรม)
พระภิกษุสงฆ์จักไม่ให้ จักไม่แสดงแน่นอน เพราะไม่
ใช่เขตของพระภิกษุสงฆ์
เขตพระภิกษุสงฆ์มีแต่พระธรรม
มีแต่บุญคือคุณงามความดีเท่านั้น ส่วนพระอริยสงฆ์
ซึ่งเป็นหมู่ของคนดอกบัวบานแล้วไม่จำต้องกล่าวถึง
เป็นธรรมเขตเป็นบุญเขตโดยแท้ คนที่ไม่
ต้องการพระธรรม ไม่ต้องการบุญ จึงไม่
เข้าหาพระสงฆ์ แต่ไปเข้าหาตามที่ต้องการ ส่วนคนที่
ต้องการพระธรรม ต้องการบุญ ย่อม
เข้าหาพระสงฆ์ เมื่อเข้าหาแล้วขอศีลก็ได้ศีล
ขอฟังธรรมก็ได้พระธรรม หรือไม่ขอก็
ได้ปฏิสันถารต้อนรับด้วยศีลธรรม ได้ความนิยม
ในคุณงามความดี พระสงฆ์จึงเป็นเครื่องทำ
ให้ยินดีปลาบปลื้มใจของ
ผู้จำนงพระธรรมจำนงบุญทั่วไป จึง
เป็นพระสังฆรัตนะของโลกดวงที่ครบ ๓
เป็นรัตนะสูงสุดอย่างไร
พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ
พระสังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นี้เป็นที่นิยมนับถือบูชา
เป็นอุดมรัตนะ (รัตนะสูงสุด) ในโลก ข้อที่ทำให้เห็น
ได้ว่าสูงสุด ก็เช่นเป็นที่นิยมนับถืออย่างสูงสุด
ที่นิยมนับถือนั้นย่อมมีกันอยู่คนละหลายอย่าง
แต่ก็ยกพระรัตนตรัยเป็นที่นับถืออย่างสูงสุด
เพราะนิยมนับถืออย่างสูงสุด เพราะนิยมนับถือมาก
จึงเห็นว่ามีค่ามากหรือหาค่ามิได้ จึง
ไม่ยอมกำหนดราคาอย่างรัตนะอื่นๆ
ไม่ยอมพูดว่าซื้อขายกันด้วย จึงหารัตนะ
อื่นที่พึงนับถือเสมอเหมือนมิได้ รัตนะอื่น
เป็นของเฉพาะบุคคลเป็นพื้น ไม่
เป็นประโยชน์แก่โลกทั่วไป ไม่มีใครครอบครอง
เป็นเจ้าของอยู่ตลอดเวลานานเป็นพันๆ ปี
ส่วนพระรัตนตรัยเป็นประโยชน์แก่โลกทั่วไป
และดำรงอยู่ยั่งยืนเป็นพันๆ ปี ผู้ที่นับถือย่อมนำรัตนะ
อื่นๆ มาเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย แม้เช่นนี้ ผู้ที่
ไม่เห็นคุณค่ายากที่จะได้พบเห็น ส่วนผู้ที่เห็นคุณค่าว่า
ไม่ต่ำต้อยเท่านั้นจึงได้พบเห็นว่าเป็นอุดมรัตนะโดยแท้
ฉะนั้น จึงมาถึงรัตนะที่สำคัญที่สุด คือปัญญารัตนะ
ดวงแก้วคือปัญญาของเราเองทุกๆ คน ที่เราเองทุกๆ
คนก็มีอยู่และกำลังฝึกฝนอบรมดวงแก้วของเรานี้
อยู่ด้วยการศึกษาต่างๆ ปัญญาของเรานี้เอง
เป็นเครื่องชี้บอกว่าอะไรเป็นรัตนะ คือ
เป็นสิ่งที่ควรยินดีปลาบปลื้มใจ ควรนิยมชมชื่น
ควรเห็นดีเห็นงาม อะไรไม่ใช่ ถ้าขาดปัญญาเสีย
แล้วก็จะเป็นเหมือนไก่ที่เลือกเอาข้าวเปลือก
ไม่เอาพลอย ยิ่งในโลกปัจจุบันมีสิ่งต่างๆ
หลั่งไหลไปมาถึงกันอยู่เป็นอันมาก เป็นของจริงก็มี
ของเทียมก็มี มีประโยชน์ก็มี มีโทษก็มี มิใช่แต่บนพื้นดิน
แม้บนท้องฟ้าก็ยังมีของเทียม จึงจำ
ต้องศึกษาอบรมปัญญาให้เพียงพอเพื่อมิ
ให้เห็นดีเห็นงามนิยมชมชื่นในวัตถุหรือ
ในบุคคลที่ชั่วทราม เหมือนอย่างเห็นกงจักร
เป็นดอกบัว แต่ให้คงเห็นคุณค่าในรัตนะของตน
ให้รู้จักรักษาไว้ และรู้จักถือเอาประโยชน์
จากรัตนะของตน โดยเฉพาะคือให้มี
ความยินดีปลาบปลื้มใจในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ นับถือเป็นรัตนะ คือแก้ว ๓
ดวงของชีวิต
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
อุตฺตมํ ธมฺมมชฺฌคา
ได้ทรงบรรลุพระธรรมอันสูงสุดแล้ว
มหาสงฺฆํ ปโพเธสิ ทรงยังพระสงฆ์หมู่ใหญ่ให้รู้ทั่ว
แล้ว
อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ นี้เป็นพระรัตนตรัยอย่างนี้
๖ มิถุนายน ๒๕๐๒
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งจากทั้งหมด ๓๕ กัณฑ์
ในเรื่องหลักพระพุทธศาสนา
ที่สมเด็จพระญาณสังวร ได้เรียบเรียงขึ้น
และเทศน์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สำนักราชเลขาธิการเลือกสรรหนังสือ
เพื่อจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด
สำหรับทรงถวายสมเด็จพระญาณสังวร
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ในการฉลองชนมายุครบ ๖๐ ทัศ วันที่ ๓ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๕๑๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 17:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักพระพุทธศาสนา
๕. พระพุทธศาสนา
ลำดับความเกิดแห่งพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย แก้ว ๓ ดวงของโลก
คือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ดังแสดง
แล้วในกัณฑ์ที่ ๔ ย่อมมีขึ้นบริบูรณ์ในโลก
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนา
คือเทศน์แสดงพระธรรมสั่งสอน
ทีแรกก็มีแต่พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้พระธรรม
และมีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
ซึ่งประจักษ์แจ้งอยู่แก่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่า
นั้น ยังไม่มีใครอื่นได้ทราบด้วย
ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าได้แสดงพระธรรมนั้นสั่งสอน
อันเรียกว่าพระพุทธศาสนา จึงมีคนอื่น
ได้ทราบพระธรรมตามพระพุทธเจ้า และ
ได้รู้จักพระพุทธเจ้าขึ้นด้วยว่าเป็นผู้ตรัสรู้จริง คือ
เป็นพระพุทธเจ้า พวกคนที่
ได้ทราบพระธรรมตามนี้คือพระสงฆ์ซึ่ง
เป็นหมู่ดอกบัวที่เบิกบานแล้วในโลก ดังแสดงแล้ว
ในกัณฑ์ที่ ๓ จึงเกิดพระสงฆ์ขึ้น
ครบพระรัตนตรัย ฉะนั้น
จึงควรทราบเรื่องเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นของพระพุทธศาสนา
และความหมายที่สัมพันธ์กันต่อไป
ปัญจวัคคิยะ
พระพุทธศาสนาได้เกิดขึ้นในโลกทีแรกที่สวนกวาง (
มิคทายวัน) ชื่ออิสิปตนะ แขวงเมืองพาราณสี
ในบัดนี้เรียกว่าสารนาถ
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกแก่ฤษี
๕ รูป มีเรื่องสืบมาตั้งแต่ต้นว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๕ วัน
พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา โปรด
ให้ประชุมพระญาติวงศ์และเสนามาตย์พร้อมกัน
เชิญพราหมณ์ ๑๐๘
คนมาฉันโภชนาหารประกอบมงคลรับลักษณะ
และขนานพระนามว่า “สิทธัตถกุมาร”
พราหมณ์เหล่านั้น
ได้ทำนายพระลักษณ์ตามตำราว่า
พระราชกุมารจักมีคติเป็น ๒ คือถ้าเสด็จ
อยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
พระราชาเอกในโลก ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจัก
ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระศาสดาเอกในโลก
ดังแสดงแล้วในกัณฑ์ที่ ๑ เว้น
อยู่แต่พราหมณ์หนุ่มคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเด็กกว่าทั้งหมด
ได้ทำนายพระลักษณะแต่เพียงคติเดียวว่า
จักเสด็จออกผนวชตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
พราหมณ์หนุ่มคนนั้นชื่อว่าโกณฑัญญะ เมื่อ
ได้ทำนายอย่างกล้าด้วยความมั่นใจเป็นหนึ่งอย่างนั้น
แล้ว ก็
ได้คอยสดับตรับฟังข่าวพระราชกุมารตลอดมา
ครั้น
ได้ทราบว่าพระราชกุมารเสด็จออกทรงผนวช
แล้ว ก็ดีใจในการทำนายอย่างแม่นยำของตน เพิ่ม
ความเชื่อมั่นขึ้นว่าจักได้ตรัสรู้แน่ จึง
ได้ออกบวชตามพร้อมกับลูกพราหมณ์พวก ๑๐๘
นั้นอีก ๔ คน ซึ่งได้ยินเล่ามาจากบิดา รวมเป็น ๕ คน
ด้วยกัน เรียกรวมกันว่า ปัญจวัคคิยะ แปลว่า มีพวก
๕ ได้คอยติดตามพระโพธิสัตว์
ในระหว่างที่พระองค์ทรงทำทุกรกิริยาทรมานพระกาย
ให้ลำบากต่างๆ ได้คอยเฝ้าปฏิบัติอยู่ทุกเวลาด้วยหวัง
จะได้พลอยมีส่วนแห่งพระธรรมที่
ได้ทรงบรรลุ
ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงเลิกทุกรกิริยา
เพราะทรงเห็นว่าไม่มีประโยชน์ ก็พา
กันเลิกปฏิบัติพระองค์
เพราะเห็นว่าทรงท้อถอยเสียแล้ว และได้พา
กันหลีกไปพำนักอยู่ที่สารนาถดังกล่าวแล้ว
ทิ้งพระโพธิสัตว์ให้ประทับอยู่แต่พระองค์เดียว แต่ก็
เป็นการเหมาะกับเวลาที่พระองค์
จะทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตใจในทางใหม่ ซึ่งต้องการ
ความสงบสงัด ส่วนที่
ได้มาคอยเฝ้าปฏิบัติเมื่อทรงทำทุกรกิริยานั้น ก็ได้
เป็นพยานรู้เห็นด้วยว่าได้ทรงทำ
แล้วอย่างยิ่งยวดที่สุดอย่างไร ทำจนถึงอย่างนั้นแล้ว
ยังไม่ได้ผลอะไร ก็เป็นหลักฐานอันเพียงพอแล้วที่
จะทรงชี้บอกว่าการทรมานตัวอย่างนั้นไม่มีผลที่จะ
ให้เกิดปัญญาตรัสรู้พระธรรมได้เลยทีเดียว
เช่นเดียวกับความติดสุขจากรูปเสียง
เป็นต้นที่น่าพอใจต่างๆซึ่งก็
เป็นอันตรายแก่ปัญญาเหมือนกัน
ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธศาสนา
ครั้นพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้พระธรรม เป็นผู้รู้
แล้วบริบูรณ์ ที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า และ
ได้มีพระกรุณาจะแสดงพระธรรมโปรดโลก
แล้ว ก็ได้ทรงพิจารณาหาผู้ที่
จะเสด็จไปเทศน์โปรดเป็นครั้งแรก ได้ทรงนึก
ถึงดาบสทั้ง ๒ คือ อาฬารดาบส กาลามโคตร
และอุททกดาบส รามบุตร ที่พระองค์
ได้เสด็จไปศึกษาลัทธิปฏิบัติเมื่อเสด็จออกทรงผนวช
ใหม่ๆ แต่ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ทางตรัสรู้
จึงเสด็จหลีกออกไป ก็ได้ทรงทราบว่าดาบสทั้ง ๒
นั้นเสีย (ตาย) แล้ว จึงได้ทรงพิจารณาหาผู้อื่นที่จะ
เป็นเวไนยทีแรกของพระองค์ต่อไป ก็ได้นึกถึงฤษีทั้ง ๕
ซึ่งได้ปฏิบัติพระองค์เมื่อทำทุกรกิริยา ทรงเห็นว่า
เป็นเวไนยที่พระองค์ควรจะโปรดก่อนได้ จึงเสด็จ
จากตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองมคธ
ที่บัดนี้เรียกว่าพุทธคยา อันเป็นตำบลที่ตรัสรู้
ไปสู่ตำบลสารนาถ ที่ฤษีทั้ง ๕ นั้นพำนักอยู่
ในระหว่างทางได้ทรงพบกับอาชีวก (
นักบวชจำพวกหนึ่ง) ชื่ออุปกะ อุปกะอาชีวก
ได้เห็นพระองค์มีพระฉวีวรรณผ่องใส จึงถามว่า
ใครเป็นครูของพระองค์
พระองค์ชอบใจธรรมของใคร
พระองค์ตรัสตอบว่าไม่มีใครเป็นครูของพระองค์
พระองค์เป็นสยัมภู ผู้เป็นเอง คำถามคล้าย
กับว่านับถือพระเป็นเจ้าองค์ไหน
พระพุทธดำรัสตอบคล้ายกับว่าทรงเป็นพระ
เป็นเจ้าเอง อาชีวกนั้นสั่นศีรษะเดินหลีกไป
พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปถึงที่พำนักของฤษีทั้ง ๕
ในเวลาเย็นวันโกนของวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ
ตรัสแก่ฤษีทั้ง ๕ ว่า พระองค์ได้ตรัสรู้พระธรรม
แล้วได้เสด็จมาจะทรงแสดงพระธรรมแก่พวกเขา
ทีแรกฤษีทั้ง ๕ ไม่ยอมเชื่อ พระองค์ต้องตรัสเตือน
ให้ระลึกว่าจำได้อยู่หรือว่า วาจาเช่นนี้พระองค์
ได้เคยตรัสในคราวก่อนแต่นี้ ฤษีทั้ง ๕ จึงนึกขึ้นได้
ยินยอมจะฟังพระธรรมพระพุทธเจ้า ครั้นทรงทำ
ให้ฤษีทั้ง ๕ ยินยอม ทรงเห็นว่าพากันน้อมใจ
จะรับพระธรรม มีความตั้งใจ
จะรับฟังพระธรรมดีแล้ว
จึงทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์ครั้งแรก)
ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น อันตรง
กับวันเพ็ญกลางเดือน ๘ หน้าวันเข้าพรรษา
พระพุทธศาสนาจึงได้เกิดขึ้นในโลกจำเดิมแต่นั้นมา
ทางราชการคณะสงฆ์
ได้ประกาศกำหนดวันเพ็ญกลางเดือน ๘ หน้าวัน
เข้าจำพรรษาเป็นวันบูชาเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง
เรียกว่าวันอาสาฬหบูชา เริ่มตั้งแต่ศกที่แล้ว (พ.ศ
.๒๕๐๑) เพื่อเป็นอนุสรณ์
ถึงวันเริ่มเกิดขึ้นแห่งพระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธเจ้า
ได้ทรงเริ่มเทศน์แสดงพระธรรมเป็นครั้งแรก
เป็นอันได้ทรงเริ่มประกาศพระพุทธศาสนา
ได้เริ่มมีพระสงฆ์ขึ้น จึงเป็นอัน
ได้เริ่มมีพระรัตนครบทั้ง ๓ ตั้งแต่วันนั้นมา นับปี
ได้ว่า เมื่อก่อนพุทธศก ๔๕ ปี หลังจากตรัสรู้แล้ว
ได้ ๒ เดือน
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา แปลว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แปลว่าการสั่งสอนของพระองค์ก็ได้ โดยความก็
ได้แก่พระธรรมเทศนา
คือเทศน์แสดงพระธรรมของพระพุทธเจ้า
เพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมนั้นเอง
เป็นพระศาสนา คือ
เป็นคำสั่งสอนแนะนำฝึกอบรมเวไนยนิกร เพื่อให้มี
ความเข้าใจชัดยิ่งขึ้นจักแสดงเน้นใน
ความหมายของคำว่าพระศาสนา ซึ่งเป็น
ความหมายเฉพาะของพระพุทธศาสนา ดังต่อไปนี้
ลักษณะเฉพาะของพระพุทธศาสนา
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์โปรดโลก
ดังแสดงแล้วในกัณฑ์ที่ ๒ นั้น พระพุทธเจ้า
ได้ทรงเทศน์เป็นพระศาสนา คือเป็นการสั่งสอน
หรือเป็นคำสั่งสอนแนะนำฝึกอบรมแก่ทุกๆ คน
โดยตรง คือโดยตรงจากพระพุทธเจ้ามา
ถึงตัวของทุกๆ คนโดยตรง
เหมือนอย่างมาประทับรับสั่งอยู่เฉพาะหน้าเฉพาะตัว
ด้วยเรื่องของตัวผู้รับพระธรรมนั่นเอง
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม
เป็นพระศาสนา ที่ตรงจากพระพุทธเจ้าถึงผู้ฟัง
โดยตรงที่สุดดังกล่าว
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงจึงมิใช่เป็นคำ
หรือเป็นการต้องผ่านจากเทวะหรือมนุษย์ซึ่ง
เป็นบุคคลที่สาม จึงไม่มีข้อผูกพันกับเทวะหรือมนุษย์
อื่นอะไรทั้งสิ้น ไม่มีข้อผูกพันแม้กับพระองค์เองที่
จะบังคับให้ต้องเชื่อต้องนับถือพระองค์ จึงไม่
ต้องอ้อนวอนสรรเสริญให้ใครโปรดปราน นอก
จากจะอ้อนวอนตนเองให้โปรดตนเอง ด้วยวิธีให้ละชั่ว
ให้ทำดีด้วยตนเอง
อนึ่ง พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง มิใช่
เป็นคำพูดหรือเป็นการพูดสักว่าใช้โวหาร
และเหตุผลแวดล้อมให้คนทึ่ง
ให้คนตื่นเต้นเชื่อถืออย่างนักพูดที่เก่งในวิธีพูด
ใช้เหตุผลให้คนหลงใหล มิใช่เป็นคำพูดหรือ
เป็นการพูดเก็งหรือเดาความจริงอย่างนักคิดที่มี
ความรักจะรู้จักอะไรต่างๆ มิใช่เป็นคำพูด
หรือการพูดที่ตั้งข้อสมมติขึ้นเพื่อแสวงหา
ความจริงต่อไป มิใช่เป็นคำพูดหรือ
เป็นการพูดเล่นหัวยั่วยิ้มหรือพูดพล่อยๆ
ไร้สาระประโยชน์
ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสอน
หรือการสั่งสอน ซึ่งแสดงความจริงในตัวของทุกๆ
คนโดยตรง จากพระพุทธเจ้าโดยตรง ถึงตัวผู้ฟัง
โดยตรง ประกอบ
ด้วยสาระประโยชน์อย่างบริบูรณ์บริสุทธิ์ครบถ้วน
และพระพุทธเจ้ามิได้ทรงฟังพระธรรมมา
จากใคร มิได้ทรงรับคำสั่งสอนพระธรรมมา
จากใคร จะเป็นเทวะหรือมนุษย์ก็ตาม ทรงเป็น
ผู้ตรัสรู้พระธรรมเอง ถ้า
จะว่าต้นเดิมของพระธรรมหรือของศาสนา
เป็นเทวะก็ทรงเป็นเทวะนั้นเอง
ตามเค้าที่ตรัสตอบแก่อุปกะอาชีวก พระองค์จึงเป็น
ผู้สมกับคำทำนายพระลักษณะ ว่าจัก
เป็นพระศาสดาเอกในโลก เพราะทรง
เป็นพระศาสดาผู้สั่งสอนที่เป็นเอกคือเป็นหนึ่งจริงๆ
คือเป็นที่ ๑ ไม่เป็นที่ ๒ ของเทวะหรือมนุษย์ใดๆ
เพราะมิได้ทรงรับสั่งสอนมาจากใครดังกล่าว
โดยตรงกันข้าม ทรงเป็นพระศาสดาของเทวะ
และมนุษย์ทั้งหลาย จึงทรง
เป็นมนุษย์คนแรกที่หลุดพ้นจากความผูกพันในโลก
ทั้งสิ้น ไม่มีใครในโลกทั้งสิ้นที่จะ
ต้องทรงบูชาเซ่นสรวงอ้อนวอน ตามความ
ต้องการยึดถือผูกพัน แต่ทรงเป็นผู้ที่โลกทั้งสิ้นบูชา
และทรงแสดงพระธรรม
เป็นพระศาสนาสั่งสอนเพื่อให้ทุกๆ คนเป็นไท พ้นจาก
ความเป็นทาส ในการปฏิบัติชอบแก่ตน ด้วยตน เพื่อตน
มิใช่ต้องถูกผูกพันให้ต้องปฏิบัติเพื่อใครอื่น
การปฏิบัติชอบเพื่อตนดังกล่าว มิได้หมายความว่า
ให้เห็นแก่ตัวซึ่งเป็นการคับแคบ แต่หมาย
ความว่าปฏิบัติเพื่อให้ตนไม่เป็นคนทำชั่วทำผิด แต่ให้
เป็นคนทำถูกทำชอบตามควรแก่ภาวะของตน ฉะนั้น
จึงกล่าวได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดว่า พระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาของมนุษย์ ที่สั่งสอนมนุษย์ หรือตลอด
ถึงเทวะ ด้วยความจริงอันเรียกว่าสัจธรรม
ธรรมคือความจริง
ตามเหตุผลตั้งแต่ชั้นธรรมดาสามัญนี้แหละขึ้นไป
ที่ปัญญามนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ
นี้แหละพึงรู้เห็นได้ด้วยตนเอง และอาจนำไปปฏิบัติ
ให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งใคร
อื่นมาเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทให้ พระพุทธเจ้ามิ
ได้ทรงสั่งสอนให้หย่อนหรือยิ่งไปกว่า
ความจริงที่คนอย่างเราๆ ควรจะรู้ควรจะเข้าใจ
หรือเกินกว่าที่จะทำได้ในข้อไหนๆ เลย ฉะนั้น
จึงมีคำกล่าวถึงอาการ
หรือลักษณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม
ไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเพื่อ
ให้รู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
ทรงแสดงพระธรรมมีเหตุผลที่
ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
ทรงแสดงพระธรรมมีปาฏิหาริย์ คือ
ผู้ฟังอาจปฏิบัติให้ได้รับผลจริงได้ตามสมควรแก่
ความปฏิบัติ เพราะเหตุดังเช่นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทุกๆ
คนจึงสวดบทพระธรรมคุณได้อย่างสนิทใจว่า
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวดีแล้ว เพราะพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์
นั้นทรงกล่าวเองบอกเอง มิได้ทรงฟังคำสั่งสอนมา
จากใครให้บอกต่อ และทรงกล่าวเป็นพระศาสนา
คำสั่งสอน หรือการสั่งสอนแสดง
ความจริงที่มีสาระประโยชน์อย่างบริบูรณ์บริสุทธิ์ครบถ้วน
เป็นข้อน่ารู้ มีเหตุผล และปฏิบัติได้จริง
ถ้าจะแย้งว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม
เป็นพระศาสนาสั่งสอนแก่คนในครั้งพุทธกาลโน้น
เป็นต้นว่าทรงแสดงแก่ฤษี ๕ รูปนั้น มิได้ทรงแสดง
เป็นพระศาสนาสั่งสอนแก่พวกเราบัดนี้
พระพุทธศาสนาจึงเหมาะแก่คนในครั้งโน้น
ไม่เหมาะแก่คนในบัดนี้ ก็พึงตอบชี้แจงว่า ถ้าได้กำหนด
ความเรื่องพระธรรมดังที่ได้แสดงในกัณฑ์ที่ ๒
และในกัณฑ์นี้มาโดยลำดับแล้ว ก็จะเห็นว่า
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอน
เป็นกฎธรรมดา หรือเป็นความจริงที่อยู่ตัวที่คงตัว
เมื่อครั้งทรงแสดงเป็นจริงฉันใด ในกาลต่อมาจน
ถึงบัดนี้และในกาลต่อไปก็เป็นจริงฉันนั้น
ไม่มีกลับกลายเปลี่ยนแปลง
ถ้ากลับกลายเปลี่ยนแปลงไปได้ ก็ไม่
ใช่พระธรรมที่อยู่ตัวคงตัว
และพระธรรมดังกล่าวก็เป็นจริงที่
เป็นกฎธรรมดาของโลก กล่าวคือของทุกๆ คนทุกๆ
สิ่งในโลกทั้งหมด ในเวลาทุกกาลทุกสมัย บรรดา
ผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมสั่งสอนเอง
มีฤษีทั้ง ๕ เป็นต้น ก็เป็นไปตามพระธรรม
หรือกฎธรรมดาอันใด บรรดาคนอื่นๆ
ในเวลาก่อนแต่นั้นก็ดี ในเวลานั้นก็ดี
ในเวลาต่อมาจนถึงบัดนี้ตลอดถึงเวลาต่อไป
ไม่มีที่สิ้นสุด รวมทั้งเราทั้งหลายในบัดนี้ด้วย ก็
เป็นไปตามพระธรรมหรือกฎธรรมดาอันนั้นเสมอ
กันหมด ฉะนั้น
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ใครเมื่อไรก็ตาม
ก็เหมือนทรงแสดงแก่คนอื่นด้วยทั้งหมด
โดยเฉพาะเหมือนทรงแสดงแก่เราทั้งหลาย
ด้วยเหมือนกัน และคนในครั้งพุทธกาลซึ่ง
ได้เฝ้าฟังพระธรรม
จากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าเอง ได้รู้เข้าใจ
ได้ปฏิบัติจนบรรลุถึงผลได้ด้วยตนฉันใด คน
ในต่อมาจนถึงในบัดนี้และในต่อไปแม้ไม่มีโอกาสอย่าง
นั้น แต่ได้ตั้งใจฟังพระธรรม
ตั้งใจเรียนพระธรรม ตั้งใจปฏิบัติพระธรรม
ก็อาจรู้เข้าใจ อาจปฏิบัติจนบรรลุถึงผล
ได้เช่นเดียวกัน ฉันนั้น ข้อสำคัญให้เป็นเวไนย
คือรับแนะนำ คือรับพระศาสนา คำสั่งสอน
หรือการสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา
จึงเหมาะแก่คนทุกคนทุกกาลสมัย ฉะนั้น ทุกๆ คน
จึงสวดบทพระธรรมคุณต่อไปนี้ได้อย่างสนิทใจว่า
สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ได้ผู้บรรลุพึงเห็นเอง
เช่นอย่างเรียนเองก็รู้เอง บริโภคเองก็รู้รสเอง
อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะ
อยู่ตัวคงตัวดังกล่าวแล้ว จึงใช้ได้ทุกกาลสมัย
เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู คือมาดูหรือมาพิสูจน์
ได้ที่ตน ด้วยตน และบอกคนอื่นให้มาปฏิบัติดูได้ด้วย
โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา คือควรปฏิบัติได้
เพราะทุกๆ คนสามารถปฏิบัติให้ได้ผลจริง
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญู (ผู้รู้) พึงรู้เฉพาะตน
เช่นอย่างคนไหนเรียนคนนั้นก็รู้ คนไหนปฏิบัติคนนั้นก็
ได้ประสบผล มิใช่ว่าคนหนึ่งเรียนคนหนึ่งรู้
คนหนึ่งปฏิบัติคนหนึ่งประสบผล
หรือคนหนึ่งบริโภคคนหนึ่งอิ่ม
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้
ได้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้เข้ามาดู ควรน้อมเข้ามา อัน
ผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน นั้นแลคือพระพุทธศาสนา
โดยลักษณะทั่วไป แต่พระพุทธเจ้าก็
ได้ตรัสจำแนกแจกแจงไว้
ให้เหมาะแก่อุปนิสัยของแต่ละคนไว้เป็นอันมาก
ซึ่งเมื่อสรุปเข้าอย่างย่อที่สุดแล้ว ก็คือตรัสสอน
ให้ละชั่ว ให้ทำดี ให้ทำจิตใจให้ผ่องสะอาด เพื่อให้เป็น
ผู้พ้นทุกข์ ประสบความสุขตามภูมิชั้น
บัดนี้ พระพุทธศาสนาซึ่งได้ดังก้องออกมา
จากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ เมื่อเกิน ๒๕๐๐ ปีมา
แล้ว ก็ยังดังก้องอยู่ด้วยเสียงของบรรดาผู้ที่ได้ฟัง
ได้ยินแล้วบอกประกาศกันต่อๆ มา
ใครฟังได้ยินเสียง ได้ซาบซึ้ง
ในพระธรรมแม้แต่น้อย ก็จะมีความสุขเหมือนอย่าง
ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าแม้แต่หน่อยหนึ่ง
ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า “โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ
ปสฺสติ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา”
๒๐ มิถุนายน ๒๕๐๒
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งจากทั้งหมด ๓๕ กัณฑ์
ในเรื่องหลักพระพุทธศาสนา
ที่สมเด็จพระญาณสังวร ได้เรียบเรียงขึ้น
และเทศน์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สำนักราชเลขาธิการเลือกสรรหนังสือ
เพื่อจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด
สำหรับทรงถวายสมเด็จพระญาณสังวร
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ในการฉลองชนมายุครบ ๖๐ ทัศ วันที่ ๓ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๕๑๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 17:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักพระพุทธศาสนา
๖. พุทธศาสนิก
พุทธศาสนิกชน
เมื่อแสดงเรื่องพระพุทธศาสนาแล้ว
ก็ควรแสดงเรื่องพุทธศาสนิกชนต่อกันไป เพราะ
เป็นเรื่องที่เนื่องถึงกัน อาจจะแยกออกจากกันเสียมิได้
เหมือนอย่างกายกับใจ คำว่าพุทธศาสนิก
เป็นคำที่ผูกเรียกกันขึ้น แปลว่า
ผู้นับถือพระพุทธศาสนา
ใครก็ตามที่นับถือพระพุทธศาสนา และนับถือด้วยวิธี
ใดก็ตาม คือเป็นพุทธบริษัทจำพวกไหน หรือ
เป็นพุทธมามกะ พุทธมามิกาก็ตาม
ก็รวมเรียกว่าพุทธศาสนิกหรือพุทธศาสนิกชน
ทั้งหมด แต่ก่อนที่จะแสดงเรื่องของพุทธศาสนิกชน
โดยเฉพาะ จะกล่าวถึงคนที่นับถือศาสนาโดยทั่วๆ
ไปก่อน
หลักฐานทางถ้อยคำดึกดำบรรพ์
คนในโลกเริ่มนับถือศาสนากันมาแต่เมื่อไร ?
เป็นที่รับรองกันแล้วว่าคนเริ่มนับถือศาสนา
กันมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ก่อนมีประวัติศาสตร์
ได้มีนักค้นคว้าขุดพบซากศพและสิ่งต่างๆ ในสมัยเก่าแก่
นั้นลงสันนิษฐานถึงลัทธิศาสนาที่คนเก่าแก่นับถือต่างๆ
เป็นการพิจารณาวัตถุแล้วลงสันนิษฐาน
คราวนี้ลองพิจารณาถ้อยคำเก่าแก่
แล้วลงสันนิษฐานดูบ้าง คำเก่าแก่
นั้นขอยกขึ้นมาพิจารณาเพียงคำเดียว
คือคำว่าศาสนานี้เอง คำนี้เป็นคำดึกดำบรรพ์ที่
ยังมีชีวิตอยู่ เพราะตามหลักฐานปรากฏว่าได้พูด
กันมาตั้งแต่ก่อนพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นนานไกลและ
ยังใช้พูดกันต่อๆ มาอยู่จนถึงบัดนี้
บุพพศาสนา
ในภาษามคธว่า สาสนะ ในภาษาสันสกฤตว่า ศาสนะ
ในภาษาไทยนำมาใช้ว่า ศาสนา แปลว่าคำสั่งสอน
การสั่งสอน คำแปลนี้ถึงยังไม่หมดความหมาย ก็ได้
ความหมายที่สำคัญซึ่งอาจอธิบายให้กว้างครอบคลุม
ความหมายทั้งหมดได้ ฉะนั้น
ลองยกคำแปลนี้ขึ้นพิจารณาว่าคนเราเริ่มสั่งสอน
กันมาตั้งแต่เมื่อไร
อาจตอบตามเหตุผลว่าคนเราเริ่มสั่งสอน
กันตั้งแต่เริ่มรวมกันอยู่
ในโลกตั้งแต่ครอบครัวหนึ่งขึ้นไป
คือตั้งแต่เริ่มมีคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
หรือตั้งแต่เริ่มมีบิดามารดามีบุตรธิดาขึ้นในโลก
หรือพูดตามสมัยว่าตั้งแต่มีสังคมมนุษย์หน่วยแรกขึ้น
เพราะในเบื้องต้นพ่อแม่ก็ต้องสั่งสอนลูก อย่าว่าแต่
ในหมู่มนุษย์ แม้ในหมู่สัตว์ดิรัจฉานก็มีสั่งสอน
กันตามวิธีของสัตว์ เช่นแม่นกก็มีการสอนลูก
พระพุทธเจ้าเองก็ได้ทรงยกย่องมารดาบิดาว่า
เป็นอาจารย์คนแรก
เรียกว่าบุรพาจารย์ของบุตรธิดา
เป็นอันว่าอาจารย์อื่นๆ เป็นอาจารย์ในภายหลัง ฉะ
นั้น คำสั่งสอนของพ่อแม่ผู้เป็นบุรพาจารย์ จึง
เป็นบุพพศาสนา (ศาสนาแรก) ของลูก
อาจริยศาสนา
แต่คำสั่งสอนของพ่อแม่ที่ให้แก่ลูกโดยมาก
เพียงพอแก่ลูกในวัยเล็ก เมื่อโตขึ้นแล้วจึงต้องส่ง
เข้าโรงเรียน มอบภาระ
ให้แก่ครูอาจารย์สั่งสอนศิลปวิทยาสืบต่อไป
ครูอาจารย์ที่ดีย่อมเป็นทั้งผู้ประสาธน์ศิลปวิทยาดี
เป็นทั้งผู้ปกครองศิษย์ดี คำสั่งสอน
หรือการสั่งสอนของครูอาจารย์เพื่อผลดังกล่าวนี้
แม้มีการลงโทษเพื่อให้ศิษย์เป็นคนดี ท่านก็เรียกว่า
เป็นศาสนาอย่างหนึ่งของอาจารย์ ดัง
ในชาดกเรื่องหนึ่งในติกนิบาตเล่าไว้มีความว่า
ในอดีตกาลล่วงมานาน พระเจ้ากรุงพาราณสี
ได้ทรงส่งพรหมทัตตกุมาร
พระราชโอรสไปเรียนศิลปวิทยา
ในเมืองตักกศิลา
เพราะตามนิยมของโบราณพระราชา
ทั้งหลายย่อมทรงปรารถนาให้พระราชโอรส
ได้รับอบรมให้ละมานะ ให้อดทน ให้เปรื่องปราด
สามารถในศิลปวิทยา ให้รอบรู้ในโลกจารีต
ทั้งปวง แม้จะมีอาจารย์อยู่
ในประเทศก็โปรดส่งพระราชโอรสไปศึกษา
ในสถานที่ไกล พรหมทัตตกุมารได้เดินทางไปศึกษา
อยู่กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ท่านหนึ่งในเมืองตักกศิลา
นั้น วันหนึ่งได้ไปอาบน้ำกับอาจารย์
เห็นหญิงชราคนหนึ่งกำลังนั่งร่อนงา เห็นงา
เป็นมันย่องก็อยากเสวย จึงหยิบมาเสวยกำมือหนึ่ง
หญิงชราก็มิได้ว่ากระไร เพราะคิดว่าคงหิว
วันรุ่งขึ้นพรหมทัตตกุมารได้ทำอย่างนั้นอีก
หญิงชราก็คงไม่ว่าอะไร ในวันที่ ๓
พรหมทัตตกุมารได้ทำอย่างนั้นอีก หญิงชรา
จึงร้องขึ้นว่า อาจารย์ทิศาปาโมกข์ปล่อย
ให้พวกลูกศิษย์ยื้อแย่งของของตน อาจารย์ได้ยิน
จึงหยุดสอบถาม ได้ทราบเรื่องตลอดแล้วก็รับจะ
ใช้มูลค่าให้ หญิงชราบอกว่าไม่ประสงค์มูลค่า
แต่ขอให้อาจารย์ให้กุมารนี้ศึกษาว่าจะไม่ทำอย่าง
นั้นอีก อาจารย์พูดว่าถ้าอย่างนั้นจงคอยดู สั่ง
ให้ศิษย์หนุ่ม ๒ คนจับกุมารที่แขนทั้ง ๒ ไว้
แล้วหยิบเรียวไม้ไผ่เฆี่ยนหลัง ๓ ครั้ง
สั่งสอนว่าอย่าทำอย่างนั้นอีก
พรหมทัตตกุมารถูกเฆี่ยนมีเนตรแดงก่ำด้วย
ความโกรธ มองดูอาจารย์ทั่วตัว ผูกอาฆาตว่า
ได้ราชสมบัติแล้วจักให้ตามอาจารย์ไปฆ่าเสียให้จง
ได้ ครั้นเรียนสำเร็จแล้ว ก็เข้าลาอาจารย์
แสดงอาการอย่างมีความเคารพรัก ขอ
ให้อาจารย์รับว่าจะไปกรุงพาราณสีเมื่อให้มาเชิญ
แล้วลาอาจารย์กลับกรุงพาราณสี
พระเจ้ากรุงพาราณสีทอดพระเนตรเห็นพระราชโอรสเรียนสำเร็จกลับมา
มีพระราชหฤทัยโสมนัสยินดี ทรงปรารถนา
จะทอดพระเนตรเห็นพระโอรส
เป็นพระราชาตั้งแต่พระองค์ยังมีพระชนมชีพอยู่
จึงมอบราชสมบัติพระราชทาน
ครั้นพรหมทัตตกุมารได้ราชสมบัติแล้ว
ทรงระลึกขึ้นได้ถึงโทษอาจารย์ทำแก่พระองค์
จึงทรงส่งทูตไปเชิญอาจารย์ให้มา
ฝ่ายอาจารย์คิดว่าพระราชายังหนุ่ม ตนยังไม่อาจ
จะพูดให้ยินยอมได้จึงยังไม่ไป ครั้นกาลล่วงไป
พระราชาเจริญพระชนม์ขึ้นจนถึงมัชฌิมวัยแล้ว
อาจารย์จึงเดินทางไปกรุงพาราณสี ให้กราบทูล
ให้ทรงทราบ พระราชาทรงยินดีโปรด
ให้อาจารย์เข้าเฝ้า
ครั้นทอดพระเนตรเห็นอาจารย์
ก็ทรงรู้สึกเหมือนกำลังถูกเฆี่ยน
มีพระเนตรแดงก่ำขึ้นด้วยโทสัคคิ (ไฟโทสะ) ทันที
ตรัสว่า วันนี้อาจารย์ของเรามาถึงที่ตายแล้ว
นำมัจจุราชติดมากับหน้าผากของตนแล้ว
ตรัสแก่อาจารย์ว่า ท่านระลึกได้ไหม
ถึงวันที่ท่านเฆี่ยนเราด้วยเรียวไผ่ ท่านไม่ยินดีในชีวิต
แล้วหรือจึงมา วันนั้นท่านเฆี่ยนเรา วันนี้เรา
จะฆ่าท่าน ฝ่ายอาจารย์ไม่แสดงครั่นคร้าม
กล่าวตอบด้วยท่วงท่าของอาจารย์ว่า อารยชน (
คนเจริญ) ย่อมห้ามปรามคนที่ทำอนารยกรรม (
กรรมไม่ดี) ด้วยการลงโทษให้เข็ดหลาบได้ นั้น
เป็นศาสนา (การสั่งสอน) มิใช่เป็นเวร
ปวงบัณฑิตย่อมเข้าใจกันอย่างนี้ มหาราช ถ้าข้าพเจ้า
ไม่ทำให้พระองค์ศึกษาอย่างนั้น
ต่อไปพระองค์ประพฤติผิดยิ่งขึ้น
ทรงประสบมหันตภัยเสียแล้ว จักทรง
ได้ราชสมบัติเห็นปานฉะนี้จากที่ไหนเล่า
พวกอำมาตย์ที่เฝ้าอยู่ได้สดับเรื่องนั้น ก็พา
กันกราบทูลสนับสนุนคำของอาจารย์
พระราชาทรงพิจารณาทบทวน
แล้วทรงเห็นจริงตามคำอาจารย์
ทรงหายพิโรธสิ้นอาฆาต กลับทรงระลึก
ถึงคุณของอาจารย์จึงพระราชทานสิ่งปฏิการต่างๆ
และทรงตั้งไว้ในที่เป็นปุโรหิตผู้ถวายอนุสาสน์
เรื่องนี้มีคติอยู่มาก แต่โดยเฉพาะแสดงว่า
การสั่งห้ามปรามมิให้ทำผิด แม้ของอาจารย์ ก็ถือว่า
เป็นศาสนาอย่างหนึ่งๆ มาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล
รัฐศาสนา
แต่คำสั่งสอนของอาจารย์ก็เพียงพอ
อยู่สำหรับการศึกษาเล่าเรียน และเป็นไป
ในวงการเรียน หรือภายในโรงเรียน ยัง
ไม่เพียงพอสำหรับคนทั่วไปที่รวมกันอยู่
เป็นประเทศชาติ จึงต้องมีคำสั่งสอนของประมุข
ผู้ปกครองหมู่ชน คำสั่งสอนของผู้ปกครองนี้ เรียก
ในคัมภีร์แต่เก่าก่อนว่าศาสนาเหมือนกัน
ดังมีคำเรียกธุรการฝ่ายปกครองว่าปสาสนธุระ
สาสนะในคำนี้ก็คือศาสนานั้นเอง ท่านเล่าว่า
พระเจ้าจักรพรรดิซึ่ง
เป็นเจ้าโลกแต่พระองค์เดียวทรงปกครองชาวโลก
ทั้งสิ้นด้วยทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติในศีล ๕ ศีล ๕ จึง
เป็นจักรวรรดิศาสนา พระราชามหากษัตริย์
หรือท่านผู้ปกครองผู้ตั้งอยู่ในราชธรรม หรือ
ในธรรมของผู้ปกครอง ย่อมสั่งสอนประชาชน
ด้วยวิธีต่างๆ แม้ในประเทศไทยสยามนี้เองก็มีเล่าไว้
ในศิลาจารึก
ในรัชสมัยพระเจ้าขุนรามคำแหงกรุงสุโขทัยว่า ถ้า
ไม่ใช่วันอุโบสถ “
พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือขดารหิน
” พระราชทานราโชวาทแก่ประชาราษฎร์ทั่วไป
ธรรมศาสนา
แต่คำสั่งสอนของผู้ปกครองให้สำเร็จประโยชน์
เป็นเครื่องปกครองทางกายเป็นพื้น และประกอบ
ด้วยการลงโทษผู้ละเมิดต่างๆ ยังไม่
เป็นเครื่องปกครองจิตใจได้อย่างเพียงพอ จึงมี
ผู้แสดงคำสั่งสอนขึ้นอีกประเภทหนึ่ง
มุ่งสำหรับปกครองจิตใจ ดังที่เรียกกัน
ในบัดนี้ว่าศีลธรรมหรือศาสนา
การยกศัพท์ว่าศาสนาขึ้นสันนิษฐานในทางว่า
คือคำสั่งสอนที่มีในสังคมมนุษย์ตั้งแต่ต้นเดิมมา และ
ในหมู่ชนทั่วไปนี้ เมื่อกำหนดใจไว้ว่า ศาสนาคือคำสั่งสอน
หรือการสั่งสอนอย่างธรรมดาๆ นี้เองเท่านั้น ก็จะ
เข้าใจตามที่แสดงมาโดยตลอด ว่าคำสั่งสอน
ได้ขยายตัวกว้างออกไปเพื่อให้
เป็นเครื่องปกครองคนอย่างเพียงพอ
โดยลำดับอย่างไร และอาจสรุปคำสั่งสอน
ทั้งหมดลงได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. คำสั่งสอนที่ยังไม่เพียงพอ ยังไม่จบ
๒. คำสั่งสอนที่เพียงพอแล้ว จบลงแล้ว
ประเภทที่ ๑ คำสั่งสอนที่ยังไม่เพียงพอ ยังไม่จบนั้น
เช่นคำสั่งสอนของบิดามารดาในชั้นต้น
เช่นบิดามารดาสอนให้ลูกหัดพูด หัดนั่ง ยืน เดิน วิ่ง
และหัดในกิจอื่นๆ แต่ยังไม่พอ เมื่อลูกโตขึ้นจึง
ต้องส่งไปโรงเรียน แม้คำสั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ
ในโรงเรียนก็ไม่มีจบ ศิลปวิทยาแต่ละอย่างก็ยัง
ค้นคว้าแก้ไขเพิ่มเติมกันเรื่อยไป และมีมากมาย จึง
ต้องจัดหลักสูตรกำหนดว่าให้เรียนเพียงไหน
ในชั้นไหน และเมื่อถึงชั้นไหนก็
ให้สำเร็จเสร็จการเรียนกันเสียที
แม้วิชาที่เรียกว่าปรัชญาก็เป็นเรื่องไม่จบเหมือนกัน
ยังค้นคว้าแก้ไขเพิ่มเติมกันต่อไป คำสั่งสอนของท่าน
ผู้ปกครองที่เรียกในปัจจุบันว่ากฎหมายเป็นต้นก็คง
ไม่จบสิ้น ไม่เพียงพอ ดังกล่าวเหมือนกัน น่าจะเป็น
เพราะเหตุนี้ คำสั่งสอนประเภทนี้จึง
ไม่นิยมเรียกว่าศาสนา
ประเภทที่ ๒ คำสั่งสอนที่เพียงพอแล้ว จบลงแล้ว
ได้แก่คำสั่งสอนที่เรียกว่าศาสนาในบัดนี้
เพราะทุกศาสนาต่างก็แสดงคำสั่งสอน
ถึงที่สุดตามลัทธิของตน
เช่นบางศาสนานับถือเทวดาประจำธรรมชาติต่างๆ
ก็แสดงว่ามีที่สุดเพียงเทวดาเหล่านี้เท่านั้น
บางศาสนานับถือเทพเจ้า
ผู้สร้างมากองค์บ้างองค์เดียวบ้าง
ก็แสดงว่ามีที่สุดเพียงเทพเจ้าเท่านั้น
บางศาสนานับถือธรรม ก็แสดงธรรมที่สูงสุด
ที่บุคคลพึงเข้าถึงได้ด้วยปัญญาของตน
คำสั่งสอนประเภทที่ ๑
เช่นคำสั่งสอนของมารดาบิดาดังกล่าวแล้ว สั่งสอน
อยู่ในเหตุผลใกล้ๆ ตัว แม้ที่
ไกลออกไปดังศิลปวิทยาต่างๆ ตลอด
ถึงปรัชญาต่างๆ ผู้แสดงที่เป็นต้นเดิมเองก็
ไม่ปรากฏว่าใครปฏิญญาตนเองว่าเป็นผู้รู้จบแล้ว
ส่วนคำสั่งสอนประเภทที่ ๒ อันเรียกว่าศาสนา สั่งสอน
ในเหตุผลที่กว้างที่ไกลตัวออกไปจนถึงที่สุด
ดังเช่นเมื่อสอนเรื่องโลก ที่สุดโลก
ในด้านอดีตก็คือการสร้างโลกหรือกำเนิดโลก
ที่สุดในด้านอนาคตก็คือเรื่องความสิ้นสุดของโลก
และผู้แสดงก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้รู้จบแล้ว
จบจริงหรือ
คำสั่งสอนประเภทที่ ๑ ไม่มีปัญหาต่อไป
ส่วนประเภทที่ ๒ อันเรียกว่าศาสนานั้น
มีปัญหาต่อไปว่าผู้แสดงเป็นผู้รู้จบจริงหรือไม่
คำสั่งสอนนั้นเพียงพอแล้วจบลงแล้วจริงหรือไม่
ปัญหานี้ภูมิปัญญาของคนเรานี้เองเป็นผู้ตอบได้ คือ
ถ้าถูกต้องกับความจริงอย่างบริบูรณ์บริสุทธิ์แล้ว
ก็เป็นศาสนาที่บริบูรณ์บริสุทธิ์ คือเพียงพอแล้ว
จบลงแล้ว มีลักษณะดังที่แสดงมาแล้ว
ในเรื่องพระธรรม
ศาสนาที่ดี
ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อเว้นส่วนที่เป็นปรมัตถะหรือ
ส่วนที่สูงสุดของแต่ละศาสนาเสียกล่าวเฉพาะส่วนที่
เป็นประโยชน์แก่ชีวิตปัจจุบัน
ศาสนาที่ดีทุกศาสนาย่อมสั่งสอนให้คนทุกคนประกอบ
ด้วยศีลธรรม มีศีลธรรม
เป็นเครื่องปกครองจิตใจและความประพฤติ
ไม่มีศาสนาที่ดีศาสนาไหนสั่งสอน
ให้คนทอดทิ้งศีลธรรม ฉะนั้น ศาสนิกชน
คนที่นับถือศาสนาแม้ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ล้วนเป็น
ผู้ที่นับถือหลักศีลธรรมในโลก มีศีลธรรม
เป็นหลักปกครองใจและความประพฤติ
แม้นับถือศาสนาต่างกัน แต่ต่างเคารพอยู่
ในหลักศีลธรรมด้วยกัน จึงอยู่รวมกันได้
โดยสงบสุข
คนแปลกประหลาด
คนเราที่อยู่ร่วมครอบครัว ร่วมหมู่
ร่วมถิ่นฐานบ้านเมือง จนถึงอยู่ร่วมโลกกัน
โดยปกติเมื่อพบกันเข้าก็รู้จักกันว่า คนไทย คนจีน
คนแขก คนฝรั่ง เป็นต้น
เพราะมีลักษณะหน้าตาผิวพรรณเป็นต้น
เป็นเครื่องบอกให้รู้ แต่ถ้าจะมีใครสักคนหนึ่ง
ไม่มีลักษณะบอกได้ว่าเป็นชาติไหนปรากฏตัวเข้ามา
ใครจะรู้ได้หรือว่าเขาเป็นคนอะไร มาจากไหน ดู
เป็นคนแปลกประหลาดในโลก ฉันใด
คนที่นับถือศาสนาต่างๆ ก็ฉันนั้น เมื่อพบกันก็ย่อม
จะรู้จักกันได้ว่าใครเป็นคนอย่างไร
มีหลักเชื่อถือปฏิบัติอย่างไร
หรือมีศีลธรรมอย่างไร ถึง
จะถืออย่างคร่ำครึอย่างไรก็ยังดูรู้จักกันได้
เพราะทุกศาสนาย่อมแสดงหลักธรรมของตนไว้ทั้ง
นั้น เป็นเครื่องชี้ให้ทราบได้ว่าศาสนิกชนของศาสนา
นั้นๆ เป็นอย่างไร คือมีทางปฏิบัติตามลัทธิศาสนานั้นๆ
อย่างไร แต่ถ้าจะมีใครที่
ไม่นับถือศาสนาอะไรมาปรากฏตัวขึ้นใครจะรู้ได้ว่า
เขาเป็นคนอะไร มีหลักเชื่อถืออย่างไร ดู
เป็นคนแปลกประหลาดอันจะต้องพึงระมัดระวัง
เพราะไม่รู้ว่าจะมาทำอะไร มี
ความคิดเห็นนับถืออะไรอยู่
เพราะตามธรรมดาทุกคนจะต้องนับถือหลักอัน
ใดอันหนึ่งอยู่ทั้งนั้น ดังได้แสดง
แล้วตั้งแต่ต้นว่าศาสนาคือคำสั่งสอน
นั้นมีมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์
คนนับถือคำสั่งสอนก็มีมาตั้งแต่ดำดำบรรพ์เหมือนกัน
ฉะนั้น จึงไม่มีใครที่ไม่มีหลักอะไรเป็นที่นับถือเลย
ถ้าไม่เป็นศาสดาตั้งหลักของตนขึ้นสั่งสอนเอง ก็
ต้องนับถือรับฟังคำสั่งสอนจากผู้อื่น คนเช่นนี้จึง
ต้องตรวจสอบให้แน่ว่าเขาเป็นศาสดาองค์ใหม่ขึ้น
หรือนับถือศาสนาของศาสดาองค์ใหม่อื่นองค์ไหน
คนหลักลอย
บางคนอาจลังเลใจในศาสนาต่างๆ ที่แสดงตรง
กันมาบ้าง ขัดกันบ้าง จึงยังไม่ปลงใจนับถือจริงลง
ได้ ถ้ายังไม่นับถือเพราะเหตุเช่นนี้ ก็ยังไม่ควรตำหนิ
เพราะมีเหตุผลที่สมควรอยู่ แต่ถ้าไม่ศึกษาสอบสวน
ปล่อยให้ลังเลใจอยู่เรื่อยไป ก็กลาย
เป็นคนหลักลอยทางจิตใจ
ถ้าศึกษาสอบสวนตามเหตุผลให้ตลอด ก็จะ
เป็นประโยชน์มากกว่าเชื่อถืออย่างไม่มีเหตุผล
ศาสนาที่สอนให้รู้
ทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประสงค์
ให้พุทธศาสนิกชนเชื่อถือตามเหตุผลด้วยปัญญาของตน
ทรงแนะนำให้พากันมาดูให้เห็นประจักษ์ด้วยตนเอง
ดังบทพระธรรมคุณว่า “เอหิปสฺสิโก ควรเรียก
ให้มาดู” เมื่อทรงแสดงปฐมเทศนา
ในวันอาสาฬหบูชาบุรณมีก็มิได้ทรงขอให้ฤษีทั้ง ๕
เชื่อก่อน เพียงแต่ตรัสให้ตั้งใจฟัง
เมื่อทรงแสดงปฐมเทศนาจบลงแล้ว
พระโกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรม
คือเห็นจริงขึ้น พระพุทธเจ้าตรัสอุทานว่า “
โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ” (
จึงเกิดมีคำเรียกท่านว่าพระอัญญาโกณฑัญญะสืบมา)
มิได้ตรัสว่าโกณฑัญญะได้เชื่อพระองค์แล้วเลย
พระโกณฑัญญะนี้เองได้เป็นปฐมอริยพุทธศาสนิกชน
ในโลกตั้งแต่เมื่อเกิดดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม
พระพุทธเจ้าได้ทรงอบรมฤษีอีก ๔ รูปให้
ได้ดวงตาเห็นธรรม ในต่อมา ได้ทรงอบรมฤษีทั้ง ๕
ให้ได้ปัญญาเป็นเหตุให้พ้นทุกข์ทั้งหมดเหมือนพระองค์
ได้เสด็จจาริกประกาศพระพุทธศาสนา
แสดงหนทางที่ชอบแก่โลกโดยลำดับ
จึงมีพุทธศาสนิกชน คือพระสงฆ์สาวก
หรือพุทธบริษัท พุทธมามกะ พุทธมามิกา ต่อมาจน
ถึงทุกวันนี้
พุทธศาสนิกชนแท้
พระพุทธเจ้าได้ทรงยังล้อพระธรรมให้หมุนไป
ในโลกตั้งแต่ทรงแสดงปฐมเทศนาเป็นต้นมา
จึงเรียกชื่อปฐมเทศนาโดยเฉพาะว่า “ธรรมจักร”
แปลว่าล้อคือธรรม
จะเรียกวันที่ทรงแสดงคือวันอาสาฬหปุณณมีว่าวันธรรมจักรก็
ได้ เมื่อล้อพระธรรมหมุนไปในที่ใดทิศใด
ก็ปรากฏมรรคาคือทางที่ชอบขึ้นในที่นั้นทิศนั้น
เป็นสายเดียวประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ ประการ
คือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ
อาชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ
ใครเดินทางชอบมีองค์ประกอบ ๘ รวมกัน
เป็นทางเดียวนี้แล คือพุทธศาสนิก
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ มารเสนปฺปโมหนํ ท่าน
ทั้งหลายจงปฏิบัติเดินทางที่ทำมารและเสนา
ให้หลงนี้แล
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ ท่าน
ทั้งหลายปฏิบัติเดินทางนี้แล้ว จักทำทุกข์ให้สิ้นสุดได้
ดังนี้
๔ กรกฎาคม ๒๕๐๒
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งจากทั้งหมด ๓๕ กัณฑ์
ในเรื่องหลักพระพุทธศาสนา
ที่สมเด็จพระญาณสังวร ได้เรียบเรียงขึ้น
และเทศน์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สำนักราชเลขาธิการเลือกสรรหนังสือ
เพื่อจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด
สำหรับทรงถวายสมเด็จพระญาณสังวร
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ในการฉลองชนมายุครบ ๖๐ ทัศ วันที่ ๓ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๕๑๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 17:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักพระพุทธศาสนา
๗. สรณะ
สรณะกับคน
คนในโลกนี้ ส่วนมากทำไมจึงนับถือศาสนา
น่าตอบอย่างสั้นๆ ว่า เพราะคน
ส่วนมากเห็นว่าศาสนาอาจเป็นสรณะคือที่พึ่ง หรือ
เป็นสรณะของตนได้ เมื่อใดคนเห็นศาสนาใดไม่อาจ
เป็นสรณะคือที่พึ่งของตนได้แล้ว ก็จะเสื่อม
หรือเลิกนับถือศาสนานั้นเมื่อนั้น ฉะนั้น ศาสนาที่
จะดำรงอยู่ได้ จึงต้องเป็นศาสนาที่อาจ
เป็นสรณะของคนได้จริง แต่ก็ต้องเกี่ยวแก่คน
ด้วยเหมือนกัน คือแม้จะเป็นศาสนาที่เป็นสรณะ
ได้จริง ถ้าคนไม่นับถือ ไม่ถึงเป็นสรณะจริง
หรือนับถือถึงเป็นสรณะในทางผิด ก็ทำ
ให้ศาสนาเสื่อมไปได้เหมือนกัน เหมือนอย่างเอกราช
หรืออิสรภาพของประเทศชาติซึ่งเป็นของดี ถ้าคน
ในประเทศชาติไม่รักษาไว้ให้ดีก็อาจเสียไปได้
การที่เสียไปนั้นมิใช่เป็นเพราะเอกราช
หรืออิสรภาพนั้นไม่ดี แต่เป็นเพราะรักษาไว้ไม่
ได้เอง ฉะนั้น ศาสนิกคือคนที่นับถือศาสนาเองจึงเป็นเหตุ
ให้ศาสนาเสื่อมไปได้ รวมความว่าศาสนาที่จะดำรงอยู่
ได้ เพราะศาสนาเป็นสรณะได้จริง ๑ คนนับถือ
หรือถึงเป็นสรณะจริง ๑ ฉะนั้น ในกัณฑ์นี้
จะแสดงเรื่องสรณะสืบต่อไป
สรณะกับความกลัว
สรณะ แปลว่า ที่พึ่ง ที่พึ่งพำนัก ที่พึ่งกำจัดภัย
คือที่พึ่งที่ช่วยให้พ้นภัยได้ เมื่อเกิดภัยขึ้น ที่ใดช่วย
ให้พ้นภัยให้ปลอดภัยได้ ที่นั้นแหละเรียกว่าสรณะ
คือที่พึ่งของตน ภัยได้แก่ สิ่งที่พึงกลัว
ความกลัวที่เกิดขึ้นในสิ่งที่พึงกลัวนั้นก็เรียกว่าภัย
ความกลัวเกิดขึ้นจากอะไร ความกลัวเกิดขึ้นจาก
ความรักหรือสิ่งที่รัก รักในสิ่ง
ใดมากก็กลัวมากว่าสิ่งที่รักนั้นจะเป็นอันตราย และ
ถ้าเห็นว่าอะไรจะทำอันตรายแก่สิ่งที่รัก
ซึ่งมีอำนาจเหนือตนอยู่ ก็จะกลัวต่อสิ่งนั้นมาก
ยอดแห่งสิ่งที่รักของคนและสัตว์ดิรัจฉานทั่วไป
นั้นคือชีวิตของตนเอง สิ่งที่รักอื่นๆ ก็เป็นที่รักรองๆ
ลงมา จึงพากันกลัวอันตรายของชีวิตมากที่สุด
สิ่งที่รักที่เนื่อง
กับชีวิตอีกอย่างหนึ่งคือที่ตั้งอาศัยของชีวิต อันหมาย
ถึงร่างกายประกอบด้วยจิตใจ จึงพา
กันกลัวอันตรายที่จะมาบั่นทอนร่างกาย เมื่อรัก
ในชีวิต รักในร่างกาย ก็พลอยรักในคน
ในทรัพย์สมบัติและสิ่งต่างๆ ที่เป็นอุปกรณ์ (
เครื่องอุดหนุน) หรือเป็นปัจจัย (เครื่องอาศัย)
ให้เกิดความสุขแก่ชีวิตและร่างกายอีกมากมาย จึงพา
กันกลัวอันตรายที่จะเกิดแก่สิ่งอุปกรณ์เหล่านี้
มากบ้างน้อยบ้างตามแต่จะรักมาก
หรือรักน้อยเพียงไร รวมความว่า
โดยปกติคนกลัวภัยที่จะเกิดแก่ชีวิต
คือกลัวตายมากที่สุด ต่อลงมาก็กลัวภัยที่
จะเกิดแก่ร่างกายและแก่ทรัพย์สินเป็นต้น
คือกลัวเจ็บและกลัวขาดสุข ดังจะยกตัวอย่างว่า
งูพิษ แขนหัก ของหาย ๓ อย่างนี้ใครกลัวอะไรมาก
เป็นที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ตามตัวอย่างนี้ คนทั่วไป
จะกลัวงูพิษมากเป็นที่ ๑ เพราะอาจจะกัดตาย
กลัวแขนหักเป็นอันดับ ๒ เพราะทำให้ร่างกายเจ็บ
หรือพิการ กลัวของหายเป็นที่ ๓ เพราะทำ
ให้ขาดของใช้สอยทำให้ขาดความสุขความสะดวก
จึงรวมพูดสั้นๆ ว่า รักมากก็กลัวมาก
รักน้อยก็กลัวน้อย ไม่รักอะไรเลยก็ไม่
ต้องกลัวอะไรเลย
กลัวเจ็บกับกลัวตาย
ทุกคนคงเคยมีความกลัวอยู่ด้วยกัน เพราะต่างก็มี
ความรักในชีวิตร่างกายและความสุขเหมือนๆ กัน
จึงกลัวสิ่งที่จะเป็นภัยแก่ชีวิตเป็นต้น เมื่อยังเป็นเด็ก
เล็กมากยังไม่เดียงสา อาจยังไม่รู้จักกลัวตาย
แต่ก็สังเกตได้ว่ากลัวเจ็บ นักสังเกตบางท่านกล่าวว่า
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่มีความรู้น้อยไม่รู้จักกลัวตาย
แต่แสดงว่ารู้จักกลัวเจ็บ สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่มี
ความรู้มากจึงรู้จักกลัวตาย คำกล่าวนี้อาจเป็นไป
ได้ เพราะอาจเทียบได้กับเด็กดังกล่าวแล้ว
น่าสังเกตว่า เด็กเล็กๆ ค่อยรู้จักกลัวเจ็บในเมื่อ
ได้ผ่านเจ็บมาบ้างแล้วและค่อยรู้อะไรบ้างแล้ว
ดังเช่นเด็กเล็กๆ มองเห็นไฟยังไม่รู้จักไฟ
จึงเอื้อมมือไปจับ ถ้าจับถูกไฟไฟก็จะลนมือให้เจ็บ
ให้ร้อน เด็กก็จะร้องเพราะมีความรู้สึกเจ็บ ทำให้
ไม่กล้าจับไฟเพราะกลัวเจ็บ
ส่วนอาการหลบภัยอาจมีตามระบบของร่างกายตามธรรมชาติ
เช่นเมื่อมือถูกไฟมือก็ชักกลับหรือกำมือ
ตากะพริบเมื่อผงเข้าตา เด็กเล็กๆ
ก็แสดงอาการดังกล่าวได้ทั้งๆ ที่ยังไม่เดียงสาอะไร
ต่อเมื่อรู้จักเดียงสาขึ้น โดยเฉพาะคือเมื่อรู้จักกลัวขึ้น
จึงรู้จักกลัวเจ็บ กลัวสิ่งที่ทำให้เจ็บ
และรู้จักกลัวตายต่อเมื่อเริ่มรู้จักรักชีวิต
และรู้ว่าความตายคือความสิ้นสุดของชีวิต
จึงกลัวสิ่งที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต นอกจากนี้ยังกลัว
ในสิ่งอื่นๆ อีก
สิ่งที่กลัวต่างๆ
สิ่งที่กลัวนั้น โดยลักษณะทั่วๆ ไป คือสิ่งที่มีอำนาจ
สามารถให้โทษให้ทุกข์ได้ เป็นสิ่งที่มองเห็นตัวได้ก็มี
เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นตัวก็มี สิ่งที่มองเห็นตัวเช่นคนที่
สามารถลงโทษได้ สัตว์ดิรัจฉานที่อาจทำอันตราย
ได้ เครื่องประหัตประหารต่างๆ รถที่อาจวิ่งชน
หรือทับเอาได้ หรือภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหว
น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด ลมไต้ฝุ่น ฟ้าผ่า ส่วนที่มอง
ไม่เห็นตัวนั้น เช่นผีสางเทวดาที่คิดกลัว
กันตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
กลัวที่หลอกเด็ก
บางที เมื่อเด็กเริ่มรู้จักเดียงสามากขึ้น ก็ถูกอบรม
ด้วยใช้วิธีหลอกให้กลัว เช่นบอกว่าตุ๊กแกจะกินตับ
งูเขียวจะกินตับ จะนำไปขายให้แก่แขก เป็นต้น เพื่อ
ให้เด็กหยุดร้อง บางทีเมื่อเด็กไปยืนในที่หมิ่น
จะพลัดตกลงไป ก็บอกว่าหยุดซน อย่าไปยืนที่นั่น ผี
จะผลัก เมื่อเด็กจะลงเล่นน้ำ ก็บอกว่าอย่าลงไป ผี
จะฉุดขา เมื่อเห็นเด็กน่ารัก ก็ต้องพูดว่าน่าเกลียดเพื่อ
ให้ผีพลอยเกลียด จะได้ไม่นำเด็กไป ถ้าพูดน่ารัก ผี
จะพลอยรัก และนำเอาเด็กไป ผู้ที่บอก
หรือพูดเช่นนี้ บางทีก็เชื่ออย่างนั้น หรือ
ไม่เชื่อทีเดียวก็กริ่งเกรงอยู่บ้าง หรือเกรงคนที่เชื่อ
จะไม่สบายใจจึงพูดเพื่อรักษาใจคนที่เชื่อ แต่
ผู้ที่มุ่งเหตุผลย่อมไม่อบรมเด็ก
ด้วยวิธีหลอกแต่อบรมด้วยเหตุผล เช่นห้ามเด็กมิ
ให้ยืนในที่หมิ่น ด้วยชี้แจงว่าอาจจะตกลงไป
เป็นอันตราย ห้ามเด็กมิให้ลงเล่นน้ำ ด้วยชี้แจงว่า
ถ้าว่ายน้ำไม่เป็นจะจมลงไปอย่างไร และไม่ชักนิยาย
หรือชักนำให้เด็กกลัวผี เด็กที่ได้รับอบรม
ด้วยเหตุผลจะรู้จักใช้เหตุผลขึ้นโดยลำดับ
บางทีเมื่อถูกผู้ใหญ่ให้ไปหยิบอะไรในห้องมืด ถ้า
จะบ่ายเบี่ยงก็อ้างว่ากลัวมืด แทนที่จะอ้างว่ากลัวผี
กลัวที่หลอกผู้ใหญ่
ความกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็นตัว เช่นกลัวผีนี้
เป็นที่รับรองกันว่าได้มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ นอก
จากกลัวยังนับถือผีบางประเภท เช่นผีบรรพบุรุษ
ผีฟ้า หรือเทพต่างๆ เพราะเชื่อว่านอกจากมีพระเดช
ให้โทษให้ทุกข์ได้แล้ว ก็ยังมีพระเดชป้องกันโทษทุกข์
และมีพระคุณเกื้อกูลให้เกิดความสุขความเจริญอีก
ด้วย เมื่อเห็นว่าผีเหล่านี้สิงสถิตอยู่ในที่ใด เช่นที่ภูเขา
ใหญ่ ที่ป่า ที่สวน ที่ต้นไม้ใหญ่ ก็ไปบูชาที่นั้น ขอพึ่งให้
ช่วยบำบัดภัยอันตราย ให้ช่วยบอกโชคลาภ
สมดังพระพุทธภาษิตบทหนึ่งแปลความว่า “มนุษย์
ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า สวน
ต้นไม้ที่เป็นเจดีย์ทั้งหลาย ว่าเป็นสรณะคือที่พึ่ง กัน
เป็นอันมาก” ผีที่ขอพึ่งถึงเป็นสรณะเหล่านี้มอง
ไม่เห็นตัว แต่ก็ยังมองเห็นที่สิงสถิต มีภูเขาเป็นต้น นับว่า
เป็นพวกผีดิน หรือภุมเทวดา ผู้อาศัยอยู่บนดิน
หรืออาศัยอยู่บนสิ่งที่ตั้งอยู่บนดิน นอกจากนี้
ยังนับถือพวกผีฟ้า หรือเทวดาที่เป็นเจ้าแห่งลม ฝน
เป็นต้น ที่ปรากฏอยู่บนฟ้า หรือที่ตกลงมาจากฟ้า
เพราะเชื่อว่าลมฝนเป็นต้นเหล่านี้ คงมีเจ้าทุกๆ อย่าง
ผู้อาศัยอยู่บนฟ้า เป็นอันว่าขอพึ่งถึงเป็นสรณะ
ในสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ทั้งเทพทั้งถิ่นที่อาศัยของเทพนั้นๆ
เมื่อนับถือเทพต่างๆ แข่งขันกันมากขึ้น ไม่ยอมลงกัน
ผู้นับถือเองก็ชักลังเลใจในเทพที่ตนนับถือ
จึงเกิดนับถือเทพผู้สูงสุดแต่น้อยองค์หรือแต่องค์เดียว
และเชื่อว่าเป็นผู้สร้างผู้ทำในสิ่งที่คนไม่รู้ทั้งหมด
แม้เทพเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นตัวตลอดทั้งที่
อยู่อาศัย แต่ก็เป็นความเชื่อที่รวมความเชื่อของคนให้
เป็นกลุ่มเป็นก้อนไว้ได้ตามคราวตามสมัย
ความเชื่อถือในสิ่งที่มองไม่เห็นตัวทั้งหมดนี้น่า
จะเติบโตมาจากกลัวผีอย่างธรรมดานี้เอง ซึ่ง
ได้รับการส่งเสริมขึ้นโดยลำดับ
การอบรมสั่งสอนด้วยวิธีให้กลัวผีอย่างธรรมดา
ใช้สำหรับเด็กดังกล่าวแล้ว แม้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
แล้วก็คงสั่งสอนให้กลัวอยู่นั่นเอง เป็นอันไม่พ้น
จากกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็นตัว
กลายมาเป็นนับถือวัตถุ
สิ่งที่มองไม่เห็นตัวเหล่านี้
เป็นต้นว่าเทพประจำลมเทพประจำฝนเป็นต้น
ในสมัยที่มนุษย์พบเหตุผลของธรรมชาติมากขึ้น
ก็กลายเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติไป
เป็นอันมาก
และเมื่อพบหลักของการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
หลักของการสร้างสำเร็จรูปก็กลาย
เป็นการเปลี่ยนแปลง รวมความว่า สิ่งที่มอง
ไม่เห็นตัวที่คิดว่าเป็นอะไรต่างๆ เมื่อ
ความรู้เจริญขึ้นก็ทำให้มองเห็นตัวขึ้น
คือมองเห็นเหตุผล เมื่อมองเห็นเหตุผลมากขึ้นเช่นนี้
ความนับถือในสิ่งที่มองไม่เห็นก็น้อยลง
เปลี่ยนมานับถือในเหตุผล ความรู้
ในเหตุผลที่เจริญขึ้นโดยมากเป็นเหตุผลทางวัตถุ
จึงมีวัตถุที่ประดิษฐ์ขึ้นมากมาย
เป็นเครื่องบำรุงสุขก็มี เป็นเครื่องก่อทุกข์ก็มี
เช่นเครื่องประหัตประหารต่างๆ ทำให้คนมิ
ใช่น้อยคิดพึ่งวัตถุ เหมือนอย่างวัตถุเป็นสรณะ
และตีราคาวัตถุสูงกว่าสิ่งอื่นๆ บางทีตีวัตถุสูงกว่าคน
ฉะนั้นเมื่อยังนับถือสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ถ้าจะกล่าวว่าคน
เป็นทาสของสิ่งนั้นก็ไม่ผิด ครั้นเปลี่ยนมานับถือวัตถุ
ก็อาจกล่าวว่าคนกลายมาเป็นทาสของวัตถุ
ต้องทำงานเพื่อวัตถุเท่านั้น
ทวีภัยกรรม
โลกในสมัยที่เจริญด้วยความรู้ในเหตุผลทางวัตถุ
และเจริญทางวัตถุนี้ ลดภัยทางธรรมชาติลง
ได้มาก เช่น ใช้สายล่อฟ้ากันฟ้าผ่า ทำทำนบกั้นน้ำ
และลดภัยทางไข้เจ็บลงได้มากจนปรากฏว่าคน
ในโลกบัดนี้คิดเฉลี่ยแล้วมีอายุยืนขึ้น มีไฟฟ้า
ใช้เพื่อกิจการต่างๆ มีรถต่างๆ ใช้บนพื้นดิน
มีเรือต่างๆ เดินในแม่น้ำมหาสมุทร มีเรือบินในอากาศ
มีสิ่งต่างๆ อีกมากมาย แม้จะลดภัยทางธรรมชาติ
ได้มาก แต่ก็ทวีภัยที่เกิดจากกรรม (การที่กระทำ)
ของคนด้วยกันมากขึ้น ในส่วนใหญ่ เช่น
ได้เกิดสงครามโลก ๒ ครั้งมาแล้ว
ในระยะหลังที่ห่างกันไม่นานนัก
ในสงครามโลกแต่ละครั้ง คนได้ทำลายชีวิต
และทรัพย์สินสมบัติของกันและ
กันมีจำนวนมากมายภริยาสามีต้องตาย
จากพลัดพรากกัน ลูกต้องกำพร้าพ่อ ทหาร
และประชาชนต้องล้มตายหรือพิการเหลือที่
จะนับ เมื่อสงครามโลกสงบลงแล้ว
ความทุกข์ยากคับแค้นขาดแคลนก็ยังไม่สงบ
ยังมีต่อไปอีก จิตใจคนส่วนมากกระด้างขึ้น
ระส่ำระสายมากขึ้น
การกระทำของคนก็กระด้างขึ้น ความโอบอ้อมอารี
กันอย่างบริสุทธิ์ใจน้อยลงไป ความเห็นแก่ตัวมีมากขึ้น
หวาดระแวงกันมากขึ้น ฉะนั้น แม้สงครามทางกายสงบ
แต่สงครามทางใจยังไม่สงบ
ยังตระเตรียมเพื่อรุกรานหรือเพื่อป้องกัน
กันต่อไป และใช้ความรู้ในเหตุผลภายนอกหรือ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์เครื่องอาวุธสำหรับประหาร
กัน จนถึงอาจทำลายคนทั้งโลกได้ ฉะนั้น สิ่งที่มอง
ไม่เห็นตัว เช่นผีจำพวกต่างๆ ที่กลัวกัน ผีฟ้า
เช่นเทพแห่งดิน น้ำ ไฟ ลมต่างๆ เป็นต้น มา
เป็นที่พึ่งของคนในบัดนี้ไม่ได้ เพราะกลาย
เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติเสียมิใช่น้อย
คนกลับเป็น
ผู้ควบคุมปรากฏการณ์ตามธรรมชาติเสียเอง
จะพึ่งวัตถุก็ไม่ได้ เพราะวัตถุระงับการเบียดเบียน
กันของมนุษย์ไม่ได้ วัตถุกลับเป็นนายของคน
เป็นเครื่องมือใช้เบียดเบียนกันแรงยิ่งขึ้น ฉะนั้น คน
โดยมากจึงมีใจรวนเรระส่ำระสาย คิดสั้น
เข้ามาแคบเข้ามา คิดแก้ปัญหาแต่เฉพาะหน้า
ปล่อยวันพรุ่งนี้ให้เป็นเรื่องของวันพรุ่งนี้ ปล่อยคน
อื่นให้เป็นเรื่องของคนอื่น ทำนองให้เราเป็นสุขใคร
จะทุกข์ไม่ใช่เรื่องของเรา วันนี้ใช้ให้
เป็นสุขพรุ่งนี้คิดหาใหม่ คิดแคบๆ สั้นๆ อะไรทำนองนี้
ดีชั่วไม่ต้องคำนึง ดูก็ใกล้กับ
ความคิดของเพื่อนสัตว์ร่วมโลกเข้าไป ใกล้กับวัตถุที่
ไม่มีจิตใจเข้าไป ความทุกข์เดือดร้อนและ
ความเสื่อมโทรมต่างๆ เหล่านี้เป็นภัยแก่คนทั้งที่เป็น
ส่วนย่อยทั้งที่เป็นส่วนรวม เป็นภัยแก่ชีวิตที่ทุกๆ คนรัก
เป็นภัยแก่ร่างกายและจิตใจ เป็นภัยแก่
ความสงบสุขที่ทุกๆ คนสงวนต้องการ และ
เป็นภัยที่คนสร้างขึ้นเอง
ภัยและวิธีระงับภัยที่แท้จริง
ทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า
ได้ทรงชี้ภัยที่คนสร้างขึ้นเองเหล่านี้พร้อมทั้งเหตุ
และวิธีระงับภัยไว้อย่างบริบูรณ์ ด้วยทรงแสดง
ให้เห็นตามเหตุผลตามหลักอริยสัจจ์ (
ความจริงอย่างประเสริฐแน่แท้) ๔ ประการ คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ความทุกข์เดือดร้อนต่างๆ อันเป็นผลที่คนทำให้แก่กัน
ในเรื่องส่วนตัว หรือในส่วนรวม เช่น
ในการสงครามดังเช่นกล่าวมาแล้ว คือตัวทุกข์
โดยปกติชีวิตร่างกายของทุกคน
ต้องประสบภัยตามธรรมชาติที่
ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้อยู่แล้ว คือแก่ เจ็บ ตาย ยัง
ต้องประสบภัยที่คนกันเองทำให้แก่กันอีก
ความทะยานอยากของตน อันเรียกว่าตัณหา ซึ่ง
เป็นตัวบงการให้คนประกอบกรรมเบียดเบียน
กันต่างๆ เป็นตัวสมุทัยเหตุให้ทุกข์เกิด คนที่เป็นทาส
ความทะยานอยากย่อมจะทำอะไรเพื่อสนองตัวนายคือ
ความอยากนั้นได้ทุกอย่าง เหมือนอย่างคน
ใช้ที่ซื่อสัตย์รับใช้นายได้ทุกอย่างสุดแต่นายจะสั่ง คนที่
เป็นทาสของความอยากนี้แลเป็นตัวก่อกวน
ความสงบสุขสร้างทุกข์ภัยต่างๆ ให้เกิดขึ้น ถ้า
เป็นคนที่มีอำนาจน้อย มีวัตถุทางวิทยาศาสตร์
เป็นเครื่องมือน้อย ก็สร้างทุกข์ภัยได้น้อย ถ้า
เป็นคนที่มีอำนาจมาก มีวัตถุทางวิทยาศาสตร์
เป็นเครื่องมือมากและร้ายแรง ก็สร้างทุกข์ภัย
ได้มากและร้ายแรง มีตัณหาความทะยานอยากนี้เอง
เป็นมูลเหตุ
ความดับตัณหา คือดับความอยากเสียได้ เป็นนิโรธ
ความดับทุกข์ ดับภัย
ทางที่ชอบมีองค์ประกอบ ๘ ประการ ดังระบุไว้
แล้วในกัณฑ์ที่ ๖ เป็นมรรคคือข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ ดับภัย องค์ประกอบทั้ง ๘ นั้น จะกล่าว
ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง คือ สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ
ดำริชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ
การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายามะ พยายามชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ องค์ประกอบทั้ง ๘
ประการนี้รวมกันเป็นทางเดียว มิใช่ ๘ ทาง จึง
เป็นมรรค คือทางดับทุกข์ดับภัยได้จริง
สรณะ ๓
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรม ชี้สัจจะคือ
ความจริงเหตุและผล ตามหลักอริยสัจจ์ ๔
ดังกล่าวมาแล้ว ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ว่า ได้มี
ผู้ฟังเป็นอันมากเกิดความรู้
ความเห็นจริงตามพระธรรม มีความเลื่อมใส
กล่าวสรรเสริญว่า
พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมเทศนา
โดยปริยาย คือกระแสความหลายอย่าง ทำ
ให้เห็นทางที่จะปฏิบัติแจ้งชัดแก่ปัญญา
อุปมาเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
หรือเหมือนเปิดของที่มีสิ่งกำบังไว้
หรือเหมือนบอกทางให้แก่คนหลงทาง
หรือเหมือนอย่างตามประทีปไว้ในที่มืด
ด้วยหวังว่าคนมีตาดีจักได้เห็นรูปฉะนั้น
แล้วกล่าววาจาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง แสดงตน
เป็นอุบาสกอุบาสิกาถึงสรณะจนตลอดชีวิต
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งได้จริง เพราะทรง
เป็นผู้ชี้บอกทางพ้นทุกข์พ้นภัยได้จริง
พระธรรมเป็นสรณะที่พึ่งได้จริง เพราะรักษา
ผู้ปฏิบัติไว้มิให้ตกต่ำ
พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งได้จริง เพราะเป็นผู้
ช่วยชี้บอกทางตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้บอกไว้
และเป็นผู้กำลังเดินทางนั้น หรือได้ผ่านทางนั้นแล้ว
เป็นพยานที่อ้างได้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสจริง เพราะ
ได้ตรัสบอกทางไว้ถูกต้อง และเป็นตัวอย่างชักนำ
ให้คนอื่นเดินทางต่อไป
กล่าวโดยย่อ เพราะพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ เป็นรัตนะ คือแก้วอันอุดมในโลก ดังแสดง
แล้วในกัณฑ์ที่ ๔ (พระรัตนตรัย) จึง
เป็นสรณะที่พึ่งของผู้ตั้งใจได้อย่างแท้จริง
ความรู้ในทางวิทยาศาสตร์อาจพึ่งได้
ในทางเพื่อรู้เหตุผลแห่งธรรมชาติภายนอก
เพื่อประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เพื่อป้อง
กันแก้ไขภัยธรรมชาติภายนอก ตลอดจน
ถึงเพื่อประดิษฐ์อาวุธนานาชนิดเป็นต้น
แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถช่วยป้อง
กันภัยธรรมชาติของร่างกาย คือแก่ เจ็บ ตาย คือ
จะทำให้คนไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายหาได้ไม่
ได้เพียงบำบัดบำรุงรักษาไว้ชั่วครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง
และไม่สามารถป้องกันแก้ไขภัยที่เกิด
จากการก่อขึ้นของคนซึ่งมีตัณหาความทะยานอยาก
เป็นเหตุ โดยตรงกันข้าม ภัยอย่างนี้ย่อมทวี
ความรุนแรงยิ่งขึ้น ยิ่ง
สามารถประดิษฐ์ยวดยานไปจนถึงโลกอื่น ก็ยัง
จะไปก่อภัยขึ้นที่โลกอื่นอีก
โดยมากคนเรามักกลัวภัยจากภายนอก
คอยหลบภัยภายนอก ในขณะเดียวกันก็ปล่อยภัย
ในตนเองออกไปเป็นภัยแก่ผู้อื่น
คือประพฤติตนไปตามอำนาจใจที่ปรารถนาทะยานอยาก
จึงทำร้ายเขาบ้าง พูดว่าร้าย
เขาอย่างที่เรียกว่าตั้งนินทาสโมสรบ้าง คิดมุ่งร้าย
เขาบ้าง เหล่านี้เป็นภัยที่น่ากลัวอันเกิดขึ้นที่ตัวเองทั้ง
นั้น และออกไปเป็นภัยแก่ผู้อื่น แล้วก็ย้อนกลับมา
เป็นภัยเป็นเวรแก่ตนเอง ฉะนั้น
เมื่อพึ่งพระรัตนตรัย พึ่งพระพุทธศาสนา คิดหา
ความจริงตามเหตุผลที่ตนเอง คอยจับตัว
ความปรารถนาทะยานอยากไว้ให้อยู่ในอำนาจของตน
ไม่ให้ตนอยู่ในอำนาจของความปรารถนาทะยานอยาก
และคอยควบคุมความประพฤติให้อยู่ในขอบเขตที่ชอบ
ภัยที่เกิดจากตนเองก็จะสงบ ตัวของเราเองก็ไม่
เป็นภัยแก่ตัวเราเอง และไม่เป็นภัยแก่ใครอื่น
สรุปสรณะ
ทุกยุคทุกสมัยมา
เมื่อเหตุการณ์เดือดร้อนอย่างยิ่งเกิดขึ้นในโลก
เช่นเกิดสงครามโลก คนก็พากันตื่นตระหนกตกใจ
พากันเกิดความลังเลสงสัย เมื่อมุ่งประหัตประหาร
กันก็ทำให้ใจแข็งกระด้างขึ้น และเมื่อต้องช่วยตัวเอง
ให้รอดก็ทำให้ใจคับแคบเห็นแก่ตัวมากขึ้น และทำ
ให้สงสัยในสรณะต่างๆ ว่าช่วยไม่ได้ หรือน่าจะช่วยไม่
ได้ เพราะต้องช่วยตัวเอง ฉะนั้น จึงปรากฏ
ความเสื่อมโทรมทางจิตใจทั่วๆ ไป และความนับถือ
ในสรณะทั้งหลายก็เสื่อมโทรมลงด้วย
เพราะคนพากันสงสัยลังเลใจเสียแล้ว เหตุฉะนี้
จึงจำต้องร่วมมือกันแก้ไขความเสื่อมโทรมเช่นนี้เพื่อ
ให้จิตใจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
เมื่อป่วยหนักรอดตายหายไข้แล้วก็ต้องพักฟื้น
ต้องบำรุงร่างกายอีกระยะหนึ่ง ร่างกาย
จึงกลับมีสุขภาพเป็นปกติ ทางจิตใจก็เหมือนกัน
เมื่อกระทบเหตุการณ์อย่างแรงก็เหมือนเป็นไข้หนัก
ต้องเยียวยารักษาบำรุงให้พอสมควรจึงกลับ
เป็นปกติได้ และข้อที่ต้องช่วยตัวเองต้องพึ่งตัวเองนั้น
เป็นการถูกต้อง
ทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ช่วยตน
ให้พึ่งตน ในการปฏิบัติทั้งปวง พระพุทธเจ้า
เป็นเพียงตรัสบอกทางปฏิบัติให้รู้
เมื่อฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้า รู้ทางปฏิบัติ
แล้ว ก็ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง ในการปฏิบัติจึง
ต้องพึ่งตน แต่ต้องพึ่งพระพุทธเจ้าเป็นผู้บอกทางให้
พึ่งพระธรรมเป็นทางเดิน พึ่งพระสงฆ์เป็น
ผู้เดินนำไปเบื้องหน้าหมู่ พวกเรา
ทั้งหลายก็เหมือนอย่างเดินหางแถวต่อพระสงฆ์ไป
เมื่อพึ่งในสรณะให้ถูกทางดังนี้ พระรัตนตรัยก็
เป็นสรณะได้จริงอย่างไม่ต้องสงสัยแคลงใจ
คนที่มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ย่อม
เป็นคนทำอะไรด้วยรู้เหตุผลผิดชอบ พระพุทธเจ้า
ได้ตรัสเตือนไว้ว่า อตฺตทีปา....วิหรถ อตฺตสรณา
อนญฺญสรณา ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ
เป็นที่พึ่ง อย่ามีอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ธมฺมทีปา....วิหรถ
ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา จงมีธรรมเป็นเกาะ
เป็นที่พึ่ง อย่ามีอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒
--------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งจากทั้งหมด ๓๕ กัณฑ์
ในเรื่องหลักพระพุทธศาสนา
ที่สมเด็จพระญาณสังวร ได้เรียบเรียงขึ้น
และเทศน์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สำนักราชเลขาธิการเลือกสรรหนังสือ
เพื่อจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด
สำหรับทรงถวายสมเด็จพระญาณสังวร
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ในการฉลองชนมายุครบ ๖๐ ทัศ วันที่ ๓ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๕๑๖


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร