วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 16:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

นิ ก า ย ใ น พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
บัณฑิตวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย

พระพุทธศาสนาก็เป็นปรากฏการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์
ที่มีวิวัฒนาการสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน
การสืบทอดต่อกันมาในหลากหลายมิติ

ทำให้พระพุทธศาสนานั้นมีความแตกต่างกันอย่างไม่ต้องสงสัย
ตามภูมิประเทศ สถานที่อยู่ วัฒนธรรมประจำท้องถิ่น
หล่อหลอมให้พระพุทธศาสนา
มีลักษณะตามที่ทราบกันอยู่ในปัจจุบัน


เมื่อมองหลังย้อนไปสู่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์
มักมีเหตุการณ์ปลี่ยนแปลงทางความคิดของมนุษย์
อยู่ตลอดเวลาในแต่ละจุดของประวัติศาสตร์

ความคิดในยุคหนึ่งในสมัยหนึ่ง
ที่ให้ความเหมาะสม สมดุล พึงพอใจ
กลับเป็นที่ไม่เหมาะสมในอีกสมัยหนึ่ง
นี่คือลักษณะความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของมนุษย์ในแต่ละยุค

การเข้าไปทราบแง่มุมนี้
สามารถมองภาพรวมของมนุษย์และสังคมได้
ไม่ว่า องค์กรหรือศาสนาใดย่อมเปลี่ยนแปลงจากเดิม
จะเข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์และสถานการณ์นั้น


ในครั้งสมัยพุทธกาลก็ปรากฏเหตุการณ์การแตกแยกใน ศาสนาเชน
ศาสนาของ ศาสดามหาวีระ
นิครนถ์นาฏบุตรธรรมวรรธมัน ติตถังกรองค์ที่ ๒๔


เมื่อท่านถึงแก่กรรมลง
สาวกต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน
ต่างฝ่ายต่างก็กล่าวหาซึ่งกันละกันและกล่าวว่า

“ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้
ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิด แต่ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก...”


จนเป็นเหตุให้มีนิกายใหญ่ๆ ใน ศาสนาเชน คือ นิกายทิฆัมพร (นุ่งลมห่มฟ้า)
และ นิกายเศวตอัมพร (นุ่งขาวห่มขาว)

และเพราะเหตุการณ์นี้ทำให้พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
เกิดความกังวลว่า เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาด้วย


โดยเฉพาะ ท่านพระจุนทะ ซึ่งเป็นพระน้องชายของ พระสารีบุตร
ผู้เห็นเหตุการณ์เหล่านี้โดยตลอด
เพราะจำพรรษาอยู่ที่ กรุงปาวา แคว้นมัลละ

จึงนำเหตุการณ์นี้ไปบอก พระอานนท์
ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่ หมู่บ้านสามะ (สามคาม) ได้ทราบ
แล้วทั้งสองจึงได้เขาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ซึ่งประทับอยู่ที่ปราสาทเชตวันของเจ้าศากยะ
เพื่อกราบทูลเรื่องราวดังกล่าวนั้นให้ทรงทราบ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับ พระจุนทะ
ถึงเหตุของความแตกแยกไว้โดยมีใจความสำคัญดังนี้

๑. ศาสดาไม่ดี, หลักธรรมไม่ดี, สาวกไม่ดี

ก็เป็นที่ติเตียนทั้ง ๓ ฝ่าย
ใครปฏิบัติตามก็ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก

๒. ศาสดาไม่ดี หลักธรรมไม่ดี แม้สาวกจะดีคือปฏิบัติตาม

ก็เป็นที่ติเตียนทั้ง ๓ ฝ่าย
ใครปฏิบัติตามก็ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก

๓. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกไม่ดี

ศาสดาและหลักธรรมย่อมได้รับสรรเสริญ
แต่สาวกถูกติเตียน ใครปฏิบัติตามก็ได้ประสบบุญเป็นอันมาก

๔. ศาสดาดี, หลักธรรมดี, สาวกดี

ย่อมได้รับสรรเสริญทั้ง ๓ ฝ่าย
ใครทำความเพียรพยายาม ก็ไปประสบบุญเป็นอันมาก

๕. ศาสดาดี, หลักธรรมไม่ดี
สาวกไม่เข้าใจในเนื้อความ (แห่งธรรม) ยังไม่แจ่มแจ้ง


เมื่อศาสดาถึงแก่ชีวิตแล้ว สาวกก็เดือดร้อนภายหลัง

๖. ศาสดาดี, หลักธรรมดี
สาวกเข้าใจเนื้อความ (แห่งธรรม) แจ่มแจ้ง


เมื่อศาสดาถึงแก่ชีวิตแล้ว สาวกก็ไม่เดือดร้อนภายหลัง


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการแก่พระภิกษุสงฆ์ว่า
ตรงไหนยังบกพร่องอยู่

ในเมื่อศาสดาก็ดี หลักธรรมก็ดี
แล้วสาวกเข้าใจแจ่มแจ้งในหลักธรรมแล้วหรือไม่

ถ้าเข้าใจแล้วก็ไม่ต้องห่วงว่า
จะเกิดเหตุการณ์เดียวกับที่เกิดกับศาสนาเชน
แต่ถ้ายังไม่แจ่มแจ้งเข้าใจก็ต้องรีบขวนขวาย
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งหลักธรรมนั้น

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
และทำให้เกิดความสามัคคี
เรียกว่า สาราณียธรรม แก่ภิกษุทั้งหลาย คือ

๑. ตั้งมั่นในเมตตากายกรรม
๒. ตั้งมั่นในเมตตาวจีกรรม
๓. ตั้งมั่นในเมตตามโนกรรม
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ชอบธรรม
๕. เป็นผู้มีศีลสมัญตา คือมีศีลเช่นเดียวกัน
๖. เป็นผู้มีทิฏฐิสามัญญตาหรือความเห็นในธรรมเช่นเดียวกัน


หลักแห่งการสาราณียธรรมนี้เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก
ที่เคารพ เพื่อการสงเคราะห์ เพื่อสามัคคีกัน
และพระพุทธองค์ทรงตรัสถามพระอานนท์
เพื่อความทำให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้นอีกว่า

“อานนท์...เธอเห็นภิกษุของเราแม้ ๒ รูป
มีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้หรือไม่
ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗
(สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรคมีองค์ ๘)”


พระอานนท์กราบทูลว่า

“ยังไม่มี”

ดังนั้นพระพุทธเจ้าทรงสรุปให้ฟังว่า

“ความแตกแยกที่เกิดจาก
การปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันในพระวินัย เป็นเรื่องเล็กน้อย
แต่การทะเลาะกันในหลักธรรมนี้เป็นเรื่องใหญ่”


• สาเหตุการเกิดนิกาย

สาเหตุการเกิดนิกายก็มีหลายประการ แต่โดยสรุปก็มีดังนี้

๑. เกิดจากความเด่นเฉพาะด้านของพระภิกษุ (เอกัตทัคคะ)
๒. เกิดจากความไม่เหมือนกันของคำสอน
๓. เกิดจากความไม่เสมอกันของศีล
๔. เกิดจากสถานการณ์แวดล้อมของสังคม
๕. เกิดจากการรับอิทธิพลของคำสอนอื่น
๖. เกิดจากการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ดำรงอยู่ให้ดีขึ้น หรือลดลง


เมื่อสรุปลงโดยใจความสั้นก็ได้แก่

สีลสามัญตาวิบัติ และ ธรรมาสามัญตาวิบัติ

หมายความว่าไม่ว่าจะแยกกันเพราะเห็นอะไร
ก็ย่อลงที่ความไม่เสมอกันเท่ากันแห่งศีล คือข้อวัตรปฏิบัติ


เมื่อปฏิบัติไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน
ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ด้วยกันได้ ต้องแยกออกไป
และความไม่เสมอไม่เท่าเทียมกัน
แห่งความคิดเห็นในธรรมที่ไม่เหมือนกัน

ฝ่ายหนึ่งตีความธรรมไปอย่างหนึ่ง
อีกฝ่ายหนึ่งตีความธรรมไปอีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งแต่ละฝ่ายไม่มีใครผิด ก็ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้

ถึงอย่างไรก็ตาม ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
ไม่ว่าจะแยกกันเพราะเหตุใดก็ตามจะไม่มีการเบียดเบียนกัน
จนถึงทำร้ายกัน เนื่องเพราะข้อแตกต่างกันอย่างนั้น


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


• ความหมายของนิกาย

นิกายในความหมายของพระพุทธศาสนา
นับตั้งแต่มีประวัติศาสตร์แสดงถึงการแยกนิกายออกไปชัดเจนคือ

การสังคายนาครั้งที่ ๒ มีการแยกนิกายเป็นจำนวนมาก
ทำให้นักประวัติศาสตร์ที่ไม่ทราบความจริง
ไม่มีความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
และการนำเอาภูมิหลังของการแตกนิกายจากที่อื่นมาพิจารณา
ตีความคำว่า “นิกาย” ในพระพุทธศาสนาไม่ถูกต้อง
และมองไปที่ความแตกแยกทางเลวร้าย
ดังที่เกิดขึ้นในศาสนาอื่นๆ


• จำนวนของนิกายต่างๆ

จำนวนของนิกายที่ปรากฏในประวิติศาสตร์ของพระพุทธศาสนานั้น
ถือว่า พระภิกษุ ที่ประชุมทำสังคายนาที่เมืองไพศาลี
เป็นฝ่ายพระภิกษุที่ยึดตามพระเถระ
ที่กำหนดปฏิบัติตามธรรมวินัยทุกประการ
เป็นการนำธรรมวินัยที่รับทอดมาจากการทำสังคายนา ครั้งที่ ๑
มาประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

พระภิกษุเหล่านี้เรียกรวมว่า ฝ่ายเถรวาท หรือ สถวีระ
แต่ถือเป็น ฝ่าย


ส่วนนิกายที่แบ่งไว้นั้น
คือ แนวลักษณะของพระภิกษุฝ่ายเถรวาท


ที่กำหนดออกเป็น ๑๑ กลุ่ม หรือ คณะ
จึงเรียกว่า นิกาย ดังมีชื่อเรียกดังนี้

๑. นิกายเหมวันตะ
๒. นิกายสรวาสติวาท
๓. นิกายมหิศาสกะ
๔. นิกายกาศยปิยะ
๕. นิกายเสาตรันติกะ
๖. นิกายวัชชีบุตร
๗. นิกายฉันนาคาริกะ
๘. นิกายสัมมิตตรียะ
๙. นิกายภัทรยานิกะ
๑๐. นิกายธัมโมตตรียะ
๑๑. นิกายธรรมคุปตะ


ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งที่ไปรวมกันที่ เมืองปาฏลีบุตร
แล้วกระทำการสังคายนา ในฝ่ายของตน
เนื่องจากพระภิกษุ ที่ร่วมกันทำสังคายนาที่นี่มีจำนวนมาก
จึงเรียกตนเองว่า มหาสังฆิกะ
ไม่ได้หมายรวมเป็นนิกายมหาสังฆิกะ


ในฝ่ายนี้เมื่อกำหนดลักษณะของพระภิกษุที่มาประชุมกัน
สามารถแบ่งได้ ๗ กลุ่ม หรือ คณะ ซึ่งถูกเรียกว่า นิกาย ดังนี้

๑. นิกายโกกุลิกะ
๒. นิกายเอกาวยหาริกะ
๓. นิกายเจติวาท
๔. นิกายบัญญัติวาท
๕. นิกายพหุสูตริยะ
๖. นิกายอปรเสลิยะ
๗. นิกายอุตรเสลิยะ


• นิกายในภายหลัง

นิกายที่เป็น สายเถรวาท
หลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓
แล้วก็มาเจริญรุ่งเรืองอยู่ที่เกาะลังกา

สาเหตุเนื่องมาจาก พระเจ้าอโศกมหาราช
ได้ส่ง พระมหินทเถระ และพระสังฆมิตตาเถรี
ซึ่งทั้งสองนั้นเป็นพระโอรส และธิดาที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
แล้วเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา
แล้วไปเผยแผ่หลักคำสอนที่เกาะแห่งนี้
จนกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
ตามแนวของเถรวาท

ส่วนพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่ไปสู่ส่วนอื่นๆนั้น
บ้างก็ไม่ประสบความสำเร็จ
บ้างก็กลายเป็นพระพุทธศาสนาแบบมหายานไปในที่สุด
ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาแบบมหายานจึงอยู่ที่ประเทศอินเดีย
โดยเฉพาะที่ มหาวิทยาลัยนาลันทา

มหายาน เป็นพระพุทธศาสนาที่รู้จักโดยทั่วประเทศอินเดีย
จีน ธิเบต ญี่ปุ่น เป็นต้น ในยุคหลัง
โดยมีนิกายที่โด่งดังและสืบทอดแนวความคิดนี้ต่อมา
ทั้งแผ่ไปสู่ประเทศอื่น ได้แก่

• นิกายมาธยามิกะ หรือนิกายศูนยวาท (Madhyamika School)
• นิกายโยคาจาร หรือนิกายวิชญานวาท (Yogacara School)
• นิกายวัชรยาน หรือนิกายมันตรยาน หรือนิกายพุทธตันตระ (Vajrayana school)
• นิกายสุขาวดี
• นิกายเซน


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : “นิกายในพระพุทธศาสนา” จากเอกสารประกอบการสอบเข้าศึกษาต่อ
หลักสูตรพุทธศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา
: วิชาเปรียบเทียบคำสอนพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ

ขอบคุณนะคะ...สำหรับสาระและความรู้ดีดี

ธรรมะสวัสดีค่ะ

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกโป่ง เขียน:
สาธุ สาธุ สาธุค่ะ

ขอบคุณนะคะ...สำหรับสาระและความรู้ดีดี

ธรรมะสวัสดีค่ะ

รูปภาพ


cool คุณลูกโป่ง ธรรมะสวัสดี วันแม่ค่ะ
แล้วไม่มีของขวัญวันแม่ส่งมาทางนี้บ้างหรือคะ :b10: :b10: :b10:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2011, 08:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ บุญรักษาทุกๆท่านค่ะ :b8: :b8: :b8:
tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนาสาธุ ดีมากเลยล่ะค่ะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร