วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พุทธสังเวชนียสถาน

•••• พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
• ลุมพินีวัน : สถานที่ประสูติ
• อนุสรณ์สถานแห่งการประสูติ
• พุทธคยา : สถานที่ตรัสรู้
• อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้
• สารนาถ : สถานที่แสดงปฐมเทศนา
• อนุสรณ์สถานแห่งการประกาศพระสัทธรรม
๐ เมืองพาราณสี-แม่น้ำคงคา
๐ เมืองกบิลพัสดุ์-เมืองเทวทหะ
๐ แม่น้ำโรหิณี-แม่น้ำอโนมานที
๐ เมืองราชคฤห์
๐ เมืองสาวัตถี
๐ เมืองนาลันทา
๐ เมืองสังกัสสะ
๐ เมืองไวสาลี
๐ เมืองเกสรียา

• กุสินารา : สถานที่ปรินิพพาน
• อนุสรณ์สถานแห่งการปรินิพพาน


รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

:b44: :b47: :b44:

พุทธสังเวชนียสถาน (อ่านว่า พุด-ทะ-สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ หมายถึง สถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศลและความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ

พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ซึ่งอยู่ในประเทศเนปาลและประเทศอินเดียนั้น เป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ๔ แห่ง ได้แก่ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพาน ถือเป็นสถานที่สำคัญที่พุทธศาสนิกชนต่างก็ต้องการจะไปกราบสักการะให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เนื่องจากในมหาปรินิพพานสูตรจากพระไตรปิฎก ได้มีการกล่าวไว้ว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากได้กราบทูลถามว่า


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่กาลก่อนมาหลังจากออกพรรษาแล้ว มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หลั่งไหลมากราบไหว้พระพุทธองค์อย่างเนืองแน่น บัดนี้พระพุทธองค์จะปรินิพพานจากไปแล้ว จะให้ข้าพระองค์ทั้งหลายรำลึกคิดถึงกราบไหว้บูชาอะไรเล่า พระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ทรงตอบพระอานนท์ว่า

“ดูก่อนอานนท์ หลังจากเราตถาคตปรินิพพานจากไปแล้ว หากพวกเธอมีความรำลึกถึงเรา และเดินตามรอยแห่งเรา จงพากันกราบไหว้บูชาสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ของเรา คือ ลุมพินีวัน สถานที่เราประสูติหนึ่ง โพธิมณฑล สถานที่เราตรัสรู้หนึ่ง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่เราแสดงปฐมเทศนาหนึ่ง และกุสินารานคร สถานที่เราจะปรินิพพาน นี่แหละอานนท์ เป็นสถานที่สักการบูชา เป็นเนื้อนาบุญของพวกเธอทั้งหลายสืบต่อไป”


พุทธสังเวชนียสถานนั้นมี ๔ แห่ง ใน หนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

สังเวชนียสถาน ๔ (สถานที่เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, สถานที่เนื่องด้วยพุทธประวัติ) ซึ่งพุทธศาสนิกชนควรไปดูเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความไม่ประมาท จะได้เร่งขวนขวายประกอบกุศลกรรม และสำหรับผู้ศรัทธาจะได้จาริกไปชมเพื่อเพิ่มพูนปสาทะ กระทำการบูชาสักการะอันจะนำให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์


๑. ชาตสถาน
(ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี)

๒. อภิสัมพุทธสถาน
(ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ควงโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยา)

๓. ธัมมจักกัปปวัตตนสถาน
(ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เรียกปัจจุบันว่า สารนาถ)


๔. ปรินิพพุตสถาน
(ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา)


อินเดีย ถือว่าเป็นแดนดินถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา อินเดียในสมัยพุทธกาล เรียกว่า “ชมพูทวีป” ซึ่งแปลว่า “ทวีปแห่งไม้หว้า” เพราะมีต้นหว้าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในดินแดนแห่งนี้

อินเดีย (India) มาจากคำว่า “สินธุ (Sindhu)” ในภาษาสันสกฤต สินธุเป็นชื่อแม่น้ำสายสำคัญทางตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน แต่เดิมชาวเปอร์เซียเรียกคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุว่า ชาวฮินดู (Hindu) ซึ่งมาจากคำว่าสินธุนั่นเอง และเรียกดินแดนแถบนี้ว่าฮินดูสถาน (Hindustan) หมายถึง อาณาจักรที่ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ต่อมาชาวกรีกซึ่งเข้ามาปกครองดินแดนแถบนี้ ได้เรียกชาวฮินดูว่า อินโดส (Indos) และเรียกแม่น้ำสินธุว่า อินดุส (Indus) และเป็นอินเดียในที่สุด

อาณาจักรที่เรียกว่า ชมพูทวีป ซึ่งรวมเขตประเทศเนปาล อินเดีย ภูฏาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน บังคลาเทศ โดยอาณาเขตของชมพูทวีปหลายแห่งล้วนเต็มไปด้วยรอยพระพุทธบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทอันเป็นสิริไว้ทั่วภาคพื้นแห่งชมพูทวีป ขณะเดียวกันก็ทรงประทับรอยพระบาท คือ พระธรรม ไว้ในใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ยังสายธาราแห่งพระธรรมอันชุ่มชื่นราดรดดับไฟแห่งกองทุกข์ของมหาชน และแผ่ออกมานอกเหนือเขตชมพูทวีปมายังประเทศต่างๆ มากมายในปัจจุบัน


:b50: :b49: :b50:
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล จัดเป็น “บริโภคเจดีย์”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43001

รูปภาพ
วิถีชีวิตของชาวอินเดียในแถบชนบททั่วไป ในปัจจุบัน

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
เสาอโศก, วิหารมายาเทวี และซากอิฐเก่าๆ ณ ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล


ลุมพินีวัน : สถานที่ประสูติ

:b47: :b40: :b47:

พุทธสังเวชนียสถานแห่งแรก คือ ลุมพินีวัน (Lumbini) เป็นสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า คือเป็นสถานที่ประสูติของพระราชกุมารสิทธัตถะ สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญในฐานะที่เป็นที่อุบัติขึ้นของพระรูปกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระราชกุมารสิทธัตถะทรงประสูติมาจากพระครรภ์ของพระราชมารดา คือ พระนางสิริมหามายาเทวี เมื่อวันศุกร์ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ เวลาเที่ยง ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ลุมพินีวันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็น “มรดกโลก” ภายใต้ชื่อ “ลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า” ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (หรือองค์การยูเนสโก - UNESCO) ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๑ ณ เมืองนาโปลี (เมืองเนเปิลส์) ประเทศอิตาลี

“ลุมพินีวัน” เป็นสวนหลวงอุทยานในเขตแคว้นศากยะ ตั้งอยู่ระหว่างแห่งเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ รายล้อมด้วยต้นสาละ ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า พระนางสิริมหามายาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทรงพระครรภ์แก่ได้ ๑๐ เดือนจวนจะถึงเวลาประสูติพระราชโอรส ตามธรรมเนียมโบราณ สตรีที่มีครรภ์จะต้องกลับไปคลอดบุตรที่บ้านเกิด พระนางได้ทูลลาพระเจ้าสุทโธทนะ เพื่อไปประสูติพระราชโอรสยังเมืองเดิมของพระนาง คือ เมืองเทวทหะ โกลิยะวงศ์ เมื่อขบวนเดินทางมาถึงกลางทางคือสวนลุมพินีวัน เวลาใกล้เที่ยง ระหว่างแดนต่อแดนของกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ได้ทรงให้ข้าราชบริพารหยุดพัก ขณะนั้นลมกัมมัชชวาตก็ได้ปั่นป่วนในพระครรภ์ของพระนาง จึงจำเป็นต้องเตรียมสถานที่เพื่อประสูติพระราชโอรสโดยกระทันหัน พระนางทรงยื่นพระหัตถ์เหนี่ยวกิ่งต้นสาละในท่าประทับยืน แล้วก็ได้ทรงประสูติพระราชโอรส ซึ่งมีพระวรกายผุดผ่องสะอาด

พระราชโอรสนี้คือพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยบารมี เมื่อประสูติแล้วได้เสด็จดำเนินไปเบื้องหน้า ๗ ก้าว ท่าทีองอาจ เมื่อถึงก้าวที่เจ็ดทรงชี้พระหัตถ์หนึ่งขึ้นฟ้าพระหัตถ์ชี้พื้นดิน เปล่งพระอาสภิวาจาว่า

“อัคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส
เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส
อายมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ”

“เราเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ชาติอื่นจะไม่มีอีกต่อไป”


ปัจจุบันสถานที่ประสูติ คือ ลุมพินีวัน นั้นเรียกกันว่า รุมมินเด อยู่ในเขตประเทศเนปาล แต่เดิมรุมมินเดอยู่ในเขตอำเภอไภรวา บางส่วนของแคว้นอูธ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย แต่เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๙๔ เกิดกบฏซีปอยขึ้นในอินเดีย อังกฤษจึงขอแรงประเทศเนปาล (สมัยนั้นอินเดียอยู่ในความปกครองของอังกฤษ) ให้มาช่วยเหลือ พระเจ้าสุเรนทระ กษัตริย์เนปาล ส่งทหารกรุข่าของเนปาลมาช่วย จนช่วยปราบกบฏได้สำเร็จ อังกฤษจึงยกพื้นที่ราบใหญ่บางส่วนของแคว้นอูธให้เป็นของเนปาล ซึ่งพื้นที่บางส่วนที่ยกให้เนปาลนี้เอง เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าคือสวนลุมพินี และกินพื้นที่ไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ เมืองเทวทหะ ในครั้งพุทธกาล

เมื่อมาถึงสถานที่ประสูติ ก็จะพบเห็น ซากอิฐเก่าๆ มากมาย, สระโบกขรณี มีน้ำขังเต็มเป็นรูปสี่เหลี่ยมโบกปูนไว้ เป็นสระโบราณก่อนเจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติ, วิหารมายาเทวี อยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ ซึ่งข้าราชบริพารของพระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างไว้เมื่อราวๆ พ.ศ. ๒๔๑ ตรงสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติจากพระครรภ์พระราชมารดา ภายในวิหารมายาเทวีด้านซ้ายมือเป็น ภาพหินทรายแกะสลักรูปพระประสูติกาลของเจ้าชายสิทธัตถะอันงดงาม ที่เป็นรูปพระนางสิริมหามายาเทวีกำลังโน้มกิ่งต้นสาละใหญ่ด้วยพระหัตถ์ขวา และด้านขวามือเป็น ภาพเจ้าชายสิทธัตถะยืนเด่นอยู่องค์เดียว

ส่วนด้านหน้าวิหารมายาเทวี มีเสาหินกลมขัดเป็นมันปักตั้งอยู่ คือ เสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช หรือ เสาอโศก พร้อมคำจารึกด้วยอักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) ของพวกพราหมณ์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย มีใจความว่า...

“พระเจ้าอโศกเสด็จมาประกอบพิธีบูชาที่นี่ เพราะพระพุทธเจ้าประสูติที่นี่”
(ในปีที่ ๒๐ แห่งรัชกาลของพระองค์ ในพุทธศตวรรษที่ ๓)

:b45: การเดินทางสู่ลุมพินีวัน

พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปที่เดินทางไปนมัสการพุทธสถาน ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล มักจะเดินทางไปยังลุมพินีวัน โดยเริ่มจากกุสินารา เพราะกุสินาราอยู่ในเขตประเทศอินเดียภาคเหนือ ดังนั้น เมื่อนมัสการพุทธสถานที่กุสินาราแล้ว จึงค่อยเดินทางไปสู่ลุมพินีวันซึ่งอยู่ในเขตประเทศเนปาล หากเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย ลงที่สนามบินกัลกัตตา ก็ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงครึ่ง และถ้าหากเดินทางจาริกแสวงบุญไปตามทางขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ จะผ่านกุสินาราแล้วเลยไปถึงลุมพินีวัน มีระยะทางทั้งหมด ๑๓๕ กิโลเมตร เดินทางด้วยรถยนต์ใช้เวลา ๗ ชั่วโมงก็ถึงเขตแดนอินเดีย-เนปาล และประมาณ ๒ ชั่วโมงจากเขตแดนถึงลุมพินีวัน

การเดินทางไปลุมพินีวัน จะผ่านเขตแดนอินเดียตรงเนาการ์ และจากตรงนี้ รถวิ่งเข้าประเทศเนปาลไปลุมพินีวันประมาณ ๓๒ กิโลเมตร มองออกไปเป็นท้องทุ่งนาเหมือนกับประเทศไทยในภาคกลาง สองข้างทางปลูกต้นมะม่วงใหญ่ เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร

การที่พื้นที่ส่วนนี้ตกไปเป็นของเนปาล ทำให้พุทธศาสนิกชนที่จะเดินทางไปจาริกแสวงบุญมีความลำบากบ้าง เพราะต้องขอวีซ่าเข้าประเทศ ในการจะเข้าไปยังสถานที่ประสูติเพื่อนมัสการสังเวชนียสถาน แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเนปาลก็ให้ความสำคัญต่อสถานที่แห่งนี้ ให้การฟื้นฟูและปรับปรุงพื้นที่ให้ดีขึ้น

รูปภาพ
“ลุมพินีวัน” ชาตสถานหรือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
เสาอโศก และวิหารมายาเทวี ณ ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล
ด้านหน้ารั้วเหล็กที่ล้อมเสาอโศกมีแผ่นทองเหลืองที่ถอดคำจารึกฯ ติดไว้


รูปภาพ
แผ่นทองเหลืองที่ถอดคำจารึกด้วยอักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี)
จากเสาอโศก ณ ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล มีใจความว่า
“พระเจ้าอโศกเสด็จมาประกอบพิธีบูชาที่นี่ เพราะพระพุทธเจ้าประสูติที่นี่”


:b50: :b49: :b50:

จาก “พระพุทธเจ้า” ถึง “พระเจ้าอโศกมหาราช”
โดย ศ. (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4574

รูปภาพ
เทวาลัยซึ่งมีต้นโพธิ์ครอบอยู่ ณ เมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศเนปาลในปัจจุบัน

รูปภาพ
วิถีชีวิตของชาวเนปาล แถวเมืองกบิลพัสดุ์ ในปัจจุบัน

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
วิหารมายาเทวี, เสาอโศก, สระโบกขรณี
และซากอิฐเก่าๆ ณ ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล



อนุสรณ์สถานแห่งการประสูติ

(๑) เสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช

เสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช (The Stone Pillar of Ashoka) หรือเรียกว่า เสาศิลาจารึกอโศก หรือ เสาอโศก เสาหินสูงใหญ่ตั้งอยู่ในวงล้อมรั้วเหล็ก เป็นอนุสรณ์สถานที่พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ชาวพุทธผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดีย ในยุคพุทธศตวรรษที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๖) ได้ทรงประดิษฐานไว้ เมื่อครั้งเสด็จมานมัสการ ณ สถานที่ประสูติ โดยมี พระอุปคุตเถระ พระภิกษุในนิกายสรวาสติวาท ครั้งนั้นได้นำเสด็จนมัสการพุทธสถาน พระองค์ได้โปรดให้สร้างอนุสรณ์สถานไว้เป็นเสาศิลา ได้ทรงให้จารึกไว้ที่เสาด้วยอักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) ในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อมีผู้ค้นพบเสาศิลาได้พยายามถอดความอักษรจารึก ได้ความว่า

เทวาน ปิเยน ปิยทสิน ลาชิน วีสติวสาภิสิเตน
อตน อาคาจ มหียิเต หิท พุเธ ชาเต สกฺยมุนีติ
ลีลาวิคฑภี จา กาลาปิต สิลาถเก จ อุสปาปิเต
หิท ภควํ ชาเต ลุมินิคาเม อุพลิเก กเฏ อฐ ภาคิเย จ ฯ

“พระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี (พระเจ้าอโศกมหาราช)
เมื่อทรงได้รับอภิเษกแล้ว ๒๐ ปี ได้เสด็จมานมัสการ ณ ที่นี้
ด้วยพระองค์เอง ด้วยว่าพระศากยมุนีได้ประสูติ ณ ที่นี้
โปรดให้สร้างรูปวิคฑะ และประดิษฐานหลักศิลาไว้เป็นที่หมาย
โดยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประสูติ ณ สถานที่นี้
จึงโปรดให้ยกเว้นภาษีแก่หมู่บ้านลุมพินีนี้
และทรงให้เสียแต่เพียง ๑ ใน ๘ ของผลผลิตเป็นค่าภาษีที่ดิน”


เสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ ดร.ฟือห์เรอร์ นักโบราณคดีชาวเยอรมัน เป็นผู้ค้นพบ (และเป็นผู้ถอดความจารึกนี้ด้วย) ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. ๑๘๙๕) ขณะที่พบ หลักศิลาจารึกถูกอิฐปูนเก่าๆ ทับถมอยู่ เมื่อขูดอิฐปูนเหล่านั้นออก จึงพบอักษรที่เสา ขนาดของเสาศิลาจารึกสูง ๒๖ ฟุต ๖ นิ้ว ซึ่งฝังอยู่ในดิน ๘ ฟุต ๖ นิ้ว วัดส่วนกลมได้ ๗ ฟุต ๓ นิ้ว กล่าวกันว่า เดิมเสาศิลาจารึกสูง ๗๐ ฟุต แต่ถูกฟ้าผ่าลงมาทำให้ขนาดลดลง บนยอดหัวเสาแต่เดิมมีรูปวิคฑะประดิษฐานอยู่ เข้าใจว่าวิคฑะนี้เป็นรูปม้า ซึ่งคงจะทรงสร้างไว้เป็นสัญลักษณ์ถึงการทรงม้ากัณฑกะในคราวเสด็จออกผนวช หรือออกมหาภิเนษกรมณ์ (รูปสลักบนยอดเสาศิลาจารึกอโศก ส่วนใหญ่เป็นรูปสิงห์หรือวัว คงมีที่นี่สร้างไว้เป็นรูปม้าเป็นพิเศษ)

(๒) วิหารมายาเทวี

เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่พระนางสิริมหามายาเทวี พระพุทธมารดา โดยเป็นวิหารที่สร้างครอบจุดที่พระพุทธเจ้าทรงย่างพระบาทแรกลงบนโลก ตัววิหารสร้างสูงจากพื้นประมาณ ๓ เมตร มีบันไดขึ้น-ลงได้ ๒ ด้าน ประดิษฐานอยู่ข้าง “เสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช” ด้านในวิหารจุคนได้ประมาณ ๗-๘ คน ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในราวๆ ปี พ.ศ. ๒๔๑ หรือในยุคเดียวกันกับที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาศิลาจารึกฯ ซึ่งผู้สร้างวิหารมายาเทวีน่าจะเป็นบริวารหรือข้าราชบริพารของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อเห็นว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างอนุสรณ์สถานแด่พระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้สร้างอนุสรณ์สถานแด่พระนางสิริมหามายาเทวีบ้าง วิหารมายาเทวีแต่เดิมนั้นอาคารเป็นสีแดง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนทาสีเป็นสีขาวแล้ว

รูปภาพ

รูปภาพ
แท่นศิลาภาพหินแกะสลักรอยพระบาทจำลองของเจ้าชายสิทธัตถะ


(๓) แท่นศิลาภาพหินแกะสลักรอยพระบาทจำลองของเจ้าชายสิทธัตถะ

ในคราวปฏิสังขรณ์ มีการรื้อถอนเพื่อตรวจสอบภายในวิหารมายาเทวี และได้มีการเจาะถึงภายใต้วิหารก่อนที่จะเริ่มการปฏิสังขรณ์ จากการรื้อถอนในคราวนั้นได้พบสิ่งที่น่าสนใจ เช่น ภาพหินแกะสลักเป็นแท่นศิลาที่มีรอยประทับอยู่คล้ายรอยเท้าเด็ก ขนาดกว้าง ๕ นิ้ว ยาว ๕ นิ้ว ทำด้วยหินทราย และได้ตรวจสอบแล้วมีอายุราวๆ ๒,๐๐๐ กว่าปี แต่ไม่ถึงสมัยพุทธกาล อีกทั้งพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจารึกเอาไว้ที่ “เสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช” ด้วยว่า ได้สร้างเสาศิลาจารึกฯ เอาไว้พร้อมกับ “แท่นศิลาภาพหินแกะสลักรอยพระบาทจำลองของเจ้าชายสิทธัตถะ” ก้อนนี้ เมื่อตอนขุดพบ แท่นศิลาภาพหินแกะสลักรอยพระบาทจำลองฯ ก้อนนี้ตั้งอยู่บนแท่นอิฐ ดังนั้น จึงคาดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างขึ้นไว้ และรอยประทับที่คล้ายรอยเท้าเด็กนั้น สร้างขึ้นเป็นรอยพระบาทจำลองของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อคราวแรกประสูติ สันนิษฐานว่าเป็นจารึกรอยพระบาทก้าวที่ ๗ ของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินได้ ๗ ก้าวในวันประสูติ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่กลางวิหารมายาเทวี

รูปภาพ
ภาพหินทรายแกะสลักรูปพระประสูติกาลของเจ้าชายสิทธัตถะ


(๔) ภาพหินทรายแกะสลักรูปพระประสูติกาลของเจ้าชายสิทธัตถะ

ประดิษฐานอยู่ในวิหารมายาเทวี เมื่อคราวปฏิสังขรณ์วิหารได้ย้ายมาอยู่ที่วิหารเล็กใกล้ๆ กัน “ภาพหินทรายแกะสลักรูปพระประสูติกาลของเจ้าชายสิทธัตถะ” นี้ กษัตริย์มัลละแห่งราชวงศ์นาคะได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงเหตุการณ์ขณะที่พระนางสิริมหามายาทรงประสูติพระราชโอรส คือ เจ้าชายสิทธัตถะ สร้างขึ้นในราวๆ ปี พ.ศ. ๑๗๐๐-๒๑๐๐ ท่านพีซี มุขเขอรจี (P. C. Mukherjee) นักโบราณคดีชาวอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ขุดค้นโบราณสถานในอินเดีย ได้ค้นพบภาพหินทรายแกะสลักรูปพระประสูติกาลฯ นี้ในปี พ.ศ. ๒๓๐๐

กล่าวกันว่าภาพหินทรายแกะสลักรูปพระประสูติกาลฯ นี้ ได้สร้างขึ้นตามเหตุการณ์ขณะเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ตามรายละเอียดใน คัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาคัมภีร์พุทธวงศ์ ทุกประการ ดังนี้

“พระนางเสด็จไปยังโคนต้นมงคลสาละ มีพระประสงค์จะทรงจับกิ่งใดของมงคลสาละนั้น ซึ่งมีลำต้นตรงเรียบและกลม ประดับด้วยดอกผลและใบอ่อน กิ่งมงคลสาละนั้น ไม่มีแรง รวนเรเหมือนใจชน ก็น้อมลงมาเองถึงฝ่าพระกรของพระนาง

ลำดับนั้น พระนางก็ทรงจับกิ่งสาละนั้น ด้วยพระกรที่ทำความยินดีอย่างยิ่ง ข้างขวาซึ่งงามด้วยกำไลพระกรทองใหม่ มีพระองคุลีกลมกลึงดังกลีบบัว อันรุ่งเรืองด้วยพระนขานูนมีสีแดง พระนางประทับยืนจับกิ่งสาละนั้น เป็นพระราชเทวีงดงาม เหมือนจันทรเลขาอ่อนๆ ที่ลอดหลืบเมฆสีเขียวคราม เหมือนแสงเปลวไฟซึ่งตั้งอยู่ได้ไม่นาน และเหมือนเทวีที่เกิดในสวนนันทวัน ในทันทีนั้นเอง ลมกัมมัชวาตของพระนางก็ไหว ขณะนั้นชนเป็นอันมากก็กั้นผ้าม่านเป็นกำแพ แล้วหลีกไป พระนางเมื่อประทับยืนจับกิ่งสาละอยู่นั่นเอง พระโพธิสัตว์ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระนางนั้น”


ภาพหินทรายแกะสลักนี้ ผู้มาบูชาสักการะมีทั้งชาวพุทธและชาวฮินดู สาเหตุที่มีชาวฮินดูมาบูชาสักการะด้วยนั้นเพราะเขาไม่รู้ว่าเป็นหินทรายแกะสลักทางพระพุทธศาสนา คิดว่าคงเป็นรูปเจ้าแม่องค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งก็ถือว่ายังพอได้ประโยชน์อยู่บ้าง เพราะชาวฮินดูเองก็ได้ช่วยดูแลภาพหินทรายแกะสลักนี้ด้วย

(๕) สระโบกขรณี

สระโบกขรณี เป็นสระโบราณรูปสี่เหลี่ยมโบกปูนไว้ ซึ่งเป็นสระน้ำที่พระนางสิริมหามายาได้ทรงสรงสนาน (อาบน้ำ) ชำระพระวรกายในวันให้ประสูติกาลพระมหาบุรุษ แม้ในปัจจุบันยังสมบูรณ์มีน้ำขังเต็มตลอดทั้งปี ภายในก้นบ่อมีตาน้ำ ๒ ตา เชื่อว่าเป็นตาน้าร้อน และน้ำเย็น ที่ฝั่งสระมีต้นโพธิ์ใหญ่อันร่มรื่น

(๖) วัดไทยลุมพินี (Royal Thai Monastery Lumbini, Nepal)

วัดไทยลุมพินี วัดไทยแห่งแรกในประเทศเนปาล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=45773

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
“พระมหาเจดีย์พุทธคยา” หรือ “พระมหาโพธิเจดีย์”
ณ พุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย



พุทธคยา : สถานที่ตรัสรู้

:b47: :b40: :b47:

พุทธคยาหรือโพธคยา (Bodh gaya) เป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดอยู่ในพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ ๒ ในประเทศอินเดีย เป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติในช่วงเวลาที่สำคัญมากที่สุด คือ เวลาที่เกิดการอุบัติของพระธรรมกาย หรือการตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนสถานะจากเจ้าฟ้าชายสิทธัตถะหรือพระสมณะสิทธัตถะ สู่ความเป็นพระบรมศาสดา ผู้ทรงได้รับการขนานนามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พุทธคยาจึงจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญ เป็นอนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายพึงเดินทางไปจาริกแสวงบุญ และกราบนมัสการรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้ได้ทรงตรัสรู้ธรรมอันยอดเยี่่ยม อันจะนำสรรพสัตว์ทั้งหลายข้ามห้วงแห่งโอฆะกันดารห้วงแห่งสังสารวัฏอันไม่สิ้นสุดนี้

พุทธคยา นั้นเดิมเรียกว่า คยา อยู่ในเขตคยาสีสะประเทศ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ส่วนสถานที่ตรัสรู้อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันคือตำบลพุทธคยา) ซึ่่งเป็นสถานที่ที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะได้ทรงประทับบำเพ็ญเพียร จนกระทั่งเอาชนะพญามารและตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในเวลารุ่งสางของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ วันวิสาขบูชา โดยมีความเป็นมาดังต่อไปนี้

ในเวลาเช้าของวันเพ็ญเดือน ๖ พระโพธิสัตว์สิทธัตถะประทับนั่งใต้โคนต้นไทร นางสุชาดานำถาดอาหารมาเพื่อแก้บนรุกขเทวดาประจำต้นไทร พบพระสิทธัตถะก็เข้าใจว่าเป็นเทวดานั่งรอเครื่องพลีกรรม แต่เมื่อมาถึงได้สนทนาทูลถามแล้ว ก็ได้เข้าใจจึงนำข้าวมธุปายาสไปถวายทั้งถาด และขอให้พระองค์ทรงประสบผลสำเร็จเหมือนกับที่นางประสบผลสำเร็จมาแล้ว พระโพธิสัตว์สิทธัตถะรับของถวายแล้วถือถาดไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงสนานพระวรกายแล้วขึ้นมาประทับนั่ง เสวยข้าวมธุปายาสจำนวน ๔๙ ปั้นจนหมด จากนั้นเสด็จไปประทับในดงไม้สาละ จนเวลาเย็นจึงเสด็จไปที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงปูลาดหญ้าคา ๘ กำที่โสตถิยพราหมณ์ถวายในระหว่างทาง ลงใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หันพระปฤษฎางค์เข้าหาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงอธิษฐานว่า “แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไป เรายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด จะไม่ลุกขึ้นจากที่นี่ตราบนั้น” (อง.ทุก. ๒๐/๖๔/๒๕๑)

จากนั้นทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ ๔ แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ ญาณ ๓ คือ ในยามที่หนึ่งหรือยามต้นของคืนนั้น ทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสนุสติญาณ คือระลึกชาติปางก่อนของพระองค์เองได้ ในยามที่ ๒ ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย และในยามที่ ๓ หรือยามสุดท้าย ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ ว่าอะไรคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความรู้นี้ทำให้กิเลสาสวะหมดสิ้นไปจากจิตใจ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเล่าถึงสภาพจิตของพระองค์ขณะเข้าถึงความหลุดพ้นไว้ว่า “เมื่อเรารู้เห็น (อริยสัจ ๔) อย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้น ทั้งจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว เราได้มีญาณหยั่งรู้ว่า ตัวเองหลุดพ้นแล้ว เรารู้แจ่มชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์จบแล้ว ทำหน้าที่สำเร็จแล้ว ไม่มีอะไรให้เป็นอย่างนี้อีกแล้ว” (ม.ม. ๑๓/๔๕๙/๑๖๖๔)

พระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาที่แสงเงินแสงทองเริ่มจับขอบฟ้า รวมระยะเวลาที่บำเพ็ญเพียรตั้งแต่ออกผนวชจนตรัสรู้ได้ ๖ ปี ขณะที่ตรัสรู้พระองค์มีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา

:b45: การเดินทางสู่พุทธคยา

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้

(๑) พระมหาเจดีย์พุทธคยา

พระมหาเจดีย์พุทธคยา หรือ “พระมหาโพธิเจดีย์”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41318

(๒) พระพุทธเมตตา

“พระพุทธเมตตา” พระประธานในพระมหาเจดีย์พุทธคยา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=34195

(๓) ต้นพระศรีมหาโพธิ์

ประวัติ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ทั้ง ๔ ต้น ณ พุทธคยา
ต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
ต้นโพธิ์ที่มีอายุยืนที่สุดในโลกที่ยังคงยืนต้นอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39333

(๔) สัตตมหาสถาน

สัตตมหาสถาน สถานที่เสวยวิมุตติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39332

(๕) ดงคสิริ หรือตุงคสิริ

ดงคสิริ สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของเจ้าชายสิทธัตถะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44820

(๖) แม่น้ำเนรัญชรา

แม่น้ำเนรัญชรา แม่น้ำสำคัญในพุทธประวัติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44903

(๗) บ้านนางสุชาดา

บ้านนางสุชาดา พุทธคยา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48201

(๘) เขาพรหมโยนี

เขาพรหมโยนี (เขาคยาสีสะ)
สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “อาทิตตปริยายสูตร”

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44908

(๙) วัดป่าพุทธคยา

วัดป่าพุทธคยา รัฐพิหาร (หลวงพ่อจิ๋ว พุทฺธญาโณ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44886

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สารนาถ : สถานที่แสดงปฐมเทศนา

:b47: :b40: :b47:

สารนาถ (Sarnath) พุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในมหาปรินิพพานสูตร เป็นสถานที่ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไป กล่าวคือ เป็นสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา คือเทศน์กัณฑ์แรกของโลก ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ อันมีโกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

สารนาถ ดำรงฐานะสำคัญนอกจากจะเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรกแล้ว ยังเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งพระอรหันตสาวกจำนวน ๖๐ รูป (พระปัญจวัคคีย์ ๕ รูป + พระยสะและสหายพระยสะ ๕๕ รูป) ไปประกาศพระศาสนา เผยแผ่แนวทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก นับเป็นคณะธรรมทูตชุดแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

ด้วยพระดำรัสว่า...“มุตฺตาหํ ภิกฺขเว สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสฺสา ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว มุตฺตา สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา จ เย มานุสฺสา จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ มา เอเกน เทฺว อคมิตฺถ เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสถ”

คำแปล : ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งของทิพย์และของมนุษย์ พวกเธอก็พ้นแล้วเช่นกัน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่คนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่คนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกเธออย่าไปทางเดียวกันสองคน จงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ (การดำเนินชีวิตประเสริฐ) ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ทั้งอรรถะ (ความ) และพยัญชนะ (คำ)


ดังนั้น สารนาถ จึงอยู่ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการประกาศพระพุทธศาสนา หรือเป็นจุดกำเนิดขึ้นของพระพุทธศาสนานั่นเอง


:b44: การอุบัติขึ้นแห่งพระธรรม

สารนาถ พุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ เดิมเรียกว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน อยู่ในเขตกรุงพาราณสี แคว้นกาสี ณ ที่แห่งนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก โดยทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือพระสูตรว่าด้วยการหมุนกงล้อแห่งพระธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และผลแห่งการแสดงพระธรรมนี้ หัวหน้าปัญจวัคคีย์ คือ ท่านโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระอริยบุคคลชั้นแรกในพระพุทธศาสนาเป็นคนแรก จึงกราบทูลขออุปสมบท โดยพระพุทธองค์ทรงทำการอุปสมบทให้ด้วยวิธี “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” (พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง) นับเป็น “ปฐมสาวก” ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันที่เกิดสังฆรัตนะขึ้นครั้งแรกในโลก เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ ๓ โดยสมบูรณ์ บริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (ก่อนหน้านี้มีเพียงพระพุทธและพระธรรมเท่านั้น) ซึ่งตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และเป็นที่มาของ “วันอาสาฬหบูชา” นั่นเอง

:b44: ปฐมเทศนา-ปฐมสาวก-ปฐมแสงธรรม

หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และทรงเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง) โดยแต่ละแห่งเป็นสถานที่รอบๆ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลาแห่งละ ๑ สัปดาห์ รวม ๗ สัปดาห์ หรือ ๔๙ วันแล้ว ในสัปดาห์ที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธิแล้วเสด็จจากโคนต้นราชายตนะ (ต้นเกด) เข้าไปประทับอยู่ ณ โคนต้นไทรอชปาลนิโครธ ก็ทรงดำริว่าพระธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นลึกซึ้ง ยากแก่การที่จะสัตว์ผู้มีธุลีคือกิเลสในดวงตามากๆ จะเข้าใจตามได้ ในขั้นแรกทรงน้อมไปในอาการที่จะไม่แสดงธรรม แต่เพราะอาศัยพระมหากรุณาของพระองค์เอง ว่าที่พระองค์บำเพ็ญบารมีมาตลอดระยะเวลาสี่อสงไขยแสนกัปป์ ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะพาหมู่สัตว์ข้ามห้วงโอฆะกันดารจากทุกข์ในสังสารวัฏเป็นหลัก

ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ผู้เป็นใหญ่ในมหาพรหม ก็ทราบพระปริวิตกของพระศาสดา จึงได้เสด็จลงมาเข้าเฝ้าเพื่อทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม เมื่อท้าวสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาดังนี้แล้ว ทรงพิจารณาสรรพสัตว์ทั้งหลายดุจดอกบัวสามเหล่า (ความตอนนี้ ไม่ปรากฏว่าทรงพิจารณาถึง ๔ เหล่า ดอกบัว ๔ เหล่า น่าจะมาในพระไตรปิฎกตอนอื่นมากกว่า และพระพุทธเจ้าก็อาศัยความที่คนทั้งหลายมีอุปนิสัยที่พอจะรับฟังพระธรรมได้ ดุจดอกบัวทั้งสามเหล่า คือบัวพ้นน้ำ บัวปริ่มน้ำ บัวใต้น้ำนี่เอง จึงทรงแสดงธรรม) จึงตกลงพระทัยที่จะแสดงธรรม

ในขั้นแรกทรงพิจารณาว่าควรจะเสด็จไปโปรดใครก่อน ก็ทรงระลึกถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ผู้ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระองค์คราวที่ยังมิได้ตรัสรู้ ยังทรงเป็นผู้เที่ยวแสวงหาทางตรัสรู้อยู่ ทรงระลึกว่าทั้งสองท่านเป็นผู้มีธุลีคือกิเลสเบาบาง จะสามารถบรรลุธรรมได้เร็ว (เพราะดาบสทั้งสองเป็นผู้ได้ฌานแล้ว นิวรณ์ ๕ ย่อมระงับ จิตเป็นสมาธิ ซึ่งสามารถที่จะรู้ตามพระธรรมเทศนาที่จะทรงแสดงได้เร็ว) แต่ทรงทราบว่า ดาบสทั้งสองได้ละสังขารไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงได้ทรงเล็งเห็นว่า ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ผู้ที่เคยมีอุปการะกับพระองค์คราวที่ยังแสวงหาทางตรัสรู้ และเป็นผู้ที่มีธุลี คือกิเลสในดวงตาเบาบาง ตอนนี้พำนักอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระองค์จึงทรงดำริจะเสด็จไปเพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์

ในระหว่างทางได้พบกับอุปกาชีวก ซึ่งอุปกาชีวกได้เห็นพระอากัปกิริยาอันน่าเลื่อมใส พระพักตร์อิ่มเอิบของพระพุทธเจ้า ก็เกิดความเลื่อมใส จึงได้ถามว่าพระองค์เป็นลูกศิษย์ใคร ใครเป็นอาจารย์ของพระองค์ ฯลฯ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า “เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้ว ในธรรมทั้งปวง ละธรรมเป็นไปในภูมิสามได้หมด พ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้วจะพึงอ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเราก็ไม่มี บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดา หาศาสดาอื่นยิ่งกว่ามิได้ เราผู้เดียวเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจดับกิเลสได้แล้ว เราจะไปเมืองในแคว้นกาสีเพื่อประกาศธรรมจักรให้เป็นไป เราจะตีกลองประกาศอมตธรรมในโลกอันมืดเพื่อให้สัตว์ได้ธรรมจักษุ”

อุปกาชีวกได้ฟังดังนั้น ก็ได้กล่าวว่าการที่พระพุทธองค์ได้ตรัสมานั้น หากเป็นจริงแล้วพระพุทธองค์ควรจะได้นามว่า อนันตชินะ ผู้ชนะหาที่สุดมิได้ แล้วแลบลิ้นสั่นศีรษะแล้วเดินหลีกไป (อุปกาชีวกแสดงกิริยาเช่นนี้ เป็นอาการเคารพพระพุทธเจ้าตามประเพณีอินเดีย การสั่นศีรษะเป็นการยอมรับ การแลบลิ้นเป็นประเพณีธิเบต ถือเป็นการแสดงความเคารพอย่างยิ่ง แสดงว่าอุปกาชีวกต้องเลื่อมใสพระพุทธเจ้าเป็นแน่ และเป็นอุปนิสัยให้ภายหลังได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ฟังพระธรรมเทศนา จนกระทั่งบรรลุเป็นพระอนาคามี)

หลังจากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้เสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พบกับปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ในยามเย็นของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา (ใช้เวลาเสด็จพุทธดำเนิน ๑๑ วันจากตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน) ในขั้นแรกปัญจวัคคีย์ไม่เชื่อว่าพระพุทธองค์จะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณจริงๆ แล้ว แต่เพราะเหตุผลทำให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั้นระลึกได้ว่าในคราวที่ยังรับใช้ยังอยู่ใกล้ชิดพระองค์ ก็ไม่เคยได้ยินพระองค์ตรัสเรื่องอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้เลย พระองค์น่าจะได้รู้อะไรบางอย่างแล้วเป็นแน่ จึงได้ยอมรับฟังพระธรรม พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก มีชื่อว่า
“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” คือพระสูตรว่าด้วยการหมุนกงล้อแห่งพระธรรม ที่ธัมมเมกขสถูป ซึ่งมีใจความสำคัญกล่าวถึงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการ คือ

(ก) มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ได้บรรลุถึงจุดหมายในการแสวงหาทางพ้นทุกข์ มิใช่การดำเนินชีวิตสุดโต่ง ๒ ทาง คือ การหมกมุ่นในกาม มัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค และการทรมานตนให้ได้รับความลำบาก คอยหวังพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยคิดว่าจะสามารถช่วยให้พ้นทุกข์ได้ ที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละเว้นจากการปฏิบัติผิด ๒ ทางนี้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ตึงเกินไปและหย่อนเกินไป ทรงให้หันกลับมาดำเนินในทางสายกลาง เพราะพระองค์เคยผ่าน ๒ ทางนี้มาแล้ว ทรงเห็นว่าไม่ได้ผลและไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง ทางสายกลางที่ถูกต้องสมบูรณ์นั้นต้องประกอบด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน


(ข) อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ, สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์, นิโรธ คือความดับทุกข์ และมรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ในตอนจบของพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะได้ส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนา จึงได้เข้าถึงความจริงของสังขารธรรม ได้ธรรมจักษุว่า “ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง” สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นแรกในพระพุทธศาสนา

พระศาสดาทรงทราบว่าโกณทัญญะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงเปล่งอุทานว่า “อัญญาสิ วต โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วต โภ โกณทัญโญ” โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ นับตั้งแต่นั้นท่านโกณทัญญะจึงได้นามว่า อัญญาโกณทัญญะ คือ พระโกณทัญญะ ผู้รู้แล้ว และได้กราบทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนาที่ได้รับการอุปสมบทโดยพระศาสดาเป็นผู้ประทานการบวชให้ เท่ากับว่าในวันนั้นเองที่พระพุทธเจ้าทรงได้รับพระนามว่าเป็น “สัมมาสัมพุทโธ” (เป็นผู้ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง) โดยสมบูรณ์ เพราะมี “พยาน” (พระอัญญาโกณฑัญญะ) ในการตรัสรู้ธรรมโดยชอบ คือรู้ตามพระธรรมของพระองค์แล้ว

ตามพระบาลีพระไตรปิฎกแสดงไว้ว่า หลังจากที่ทรงโปรดอัญญาโกณทัญญะจนได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ก็ได้ทรงแสดงปกิณกธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ท่านอื่นๆ อีกในวันต่อมา กระทั่งยังผลให้ปัญจวัคคีย์อีก ๔ ท่านได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบัน จึงกราบทูลขออุปสมบท และในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (วันเข้าพรรษา) นั่นเอง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงทุติยเทศนา พระสูตรที่สองในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า
“อนัตตลักขณสูตร” โปรดแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ธัมมราชิกสถูป ทำให้ทั้งหมดได้เข้าใจชัดเจนถึงความเป็นอนัตตา ความไม่มีตัวตนถาวรเที่ยงแท้ของขันธ์ ของสังขารธรรม ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ รูปสามารถเพิกถอนอุปทาน อาสวะในจิตของตนได้ บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกันเป็นครั้งแรกของโลกในที่สุด

การที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นพระสูตรแรกในพระพุทธศาสนานี้เอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นจุดเริ่มต้นของพระธรรม สถานที่แห่งนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นที่อุบัติขึ้นแห่งพระธรรม และเป็นการรุ่งอรุณแห่งการส่องสว่างของแสงแห่งพระธรรมเพื่อขจัดซึ่งความมืดในสรรพสัตว์ทั้งหลาย


รูปภาพ
พิพิธภัณฑ์สารนาถ (Sarnath Archaeological Museum) เมืองพาราณสี
พิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดของกรมสำรวจโบราณคดีแห่งอินเดีย
(Archaeological Survey of India)
เป็นที่เก็บรักษาวัตถุโบราณต่างๆ ประจำเมืองพาราณสี

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

อนุสรณ์สถานแห่งการประกาศพระสัทธรรม

(๑) ธัมมเมกขสถูป หรือ ธรรมเมกขสถูป
อนุสรณ์สถานแห่งการแสดง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
ปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรกของโลก) ในวันอาสาฬหบูชา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41327

(๒) ธัมมราชิกสถูป หรือ ธรรมราชิกสถูป
อนุสรณ์สถานแห่งการแสดง “อนัตตลักขณสูตร” ทุติยเทศนา
(พระสูตรที่สองในพระพุทธศาสนา) ซึ่งยังผลให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกันเป็นครั้งแรกของโลก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43024

(๓) เจาคัณฑีสถูป
อนุสรณ์สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44838

(๔) พระมูลคันธกุฏี-เสาอโศก-พิพิธภัณฑ์สารนาถ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43034

(๕) ยสเจติยสถาน
อนุสรณ์สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบยสกุลบุตร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43040

(๖) วัดไทยสารนาถ

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2011, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 15:47
โพสต์: 417

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: วิปัสนา-กรรมฐาน เล่ม 1-2
ชื่อเล่น: นา
อายุ: 44
ที่อยู่: 140/19 ถ.อภัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าแก้ไขคนอื่น จงแก้ไขตัวเราเอง

....................................................

เจ้าเกิดมามีอะไรมาด้วยเล่า
เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เจ้ามาเปล่าแล้วเจ้าจะเอาอะไร
เจ้าก็ไปตัวเปล่าเหมือนเจ้ามา

...................................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอให้ข้าพเจ้า ได้มีโอกาสไปกราบนมัสการ
สักครั้งเพื่อเป็นสิริมงคลแห่งชาตินี้ภพนี้ ให้สมกับที่เกิดมาเป็นคน
และได้อยู่ใต้ร่มบวรพระพุทธศาสนา เป็นลูกตถาคตเถิด...

สาธุ สาธุ สาธุ :b8:

อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2013, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

เมืองสาวัตถี (Sravasti)

เมืองสาวัตถี แห่งแคว้นโกศล เมืองคนดีและคนบาป
เมืองที่เป็นทั้งปาฏิหาริย์และอัศจรรย์
ภาษาบาลีเรียก “สาวัตถี” ภาษาสันสกฤตเรียก “ศราวัสตี”


เมืองสาวัตถี นอกจากจะเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญที่สุด
ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล
ที่มีพระอรหันต์ มีเศรษฐีใจบุญแล้ว
ยังเป็นเมืองที่มีผู้หญิงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตเถรีถึง ๑๓ องค์
และเป็นเมืองที่มีคนถูกธรณีสูบถึง ๔ คน ได้แก่
พระเทวทัต นันทมานพ นางจิญจมาณวิกา
และพระเจ้าสุปปพุทธะ (พระราชบิดาของพระเทวทัต
และพระนางยโสธราพิมพา พระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ)

ในจำนวนทั้งหมด ๕ คนตามพระพุทธประวัติด้วย
ส่วนรายที่ ๕ ที่ถูกธรณีสูบไม่ใช่มนุษย์แต่เป็นยักษ์ มีนามว่า
นันทยักษ์ ซึ่งมีฤทธิ์เดชมาก ได้เหาะขึ้นกลางอากาศแล้วใช้กระบอง
ซึ่งเป็นอาวุธประจำตน ฟาดลงมาหมายเศียรของพระสารีบุตร


เมืองสาวัตถี ในปัจจุบันมีฐานะเป็นเพียงอำเภอชนบทหนึ่ง
ทางภาคตะวันออกของรัฐอุตตรประเทศ หรือรัฐยูพี
ห่างจากสถานีรถไฟพารัมปุระ (Balrampur)
ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร
ปัจจุบัน เป็นเพียงซากโบราณสถาน ซากกองอิฐที่เหลืออยู่
แต่ก็ยังคงมีรอยอดีตอันยิ่งใหญ่แห่งพระพุทธศาสนา


เมืองสาวัตถีมีสถานที่สำคัญๆ ๒-๓ แห่ง โดย ๑ ในนั้น คือ
วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน
วัดแห่งแรกในเมืองสาวัตถี
เป็นอารามหรือวัดที่สร้างขึ้นโดย “ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี”
มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี
บนที่ตั้งของเชตวันหรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี
ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง ๑๘ โกฏิ
(ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น)
วัดแห่งนี้นับเป็นฐานที่มั่นสำคัญ เป็นเสมือนศูนย์บัญชาการ
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดในสมัยพุทธกาล
และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษานานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา
จากจำนวนทั้งหมด ๔๕ พรรษาแห่งการเผยแผ่ประกาศพระพุทธศาสนา
ทั้งยังเป็นวัดที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนามากที่สุดด้วย
จึงนับเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
เหล่าพุทธบริษัททั่วทั้งชมพูทวีป
เมื่อประสงค์จะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
จะต้องเดินทางดั้นด้นมาที่เมืองสาวัตถีและวัดเชตวันมหาวิหาร


วัดสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ที่ตั้งอยู่ในเมืองสาวัตถี
มีทั้งหมด ๓ วัด ประกอบด้วย
วัดบุพพารามมหาวิหาร สร้างโดยมหาอุบาสิกาวิสาขา
วัดราชิการาม สร้างโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล
โดยสร้างไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมือง
และวัดเชตวันมหาวิหาร สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
โดยสร้างถวายพระพุทธเจ้า


สถานที่สำคัญที่สุดในวัดเชตวันมหาวิหาร ก็คือ พระมูลคันธกุฏี
หรือกุฏิของพระพุทธเจ้า ซึ่งด้านหน้ามีซากฐานของพระเจดีย์ทอง
ตามพุทธประวัติระบุว่า เป็นสถานที่ซึ่งท้าวสักกะให้เทวดาองค์หนึ่ง
มากราบทูลพระพุทธองค์ว่า “เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี
ได้พากันคิดมงคลทั้งหลายมาเป็นเวลาถึง ๑๒ ปี ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้
ขอพระพุทธองค์ตรัสบอกมงคลอันสูงสุดว่าคืออย่างไร
เพื่อนำประโยชน์สุขมาให้โดยส่วนเดียวแก่ชาวโลกทั้งปวง”


พระพุทธองค์จึงทรงแสดง “มงคลสูตร” โปรดเทวดา
ปรากฏเป็นมงคลสูตร ๓๘ ประการ
ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นธรรมอันเป็นอุดมมงคล
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประพฤติมงคลเช่นนี้แล้ว
จะเป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า
ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ

นอกจากนี้แล้วด้านหน้าของพระมูลคันธกุฏียังมีบ่อน้ำ
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำที่พระพุทธองค์ทรงใช้น้ำในบ่อแห่งนี้
ทั้งดื่มกิน สรงสนาน (อาบน้ำ) ปัจจุบันยังคงมีน้ำอยู่ตลอด
มีการทำคันโยกสำหรับดึงน้ำขึ้นมาจากบ่อ
ที่เชื่อว่าหากนำมาล้างหน้า ลูบศีรษะแล้วจะเป็นมงคลแก่ชีวิตด้วย

นอกจากพระมูลคันธกุฏีหรือกุฏิอันเป็นที่ประทับของพระพุทธองค์แล้ว
ภายในวัดเชตวันมหาวิหารยังมีกุฏิของพระอรหันตสาวกอีกหลายองค์
อาทิ กุฏิพระมหากัสสปะ กุฏิพระสารีบุตร กุฏิพระโมคคัลลานะ
กุฏิพระสีวลี กุฏิพระองคุลีมาล กุฏิพระอานนท์
เป็นต้น

ห่างจากวัดเชตวันมหาวิหารไปประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร
มีสถูปขนาดใหญ่ที่เหลือเป็นเพียงเนินดินขนาดใหญ่อยู่ริมถนน
ตั้งอยู่บริเวณนอกเขตเมืองสาวัตถี
ระหว่างเมืองพารัมปุระกับเมืองสราวัสสติ
คือ “ยมกปาฏิหาริย์สถูป” หรือ คัณฑามพฤกษ์
ชาวบ้านเรียกว่า สวนมะม่วงของคัณฑกะ
สันนิษฐานว่าคือสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “ยมกปาฏิหาริย์”
ปราบทิฏฐิพวกเดียรถีย์ ซึ่งเป็นนักบวชนอกศาสนาพุทธ
หลังจากออกรับบิณฑบาตที่เมืองสาวัตถี
ในพรรษาที่ ๗ หลังตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ยมกปาฏิหาริย์ เป็นการแสดงธรรมด้วยอิทธิฤทธิ์อัศจรรย์
ซึ่งถือเป็นการแสดงปาฏิหาริย์ครั้งสำคัญและครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์


อย่างไรก็ดี ปกติแล้วพระพุทธเจ้าไม่โปรดการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
อีกทั้งยังห้ามไม่ให้พระภิกษุแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ด้วยซ้ำ
โดยพระพุทธองค์นั้นโปรดการแสดง “อนุสาสนีปาฏิหาริย์”
ที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงอิทธิฤทธิ์ความอัศจรรย์ของพระธรรมคำสอนมากกว่า


:b39:

• “๕ ผู้ต้องธรณีสูบ” ในสมัยพุทธกาล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=52387

• มงคลสูตร ๓๘ ประการ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=22916

รูปภาพ

รูปภาพ
พระมูลคันธกุฏี หรือ “พระมูลคันธกุฏีวิหาร”
ที่วัดพระเชตวัน (วัดเชตวันมหาวิหาร) เมืองสาวัตถี
กุฏิอันเป็นที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธเจ้า
ที่ทรงประทับนานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา
ซึ่งด้านหน้ามีซากฐานของพระเจดีย์ทอง


:b47: :b45: :b47:

:b50: :b49: :b50: หมายเหตุ : (๑) พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี
ซึ่งชาวพุทธเมื่อไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน แสวงบุญ
นิยมเดินทางเข้าไปสักการะที่โดดเด่น ๓ แห่ง คือ

๑.๑ พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี บนยอดเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์

๑.๒ พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี ที่สารนาถ เมืองพาราณสี

๑.๓ พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี
ที่วัดพระเชตวัน (วัดเชตวันมหาวิหาร) เมืองสาวัตถี


(๒) ในหนังสือพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด
โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต)
สมณศักดิ์ปัจจุบันคือ พระมหาโพธิวงศาจารย์
พระเดชพระคุณท่านได้กล่าวไว้ว่า


พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี
(อังกฤษ : Mulagandhakuti แปลว่า กุฏีที่มีกลิ่นหอม)
เป็นชื่อเรียกสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ
เรียกเต็มว่า “พระมูลคันธกุฏี”
ในพุทธประวัติ เล่าว่าสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าทุกแห่ง
จะมีผู้นำของหอมนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้หอม ดอกไม้หอม เป็นต้น
มาบูชาพระพุทธเจ้ามิได้ขาด โดยประดับไว้ภายในที่ประทับบ้าง
วางเรียงรายอยู่โดยรอบบ้าง โดยมุ่งบูชาพระพุทธเจ้าด้วยกลิ่นหอม
จึงปรากฏว่าหลังวัดที่ประทับจะมีดอกไม้ที่แห้งแล้ว
ถูกนำไปทิ้งไว้เป็นกองใหญ่ด้วยมีจำนวนมาก
พระคันธกุฏี มิใช่จะมีกลิ่นหอมเท่านั้น
ยังถูกสร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิสดารเท่าที่มนุษย์จะทำกันได้ด้วยแรงศรัทธา


:b39:

• พระมูลคันธกุฏี บนยอดเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44857

• พระมูลคันธกุฏี ที่สารนาถ เมืองพาราณสี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43034

รูปภาพ
ในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ชาวพุทธศรีลังกาจะมาประดับประดาพวงมาลาและดอกไม้
ถวายตามพระมูลคันธกุฏีและเรือนธรรมต่างๆ
ภายในพุทธสังเวชนียสถาน
และสถานที่สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา


รูปภาพ
วัดเชตวันมหาวิหาร หรือวัดพระเชตวัน
วัดแห่งแรกในเมืองสาวัตถี
เป็นอารามหรือวัดที่สร้างขึ้นโดย “ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี”
มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี
บนที่ตั้งของเชตวันหรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี
ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง ๑๘ โกฏิ
(ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น)
วัดแห่งนี้นับเป็นฐานที่มั่นสำคัญ เป็นเสมือนศูนย์บัญชาการ
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดในสมัยพุทธกาล
และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษานานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา
ทั้งยังเป็นวัดที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนามากที่สุดด้วย
จึงนับเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง


ธรรมศาลา ภายในวัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
สถานที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
เป็นสถานที่ที่เกิดเรื่องราวและพระสูตรที่สำคัญๆ จำนวนมาก
ในพระพุทธศาสนามากมาย เช่น เรื่องของพระองคุลิมาล, นางปฏาจาราเถรี,
พระนางกิสาโคตมีเถรี, การถวายอสทิสทาน, เรื่องพระพุทธองค์ทรงดูแลภิกษุไข้,
พราหมณ์จูเฬกสาฏก, ทรงพยากรณ์สุบินนิมิต ๑๖ ประการ, นางกาลียักษิณี,
นางจิญมาณวิกาถูกแผ่นดินสูบ, พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ เป็นต้น

ในส่วนพระสูตรนั้นมีจำนวนมากที่สำคัญๆ เช่น มหามงคลสูตร, ธชัคคสูตร,
ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานสังสสูตร,
คิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร,
พลสูตร, มัคควิภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนารถกรณธัมมสูตร,
อัคคัปปทานสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อนริยสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร
โดยทั้งหมดทรงแสดง ณ วัดเชตวันมหาวิหาร แห่งนี้


รูปภาพ
กุฏิพระมหากัสสปะ

รูปภาพ

รูปภาพ
กุฏิพระสารีบุตร

รูปภาพ
กุฏิพระโมคคัลลานะ

รูปภาพ
กุฏิพระสีวลี

รูปภาพ

รูปภาพ
อานันทโพธิ์ ต้นโพธิ์ที่มีอายุยืนที่สุดในโลก

:b49: :b50:

“ต้นอานันทโพธิ์” ณ วัดเชตวันมหาวิหาร (วัดพระเชตวัน)
เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ชมพูทวีป
เป็นต้นดั้งเดิม โดยเป็นต้นโพธิ์ที่ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล
ที่ประตูหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร (วัดพระเชตวัน)
(ปลูกจากเมล็ดของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้)
โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
จึงเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นโพธิ์ที่มีอายุยืนที่สุดในโลก
ที่ยังคงยืนต้นอยู่มาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. ๒๕๖๐)
มีอายุกว่า ๒,๕๖๐ ปี
(มีอายุมากกว่าพุทธศักราช)
และชาวพุทธนับถือว่ามีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์เป็นอันดับสอง
รองจาก “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้


พุทธคยาในสมัยพุทธกาล หลังจากตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
และประทับเสวยวิมุตติสุขของพระพุทธเจ้าแล้ว
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จมา ณ ที่แห่งนี้ แต่อย่างใด
มีกล่าวถึงในอรรถกถา แต่เมื่อคราวพระอานนท์ได้มายังพุทธคยา
เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับตรัสรู้
กลับไปปลูก ณ วัดเชตวันมหาวิหาร (วัดพระเชตวัน)
ตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ซึ่งปรารถนาให้มีสิ่งเตือนใจเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปประทับที่อื่น


ประวัติความเป็นมาของ “ต้นอานันทโพธิ์” จากหนังสือปูชาวัลลิยะ
ของสมาคมมหาโพธิ์ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย

ได้กล่าวไว้มีใจความสำคัญว่า...

“แม้ว่าพระเชตวันมหาวิหาร จะเป็นที่ยังความสะดวกและความสงบให้เกิดได้
ยิ่งกว่าสถานที่แห่งใดๆ อันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า
แต่พระองค์ได้ประทับพักตลอดปีไม่ แต่ละปีพระพุทธองค์ทรงประทับพัก
เพียง ๓ เดือนในพรรษาเท่านั้น ส่วนอีก ๙ เดือนของปีนอกฤดูฝน
พระองค์เสด็จจาริกออกไปแสดงธรรมในคามนิคมชนบทและหัวเมืองอื่น

เมื่อพระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปสู่ที่อื่นประมาณปีละ ๙ เดือน
ชาวนครสาวัตถีผู้เลื่อมใสในพระธรรม ใคร่จะทูลเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นนิจ
ไม่ปรารถนาให้พระองค์เสด็จไปประทับแห่งใดๆ จึงพากันเกิดความเดือดร้อนใจ
ปรึกษากันว่า จะทำไฉนหนอ จึงจะทูลเชิญพระองค์ให้ประทับอยู่ตลอดปีได้
เมื่อพระองค์ต้องเสด็จไป ก็ทำให้เกิดความอ้างว้างใจ
จะหาสิ่งใดของพระองค์ให้ปรากฏอยู่เป็นเครื่องระลึกแทนองค์พระพุทธเจ้าได้

ความนั้นทราบถึงพระอานนท์เถระ พุทธอุปัฏฐาก เป็นต้น
จึงนำกราบทูลให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณา เพื่อจะยังมหาชนให้สมปรารถนา
จึงรับสั่งให้นำผลสุขแห่งโพธิ์ (เมล็ด)
ที่ตำบลพุทธคยา มาปลูกไว้ที่หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
เพื่อเป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ จักได้เป็นที่บูชากราบไหว้ของคนทั้งปวง

ครั้งนั้นพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกฝ่ายซ้าย
ทราบความประสงค์ของพระพุทธเจ้า จึงทูลอาสาแสดงฤทธิ์
โดยเหาะไปในอากาศถึงตำบลพุทธคยา
นำเอาผลสุขแห่งโพธิ์ (เมล็ด)
กลับมายังพระเชตวันมหาวิหารได้ในวันเดียวกันนั้น

ครั้นนำผลสุขแห่งโพธิ์ (เมล็ด) มาแล้ว
ก็มีการปรึกษากันว่า ผู้ใดจักสมควรเป็นผู้ปลูก
เบื้องต้นชาวเมืองและพระสงฆ์พร้อมใจกันถวายพระเกียรติ
แด่พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้ครองกรุงสาวัตถี
ให้ทรงเป็นผู้ปลูก แต่ทรงปฏิเสธ
โดยบอกว่าฐานะกษัตริย์ย่อมไม่มั่นคงถาวร
ทายาทที่จะมาภายหลังจะให้ความคุ้มครอง
บารุงรักษาต้นโพธิ์ต่อไปนี้ได้หรือไม่ก็ไม่ทราบได้
จึงควรยกเกียรตินี้ให้แก่คนอื่น

ในที่สุดก็ได้ตกลงให้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้ปลูก
เพราะด้วยคิดกันว่า ต้นโพธิ์จะอยู่ภายในที่สาคัญของท่านอย่างหนึ่ง
และท่านมีบริวารข้าทาสหญิงชายมาก คงสืบตระกูลช่วยกันรักษาต้นโพธิ์
ต่อๆ กันไปได้อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปลูกเสร็จก็ได้มีการฉลองต้นโพธิ์
และพระพุทธองค์ก็ได้เสด็จประทับนั่งอยู่ภายใต้ต้นโพธิ์ ๑ ราตรี
ตั้งแต่นั้นมา ชาวเมืองก็พากันกราบไว้ต้นโพธิ์เสมือนเครื่องระลึกแทนพระพุทธเจ้า
ที่เรียกชื่อว่า อานันทโพธิ์ นั้นเป็นเพราะว่าพระอานนท์เป็นผู้จัดการดูแล
เรื่องการปลูกและรดน้ำจนต้นโพธิ์เจริญเติบโตนั่นเอง”


อานันทโพธิ์ต้นนี้ยังคงยืนต้นอยู่
ณ ภายในวัดเชตวันมหาวิหาร (วัดพระเชตวัน) เมืองสาวัตถี
รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตราบเท่าถึงปัจจุบันนี้


อานันทโพธิ์ คือต้นโพธิ์ที่มาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์
พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้
ชาวพุทธทั่วโลกจึงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาถูกทำลายมาแล้ว ๓ ครั้ง
แต่ที่วัดเชตวันมหาวิหาร (วัดพระเชตวัน) นี้ยังคงอยู่
ชาวพุทธเราจึงเชื่อว่า ต้นอานันทโพธิ์
มีความศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา


:b39:

:b36: • “ต้นพระศรีมหาโพธิ์”
ที่สำคัญที่ยังคงยืนต้นอยู่ในปัจจุบันนี้ มี ๓ ต้น

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39333

รูปภาพ
โบราณสถานซาก “ยมกปาฏิหาริย์สถูป” หรือ “คัณฑามพฤกษ์”

:b40: :b47: :b40:

โบราณสถานซาก “ยมกปาฏิหาริย์สถูป” หรือ คัณฑามพฤกษ์
ซึ่งล้วนแต่เป็นซากกองอิฐที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตทั้งสิ้น
ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญแห่งหนึ่ง
จึงมีแท่นให้จุบธูปเทียนบูชา วางข้าวของถวาย
รวมถึงมีการปิดทองกันประปรายตามแนวฐานสถูป
โดยบนฐานสถูปมีเหล่านักแสวงบุญนิยมกันมานั่งสมาธิภาวนา

ห่างจากวัดเชตวันมหาวิหารไปประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร
มีสถูปขนาดใหญ่ที่เหลือเป็นเพียงเนินดินขนาดใหญ่อยู่ริมถนน
ตั้งอยู่บริเวณนอกเขตเมืองสาวัตถี
ระหว่างเมืองพารัมปุระกับเมืองสราวัสสติ
คือ “ยมกปาฏิหาริย์สถูป” หรือ คัณฑามพฤกษ์
ชาวบ้านเรียกว่า สวนมะม่วงของคัณฑกะ
สันนิษฐานว่าคือสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “ยมกปาฏิหาริย์”
ปราบทิฏฐิพวกเดียรถีย์ ซึ่งเป็นนักบวชนอกศาสนาพุทธ
หลังจากออกรับบิณฑบาตที่เมืองสาวัตถี
ในพรรษาที่ ๗ หลังตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ยมกปาฏิหาริย์ เป็นการแสดงธรรมด้วยอิทธิฤทธิ์อัศจรรย์
ซึ่งถือเป็นการแสดงปาฏิหาริย์ครั้งสำคัญและครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์


อย่างไรก็ดี ปกติแล้วพระพุทธเจ้าไม่โปรดการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
อีกทั้งยังห้ามไม่ให้พระภิกษุแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ด้วยซ้ำ
โดยพระพุทธองค์นั้นโปรดการแสดง “อนุสาสนีปาฏิหาริย์”
ที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงอิทธิฤทธิ์ความอัศจรรย์ของพระธรรมคำสอนมากกว่า

แต่เหตุที่พระพุทธองค์จำเป็นต้องแสดงยมกปาฏิหาริย์ในครั้งนี้
ก็เนื่องจากว่าบรรดาเหล่าเดียรถีย์ซึ่งเป็นนักบวชนอกศาสนาพุทธ
ได้มาท้าพระพุทธองค์แข่งแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ว่าใครจะเก่งกว่ากัน
ซึ่งหากพระพุทธเจ้าไม่แสดงยมกปาฏิหาริย์
ก็จะยิ่งเป็นเหตุให้พวกเดียรถีย์หาเรื่องทำลายพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงประกาศว่า
จะเสด็จไปแสดงปาฏิหาริย์ใกล้โคนต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์
ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันอาสาฬหบูชา
ก่อนถึงวันเข้าพรรษา ๑ วัน
เหล่าเดียรถีย์เมื่อทราบข่าว
ก็ให้พรรคพวกลูกน้องและสาวกที่นับถือพวกตน
ไปจัดการโค่นต้นมะม่วงทิ้งจนหมดสิ้น
ทราบว่าบ้านใครสวนใครมีต้นมะม่วง ก็ใช้อิทธิพลทางการเงินซื้อ
แล้วโค่นทำลายหมด แม้แต่หน่อต้นเล็กต้นน้อยก็ขุดทำลายเสียจนสิ้นซาก
แต่สุดท้าย “นายคัณฑกะ” คนเฝ้าพระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล
(กษัตริย์แห่งแคว้นโกศล ซึ่งมีเมืองสาวัตถีเป็นเมืองหลวง)
ได้เห็นว่าภายในพระราชอุทยานที่ตนดูแลอยู่
มีมะม่วงผลหนึ่งสุกเหลืองอร่ามน่ากิน จึงได้สอยเอามาเก็บไว้
โดยตั้งใจว่าจะนำไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล

แต่เมื่อนายคัณฑกะได้พบกับพระพุทธเจ้าในระหว่างทาง
จึงได้ถวายมะม่วงสุกผลนั้น เมื่อพระพุทธองค์เสวยเนื้อมะม่วงแล้ว
ได้ให้นายคัณฑกะวางเมล็ดมะม่วงลงในดิน
จากนั้นทรงใช้น้ำล้างพระหัตถ์รดลงไปบนเมล็ดมะม่วง
ทันใดก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น
ปรากฏว่าเมล็ดมะม่วงได้ให้กำเนิดเป็นต้นมะม่วงสูงใหญ่ขึ้น
ถึง ๕๐ ศอก หรือ ๒๕ เมตร พร้อมทั้งแผ่สยายกิ่งก้านสาขา
ออกลูกดกเต็มต้น รวมถึงร่วงหล่นให้ผู้คนได้เก็บกินกัน


หลังจากนั้นก็ใกล้จะถึงเวลาที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์บนโลกมนุษย์
ก็มีพุทธบริษัทมาเฝ้ารอชมการแสดงปาฏิหาริย์กันอย่างเนืองแน่น
ขณะที่บนสวรรค์ชั้นฟ้า เหล่าเทวดาทุกชั้นต่างก็มาชุมนุม
เพื่อเฝ้ารอชมการแสดงปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน

ยมกปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์คู่ อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ
โดยพระพุทธองค์ทรงเข้าฌาน แล้วเหาะลอยขึ้นไปในอากาศ
พร้อมนิมิตให้มีร่างของพระองค์เองขึ้นมาคู่กันอีกหนึ่งองค์
เพื่อแสดงปาฏิหาริย์คู่กันไป
อาทิ
ทำให้เกิดเปลวไฟออกจากพระวรกายพุ่งขึ้นเบื้องบน
พร้อมกับทำให้มีสายน้ำออกมาจากพระวรกายพุ่งลงเบื้องล่าง
แล้วสลับให้สายน้ำพุ่งขึ้นเบื้องบน เปลวไฟพุ่งลงเบื้องล่าง
เปลวไฟพุ่งออกจากทางด้านซ้าย สายน้ำออกจากทางด้านขวา
จากนั้นก็สลับกัน
จนท้ายที่สุดทรงทำให้มีเปลวไฟและสายน้ำพุ่งออกจากร่างพร้อมกัน
โดยเปลวไฟนั้นให้ความสว่างไสวสวยงาม
ส่วนสายน้ำนั้นให้ความสดชื่นเย็นชุ่มฉ่ำ นับเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ซึ่งบรรดาเหล่าเดียรถีย์ไม่สามารถจะทำได้
ทำให้ต้องพ่ายแพ้ไม่เป็นท่าไปในที่สุด

หลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว ในวันรุ่งขึ้นตรงกับวันเข้าพรรษา
พระพุทธองค์ก็ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา
ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ประสูติได้ ๗ วัน
ทรงดำริที่จะสนองคุณของพระพุทธมารดา
จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์โปรดเทพบุตรพระพุทธมารดา
(ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์)
และเทวดาทั้งหลายอยู่เป็นเวลา ๑ พรรษา
และด้วยเหตุนี้เองชาวพุทธเราจึงนิยมทำบุญตักบาตร
และถวายมะม่วงสุกแด่พระสงฆ์ ในวันอาสาฬหบูชา


:b39:

• ยมกปาฏิหาริย์สถูป เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41346

รูปภาพ
บริเวณบ้านของปุโรหิตผู้เป็นบิดาของ “พระองคุลีมาลเถระ”
ตรงข้ามกันมองออกไปไม่ไกลนักจะเห็นซากอาคารก่อด้วยอิฐ
ซึ่งล้วนแสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตทั้งสิ้น
ด้านหน้าบริเวณนั้นคือ บ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี อุบาสกผู้คอยอุปัฏฐากพระพุทธศาสนา
ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นอุบาสกผู้เลิศในการเป็นผู้ถวายทาน


:b39:

• สุทัตตะ อนาถบิณฑิกเศรษฐี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=50333

รูปภาพ
“พระพุทธมหามงคลชัย มหาเมตตาธรรม ประทานพร เพื่อสันติภาพโลก”
พระพุทธรูปปางประทานพรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย
ประดิษฐาน ณ สำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก”
เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย


:b39:

• พลิกฟื้นประวัติศาสตร์...ที่สาวัตถี
(อ.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39323

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2013, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมืองราชคฤห์

:b44: ราชคฤห์ในอดีต

ในสมัยพุทธกาล “ราชคฤห์” (Rajgir) แปลว่า สถานที่ประทับของพระราชา เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธและแคว้นอังคะ ตั้งอยู่ในหุบเขาซึ่งมีภูเขาทั้งหมด ๕ ลูกเป็นกำแพงล้อมรอบ ได้แก่ อิสิคิลิ, ปัณฑวะ, คิชฌกูฏ, เวภาระ และเวปุละ จึงมีชื่อเรียกเมืองอีกชื่อหนึ่งว่า “เบญจคีรีนคร” ในบรรดาภูเขาทั้งหมดนี้ คิชฌกูฏเป็นภูเขาที่สูงที่สุด (การทำปฐมสังคายนาพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทซึ่งเกิดขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพานได้ ๓ เดือน ก็ได้ทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา บนเทือกเขาเวภาระ หรือ เขาเวภารบรรพต ใกล้เมืองราชคฤห์)

สมัยนั้นราชคฤห์เป็นเมืองหลวงที่สำคัญและยิ่งใหญ่ เป็นศูนย์กลางการค้าของแคว้นต่างๆ จึงมีความเจริญรุ่งเรืองกว่าแคว้นอื่นๆ เป็นอันมาก พระราชาผู้ปกครองแคว้นคือ พระเจ้าพิมพิสาร ความที่ราชคฤห์เป็นเมืองใหญ่ จึงมีผู้คนมาอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนักปราชญ์ราชบัณฑิตและคณาจารย์เจ้าลัทธิต่างๆ เช่น อาฬารดาบส และอุทกดาบส

นอกจากนี้อาณาจักรราชคฤห์ยังเป็นสถานที่เกิดของพระอรหันตสาวกหลายรูป อาทิ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระราธะ พระมหาปันถกะ พระจูฬปันถกะ เป็นต้น รวมทั้งเป็นที่เกิดของหมอชีวกโกมารภัจจ์ด้วย และที่เมืองราชคฤห์นี่เองเป็นที่ตั้งของวัดเวฬุวนาราม ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ สร้างถวายพระพุทธเจ้า

ต่อมาสมัยของพระเจ้าอชาตศัตรู โอรสของพระเจ้าพิมพิสารได้ย้ายราชธานีจากเมืองราชคฤห์ ไปอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร) ราชคฤห์จึงค่อยคลายความสำคัญลง

ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ถึงสถานที่อันน่ารื่นรมย์ในธรรม ๑๐ แห่งในกรุงราชคฤห์ ที่ได้ทรงเคยประทับได้แก่ ๑. ภูเขาคิชฌกูฏ ๒. โคตมนิโครธ ๓. เหวที่ทิ้งโจร ๔. สัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต ๕. กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ๖. เงื้อมผาสัปปโสณฑิก ๗. ตโปธาราม ๘. เวฬุวันกลันทกวิวาปสถาน (สวนไผ่อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต) ๙. ชีวกัมพวัน ๑๐. มัททกุจฉิมฤคทายวัน


:b44: ราชคฤห์ในปัจจุบัน

ปัจจุบัน ราชคฤห์เป็นตำบลหนึ่งของจังหวัดนาลันทา ในรัฐพิหาร และภูเขาทั้ง ๕ ลูกนั้น มี ๒ ลูกที่ยังคงชื่อเดิมไว้ คือ ภูเขาเวภาระ และภูเขาเวปุละ ส่วนอีก ๓ ลูกได้ถูกเปลี่ยนชื่อไป คือ ภูเขาอิสิคิลิ เปลี่ยนเป็น โสนา, ภูเขาปัณฑวะ เปลี่ยนเป็น อุทัย ส่วนภูเขาคิชฌกูฏ กลายเป็นภูเขา ๓ ยอดที่มีชื่อว่า รัตนคิรี ฉัฏฐา และเศละ ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันชาวอินเดียจึงเรียกเมืองราชคฤห์นี้ว่า “สัตตคิรีนคร” หมายถึง เมืองที่มีภูเขา ๗ ยอด ส่วนสถานที่สำคัญอื่นๆ ที่ยังคงอยู่และมีการเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ได้แก่

เวฬุวนาราม ปัจจุบันยังคงมีต้นไผ่อยู่มาก และยังเหลือซากมูลคันธกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า และสระใหญ่ที่พระพุทธองค์เคยเสด็จมาประทับนั่งแสดงธรรมแก่พระสงฆ์ รวมทั้งสถานที่ประชุมสงฆ์ครั้งสำคัญ ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต

ตโปทาราม สวนที่มีน้ำพุร้อน ปัจจุบันมีวัดฮินดูตั้งอยู่ และบริเวณรอบๆ มีสถานที่อาบน้ำไว้บริการ

ถ้ำสัตตบรรณคูหา ตั้งอยู่บนภูเขาเวภารบรรพต

เงื้อมผาสัปปโสณฑิก ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาเวภารบรรพต มีถ้ำ ๒ ถ้ำตั้งอยู่ติดดิน ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “โสณภัณฑาคาร”

ชีวกัมพวัน หมายถึง สวนมะม่วงของชีวก ที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ถวายสวนมะม่วงเพื่อสร้างวัดถวายไว้ในพระพุทธศาสนา

เหวที่ทิ้งโจร เป็นสถานที่ที่นางภัททาบุตรีราชคฤห์เศรษฐีได้ผลักสามีผู้เป็นโจรทรยศที่คิดฆ่านาง ตกลงไปตาย ปัจจุบันสามารถขึ้นไปชมได้ โดยบนยอดเขามี “สันติสถูป” ที่พระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นสร้างไว้

มัททกุจฉิทายวัน เดิมเป็นสวนกวาง แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างเป็นวัดถวายไว้ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาพักที่วัดนี้ ตอนที่ถูกสะเก็ดหินจากหินก้อนใหญ่ที่พระเทวทัตกลิ้งจากเขาคิชฌกูฏ ก่อนที่จะเสด็จไปรับการรักษาต่อที่วัดชีวกัมพวัน ปัจจุบันเหลือแต่ซากกองหินปรักหักพัง

นอกจากนี้ในเดือนตุลาคมของทุกปี จะมีการจัดงานเทศกาลระบำรำฟ้อนที่ราชคฤห์ ซึ่งจะมีการแสดงดนตรีและการเต้นรำย้อนยุคที่หลากหลาย

ปัจจุบัน ราชคฤห์เป็นที่ตั้งของ “วัดไทยสิริราชคฤห์” ซึ่งเพิ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ บนพื้นที่จำนวน ๙ ไร่ โดยการนำพาของ ดร.พระมหาวิเชียร วชิรวํโส เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา


• พระมูลคันธกุฏี บนยอดเขาคิชฌกูฏ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44857

• วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44846

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2013, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมืองราชคฤห์

รูปภาพ

สถูปบ้านพระสารีบุตร สถูปองค์นี้สร้างเป็นอนุสรณ์แก่ท่านพระสารีบุตร
เชื่อกันว่าบริเวณนี้เป็น บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม ในแคว้นมคธ
ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระสารีบุตรในครั้งพุทธกาล
(เมืองนาลันทา เป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ)


รูปภาพ

“นวนาลันทามหาวิหาร” มหาวิทยาลัยนาลันทา (ใหม่)

:b47: :b46: :b47:

นาลันทา ตั้งอยู่ที่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม ในแคว้นมคธ
ซึ่งเป็นเขตคามบ้านเกิดของพระอัครสาวกเบื้องขวา-ซ้าย
ของพระพุทธองค์ อันได้แก่ พระสารีบุตร ผู้เลิศด้วยปัญญา
และพระมหาโมคคัลลานะ ผู้เลิศด้วยฤทธิ์
อีกทั้งยังเป็นอนุสรณ์สถานที่ “ปาวาริกเศรษฐี”
ถวายสวนมะม่วงให้เป็นพระอารามที่พำนักของพระพุทธองค์
ครั้งเสด็จมาแสดงธรรม และเสด็จผ่านเพื่อไปยังเมืองไวสาลี

นาลันทา เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก
ศูนย์กลางสำคัญของการศึกษาพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
มหาวิทยาลัยนาลันทารุ่งเรืองมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗
หรือราว ๑,๗๐๐ ปีหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ก็ถูกทำลายลงอย่างราบคาบด้วยวิธีการต่างๆ โดยกองทัพมุสลิมเติร์ก
ว่ากันว่าเฉพาะที่มหาวิทยาลัยนาลันทาอันเลื่องชื่อลือนาม
มีพระสงฆ์ถูกกองทัพมุสลิมเติร์กฆ่าตายกว่า ๘,๐๐๐ รูป

ปัจจุบันคงเหลือแต่ซากปรักหักพังของความยิ่งใหญ่เกรียงไกรในอดีต
ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ ได้สร้างไว้
เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยศึกษาธรรม เมื่อประมาณปีพุทธศตวรรษที่ ๓
และเป็นอนุสรณ์สำหรับพระอัครสาวกเบื้องขวา คือท่านพระสารีบุตร
ซึ่งเกิด ณ สถานที่นี้ หรือเรียกว่า หมู่บ้านสารีจักร ในปัจจุบัน

ท่านพระสารีบุตรหลังจากออกบวชแล้ว
ได้ชักนำน้องชายคือ จุนทะ ออกบวชด้วย
เมื่อจะนิพพาน ได้มาเทศน์โปรดมารดาให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
เป็นการแสดงกตเวทิตาธรรมให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง
หลังจากท่านพระสารีบุตรนิพพานแล้ว ชาวนาลันทาได้สร้างสถูป
ณ สถานที่ที่ท่านดับขันธ์ เพื่อไว้บูชาสักการะ
และสร้างกุฏิวิหารล้อมรอบสถูปนั้นด้วย
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
พระองค์ทรงจาริกแสวงบุญมานมัสการสถูปพระสารีบุตรแห่งนี้
ทรงให้สร้างสถูปเพิ่มขึ้นอีก ๒ องค์ สำหรับพระสารีบุตรองค์หนึ่ง
สำหรับพระมหาโมคคัลลานะอีกองค์หนึ่ง และให้สร้างกุฏิวิหารล้อมรอบสถูปนั้น
เพื่อให้เป็นสถานที่อยู่ของพระสงฆ์ และเป็นสถานที่เล่าเรียนพระพุทธศาสนา


ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียทำการขุดค้นมหาวิทยาลัยนาลันทา
บนเนื้อที่ทั้งหมด ๒๓๑ ไร่ หรือ ๙๓ เอเคอร์
ในครั้งอดีตมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้เป็นสถานศึกษาที่รุ่งเรืองยิ่ง
ประกอบด้วย ห้องเรียน ห้องสมุด หอพัก ห้องประชุม หอสวดมนต์
สถานที่ลงโทษ โรงครัว ยุ้งฉางเก็บรักษาอาหาร และบ่อน้ำขนาดใหญ่ ฯลฯ

ดังจดหมายเหตุที่พระถังซัมจั๋ง (หลวงจีนเฮียงจัง) เล่าไว้
คราวท่านจาริกมาศึกษาพระพุทธศาสนา ณ สถาบันสงฆ์แห่งนี้ว่า
“...มีนักศึกษาประมาณ ๑๐,๐๐๐ ท่าน มีครูอาจารย์ประมาณ ๑,๕๐๐ ท่าน
มีตึกสูงถึง ๖ ชั้น มีพระพุทธรูปปางสมาธิสูงถึง ๑๖ วา
มีห้องสมุดใหญ่ถึง ๓ หลัง อยู่ในมหาวิทยาลัยเดียว
โดยพระสงฆ์ผู้มาศึกษาเล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น...”


• มหาวิทยาลัยนาลันทา
มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39415

รูปภาพ

ศาสนวัตถุสำคัญของเมืองนาลันทา นอกจากซากกองอิฐสีแดง
และเศษรูปสลักหินอ่อนที่ปรักหักพังของ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”
มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลกแล้ว
ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งซึ่งประดิษฐาน
อยู่นอกเขตรั้วของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทางด้านทิศตะวันตก
นามว่า “หลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ” หรือ “หลวงพ่อองค์ดำ”
นับเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและเลื่องชื่อที่สุดในประเทศอินเดีย
เพราะเป็นพระพุทธรูปเพียงองค์เดียวที่หลุดรอด
จากการถูกทำลายของกองทัพมุสลิมเติร์กในปี พ.ศ. ๑๗๖๖
โดยเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินแกรนิตสีดำ


• หลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ แห่งเมืองนาลันทา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39407

รูปภาพ

ถ้ำพระสารีบุตร เมืองราชคฤห์

• ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร) ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41350

รูปภาพ

รูปภาพ

ถ้ำพระโมคคัลลานะ เมืองราชคฤห์

รูปภาพ

ถ้ำสัตตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์

รูปภาพ

จุดที่ปราบช้างนาฬาคิริง

รูปภาพ

รูปภาพ

ตโปทาราม สวนที่มีบ่อน้ำพุร้อนโบราณอายุกว่า ๒,๕๐๐ ปี

รูปภาพ

ในบริเวณตโปทารามยังมี “พระวิหารสีขาว”
ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่พระพุทธองค์ประทับตอนเสด็จมาสรงน้ำ


รูปภาพ

พระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนา วัดไทยสิริราชคฤห์

รูปภาพ

รูปภาพ

สันติสถูป ที่พระสงฆ์ญี่ปุ่นสร้างไว้

รูปภาพ

รูปภาพ

ซากกำแพงคุก (เรือนคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ)
ที่พระเจ้าอชาตศัตรูจับพระเจ้าพิมพิสาร พระราชบิดา
มาคุมขังไว้ตรงนี้ เพื่อตนเองจะได้ครองราชย์สมบัติแทน
จนกระทั่งสุดท้ายพระเจ้าพิมพิสารก็ถึงแก่สวรรคต
เพราะแรงแห่งกรรมที่ตัวเองได้เคยทำไว้ในอดีตนั้นเอง
ปัจจุบันเหลือเพียงซากกำแพงหินหนาประมาณ ๖ ฟุตล้อมรอบบริเวณ
ณ จุดตรงนี้จะสามารถมองเห็นเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ได้
ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารเคยประทับยืนทอดพระเนตร
ชายจีวรของพระพุทธองค์ พร้อมเสด็จเดินจงกรมจนสิ้นพระชนม์

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2013, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมืองกบิลพัสดุ์

รูปภาพ

ซากอาคารพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ (Kapilavatthu)
เมืองหลวงของแคว้นสักกะ และเป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะ
พระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ ๒๙ ปี
ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย
ซึ่งยังคงเหลือซากของเมืองและพระราชวังอยู่เป็นหลักฐาน


รูปภาพ

รูปภาพ

แนวกำแพงเมืองและประตูเมืองกรุงกบิลพัสดุ์ฝั่งตะวันออก
ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
(การเสด็จออกผนวชเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)
พระองค์เสด็จประทับบนหลังม้ากัณฐกะ พร้อมกับนายฉันนะ
เหาะไปทางอากาศเป็นอภินิหาร
ซึ่งมีความหมายว่าทรงข้ามโอฆสงสาร หรือการข้ามสังสารวัฎ
ประมุขเหล่าทวยเทพเทวดาอันมี “พระอินทร์” ถวายการถือฉัตรกั้น
และท้าวมหาพรหมชื่อ “ฆฎิการพรหม”
ทรงถือเครื่องอัฐบริขารเหาะเสด็จไปเบื้องหน้า
ทั้งนี้ มีพระยามารชื่อ “วัสสวดีมาร” คอยติดตามขัดขวางด้วย



• แม่น้ำโรหิณี แม่น้ำอโนมานที

• ลัฏฐิวัน แคว้นมคธ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2013, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมืองสังกัสสะ

รูปภาพ

ซาก “เทโวโรหนสถูป” เมืองสังกัสสะ แคว้นปัญจาละ
สถานที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ในปัจจุบันมีเหลือแต่เพียงซากพระอุโบสถ หรือซาก “เทโวโรหนสถูป”
เป็นเสมือนกองดินเป็นเนินสูงขึ้นไปขนาดใหญ่
และเบื้องล่างอยู่ใกล้เคียงกันนั้น มี “ยอดเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช”


• เมืองสังกัสสะ
สถานที่ทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44853

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร