วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ย. 2024, 08:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2011, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




300835_155895477825162_100002141326677_304011_2538437_n.jpg
300835_155895477825162_100002141326677_304011_2538437_n.jpg [ 77.84 KiB | เปิดดู 5083 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๖ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร ศิษย์รัก

ภาพที่ ๑ แสดงแบบจำลองสมอง มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สมองส่วนกลาง 2. ส่วนหลังของสมองส่วนหน้า
3. สมองส่วนปลาย 4. ส่วนหน้าของถุงสมองสองถุง
5. เส้นประสาทไขสันหลัง
สมองซีกแรก เริ่มปรากฏประมาณ ๔ สัปดาห์ครึ่ง หลังจากปฏิสนธิแล้ว
... ภาพที่ ๒ แสดงสายสะดือ มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หลอดเลือดดำสายสะดือ 2. ฐานของสายสะดือ
3. ผนังหน้าท้อง 4. ขนดลำไส้
5. ตับ
ขนดลำไส้ย้ายตำแหน่งชั่วคราวจากช่องท้องเข้าไปแออัดในสายสะดือ ขบวนการนี้ ปกติจะเรียกว่า ไส้เลื่อนทางสรีระวิทยา, นี้เป็นการเพิ่มพื้นที่เป็นห้องชั่วคราว เพื่อให้ตับและอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้อยู่พักในการเจริญเติบโต
ภาพที่ ๓ แสดงสายสะดือกับถุงน้ำคร่ำ มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ถุงน้ำคร่ำ 2. หลอดเลือดแดงสายสะดือ
3. เรื้อรก 4. หลอดเลือดดำสายสะดือ
สายสะดือ ทะลุผ่านถุ่งน้ำคร่ำ เชื่อต่อกับรกภายในสายสะดือ ซึ่งสายสะดือมีหลอดเลือดดำใหญ่กว่าหลอดเลือดแดง ทำให้เห็นความสว่างของสี เพราะเลือดมีการส่งผ่านออกซิเจนได้มากขึ้น
ภาพที่ ๔ แสดงมือซ้าย กับ อวัยวะส่วนสำคัญๆ มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หน้าผาก 2. สันจมูก
3. หัวใจ 4. ตับ
5. ช่องว่างเส้นเลือดดำ 6. ส่วนแยก
7. ตาซ้าย 8. ข้อมือซ้าย
9. มือซ้าย 10. นิ้วมือ
ขบวนแตกแยกแฉกนิ้วยาวออกไป เฉพาะๆ นิ้วนั้นๆ ซึ่งเริ่มเป็นปุ่มนิ้วงอกออกมา ซึ่งสามารถทำเป็นแบบแผนเซลล์ที่ตายแล้วบางส่วน นี้เป็นขบวนการของเซลล์ เรียกว่า เซลล์ตาย
ภาพที่ ๕ แสดงศีรษะกับมือซ้าย มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ขบวนการแยกแตกแขนงนิ้ว 2. เส้นเลือดแดงสายสะดือ
3. สมอง 4. เส้นเลือดดำสายสะดือ
5. ตาซ้าย 6. ใบหู
7. แขนงนิ้ว 8. ข้อมือข้างซ้าย
ตำแหน่งที่เห็นเป็นแฉกนิ้วที่มีโครงสร้างเรียวยาว ๕ นิ้ว ในมือข้างซ้าย แต่ละนิ้วมือมีข้อกระดูกงอกขึ้นมากลายเป็นนิ้ว
ภาพที่ ๖ แสดงเท้า กับปลายนิ้วเท้า มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. เท้าซ้าย 2. แฉกนิ้ว
3. ขบวนการแยกแตกแขนง 4. ตุ่มอวัยวะเพศ
5. เท้าขวา
เท้าและนิ้วเท้ามีพัฒนาการ หลังจากมือและนิ้วมือพัฒนาไปแล้ว ๒-๓ วัน, ขบวนการ แยกแตกแขนง(Notching)ของปลายนิ้วเท้ากำลังเป็นไปอยู่

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๗ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
สัปดาห์ที่ ๗ เห็นหูชัดขึ้น หน้าตาชัดขึ้น แขน ขา เจริญมากขึ้น สัปดาห์ที่ ๘ ตัวอ่อนสามารถเรียกว่า เป็นทารกในครรภ์แล้วนั่นคือรูปร่างเริ่มแยกแยะได้แล้วว่าเป็นคน มือและเท้าเริ่มยาวขึ้น เริ่มปรากฏนิ้วมือ นิ้วเท้า แม้จะมีพังผืดยึดไว้ก็ตาม ทารกเริ่มมีการเคลื่อนไหว
นี้จึงนับได้ว่าเข้าเดือนที่ ๒ ตัวทารกจะมีความยาวประมาณ ๑ นิ้วฟุต ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ทารกก็จะมี... แขน ขา หน้า รูปร่างเหมือนมนุษย์ขนาดจิ๋ว ขณะเดียวกันก็จะมีหัวใจที่เต้นทำงานบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย
การเติบโตของกระดูก เรียกว่า กระบวนการสร้างกระดูก ซึ่งเกิดขึ้นภายในกระดูกไหปลาร้า หรือกระดูกบริเวณต้นคอ รวมทั้งกระดูกของขากรรไกร เราจะสังเกตุเห็นอาการสะอึกได้ ภายใน ๗ สัปดาห์
เรายังเห็นการเคลื่อนไหวของขา เพื่อการโต้ตอบ การสะดุ้งหรือตกใจ ทั้ง ๔ ห้องหัวใจเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ ระยะนี้ หัวใจจะเต้น โดยเฉลี่ย ๑๖๗ ครั้งต่อนาที
การทำหน้าที่ของหัวใจ ประมาณ ๗ สัปดาห์ ครึ่ง การปล่อยคลื่นเช่นเดียวกับของผู้ใหญ่ สำหรับตัวอ่อนเพศหญิง รังใข่จะปรากฎ ภายใน ๗ สัปดาห์ ประมาณ ๗ สัปดาห์ ครึ่ง สีของดวงตา จะปรากฎชัดเจน ส่วนเปลือกตา จะเริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว นิ้วแยกออกจากกัน นิ้วเท้า
ในสัปดาห์ที่ ๘ สมองได้รับ การพัฒนาไปอย่างมาก และมีน้ำหนักเป็นครึ่งหนึ่ง ของน้ำหนักตัวของตัวอ่อน การเจริญเติบโตดำเนินต่อไป ใน สัปดาห์ที่ ๘ ประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ของตัวอ่อนจะแสดงความเด่นของมือขวา ส่วนที่เหลือจะถูกแบ่งอย่างเท่า ๆ กัน ระหว่างความเด่นของมือซ้าย และความด้อย นี่คือหลักฐานเบื้องต้น ในการแสดง พฤติกรรมความถนัดขวาหรือถนัดซ้าย ตัวอ่อนมีสภาพร่างกายที่ว่องไวขึ้น ในช่วงเวลานี้ การเคลื่อนไหว อาจช้าหรือเร็ว ครั้งเดียว หรือหลาย ๆ ครั้ง เกิดขึ้นเองหรือเป็นการโต้ตอบ การหมุนศีรษะ การยืดคอ และการสัมผัสด้วยมือ จะเกิดบ่อยขึ้น การหรี่ตาของตัวอ่อน การเคลื่อนไหวของขากรรไกร การจับ ยึด การชี้นิ้วเท้า ระหว่างสัปดาห์ที่ ๗ และ ๘ หนังตาบนและล่าง เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีบางส่วน รวมเข้าด้วยกัน ระหว่างสัปดาห์ที่ ๗ และ ๘ หนังตาบนและล่าง เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีบางส่วน รวมเข้าด้วยกัน ในช่วงเวลานี้เอง ไตเริ่มผลิตน้ำปัสสาวะ ซึ่งจะถูกปล่อยเข้าไปใน ของเหลวในถุงน้ำคร่ำ ทารกเพศชาย พัฒนาการเจริญเติบโต เริ่มผลิตและปล่อยฮอร์โมนเทสเตอร์โรน กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือดในส่วนแขนขา ใกล้เคียงกับของผู้ใหญ่ ประมาณ ๘ สัปดาห์ หนังกำพร้า หรือผิวหนังชั้นนอกสุด จะเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อหลาย ๆ ชั้น ทำให้ความโปร่งใสของผิวหนังหายไป ขนตางอกขึ้น เช่นเดียวกับหนวดหรือขนที่ ขึ้นบริเวณปาก ๘ สัปดาห์ สิ้นสุดระยะตัวอ่อน ในระยะนี้ตัวอ่อนของมนุษย์ เติบโตจากเซลล์เดียว ไปสู่หนึ่งพันล้านเซลล์ ซึ่งสร้างองค์ประกอบของร่างกาย มากกว่า ๔,๐๐๐ ส่วนได้อย่างชัดเจน ขณะนี้ ตัวอ่อนได้มี องค์ประกอบของร่างกายมากกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพบในร่างกาย ของผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2011, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




302385_157372071010836_100002141326677_308042_182621_n.jpg
302385_157372071010836_100002141326677_308042_182621_n.jpg [ 97.49 KiB | เปิดดู 5079 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๘ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

ภาพที่ ๑ แสดงมือ มีอายุ ๗ สัปดาห์
มือมีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพียงแค่ ๗ สัปดาห์หลังการตั้งครรภ์ ใช้เวลาเพียง ๓ ถึง ๔ วัน
มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. แขนงนิ้วมือ 2. ขบวนการแตกแยกแขนง
3. ตับ 4. ซี่นิ้วมือ
... 5. หัวใจ 6. ส่วนโค้งใบหน้า
7. ซี่นิ้วหัวแม่มือ 8. มือข้างซ้าย
มือมีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพียงแค่ ๗ สัปดาห์หลังการตั้งครรภ์ ใช้เวลาเพียง ๓ ถึง ๔ วัน
ภาพที่ ๒ แสดงปสาขารูป มีอายุ ๗ สัปดาห์ ครึ่ง มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สีสันเรตินาเยื่อบุภายในตาขวา 2. ใบหูข้างขวา
3. ปาก 4. ริ้วกระดูกซี่โครง
5. เส้นเลือดดำภายในสายสะดือ 6. เส้นเลือดแดงสายสะดือ
7. ขนดลำไส้ที่ฐานสายสะดือ 8. ข้อเท้าข้างขวา
9. เข่าข้างขวา
สายสะดืออย่างน้อย ๑ ขนด มีทั้งเส้นหลอดเลือดดำและเส้นหลอดเลือดแดง เส้นหลอดเลือดแดงจะลำเลียงเลือดออกจากหัวใจเสมอ ในขณะเส้นเลือดดำเองก็ลำเลียงเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ เส้นเลือดดำสายสะดือมีสีแดงสดใส แสดงปฏิกิริยาตอบสนองในการขนถ่ายออกซิเจนในเส้นเลือดที่ไหลเวียนกลับมาจากสายรก ในส่วนของขนดลำไส้ปรากฏให้เห็นในสายสะดือ ซึ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนาตัว ภายในสัปดาห์ที่ ๑๐ ขนดลำไส้เหล่านี้ก็จะกลับคืนเข้าสู่ช่องท้องตามเดิม และในส่วนหัวเข่ามีการขยับเคลื่อนไหวพร้อมที่จะเต้น rock'n roll! ขอบตาขวาโบ๋ลึก นี้เป็นธรรมดาของขันตอนนี้ ไม่ต้องกังวลว่าลูกตาจะทะลักออกมา อีกไม่กี่วันมันก็จะปรับปรุงตัวมันเอง
ภาพที่ ๓ แสดงปลายนิ้วมือข้างขวา มีอายุ ๘ สัปดาห์
เฉลี่ยร้อยละ ๗๕ มนุษย์มีพัฒนาการใช้มือข้างขวามากกว่าใช้มือข้างซ้าย มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ท้องปลายนิ้วนางข้างขวา 2. สายสะดือ
3. ปลายนิ้วก้อย 4. ปลายนิ้วหัวแม่มือข้างขวา
5. ฝ่ามือข้างขวา 6. แผ่นเล็บ
ภาพที่ ๔ แสดงปุ่มอวัยวะเพศ มีอายุ ๘ สัปดาห์ ๒ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ปุ่มอวัยวะเพศ 2. ต้นขาซ้าย
3. สายสะดือ 4. ขนดของลำไส้

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2011, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




308935_158290210919022_100002141326677_311091_809261_n.jpg
308935_158290210919022_100002141326677_311091_809261_n.jpg [ 95.71 KiB | เปิดดู 5079 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๙ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร วิน ศิษย์รัก
ประมาณ สัปดาห์ที่ ๙ การดูดนิ้วหัวแม่มือเริ่มขึ้น ทารกในครรภ์สามารถกลืนน้ำคร่ำ และทารกในครรภ์ยัง สามารถจับ ยึดสิ่งของได้ เคลื่อนศีรษะไปด้านหน้าและด้านหลังเปิดและปิดขากรรไกร ขยับลิ้น ถอนหายใจ การเหยียดตัว เส้นประสาทรับรู้บนใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า สามารถรับรู้สัมผัสเบาๆ ในการตอบสนองสัมผัสที่ฝ่าเท้า ทารกในครรภ์จะงอตัว หรืออาจจะขดนิ้วเท้า สำหรับในทารกเพศหญิง มดลูก สามารถระบุได้อย่างชัดเจน และเซลล์...สืบพันธุ์ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ เรียกว่า โอโกเนีย พักตัวอยู่ในรังไข่ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เริ่มมี ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง การเจริญเติบโต ในระหว่าง สัปดาห์ที่ ๙ และ ๑๐ จะเพิ่มน้ำหนักตัวมากกว่า ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ประมาณ ๑๐ สัปดาห์ การกระตุ้น ของเปลือกตาบน ทำให้เกิดการกลอกตาลงข้างล่าง ทารกมีการหาว และ อ้าปาก และปิดปากบ่อยขึ้น ทารกส่วนใหญ่จะดูด นิ้วหัวแม่มือขวา ส่วนของลำไส้ซึ่งต่อกับสายสะดือ จะเคลื่อนตัวกลับไปสู่ช่องท้อง กระบวนการสร้างกระดูกดำเนินต่อไป เล็บมือ และเล็บเท้าเริ่มมีการเจริญเติบโต ลายนิ้วมือเดียว จะปรากฎให้เห็น ประมาณ ๑๐ สัปดาห์หลังจากการปฏิสนธิ ด้วยลักษณะเด่นนี้ สามารถนำไปใช้ เพื่อการชี้ตัว หรือชันสูตรได้ตลอดชีวิต

ภาพที่ ๑ แสดงหน้า มีอายุ ๙ สัปดาห์
เม็ดสีในเรตินา(ส่วนรับภาพ)ของตาเป็นเพียงบางส่วนที่มองเห็นด้านหลังตาขวา มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ล่องเปลือกตาขวามีปฏิกิริยาตอบสนอง 2. หน้าผาก
3. ล่องโหนกแก้ม 4. จมูก
5. ปาก 6. คาง
...ภาพที่ ๒ แสดงทารกในครรภ์ มีอายุ ๙ สัปดาห์ ด้วยภาพแบบเคลื่อนไหวจากคลื่นแม่เหล็กMRIเม็ดสีในเรตินา(ส่วนรับภาพ)ของตาที่มองเห็นได้เพียงบางส่วนด้านหลังของตาขวา มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หู 2. คอ 3. ริ้วกระดูกซี่โครง 4. ตับ
5. ซีกหนึ่งของสมองน้อย 6. ตา 7. ขนดลำไส้
8. สายสะดือ
ภาพที่ ๓ แสดงทารกในครรภ์ มีอายุ ๑๐ สัปดาห์ มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ศีรษะ 2. ต้นขาขวา 3. มือขวา
4. เข่า 5. ขาช่วงล่าง
ภาพที่ ๔ แสดฐานที่ตั้งมั่นแรกเริ่มของทารกในครรภ์ อายุ ๑๐ สัปดาห์ ๔ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ข้อศอกซ้าย 2. สายสะดือ 3. ข้อเท้าไข่วกัน
4. หน้าผาก 5. หน้าอก 6. ท้อง
7. หนังศีรษะ 8. หูซ้าย 9. คอ
10. หลัง 11. ก้น 12. เข่าซ้ายและสะโพก
13. ผนังมดลูก

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๑๐ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ประมาณ ๑๑ สัปดาห์ จมูกและปากจะถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ในแต่ละช่วงเวลา ของวงจรชีวิตมนุษย์ ลำไส้เริ่มดูดซับ น้ำตาลและน้ำ ซึ่งทารกกลืนเข้าไป แม้ว่าเพศของทารกได้ถูกกำหนด ตั้งแต่การปฏิสนธิ ตอนนี้อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก สามารถ ระบุเพศได้อย่างชัดเจน ระหว่างเพศชาย หรือ เพศหญิ...ง ระหว่างสัปดาห์ที่ ๑๑ และ ๑๒ น้ำหนักตัวของทารกเพิ่มขึ้น ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์
เข้า ๑๒ สัปดาห์ซึ่งหมายถึง ในสามเดือนแรก หรือช่วงเวลา ๓ เดือนของการตั้งครรภ์ ปุ่มรับรส ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน ในปากของตัวอ่อน เมื่อคลอดออกมาแล้ว ปุ่มรับรสจะยังคง อยู่ที่ลิ้นและเพดานปาก การเคลื่อนที่ของลำไส้ เริ่มต้นเมื่อต้น ๑๒ สัปดาห์ และดำเนินต่อไปอีกประมาณ ๖ สัปดาห์
ของเสียที่ถูกขับออกจาก ลำไส้ใหญ่ของตัวอ่อน เรียกว่า เมโคเนียม It is composed ซึ่งประกอบไปด้วย เอ็นไซม์ที่ช่วยย่อย โปรตีนและเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งถูกแยกออกโดยระบบการย่อย ประมาณ ๑๒ สัปดาห์ ความยาว ของอวัยวะส่วนบนของร่างกาย เกือบจะได้ขนาดที่เหมาะสม กับขนาดร่างกาย อวัยวะส่วนล่างจะยาวขึ้น จนกระทั่งสิ้นสุดส่วนสุดท้ายของร่างกาย โดยข้อยกเว้นของส่วนหลังของ ร่างกาย และส่วนบนสุดของศีรษะ ร่างกายทั้งหมดของทารก ตอนนี้ มีการตอบสนองกับทุกการสัมผัส ความแตกต่างของพัฒนาการ ขึ้นอยู่กับเพศของทารก ปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ทารกเพศหญิง จะมี การเคลื่อนไหวของขากรรไกร บ่อยกว่าทารกเพศชาย ในทางตรงกันข้าม การตอบสนอง ทางร่างก่ายซึ่งจะเห็นได้ในตอนต้น การกระตุ้นบริเวณปากทำให้เกิด การหมุนกลับไปยังตัวกระตุ้น และการอ้าปาก การตอบสนองนี้เรียกว่า ปฏิกริยาตอบกลับขั้นพื้นฐาน และยังคงอยู่ต่อไปหลังการเกิด เพื่อช่วยทารกแรกเกิด หาหัวนมของมารดา ระหว่างการให้นม ใบหน้ามีการเจริญต่อไป เพื่อให้เติบโตเต็มที่ เริ่มมีไขมันบริเวณแก้ม การเจริญเติบโตของฟันเริ่มขึ้น

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2011, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




315525_159258514155525_100002141326677_314329_4175759_n.jpg
315525_159258514155525_100002141326677_314329_4175759_n.jpg [ 51.81 KiB | เปิดดู 5064 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๑๑ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

ภาพที่ ๑ แสดจมูกและปาก อายุ ๑๑ สัปดาห์ ๓ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. กระจุกเหยื่อบุผิวในรูจมูก 2. ปลายจมูก
3. เส้นขอบริมฝีปากและผิวหนัง 4. ริมฝีปากบน
5. ร่องปุ๋มบนริมฝีปากบน 6. ริมฝีปากล่าง
ภาพที่ ๒ แสดจมูกและปาก อายุ ๓ เดือน ภาวะเพศชาย หรือ หญิงในระยะนี้ อวัยวะเพศจะโดดเด่นทางกายภาพภายนอก มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
... 1. ปลายนิ้วมือซ้าย 2. อวัยวะเพศชาย
3. ต้นขาซ้าย 4. ถุงอัณฑะ
5. ต้นขาขวา 6. ริ้วเส้นฝีเย็บที่บอบบาง
7. แคมอวัยวะเพศหญิง
8. ช่องคลอดเปิด
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2011, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๑๒ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

ในเดือนที่ ๓ ของการตั้งครรภ์นี้ อาการแพ้ท้องอาจจะยังมีอยู่หรือเริ่มจะดีขึ้น สภาพจิตใจความรู้สึกของผู้เป็นแม่จะเริ่มคงเส้นคงวา

ในช่วงเดือนที่ ๓ นี้ ด้วยเครื่องมือตรวจการทำงานของหัวใจ อาจจะได้ยินเสียงเต้นของหัวใจ ซึ่งถ้าผู้เป็นแม่ได้ยินแล้วจะรู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น และน่าประทับใจ ในวัยนี้ทารกจะมีขนาดโดยประมาณ ๓ นิ้วฟุต อวัยวะต่างๆ จะเกิดจนครบและกำลังพั...ฒนามากขึ้นเรื่อยๆ อวัยวะต่างๆ ก็เริ่มทำงานได้แล้ว

เดือนที่ ๔ เริ่มมี individual differentiation อวัยวะเพศเริ่มปรากฏชัดเจน (แต่อาจจะมองจากอุลตราซาวด์ไม่ชัด หัวใจเต้นเร็วเป็น ๒ เท่าของมารดา ช่องจมูก และปากมีเพดาน (palate) ปิดกั้นอย่างสมบูรณ์ ทารกเริ่มสามารถดูดนิ้วได้ ความหิวของมารดาจะทวีขึ้นตามความเจริญเติบโตของทารก การหมุนเวียนของเลือดมารดาจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปอด ไต และหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
กระบวนการที่เกี่ยวพันกับการสอดแทรก มีส่วนที่เหมือนกับเข็มเข้าสู่ช่องท้องของตัวอ่อนในครรภ์ เพื่อกระตุ้นฮอร์โมน ที่เกี่ยวกับการตอบสนองความเครียด โดยการปล่อย นอร์อะดรีนาลีน หรือฮอร์โมนอะดรีนาลีน เข้าสู่กระแสเลือด ทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่จะมี การตอบสนองที่คล้ายกัน เพื่อให้กระบวนการดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ในส่วนของระบบการหายใจ ขณะนี้ การเจริญเติบโตของ หลอดลมใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ วัตถุสีขาวที่ช่วยปกป้องตัวอ่อนในครรภ์ ที่เรียกว่า เวอร์นิกซ์ คาเซโอซา ตอนนี้ได้ห่อหุ้มตัวอ่อนไว้ เวอร์นิกซ์ ช่วยป้องกันผิวหนัง จากการระคายเคืองซึ่งเกิดจากน้ำคร่ำ ประมาณ ๒๐ สัปดาห์ อวัยวะ รูปหอยโข่ง หรือ คอเคีย ซึ่งเป็นอวัยวะสำหรับการได้ยิน มีขนาดใหญ่เท่ากับของผู้ใหญ่ โดยการเติบโตอย่างเต็มที่ ในช่องหู ตั้งแต่นี้ไป ตัวอ่อนในครรภ์จะตอบสนอง การแผ่ขยายของระดับเสียง เริ่มมีผมขึ้นที่ศีรษะ ผิวหนัง และชั้นของผิวหนัง ปรากฎขึ้น รวมไปถึง รูขุมขนและต่อมเหงื่อ
ในปลายเดือนที่ ๔ นี้ ทารกจะยาวประมาณ ๔ นิ้วฟุต นิ้วมือและนิ้วเท้าเริ่มแยกกันทารกสามารถจะดูด กลืน เคลื่อนไหวได้คล้ายกับมนุษย์ทั่วไปที่ตัวเล็กๆ นั่นเอง แต่ก็ยังอ่อนแอไม่สามารถมีชีวิตอยู่นอกโพรงมดลูกได้

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2011, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




309632_160588907355819_100002141326677_317719_5056804_n.jpg
309632_160588907355819_100002141326677_317719_5056804_n.jpg [ 96.65 KiB | เปิดดู 5055 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๑๓ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

ภาพที่ ๑ แสดงทารกหลบในซ่องท้อง อายุ ๔เดือน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หนังศีรษะ 2. ไหล่ขวา
3. หลัง 4. ศอกขวา
5. ขาขวาอยู่ในระดับล่าง 6. ต้นขาขวา
ภาพที่ ๒ แสดงแขนขาด้านขวาช่วงล่าง อายุ ๔ เดือน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หนังศีรษะ 2. หัวเข่า 3. ปลายแขนด้านขวา
4. หน้าอก 5. ท้อง 6. ขาขวาด้านล่าง
7. ต้นขาขวา 8. เท้า 9. ต้นขาซ้าย
ภาพที่ ๓-๔ แสดงประคับประคองสายสะดือ คลอดก่อนกำหนด อายุ ๕ เดือน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ตา 2. ปาก 3. หน้าอก
4. หน้าผาก 5. จมูก 6. สายสะดือ
7. ต้นขาขวมือขวาประคับประคองสายสะดือ
เดือนที่ ๕ เริ่มมีขนอ่อนตามหน้า ลำตัว ผมเริ่มปรากฏบนศีรษะ ทารกจะคล่องแคล่วมากขึ้น มีการดิ้นจนมารดารู้สึกตัวได้ ปรากฏไขมันเคลือบผิวของทารก
ทารกในขณะเดือนที่ ๕ จะมีขนาดประมาณ ๑๐ นิ้วฟุต ศรีษะทารกยังค่อนข้างโต มีการเคลื่อนไหวของแขนขาและคอได้ดี นิ้วมือและนิ้วเท้าแยกกันชัดเจน อวัยวะเพศสามารถแยกได้ชัดเจนว่าเพศหญิงหรือเพศชาย ทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


แก้ไขล่าสุดโดย ผู้ชายสบายๆ เมื่อ 07 ก.ย. 2011, 17:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2011, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




298480_161562293925147_100002141326677_320971_2132674_n.jpg
298480_161562293925147_100002141326677_320971_2132674_n.jpg [ 16.26 KiB | เปิดดู 5055 ครั้ง ]
ทารกเดือนที่ ๖ เริ่มมีขนตา ขนคิ้ว ผิวหนังยังเหี่ยวย่นอยู่ มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อแขน และขา ทารกสามารถไอ และสะอึกได้
เดือนที่ ๖ เป็นเดือนที่ทารก ขณะนี้มีขนาดยาวประมาณ ๑๓ นิ้วฟุต น้ำหนักประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ กรัม ตาทารกเริ่มลืมและนิ้วมือเริ่มมีลายนิ้วมือ,เล็บ เริ่มมีขนคิ้ว แต่ผิวหนังยังไร้ไขมัน
เดือนที่ ๗ ผิวหนังสีค่อนข้างแดง มีไขมันสะสมมากขึ้น เปลือกตาเปิดออกจากกัน ทารกมีความรู้สึกตัวมากขึ้น และพยายามตอบ...สนองในสิ่งที่รู้สึก (เหมือนเด็กแรกคลอด) จึงเปิดปิดตาตามความรู้สึก
ฉะนั้นทารกในระยะนี้จึงสามารถมองเห็น ได้ยิน ทารกในระยะนี้จะได้ยินเสียงแม่ และถ้าทารกในครรภ์หลับอยู่อาจมีอาการสะดุ้งเมื่อเกิดเสียงดัง ทารกบางรายจะชอบเสียงดนตรีที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะทราบได้โดยมีอาการเคลื่อนไหวของทารก ฉะนั้นปัจจุบันนี้จึงมีการพูดคุย และส่งภาษาให้กับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ขณะที่อายุ ๗ เดือน
ทารกในครรภ์ขณะนี้จะมีน้ำหนัก ๑ กิโลกรัมโดยประมาณ ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจาม ดูดมือ ดูดนิ้วเท้า

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2011, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๑๔ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

ประมาณ ๓๒ สัปดาห์หรือ ๘ เดือน เซลล์ถุงลม หรือเซลล์ถุงลม เริ่มมีการเติบโตในปอด ซึ่งจะดำเนินต่อไปจนกระทั้ง ๘ ขวบ หลังการเกิด ใน ๓๕ สัปดาห์ ตัวอ่อนจะมี ความสามารถในการจับยึดที่แข็งเรงขึ้นการรับสารต่าง ๆของตัวอ่อน มีผลกระทบต่อ พฤติกรรม การชอบมากกว่า หลังจากาการเกิด ตัวอย่างเช่น ตัวอ่อนที่แม่ชอบ รับประทานเม็ดผักชี ซึ่งเป็นสารที่ให้รสชาติของชะเอม ทารกจะมีพฤติกรรม การชอบเม็ดผักชีหลังการเกิด ทารกแรกเกิดซึ่งไม่มีการ รับสารนี้ จะไ...ม่ชอบเม็ดผักชี
เดือนที่ ๘ ผิวหนังเริ่มเต่งตึงขึ้น ถ้าเป็นชายก้อนอัณฑะจะเลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ ในช่วงนี้ทารกโตมากขึ้น ทำให้อึดอัดในการอยู่ในที่แคบ จึงมักมีการดิ้นและกลับตัว สร้างความลำบากให้กับมารดาเป็นอย่างมาก
ทารกขณะนี้จะมีน้ำหนักโดยประมาณ ๒ กิโลกรัม คุณแม่ควรจะต้องเรียนรู้กระบวนการคลอด และสังเกตถึงความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น น้ำเดิน เป็นต้น ควรจะได้เตรียมเครื่องใช้สำหรับการเข้าอยู่ในโรงพยาบาลไว้ให้พร้อม
เดือนที่ ๙ ผิวหนังเต่งตึงมากขึ้น ผิวหนังซึ่งมีสีแดงมากจะเริ่มจางลง ร่างกายและแขน ขาจะกลมกลึงมากขึ้น เล็บมือ เล็บเท้างอกแล้ว
The fetus initiates labor ตัวอ่อนเริ่มเตรียมตัวสำหรับ กระบวนการในการคลอด โดยการปล่อยฮอร์โมน ที่เรียกว่า เอสโตรเจน ออกมาเป็นจำนวนมาก และเริ่มเปลี่ยนจาก ตัวอ่อน ไปสู่ทารกแรกเกิด
เดือนที่ ๑๐ ลักษณะเด็กครบกำหนดคลอด ขนอ่อนจะหลุดออกเกือบหมด เล็บมือยื่นเลยปลายนิ้ว เล็บเท้ายื่นเสมอปลายนิ้ว น้ำหนักเฉลี่ยราว ๓ กิโลกรัม ยาว ๒๐ นิ้ว
ความพยายามในการคลอด สังเกตุได้ จากการหดตัวอย่างมากของมดลูก ซึ่งมีผลต่อการคลอด

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2011, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




301642_162037040544339_100002141326677_322081_6551244_n.jpg
301642_162037040544339_100002141326677_322081_6551244_n.jpg [ 108.11 KiB | เปิดดู 5055 ครั้ง ]
ภาพที่ ๑ แสดงทารกในครรภ์ อายุ ๘ เดือน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. จมูก 2. ลิ้น 3. คิ้ว
4. ตาซ้ายปิดอยู่ 5. แก้ม
ภาพที่ ๒ แสดงทารกในครรภ์ อายุ ๙ เดือน
ภาพที่ ๓ แสดงทารกในครรภ์ อายุ ๙ เดือน พลิกศีรษะลง พร้อมที่จะออกสู่โลกภายนอก
ภาพที่ ๔ แสดงทารก อายุ ๑๐ เดือน คลอดออกมาสู่โลกภายนอกอย่างปลอดภัย

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2011, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๑๕ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

ขั้นตอนความเป็นไปในการเจริญจากเซลล์ๆ เดียว มาเป็นตัวอ่อน จนเจริญไปเป็นทารกดังที่ได้อธิบายมาแล้วนี้ ล้วนเกิดจากความก้าวหน้าของวิทยาการทางโลก ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาค้นคว้าจนได้รายละเอียดเกี่ยวกับการเจริญเติบโตอย่างมากมายก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นก็ไม่อาจสามารถอธิบายไปได้ถึงอำนาจของจิตที่ทำให้ต้องเกิดการปฏิสนธิ ตลอดจนอำนาจของกรรมที่ทำให้เกิดรูปร่าง และลักษณะของหน้าตาที่แตกต่า...งกันออกไปได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอำนาจอันเร้นลับที่วิชาการทางโลกไม่อาจพิสูจน์ได้ แต่ไม่ว่าเรื่องราวใดๆ ย่อมไม่เกินวิสัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะด้วยพระสัพพัญญุตาญาณ จึงทำให้พระองค์ทรงหยั่งรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ในเรื่องความเป็นมา และความเป็นไปของชีวิต ทรงนำมาแจกแจงอย่างละเอียดพิสดาร ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดปรากฏอยู่ในพระอภิธรรมนั่นเอง
ในส่วนของรูปธรรมที่ได้แสดงไปแล้วนี้ ว่ามีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จะต้องเกี่ยวเนื่องกับจิตที่เป็นนามธรรมด้วยเสมอไป ทารกนั้นก็จะเจริญเติบโตได้เรื่อยไป จนครบกำหนดคลอดดั่งกล่าวมาแล้วนี้ หากว่าทารกในครรภ์ ต้องได้รับผลของกรรมจะต้องเสียชีวิตในระหว่างนี้ จุติจิตที่ทำหน้าที่ตายจากภพก็เกิดขึ้นมาทำหน้าที่ และทิ้งร่างรูปธรรมนั้นไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ก็กลายเป็นซากศพอยู่ในครรภ์ของมารดานั้น ประเด็นนี้ก็คือมารดาแทงลูกนั่นเอง
เมื่อวิจัยขบวนการปฏิสนธิ จึงต้องควบคู่กันระหว่างนามธรรม กับรูปธรรมเสมอ จะขาดจากกันมิได้ ในขณะรูปธรรมเจริญเติบโตอยู่นั้น จิตที่เป็นนามธรรมยังไม่รับอารมณ์ หรือนึกคิดอารมณ์ จิตนั้นก็ทำหน้ารักษาภพ(หล่อเลี้ยงรูปธรรมให้ได้เจริญเติบโต) เรียกจิตนี้ว่า ภวังคจิต ในรายละเอียดที่ลึกซึ้งกว่ากล้องส่องที่ถ่ายทอดรูปภาพมาให้เห็นข้างต้นนั้น พุทธองค์ได้เปิดเผยถึงรูปธรรม และนามธรรมว่ามีอาการ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อาการทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า อายุ ดังนั้น จึงต้องเข้าใจอายุของจิต และรูป ซึ่งจะไม่สามารถเอาเวลาที่เป็นนาที หรือวินาทีเข้ามาจับอายุของจิต ๑ ขณะและรูป ๑ รูปว่า จะใช้เวลากี่นาที หรือกี่วินาที ตามที่มีการสันนิษฐานไว้ว่า การดีดนิ้ว ๑ ครั้ง จิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ(เท่ากับเลข ๐ จำนวน ๑๔ หลัก) เมื่อจะนับอายุของจิต ๑ ขณะ จึงต้องแบ่งขณะย่อยเล็กๆ ออกเป็น ขณะเริ่มเกิด ขณะตั้งอยู่ และขณะจิตดับ จึงได้ อายุของจิตขณะใหญ่ ๑ ขณะ ซึ่งจิตขณะใหญ่นี้เองกำลังเกิดขึ้นก็นับเป็น ๑ ขณะเล็ก กำลังตั้งอยู่ก็นับเป็น ๑ ขณะเล็กและกำลังดับไปนับเป็น ๑ ขณะเล็ก จึงได้ว่า อายุจิตขณะใหญ่ ๑ ขณะ มีอายุขณะเล็กแฝงอยู่ ๓ ขณะเล็ก และรูป ๑ รูปมีอายุเท่ากับจิตขณะใหญ่เกิดดับ ๑๗ ขณะ

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2011, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




vajrasat.jpg
vajrasat.jpg [ 19.36 KiB | เปิดดู 4954 ครั้ง ]
ขอคั่นเวลาด้วยคาถาคุ้มครองของพระโพธิสัตต์สมันตภัทร เจ้าแห่งมนตราไว้สักนิดนึงจร้า...^^

"อฑันเฑ ฑันเฑปฎิ ฑันฑาวรตนิ ฑันฑกุสเร ฑันฑสุทาริ ทาริ สุฑารปฎิ พุทธปัศยนิธารณี อวรตนิ สังวรตนิ สังฆปรีกษิเต สังฆนิรฆาตนิ ธรรมปรีกษิเต สรวสัตว์ รุตเกาศัลยานุตเต สิงหวิกรีฑิเต."

พระโพธิสัตต์สมันตภัทรคือพระโพธิสัตต์ที่ประทับด้วยช้างเผือกขนาดใหญ่มี 6 งาและปกปักษ์รักษาผู้ที่รักษาพระสัตธรรมปุณฑรีกสูตรของพระพุทธเจ้าศากยะ.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2011, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




310525_165569096857800_100002141326677_332157_1764949350_n.jpg
310525_165569096857800_100002141326677_332157_1764949350_n.jpg [ 7.39 KiB | เปิดดู 4936 ครั้ง ]
ภาพแสดงอายุของจิต ๑ ขณะใหญ่ เท่ากับอายุ ๓ ขณะเล็ก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2011, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๑๖ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
เนื่องจากว่า จิต เป็นนามธรรมไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เพื่อที่จะให้เข้าใจในเรื่องการเกิดดับของจิต จึงต้องสมมติเป็นวงกลม ๑ วงเท่ากับอายุของจิตขณะใหญ่เกิดดับ ๑ ขณะ

และลากเส้นเป็นขาที่วงกลม ๓ ขา ขาที่ ๑ เท่ากับอายุขณะเล็กของจิตเริ่มเกิด, ขาที่ ๒ เท่ากับอายุขณะเล็กของจิตตั้งอยู่ และขาที่ ๓ เท่ากับอายุขณะเล็กของจิตดับไป และเมื่อจิตขณะดับนั้น ก็เป็นพลังให้จิตขณะใหม่เริ่มเกิดเช่นกัน การเกิดดับของจิตจึงต่อเ...นื่องไม่ขาดสาย ไม่มีช่องว่างในระหว่างคั่นเลยติดเนื่องไปตั้งแต่เริ่มเกิดปฏิสนธิ จิตที่เกิดขึ้นแต่ละขณะเกิดขึ้นมาทำหน้าที่ของตนเสร็จแล้วก็ดับไป เช่น เริ่มปฏิสนธิ จิตที่เกิดมาทำหน้าที่ปฏิสนธิ
ส่วนรูปธรรม ทั้งที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู แต่ที่นักวิทยาศาสตร์เห็น นั้นคืออะไร ค่อยๆ วิเคราะห์ดู ซึ่งรูปธรรมนี้ มีอายุ เท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะใหญ่จึงแสดงรูปภาพวงกลม ๑๗ วง และแต่ละวงก็มีขาเล็ก ๓ ขา คูณเข้ากับ ๑๗ จึงได้ ๕๑ ขณะเล็กด้วยกัน โดยนับขณะเล็กที่ ๑ เป็นขณะเริ่มเกิดรูป ขณะถัดไปตั้งแต่ขณะที่ ๒ จนถึงขณะเล็กที่ ๔๙ เป็นขณะรูปตั้งอยู่ และขณะเล็กที่ ๕๑ เป็นขณะรูปดับ สรุป เกิด ๑ ขณะเล็ก ตั้งอยู่ ๔๙ ขณะเล็ก และดับ ๑ ขณะเล็ก จึงรวมเป็นรูปเกิดดับ ๕๑ ขณะเล็กของจิตขณะใหญ่ที่เกิดดับ ๑๗ ขณะ ถึงแม้ว่ารูปจะเกิดดับช้ากว่าจิตก็ตาม แต่การเกิดดับของรูปเร็วมากอีกเช่นกัน ทั้งจิต และรูป จึงหาสภาพอะไรๆ มาเทียบหาอายุไม่ได้เลย.

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


แก้ไขล่าสุดโดย ผู้ชายสบายๆ เมื่อ 22 ก.ย. 2011, 22:21, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร