ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

สถานการณ์พระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=31909
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 22 พ.ค. 2010, 15:24 ]
หัวข้อกระทู้:  สถานการณ์พระพุทธศาสนา

:b8: :b8: :b8:

สถานการณ์พระพุทธศาสนา

ศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามีมากมายในสมัยของพระเจ้าตลอดอโศกมหาราช ถึงการใช้หัวสิงห์ที่อยู่บนหัวเสาหลักศิลาจารึกนั้น เป็นตราแผ่นดินเป็นที่น่าแปลกใจอยู่เหมือนกันว่า เสาศิลาจารึกนั้นเคลือบด้วยน้ำยาอะไรถึงได้คงทนหนัก แม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีใครทราบเลยว่าเป็นน้ำยาอะไรกันแน่ และเป็นที่น่าภูมิใจอย่างยิ่งตรงที่ว่า ประเทศอินเดียนั้นได้ใช้รูปตราพระธรรมจักรที่อยู่บนหัวสิงห์เป็นตรา
แผ่นดินแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนานั้นมีอิทธิต่อการปกครองประเทศอย่างแท้จริง

ในปี พ.ศ. ๒๓๔ พระพุทธศาสนามีความเจริญถึงขั้นสูงสุด ด้วยอำนาจของผู้ประเทศชาติอย่างพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้มีจิตใจสูงขึ้น เพื่อจักได้ปกครองประเทศหรือดูแลประชากรได้ง่ายขึ้น จะทำอะไรก็ไม่ผลีผลามหุนหันพลันแล่น

เมื่อพระพุทธศาสนาได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้นเช่นนั้น ก็ทำให้นักบวชนอกพระพุทธศาสนา๑ ได้ปลอมตัวเข้ามาบวชกันเป็นจำนวนมาก เพื่อหวังลาภสักการะจากพระเจ้าอโศกมหาราชและประชาชนชาวปาฏลีบุตรหลังจากที่ปลอมตัวเข้ามาบวชแล้ว ก็ประพฤติปฏิบัติต่างคนต่างก็ทำกันไปคนละทิศละทาง เพราะไม่ได้บวชมาด้วยความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จึงทำให้ภาพพจน์แห่งคนมีศีลนั้นด่างพร้อยไป ดูไม่งดงามเหมือนสมณภาวะหรือสมณสารูปที่ควรจะมีจะเป็น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้สร้างความแตกแยก แสดงอาการรังเกียจเดียดฉันท์ในการประพฤติปฏิบัติแก่กันและกันเป็นอย่างมาก เพราะไม่แน่ใจว่าใครเป็นพระแท้หรือพระปลอมกันแน่ จึงเป็นเหตุให้งดทำอุโบสถสังฆกรรม ๑ ร่วมกันเป็นเวลา ๗ ปี

คราวนี้ทราบถึงพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะ
ทำให้พระภิกษุสงฆ์ได้ลงทำอุโบสถสังฆกรรมตามพุทธบัญญัติไว้
จึงรับสั่งให้อำมาตย์ไปไกล่เกลี่ย เพื่อให้หมู่พระสงฆ์ลงอุโบสถสังฆกรรม
ร่วมกัน เมื่ออำมาตย์ไปไกล่เกลี่ยแล้วไม่ได้ผล เนื่องจากว่า พระสงฆ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์
ไม่ยอมร่วมทำอุโบสถสังฆกรรม กับกลุ่มนักบวช “อลัชชี” นั้น อำมาตย์จึงเกิดความโกรธมากและถือว่าพระสงฆ์นั้นขัดขวางคำสั่งไม่ยอมปฏิบัติตามพระราชโองการ
อำมาตย์จึงตัดสินใจกระทำการอันโหดเหี้ยมแก่กลุ่มพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์นั้น
ด้วยการฆ่าตัดคอเสียจำนวน ๓ รูป

ในทันใดนั้น ! พระติสสะเถระ พิจารณาดูเหตุการณ์แล้วเห็นท่าทีว่า
สถานการณ์ ไม่ค่อยจะดีนัก จึงลุกขึ้นเดินมานั่งคั่นพระภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ เพื่อเป็นการป้องกันพระสงฆ์ที่ดี ๆ ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเอาไว้ จึงทำให้อำมาตย์รู้สึกเกรงไว้ไม่กล้าที่จะกระทำการอันโหดเหี้ยมอีกต่อไปได้ พระสงฆ์พระติสสะเถระได้ควบคุมสถานการณ์อันเลวร้ายนั้นไว้ได้ โดยมิได้สูญเสียเลือดเนื้อใด ๆ เลย

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทราบเรื่องนี้แล้ว พระองค์ทรงสดุ้งพระทัยกลัวบาปกรรมเป็นอย่างมาก จึงรีบเสด็จไปยังวัดอโศการามทันทีที่ได้ทราบเรื่อง เมื่อเสด็จถึงวัดอโศการามแล้ว ได้ตรัสว่าถามหมู่พระสงฆ์ว่า….บาปกรรมที่อำมาตย์ได้กระทำการฆ่าหมู่สงฆ์ผู้บริสุทธิ์ไปนั้น จะตกถึงพระองค์หรือไม่ เพราะไม่ได้มีเจตนารับสั่งให้อำมาตย์ได้กระทำการเช่นนั้นเลย…..

ขณะนั้นก็มีพระสงฆ์หลายรูปกำลังตึงเครียดอยู่กับสถานการณ์อันเลวร้ายอยู่บางรูปจึง
ส่วนพระสงฆ์บางงรูปก็ตอบว่า….ไม่ตกถึงพระองค์หรอก เพราะว่ามหาพิตรไม่ได้ทรงมีพระเจตนาอย่างนั้น….
คำตอบข้อขัดข้องในพระทัยของพระเจ้าอโศกมหาราชจากพระสงฆ์นั้น ไม่ตรงกันเลย จึงทำให้พระองค์ลังเลพระทัยว่าคำตอบส่วนไหนที่ถูกต้อง จึงตรัสถามหมู่พระสงฆ์ไปว่า… “ พระคุณเจ้าที่เคารพ พอจะมีพระเถระรูปใดบ้างไหมที่มีปัญญารอบรู้ในพระพุทธวจนะ เพียงพอที่จะคลายข้อข้องพระทัยของข้าพระพุทธเจ้าได้….”
หมู่พระสงฆ์ทูลว่าพอมีมหาบพิตร พระมหาเถระรูปนี้ท่านชื่อโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำ “อโธตังคบรรพต” อยู่ทางต้นกำเนิดแม่น้ำคงคา ท่านเป็นพระอรหันต์รอบรู้ในพระพุทธวจนะเป็นอย่างดี
พระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อได้ทรงรับทราบอย่างนั้นแล้ว ทรงดีพระทัยเป็นอย่างมาก จึงทรงขอให้พระมหาเถระบางรูปในวัดอโศการาและติดตามด้วยอำมาตย์ เดินทางไปนิมนต์พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เพื่อมาช่วยแก้ไขข้อข้องพระทัยของพระองค์
พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระรับนิมนต์และเดินทางจากถ้ำ อโธตังคบรรพต สู่วัดอโศกมหาราชเข้าพบและทรงถามถึงเนื้อในใจความที่พระองค์ทรงกังขา พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระได้ถวายคำวิสัชนา มีใจความว่า….ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เจตนาหัง กัมมัง วทามิ แปลความว่า เจตนาถือว่าเป็นกรรม คือการกระทำที่เพียบพร้อมไปด้วย กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ครบบริบูรณ์
เพราะฉะนั้นในกรณีนี้พระองค์ไม่ต้องรับบาปกรรม เพราะเหตุที่พระองค์มิได้มีเจตนารับสั่งพระราชโองการไปอย่างนั้น แต่เพราะเหตุแห่งความโง่เขลาของอำมาตย์เอง ที่กระทำการไปโดยพลการ บาปกรรมนั้นก็ย่อมจะเกิดแก่อำมาตย์แต่เพียงผู้เดียว..

คำวิสัชชนาของพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เป็นที่พอพระทัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นอย่างมาก ที่ทำให้พระองค์เข้าพระทัยในสัจจะกรณกรรมแห่งชีวิตมากขึ้น

และต่อมาพระองค์กับพระโมคัลลีบุตรติสสะเถระ ได้มีความเห็นร่วมกันที่จะต้องชำระมลทินแก่พระศาสนาอันดับแรกให้จับพระอลัชชีที่ปลอมตัวบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ให้สึกออกไปนับเป็นจำนวนหมื่น ๆ และไวางข้อกำหนดโทษไว้ เพื่อมิฝห้กระทำเฉกเช่นนี้อีกต่อไป

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๔ ได้กระทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓
ขึ้น ณ วัดอโศการาม เมืองปาฎลีบุตร พระสงฆ์ผู้ บริสุทธิ์ ๑ ร่วมทำสังคายนา จำนวน ๑,๐๐๐ องค์ โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เป็นประธานฝ่ายพระสงฆ์และพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์และให้ความอุปถัมภ์ในการสังคายนา ซึ่งใช้เวลาในการทำอยู่ถึง ๙ เดือน จึงสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์

หลังจากสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชกับพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ได้พิจารณาเห็นว่าในกาลต่อไปในภายภาคนั้น พระพุทธศาสนาจะไม่มั่นคงต่อไปในประเทศอินเดีย จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะได้ส่งพระสมณฑูลไปประกาศพระพุทธศาสนา ออกไปยังประเทศต่าง ๆ เพื่อฝาก (ชะตากรรม) พระพุทธศาสนาของสมณโคดมไว้ หรือเพื่อเป็นการสืบอายุของพระพุทธศาสนาให้ครบ ๕,๐๐๐ ปี

เมื่อปรารภเรื่องดังกล่าวนั้นแล้ว จึงได้จัดพระธรรมทูตไปประกาศพระศาสนาออกเป็น ๙ สายดังนี้ คือ

สายที่ ๑. ไปทางแคว้นกัศมีระ, คันธาระ โดยมีคณะของพระมัชฌันติกะ เป็น ผู้น้ำกองทัพธรรมไป

สายที่ ๒. ไปทางแคว้นมหิสมณฑล โดยมีคณะของท่านพระมหาเทวะหรือพระมหานามะ เป็นผู้นำกองทัพธรรมไป

สายที่ ๓. ไปทางวนวาสีประเทศ โดยมีท่านพระรักขิตเถระ เป็นผู้นำกองทัพธรรมไป

สายที่ ๔. ไปทางอปรันตกชนบท โดยมีคณะท่านพระธรรมรักขิต เป็นผู้นำกองทัพธรรมไป

สายที่ ๕ ไปทางมหารัฐประเทศ โดยมีคณะของท่านพระมหาธรรมรักขิต
เป็นผู้นำกองทัพไป

สายที่ ๖. ไปทางแคว้นโยนกประเทศ โดยคณะของท่านพระมหารักขิต เป็นผู้นำกองทัพธรรมไป

สายที่ ๗. ไปทางหิมวันตประเทศ โดยมีคณะของท่านพระมัชฌิมะ เป็นผู้นำกองทัพธรรมไป

สายที่ ๘. ไปทางสุวรรณภูมิ โดยมีท่านพระโสณะและพระอุตตระ เป็นผู้นำกองทัพธรรมไป

และสายที่ ๙. ไปทางประเทศศรีลังกา โดยมีพระราชโอรสของพระเจ้า
อโศกมหาราช คือ ลูกศิษย์ของพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระอีก ๔ รูปคือ พระอิฎฐิยะ พระอุตติยะ พระสมพละและพระภัทรสาละ

:b8: :b8: :b8:



เจ้าของ:  ธรรมบุตร [ 22 พ.ค. 2010, 15:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สถานการณ์พระพุทธศาสนา

รูปภาพ

:b8: อนุโมทนา..สาธุ..ครับ..ท่านวรานนท์ :b8:

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 23 พ.ค. 2010, 10:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สถานการณ์พระพุทธศาสนา

:b8: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ ท่านวรานนท์ :b8:

เจ้าของ:  ตักบาตรถามพระ [ 25 พ.ค. 2010, 02:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สถานการณ์พระพุทธศาสนา

:b8: อนุโมทนาบุญด้วยครับ

เจ้าของ:  ภัทร์ไพบูลย์ [ 18 ก.ค. 2010, 16:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สถานการณ์พระพุทธศาสนา

สาธุครับอนุโมทนาด้วยความเคารพ

:b8: ขอท่านพึงเจริญในธรรม :b8:

เทพบุตร :b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
6-1.jpg
6-1.jpg [ 41.35 KiB | เปิดดู 3641 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/