วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 08:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




19-03-09-17-10-32-s.jpg
19-03-09-17-10-32-s.jpg [ 97.73 KiB | เปิดดู 5143 ครั้ง ]
เพราะเหตุใดพุทธศาสนาจึงเสื่อมโทรมไปจากประเทศอินเดียอันเป็นดินแดนเกิดของพุทธศาสนา ปัญหานี้มีคนสงสัยกันมากแต่ก็มีส่วนน้อยที่สนใจปัญหานี้อย่างแท้จริง มูลเหตุแห่งความเสื่อมมีดังนี้

1. เพราะแตกสามัคคี

เพราะพระภิกษุสงฆ์เกิดแตกสามัคคีไม่มีความปรองดองกันแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเป็นใหญ่ หลงในลาภยศสักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัยเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนอันดั้งเดิมเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ทำให้เกิดสัทธรรมปฏิรูปซึ่งได้เกิดขึ้น แม้แต่สมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เช่นเรื่องการแตกสามัคคีของพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี และพระเทวทัต เป็นต้นและได้มีสืบต่อ ๆ กันมาไม่ขาดราะยันับว่าเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งในวงการของพุทธศาสนาอันเป็นเหตุให้ศาสนาอื่น ๆ ฉวยโอกาสโจมตีได้เท่ากับเป็นการเปิดประตูบ้านให้พวกโจรเข้าลักของในบ้าน สังคายนาแต่ละครั้งที่ทำในอินเดียจึงมีมูลเหตุมาแต่การแตกแยกของพระภิกษุสงฆ์และพระธรรมวินัยที่บิดเบือนเป็นส่วนใหญ่

2. ขาดผู้อุปถัมภ์

พุทธศาสนาเจริญและดำรงมาได้ก็เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินให้ความอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสิ้นพระเจ้าอโศก พระเจ้ามิลินท์ พระเจ้ากนิษกะ พระเจ้าหรรษวรรธนะ พระเจ้าธรรมปาละ พระเจ้าเทวปาละ ผู้มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาแล้วทำให้พุทธศาสนาต้องขาดผู้อุปถัมภ์ ไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมซึ่งพอจะเห็นได้ว่าพุทธศาสนาได้เจริญในรัชกาลของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นี้ทรงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนามาก เมื่อขาดผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาก็เหมือนกับไม้ขาดน้ำและปุ๋ย และพระมหากษัตริย์บางพระองค์นอกจากไม่คุ้มครองและยังทำลายพุทธศาสนาอย่างย่อยยับ เช่น กษัตริย์สสางกะ ปุษยมิตร เป็นต้น ไนไทยเรานี่ถือว่าโชคดีมากที่กษัตย์ผู้เป็นแบบอย่างของชาวพุทธและบำรุงศาสนาเสมอมา

3. เพราะถูกศาสนาพราหมณ์และฮินดูเบียดเบียน

ศาสนาฮินดูได้เป็นคู่แข่งของพุทธศาสนามาเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธการล จนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบันนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พวกพราหมณ์หรือฮินดูก็ได้เริ่มประกาศคำสอนของตนเป็นใหญ่ ส่วนพระสงฆ์ในพุทธศาสนามีแต่ตั้งรับ บางครั้งก็เปิดช่องว่างให้เขาหรือไม่ก็หลอมตัวเข้าหาเขา จึงเท่ากับว่าทำลายตัวเองด้วยและถูกคนอื่นทำลายด้วย ถ้าหากพระสงฆ์และชาวพุทธยังยึดมั่นอยู่ในคำสอนและรักษาความสามัคคีในหมู่คณะไว้ได้ดีแล้ว คนอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นในหลักคำสอนอยู่แล้ว การทำลายของศาสนาฮินดูใช้ทั้งไม้อ่อนและไม่แข็ง
ไม้อ่อนคือโจมตีด้วยคำสอน ลอกเลียนแบบคำสอน นำพระพุทธเจ้ามาเป็นอวตารโดยวิธีนี้ถือว่าได้ผลมากจนแทบจะกลืนศาสนาพุทธ โดยมีการกล่าวอ้างว่า พระพุทธเจ้าเอาก็คือองค์อวตารแห่งพระวิษณุหรือพระนาราย หรือ จะเรียกง่าย ๆ ว่า พระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระวิษณุ ทำให้เกิดความบิดเบือนที่รากเหง้าที่เดียว เมื่อคนส่วนมากเข้าใจเช่นนี้จึงคิดว่าพุทธกับฮินดูคืออันเดียวกันแต่ฮินดูคือรากเหง้าและดีกว่าจึงไม่มีประโยชน์ที่จะนับถือพุทธ การพยายามบิดเบือนที่รากเหง้าครั้งสำคัญนี้ผลมากจนพุทธศาสนาแทบจะถูกกลืนไปเลยที่เดียว ทั้งนี้ยังมีการเขียนตำราในเรื่องนี้อีกมาก
ไม้แข็งคือทำลายวัด ยึดวัดพุทธมาเป็นฮินดู วัดส่วนมากกลายเป็นฮินดูเช่นในอินเดียภาคใต้ พุทธคยา ตโปธาราม ราชคฤห์, วาลุการามที่สังคายนาครั้งที่ ๒, วัดถ้ำที่อินเดียภาคใต้, โบสถ์พระรามที่อโยธยา ก็กลายมาเป็นสมบัติชาวฮินดูไปนอกนั้นยังซ้ำเติมยามพลั้งพลาด เช่น พราหมณ์กลุ่มหนึ่งหลังมุสลิมเติร์ก กลับจากเผามหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ก็กลับมาเผาซ้ำอีก

4. ถูกมุสลิมทำลาย

เมื่อสมัยที่มุสลิมเข้ามามีอำนาจในอินเดียกษัตริย์มุสลิมใด้แผ่อำนาจไปในส่วนต่าง ๆ ของอินเดียราว ๆ พ.ศ.๑๗๐๐ กองทัพมุสลิมได้ทำลายวัดวาอาราม รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ฆ่าฟันพระสงฆ์อย่างมากมาย จนพระสงฆ์และชาวพุทธต้องหนีกันออกนอกประเทศอินเดีย เข้าไปอาศัยในเนปาล สิกขิม ธิเบต ต่อมาเมื่อมุสลิมยึดอินเดียได้อย่างเด็ดขาด อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ตามไปด้วย เป็นเหตุให้พุทธศาสนาพลอยได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักจนสูญหายไปในที่สุด หลายฝ่ายเชื่อว่าถ้าไม่ถูกมุสลิมถอนรากถอนโคน พุทธศาสนาวัดว่าอารามก็คงเลืออยู่เต็มอินเดีย เฉพาะรัฐพิหารรัฐเดียวก็มีเป็นหมื่นวัด จนกลายมาเป็นชื่อรัฐในปัจจุบัน พุทธศาสนาก็คงอยู่ได้แต่อาจจะลดจำนวนลงบ้าง และอาจจะปฏิรูปเข้ากับศาสนาฮินดูบ้าง การมาของมุสลิมเหมือนกับลมพายุกระหน่ำต้นไทรที่ผุข้างในบ้างแล้วให้ล้มลง

5. พุทธศาสนามีคำสอนที่สวนกระแส

เพราะคำสอนของพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่สวนกระแส คือ ดิ่งสู่ความเป็นจริง เป็นการฝืนใจคนอินเดียในสมัยนั้น แนวคำสอนของพุทธศาสนาเรื่องการไม่สนับสนุนการอ้อนวอน ก็ขัดความรู้สึกคนสมัยนั้น ที่นิยมการอ้อนวอนบูชาบวงสรวงสิ่งที่ไกลตัว เพื่อหวังลาภสักการะหวังเป็นที่พึ่ง แนวคำสอนของพุทธศาสนาดึงคนเข้ามาหาหลักไม่ใช่ดึงหลักเข้ามาหาคน ไม่บัญญัติไปตามความชอบพอของคนบางคน ทำให้ปุถุชนผู้เบาปัญญา เกิดความเบื่อหน่าย และหันไปนับถือศาสนาอื่นได้ นอกจากนั้นหลักคำสอนเกี่ยวกับการปฏิเสธวรรณะของคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำ ผู้ยึดมั่นอยู่ในลัทธิประเพณีพวกคนคิดเห็นของของคนชั้นสูงก็ไม่อยากให้มีการเลิกการถือชั้นวรรณะ คนชั้นต่ำก็ไม่ต้องการให้ล้มเลิกลัทธิประเพณีของเขา คนชั้นต่ำมิได้นับถือศาสนาด้วยปัญญา แต่นับถือด้วยการยึดมั่นอยู่พิธีกรรมจึงทำให้เป็นการขัดต่อความเชื่อถือของเขา

6. ถูกฮินดูแต่งกายเลียนแบบ

ในสมัยต่อมานักบวชฮินดู ได้เปลี่ยนแนวการสอนใหม่จากเดิมที่ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง มาเป็นการตั้งสำนัก จากไม่มีองค์กรคณะสงฆ์ ก็ตั้งคณะสงฆ์ จากนักบวชพราหมณ์ที่นุ่งห่มสีขาว กลายมาเป็นแต่งชุดเหลืองเหมือนพระสงฆ์ในพุทธศาสนา นักบวชที่แต่งชุดเหลืองถูกเรียกว่า สาธุ แม้พระสงฆ์ไทยเมื่อไปอยู่อินเดียก็ถูกเรียกว่า สาธุ เช่นกัน และคิดเหมาเอาว่าเป็นฮินดูทั้งหมด เมื่อฮินดูปฏิรูปการนุ่งห่มทำให้ความแตกต่างลดน้อยลง และการกลืนก็เป็นไปง่ายขึ้น

7. เลียนแบบลัทธิตันตระในศาสนาฮินดู

เมื่อ พ.ศ.๑๕๐๐ พุทธศาสนาได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฏิบัติแล้วเรียกในชื่อใหม่ว่า พุทธตันตระ ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนของพุทธศาสนาดั้งเดิม คำว่าพุทธตันตระหมายเอาพุทธศาสนาในยุคหลัง อันมีมนตรยาน วัชรยานและสหัสยาน ลัทธินี้ก่อนที่จะเสื่อมจากอินเดียได้ไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศธิเบต เนปาล และภูฐาน เมื่อพุทธศาสนาถือเอาลัทธิตันตระมาผสมผสานกับศาสนาของตนจึงไม่มีความแตกต่างจากฮินดู ทำให้ห่างจากหลักการเดิมออกไปทุกที

8. ถูกทำลายจากกษัตริย์ต่างศาสนา

ยามที่ผู้ปกครองนับถือพุทธศาสนา ศาสนาทุกศาสนาจะได้รับการปกป้องคุ้มครองเสมอ เพราะชาวพุทธมีความเมตตาอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ แต่เมื่อคราใดที่ผู้ปกครองนับถือศาสนาอื่น เช่น ฮินดู หรือ มุสลิมแล้ว พุทธศาสนามักจะถูกทำลายเสมอ เช่น ในสมัยของพระเจ้าศศางกะ พระเจ้าปุษยมิตร พระเจ้ามิหิรกุล ทั้งสามนับถือศาสนาฮินดู ได้ทำลายพุทธศาสนาลงอย่างมากในสมัยที่ตนเองปกครองอยู่ ต่อมาเมื่อกองทัพมุสลิมเข้ายึดครองแล้ว พุทธศาสนาก็ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง เช่น โมฮัมหมัด เบนกาซิม โมฮัมหมัด ขิลจิ, บาบูร์ เป็นต้น

นี่เป็นเพียงประวัติศาสตร์แล็กน้อยที่เคยเกิดและเสื่อมลง เราเองก็นำบทเรียนมาปรับใช้ในบ้านได้เพื่อรักษาพุทธศาสนาให้ดำรงกับบ้านเมืองนี้ให้นานเท่านานที่สำคัญคือการทำหน้าที่ของเราให้สมบุรณ์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับคุณcmessage ผมขอแจมร่วมด้วยครับ ถึงเหตุที่ศาสนาดำรงอยู่ไม่นานหรือนาน

... :b41: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมพิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

....ครั้งแล้วได้ทูลถามว่า

...."ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพานแล้ว"

.....พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

......"ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน

ดูก่อนกิมพิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว"

.........บางตอนใน..กิมพิลสูตร....
พระไตรปิฏกและอรรถกถา เล่ม 36 หน้า 446


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 04:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอกราบนอบน้อม พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปักเจกพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ขอให้ข้าพเจ้ามีส่วนในธรรมของพระอริยเจ้าทั้งหลาย

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร