วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 20:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเข้าไปหา
ธรรมทินนาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องสักกายทิฏฐิ
[๕๐๖] วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?


ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ

อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
รูปูปาทานขันธ์ ๑
เวทนูปาทานขันธ์ ๑
สัญญูปาทานขันธ์ ๑
สังขารูปาทานขันธ์ ๑
วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑
อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.

วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้
แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกายสมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี
เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย.


วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไร
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละ
คืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น
นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิ-
*โรธคามินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความ
ตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.



วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทาน
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕?


ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่
อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.

[๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ


ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
ตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็น
สัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล
สักกายทิฏฐิจึงมีได้.


วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้
ได้เห็นพระอริยะฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ


ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็น
ตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...
ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความ
เป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนใน
วิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี.

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสาขะได้ฟังว่า "เขาว่า นางธรรมทินนามา" จึงคิดว่า "นางบวชแล้วไปบ้านนอกยังไม่นานเลย ก็กลับมาเมื่อไม่นานนี่เอง จักเป็นอย่างไรหนอ?" แล้วก็ได้ไปสำนักนางภิกษุณีด้วยการไปเป็นครั้งที่สอง. เพราะเหตุนั้น พระอานนท์จึงว่า "ครั้งนั้นแล วิสาขอุบาสกได้เข้าไปหานางธรรมทินนาถึงที่อยู่" ดังนี้.
คำว่า "ได้กล่าวคำนี้แล้ว" คือ ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า "กายของตน" นี้.
ทำไมจึงได้กล่าว?
เล่ากันมาว่า เขามีความคิดอย่างนี้ว่า "การจะถามอย่างนี้ว่า แม่เจ้ายังยินดีอยู่หรือ หรือไม่ยินดี" ไม่ใช่หน้าที่ของบัณฑิต เราจะน้อมเข้าไปในอุปาทานขันธ์ห้าแล้วถามปัญหา ด้วยการแก้ปัญหานั่นแหละ เราก็จะทราบว่านางมีความยินดีหรือไม่ยินดี ฉะนั้นจึงได้กล่าว.
พอนางธรรมทินนาได้ฟังคำนั้น ไม่กล่าวว่า "คุณวิสาขะ! ดิฉันเพิ่งบวชมาไม่นานจะทราบกายตนหรือกายคนอื่นแต่ไหน" หรือว่า "คุณจงไปหาแล้วถามพระเถรีรูปอื่นเถิด" เมื่อดำรงอยู่ในวิสัยแห่งปัญญาเครื่องแตกฉานแก้ปัญหาอยู่ เหมือนรับของที่เขาฝาก เหมือนแก้เงื่อนบ่วงข้างหนึ่ง เหมือนถางทางช้างในที่รก เหมือนแงะกะติ๊บด้วยปลายดาบ จึงกล่าวว่า "คุณวิสาขะ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล" ดังนี้เป็นต้น.

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=12&i=505


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2009, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... &i=314&p=2


ในประโยคนี้มีเนื้อความเพียงนี้ว่า
ก็เพราะพระโสดาบันนั้นละคือสละธรรม ๓ ประการเสียได้พร้อมด้วยทัสสนสัมปทานั้น เพื่อแสดงถึงธรรมที่พระโสดาบันละได้แล้วในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สกฺกายทิฏฺฐิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ
สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ


สักกายทิฏฐิ
และวิจิกิจฉา
หรือ
สีลัพพตปรามาส
อันใดอันหนึ่งมีอยู่ ดังนี้.


ในคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ในกายที่มีอยู่
ได้แก่ในกาย กล่าวคืออุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย ก็ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ.
อธิบายว่า ทิฏฐิที่มีอยู่ในกายมีประการดังข้าพเจ้ากล่าวแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ ก็เพราะอรรถว่าเป็นทิฏฐิในกายที่มีอยู่นั่นเอง. อธิบายว่า ทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ตัวตน กล่าวคือ อรูปขันธ์เป็นต้นในกายที่มีอยู่มีประการตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ.

ก็ทิฏฐิทุกประการเป็นอันพระโสดาบันนั้นละได้แล้ว ก็เพราะท่านละสักกายทิฏฐินั้นได้แล้วนั่นเอง ก็สักกายทิฏฐินั้นเป็นมูลรากแห่งทิฏฐิทั้งปวงเหล่านั้น.

--------------------------------------------------------------------------------------------
ปัญญา ท่านเรียกว่า จิกิจฺฉิตํ คุณชาตเครื่องเยียวยา เพราะเข้าไปสงบพยาธิ (คือกิเลส) ทั้งปวง ปัญญาที่เป็นตัวเยียวยานั้น ไปปราศจากคุณชาตนี้ หรือว่าคุณชาตนี้ ไปปราศจากปัญญาที่เป็นตัวเยียวยานั้น เพราะเหตุนั้น คุณชาตนั้นจึงชื่อว่า วิจิกิจฺฉิตํ (วิจิกิจฉา)


คำว่า วิจิกิจฺฉิตํ นั้นเป็นชื่อแห่งความสงสัยในวัตถุ ๘ ประการตามที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า๔- ความสงสัยในพระศาสดาดังนี้เป็นต้น ก็เพราะเหตุที่พระโสดาบันละความสงสัยนั้นเสียได้ ความสงสัยทุกอย่างจึงเป็นอันท่านละได้แล้ว เพราะความสงสัยนั้นเป็นมูลรากแห่งความสงสัยทั้งปวง.



ศีลหลายประการมีศีลอย่างโค ศีลอย่างสุนัขเป็นต้น และวัตรมีวัตรของโคและวัตรของสุนัขเป็นต้น ซึ่งมาแล้วในสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า๕- "ความบริสุทธิของสมณพราหมณ์ ภายนอกศาสนานี้ ย่อมมีด้วยศีล (เช่นศีลอย่างโคเป็นต้น) ความบริสุทธิย่อมมีด้วยวัตร เช่นวัตรของโคเป็นต้น" ดังนี้. ท่านเรียกว่าศีลพรต เพราะละศีลพรตนั้นเสียได้ ตบะที่ไม่ตายแม้ทั้งปวงมีนัคคิยตบะ ตบะของคนเปลือย และมุณฑิยตบะ ตบะของคนโล้นเป็นต้น ก็เป็นอันพระโสดาบันละได้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายนิโรธ
สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม
[๒๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสักกายะ สักกายสมุทัย
สักกายนิโรธ และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นไฉน? คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า
อุปาทานขันธ์ ๕. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป
ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน? สักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหา
อันนำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในภพหรือ
อารมณ์นั้น. กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สักกายสมุทัย.
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน? คือความดับโดยไม่เหลือแห่ง
ตัณหานั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? คือ อริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน
มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อนในเวลา
เย็น เข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า
ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควร
กระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุ
ผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน

เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน.


อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ
อุปาทานขันธ์ คือ
รูป ๑
อุปาทานขันธ์ คือ
เวทนา ๑
อุปาทานขันธ์ คือ
สัญญา ๑
อุปาทานขันธ์คือ
สังขาร ๑
อุปาทานขันธ์ คือ
วิญญาณ ๑.


ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็น
ดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของไม่ใช่ตัวตน.

ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำ
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์
[๓๐๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน
สังโยชน์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็น
ที่ตั้งแห่งสังโยชน์.

ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น
ชื่อว่า สังโยชน์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ นี้เรียกว่า สังโยชน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน
[๓๐๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งอุปาทาน. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น
ชื่อว่า อุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 00:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อัตโนมติ
ความคิดเห็นของผู้พูด
ผู้แสดงธรรมในพระพุทธศาสนา

.............................. :b41:


ผู้โพสต์ได้ทบทวน เรื่อง ไม่ใช่ตัวตน นี้หลายพันครั้งแล้ว ก็ยังไม่แทงตลอดได้
จึงมีคำบันทึกวินิจฉัยไว้ดังนี้

1. ทุกวันนี้ เรา ยังสงสัยเรื่อง ตัวตนอยู่ ใช่แล้ว
2. เมื่อเราสงสัยอยู่เราก็ กังขา อย่างไรหนอ จึง เรียกว่าไม่ใช่ตัวตน
3. เมื่อเรากังขา เราก็ฟุ้งซ่าน จิตไม่ตั้งมั้น เราจึงไม่แทงตลอด

ต่างกันกับ สีลพรตประมาส
1. เราไม่สงสัยอีกแล้วว่าอย่างไรคือ สีลพรตประมาส
เหตุใดควรละ สีลพรตประมาส
โทษของสีลพรตประมาส เป็นอย่างไร เราเห็นชัดเจน
2. เมื่อเราไม่ สงสัย เราก็ไม่กังขา
3. เมื่อเราไม่ กังขา จิตเราก็ตั้ง มั่น
4. เมื่อเรา ตั้งมั้นเราก็รู้ อยู่ ว่า สีลพรตประมาส ละได้แล้ว (เราเชื่อ มั่นใจแน่ใจ เป็นไปได้แน่นอนเสมอตลอดเวลา)
ไม่หวนกลับแล้ว ไม่ติด ไม่ยินดี ไม่สนใจ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีอะไรเลย ในการปฎิบัติที่ผิดๆ
................

ในละคร .เมียหลวง. บทพูดว่า "ถ้าเราโกรธเขาอยู่ ก็แสดงว่า เขายังมี ตัวตนอยู่
แต่เดียวนี้ สำหรับเราแล้ว ดร.อนิรุตไม่มีตัวตนแล้ว.."


แต่สำหรับเราตัวเรายังมีอยู่ มีทุกๆวัน สักกายเรายังติดอยู่
เรายังโกรธอยู่ โลภอยู่ ยินดีอยู่...
ธรรมข้อนี้ลึกซึ้งยิ่ง.. :b23:


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 09 พ.ค. 2009, 01:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2009, 01:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นั้นคือ
1. ที่ชัดๆเลยคือ อะไร อย่างไรกันแน่ คือ สักกายทิฐิ อย่างไรกันแน่คือ ไม่ใช่ตัวตน
2. เหตุไรควรละ สักกายทิฐิ
3. โทษ ของ สักกายทิฐิ คืออะไร ....นอกจากเกิด ภพชาติ
4. สังโยชน์ นี้ ผูกสัตว์ไว้ อย่าง ไร ... นอกจาก ทำให้ยินดี ใน ภพ
5. อะไร มี อยู่แล้ว สักกายทิฐิ ก็จะหมดไป หรือ อยู่ไม่ได้อีก อะไรทำให้ สักกายทิฐิ เสื่อม หรือ หมด พลัง
6. เพียงแค่รู้ ว่า นี้ ไม่ ใช่ ตัว ตน เดี๋ยวเดียว เผลอ ก็ กลับมาเป็นตัวตน อีก โอ้ย นี้เราเจ็บ
โอ้ยนี้ เขาว่าเรา ..เป็นต้น ...ต้องรู้มากกว่านี้แน่ จึง จะขาด จากตัวตนได้ ซึ่งมันคืออะไร
คัมภีร์เขียนตกอะไร ไปหรือไม่ ก็คงไม่..
7. แล้วต้องปฎิบัติ อะไร นอกจาก มรรค8 ที่จะตัด สักกายทิฐิ ขาดสิ้นไปเลย
จึงเขียนมาชวนคิด... :b38:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร