ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

พระราชดำริทางพระพุทธศาสนาในรัชกาลที่ ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=20880
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 03 มี.ค. 2009, 15:48 ]
หัวข้อกระทู้:  พระราชดำริทางพระพุทธศาสนาในรัชกาลที่ ๔

รูปภาพ

พ ร ะ ร า ช ดำ ริ ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ใ น รั ช ก า ล ที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

พระพุทธเจ้า ฯ เป็นรัตนะที่พึ่งอันประเสริฐ
ถ้าจะระลึกโดยย่ออีกนัยหนึ่งดังนี้

จงบริกรรมทำในใจว่า อรหํ
แล้วเอาใจวางไว้ที่เหนือศูนย์สะดือ ๒ นิ้ว หรือที่หว่างอก หรือที่ต้นคอ
จึงบริกรรมทำในใจว่า อรหํ ๆ ไป จึงเอาวิตกกดใจไว้
เอาสติระลึกไปตามความ เอาวิจารพิจารณาไปตามเนื้อความว่า

อรหํ ๆ พระพุทธเจ้าท่านมีจิตสันดานบริสุทธิ์
ไกลสิ้นจากกิเลสราคะความกำหนัดยินดี รักใคร่ ในอารมณ์
รูปกลิ่น เสียง รส สัมผัส ถูกต้องอุ่นอ่อนๆ

จิตสันดานสิ้นจากโทสะ ความโกรธประทุษร้ายสังขารอื่นๆ
จิตสันดานสิ้นโมหะความหลงในอารมณ์เป็นที่รักทั้งปวง
สิ้นจากอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์อันเป็นที่รัก
สิ้นจากตัณหามานะทิฏฐิทั้งปวงดับสูญสิ้นไป

เป็นทุกข์มีความแก่เจ็บไข้ตายเป็นธรรมดา
เป็นอนัตตา ใช่ตัวตน ใช่แก่นสาร
ไม่ตกอยู่ในความบังคับของใครจะว่ากล่าว
ความเห็นว่าตัวตนดับสูญไป
พระทัยไม่ไหวด้วยโลกธรรรมเลย
บริสุทธิ์หมดจดอยู่เสมอ

อรหํๆ พระพุทธเจ้ามีความบริสุทธิ์พร้อมทั้งกาย วาจาใจดังนี้
ควรที่สาธุชนจะทำความเพียรอุตสาหะ
ขืนใจคิดๆ ไปทุกวันๆ จนความเห็นจริงลง ความเชื่อจริงๆ ลงในใจ
เป็นตัวสรณคมณ์ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
แล้วพึงอธิษฐานความเห็น ความเชื่อไว้กับใจให้มั่นคงเนืองๆ ไป

มีผลอานิงส์มาก จักได้ความสุขเย็นใจ
เมื่อความทุกขเวทนาเกิดในกายในในจิตย่อมเสมออยู่ได้
ไม่มีความเดือดเร้นเสียใจ ความปีติปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
ถ้าโรคที่เกิดขึ้นในกายควรหาย ย่อมสงบระงับหายไป
แล้วเป็นทางสุขสวรรค์มรรคผลนิพพานนิพพานในเบื้องหน้า
ควรจำไว้สอนใจสำคัญๆ จำๆไว้


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๙๑ ฉบับที่ ๑๐ กรกฏาคม ๒๕๕๐, หน้า ๗-๘)

เจ้าของ:  ศิษย์หลวงปู่ทา [ 19 เม.ย. 2015, 11:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระราชดำริทางพระพุทธศาสนาในรัชกาลที่ ๔

:b8: สาธุครับ :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/