ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
พระธาตุโพนจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุ จ.หนองคาย http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=48119 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | Hanako [ 09 ก.ค. 2014, 11:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | พระธาตุโพนจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุ จ.หนองคาย |
พระธาตุโพนจิกเวียงงัว
ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุบุ บ้านโคกป่าฝาง ต.ปะโค อ.เมือง จ.หนองคาย ภาพในอดีตเมื่อก่อนบูรณะ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ภาพเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ โบราณสถาน "พระธาตุโพนจิกเวียงงัว" แห่งนี้ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ วัดพระธาตุบุ บ้านโคกป่าฝาง ต.ปะโค อ.เมือง จ.หนองคาย ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางพนังชลประทาน ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลปะโค แล้วเตรียมเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านโคกป่าฝาง เข้าไปตามถนนหมู่บ้านอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร คำขวัญบ้านปะโค "องค์พระธาตุเขี้ยวฝาง ชุมทางการเกษตร เขตงัวอุสุภราช พระโคศิลาอาศน์คู่บ้าน เมืองตำนานท้าวบารส งดงามจริยธรรม น้อมนำประเพณี เป็นแม่สีแห่งบ้านปะโค" บรรยากาศเมื่อเข้าถนนหมู่บ้านโคกป่าฝาง ภายในวัดพระธาตุบุ สะอาดและร่มรื่นด้วยป่าไม้ธรรมชาติ |
เจ้าของ: | Hanako [ 09 ก.ค. 2014, 13:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระธาตุโพนจิกเวียงงัว (วัดพระธาตุบุ) จ.หนองคาย |
พระธาตุโพนจิกเวียงงัว เป็น ๑ ใน ๖ พระธาตุสำคัญ ซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ตามตำนานพระอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) บรรยายไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ พุทธอนุชา เคยเสด็จจากกรุงสาวัตถี ประเทศอินเดีย มายังลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง เพื่อหมายดินแดนแห่งพุทธศาสนา ทรงประทับในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ ๑. เมืองเวียงจันทร์ ๒. เมืองเวียงงัว (ปัจจุบันรวมอยู่จังหวัดหนองคาย) ๓. เมืองหนองคาย ๔. เมืองนครพนม ๕. เมืองศรีโคตรบูร เมื่อปี พ.ศ. ๘ พระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนหัวอกนำมาประดิษฐานไว้ในอุโมงค์พระธาตุพนม กาลต่อมา พระมหากัสสปเถระได้มอบหมายให้พระอรหันต์ ๓ องค์ คือ พระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต และพระสังฆรักขิต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เมืองหนองคาย ได้ตั้งสำนักพระอรหันต์สอนวิปัสสนากรรมฐานที่ต่างๆ ดังนี้ ๑) โพนป่าจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุ ๒) หอผ้าหอแพเวียงจันทร์ ๓) เมืองหนองคาย วัดพระธาตุ เวลาต่อมาได้ศิษย์ที่สำเร็จพระอรหันต์ ๕ องค์ ซึ่งมีฉายาดังนี้ พระมหาสุวรรณปราสาท พระจุลสุวรรณปราสาท พระมหารัตนะ พระจุลรัตนะ และพระมหาสังขวิชัย เมื่อพระอรหันต์ผู้เป็นพระอาจารย์ทั้ง ๓ องค์ พิจารณาเห็นว่า ท่านได้มาทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาพอสมควรแล้ว และก็ได้มีศิษย์สำเร็จเป็นพระอรหันต์อีก ๕ องค์ ซึ่งจะทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาแทนท่านได้ จึงได้พาพระอรหันต์ผู้เป็นศิษย์ทั้ง ๕ องค์ รวมกับพระอาจารย์เป็น ๘ องค์ เดินทางไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อขอพระบรมสารีริกธาตุจากพระมหากัสสปเถระ แล้วก็อัญเชิญมายังเมืองหนองคาย และได้นำพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานไว้ในพระอุโมงค์ ดังนี้ ๑. พระธาตุหัวเหน่า ๒๙ องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๒. พระอุรังคธาตุ หรือพระธาตุหน้าอก บรรจุไว้ที่พระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ๓. พระธาตุบังคล หรือกระเพาะอาหาร บรรจุไว้ที่พระธาตุบังพวน วัดพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย ๔. พระธาตุเขี้ยวฝาง หรือพระทันตธาตุ ๓ องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุโพนจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุ อำเภอเมืองหนองคาย ๕. พระธาตุเขี้ยวฝาง หรือพระทันตธาตุ ๔ องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุหอผ้าหอแพ เมืองนาซายฟอง นครหลวงเวียงจันทร์ ๖. พระธาตุฝ่าพระบาทเบื้องขวา ๙ องค์ บรรจุไว้ที่พระธาตุเมืองลาหรือพระธาตุหล้าหนอง อำเภอเมืองหนองคาย เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๐๕๙-๒๐๙๑ พระเจ้าโพธิสาล ผู้เป็นกษัตริย์และพระราชบิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ครอบพระอุโมงค์โพนจิกเวียงงัว องค์พระธาตุในปัจจุบันนี้ก็เป็นพระธาตุองค์เดิมตั้งแต่แรกสร้าง พระธาตุโพนจิกเวียงงัวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นพระธาตุเก่าแก่และยังคงไม่ล้มจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาเกินกว่าสี่ศตวรรษมาแล้ว ส่วนพระธาตุหล้า (หล้าหนอง-พระธาตุกลางน้ำ) และพระธาตุบังพวน จ.หนองคาย ตัวพระธาตุองค์เก่าสององค์ล้วนแต่ได้ล้มพังลงมาแล้ว ปัจจุบันเป็นองค์ที่บูรณะขึ้นใหม่ทั้งสิ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ กรมศิลปากรได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้พระธาตุโพนจิกเวียงงัวเป็นโบราณสถานอันศักดิสิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง บริเวณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน มีพื้นที่ทั้งหมด ๑ ไร่ ๑ งาน ๕๘ ตารางวา ปัจจุบันพระธาตุโพนจิกเวียงงัวได้รับการการบูรณะในระดับหนึ่ง |
เจ้าของ: | Hanako [ 13 ก.ค. 2014, 13:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระธาตุโพนจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุ จ.หนองคาย |
สัณฐานของพระธาตุโพนจิกเวียงงัว องค์เจดีย์มีลักษณะภายนอกเป็นรูปทรงระฆัง ซึ่งพบได้น้อยในบรรดาพุทธศิลป์แบบล้านช้าง ประมาณอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณทรงสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ ๑๗.๕ เมตร ถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยม และฐานกลมซ้อนกัน ต่อด้วยฐานปัทม์กลม (ฐานปัทม์ คือ ฐานที่ประกอบด้วยหน้ากระดานซ้อนกัน เป็นบัวคว่ำ และบัวหงาย) เจดีย์เป็นทรงระฆังเรียวยาวต่อด้วยชั้นลูกแก้ว ๓ ชั้น ส่วนยอดประกอบด้วยปลียอดทรงแหลมสูง ความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ ๑๕ เมตร ส่วนยอดของพระธาตุโพนจิกเวียงงัว ในบริเวณข้างพระธาตุโพนจิกเวียงงัว มีซากปรักหักพัง อันเป็นร่องรอยของสิมหรืออุโบสถสมัยก่อนให้เห็น ส่วนเจดีย์บริวารขนาดเล็กที่ยังเหลือครบสมบูรณ์ เคยตั้งเรียงรายรอบอยู่สี่ด้านของพระธาตุโพนจิกเวียงงัว ก็มีสัณฐานคล้ายกับพระธาตุโพนจิกเวียงงัว คือเป็นองค์ระฆังทรงกรวยสูง ต่อด้วยบัลลังก์สี่เหลี่ยม มีปูนปั้นลายกลีบบัว ยอดทรงกรวย ภาพจาก : http://www.archae.su.ac.th/art_in_thailand/?q=node/182 พระธาตุโพนจิกเวียงงัว กับ อุโบสถหลังปัจจุบันของวัด พระประธานในอุโบสถ วัดพระธาตุบุ จ.หนองคาย ผนังอุโบสถเป็นภาพเขียนสีเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ |
เจ้าของ: | Hanako [ 21 ก.ค. 2014, 13:28 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระธาตุโพนจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุ จ.หนองคาย |
พระธาตุบุ
พระธาตุบุ เป็นเจดีย์ในผังกลมขนาดเล็ก คล้ายจอมปลวก ขนาดสูงเพียงเมตรเศษๆ ยังไม่มีการขุดค้นเพิ่มเติมว่า ยังคงมีส่วนของพระธาตุฝังอยู่ในดินอีกหรือไม่ เพราะมีซากปรักหักพังของหิน คล้ายเสาอยู่รอบองค์พระธาตุทั้งสี่ทิศ อาจเคยเป็นโบราณสถาน หรือเป็นพระธาตุเก่าแก่แต่ถูกดินฝังไว้ลึกก็เป็นได้ คำว่า "บุ" ชาวบ้านบอกว่า หมายถึง องค์พระธาตุนี้ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน จึงเรียกว่า พระธาตุบุ ปัจจุบันชาวบ้านและทางวัด ได้สร้างศาลาคอนกรีตเพื่อกำบังแดดฝนไว้ ตามคำบอกเล่ามีว่า องค์พระธาตุบุนี้ โผล่พ้นพื้นดินขึ้นมาเรื่อยๆ ทีละน้อย และทำให้พื้นปูนที่เทเป็นฐานไว้ร้าวออกทั้งสี่ทิศ รอยแตกร้าวทั้งสี่ทิศของศาลาปูน ที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างไว้ รอยแตกนั้นจะเริ่มแตกมาจากซากหิน ซึ่งอาจเป็นเสาหรือหินตั้งในสมัยโบราณ ร่องรอย-ซากปรักหักพัง ของโบราณสถานอื่นๆ ในบริเวณวัดพระธาตุบุ ในบริเวณของวัดพระธาตุบุ ยังมีร่องรอยของโบราณสถานทางศาสนาอื่นๆ อีก ได้แก่ ซากเจดีย์เก่าในป่าข้างวัด รอยหินโบราณที่มีรอย ชาวบ้านเรียกว่า รอยเท้าพระโคสุภราช พระเจดีย์เก่าในป่าห่างจากวัด ระยะทางประมาณไม่ถึงร้อยเมตร กองหินกระจายอยู่ในบริเวณรอบพระธาตุเก่า ซากหินโบราณมีรอยบนหินคล้ายรอยเท้าโค เมื่อออกนอกเขตวัดมา ก็มีซากโบราณสถานอีกแห่ง คาดว่าเป็นอุโบสถเก่า มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่แตกอยู่ แต่ชาวบ้านก็กั้นบริเวณไว้และมีการเคารพสักการะอยู่ ที่มาของข้อมูล ๑.) เอกสารเผยแพร่ของวัดพระธาตุบุ จ.หนองคาย เรื่อง "พระธาตุโพนจิกเวียงงัว...พระบรมสารีริกธาตุที่ถูกลืม" ๒.) http://www.archae.su.ac.th/ ๓.) http://www.nongkhaiupdate.com/1583.html ๔.) http://www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta7.html ๕.) http://www.thitimedia.com/page34.html |
เจ้าของ: | AAAA [ 04 มิ.ย. 2015, 10:02 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระธาตุโพนจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุ จ.หนองคาย |
4A ขออนุโมทนาสาธุค่ะ สุดยอดพระธาตุแห่งเมืองหนองคายค่ะ |
เจ้าของ: | Hanako [ 04 ม.ค. 2016, 17:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระธาตุโพนจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุ จ.หนองคาย |
อยากไปอีก คิดถึงหนองคายแล้ว |
เจ้าของ: | น้องพลอย [ 25 มี.ค. 2019, 18:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระธาตุโพนจิกเวียงงัว วัดพระธาตุบุ จ.หนองคาย |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |