ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร จ.กาญจนบุรี http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46256 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | น้อมเศียรเกล้า [ 08 ธ.ค. 2012, 11:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร จ.กาญจนบุรี |
![]() ![]() ![]() ![]() พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร ต.พระแท่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ![]() ![]() วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๑ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ในเขตเทศบาลตำบลพระแท่น เดิมมีฐานะเป็นวัดราษฎร์ อาณาบริเวณภายในวัดกว้างขวางมาก พื้นที่เป็นรูปวงกลมรี มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๑๕๒ ไร่ ทิศเหนือ จดถนนสายกำแพงแสน-พนมทวน, ทิศใต้ จดหมู่บ้านท่าโป่ง, ทิศตะวันออก จดหมู่บ้านบ้านโป่ง และทิศตะวันตก จดทุ่งนา โดยวัดตั้งอยู่บนเนินเขาป่าไม้เต็งรังและไม้เบญจพรรณอื่นๆ อันเป็นบริเวณเดียวกันกับ “พุทธสถานพระแท่นดงรัง” ที่ประดิษฐาน “พระแท่นดงรัง” ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้การคมนาคมสะดวกสบายเพราะมีเส้นทางรถยนต์ผ่านวัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร ๒ เส้นทาง คือแยกจากถนนสายบ้านโป่ง-กาญจนบุรี ใกล้หลักกิโลเมตรที่ ๑๐๑ ตรงตลาดท่าเรือ ระยะทางจากตลาดท่าเรือถึงวัด ๑๐ กิโลเมตร อีกสายหนึ่งแยกจากถนนสายกำแพงแสน-พนมทวน ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒๒ เป็นระยะทาง ๓๐๐ เมตร พระแท่นดงรัง นับว่าเป็นพระเจดียฐานประการหนึ่ง คือถือว่าเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และนับว่าเป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่งในสี่แห่งของพระพุทธเจ้า คือ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ดับขันธปรินิพพาน ซึ่งสถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศอินเดียและประเทศเนปาลในปัจจุบัน ตามตำนานอันเป็นคติที่เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังแว่นแคว้นต่างๆ ภายนอกประเทศอินเดีย ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานพระเจดีย์หรือตรัสพยากรณ์เรื่องราวต่างๆ ไว้ในแว่นแคว้นเหล่านั้น จึงเกิดมีพระเจดีย์วัตถุและพุทธพยากรณ์ที่อ้างว่าพระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานพระเจดีย์วัตถุไว้ ในประเทศไทยมีตำนานเกี่ยวกับการประทับรอยพระพุทธบาท และการสร้างพระธาตุเจดีย์อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย รวมทั้งพระแท่นและพระพุทธฉาย สำหรับพระแท่นที่มีอยู่ในพงศาวดาร คือ พระแท่นศิลาอาสน์ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่พระแท่นดงรัง ไม่ได้มีกล่าวไว้ในพงศาวดาร จึงสันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ความอัศจรรย์ของพระแท่นดงรังนั้นผิดกับพระเจดีย์วัตถุอื่น เนื่องจากมีผู้เชื่อว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระแท่นดงรังนี้จริงๆ ซึ่งเท่ากับว่าเมืองไทยนี้เป็นมัชฌิมประเทศ อันเป็นสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ![]() : สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377 พระแท่นบรรทม พระแท่นเป็นหินแท่งทึบหน้าลาดคล้ายแท่น หรือเตียงนอน ต่ำข้างหนึ่งสูงข้างหนึ่ง มีขนาดยาว ๑๑ ศอก ๑ คืบ กว้าง ๔ ศอกเศษ ด้านล่างป็นปูนปั้นรองแท่น มีหินวางทับซ้อนกันอยู่ มองดูคล้ายพระเขนย (หมอน) พระแท่นนี้อยู่ภายในพระวิหารพระแท่น เดิมมีต้นรังข้างละหนึ่งต้นโน้มยอดเข้าหากัน ในระหว่างนางรังทั้งคู่ค้อม แต่ไม้รังยังรักพระศาสดา ชวนกันไปไหว้พระแท่นแผ่นศิลา คำนับน้อมกิ่งก้านก็สาขา อนิจจาเราเกิดไม่ทันองค์ ปัจจุบันมีวิหารสร้างครอบพระแท่นไว้ ซึ่งคงสร้างไว้นานแล้ว เพราะเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๖ สามเณรกลั่น ได้เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง พร้อมกับสุนทรภู่ ได้แต่งนิราศไว้มีความตอนหนึ่งว่า ถึงพระแท่นแสนสงัดเห็นวัดมี กับต้นรังทั้งคู่ยังอยู่พร้อม ต่างชื่นชมโสมนัสยิ่งศรัทธา เข้าประตูดูแผ่นพระแท่นดัง ทั้งโบสถ์ที่ครอบพระแท่นแผ่นศิลา ดูยอดน้อมเข้ามาข้างแท่นที่แผ่นผา ตามบิดาทักษิณด้วยยินดี เหมือนบัลลังก์แลจำรัสรัศมี ส่วนที่เป็นพระแท่นนั้นเป็นปลายของเทือกศิลาที่ยื่นออกมา มีลักษณะเป็นศิลาแท่งสูงข้างหนึ่ง ต่ำข้างหนึ่ง ข้างสูงวัดได้ศอกคืบ และยังมีส่วนที่สูงขึ้นไปอีกเหมือนเป็นหมอน กว้างประมาณคืบเศษ สูงประมาณหนึ่งคืบ ปลายพระแท่นสูง ๑๖ นิ้ว พระแท่นยา ๑๑ ศอกคืบ กว้าง ๔ ศอกเศษ ส่วนล่างกว้าง ๓ ศอกเศษ ![]() วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร หรือพระแท่นดงรัง สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา (ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน) เนื่องจากในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ได้นำพันธุ์ต้นพระศรีมหาโพธิ์มาจากเกาะลังกา และเกิดมีรอยพระพุทธบาทขึ้นที่เมืองสระบุรี และพระแท่นดงรังในแขวงเมืองราชบุรี (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี) ซึ่งจัดเป็น “บริโภคเจดีย์” ตามพระบรมพุทธานุญาต ![]() เจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ๔ ประเภท http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43001 หลักฐานเก่าแก่ที่สุดคือ จากนิราศพระแท่นดงรังของสามเณรกลั่น ที่เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง พร้อมกับสุนทรภู่ เมื่อเดือนสี่ ปีมะเส็ง ปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ว่า ถึงพระแท่นแสนสงัดเห็นวัดมี ทั้งโบสถ์ที่ครอบพระแท่นแผ่นศิลา กับต้นรังทั้งคู่ยังอยู่พร้อม ดูยอดน้อมมาข้างแท่นที่แผ่นผา ต่างชื่นชมโสมนัสยิ่งศรัทธา ตามบิดาทักษิณด้วยยินดี เข้าประตูดูแผ่นพระแท่นตั้ง เหมือนบัลลังก์แลจำรัสรัศมี และจากนิราศของนายมี ซึ่งเดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง เมื่อปีวอก นักษัตรอัฐศก พ.ศ ๒๓๗๘ ภายหลังสามเณรกลั่น ๓ ปี นายมีได้พรรณนาถึงพระแท่นดงรังว่า เอาธูปเทียนบุปผาสุมาลัย ชวนกันไหว้พระแท่นแผ่นศิลา ในระหว่างนางรังทั้งคู่ค้อม คำนับน้อมกิ่งก้านก็สาขา แต่ไม้รังรักพระศาสดา อนิจจาเราเกิดไม่ทันองค์ จากนิราศทั้งสองนี้ทำให้ทราบว่ามีวัดพระแท่นดงรัง และมีการสร้างพระวิหารคลุมพระแท่นอยู่ก่อนแล้ว จึงสันนิษฐานว่าพระแท่นนี้คงจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและอาจจะร้างไป เพราะอยู่ในช่วงสงครามกับพม่า ต่อมาจึงมีการบูรณะขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ หรือต้นรัชกาลที่ ๒ ต่อมาพระวิหารได้ชำรุดทรุดโทรมไป ![]() พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาได้บอกบุญปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ตามจดหมายเหตุสมัยรัชกาลที่ ๓ เลขที่ ๓๑๖ เรื่อง บัญชีรายนามผู้ปฏิสังขรณ์พระแท่น จ.ศ. ๑๒๐๑ (พ.ศ. ๒๓๘๒) ![]() พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์) ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงนมัสการพระแท่นดงรัง เมื่อเดือน ๖ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๒ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ตามปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อปีกุน เบญจศก (พ.ศ. ๒๔๐๕) ที่พระแท่นดงรังก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมการเมืองราชบุรี ทำพระวิหารและพระอุโบสถที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ จำนวนเงินไม่ปรากฏ และให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่หลังพระแท่น ๑ องค์ ![]() พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค ปีฉลู จ.ศ. ๑๒๓๙ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ได้กล่าวถึงค่ายหลวงพระแท่นดงรัง โดยได้ทรงเขียนอธิบายถึงพระแท่นดงรังอย่างละเอียดว่า “จนเวลาบ่ายโมงครึ่งไปที่พระแท่น ขี้เกียจจะแวะที่พระแท่นเป็น ๒ หน ๓ หน จึงขึ้นไปที่เขาถวายพระเพลิงเสียทีเดียว ระยะทางที่มาประมาณว่า ๑๒ เส้นนั้น เย็นวันนี้ ถามพันจันทร์ได้ความว่า ตั้งแต่พลับพลาไปจนถึงวิหารพระแท่น ทาง ๑๖ เส้น ๑๓ วา แต่วิหารไปถึงเชิงเขา๑๐ เส้น ๗ วา แต่เชิงบันไดถึงเชิงมณฑป ๓ เส้น ๘ วา...ตรงหน้าที่สูงขึ้นบันไดขึ้นไป ยังเป็นยอดสูงขึ้นไปอีกหน่อยหนึ่งเป็นที่ตั้งมณฑป ๑๒ เหลี่ยม กว้างประมาณ ๓ วา มีเสาข้างใน ๔ เสา ทำเป็นเมรุกลายๆ ยอดแหลม มีประตู ๒ ประตู ในนั้นมีพระบาทอยู่เชิงตะกอน...ที่วิหารพระแท่นตั้งอยู่ที่นั้นเป็นเขาเทือกเดียวกันกับเขาถวายพระเพลิง เชิงเขานั้นตกราบลงมาสูงกว่าพื้นดินข้างล่างอยู่หน่อยหนึ่ง มาถึงที่พระแท่นจึงเป็นเขาศิลากองยาวออกไป ที่ข้างหลังวิหารมีช่องศิลายาวประมาณ ๖ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว หยั่งดูลึกสักสองศอก ว่าเป็นที่บ้วนพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ที่พระแท่นนั้นเป็นปลายของเทือกศิลาที่เขานั้นยื่นออกมาก่อผนังทับคงเป็นศิลาเป็นแท่งสูง ข้างหนึ่งต่ำข้างหนึ่งสูงนั้น วัดได้ศอกคืบ ยังมีสูงขึ้นไปเหมือนหนึ่งเป็นหมอน กว้างสักคืบเศษ สูงคืบหนึ่ง ข้างปลายสูง ๑๖ นิ้ว ยาว ๑๑ ศอกคืบ ข้างบนกว้าง ๔ ศอกเศษ เป็นพื้นขรุขระอยู่ แต่เจ้าของปิดทองทำปั้นเป็นบัวรองไว้...” ![]() เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชดำเนินไปซ้อมรบเสือป่า ณ ค่ายหลวงบ้านโป่ง ภายหลังการซ้อมรบเสือป่าแล้วได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปตามถนนและทางเกวียนมาทรงสักการะพระแท่นดงรัง แต่เสด็จเพียงวันเดียวไม่ได้ประทับแรม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์เล่าเรื่องพระแท่นดงรังถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในสาส์นสมเด็จ ภาค ๓๗ ฉบับลงวันที่ ๑๙ และ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ว่า “...ถึงพระแท่นดงรัง หม่อมฉันเห็นว่าศักดิ์สิทธิ์สำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวพระแท่น เท่ากับผ้าเหลืองที่เขาเอาซ้อนกองไว้บนพระแท่นเป็นรูปคล้ายกับศพคลุมผ้านอนอยู่บนนั้น ผู้ที่ไปพระแท่นดงรังครั้งแรก ล้วนนึกว่าจะไปดูพระแท่น ครั้นไปถึงแต่พอโผล่ประตูวิหารเข้าไป เห็นรูปกองผ้าเหลืองเหมือนอย่าง “พระพุทธศพ” วางบนพระแท่นก่อนสิ่งอื่นก็จับใจในทันที บางคนก็สะดุ้งกลัว บางคนยิ่งรู้สึกเลื่อมใส พระแท่นดงรังอัศจรรย์ด้วยผ้าเหลืองกองนั้นเป็นสำคัญ จึงมักกล่าวกันว่า พระแท่นศิลาอาสน์ไม่น่าเลื่อมใสเหมือนพระแท่นดงรัง...” ![]() พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงนมัสการพระแท่นดงรัง ๒ ครั้ง คือ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา วางศิลาฤกษ์พระอุโบสถหลังใหม่ และทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปลูกต้นโพธิ์ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นรัง เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ และเททองหล่อพระประธานและพระพุทธบาทจำลอง ![]() พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อเตรียมการรับเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ และวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ทรงประกอบพิธีเปิดงานนมัสการและทรงถวายผ้าพระกฐิน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯ ทรงมานมัสการพระแท่นดงรัง เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จรวม ๒ ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ และเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ เสด็จฯ ทรงมาตัดหวายลูกนิมิต ![]() กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขึ้นทะเบียน “พุทธสถานพระแท่นดงรัง” วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร เป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจนุเบกษา เล่มที่ ๗๒ ตอนที่ ๒ ลงวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ มีศาสนวัตถุสำคัญ คือ พระแท่นดงรังหรือพระแท่นบรรทม ![]() พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ยกพระแท่นดงรังเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีสถานปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ![]() ![]() ![]() “พระประธานในพระอุโบสถ” วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร ![]() ![]() “พระอุโบสถ” วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร ![]() ภาพพุทธประวัติ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร |
เจ้าของ: | น้อมเศียรเกล้า [ 08 ธ.ค. 2012, 11:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | |
![]() ![]() ![]() ![]() “พระแท่นดงรัง” ณ พุทธสถานพระแท่นดงรัง ![]() “หลวงพ่อพระแท่น” ณ พุทธสถานพระแท่นดงรัง ![]() ![]() “วิหารพระแท่น” หรือ “พระวิหารพระแท่นดงรัง” ณ พุทธสถานพระแท่นดงรัง ![]() หน้าบัน “วิหารพระแท่น” หรือ “พระวิหารพระแท่นดงรัง” เป็นหน้าบันไม้จำหลักเก่าแก่ที่ละเอียดงดงาม ส่วนล่างเป็นผนังก่ออิฐถือปูน ผสมผสานด้วยงานตกแต่งยุคปัจจุบัน ซึ่งตกแต่งด้วยภาชนะกระเบื้องดินเผาชนิดต่างๆ ที่ดูสวยงามแปลกตาอย่างที่ไม่ได้พบเห็นกันโดยทั่วๆ ไป ![]() รูปหล่อเหมือนครูบาอาจารย์องค์ต่างๆ (สามารถปิดทองได้) ณ “วิหารพระแท่น” หรือ “พระวิหารพระแท่นดงรัง” |
เจ้าของ: | น้อมเศียรเกล้า [ 08 ธ.ค. 2012, 11:37 ] |
หัวข้อกระทู้: | |
![]() พระมณฑปจตุรมุข วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร ที่ประดิษฐาน “รอยพระพุทธบาทจำลองไม้ประดับมุก” ในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ![]() ![]() ![]() ![]() รอยพระพุทธบาทจำลองไม้ประดับมุก ภายในพระมณฑปจตุรมุข เป็นรอยพระบาทไม้โบราณ ในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ลวดลายบนรอยพระบาทเป็นลายมงคล ๑๐๘ ประการ เดิมทีรอยพระบาทได้ถูกปิดทับด้วยทองคำเปลว ซึ่งผู้คนที่ได้มาสักการะได้ปิดไว้จนมองไม่เห็นลวดลายเดิม จนกระทั่งมีนักโบราณคดีได้มาสำรวจ และทำการลอกทองคำเปลวออก จึงได้พบลวดลายที่ประดับด้วยมุข ซึ่งเป็นลวดลายเดียวกันกับรอยพระพุทธบาทที่เขียนบนผ้า ที่พระเจ้าบรมโกศได้มอบเป็นเครื่องราชบรรณาการ เพื่อเจริญพระราชไมตรีแก่กษัตริย์ศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๙ ![]() รูปหล่อพระอานนท์ พุทธอนุชาและพุทธอุปัฏฐาก ในพระวิหารพระอานนท์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันกับอาศรมพระฤาษี |
เจ้าของ: | น้อมเศียรเกล้า [ 08 ธ.ค. 2012, 11:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | |
![]() “พระวิหาร” วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร ![]() พระวิหารพระสังกัจจายน์ ![]() ![]() พระสังกัจจายน์ หรือ “หลวงพ่อโต” ในพระวิหารพระสังกัจจายน์ ![]() องค์พระพุทธรูปปางต่างๆ ![]() “บ่อบ้วนพระโอษฐ์” ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารพระแท่นดงรัง และพระอุโบสถหลังเก่า เป็นบ่อบนกองศิลาลูกเตี้ยๆ มีลักษณะเป็นก้อนหินตะปุ่มตะป่ำ มีรูอยู่ในหินรูหนึ่งยาวประมาณ ๖ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว และลึกประมาณ ๒ ศอก มีเรื่องเล่ากันว่า เป็นสถานที่สมมุติเป็นที่บ้วนพระโอษฐ์ ครั้งที่พระองค์ทรงพระอาเจียนลงพระโลหิตก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน และภายในบ่อจะมีน้ำอยู่ตลอดทั้งปี เมื่อมีการตักน้ำออกไปมากๆ น้ำจะค่อยๆ ซึมออกมาเพิ่มขึ้นจนเท่าเดิมทุกครั้ง เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก ![]() พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ในพระวิหารหินบดยา หรือพระวิหารทรมานพระกาย ด้านหน้าองค์พระพุทธรูปได้ประดิษฐาน “แท่นหินบดยา” และรูปหล่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์ ![]() ![]() http://katin.bu.ac.th/katin08.html http://kri.onab.go.th/index.php?option= ... Itemid=136 https://www.facebook.com/media/set/?set ... 667&type=3 http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/to ... 72277.html |
เจ้าของ: | sirinpho [ 05 ก.ย. 2013, 16:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร จ.กาญจนบุรี |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ลูกหว้า [ 16 มิ.ย. 2014, 07:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร จ.กาญจนบุรี |
ได้ไปสักการะมาแล้วเช่นกันค่ะ วัดงดงามทุกส่วนทุกตอนเลย เห็นภาพอ่าน-ประวัตือีกครั้งชื่นใจชุ่มใจจริงๆเลยค่ะ |
เจ้าของ: | ร่มเย็นเป็นสุข [ 30 ม.ค. 2015, 20:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร จ.กาญจนบุรี |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Duangtip [ 27 มิ.ย. 2020, 09:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร จ.กาญจนบุรี |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | น้องพลอย [ 14 ก.ค. 2021, 10:03 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร จ.กาญจนบุรี |
![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |