วันเวลาปัจจุบัน 06 ธ.ค. 2024, 20:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2013, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี


ที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ และวัด

รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายอุดมศักดิ์ ชูโตชนะ
นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ สถาบันพระสังฆาธิการ

:b44: วัดมี ๒ อย่าง คือ (๑) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
(๒) สำนักสงฆ์ ซึ่งหมายถึง วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา


ชาวพุทธโดยทั่วไปมักได้ยินและคุ้นเคยคำว่า ที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ และวัด โดยส่วนใหญ่เข้าใจความหมายที่ไม่ตรงกับกฏหมาย และผลที่จะเกิดในทางกฎหมาย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓๑ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง สำหรับสำนักสงฆ์นั้นไม่ปรากฏว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้บัญญัติความหมายไว้ว่าหมายถึงอะไร แต่ย้อนกลับไปดูพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรก ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๕ กำหนดว่า วัดมี ๓ อย่าง คือ พระอารามหลวง อารามราษฎร์ และที่สำนักสงฆ์ และกำหนดให้ความหมายของคำว่า “ที่สำนักสงฆ์” คือวัดซึ่งยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

ต่อมาเมื่อมีการยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ขึ้นใช้บังคับแทน มาตรา ๓๘ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา อย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันขึ้นใช้บังคับแทน โดยมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ตราขึ้นในภายหลังมิได้มีบทบัญญัติให้เห็นว่ามีความประสงค์จะให้ลักษณะของสำนักสงฆ์มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ จึงต้องถือว่าสำนักสงฆ์ หมายถึง วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

จากการที่อ้างถึงพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงพอสรุปได้ว่า

“ที่พักสงฆ์” หมายถึง สถานที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุสามเณร ซึ่งยังมิได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่พักสงฆ์ จึงไม่มีสิทธิใช้คำว่า สำนักสงฆ์ หรือ วัด นำหน้าชื่อสถานที่ แต่หากดำเนินการขอสร้างวัดและตั้งวัดตามระเบียบของทางราชการ และเมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างวัดและตั้งวัดโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จึงจะถือว่าเป็นวัดที่่ถูกต้องตามกฎหมาย

:b44: การขอสร้างวัดและตั้งวัด

สำหรับการจะเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายมีขั้นตอนอย่างไรนั้น ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า ตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น วัดมี ๒ อย่างคือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ส่วนการสร้างวัดและตั้งวัดนั้นให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยที่ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ บัญญัติว่า

ข้อ ๑ บุคคลใดประสงค์จะสร้างวัด ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัดนั้น พร้อมด้วยรายการและเอกสาร ดังต่อไปนี้

(๑) หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดิน ที่จะยกให้สร้างวัด และที่ดินนั้นต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๖ ไร่

(๒) หนังสือสัญญา ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามกฎหมายทำกับนายอำเภอ และเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอ แสดงความจำนงจะให้ที่ดินดังกล่าวใน (๑) เพื่อสร้างวัด

(๓) จำนวนเงินและสัมภาระที่จะใช้ในการสร้างวัดในระยะเริ่มแรก ต้องมีราคารวมกันไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท

(๔) แผนที่แสดงเขตที่ตั้งวัด ประกอบด้วยเขตติดต่อข้างเคียง และระยะทางระหว่างวัดที่จะสร้างขึ้นกับวัดอื่นโดยรอบ และให้แสดงแผนผังสิ่งก่อสร้างของวัดตามความเหมาะสมของสภาพที่ดินโดยอาศัยแผนผังตามแบบ ก. แบบ ข. หรือแบบ ค. ท้ายกฎกระทรวงนี้เป็นหลักเท่าที่จะทำได้

(๕) กำหนดเวลาที่จะสร้างวัดให้แล้วเสร็จตามแผนผังนั้น

ข้อ ๒ วัดที่จะสร้างขึ้นต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้

(๑) สมควรเป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์

(๒) เป็นประโยชน์แก่ประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในรัศมี ๒ กิโลเมตร โดยเฉลี่ยวัดละไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ คน เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็น

(๓) มีเหตุผลเชื่อได้ว่า เมื่อตั้งขึ้นแล้วจะได้รับการบำรุงส่งเสริมจากประชาชน

(๔) ตั้งอยู่ห่างจากวัดอื่นไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็น

เมื่อได้มีการพิจารณา การปรึกษา และการรายงานการขอสร้างวัดโดยหน่วยราชการต่างๆ ตามลำดับ จนถึงมหาเถรสมาคมแล้ว ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติออกหนังสือให้สร้างวัดได้ โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และมติมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๓๐/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๕

สำหรับการขอตั้งวัดตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ข้อ ๔ เมื่อได้สร้างเสนาสนะขึ้นเป็นหลักฐาน พร้อมที่จะเป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ได้แล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตสร้างวัด ทายาท หรือผู้แทน เสนอรายงานการก่อสร้างวัดและจำนวนพระภิกษุที่จะอยู่ประจำไม่น้อยกว่า ๔ รูป พร้อมทั้งเสนอนามวัดพระภิกษุซึ่งสมควรเป็นเจ้าอาวาส เพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอ และเมื่อมีการพิจารณา การปรึกษา และการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่างๆ ตามลำดับ จนถึงมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะได้ประกาศตั้งวัดในราชกิจจานุเบกษาตามแบบ ว.๑ ท้ายกฎกระทรวง จากบทบัญญัติของกฎหมายและกฎกระทรวงดังกล่าว

จะเห็นได้ว่า วัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งหมายความรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้น หลังจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณา การปรึกษา และการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่างๆ ตามลำดับ จนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะจัดทำประกาศตั้งวัดเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายลงนามประกาศแล้วจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินำขึ้นทะเบียนวัดต่อไป

ดังนั้น วัดประเภทสำนักสงฆ์ ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนในกิจการทั่วไปนั้น จะต้องมีการดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จนกระทั่งมีการประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หากอยู่ระหว่างการดำเนินการขอตั้งวัดก็จะเรียกว่า ที่พักสงฆ์ ซึ่งวัดประเภทสำนักสงฆ์และวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมานั้น เมื่อเป็นนิติบุคคลแล้วย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น และมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ บัญญัติไว้ เช่น มีอำนาจในการทำ นิติกรรมกับบุคคลภายนอกโดยผ่านทางเจ้าอาวาส สิทธิในการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ป้องกันรักษาทรัพย์สิน และติดตามทรัพย์สินกลับคืน สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองมิให้ใครมาละเมิด เป็นต้น ซึ่งจะได้นำเสนอรายละเอียดในตอนต่อๆ ไป


(มีต่อ)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร