ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ธงสัญลักษณ์ พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=42769 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 25 ก.ค. 2012, 05:37 ] |
หัวข้อกระทู้: | ธงสัญลักษณ์ พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า |
“ธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” ซึ่งมีเครื่องหมายธรรมจักรซ้อนทับอยู่บนแถบสีธงฉัพพรรณรังสี ธงสัญลักษณ์ งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) ได้เสนอรูปแบบพร้อมความหมาย “ธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม (มส.) ให้ใช้เป็นธงสัญลักษณ์ฯ ในประเทศไทยแล้ว เพื่อเผยแพร่ให้คณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ใช้ประดับตกแต่ง ณ สถานที่ราชการ วัด สถานที่สำคัญต่างๆ และเคหะสถานบ้านเรือน โดยธงสัญลักษณ์ฯ ดังกล่าวมีรูปแบบพร้อมความหมาย ดังนี้ รูปแบบ (๑) ขนาดของธงสัญลักษณ์เท่ากับขนาดของธงธรรมจักรทั่วไป (๒) พื้นธงสีเหลือง มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี (๓) รูปธรรมจักรมีซี่จำนวน ๑๒ ซี่ หมายถึง ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔ (๔) มีชื่องานภาษาไทยด้านล่างใบโพธิ์ ส่วนชื่องานภาษาอังกฤษอยู่รอบวงธรรมจักร การใช้ธงประดับในต่างประเทศหรือสถานที่ระดับสากล สามารถสลับที่ระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ (๕) ชื่องานภาษาไทย “งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” (๖) ชื่องานภาษาอังกฤษ “Buddhajayanti : The Celebration of 2,600 Years of Buddha’s Enlightenment” ความหมาย ใบโพธิ์ หมายถึง การตรัสรู้แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า สีเขียวแห่งใบโพธิ์ หมายถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เผยแผ่ไปทั่วโลก ธรรมจักรกลางผืนธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง รัศมีแห่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ฉายแสงเหนือผืนแผ่นดินไทย และส่องประกายไปยังนานาประเทศ จนประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง สัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนานานาชาติ เป็นธงพระพุทธศาสนาที่ใช้กันในประเทศต่างๆ มี ๖ สี คือ สีเขียวเข้ม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีหงสบาท (สีเหมือนดอกเซ่งหรือดอกหงอนไก่) และสีเลื่อมพรายประภัสสร คำว่า ฉัพพรรณรังสี แปลว่า แสงรัศมี ๖ ประการ ซึ่งเป็นสีที่พวยพุ่งแผ่ออกมาจากตรงจุดกึ่งกลางพระวรกายของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า โดยให้ใช้ธงฉัพพรรณรังสีเป็นธงทางพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธทั่วโลกนิยมประดับในวัด หรือสถานที่สำคัญต่างๆ กนกลายไทยชูช่อฟ้า หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยรุ่งเรืองด้วยอารยธรรม ชนชาติไทยได้เชิดชูพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ให้อำนวยประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ และจะดำรงอยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยชั่วกาลปาวสาน ระยะเวลาการประดับธง ตั้งแต่วันมาฆบูชา (วันพุธที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕) เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนหน่วยงานราชการ และพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ประดับตกแต่ง “ธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” ณ สถานที่ราชการ วัด ธรรมสถาน สถานที่สำคัญต่างๆ และเคหะสถานบ้านเรือน เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก และวันอาสาฬหบูชา ธรรมยาตราคุ้มครองโลก ตลอดปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ตามกิจกรรม “หนึ่งจังหวัด หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งอำเภอ หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หนึ่งพุทธบูชา” โดยมหาเถรสมาคม (มส.) กำหนดให้วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๓ วัน เป็นกิจกรรมการฉลองพุทธชยันตี และที่สำคัญที่สุด ขอเชิญชวนเพื่อนๆ พุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ด้วย “การปฏิบัติบูชา” (การบูชาด้วยการปฏิบัติธรรม) รักษาศีล ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม เวียนเทียน ตลอดจนตั้งสัจจะอธิษฐานงดเว้นจากอบายมุขต่างๆ และสิ่งที่เป็นบาปอกุศลทั้งปวง ฯลฯ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ตลอดปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ค่ะ ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูล : http://www.buddhajayanti.net |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 25 ก.ค. 2012, 07:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ธงสัญลักษณ์ พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธ |
พระฉัพพรรณรังสี ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูล : http://www.onab.go.th |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 25 ก.ค. 2012, 17:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ธงสัญลักษณ์ พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธ |
“ธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” ซึ่งมีเครื่องหมายธรรมจักรซ้อนทับอยู่บนแถบสีธงชาติไทย ไม่สามารถกระทำได้ ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๓ (๑) ในครั้งแรก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) ได้เสนอรูปแบบ “ธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” ให้มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงชาติไทย กล่าวคือ มีเครื่องหมายธรรมจักรซ้อนทับอยู่บนแถบสีธงชาติไทย ซึ่งไม่สามารถกระทำได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๓ (๑) ตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ นร ๑๐๖๐/๔๙๔ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การจัดทำธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาข้อหารือของผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าธงสัญลักษณ์ฯ ที่มหาเถรสมาคมได้ออกแบบและจัดทำ ซึ่งมีแถบสีสัญลักษณ์ธงชาติไทยปรากฏอยู่ตรงกลางสัญลักษณ์และมีเครื่องหมายธรรมจักรซ้อนทับอยู่บนแถบสีสัญลักษณ์ธงชาติไทย สามารถกระทำได้หรือไม่ สำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๓ (๑) ได้บัญญัติบทกำหนดโทษ กรณีที่ผู้ใดประดิษฐ์รูป หรือเครื่องหมายอื่นใดในรูปจำลองของธงชาติหรือในแถบสีธงชาติ นอกจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น ดังนั้น ธงสัญลักษณ์ดังกล่าว ซึ่งมีเครื่องหมายธรรมจักรซ้อนทับอยู่บนแถบสีธงชาติไทย จึงต้องห้ามมิให้กระทำ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ในการนี้ จึงขอให้มีการแก้ไขธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า โดยมิให้มีเครื่องหมายใดทับซ้อนอยู่บนแถบสีสัญญลักษณ์ธงชาติไทยต่อไป ต่อมาจึงได้มีการแก้ไขใหม่ โดยให้มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี กล่าวคือ มีเครื่องหมายธรรมจักรซ้อนทับอยู่บนแถบสีธงฉัพพรรณรังสี อันเป็นธงสัญลักษณ์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ พุทธชยันตี : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=42774 งานสัปดาห์ส่งเสริมพุทธศาสนาเทศกาลวิสาขบูชา ปี ๒๕๕๕ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=42167 “ธงฉัพพรรณรังสี” ธงสัญลักษณ์ศาสนาพุทธ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=47017 |
เจ้าของ: | Putterksr [ 14 เม.ย. 2013, 14:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ธงสัญลักษณ์ พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธ |
สาธุ ขอบคุณครับ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |