ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
“ตะเกียงวิเศษ” รสของสมาธิ (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=60377 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | รสมน [ 18 พ.ค. 2021, 06:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | “ตะเกียงวิเศษ” รสของสมาธิ (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) |
ตะเกียงวิเศษ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ![]() ถ้าเราไม่มีสมาธิไม่มีปัญญาถึงแม้เราจะได้ยินได้ฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ ว่าใจกับร่างกายเป็นคนละคนกันก็ตาม แต่ใจก็ยังไม่สามารถที่จะปล่อยวางร่างกายได้ ยังไม่สามารถแยกใจออกจากร่างกายได้ ยังต้องอาศัยร่างกาย ยังต้องผูกตนเองติดกับร่างกายเพื่อจะได้ใช้ร่างกายไปหาความสุขต่างๆ มาให้กับใจนั่นเอง แต่ถ้าเรามาปฏิบัติสมาธิได้ ขั้นก่อนที่เราจะปฏิบัติสมาธิได้เราก็ต้องถือศีล ๘ ให้ได้ก่อนเพื่อที่เราจะได้กักบริเวณไม่ให้เราออกไปใช้ร่างกายไปหาความสุขต่างๆ ศีล ๘ นี้ห้ามไม่ให้เราใช้ร่างกายไปร่วมหลับนอนกับแฟน ห้ามไม่ให้ใช้ร่างกายไปหาความสุขจากการดื่มจากการรับประทานมากจนเกินไป ยังอนุญาตให้ดื่มให้รับประทานได้ แต่ดื่มรับประทานเพื่อเลี้ยงดูร่างกายซึ่งวันละมื้อก็พอ หรือถ้า ๒ มื้อก็ไม่ให้เกินเที่ยงวันไปแล้ว อยู่ได้ร่างกายไม่ตาย ถ้าถือศีล ๘ แล้วตาย จะไม่มีใครมาถือศีล ๘ กันจนถึงบัดนี้ มีคนถือศีล ๘ มาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาล สมัยพระพุทธเจ้านี้ก็มีคนถือศีล ๘ มีคนถือศีล ๑๐ มีคนถือศีล ๒๒๗ อดข้าวเย็นกันไม่มีใครตาย ตายเหมือนกันแต่ก็ตายไปตามวาระแต่ไม่ได้ตายเพราะถือศีล ๘ ไม่ต้องกลัวตาย แล้วก็ไม่ทรมาน ความทรมานอยู่ที่ใจเราที่ไปอยากกินเท่านั้นเอง แต่ร่างกายมันไม่ทรมานมันไม่เจ็บไข้ได้ป่วยจากการที่ไม่ได้กินข้าวเย็น แล้วก็ไม่ให้เราใช้ร่างกายไปเที่ยวนั่นเอง ไปตามสถานบันเทิงต่างๆ ตามโรงมหรสพ ไปตามงานเลี้ยงงานสังสรรค์ต่างๆ ไม่ให้เราต้องเสียเวลากับการแต่งเนื้อแต่งตัวแต่งหน้าทาปากทำเผ้าทำผม เพื่อไปหาความสุขแบบควันไฟ หาความสุขเดี๋ยวเดียวจากการไปเที่ยว พอกลับมาบ้านมันก็หายไปหมดแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ต้องไปเที่ยวใหม่เพราะความสุขที่ได้จากการไปเที่ยววันนี้มันหายไปหมดแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ต้องออกไปเที่ยวใหม่ มันก็จะติดอยู่กับการใช้ร่างกาย แล้วก็ต้องสะดุดวันใดวันหนึ่งเวลาที่ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา พิกลพิการขึ้นมา ทีนี้ก็จะเกิดปัญหาจิตใจก็อาจจะวุ่นวาย จิตใจก็อาจจะซึมเศร้า บางคนถ้าควบคุมไม่อยู่ก็อาจจะคิดฆ่าตัวตายกันเพราะเมื่อไม่สามารถอาศัยร่างกายพาไปหาความสุขต่างๆ ได้แล้วก็ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม ก็ฆ่าตัวตายดีกว่า แต่ฆ่าตัวตายมันก็ไม่ได้แก้ปัญหาระยะยาว มันอาจจะแก้ปัญหาระยะสั้น ตายไปแล้วเดี๋ยวมันก็ต้องไปเกิดใหม่อีกเพราะมันยังอยากใช้ร่างกายหาความสุขเหมือนเดิมอยู่ แล้วพอได้ร่างกายอันใหม่มาก็กลับมาเริ่มต้นใหม่เหมือนเดิม แล้วถ้ามาเจออุปสรรคแบบเดิมอีกก็ฆ่าตัวตายอีก ก็จะฆ่าตัวตายไปเรื่อยๆ เพราะเป็นวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา ท่านถึงบอกว่าใครฆ่าตัวตายแล้วก็จะต้องกลับมาฆ่าตัวตายอีก ๕๐๐ ชาติ เพราะมันใช้วิธีเดียวกัน มันเคยใช้วิธีไหนแก้ปัญหา พอเวลามีปัญหามันก็จะใช้วิธีนั้นแก้ปัญหาไปซึ่งก็ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะการจะแก้ปัญหานี้ต้องแก้ปัญหาด้วยการเลิกใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือ อย่าใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรามาฝึกสมาธิเพื่อเราจะได้หาความสุขอีกรูปแบบหนึ่ง ความสุขที่ไม่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือ แต่เราต้องกักร่างกายไว้ให้อยู่ในวัดให้ได้ อย่าให้มันไปเผ่นพ่านอยู่ตามสถานบันเทิงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เราก็เลยต้องถือศีล ๘ กัน ศีล ๘ นี้จะห้ามไม่ให้เราใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข เพื่อที่เราจะได้มีเวลามาใช้สมาธิเป็นเครื่องมือหาความสุขให้กับใจ เพราะถ้าเราสามารถนั่งสามาธิทำใจให้สงบแล้วเราจะได้ความสุขที่ดีกว่าความสุขที่ได้จากการใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือ พระพุทธเจ้าทรงบอก “นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง” สุขอื่นที่เหนือกว่าความสงบไม่มี สุขที่ได้จากความสงบนี้เป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขทั้งปวง “รสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวง” นี่ก็คือรสของสมาธิ ถ้าเรามีเวลาเปลี่ยนเอาเวลาที่เราใช้กับการใช้ร่างกายไปหาความสุข เอาเปลี่ยนมาเป็นการหาความสุขจากการนั่งเฉยๆ ไม่ต้องใช้ร่างกาย ให้นั่งเฉยๆ แล้วก็ทำใจให้นิ่งให้สงบ ไม่ให้คิดถึงเรื่องราวต่างๆ พอหยุดความคิดได้ใจก็จะนิ่งแล้วความสุขที่เราไม่คาดฝันมันก็จะโผล่ขึ้นมา ความสุขอันวิเศษนี้มันอยู่ในตัวเรา เป็นของเรามาตั้งนานแต่เราไม่เคยปัดฝุ่นเอามันมาใช้เลย เหมือนมีตะเกียงวิเศษอยู่ในบ้าน แล้วก็ไม่รู้จักวิธีใช้มันก็เลยเก็บไว้ในห้องเก็บของนั่นแหละ เปิดดูทีไรก็ไม่รู้ว่ามันเป็นตะเกียงวิเศษ จะใช้มันให้เนรมิตอะไรต่างๆ ให้กับเราก็ใช้ไม่เป็น ต้องมาเจอคนฉลาดคือพระพุทธเจ้านี่ที่รู้จักวิธีใช้ตะเกียงวิเศษ วิธีใช้ให้ตะเกียงวิเศษนี้ผลิตความสุขต่างๆ ให้กับเรา นี่แหละเรามีความสุขอันเลิศอันประเสริฐอยู่ในตัวของเราเองแท้ๆ แต่เรากลับไม่มาหามัน เรากลับไปหาความสุขแบบควันไฟ ความสุขที่จะต้องทำให้เราวุ่นวายใจอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นความสุขที่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหากันนั่นเอง ไม่รู้ว่าเราสามารถหาความสุขอีกวิธีหนึ่งคือวิธีทำใจให้สงบ ใจของเรานี่เป็นเหมือนตะเกียงวิเศษ ที่สามารถจะผลิตความสุขอันมหัศจรรย์ใจให้ปรากฏขึ้นมาในตัวของเราเองได้ แต่เราไม่รู้จักวิธีทำให้ใจมันผลิตความสุขขึ้นมาเท่านั้นเอง สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน พระจุลนายก (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) วัดญาณสังวรราม วรมหาวิหาร จ.ชลบุรี ![]() ![]() ![]() ![]() http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=47981 |
เจ้าของ: | น้องพลอย [ 19 ก.ค. 2021, 14:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: “ตะเกียงวิเศษ” รสของสมาธิ (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) |
![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | sirinpho [ 26 พ.ย. 2023, 11:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: “ตะเกียงวิเศษ” รสของสมาธิ (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) |
![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |