ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=39386
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 31 ส.ค. 2011, 22:26 ]
หัวข้อกระทู้:  ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

อัปปมาณสมาธิ คืออะไรครับเป็นอย่างเดียวกับ อัปปนาสมาธิรึเปล่า

เจ้าของ:  นายฏีกาน้อย [ 01 ก.ย. 2011, 04:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

จากอภิภายตนครึ่งสูตร

อภิภายตนสูตร

[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องครอบงำ ๘ ประการนี้
๘ ประการเป็นไฉน คือ คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเล็ก
น้อย
ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรา
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำประการที่ ๑ คนหนึ่ง
มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกได้ไม่มีประมาณทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมี
ผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น
นี้เป็นเครื่องครอบงำประการที่ ๒ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปใน
ภายนอกได้เล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำ
ประการที่ ๓ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกได้ไม่มีประมาณ
ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูป
เหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำประการที่ ๔

บทว่า ปริตฺตานิ ได้แก่ ไม่ขยาย
อปฺปมาณานิ ได้แก่ ขยายขนาดออกไปไม่จำกัด. อธิบายว่า ใหญ่.
-------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อภิภายตนสูตร



[๘๓๑] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน
อารัมมณปัญญา ๔ คือ
๑. ปริตตปริตตารัมมณปัญญา
๒. ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา
๓. อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา
๔. อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา

ในอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปริตตปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์
ไปเล็กน้อย นี้เรียกว่า ปริตตปริตตารัมมณปัญญา

ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์
ไปหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา

อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
เล็กน้อย นี้เรียกว่า อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา

อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
หาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา

เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔
----------------------------------------------------
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์

เจ้าของ:  world2/2554 [ 01 ก.ย. 2011, 09:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

อัปปมาณสมาธิ ดูตามศัพท์แล้ว ก็มาจากคำว่า อัปปมาณ กับคำว่า สมาธิ จึงแปลว่า สมาธิไม่มีประมาณ มีคุณมาก แผ่ขยายไปมาก อัปปมาณสมาธิ ตามศัพท์นี้มีความหมายไปในทางคุณมากกว่า เป็นผลอันเกิดจากสมาธิ ซึ่งสมาธิที่เป็นผลมากหาประมาณมิได้เช่นนี้ ก็คืออัปปนาสมาธินั่นเอง อัปปนาสมาธิ ก็หมายความถึง สมาธิที่มีความตั่งมั่น เป็นเอกคตารมณ์ เป็นสมาธิที่ผ่านการบริกรรมนิมิต เป็นอุคหนิมิต จนถึงเป็นปฏิภาคนิมิต

เจ้าของ:  walaiporn [ 01 ก.ย. 2011, 22:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

FLAME เขียน:
อัปปมาณสมาธิ คืออะไรครับเป็นอย่างเดียวกับ อัปปนาสมาธิรึเปล่า




ต้องการทราบไปเพื่ออะไรหรือคะ?

แล้วเข้าใจในอัปปนาสมาธิว่าเป็นอย่างไรคะ?

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 02 ก.ย. 2011, 02:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

walaiporn เขียน:
FLAME เขียน:
อัปปมาณสมาธิ คืออะไรครับเป็นอย่างเดียวกับ อัปปนาสมาธิรึเปล่า


ต้องการทราบไปเพื่ออะไรหรือคะ?

แล้วเข้าใจในอัปปนาสมาธิว่าเป็นอย่างไรคะ?



ที่ต้องการทราบ เพราะไม่รู้ เกิดสงสัยจึงได้ถามครับ

" ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ คุ้มครองอินทรีย์
พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปมาณสมาธิ ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต
และอธิปัญญา
เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด
เมื่อก่อนก็ฉันนั้น เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
เบื้องต่ำก็ฉันนั้นในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็ฉันนั้น ในกลางคืน
ฉันใดในกลางวันก็ฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนักศึกษา
เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดี
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้
ถึงที่สุดของการปฏิบัติในโลก ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้น
ตัณหา ย่อมมีจิตหลุดพ้นจาก สังขารธรรม เพราะวิญญาณดับสนิท
เหมือนความดับของประทีป ฉะนั้น ฯ "

ซึ่งเมื่อฟังแต่ละท่านวิสัชชนามาได้ ก็ช่วยให้คลายความสงสัยไปได้
ขอบพระคุณท่านพุทธฎีกาและคุณworld2/2554 ขอให้ท่านเจริญยิ่งๆขึ้นไป

ส่วนสมาธิตามที่ผมเข้าใจ หมายถึง เอกัคคตาจิต คือการที่จิตเสวยอารมณ์เดียว

เจ้าของ:  กามโภคี [ 02 ก.ย. 2011, 10:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

FLAME เขียน:
ที่ต้องการทราบ เพราะไม่รู้ เกิดสงสัยจึงได้ถามครับ


อ่านผ่านมาพบ แรกว่าจะไม่มีความเห็น เพราะเข้าใจว่าอาจจะนำไปปฏิบัติ เลยคิดว่า ถ้าจะปฏิบัติ อย่ารู้เรื่อง
ปริยัติมากๆในเรื่องพวกนี้จะดีกว่า แค่การสะสมความรู้ไปฟุ้งซ่าน ก็ทำให้เนิ่นช้าต่อการพ้นทุกข์แล้ว แต่เมื่อบอก
ว่า เพราะไม่รู้ เกิดสงสัย ผมอนุมานเอาว่า อ่านไปเจอเลยสงสัย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเท่าใดนัก คิดว่า
มีความเห็นเพื่อสาระธรรมบ้างก็ควร

อัปปมาณสมาธิ แยกเป็น อัปปมาณ และ สมาธิ

อัปปมาณ แยกเป็น อ บทหน้า แปลว่า ไม่ เช่น ไม่มี ไม่ใช่ และ
มาณ ศัพท์ แปลว่า กำหนด(นับ) กะเกณฑ์ หรือ ประมาณ(การ)

สมาธิ แปลว่า การตั้งมั่น(แห่งจิต)

หมายเหตุ การตีความคำสอน โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา จำเป็นต้องมุ่งไปที่รากภาษาเดิมคือบาลี หาไม่แล้ว
การตีความจะขัดแย้งกันมาก เพราะมุ่งแต่ภาษาไทย ความหมายเลยไม่ตรงหลักเดิมนัก หากได้ตีความมุ่งกลับ
ไปที่ภาษาดังเดิมแล้ว ความหมายจะไม่ผิดกับหลักการปฏิบัติเลย ทั้งในส่วนของวิธีปฏิบัติและสภาวะธรรมใน
การปฏิบัติ

ต่อ

รวมคำทั้งสองแล้ว แปลว่า สมาธิอันหาประมาณมิได้ หรือ สมาธิอันไม่มีประมาณ หรือ จิตตั้งมั่นหาประมาณมิได้
หรือ จิตตั้งมั่นไม่มีประมาณ

ในความหมายนี้ หมายถึงความตั้งมั่นของจิตที่กะเกณฑ์อะไรไม่ได้ หมายถึงจะกำหนดว่ามากน้อย หนาแน่น
ยาวนาน สั้น เป็นต้น และ

หมายถึงสมาธิสภาวะที่ประมาณไม่ได้ในขณะที่มรรคและผลเกิดขึ้น เช่น

พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ท่านบรรลุธรรม ในขณะบรรลุธรรม สมาธิของทั้งสองท่านก็ไม่เท่ากัน ไม่มีใคร
ประมาณการได้ ว่ามากน้อย ยาวนานเท่าใด

และ ไม่ได้หมายถึงสมาธิที่เราเข้าใจกัน หรือ สมาธิตามความหมายปริยัติที่เล่าเรียนกันสมัยนี้ แต่ หมายถึง
สภาวะธรรมที่จิตหน่วงเป็นอารมณ์แล้วเข้าสู่มรรคผล

บางแห่งก็ใช้คำว่า อัปปมาณสมาธิในการอธิบายพรหมวิหารฌาน ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ ต้องอธิบายให้ถูก

ส่วนจะต่างกับอัปปนาสมาธิหรือไม่ ก็ลองพิจารณาดูครับ

เจ้าของ:  walaiporn [ 05 ก.ย. 2011, 23:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

FLAME เขียน:
walaiporn เขียน:
FLAME เขียน:
อัปปมาณสมาธิ คืออะไรครับเป็นอย่างเดียวกับ อัปปนาสมาธิรึเปล่า


ต้องการทราบไปเพื่ออะไรหรือคะ?

แล้วเข้าใจในอัปปนาสมาธิว่าเป็นอย่างไรคะ?



ที่ต้องการทราบ เพราะไม่รู้ เกิดสงสัยจึงได้ถามครับ


ส่วนสมาธิตามที่ผมเข้าใจ หมายถึง เอกัคคตาจิต คือการที่จิตเสวยอารมณ์เดียว




ก่อนจะกล่าวถึงอัปปมาณสมาธิ ควรจะรู้ตรงเรื่องเกี่ยวกับสมาธิอื่นๆก่อน

หมวดที่ ๑ สมาธิมี ๓ อย่าง

โดยแยกเป็น หีนสมาธิ ๑ มัชฌิมาสมาธิ ๑ ปณีตสมาธิ ๑


หมวดที่ ๒ สมาธิมี ๔ อย่าง โดยแยกเป็น ปริตตปริตตารัมมณสมาธิ ฯลฯ


หมวดที่ ๔ สมาธิมี ๓ อย่าง

โดยแยกออกเป็น ปริตตสมาธิ ๑ มหัคคตสมาธิ ๑ อัปปมาณสมาธิ ๑


อธิบายสมาธิ ๔ อย่าง

โดยแยกเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ฯลฯ

นำมาเฉพาะบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำว่าอัปปมาณสมาธิ

เจ้าของ:  walaiporn [ 05 ก.ย. 2011, 23:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

หีนสมาธิ

ได้แก่ สมาธิที่พอได้บรรลุ ยังไม่ได้ส้องเสพให้หนักๆ ยังไม่ได้ทำให้มากๆ เรียกว่า หีนสมาธิ คือ สมาธิขั้นต่ำ

ที่ชื่อว่า หีนสมาธิ เพราะ ให้เป็นไปด้วยความปรารถนาผลบุญอันโอฬาร

ที่ชื่อว่า หีนสมาธิ เพราะทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน ด้วยต้องการภวสมบัติ

ที่ชื่อว่า หีนสมาธิ เพราะ ให้เป็นไปด้วยอัธยาศัยติดอยู่ในวัฏฏะ



มัชฌิมสมาธิ


สมาธิที่ทำให้เกิดขึ้นยังไม่ได้ที่ คือ ยังไม่ได้ทำให้ถึงความคล่องแคล่วเป็นอย่างดี เรียกว่า มัชฌิมสมาธิ คือ สมาธิขั้นกลาง


ที่ชื่อว่า มัชฌิมสมาธิ เพราะเป็นไปด้วยจะให้สำเร็จอภิญญาโลกีย์

ที่ชื่อว่า มัชฌิมสมาธิ เพราะให้เป็นไปด้วยอัธยาศัยที่ไม่โลภอย่างเดียว

ที่ชื่อว่า มัชฌิมสมาธิ เพราะ ให้เป็นไปด้วยอัธยาศัยชอบความสงัด



ปณีตสมาธิ


สมาธิที่ทำให้เกิดขึ้นได้ที่ดีแล้ว คือ ถึงความเป็นวสี มีความสามารถอย่างคล่องแคล่ว เรียกว่า ปณีตสมาธิ

ที่ชื่อว่า ปณีตสมาธิ เพราะท่านผู้ดำรงอยู่ในอริยภาพ ให้เป็นไปด้วยปรารถนาความสงัดจิต

ที่ชื่อว่า ปณีตสมาธิ เพราะ เป็นไปเพื่อประโยชน์คนอื่น

ที่ชื่อว่า ปณีตสมาธิ เพราะ ให้เป็นไปด้วยอัธยาศัยใคร่ปราศจากวัฏฏะ ด้วยต้องการให้บรรลุถึงโลกุตตรธรรม

เจ้าของ:  walaiporn [ 05 ก.ย. 2011, 23:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

ยังมีต่อ นำมาลงยังไม่หมด

จริงๆแล้ว เรื่องสมาธิ ถ้าฝึกให้ชำนาญ รู้ชัดเจนในสภาวะนั้นๆแล้ว

เมื่อได้อ่าน ตำราที่มีบันทึกไว้ หรือแม้กระทั่งพระไตรปิฎกจะเข้าใจได้ง่ายมากกว่าไม่เคยผ่านสภาวะนั้นๆมาก่อน

แต่ถ้าไม่เคยประสพกับสภาวะนั้นๆ แล้วนั่งคาดเดาสภาวะตามตัวหนังสือ มันแตกต่างกันมากๆ ระหว่างการคาดเดากับสภาวะที่แท้จริง

แต่ไม่เป็นไร เหตุมี ผลย่อมมี ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง

เห็นสนใจในความหมายของสภาวะอัปปมาณสมาธิ เลยนำมาให้อ่านค่ะ

เจ้าของ:  walaiporn [ 05 ก.ย. 2011, 23:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

สมาธิมี ๓ อย่าง แยกเป็น ปริตตสมาธิ ๑ มหัคคตสมาธิ ๑ อัปปมาณสมาธิ ๑ นั้น มีอรรถอธิบาย ดังนี้


สมาธิใดที่ยังไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถที่จะเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้ สมาธินี้ชื่อ ปริตตสมาธิ คือ สมาธิที่มีปริมาณน้อย

เอกัคคตาในอุปจารฌานภูมิ คือ จิตตุปบาทที่ประกอบด้วยอุปจารฌาน เรียกว่า ปริตตสมาธิ สมาธิมีปริมาณน้อย ( หรือกามาวจรสมาธิ )


เอกัคคตาในรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต เรียกว่า มหัคคตสมาธิ คือ สมาธิอันใหญ่ยิ่ง

อธิบายว่า สมาธิที่ถึงภาวะอันยิ่งใหญ่โดยการข่มกิเลส ๑

โดยมีผลอันไพบูลย์กว้างขวาง ๑

โดยสืบต่ออยู่ได้นานๆ ๑

หรือสมาธิที่ดำเนินไปด้วยคุณอันยิ่งใหญ่ มีฉันทะอันยิ่งใหญ่เป็นต้น เรียกว่า มหัคคตสมาธิ



เอกัคคตาที่ประกอบด้วยอริยมัคคจิต คือ ที่เกิดร่วมกับอริยมัคคจิต เรียกว่า อัปปมาณสมาธิ คือ สมาธิอันหาประมาณมิได้ หรือสมาธิอันมีธรรมหาประมาณมิได้ เป็นอารมณ์



สมาธิใดที่คล่องแคล่วแล้ว เจริญให้เกิดขึ้นได้ที่แล้ว สามารถเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้ สมาธินี้ชื่อว่า อัปปมาณสมาธิ คือ สมาธิหาประมาณมิได้


หมายเหตุ องค์แห่งปฐมเานองค์ที่ ๕ บางทีเรียกว่า เอกัคคตาในที่นี้ท่านเรียกว่า สมาธิ พึงทราบว่าสมาธิกับเอกัคคตา โดยความหมายเป็นอย่างเดียวกัน

เจ้าของ:  walaiporn [ 05 ก.ย. 2011, 23:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

สมาธิ มี ๔ อย่าง

สมาธิ ๔ อย่าง ได้แก่ ปริตตปริตตารัมมณสมาธิ ๑ ปริตตอัปปมาณารัมณสมาธิ ๑ อัปปมาณปริตตปริตตารัมมณสมาธิ ๑ อัปปมาณอัปปมาณารัมณสมาธิ ๑

ปริตตสมาธิ

สมาธิใดที่ยังไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถที่จะเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้ สมาธินี้ชื่อ ปริตตสมาธิ คือ สมาธิที่มีปริมาณน้อย

สมาธิใดเป็นไปในอารมณ์ที่ไม่ได้ขยาย สมาธินั้นชื่อว่า ปริตตารัมมณสมาธิ คือ สมาธิมีอารมณ์มีประมาณน้อย


อัปปมาณสมาธิ

สมาธิใดคล่องแคล่วแล้ว เจริญให้เกิดขึ้นได้ที่แล้ว สามารถที่จะเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้ สมาธินี้ชื่อ อัปปมาณสมาธิ คือ สมาธิหาประมาณมิได้

สมาธิใดเป็นไปในอารมณ์ที่ขยายแล้ว สมาธินี้ชื่อ อัปปมาณารัมมณสมาธิ คือ สมาธิมีอารมณ์ประมาณมิได้


ส่วนนัยที่คละกันแห่งสมาธิที่ ๑ และที่ ๔ ซึ่งสงเคราะห์เข้าเป็นสมาธิที่ ๒ และ ๓ พึงทราบโดยความคละกันแห่งลักษณะดังที่กล่าวแล้ว ดังนี้ คือ

สมาธิใดที่ยังไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถที่จะเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้แต่เป็นไปในอารมณ์ที่ขยายแล้ว สมาธินี้ชื่อว่า ปริตตอัปปมาณารัมณสมาธิ คือ สมาธิมีประมาณน้อย มีอารมณ์หาประมาณมิได้

ส่วนสมาธิใดคล่องแคล่วแล้ว เจริญให้เกิดขึ้นได้ที่แล้ว สามารถที่จะเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องสูงขึ้นไปได้ แต่เป็นไปในอารมณ์ที่ไม่ได้ขยาย สมาธินี้ชื่อว่า อัปปมาณปริตตปริตตารัมมณสมาธิ คือ สมาธิหาประมาณมิได้ มีอารมณ์มีประมาณน้อย

เจ้าของ:  walaiporn [ 06 ก.ย. 2011, 00:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

สมาธิ

อะไรชื่อว่า สมาธิ?

ภาวะจิตที่มีอารมณ์อันเดียวฝ่ายกุศล ชื่อว่า สมาธิ


ที่ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่าอะไร?

มีชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่า ความตั้งมั่น


ที่ว่าความตั้งมั่นนี้ ได้แก่อะไร?

ได้แก่ ความตั้งอยู่หรือความดำรงของจิตและเจตสิกทั้งหลายในอารมณ์อันเดียวอย่างสม่ำเสมอ และโดยถูกทางด้วย

เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างสม่ำเสมอและโดยถูกทางด้วย ไม่ฟุ้งซ่านและไม่ส่ายไปในอารมณ์อื่น ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติใดธรรมชาตินี้ พึงทราบว่า คือ ความตั้งมั่น


อะไร เป็นลักษณะ, เป็นรส, เป็นอาการปรากฏ และเป็นปทัฏฐานของสมาธิ?

สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ

เจ้าของ:  walaiporn [ 06 ก.ย. 2011, 00:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

จับจุดให้ถูก "สมาธิ"

เหตุของการทำให้เกิดสมาธิหรือการสร้างเหตุของการทำให้เกิดจิตตั้งมั่น


ปริยัติ

ในสมาธิที่แยกเป็น ๔ อย่าง หมวดที่ ๑ ที่ว่า สมาธิมี ๔ อย่าง โดยแยกเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ เป้นต้นนั้น มรอรรถอธิบายดังนี้ คือ :-

สมาธิ ๔ อย่าง ได้แก่

ทุกขาปฏิปทาธันธาภิญญาสมาธิ ๑

ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ๑

สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ๑

สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ๑


อธิบายว่า ในปฏิปทาและอภิญญา ๒ อย่างนั้น การภาวนาสมาธิที่ดำเนินไป นับตั้งแต่ลงมือสำรวจจิตเจริญกัมมัฏฐานครั้งแรก จนถึงอุปจารฌานของฌานนั้นๆ เรียกว่า ปฏิปทา คือ การปฏิบัติ

ส่วนปัญญาที่ดำเนินไปนับตั้งแต่อุปจารฌานจนไปถึงอัปปนาฌาน เรียกว่า อภิญญา คือ การรู้แจ้ง


ก็แหละปฏิทา คือ การปฏิบัตินั้น ย่อมเป็นทุกข์ คือ ลำบาก ส้องเสพไม่สะดวกสำหรับโยคีบางคน เพราะการรบเร้าและเข้ายึดครองของธรรมที่มีข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น

แต่เป็นความสะดวกสบายสำหรับโยคีบุคคลบางคน เพราะไม่มีการรบเร้าและยึดครองของธรรมที่เป็นข้าศึก


แม้อภิญญา คือ การรู้แจ้ง ก็เป็นการเชื่องช้าเฉื่อยชา ไม่เกิดโดยฉับพลันสำหรับโยคีบุคคลบางคน

แต่สำหรับโยคีบุคคลบางคนก็รวดเร็วไม่เฉื่อยชาเกิดโดยฉับพลัน


ก็แหละธรรมอันเป็นที่สบายและไม่เป็นที่สบาย ๑ บุพกิจเบื้องต้นมีการตัดปลิโพธิ คือ เครื่องกังวลให้สิ้นห่วง ๑ และความฉลาดในอัปปนาทั้งหลาย ๑ เหล่าใดที่ข้าพเจ้ายกพรรณนาข้างหน้า


ในบรรดาธรรมเหล่านั้น โยคีบุคคลใดเป็นผู้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย โยคีบุคคลผู้นั้น ย่อมมีปฏิทา คือ การปฏิบัติลำบาก เป็นทุกข์ และมีอภิญญา คือ รู้แจ้งเชื่องช้า

โยคีบุคคลผู้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ย่อมมีปฏิทา คือ การปฏิบัติสะดวกสบาย และมีอภิญญา คือ การรู้แจ้งอย่างรวดเร็ว


ส่วนโยคีบุคลลใด ในตอนต้นก่อนแต่ได้บรรลุอุปจารสมาธิ ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ตอนหลังจากที่บรรลุอุปจารสมาธิแล้ว ได้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย

หรือ ในตอนต้นได้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ตอนหลังได้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย พึงทราบว่า ปฏิทาและอภิญญาของโยคีบุคคลผู้นั้นคละกัน


อธิบายว่า โยคีบุคคลใด ในตอนต้น ส้องเสพธรรมอันไม่เป้นที่สบาย ตอนหลังได้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย โยคีบุคคลผู้นั้นมีปฏิทาลำบาก เป็นทุกข์ แต่มีอภิญญาการรู้แจ้งอย่างรวดเร็ว

ส่วนโยคีบุคคลใด ในตอนต้น ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ตอนหลังได้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย โยคีบุคคลนั้น มีปฏิปทาสะดวกสบาย แต่มีอภิญญารู้แจ้งเชื่องช้า

พึงทราบสมาธิที่ ๒ และที่ ๓ เพราะความคละกันแห่งสมาธิที่ ๑ และที่๔ ฉะนี้


สำหรับโยคีบุคคลผู้ไม่ได้จัดแจงบุพกิจเบื้องต้น มีการตัดปลิโพธิเครื่องกังวลให้สิ้นห่วงเสียก่อน แล้วลงมือประกอบการเจริญภาวนาก็เหมือนกัน คือ ย่อมมีปฏิทาการปฏิบัติลำบาก เป็นทุกข์

โดยปริยายตรงกันข้าม สำหรับโยคีบุคคลผู้จัดแจงทำบุพกิจให้เสร็จสิ้นแล้ว จึงลงมือประกอบการเจริญภาวนา ย่อมมีปฏิปทาสะดวกสบาย


ส่วนโยคีบุคคลผู้ไม่ได้เรียนอัปปนาโกศล คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอัปปนาให้สำเร็จก่อน ย่อมมีอภิญญารู้แจ้งเชื่องช้า

ผู้ที่เรียนอัปปนาโกศลให้สำเร็จก่อน ย่อมมีอภิญญารู้แจ้งอย่างรวดเร็ว


อีกประการหนึ่ง พึงทราบประเภทของปฏิปทาและอภิญญานี้ ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและอวิชชา ๑ ด้วยอำนาจแห่งสมถาธิการและวิปัสสนาธิการ ๑ ต่อไป กล่าวคือ

โยคีบุคคลผู้อันตัณหาครอบงำ ย่อมมีปฏิปทาลำบาก เป็นทุกข์ ผู้ไม่ถูกตัณหาครอบงำ ย่อมมีปฏิทาสะดวกสบาย

และโยคีบุคคลผู้อันอวิชชา ย่อมมีอภิญญาเชื่องช้า ผู้ไม่ถูกอวิชชาครอบงำ ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว


และโยคีบุคคลผู้มีอธิการอันไม่ได้ทำไว้ในสมถภาวนา ย่อมมีปฏิทาลำบาก เป็นทุกข์ ผู้มีอธิการอันทำไว้แล้ว ย่อมมีปฏิทาสะดวกสบาย

ส่วนผู้มีอธิการอันไม่ได้ทำไว้ในวิปัสสนาภาวนา ย่อมมีอภิญญาเชื่องช้า ผู้มีอธิการอันได้ทำไว้แล้ว ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว


พึงทราบประเภทของปฏิทาและอภิญญาเหล่านี้ แม้ด้วยอำนาจแห่งกิเลสและอินทรีย์ ๕ อีก กล่าวคือ

โยคีบุคคลผู้มีกิเลสแรง แต่มีอินทรีย์ย่อหย่อน ย่อมมีปฏิปทาลำบาก เป็นทุกข์ และมีอภิญญาเชื่องช้า ส่วนผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว

และโยคีบุคคลผู้มีกิเลสบางเบา มีอินทรีย์ย่อหย่อน ย่อมมีปฏิปทาสะดวกสบาย แต่มีอภิญญาเชื่องช้า ส่วนผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว


ด้วยประการฉะนี้ ในปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้ โยคีบุคลลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันลำบาก เป็นทุกข์และด้วยอภิญญาเชื่องช้า สมาธิของโยคีบุคคลนั้น เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาภิญญาสมาธิ

โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันลำบาก เป็นทุกข์และด้วยอภิญญาอันรวดเร็ว สมาธิของโยคีบุคคลนั้น เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ

โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันสะดวกสบายและด้วยอภิญญาเชื่องช้า สมาธิของโยคีบุคคลนั้น เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ

โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันสะดวกสบายและด้วยอภิญญารวดเร็ว สมาธิของโยคีบุคคลนั้น เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ

เจ้าของ:  walaiporn [ 06 ก.ย. 2011, 00:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

ขออภัยด้วยค่ะ ที่ไม่ได้เรียงตามลำดับของสภาวะ พอดีเรื่องที่นำมาเขียนไว้ ยังไม่ได้เรียงตามสภาวะ

เริ่มอ่านจาก เรื่อง สมาธิ

จับจุดให้ถูกเรื่องสมาธิ

หีนสมาธิ ๑ มัชฌิมาสมาธิ ๑ ปณีตสมาธิ ๑

ปริตตสมาธิ ๑ มหัคคตสมาธิ ๑ อัปปมาณสมาธิ ๑

ปริตตปริตตารัมมณสมาธิ ฯลฯ


เนือหาทั้งหมดนำมาจาก คัมภีร์วิสุทธิมรรคพระพุทธโฆสเถระ รจนา สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( อาจ อาสภมหาเถระ ) แปลและเรียบเรียง

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 06 ก.ย. 2011, 00:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถามเรื่องอัปปมาณสมาธิ

อ้างคำพูด:
ยังมีต่อ นำมาลงยังไม่หมด

จริงๆแล้ว เรื่องสมาธิ ถ้าฝึกให้ชำนาญ รู้ชัดเจนในสภาวะนั้นๆแล้ว

เมื่อได้อ่าน ตำราที่มีบันทึกไว้ หรือแม้กระทั่งพระไตรปิฎกจะเข้าใจได้ง่ายมากกว่าไม่เคยผ่านสภาวะนั้นๆมาก่อน

แต่ถ้าไม่เคยประสพกับสภาวะนั้นๆ แล้วนั่งคาดเดาสภาวะตามตัวหนังสือ มันแตกต่างกันมากๆ ระหว่างการคาดเดากับสภาวะที่แท้จริง

แต่ไม่เป็นไร เหตุมี ผลย่อมมี ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง

เห็นสนใจในความหมายของสภาวะอัปปมาณสมาธิ เลยนำมาให้อ่านค่ะ


คุณ walaiporn ช่วยอ้างอิงที่มาด้วยครับ
จะติดตามอ่านต่อไป

" ในกาลก่อนเราเมื่อไม่ได้ศึกษาพุทธวจนะโดยตรง เป็นผู้สดับน้อย ไม่ได้สั่งสมสุตะไว้มาก จึงได้คาดเดา เสียเวลาพลาดโอกาสไปมาก แต่เมื่อได้ศึกษาพุทธพจน์ ได้ศึกษาพระธรรมอันวิจิตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว จึงไม่ได้คาดเดาไปในความมืดมิดเหมือนดังแต่ก่อน

เสียดายเวลาที่ผ่านมาน่าจะได้ศึกษาพุทธวจนะโดยตรงมาก่อนหน้านี้ "

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/