ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
เวลาพูดคุยมักไม่ค่อยมีสติที่จะตามดูตามรู้ทัน จะทำอย่างไรดี http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=36734 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | aqua2500 [ 11 ก.พ. 2011, 19:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | เวลาพูดคุยมักไม่ค่อยมีสติที่จะตามดูตามรู้ทัน จะทำอย่างไรดี |
![]() ทุกวันนี้ก็มีความตั้งใจที่จะมีสติคอยตามดูตามรู้ตัวเอง แต่สังเกตว่า เวลาสนทนากับคนอื่นทีไรมักจะหลุด ไม่ค่อยมีสติในการระลึกรู้เลย มารู้อีกทีก็พูดคุยเสร็จไปแล้ว หากบทสนทนานั้นไม่เป็นไปตามความต้องการ ก็จะเกิดความโกรธได้ หรือเกิดความดีใจ หากสิ่งที่พูดคุยกันเป็นไปอย่างที่เราต้องการ จะทำอย่างไรดีคะ เราจึงจะมีสติรู้ตัวเร็วขึ้น ขอขอบคุณท่านผู้รู้ที่ช่วยแนะนำล่วงหน้า ณ โอกาสนี้ด้วยนะคะ ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 11 ก.พ. 2011, 20:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เวลาพูดคุยมักไม่ค่อยมีสติที่จะตามดูตามรู้ทัน จะทำอย่างไร |
พื้นฐานเลยนะครับ....ทาน..ศีล..ภาวนา..เป็นของหนุนกันและกัน การรู้ตัวคือสติ..อันเป็นส่วนหนึ่งของ..ภาวนา แล้ว...ทาน..คืออารมณ์ใจของการสละออก...คุณมีประจำจิตไหม??? แล้ว..ศีล..คืออารมณ์ใจของความดีมีเมตตา..คุณมีแนบแน่นกับใจเพียงใด??? ลองสังเกตุดูใจคุณเอง..ว่าขณะพูด..คุณมี..ทานคือการสละ..ศีลคือเมตตา..ประกอบด้วยไหม??? หากไม่มีก็แก้ไข..หากมีดีแล้ว..ก็มาว่าขั้นต่อไป... แล้วก็ลองดูอีกอย่าง...คือดูว่า...ขณะพูด..มีโลภ..คือพูดเพื่อจะได้มั้ย??..ไม่ว่า..จะได้ลาภ..ยศ..สรรเสริญ..อยู่ด้วยไหม??.. หากมี..ก็สลัดมันก่อนจะพูดคำต่อ ๆ ไป ... และก็ใช้วิธีนี้กับ..กิเลสตัวโกรธด้วย..ส่วนตัวหลง..จะยากซะหน่อย ส่วนการรู้เฉย ๆ ...ในขั้นของคนกำลังฝึกหัดแล้ว..หากไม่มีหลักสังเกตุหรือ..Bent mark. มันจะหลงได้ง่าย ๆ ..หลับในก็ไม่รู้ว่ากำลังหลับใน และ..การตั้งสติสังเกตุกิเลสตัวหนึ่งตัวใดแล้ว..ก็ช่วยให้เกิดการสังวรระวัง..ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของความเพียรชอบด้วย เรียกว่า..ไหน ๆ ก็จะรู้ทั้งที..ก็ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนอื่น ๆ ไปด้วยเลย ท้ายสุด...ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเจ้าของ...ว่าจะมีความมั่นเพียรเพียงใด...ทำมาก ๆ เข้าใว้ก็จะได้ดีเอง ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | อินทรีย์5 [ 13 ก.พ. 2011, 02:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เวลาพูดคุยมักไม่ค่อยมีสติที่จะตามดูตามรู้ทัน จะทำอย่างไร |
ก้พูดให้ช้าลงๆ จะพูดอะไร ก้นึกเสียก่อน การนึกแล้วค่อยพูดเรียกว่า "มีสติ" การมีสติ เป็นการสำรวมกาย วาจา และใจอย่างหนึ่ง เป็นสำรวมอินทรีย์ ผู้ที่สำรวมอย่างนี้ เรียกว่า ผู้มีสติ เพราะไม่ว่า จะคิด จะพูด จะทำอะไร จะต้องคิดตรึกตรองไว้ก่อน เมื่อพิจารณาดีแล้วค่อยพูด คิดไปแล้วได้ชื่อว่า "คิดดี" พูดไปแล้ว ก้พูดแต่สิ่งดีๆ ทำอะไรแล้วก้หวังได้เลยว่าต้องเปนสิ่งที่ดี ๆเช่นกัน กุศลกรรมบท10 อยู่ครบถ้วนทันที จะให้มีสติเร็วขึ้น ก้ต้องฝึกให้มากขึ้น สติมันมีมากก้รู้ตัวเร็วขึ้น มากขึ้น เพราะทุกสิ่ง ทุกอย่างเปนการฝึกสติในตัวทุกอริยาบถอยู่แล้วครับ เอาฝึกแบบง่ายๆนะครับไม่ต้อง ถึงกับกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างจนกลายเปนเราเคร่งเครียดเกินไป เอาพอสบายๆ ตามแบบ มัชฌิมาของตัวเราเอง ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ศรีสมบัติ [ 14 ก.พ. 2011, 16:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เวลาพูดคุยมักไม่ค่อยมีสติที่จะตามดูตามรู้ทัน จะทำอย่างไร |
คิดดี ทำดี พูดดี บางครั้ง ถ้าพูด ออกไปแล้ว ไม่เกิดประโยชน์ มีโทษ เป็น อกุศล ควรละ ที่จะไม่พูดดีกว่า เพราะถ้ารู้ว่า พูด ตามทิฏฐิของตน ตามใจ ตามกิเลส ความโลภ โกรธ หลง หรือ ขาดสติในการพูด เงียบไว้จะดีกว่า แต่ถ้าคิดแล้ว ตรึก นึก ไตร่ตรอง แล้ว ว้าจะเป็น สาระ ประโยชน์ นั่นถึงจะพูดออกไป เรียกว่า ต้องฝึก สติ เจริญสติ สำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดี ยินร้าย ต่อ รูป ต่อ เสียง ที่ปรากฏ อะไรที่ไม่จำเป็นต้องโต้ ตอบ โดยวาจา ก็ละมันไป ปล่อยวางมันไป ฝึกอย่างนี้ได่บ่อยๆ เข้า ก็จะสามารถ ตามรู้ ตามดู ในจิตใจของตัวเอง รู้เท่าทันในจิตของตัวเองมากขึ้น เจริญในธรรม ![]() |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 15 ก.พ. 2011, 08:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เวลาพูดคุยมักไม่ค่อยมีสติที่จะตามดูตามรู้ทัน จะทำอย่างไร |
![]() การจะมีสติระลึกรู้ทันสิ่งกระทบนั้น...ให้เริ่มจากการให้ทานและถือศีลก่อนค่ะ... การถือศีลโดยเอาศีลคุมให้ถึงใจ..ในทุกขณะจิตจะทำให้มีความระมัดระวัง ตัวอยู่บ่อย ๆ เพื่อไม่ให้ละเมิดหรือล่วงศีล...เมื่อปฏิบัติไปได้สักระยะจะเห็น ผลกับตัวเองได้ว่ารู้สึกตัวบ่อยขึ้นเมื่อมีสิ่งกระทบ...ให้ทำควบคู่กับการเจริญภาวนา การเจริญภาวนาที่สม่ำเสมอจะทำให้เป็นเกิดสติและรู้สึกตัวได้เร็วขึ้น..และทำให้ มีจิตใจที่มั่นคงและหนักแน่น..รู้ทันต่อสิ่งที่เข้ามากระทบและปรุงเป็นอารมณ์... ขอเจริญในธรรม ![]() ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |