ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเท่านั้นหรือเปล่า http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=35906 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | Hanako [ 19 ธ.ค. 2010, 04:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเท่านั้นหรือเปล่า |
การที่เราคอยสำรวมใจ สำรวมอยู่ในศีล คอยระวังไม่พูดร้าย ไม่คิดร้าย คอยพิจารณาร่างกายและระลึกถึงความตายอยู่เรื่อยๆ อย่างนี้เป็นการภาวนาหรือเปล่าคะ เพราะบางวันท็ทำงานเยอะเหลือเกิน ง่วงมากมาย เช่น เมื่อวานพอกราบพระสามที นั่งหลับตาเท่านั้นแหล่ะ หลับเลย (- -")/ Zzzz หลับในท่านั่งนั่นเอง ยังไม่ได้บริกรรมสักคำเลย ก็ไม่ไหวต้องไปนอน (แต่มานั่งสมาธิชดเชยตอนเช้าแระ) แล้วถ้าบางวันเราไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม แต่เรื่องคอยระวัง คอยสำรวมไม่ขาด ระหว่างวันก็คอยพิจารณาตัวเองอยู่ตลอด แบบนี้ถือว่าวันนั้นๆเราได้ภาวนาไหมคะ ไม่อยากขาดการภาวนาอ่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 19 ธ.ค. 2010, 08:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
เรียกว่า....เจริญสติ..ครับ มรรคข้อ 7 |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 19 ธ.ค. 2010, 08:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
อธิบายให้เข้าใจเบื้องต้นก่อนนะ.. ภาวนามีสองอย่าง คือ สมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา - สมถะภาวนา คือ ทำใจให้สงบ ไม่คิดไม่นึก ต้องการความสงบเป็นใหญ่ เรียกว่า ทำสมาธิหรือการฝึกสติ เจริญสติ ทำได้ทุกอริยบท - วิปัสสนาภาวนา คือ การคิด การพิจารณาหาเหตุหาผล ต้องการความรู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องนั้นเรื่องนี้ เรียกว่า การใช้ปัญญา ทำได้ทุกอริยบทเช่นกัน เช่น.. - ยืน เดิน นั่ง นอน กำหนดพุทโธ กำหนดลมหายใจ ยุบหนอพองหนอ กำหนดการเคลื่อนไหวของกาย เรียกว่า สมถะภาวนาหรือการทำสมาธิ - ยืน เดิน นั่ง นอน คิด พิจารณา ร่างกายเป็นของสกปรก ปฏิกูล ระลึกถึงความตาย เรียกว่า วิปัสสนาภาวนาหรือการใช้ปัญญา หากเราทั้งคอยระวังรักษาใจและพิจารณาไปพร้อมกัน ก็เรียกว่าทำทั้งสมาธิและวิปัสสนา Hanako เขียน: แล้วถ้าบางวันเราไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม แต่เรื่องคอยระวัง คอยสำรวมไม่ขาด ระหว่างวันก็คอยพิจารณาตัวเองอยู่ตลอด แบบนี้ถือว่าวันนั้นๆเราได้ภาวนาไหมคะ ไม่อยากขาดการภาวนาอ่ะค่ะ อย่างนี้เรียกว่า ผู้มีสติ มีสมาธิ เป็นการเจริญสติเฝ้าระวังรักษาใจ สำรวมใจไม่ให้ส่งส่ายไปในทางที่เป็นโทษแก่ตนเอง ถ้าทำบ่อยจนเป็นนิสัยเป็นปัจจัย วันหนึ่งไม่ช้า คงหนีจากข้าน้อยและผองเพื่อนไปแน่ๆ เลย.. ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 19 ธ.ค. 2010, 09:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
ภาวนา แปลว่า ทำให้มาก เจริญให้มากซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย กุศลธรรมที่ได้เพียรพยายามทำด้วยความเพียรทั้งหลาย ได้ชื่อว่า ภาวนา ภาวนา ๓ คือ การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล ๑ การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล ๑ การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก [โลกุตรกุศล] ๑ การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก เป็นส่วนประณีตอย่างเดียว ภาวนา ๔ คือ เมื่อแทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดสมุทัยสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดนิโรธสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดมรรคสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ ภาวนา ๔ นี้ ฯ [๖๙] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ เอสนาภาวนา ๑ ปฏิลาภภาวนา ๑ เอกรสาภาวนา ๑ อาเสวนาภาวนา ๑ ฯ เอสนาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั้น มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา ฯ ปฏิลาภภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรมทั้งหลายที่เกิดในสมาธินั้น ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา ฯ [๗๐] เอกรสาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน... เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว เพราะอสัทธิยะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัทธาพละเพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกันเมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะโกสัชชะ ... เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะปมาทะ ... เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญาพละ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น ... เมื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่า ซาบซ่านไป ...เมื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ ... เมื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ... เมื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทางโพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอุเบกขาสัมโพชฌงค์เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็นชอบ องค์มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าองค์มรรคทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าตรึก ... เมื่อเจริญสัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดเอา ... เมื่อเจริญสัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ... เมื่อเจริญสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว ...เมื่อเจริญสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญสัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าองค์มรรถทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้ ชื่อว่าเอกรสาภาวนา ฯ [๗๑] อาเสวนาภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งสมาธิที่ถึงความสำราญ ตลอดเวลาเช้าก็ดี ตลอดเวลาเที่ยงก็ดีตลอดเวลาเย็นก็ดี ตลอดเวลาก่อนภัตก็ดี ตลอดเวลาหลังภัตก็ดี ตลอดยามต้นก็ดีตลอดยามหลังก็ดี ตลอดคืนก็ดี ตลอดวันก็ดี ตลอดคืนและวันก็ดี ตลอดกาฬปักษ์ก็ดี ตลอดชุณหปักษ์ก็ดี ตลอดฤดูฝนก็ดี ตลอดฤดูหนาว ชื่อว่าอาเสวนาภาวนา |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 19 ธ.ค. 2010, 13:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
ภาวนา แปลว่า การทำให้เกิดมี การทำให้มีให้เป็น การทำให้เจริญ การเจริญ การเพิ่มพูน การบำเพ็ญ การอบรม หรือฝึกอบรม “ภาวนา” ศัพท์เดียวยังมีความหมายเป็นกลางๆ หากต้องการว่าภาวนาอะไรกันแน่เติมศัพท์เฉพาะเข้ามา เช่น กายภาวนา (กาย+ภาวนา) การฝึกอบรมกาย จิตตภาวนา (จิตต+ภาวนา) การฝึกอบรมจิต ปัญญาภาวนา (ปัญญา+ภาวนา) การฝึกอบรมปัญญา บริกรรมภาวนา (บริกรรม+ภาวนา) อุปจารภาวนา (อุปจาร+ภาวนา) อัปปนาภาวนา (อัปปนา+ภาวนา) สมถภาวนา (สมถ+ภาวนา) การเจริญสมาธิ (ในที่นี้หมายถึงเจริญหรือภาวนาสมาธิล้วน) วิปัสสนาภาวนา (วิปัสสนา+ภาวนา) การเจริญปัญญา ให้แนวคิดกว้างๆอย่างนี้คงพอมองออกมองเห็นแล้วว่า ว่าตนจะภาวนาอะไร ตอนไหน |
เจ้าของ: | Hanako [ 19 ธ.ค. 2010, 19:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
แสดงว่า ระหว่างวันที่เราคอยระวังกาย วาจานี่ เป็นการอบรมกาย เป็นกายภาวนาใช่ไหมคะ ถ้าได้นั่งสมาธิก็เป็นการอบรมจิต เข้าใจอย่างนี้ถูกอ่ะเปล่า ![]() ![]() ขอบคุณทุกคำตอบเลยนะคะ ขอบคุณมากๆ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Hanako [ 19 ธ.ค. 2010, 19:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
ปล. อ้างคำพูด: อย่างนี้เรียกว่า ผู้มีสติ มีสมาธิ เป็นการเจริญสติเฝ้าระวังรักษาใจ สำรวมใจไม่ให้ส่งส่ายไปในทางที่เป็นโทษแก่ตนเอง ถ้าทำบ่อยจนเป็นนิสัยเป็นปัจจัย วันหนึ่งไม่ช้า คงหนีจากข้าน้อยและผองเพื่อนไปแน่ๆ เลย.. อ่า..อีกนานเลยค่ะ เรายังเดินตามหลังใครๆอีกนานเลยล่ะค่ะ มีอะไรช่วยแนะนำด้วยน้าคะ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Bwitch [ 19 ธ.ค. 2010, 22:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
![]() |
เจ้าของ: | อนัตตาธรรม [ 19 ธ.ค. 2010, 23:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
![]() "ภาวนา" มีความหมายและสิ่งที่จะปฏิบัติมากกว่าการทำสมาธิและเดินจงกรม ภาวนาแปลว่า เจริญ ทำให้เกิดขึ้นมีขึ้น มักใช้ตามคำนำหน้าซึ่งเป็นชื่อของการกระทำ การภาวนามี 2 อย่างคือ สมถะภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา ความหมายของสมถะภาวนาและวิปัสสนาก็ดังที่เพื่อนกัลยาณมิตรทั้งหลายอธิบายไว้ข้างต้น มีความหมายของการภาวนาที่แสดงไว้เป็นนัยยะอีกอย่างหนึ่งที่น่าพิจารณาและเรียนรู้ไว้คือ คำว่า "วิปัสสนาภาวนา" ประกอบด้วยคำว่า "วิปัสสนา" กับคำว่า "ภาวนา" วิปัสสนาก็คือ "สัมมาทิฐิ" ความเห็นถูกต้อง ภาวนาก็คือ "สัมมาสังกัปปะ" ความพิจารณาถูกต้อง เพราะฉะนั้น การเจริญวิปัสสนาภาวนาจึงหมายถึงการเจริญปัญญาสองประการกล่าวคือสัมมาทิฐิกับสัมมาสังกัปปะนั่นเอง สัมมาทิฐิเป็นผู้เห็นจิต เจตสิก รูป ที่เกิด-ดับ เปลี่ยนแปลงไป ไม่อยู่ในอำนาจของใคร หรือบังคับบัญชาไม่ได้อยู่ เรียกว่า "เห็นสภาวะปรมัตถ์" สัมมาสังกัปปะเป็นผู้พิจารณาหรือชี้บอกว่า สิ่งที่สัมมาทิฐิเห็นอยู่นั้นเป็นอนัตตา บังคับบัญชามิได้ การเจริญวิปัสสนาภาวนาจึงเป็นการฝึกฝนอบรมปัญญาสองประการนี้โดยเพียรอย่างต่อเนื่องยาวนาน ปัญญาสองประการเป็นผู้เห็นผู้พิจารณา จิต เจตสิก รูป (เน้นหนักลงไปที่จิต เพราะจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน) จิต เจตสิก รูป เป็นผู้ถูกเห็นถูกพิจารณา (ปัญญาสองประการเป็นผู้กระทำ จิต เจตสิกเป็นฝ่ายถูกกระทำ ถูกเห็น ถูกพิจารณา) วิปัสสนาภาวนาดังกล่าวนี้เป็นเหตุแห่งมรรคผลนิพพาน กล่าวคือเมื่อปฏิบัติไปอย่างนี้จนปัญญาทั้งสองมีกำลังเต็มร้อยเปอร์เซ็นแล้ว (อกาลิโก) จะก่อให้เกิดมรรคญาณขึ้นมาตัดกิเลส เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นมาตัดกิเลสแล้วก็เกิดผลคือความสงบเย็นแห่งกิเลส เป็นนิพพาน วิธีการปฏิบัติมี 5 ขั้นตอน 1. หลับตาเนื้อ 2. เปิดตาปัญญา (ปัญญาสัมมาทิฐิทำงาน) 3. ดูลงในขันธ์ของตน โดยดูและพิจารณาตรงที่วิญญาณเป็นหลัก (วิญญาณคือใจรู้) 4. ในขณะที่อารมณ์ภายนอกเช่น รูป เสียง ฯลฯ หรืออารมณ์ภายในเช่น อาการเจ็บปวดร้อนหนาวหนักแข็งเบาอ่อนนิ่มหรือจิตฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมา 5. ให้พิจารณาว่ามิใช่ตัวตนเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ (ปัญญาสัมมาสังกัปปะทำงาน) กล่าวให้สั้นเข้าใจง่ายก็คือให้เจริญปัญญาสองประการเท่านั้นนั่นเอง โดยใช้ปัญญาสัมมาทิฐิเห็นรูปธาตุนามธาตุที่เป็นอนัตตา และใช้ปัญญา สัมมาสังกัปปะพิจารณารูปธาตุนามธาตุกายใจที่สัมมาทิฐิเห็นนั้นว่ามิใช่ตัวตนเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ ปฏิบัติอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 20 ธ.ค. 2010, 09:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
Hanako เขียน: แสดงว่า ระหว่างวันที่เราคอยระวังกาย วาจานี่ เป็นการอบรมกาย เป็นกายภาวนาใช่ไหมคะ ไม่ใช่.. ที่เราคอยระวังกาย วาจานี่ เป็นการสำรวมใจ "เพราะ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน" เป็นการสำรวมระวังรักษาใจหรือเป็นรักษาศีลและกรรมบท ๑๐ นั่นเอง เมื่อใจสงบเป็นปกติ กาย วาจา ก็เป็นปกติ..เรียกว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" Hanako เขียน: ถ้าได้นั่งสมาธิก็เป็น การอบรมจิต เข้าใจอย่างนี้ถูกอ่ะเปล่า ไม่ถูกเสียที่เดียว ยืนเดินนอนก็อบรมจิตได้ บางคนนั่งสมาธิ กิเลสก็เอาไปกินได้ ทั้งๆ ที่คิดว่าตนเองกำลังอบรมจิต กำลังทำสมาธินี่แหละ .. (ข้าน้อยเองแหละ..อิอิ.. ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Hanako [ 20 ธ.ค. 2010, 09:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเท่านั้นหรือเปล่า |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ปล. ชอบรูปโฉมบอร์ดแบบใหม่นี้จังเลย สวยงาม ดูเป็นระเบียบ แต่ว่าจะลองให้คะแนน ยังไม่ได้ลองเลย อิอิ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | อินทรีย์5 [ 07 ม.ค. 2011, 22:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
อ้างคำพูด: แต่ยังไงรักษากาย วาจา ใจให้เรียบร้อยไว้ก่อนก็เป็นการถุกต้องแล้วใช่ไหม ยังไงก้ต้องนอนให้เยอะๆด้วยครับเพื่อรักษากาย และพยายามอย่าให้ตัวเองฟุ้งซ่านเพื่อรักษาใจ หรือรักษากายและใจแบบวิธีลัด วิธีที่ทำสมาธิได้ดีกว่าการนั่งสมาธิ-เดินจงกรม คือฝึกจิตให้มีสติในอริยาบถย่อยในแต่ละวันที่ตัวเอง พอทำได้ด้วย เพราะอริยาบถย่อยถ้าจับมานับรวมมีมากถึง 90%ของเวลาทั้งหมดในแต่ละวัน ถ้าจิตมีสติกำหนดรู้ได้ทันก้ถือว่าไม่ขาดจากการทำสมาธิแล้ว และได้ผลดีกว่าคนที่เดินหรือนั่งเพียงอย่างเดียว มากกว่าหลายเท่าด้วยคับ |
เจ้าของ: | ทักทาย [ 09 ม.ค. 2011, 03:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเ่ท่านั้นหรือเปล่า |
อนุโมทนา สาธุค่ะ ![]() |
เจ้าของ: | Hanako [ 09 ม.ค. 2011, 06:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเท่านั้นหรือเปล่า |
ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ![]() |
เจ้าของ: | อิสระ [ 22 ม.ค. 2011, 15:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การภาวนาหมายถึงการนั่งสมาธิ-เดินจงกรมเท่านั้นหรือเปล่า |
Hanako เขียน: การที่เราคอยสำรวมใจ สำรวมอยู่ในศีล คอยระวังไม่พูดร้าย ไม่คิดร้าย คอยพิจารณาร่างกายและระลึกถึงความตายอยู่เรื่อยๆ อย่างนี้เป็นการภาวนาหรือเปล่าคะ เพราะบางวันท็ทำงานเยอะเหลือเกิน ง่วงมากมาย เช่น เมื่อวานพอกราบพระสามที นั่งหลับตาเท่านั้นแหล่ะ หลับเลย (- -")/ Zzzz หลับในท่านั่งนั่นเอง ยังไม่ได้บริกรรมสักคำเลย ก็ไม่ไหวต้องไปนอน (แต่มานั่งสมาธิชดเชยตอนเช้าแระ) แล้วถ้าบางวันเราไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม แต่เรื่องคอยระวัง คอยสำรวมไม่ขาด ระหว่างวันก็คอยพิจารณาตัวเองอยู่ตลอด แบบนี้ถือว่าวันนั้นๆเราได้ภาวนาไหมคะ ไม่อยากขาดการภาวนาอ่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() ที่ทำสีแดงไว้ เรียกว่า รักษาศีลครับ ยังไม่ใช่ภาวนา ที่ทำสีน้ำเงินไว้ เรียกว่า อบรมจิตขั้นการคิด พิจารณาคับ ยังไม่ใช่ภาวนา ภาวนา คือ อยู่กับปัจจุบัน มีสติอยู่กับปัจจุบัน สมถะภาวนา คือ มีสติอยู่กับปัจจุบัน เพียงสิ่งเดียว เช่นลมหายใจ หรือกสินต่าง ๆ วิปัสนาภาวนา คือ มีสติอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น โดยไม่บังคับ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นปัจจุบัน มีสติตามรู้ไม่ว่าจะเป็นกาย หรือใจก็ตาม |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |