ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=33690 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | chalermsak [ 08 ส.ค. 2010, 09:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
ท่านพุทธทาส ท่านมีอคติต่อพระอภิธรรม และสำนักวิปัสสนา ที่ตั้งโดยคณาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร ของท่านพุทธทาส อ้างคำพูด: ปาฏิหาริย์เกี่ยวกับอภิธรรมปิฏกที่สำคัญก็คือเรื่องว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วแสดงอภิธรรมที่นั่น โปรดเทวดาที่เคยเป็นพระมารดาของท่าน นี่คือพระมหาปาฏิหาริย์ แล้วก็มีปาฏิหาริย์ที่เนื่องกัน เช่นต้องแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อน แล้วขึ้นไปอย่างไร แล้วลงมาอย่างไร แต่เรื่องสำคัญมันว่าขึ้นไปบนเทวโลกแสดงอภิธรรม ซึ่งชาวบ้านหรือนักปราชญ์ในเมืองมนุษย์ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไปแสดงแก่เทวดาให้รู้เรื่องได้ เทวดาซึ่งเอาแต่เล่นแต่กินแต่สบายนั้นน่ะ เรื่องนี้ขอให้ทนฟังอาตมาเล่านิดหน่อย เรื่องว่า พระพุทธเจ้าขึ้นไปบนเทวโลกนั้นนะ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีในพุทธศาสนาของเรา เพราะว่าในศาสนาอื่นๆหรือแม้ว่าไม่เกี่ยวกับศาสนาเป็นลัทธิอื่นนั้นเขาจะมีว่าศาสดาของเขา หรือบุคคลสำคัญของเขาต้องเคยขึ้นไปบนเทวโลกทั้งนั้น แล้วในฝ่ายพุทธศาสนาถ้าพูดว่าเราไม่มีมันก็แย่ เพราะฉะนั้นมันต้องมีกับเขาบ้างให้จนได้ ทีนี้มันจะมีได้โดยฝีมือของใคร นี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องมี เพื่อสร้างสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเราจะต้องพูดว่า พระพุทธเจ้าท่านมาเหยียบรอยพระบาทไว้ที่สระบุรี นั้น ถ้าไม่พูดว่าพระพุทธเจ้ามาเหยียบไว้แล้ว ไม่มีใครสนใจหรอก ทีนี้เราจะต้องมีอะไรที่ทำให้สนใจให้เป็นสถาบันเสียก่อน พอมันเป็นสถาบันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชนแล้ว มันใช้ได้แล้ว มันจะจริงหรือไม่จริงก็ช่างมันเถอะ เพราะเขาต้องการสถาบันอันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชน ที่ประเทศอินเดียครั้งกระโน้นก็เหมือนกัน ต้องการสถาบันอันนี้ให้เชื่อว่าพระพุทธเจ้าของเราเก่งไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกคนจะต้องระลึกถึงข้อที่ว่า เราสวดกันอยู่ทุกวันว่า “ สัตถา เทวะมะนุสสานัง” ถ้าเรื่องมันไม่จริงเราก็โกหกทุกวัน เราพูดว่า “ สัตถา เทวะมะนุสสานัง”, “อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง” ท่านเป็นครูทั้งของเทวดาและมนุษย์ ไม่ขึ้นไปบนเทวโลกแล้วจะเป็นครูของเทวดาได้อย่างไร เราก็สวดอยู่ทุกวัน ฉะนั้นเรื่องมันต้องเป็นไปได้ ต้องเข้ารูปกันได้ ฉะนั้นมันก็เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในสมัยนั้น จะเป็นพระมหาเถระที่เป็นประธานสงฆ์ทั้งหมดในเวลานั้นก็ดี หรือจะเป็นพระมหาจักรพรรดิที่รับผิดชอบ เป็นองค์อุปถัมภ์ของพุทธศาสนาในเวลานั้นก็ดี จะต้องช่วยกันรับผิดชอบให้มันเกิดสถาบันอันนี้ให้แน่นแฟ้นลงไปในจิตใจของคนทั้งปวง ว่าพระพุทธเจ้ามีอะไรครบพร้อมหมดทุกอย่าง ทุกเรื่อง แม้กระทั่งขึ้นไปบนสวรรค์ ทีนี้ดูหินสลักที่จำลองมาไว้ที่นี่ หินสลักสมัยสาญจีนี้มัน พศ. ๔๐๐ – ๕๐๐ เท่านั้นเอง เมื่อ พศ. ๔๐๐ – ๕๐๐ มีความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าขึ้นสวรรค์เสร็จแล้ว ไปดูเถอะ เขาสลักบันไดขึ้นสวรรค์ลงสวรรค์ของพระพุทธเจ้าในหินสลักนั้น ฉะนั้นแสดงว่าประชาชนเชื่อกันหมดแล้ว โดยอำนาจของพระราชามหาจักรพรรดิให้สลักเหล่านี้ ประชาชนต้องเชื่อ ในยุคที่มันพ้องกันกันไม่เชื่ออยู่สักครึ่งอายุคน พอตายหมด ยุคหลังมันเชื่อหมดว่าพระพุทธเจ้าขึ้นไปบนดาวดึงส์ นี่ พศ. ๔- ๕๐๐ นี้เป็นอันว่าประชาชนเชื่อแน่นแฟ้นแล้ว มีหินสลักเหล่านี้เป็นพยาน แล้วหนังสือคัมภีร์เรื่องพุทธประวัตินั้นเขียนทีหลังหินสลัก คัมภีร์ลลิตวิตตะหรือว่าพระพุทธจริตะอะไรก็ตาม เรื่องพุทธประวัติมันเขียนทีหลัง เมื่อประมาณ พศ. ๙๐๐ - ๑๐๐๐ เพราะฉะนั้นหนังสือที่เขาเขียนตามหินสลัก หินสลักเขาสลักในสมัยที่ไม่ได้ใช้หนังสือ ทีนี้หินสลักนี้ พศ. ๔-๕๐๐ ถ้าก่อนหินสลัก พศ. ๔ – ๕๐๐ นี้ขึ้นไปอีก มันก็ถึงสมัยพระเจ้าอโศกเท่านั้น หน้า ๗๙ “ พศ. ๔-๕๐๐ มีการสลักภาพหราไปหมด พศ. ๙๐๐- ๑๐๐๐ ก็เขียนหนังสือ เป็นคัมภีร์พุทธประวัติ อย่างปฐมสมโพธิ ที่เราเรียกในเมืองไทยว่า ปฐมสมโพธิ ในอินเดียก็มีคือคัมภีร์ลลิตวิตตะระ คัมภีร์พุทธจริตะ มันก็มีเรื่องดางดึงส์ ฉะนั้นเรื่องขึ้นดาวดึงส์ต้องมี จริงไม่จริงก็ตามใจ มันต้องให้ฝังอยู่ในจิตใจของประชาชน ว่าพระพุทธเจ้าเป็นสัตถาเทวมนุสสานัง สอนทั้งในเทวโลก มนุษย์โลก นี้เราเห็นใจยอมรับว่าจะต้องมี แต่ที่จะให้เราถือว่าเป็นความจริงนั้นมันไม่ได้ นี้เราไม่งมงายเราถือตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าดีจริง คำสอนของพระพุทธเจ้าดีจริง โดยไม่ต้องขึ้นไปบนเทวโลกหรอก ยิ่งไม่ขึ้นไปบนเทวโลกเสียอีกพระพุทธเจ้าจะเก่งกว่า สำหรับเรามันเป็นอย่างนี้ แต่สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งมีแต่ความเชื่อนั้น มันต้องเป็นอย่างโน้น เดี๋ยวนี้เราจะอยู่ในลักษณะที่มันถูกต้องหรือพอดี เราจึงกล้าวิจารณ์เรื่องปาฏิหาริย์ไปบนเทวโลก ว่ามันไม่สมเหตุผลอยู่ในตัวมันเอง ในเรื่องราวนี้มันจะมองกันในแง่วิจารณ์อย่างอิสระ ข้อแรกจะมองตามความ วิตถารที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าขึ้นไปบนดาวดึงส์เพื่อเทศน์แก่พวกเทวดานั้น จะขอเล่าเพื่อคนบางคนที่ยังไม่รู้เรื่อง คนที่รู้เรื่องแล้วทนเอาหน่อย พระพุทธเจ้าต้องขึ้นไปจำพรรษาบนดาวดึงส์ ๓ เดือน เพื่อจะเทศน์โปรดบุคคลที่เคยเป็นพุทธมารดา เป็นประธานในเทวดาทั้งหลาย ทีนี้ท่านทำอย่างไร ท่านเป็นคนอย่างเราๆท่านต้องฉันข้าว แล้วจะอยู่บนนั้น ๓ เดือนได้อย่างไร เช้าขึ้นท่านต้องบิณฑบาต ในเมืองมนุษย์ข้อความเล่าว่า กลับไม่ลงมาสู่บ้านที่ท่านเคยอยู่คือชมพูทวีปนี้ แต่ก็ไปบิณฑบาตเสียที่อุตตรกุรุทวีปคือจะเป็นหลังภูเขาหิมาลัยไปทางประเทศรัสเซียโน้น ไปบิณฑบาตทางโน้น แล้วก็มาฉันที่ตีนเขาหิมาลัย ที่สระอโนดาดเพื่อให้พระสารีบุตรไปเฝ้าที่นั่นทุกวัน แล้วก็แสดงแก่พระสารีบุตรว่าวันนี้ได้เทศน์อะไรที่บนดาวดึงส์ พระสารีบุตรก็จำเอามา แล้วก็มาบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ รูปช่วยจำเอาไว้ ทุกวันทำอย่างนี้ แต่พระพุทธเจ้าท่านต้องลงมาบิณฑบาตในเมืองมนุษย์ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในเมืองมนุษย์ เพราะมันทำบนเทวโลกไม่ได้ ทำอย่างนี้จนครบ ๓ เดือน หรือพรรษาหนึ่ง ทีนี้ถามว่า เมื่อท่านลงมาบิณฑบาตและฉันอาหารนี้พวกเทวดาไม่คอยแย่หรือ ? ก็มีเรื่องว่าท่านเนรมิตพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง ให้แสดงธรรมแทนอยู่เหมือนที่ท่านแสดง พวกเทวดามันก็ไม่รู้ -- มันโง่ ทีนี้ ๓ เดือนในประเทศไทย ๑ พรรษา ๓ เดือนในประเทศไทย มันเท่ากับ ๒- ๓ ชั่วโมงในเทวโลก มันก็ยิ่งไม่รู้ซิ คุณเคยรู้เรื่องเปรียบเทียบเวลาเกี่ยวกับอย่างนี้หรือเปล่า : ๑ วัน ในเทวโลกเท่ากับกี่ร้อยปีในเมืองมนุษย์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ๓ เดือน พรรษาหนึ่งอย่างมนุษย์นี้เท่ากับ ๒-๓ ชม. ในเมืองเทวดา แล้วเวลาระหว่างนั้นพระพุทธเจ้าต้องลงมาบิณฑบาตที่นี่ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะที่นี่ตั้ง ๙๐ ครั้ง ๒-๓ ชม. ในเมืองเทวดานั่น เอาละเป็นอันว่าท่านทำได้อย่างนั้น นี้เราก็สงสัยว่าทำไมต้องไปบิณฑบาตฝ่ายอุตตกุรุซ่อนตัวอย่างนี้ทำไม มาบิณฑบาตกับพวกเราตามเคยไม่ได้หรือ นี้มันส่อพิรุธอย่างนี้ แล้วเมื่อพระพุทธเจ้าลงมาบิณฑบาตฉันอยู่ทางนี้ พระพุทธนิมิตทางโน้นพูดว่าอะไร รู้ได้อย่างไร หรือท่านยังบันดาลให้ท่านพูดอยู่ แล้วท่านฉันข้าวไปพลางอย่างนั้นหรือ มันเป็นเรื่องที่ชวนให้วิจารณ์อย่างนี้เรื่อยไป ทีนี้เรื่องทั่วไปในพระไตรปิฏกมีว่า เทวดาก็ลงมาในเมืองมนุษย์เฝ้าพระพุทธเจ้าหรืออะไรบ่อยๆ ทำไมพระพุทธเจ้าไม่เรียกเทวดาลงมาประชุมกันที่เมืองมนุษย์ล่ะ เรียกเทวดาทั้งหลายลงมาประชุมกันเสียที่เมืองมนุษย์ มันคงทำไม่ได้อีกแหละ ๒-๓ ชม. ของพวกโน้นมันเท่ากับ ๓ เดือนของพวกนี้ มันทำไม่ได้อย่างนี้ ทีนี้ถ้าว่าเราดูเรื่องที่พูด โผล่ขึ้นมาก็กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมานี้ เทวดาฟังไม่รู้เรื่องแน่ โผล่ขึ้นมาถึงก็พูดอย่างนี้ เทวดาฟังไม่รู้เรื่องแน่ แล้วยิ่งแจกขันธ์แจกธาตุแจกอายตนะซับซ้อนลึกซึ้งออกไป ก็ยิ่งฟังไม่รู้เรื่อง เพราะไม่ได้พูดถึงเรื่องบุคคลอย่างบุคคลาธิษฐานที่มีความทุกข์ ต้องการจะดับทุกข์อย่างนี้ ท่านไม่เคยพูด ก็เป็นอันว่าเรื่องที่แสดงแก่พุทธมารดานั้นมันไม่อยู่ในวิสัยที่ท่านจะฟังถูก ให้คุณไปเปิดดูอย่างที่ขอร้องเมื่อตะกี้ว่าอุตส่าห์ไปซื้ออภิธรรมปิฏกมาอ่านดู คุณจะรู้สึกตัวเองว่าเทวดาฟังไม่ถูก นี่มันมีข้อที่วิจารณ์อย่างนี้ ทีนี้ดูสำนวนที่มันอยู่ในบาลีอภิธรรมปิฎกนั้น มันเป็นสำนวนอีกชนิดหนึ่งไม่เหมือนกับสำนวนในสุตตันตปิฏก แล้วมันส่อว่าเป็นสำนวนรุ่นหลัง สำนวนทีหลังซึ่งเลวลงมาและอีกทีหนึ่งก็เป็นสำนวนสอนเด็กในโรงเรียน ตามวิธีหนังสือที่ทำมันให้ชัดเจนรัดกุมตายตัว เหมือนกับหนังสือสำนวนสอนเด็กในโรงเรียนอย่างนั้น คือสำนวนที่ใช้สอนในโรงเรียน ว่าอย่างนั้นก็ได้ แม้ไม่ใช่เด็ก แม้ไม่ใช่เด็ก แต่เป็นสำนวนสอนในโรงเรียน อภิธรรมปิฏกเป็นอย่างนี้ ส่วนสุตตันตปิฏกนั้นเป็นสำนวนพูดกับชาวบ้าน พูดกับมนุษย์ตามปกติเลย แล้วแต่เรื่องอะไรมันจะเกิดขึ้น ไม่ใช่สำนวนในโรงเรียน อภิธรรมปิฏกสำนวนในโรงเรียนสอนตรรกวิทยา จิตวิทยา , ส่วนสุตตันตปิฏก นี้เป็นสำนวนพูดกันธรรมดาในเรื่องความดับทุกข์ นี้มันเป็นข้อที่ชี้ให้เห็นว่าทำไมพระอาจารย์ผู้เขียนอรรถกถาสมันตปาสาทิกานี้อาจารย์ผู้นี้เคร่งครัดอย่างยิ่ง conservative อย่างยิ่ง คือพระพุทธโฆษาจารย์ เขียนว่า อภิธรรมปิฏกนี้มันรวมอยู่ในขุททกนิกาย ลองคิดดู ทีนี้ดูอีกแง่หนึ่งว่าสุตตันตปิฏกทุกเรื่องที่เกิดขึ้นจะระบุสถานที่ที่เกิดเรื่อง แล้วพระพุทธเจ้าตรัส แล้วตรัสแก่ใคร บอกเป็นเรื่องๆ ไปเลย ส่วนในพระอภิธรรมปิฏกไม่บอก ไม่มีบอกว่าตรัสแก่ใครที่ไหน ไม่มีบอกว่าตรัสแก่พุทธมารดาในสวรรค์ ที่ว่าตรัสแก่พุทธมารดาในสวรรค์นั้น มันคนทีหลังว่า ไม่มีอยู่ในตัวพระไตรปิฏกเอง ไม่มีอยู่ในอรรถกถาของอภิธรรมโดยตรงเอง มีแต่ในหนังสือที่คนชั้นหลังแต่ง ชั้นหลังว่า นี่พวกเรามันโง่ว่าพระพุทธเจ้าว่าหรือว่าในอภิธรรมปิฏกมันว่า มันเป็นอย่างนี้ ขออภัยพูดหยาบคายหน่อย ในอภิธรรมปิฏกมันไม่มีบอกว่าพระพุทธเจ้าตรัสที่นั้นที่นี่ มันโผล่ขึ้นมาก็เป็น กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมาเลย แล้วเป็นสำนวนสอนในโรงเรียน ไม่ใช่สำนวนพูดกับคน ทีนี้ที่น่าคิด : สุตตันตปิฏกมีหลักฐานเรื่องที่พูด ; เรื่องคนฟังอะไรเสร็จหมด แล้วก็ไม่ขู่ใครๆว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก ในตัวสุตตันตปิฏกเองก็ไม่ได้ขู่ว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก. พระอรรถกถาจารย์ของสุตตันตปิฏกทั้งหลายก็ไม่ขู่ใครว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก แต่อภิธรรมปิฏกนี้ประหลาดมีการขู่โดยใครก็ตามใจ กระทั่งเดี๋ยวนี้ว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก ทำไมของดีวิเศษจะต้องมาขู่กันอย่างนี้ นี่ก็ช่วยเอาไปคิดดูด้วย เมื่ออภิธรรมปิฏกมีปาฏิหาริย์ถึงอย่างนี้แล้ว ว่าพระพุทธเจ้าไปเทศน์บนดาวดึงส์ก็เชื่อแล้ว ทำไมจะต้องเอามาขู่ว่า ถ้าไม่เชื่อจะต้องตกนรกอีกล่ะ มันขัดขวางกันอย่างยิ่ง ทีนี้ที่ประหลาดต่อไปอีกก็คือว่า มันพูดแต่เรื่องตัวหนังสือขยายาความ พูดเป็นอักษรศาสตร์ การขยายความ ทางตรรกวิทยา ทางจิตวิทยา, ไม่พูดเรื่องการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เลย. เรื่องสมถะ เรื่องวิปัสสนา มีนิดเดียว หรือเรียกได้ว่าไม่มีในอภิธรรมปิฏก. ในอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉท นั้น มีอยู่สักครึ่งปริเฉทเท่านั้นที่จะพูดถึงตัวการปฏิบัติ, แล้วก็เอ่ยถึงสักแต่ว่าชื่อ แล้วก็ไม่แปลกออกไปจากสุตตันตปิฏกที่ตรงไหนเลย. แต่ไปพูดเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เรื่องเหตุ เรื่องอะไรต่าง ๆ ไม่รู้กี่ปริเฉทต่อกี่ปริเฉท มากมายหลายหมื่นหลายแสนคำพูด ; นี้มันน่าสงสัย เดี๋ยวนี้อย่าไปเข้าใจว่า คำสอนทั้งหมดในคัมภีร์อภิธรรมนั้นมันเป็นอภิธรรมแท้ของพระพุทธเจ้า เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างใต้ดิน นี้เลิกกันเสียที ขอร้องซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าสวรรค์ข้างบน นรกข้างใต้นี้เลิกกันเสียที มันโง่เกินไป เพราะว่ามันไม่มีข้างบนข้างล่าง โลกกลมๆนี้ มันมีจุดดูดอยู่ที่ตรงกลางแล้วมันดูดเข้าหาจุดๆนี้เพราะฉะนั้นข้างนอกออกไปมันเป็นข้างบน ข้างฝ่ายนี้มันเป็นข้างล่างรอบตัว เอาส้มโอสักลูกหนึ่ง ฝังแม่เหล็กที่แรงมากๆไว้ตรงศูนย์กลางส้มโอ แล้วก็เอาตุ๊กตาที่ทำด้วยเหล็กตัวเล็กๆมากๆ มาติดไว้รอบส้มโอเลย แล้วคุณจะรู้ว่าไม่มีข้างบนข้างล่าง นี่แหละความรู้สึกว่าข้างบนข้างล่างนี้คือความหลอกลวงของ Gravity ของโลก พวกที่บินไปถึงโลกพระจันทร์เขารู้เรื่องนี้ดี แล้วเขาจะหัวเราะพวกอภิธรรมที่มัวสอนอยู่ว่าสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่าง ฉะนั้นเลิกมันได้แล้ว เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างนี้ มันเป็นเรื่องที่เลิกกันได้แล้ว ทีนี้ถ้าว่าเกินไปกว่านั้น ก็ใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ขอให้ระวังให้ดี มันจะเผลอถึงกับใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ แสวงหาเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ โดยใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือ อย่างนี้แล้วหมดเลย. มันผิดความประสงค์ มันผิดอะไรหมด ขอให้ระวังในส่วนนี้ด้วย ว่าประโยชน์มันจะเลยขอบเขตไปถึงอย่างนี้. ถ้ามันถึงอย่างนี้แล้วนักอภิธรรมนั้นจะตกอยู่ในธรรมดำ มีจิตใจประกอบไปด้วยกิเลส หวงแหน หรือว่าขายเป็นสินค้า หรือว่าใครไปแตะต้องเข้านิดเดียวก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ. อาตมาพูดประโยคเดียวว่าอภิธรรมมิได้อยู่ในรูปของพุทธวจนะ นี้ถูกด่าตั้งกระบุงโดยพวกที่หวงอภิธรรม. นี่คือมันหลงยึดมั่นถือมั่นเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์มากเกินไปแล้ว. ทีนี้เลยไปกว่านั้น ก็ว่าเดี๋ยวนี้ถูกเขาใช้อภิธรรมเป็นเครดิตของสำนักวิปัสสนา. สำนักวิปัสสนาไหนต้องยกอภิธรรมขึ้นป้ายเป็นเครดิต เอามาเรียนกันก่อน เป็นนักอภิธรรมกันก่อน. ครั้งพุทธกาลไม่เคย และไม่เกี่ยวกันกับนักวิปัสสนา. อภิธรรมเป็นข้าศึกกันกับวิปัสสนา; เดี๋ยวนี้เอาอภิธรรมมาเป็นป้าย เป็นยี่ห้อ เป็นเครื่องมือ โฆษณาชวนเชื่อของวิปัสสนา. ------------------------------------------------------- ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14797 ![]() ![]() ![]() --------------------------------------- จากทิฏฐิของท่าน จะเห็นว่า ท่านมีอคติตั้งประวัติพระอภิธรรม, พระอภิธรรมปิฏก, พระอภิธัมมัตถสังคหะ รวมไปถึงสำนักเรียนพระอภิธรรมต่าง ๆ และ สำนักวิปัสสนาที่ตั้งโดยคณาจารย์สายนี้ ศิษย์เอกของท่านที่รับทิฏฐินั้นมาเต็ม ๆ คือ คุณ mes ที่ยกย่องท่านมากเสียยิ่งกว่า พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท สังเกตจากกระทู้ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเชิดชูทิฏฐิของอาจารย์ตนเท่านั้น |
เจ้าของ: | chalermsak [ 08 ส.ค. 2010, 09:18 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
viewtopic.php?f=2&t=33567&st=0&sk=t&sd=a&start=15 อ้างคำพูด: คุณ mes เขียน ผมเข้าไปที่เหลิมศาลาโกหกมาทำให้คิดถึงร้านรับซื่อของเก่าอย่างไหงอย่างนั้น มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง เมื่อยี่สิบกว่าปีผ่ามาแล้ว มีสำนักหนึ่งตั้งขึ้นแล้วใช้ชื่อว่าสำนักอภิธรรม เจ้าสำนักโฆษณาว่าตนเองเป็นผู้บรรลุธรรมสามารถไปสวรรค์นรกได้ตามใจตน อภิธรรมที่ใช้ตั้งชื่อชักจะไม่ใช่อภิธัมมัตถะเสียแล้วเป็นอภิธรรมชาติ ปรากฎว่ามีคนแห่กันมาที่สำนักนี้มากมายเหมือนวักธรรมกายปัจจุบันก็คงมีการหลอกให้ทำบุญกันตามธรรมเนียมปฏิบัติ ปรากฎว่าสำนักนี้ร่ำรวยเงินทองมาก กิจกรรมที่สำนักนี้จัดเป็นกิจวัตร์คือ พาเทียวสวรรค์ทัวร์นรก ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ก็มีท่านคึกฤทธิ์ ท่านสัญญา อาจารย์เสฐียรพงษ์ และแน่นอนท่านพุทธทาสออกมา เตือนสติชาวพุทธให้ใช้วิจารณญาณ ส้างความโกรธแค้นกับเจ้าสำนักเป็นอย่างยิ่งที่ตัดทางทำมาหากิน กันดื้อๆอย่างนี้ สมัยที่สำนักนี้รุ่งเรืองสุดขีดถึงกับคิดโอหังแก้พระไตรปิฎกทีเดียว สือมวลชนสมัยนั้นก็เห็นจะมีหนังสือพิมพิ์ที่ทรงอิทธิพลมาก ฉบับที่เกาะติดเรื่องนี้อย่างไม่ปล่อยคือเดลินิวล์ จึงมีการท้าพิสุจน์กันเกิดขึ้น วิธีการคือนักข่าวที่เข้าพิสุจน์จะไปนั่งกัมมฐานที่สำนักอภิธรรมแล้วเจ้าสำนักจะเข้าสมาธิพาไปเที่ยว สวรรค์ทัวร์นรก ปรากฎไม่สมารถทำได้ตามที่โอ้อวด มีการอ้างเหตุผลสารพัด หนังสือพิมพิ์ในยุคนั้นออกมาแฉพฤติกรรมหลอกลวงของสำนักนี้ทุกฉบร้อนถึงเถระสมาคมต้องออกมาประกาศว่าสำนักนี้ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ทางตำรวจจะเอาเรื่องหลอกลวงประชาชน สำนักนี้พยายามใช้มวลชนออกมาเคลื่อนไหว แต่ในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม มวลชนที่ศรัทธาหลงไหลน้อยลงทุกวัน มหาเถระสมาคมออกแถลงการณ์ว่าสำนักอภิธรรมไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นสำนักเถื่อน สำนักนี้จึงหาทางออกด้วยการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ เหลือสาวกอยู่ไม่กี่คนกับลูกหลานในวงศ์ตระกูล หนึ่งในนั้นคือ เฉลิมศักดิ์ ศาลาโกหก เนื่องจากท่านพุทธทาสออกมาแสดงธรรมเปิดเผยถึงธรรมที่แท้ทำให้ผู้ถูกหลอกตาสว่าง สาวกสำนักนี้จึงแค้น และตามชำระหนี้แค้นท่านพุทธทาส เหลิมคือกากเดนของการหลอกลวงจึงมีนิสัยเป็นพวกนักต้มตุ่น เจอใครก็สาธุแสดงอาการผู้ดีจอมปลอม เบืองหลังกักขฬะน่าขยักแขยง เดี๋ยวนี้เปิดเวป เฉลิมศักดิ์ศาลาโกหก สำหรับคนโง่งมงาย ..................................................... ดูทิฏฐิของคุณ mes แล้ว ดูไม่ต่างจากอาจารย์ใหญ่ของท่านเลย คุณ mes ครับ แบบนี้ใครจะกล้าไป นิพพานที่นี้เดี๋ยวนี้ ตามคุณและอาจารย์คุณไปนี้ ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ? http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187 อ้างคำพูด: จากการที่ได้เคย สนทนากับผู้ที่ศึกษา งานของท่านพุทธทาสมาก ๆ มักมีแนวความคิดดังนี้ 1. ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏก (เถรวาท ) โดยเริ่มตั้งแต่ พระอภิธรรม พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับหลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด ( เทวดา เปรต อสุรกาย) (พร้อมที่จะฉีกพระไตรปิฏกทิ้ง ตามอุดมการณ์ของท่าน) -- ไม่ต้องพูดถึง อรรถกถา คัมภีร์อื่น ๆ ของเถรวาท เช่น วิสุทธิมรรค, พระอภิธัมมัตถสังคหะ, มิลินทปัญหา ฯลฯ 2. ปฏิเสธการพูดถึงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ( เห็นว่าเป็นเรื่องสัสสตทิฏฐิทั้งหมด) 3. ยึดถือ ความเห็นของท่านพุทธทาส ยิ่งกว่า พระศาสดา ( พระไตรปิฏก ) โดยอ้าง การตีความของท่านพุทธทาส ที่อ้างว่าเป็นภาษาธรรม (ธรรมาธิษฐาน) ซึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา บางส่วนเป็นภาษาคน (บุคคลาธิษฐาน) บางส่วนถูกดัดแปลงเพิ่มเติมเข้ามาจากศาสนาพราหมณ์ ฯลฯ ----------------------------------------------------- คำวิจารณ์ของท่านพุทธทาสต่อ พุทธวิสัย http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 30962.html |
เจ้าของ: | chalermsak [ 08 ส.ค. 2010, 09:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
คุณ mes ครับ ช่วยคัดลอกทิฏฐิของอาจารย์คุณ จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไรและปฏิจจสมุปบาท(ชุดลอยปทุม) ทั้งเล่มมาลงด้วยสิครับ จะได้รู้ว่า อาจารย์ใหญ่ของคุณคิดอย่างไรกับ พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท คุณ mes ครับ ขอให้ด่าผมในกระทู้นี้ดีกว่าครับ ดีกว่าไปเที่ยว post ในกระทู้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
เจ้าของอภิธรรมชาติสำนักไหนเอ่ย อ้างตัวว่าบรรลุโสดาบันแล้ว ต่อมาบรรลุสกิทาคามี อนาคามี ที่น่าตื่นเต้นคื่อ ผ่าง ผ่าง ผ่าง ผ่าน สำเร็จอรหันต์ เป็นเจโตวิมุติเสียด้วย พิสูจน์ อย่างนี้ต้องพิสูจน์ เจ้าสำนักโชว์ตนว่ามีตาทิพย์ เอาผ้าผูกตาคลุมห้วสามชั้น ขี่จักรยานหลบหลีกเครื่องกีดขวาง โอ้วพระเจ้าจอจค์เขาทำได้จริง ฮูว์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ วันรุ่งขึ้น ไฉนนักมายากลอันดับโลกออกมา ผ้มไม่ใช่อรหันต์ ผมก็ทำอย่างนั้นได้ พิสูจน์ ทำได้ดีกว่า 5555555555555555555555555555555555555555555555555 |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:37 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
วิเคราะห์แนวคิดท่านพุทธทาส พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ส่วนหนึ่งของเสวนา "มองอนาคตผ่านรากฐานความคิดและชีวิตท่านพุทธทาส ‘แล้วเราจะอยู่ในโลกอันแสนวิปริตนี้ได้อย่างไร’" เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คัดลอกมาจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ วันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 07 วิภา จิรภาไพศาล /ในโลกอันแสนวิปริต กับฐานความคิดท่านพุทธทาส / ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลท่านพุทธทาส เครือข่ายธรรมโฆษณ์ พุทธทาส ๑๐๐ ปี ได้จัดงานพุทธทาส ๑๐๐ ปี : ร้อยใจ ฟื้นไทย ให้คืนธรรม เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีพระไพศาล วิสาโล, ดร. ณรงค์ เพชรประเสริฐ และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ร่วมเสวนาในหัวข้อ "มองอนาคตผ่านรากฐานความคิดและชีวิตท่านพุทธทาส 'แล้วเราจะอยู่ในโลกอันแสนวิปริตนี้ได้อย่างไร'" ขณะที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เริ่มการเสวนาจากการวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานของท่านอาจารย์พุทธทาสว่า "ถ้าจะให้อาตมาพูดผ่านแนวคิดของท่าน ในแง่ ๑. คือตนอาจจะอ่านไม่เพียงพอ ๒. การที่จะบอกว่าท่านผู้นั้นเป็นเรื่องยากและที่ต้องระวังมาก ที่นี้แม้แต่ชื่อที่บอกว่ามองอนาคตผ่านแนวคิดและชีวิตของพุทธทาสก็แปลความหมายได้หลายอย่าง แปลง่ายๆ ก็ให้มองอนาคตของมนุษย์ ของสังคม หรือของอะไรก็แล้วแต่ว่าจะเป็นอย่างไร เราเพียงแต่ดูว่ามันจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็น เราไม่ค่อยเกี่ยวข้อง แต่แทนที่จะมองอย่างนั้น อาตมาคิดว่าเราน่ามองแบบมีส่วนรวมว่าอนาคตของโลกควรเป็นอย่างไร แล้วเราจะช่วยทำให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร อาตมาคิดว่าถ้ามองแบบนี้จะมีความหมายสำคัญมากกว่า ส่วนแนวคิดและชีวิตของท่านพุทธทาสซึ่งจะโยงมาหาการที่เราจะต้องเข้าใจแนวคิดชีวิตของท่านพุทธทาส ว่าเราเข้าใจอย่างไร เราก็จะไปมองเรื่องอนาคตที่ว่านั้นจะจัดการไปตามนั้น ตอนนี้มันเป็นเรื่องสำคัญว่าเรามองแนวคิดของท่านพุทธทาสอย่างไร ไม่ใช่ว่าเรามองตรงกันนั้นถูกต้องแล้ว อันนี้เป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน มันกลับมาสู่ปัญหาพื้นฐานเลยว่าตัวแนวคิดของท่านเป็นอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญมาก บางทีอาจเป็นหัวข้อที่ท่านที่ศึกษางานจะต้องมาช่วยกันวิเคราะห์ ถกเถียง และอย่างน้อยก็ไม่ด่วนตัดสิน เพราะว่าแนวคิดของท่านที่มองอะไรกว้างขวางและผลงานเยอะ มีความเสี่ยงภัยเหมือนกัน คือบางคนไปจับอะไรมอง ได้ยินอะไร หรือว่าไปอ่านหนังสือของท่านบางเล่มเห็นข้อความบางอย่างจับเอาเลยว่าท่านคิดเห็นอย่างนั้น จริงอยู่ท่านกล่าวจากความคิดของท่าน แต่เรามองอย่างไม่รู้ความเป็นมาเป็นไปเดิม ไม่รู้แนวคิดพื้นฐานกว้างๆ ของท่าน เราก็มองไปแต่เป็นไปตามความคิดความรู้สึกของเราเอง มันทำให้เกิดปัญหาเหมือนกัน การมองแนวคิดของท่านพุทธทาส ถ้ามองขั้นที่ ๑ เรามองที่เจตนาก่อน เจตนาของท่านเป็นอย่างไร อันนี้เห็นได้ค่อนข้างชัด แม้แต่ชื่อท่านเอง ท่านก็เรียกว่าพุทธทาส แปลว่าทาสของพระพุทธเจ้า ซึ่งถ้าพูดอย่างภาษาเราง่ายๆ ท่านมุ่งอุทิศชีวิตของท่านในการสนองงานของพระพุทธเจ้าอะไรล่ะ สนองงานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับพระสงฆ์ย้ำบ่อยมาก ท่านมีเจตนาพื้นฐานเพื่อจะสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทำให้โลกอยู่ร่มเย็นเป็นสุข อันนี้จริงไหม ถ้าเรายอมรับเราตกลง แล้วเราแน่ใจ เราก็ได้ไปในขั้นเจตนา เมื่อเราได้เจตนาก็ได้ขั้นพื้นฐานเลยมันเป็นตัวนำจิต เพราะว่าจิตของเรากับจิตของท่านจะสอดคล้องกัน ที่นี้เราแน่ใจไหม มันก็ได้ไปส่วนสำคัญ ที่นี้เมื่อมามองงานของท่านที่มีมากมาย อย่างที่พูดเมื่อกี้ ถ้าเราไม่ได้ชัดเจนกับตัวเอง เรื่องของแนวคิดของท่านที่เป็นไปตามเจตนานี้ มันก็เป็นไปในทิศทางที่จะทำให้โลกอยู่เย็นเป็นสุข พอมีแนวคิดพื้นฐานแบบนี้จะช่วยให้การแปลความหมายดีขึ้น เราจะยอมรับไหมว่าแนวคิดนี้แน่ใจ ต่อไปก็มองที่ตัวหนังสือบ้าง คำพูด คำเทศนาของท่าน อาตมาจะยกตัวอย่างเลย บางที่บางคนไปจับเฉพาะบางแง่บางส่วน แล้วจะทำให้เกิดปัญหา เช่น บางทีบางคนอาจจะไปยกคำของท่านมา ที่บอกว่าพระไตรปิฎกนี่ต้องฉีกออกเท่านั้นเปอร์เซ็นต์ เหมือนกับว่ามีส่วนที่ไม่ควรใช้ ไม่ควรเชื่อถือหลายเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ถ้าหากว่าไม่ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวท่าน ตั้งแต่เจตนาพื้นฐาน บางคนก็อาจจะเข้าใจเลยไปว่าพระไตรปิฎกไม่น่าเชื่อถือ บางคนก็ยกไปอ้างในทำนองนี้ หรือเป็นว่าเป็นแนวคิดของท่าน อันนี้ถ้าเราดูพื้นจากที่เป็นมา อย่างที่อาตมาเล่า อาตมามอง เริ่มจากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แล้วก็ต่อมาท่านพุทธทาสออกหนังสือกลุ่มจากพระโอษฐ์เยอะมาก ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์, อริยสัจจากพระโอษฐ์, ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ท่านมีหนังสือแบบนี้แสดงว่าท่าทีหรือว่าทัศนคติของท่านต่อพระไตรปิฎกเป็นอย่างไร อย่างน้อยท่านเอาจริงเอาจังมากกับพระไตรปิฎก ท่านอยู่กับพระไตรปิฎกมามากมาย และตั้งใจค้นคว้า ศึกษาจริง เราจะเห็นข้อความที่ท่านใช้อ้าง แม้แต่ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท เหมือนกับว่าด้านหนึ่งท่านเป็นผู้เอาจริงเอาจัง ซื่อสัตย์ต่อพระไตรปิฎก ไว้ใจพระไตรปิฎกมาก แต่พร้อมกันนั้นท่านก็มีท่าทีให้มีเหตุผลไม่เชื่อเรื่อยเปื่อย หรือเชื่องมงาย ว่าอะไรที่อยู่ในชุดที่เรียกว่าพระไตรปิฎกจะต้องเชื่อตามไปหมด อันนี้เป็นทัศนคติที่พอดีๆ ที่ศึกษาอย่างมีเหตุผล อาตมาจะอ่านให้ฟังสักนิดเป็นการโควทท่านหน่อย ในหนังสือโอสาเรปนะธรรม หน้า ๔๒๓ บอกว่า "ดังนั้นในการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ต้องถือเอาบาลีเดิมเป็นหลัก" นี้แสดงว่าท่านยึดพระไตรปิฎก คำว่า "บาลี" เป็นคำทางพระหมายถึงพระไตรปิฎก อย่ามอบตัวให้กับอรรถกถาอย่างไม่ลืมหูลืมตา อันนี้ก็พูดถึงอรรถกถา ซึ่งประเดี๋ยวก็ต้องพูดกันอีก มาถึงเรื่องฉีก ท่านก็ยังพูดถึงเรื่องฉีก ในหนังสือพระธรรมปาติโมกข์ เล่ม ๒ หน้า ๑๒๓ ท่านพูดถึงเว่ยหลาง "ฉะนั้นการที่เขาฉีกพระสูตรนี้ มันถูกที่สุด เดี๋ยวนี้เรามีห้องสมุด มีหนังสือแยะ ที่เราก็มี เขาให้อะไรเยอะแยะ เป็นตารางที่ขังความโง่ของคนไว้อย่าให้ไปครอบงำใคร...ฉะนั้นห้องสมุดของผมที่ชั้นบนนี้ ผมจึงไม่ให้ใครเอาหรือขึ้นไปใช้มัน เพราะเป็นความโง่ของคนทั้งโลกที่ผมขังไว้ อย่าให้ไปครอบงำคนอื่น บางชุดซื้อมาตั้งหมื่น นั้นคือความโง่ ไม่กี่เล่ม เอามาขังไว้ในนี้ไปครอบงำใครได้ นี้ยิ่งทำยิ่งโง่ ยิ่งอ่านยิ่งโง่ ยิ่งเรียนมากยิ่งโง่" ถ้าคนมาจับความแค่นี้ก็จะบอกว่าท่านเป็นปฏิปักษ์กับเรื่องหนังสือ ไม่สนับสนุนให้อ่านให้ค้นคว้า อันนี้ก็ไม่อยากให้ไปจับเอาเฉพาะแง่เฉพาะมุมนิดๆ หน่อยๆ ต้องดูทั้งหมดว่าท่านมองอย่างไร คิดอย่างไร บางทีมันเป็นเรื่องเฉพาะกรณี เราก็ต้องดูว่าขณะนั้นท่านกำลังพูดเรื่องอะไร ท่านต้องการให้ผู้ฟังได้แง่คิดอะไรในเรื่องนี้ เมื่อกี้พูดถึงว่าให้เอาบาลี หรือพระไตรปิฎกเป็นหลัก อย่าไปมอบตัวให้กับอรรถกถา ทีนี้บางทีท่านพูดถึงเรื่องอรรถกถาในหลายกรณีก็จะมีเรื่องพูดในแง่ที่ไม่ค่อยดี คล้ายๆ กับไม่น่าไว้ใจ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องอย่างนั้น แต่นี้บางคนไปถึงขนาดที่ว่าอรรถกานี้ไว้ใจไม่ได้ อาตมาอ่านหนังสือบางเล่มเขาดูถูกอรรถกถา ไม่เชื่ออรรถกถา ถ้าเราดูท่านพุทธทาส อาจจะถือเป็นความพอดีก็ได้ งานของท่านจะพูดถึงอรรถกถาเยอะแล้วท่านก็ใช้ประโยชน์จากอรรถกถา เรื่องราวต่างๆ ท่านก็เอาจากอรรถกถามา เราไม่ต้องไปพูดเฉพาะท่านหรอก คืออย่างคำแปลพระไตรปิฎก ฉบับโน้นฉบับนี้เราก็มาอ้างกันว่าเป็นพระไตรปิฎก และที่ใช้ในเมืองไทยก็ต้องแปลเป็นภาษาไทย โดยมากก็จะคัดมา อ้างอิงมาจากฉบับแปลเป็นภาษาไทย เราไม่ได้อ้างอิงมาจากฉบับภาษาบาลีมาอ้างอิงโดยตรง และหลายคนก็ไม่สามารถแปลได้ด้วย ที่เราบอกว่าพระไตรปิฎกๆ นั้น คำแปลเขาอ้างจากอรรถกถานะ พระไตรปิฎกฉบับ ๒๕ ศตวรรษพิมพ์ครบชุดครั้งแรกในประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วต่อมาก็กลายเป็นฉบับกรมการศาสนา ฉบับมหามกุฏฯ มหาจุฬาฯ คนแปลไม่ได้รู้ไปหมด ต้องค้นหากัน เวลาค้นๆ กันที่ไหน ก็ค้นจากอรรถกถา จากฎีกา แล้วก็แปลไปตามนั้น คนที่บอกว่าไม่เชื่ออรรถกถา ไม่รู้แปลพระไตรปิฎกเอาตามอรรถกถา ใช้อรรถกถามาเป็นสิ่งที่ตัวเองยึดถือเลย โดยอ้างอิงพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นพระไตรปิฎกแปลไม่ได้แปลตรงไปตรงมาหรอก แปลตามอรรถกถาอธิบาย เพราะพระไตรปิฎกนั้นเรารู้อยู่แล้วว่าเก่ากว่าอรรถกถามาก ที่นี้ศัพท์ที่เก่าขนาดนั้น บางทีรูปประโยคดูไม่ออกเลยว่าหมายความว่าอย่างไร การแปลจึงต้องหาอุปมาช่วย ก็ได้อรรถกถานี้แหละที่เก่ารองจากพระไตรปิฎก จึงไปเอาอรรถกถาว่าท่านอธิบายบาลีองค์นี้ไว้อย่างไร ถ้าอธิบายความแล้วยังไม่ชัดอยากจะได้ความที่ชัดยิ่งขึ้นก็ไปค้นคัมภีร์รุ่นต่อมา หรือฎีกา หรืออนุฎีกาต่างๆ มาพิจารณาประกอบ จะถือเอาตามนั้นหรือจะตัดสินอย่างไรก็ตามแต่ รวมแล้วก็คือต้องอาศัยคัมภีร์เก่า แต่บางคนก็อ้างพระไตรปิฎกโดยไม่รู้ว่าความจริงว่าแม้แต่คนแปลเขาก็อ้างอรรถกถา กลายเป็นว่าที่ตัวเอาๆ มาจากอรรถกถา อันนี้เป็นตัวอย่างที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านศึกษามาก ต้องยอมรับว่าท่านบวชตั้งแต่เมื่อไร ท่านอุทิศชีวิตกับการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา ฎีกาอะไรต่างๆ เวลาท่านอธิบายท่านก็ยกมาอ้าง เวลาท่านบอกไม่ให้เชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ไม่ให้เราเชื่อเรื่อยเปื่อยงมงายไป ในหนังสือพุทธิกะจริยธรรม หน้า ๒๓๓ "ฉะนั้นเราต้องมีธรรมที่เหมาะสมแก่วัย ที่วัยนั้นจะพอรับเอาได้ หรือเข้าใจได้" ข้อนี้ท่านเปรียบไว้ในอรรถกถาว่า "ขืนป้อนข้าวคำใหญ่ๆ แก่เด็กซึ่งปากยังเล็กๆ" ก็หมายความว่าเด็กจะรับไม่ได้ ท่านได้ยกคำอรรถกถามาใช้ แต่ที่เป็นอภินิหารท่านก็บอกว่าอันนี้เป็นเรื่องน่าเชื่อไม่น่าเชื่อ ฉะนั้นการที่จะไปพูดเรื่องมองอนาคตอะไร แนวคิดผลงานของท่านอันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ บางทีเราอาจจะก้าวเลยไปก็ได้ บางทีคนที่มาพูดมองอนาคตนั้นผ่านชีวิตของท่าน แต่ละคนก็มีในใจของตัวเอง มองแนวคิดของท่านไว้คนละอย่าง เสร็จแล้วอาจจะพูดไปคนละทางสองทาง การมองเรื่องที่ตั้งไว้ว่าเราจะช่วยให้มันเป็นอย่างไร โดยผ่านแนวคิดของท่านพุทธทาส เราก็ต้องชัดด้วย อย่างที่อาตมาบอกว่าให้มองตั้งแต่เจตนาของท่านที่แน่นอนเลย ที่จะสนองพุทธประสงค์ ที่จะรับใช้พระพุทธเจ้า ถ้าเรามีเจตนาแบบนี้ก็ต้องอนุโมทนาว่าเรามีเจตนาที่เป็นกุศล เราศึกษางานของท่าน เพื่อเอามาใช้ เอามาสอน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ถ้าทำได้อย่างนี้จะเป็นส่วนที่เราได้สนองท่านพุทธทาสด้วยนะ ท่านพุทธทาสสนองงานพระพุทธเจ้า โดยที่ว่าเราก็จำกัดลงมาในแง่สนองรับใช้ท่านพุทธทาส เราก็ได้รับใช้ทั้งสองเลย เอาเป็นอันว่าหลวงพ่อพุทธทาสตั้งเจตนาเลย ท่านอุทิศชีวิตสนองงานพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ชื่อตัวเอง ที่ท่านเรียกตัวเองว่าพุทธทาสภิกขุ บทบาทที่เด่นของท่านก็สมานสัมพันธ์กับยุคสมัย อย่างที่บอกว่าคนไทยห่างไกลพุทธศาสนามาก ความเชื่ออะไรก็เป็นไปตามปรัมปรา ที่สืบต่อกันมา ก็ค่อยๆ คลาดเคลื่อน ค่อยๆ เพี้ยนไป อันนี้เป็นปัญหาของสังคมไทยที่เป็นสังคมพุทธ เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ต้องอาศัยกัน ไม่ใช่ศาสนาที่สำเร็จด้วยศรัทธา ที่จะบอกเลยว่าให้มีหลักความเชื่ออย่างไร" แม้โลกวันนี้จะแสนวิปริตเพียงใด หากท่านมองผ่านฐานแนวคิดของท่านพุทธทาส จะเห็นว่าไม่ได้เป็นเรื่องของความทุกข์เพียงด้านเดียว แต่ยังเป็นบุญ เป็นโชค ดังคำกล่าวของท่านที่ว่า "โชคดีมีบุญที่ได้มาเกิดในโลกนี้ ในสภาพปัจจุบันนี้ที่แสนจะวิปริต เพราะว่ามีอะไรให้ศึกษามาก...คิดดูถ้าไม่มีเรื่องให้ศึกษามากแล้วมันจะฉลาดได้อย่างไร" |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
ทิฐิเหลิมก็ไม่ต่างจากเจ้าสำนัก โกหก ต้มตุ๋น หลอกลวงชาวบ้าน Quote Tipitaka: ๗. ยังพูดปดทั้ง ๆ ที่รู้ จะไม่ทำความชั่วอย่างอื่นเป็นไปไม่ได้
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลยังไม่ละธรรมข้อหนึ่ง คือการพูดปดทั้ง ๆ รู้ เราย่อมไม่กล่าวว่า มีบาปกรรมอะไรบ้างที่ผู้นั้นจะทำไม่ได้." อิติวุตตก ๒๕/๒๔๓ |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
อ้างอิงพระไตรปิฎก: ๑๕๐. นรกที่ตา หู เป็นต้น "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านได้ดีแล้ว ขณะ(กาลเวลา) เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อันท่านได้รับแล้ว. นรกอันเชื่อว่าเนื่องด้วยอายตนะสำหรับถูกต้องอารมณ์ ๖ ชนิด เราได้เห็นแล้ว ในนรกนั้น บุคลย่อมเห็นรูปใด ๆ ด้วยตา ก็เห็นแต่รูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา, เห็นแต่รูปที่ไม่น่าใคร ไม่เห็นรูปที่น่าใคร, เห็นแต่รูปที่ไม่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ." "เขาฟังเสียง, ดมกลิ่น, ลิ้มรส, ถูกต้องโผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องได้), รู้ธรรมะ (สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ) ก็ได้ฟัง ได้ดม ได้ลิ้ม ได้ถูกต้อง ได้รู้แต่สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ดม ไม่ได้ลิ้ม ไม่ได้ถูกต้อง ไม่ได้รู้สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ." ๑๕๑. สวรรค์ที่ตา หู เป็นต้น "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านได้ดีแล้ว ขณะ(กาลเวลา) เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อันท่านได้รับแล้ว. สวรรค์อันเชื่อว่าเนื่องด้วยอายตนะสำหรับถูกต้องอารมณ์ ๖ ชนิด เราได้เห็นแล้ว. ในสวรรค์นั้น บุคคลย่อมเห็นรูปใด ๆ ด้วยตา ก็เห็นแต่รูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนา. เห็นแต่รูปที่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่. เห็นแต่รูปที่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ." "เขาฟังเสียง, ดมกลิ่น, ลิ้มรส, ถูกต้องโผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องได้), รู้ธรรมะ (สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ) ก็ได้ฟัง ได้ดม ได้ลิ้ม ได้ถูกต้อง ได้รู้แต่สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ดม ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้ถูกต้อง ไม่ได้รู้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ." ๑๘/๑๕๘ -------------------------------------------------------------------------------- ๑. เขฬมลฺลก ๒. ข้อความต่อจากนี้ กล่าวถึงสิ่งที่คู่กันกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ถูกต้องได้ สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ทั้งอดีต อนาคต ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน ๓. จักขุวิญญาณ ๔. มโนวิญญาณ |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.p ... 2%E0%B8%B8 "ยูเนสโก" ยกย่อง "ท่านพุทธทาส" 1 ใน 63 บุคคลสำคัญของโลก การประชุมสมัยสามัญองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 พิจารณาการยกย่องเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประจำปี 2549-2550 รวม 63 คน/สถาบัน รวมถึงท่านพุทธทาสภิกขุ ถือ ได้ว่าท่านเป็นคนไทยคนที่ 18 ที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8 โดยท่านมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนก็คือ เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมด และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือต้องการให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ ท่านจึงได้ตั้งปณิธานในชีวิตไว้ 3 ข้อ คือ ให้พุทธศาสนิกชนหรือศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม เข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม ซึ่งก็มีบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับท่าน หาว่าท่านจาบจ้วงพระพุทธศาสนาหรือรับจ้างคนคริสต์มาทำลายล้างพระพุทธศาสนา แต่ผลจากการอุทิศชีวิตถวายแด่พระศาสนาของท่าน ทำให้ท่านได้รับการนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยท่านพุทธทาสภิกขุมรณภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุได้ 87 ปี และเป็นพระทั้งหมด 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่แทนตัวท่านให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาปณิธานของท่านต่อไป ดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:52 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
ปณิธานในชีวิต โดยท่านมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนก็คือ เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมด และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือต้องการให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ ท่านจึงได้ตั้งปณิธานในชีวิตไว้ 3 ข้อ คือ ให้พุทธศาสนิกชนหรือศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม เข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม ซึ่งก็มีบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับท่าน หาว่าท่านจาบจ้วงพระพุทธศาสนาหรือรับจ้างคนคริสต์มาทำลายล้างพระพุทธศาสนา แต่ผลจากการอุทิศชีวิตถวายแด่พระศาสนาของท่าน ทำให้ท่านได้รับการนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยท่านพุทธทาสภิกขุมรณภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุได้ 87 ปี และเป็นพระทั้งหมด 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่แทนตัวท่านให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาปณิธานของท่านต่อไป ดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า [แก้ไข] ผลงาน ตลอดชีวิตของท่านพุทธทาสได้ย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะ คือ หน้าที่" ที่ทั้งทางฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณของมนุษย์ และท่านได้ทำหน้าที่ในฐานะทาสผู้ซื่อสัตย์ของพระพุทธเจ้า จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าผลงานที่ท่านได้สร้างสรรค์ไว้เพื่อเป็นมรดกทางธรรมนั้นจะมีมากมายสักปานใด ซึ่งมีผลงานหลักๆ ดังนี้ 1. การจัดตั้งสถานปฏิบัติธรรมสวนโมกขพลาราม และสวนโมกข์นานาชาติ 2. การร่วมกับคณะธรรมทานในการออกหนังสือพิมพ์ "พุทธสาสนา" ราย 3 เดือน ซึ่งนับเป็นหนังสือพิมพ์ทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลารวมถึง 61 ปี และนับเป็นหนังสือพิมพ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีอายุยืนยาวที่สุดของไทย 3. การพิมพ์หนังสือ ชุด "ธรรมโฆษณ์" ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมจากปาฐกถาธรรมที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และงานหนังสือเล่มอื่นๆ ของท่าน แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ หมวด "จากพระโอษฐ์" เป็นเรื่องที่ท่านค้นคว้าจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีโดยตรง หมวด "ปกรณ์พิเศษ" เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติ หมวด "ธรรมเทศนา" เป็นคำบรรยายแบบเทศนาในเทศกาลต่างๆ หมวด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" เป็นคำขยายความข้อธรรมะเพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง หมวด "ปกิณกะ" เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ 4. การปาฐกถาธรรมของท่านก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในแง่วิธีการ และการตีความพระพุทธศาสนา ซึ่งกระตุ้นให้ผู้คนกลับมาสนใจธรรมะมากขึ้น ครั้งที่สำคัญๆ ได้แก่ การปาฐกถาธรรมเรื่อง "ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม", "อภิธรรมคืออะไร", "ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร", "จิตว่างหรือสุญญตา", "นิพพาน", "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม" และ "การศึกษาสุนัขหางด้วน" เป็นต้น 5. งานประพันธ์ของท่านเอง เช่น "ตามรอยพระอรหันต์", "ชุมนุมเรื่องสั้น", "ชุมนุมเรื่องยาว", "ชุมนุมข้อคิดอิสระ", "บทประพันธ์ของสิริวยาส" (เป็นนามปากกาที่ท่านใช้ในการเขียนกวีนิพนธ์) 6. งานแปลจากภาษาอังกฤษของท่านเล่มสำคัญคือ "สูตรของเว่ยหล่าง" และ "คำสอนของฮวงโป" ทั้งสองเล่มเป็นพระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนานิกายเซ็น [แก้ไข] หัวข้อธรรมในคำกลอน เรื่องรสคำประพันธ์นั้น ท่านพุทธทาสเขียนไว้ใน “มุ่งธรรมรส-งดกวี” ว่า รสคำประพันธ์อาจไม่จำเป็นต้องไพเราะ อ่อนช้อยในเชิงกวี แต่ต้องให้แสดงธรรมะได้แจ่มชัด ใช้ชุบชูจิตใจผู้อ่าน เน้นสาระในรสธรรมมากกว่ารสคำกวี ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเล่าถึงที่มาของบทกวีธรรมะของท่านพุทธทาสว่า “เมื่อท่านมีความคิดอะไรแวบขึ้นมาหรือเห็นประเด็น เหตุการณ์ที่น่าสนใจ ท่านจะมีคำคม ๆ ขึ้นมาคำหนึ่ง แล้วเอามาบรรยายขยายความในการเทศน์ แล้วอีกไม่เกินสัปดาห์ท่านจะแต่งเป็นบทกลอน ธรรมะเรื่องหนึ่งท่านจะแต่งเป็นกลอน ๘-๑๒ วรรค ให้ใจความจบลงในนั้น” ต่อมางานชุดนี้ถูกรวบรวมนำมาตีพิมพ์เป็นเล่มชื่อ หัวข้อธรรมในคำกลอน (ฉบับสมบูรณ์) งานชิ้นสำคัญที่มักถูกนำมาพิมพ์ซ้ำบ่อยครั้งก็เช่น การงาน, มองแต่แง่ดีเถิด, อาจารย์ไก่, ตายก่อนตาย, พุทธทาสจักไม่ตาย ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก - วิกิพีเดีย - คลังปัญญาชนสยาม - พุทธทาส.คอม - พุทธทาสศึกษา - ธรรมะไทย - นิตยสารสารคดี - หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 22 ตุลาคม 2548 - หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ วันที่ 30 ตุลาคม 2548 Retrieved from "http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8" |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
กรณีสำนักอภิธรรมในอดีต เหมือนกับกรณีธรรมกายในปัจจุบัน |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
http://www.se-ed.com/eShop/(A(4tzEdMGQy ... ax3xmwv281))/Products/Detail.aspx?No=9789749805220 อิทัปปัจจยตา กฎที่เหนือกฎทั้งปวง หัวข้อธรรมที่ท่านอาจารย์พุทธทาสแสดงให้เห็นถึงตรรกะแห่งเหตุและผล อันว่าด้วย "ความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จีงมี" อิทัปปัจจยตา คำเดียวจึงครอบคลุมหมวดธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาได้ทั้งหมด ทุกสิ่งในโลกล้วนมีปัจจัย : เมื่อมีสิ่งที่เป็นปัจจัย สิ่งนี้ย่อมมีไม่ยกเว้นอะไรทั้งหมด สิ่งมีชีวิต - ไม่มีชีวิต ความนึกคิดตรึกตรองฝ่ายทุกข์ - ฝ่ายดับทุกข์ ล้วนเกี่ยวเนื่องเป็นปัจจัยส่งผลต่อกันและกัน ทุกอย่างจึงมีความหมายที่อิทัปปัจจยตา ถูกต้องตามกฎอิทัปปัจจยตาทั้งนั้น แม้พระพุทธองค์ก็ทรงอยู่ในกฎนี้ คำสอนเรื่อง อริยสัจจ์ ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ ล้วนมี หัวใจอยู่ที่อิทัปปัจจยตา ทั้งสิ้น !! อิทัปปัจจยตา จึงเป็นหมวดธรรมสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ตามสมควร - อิทัปปัจจยตา ในฐานะของพระพุทธวจนะที่ถูกมองข้าม - อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็นสิ่งที่ฆราวาสต้องเรียนรู้ และปฏิบัติ - อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นกฎ เหนือกฎ เหนือกฎทั้งปวง :: |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 10:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
ไกวัลยธรรม ในฐานะกฏแห่งอิทัปปัจจยตา ดังกล่าวแล้วว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ควรทำความเข้าใจ ในความหมาย ของคำๆนี้ ให้แจ่มแจ้ง อยู่เสมอว่า "เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไป" ในทุกหน ทุกแห่ง โดยเฉพาะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ ในตัวเราทุกคน ตลอดเวลา เมื่อรู้ได้อย่างนี้ ย่อมทำให้ กลัวบาป กลัวกรรม เพราะ ไม่มีความลับ สำหรับไกวัลยธรรม และแสวงหาพระเจ้า หรือ ไกวัลยธรรม ในตนเองเป็นที่พี่ง ไม่ต้องพึ่งสิ่งภายนอก เพื่อความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ (๑๓๘) ในลักษณะที่กล่าวว่า "พระเจ้าคือผู้สร้าง" ในความหมายนี้ ย่อมตรงกับ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" อันเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวง ไหลออกมาจาก ไกวัลยธรรม โดยเฉพาะคือ เป็นผู้สร้างพระพุทธเจ้าขึ้นมา สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา ทั้งหมดนั้น แม้จะอยู่ในสภาพ ของความเปลี่ยนแปลง แต่ก็ไม่อาจเข้าไป เปลี่ยนแปลงสภาพ เดิมแท้ แห่งไกวัลยธรรมได้ เพราะ ไกวัลยธรรม มีสภาพเป็น อสังขตะ แม้พระพุทธเจ้า ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลง สิ่งนั้นได้. (๑๓๙) ที่ว่าเป็นปฐมเหตุ ก็เพราะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง แม้สิ่งที่เรียกว่า พระพุทธเจ้า ดังพระพุทธภาษิตมีว่า "พระตถาคตจะเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้นมีอยู่แล้ว" ดังนี้ สิ่งที่เรียกว่า "ธรรมธาตุ" ในที่นี้ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา หรือ จตุราริยสัจจ์. (๑๔๐) ในตอนนี้จะกล่าวเฉพาะ "ไกวัลยธรรม ในฐานะที่เป็น กฏแห่งอิทัปปัจจยตา" อันหมายถึง พระเจ้าแห่ง "กรรมและวิบาก" รวมทั้ง สภาวะที่อยู่เหนือกรรมด้วย โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ไกวัลยธรรม กับ อิทัปปัจจยตา ย่อมมีความหมาย อย่างเดียวกัน คือ "ความเป็นอย่างนั้น" (ตถตา) ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น (อวิตถตา) ไม่มีอยู่โดยความเป็นอย่างอื่น" (อนัญญถตา) ดังนี้. (๑๔๑) ไกวัลยธรรม ที่มีอยู่ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" มีความหมาย ตรงกับคำ ๒ คำ ในพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน คือ "อมิตาภะ - มีแสงสว่างที่คำนวณไม่ได้" กับคำว่า "อมิตายุ - มีอายุที่คำนวณไม่ได้" ได้แก่ สิ่งที่ไม่อาจกำหนดด้วยเวลา หรือ เป็นการระบุถึง องค์แท้ของพระพุทธเจ้า ดังที่เรียกว่า "อมิตาภะพุทธะ" หรือ "อมิตายุพุทธะ" อันหมายถึง พระพุทธเจ้า องค์เดียวกัน. (๑๔๒) ไกวัลยธรรม มีความหมายพ้องกันกับคำในศาสนาคริสต์ จากคัมภีร์ "โยฮัน" ได้แสดงไว้ว่า แรกเริ่มเดิมที ก่อนสิ่งทั้งปวง มีสิ่งที่เรียกว่า "พระคำ" (The Word) ได้แก่ "โองการของสิ่งที่มีอำนาจสูงสุด" อันหมายถึง "พระเจ้า" ใน "พระคำ" นั้น มีปรากฏการณ์อยู่ ๒ อย่าง คือ "แสงสว่าง" (Light) กับ "ชีวิต" (Life) อันเป็นสิ่งที่ อยู่ร่วมกับพระคำ หรือ พระเจ้า และ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พระเจ้า นั่นคือ "แสงสว่างกับชีวิต" เป็นปรากฏการณ์ของพระเจ้านั่นเอง. (๑๔๓) คำว่า "แสงสว่าง-ชีวิต" มีความหมายตรงกันกับ คำว่า "อมิตาภะ-อมิตายุ" อย่างน่าประหลาด แต่ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด เพราะผู้เข้าถึงสัจจธรรม จะกล่าวโดยภาษาใดก็ตาม ย่อมมีความหมายตรงกันทุกภาษา นั่นคือผู้ที่เห็นจริงย่อมไม่ขัดแย้งกัน. (๑๔๔) แม้ตัวอย่างในทางโลกหรือทางวัตถุ ก็แสดงให้เห็นถึงความจริงข้อนี้ ได้แก่แสงอาทิตย์ต้องคู่กับสิ่งที่มีชีวิต เพราะว่าคน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ได้ ก็ต้องอาศัยแสงอาทิตย์ ชนิดที่เรียกว่า เป็นอันเดียวกัน ในทางธรรมก็ต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า "แสงสว่างและชีวิต" ความมีชีวิตในทางธรรม หมายถึงความไม่ตาย หรือ "อมตธรรม" นั่นเอง. (๑๔๕) ในความหมายที่ว่า "พระคำ" เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้วนั้น ตรงกับความหมายในทางพุทธศาสนาที่ว่า "แรกเริ่มเดิมที ก็มีพระธรรมอยู่ก่อนแล้ว" ดังบทบาลีที่ว่า "ธมฺโม หเว ปาตุรโหสิ ปุพฺเพ-ธรรมะมีอยู่ก่อนเว้ย" ดังนี้. (๑๔๖) คัมภีร์เยเนซิสแสดงไว้ว่า พระเจ้าทรงสร้าง "แสงสว่าง" ก่อนสิ่งทั้งปวงสร้างก่อนดวงอาทิตย์และดวงดาวด้วยซ้ำไป แสงสว่างดังกล่าวนี้ คงหมายถึงปัญญานั่นเอง ในลักษณะอย่างนี้ทางพุทธศาสนาหมายถึง "พระปัญญาคุณ" ของพระพุทธเจ้า... เมื่อมีปัญญาย่อมทำให้เข้าถึง "ความบริสุทธิ์" อันจัดเป็นลักษณะของ "อมตธรรม" ได้แก่ "ความมีชีวิต" นั่นคือ แสงสว่างกับชีวิตย่อมรวมเป็นหนึ่งเดียว ร่วมอยู่กับพระเจ้า เป็นองค์คุณของพระผู้เป็นเจ้า อันได้นามว่า "พระคำ". (๑๔๗) อวโลกิเตศวร เป็นปุคคลาธิษฐานของธรรมที่ควรปฏิบัติ รูป "อวโลกิเตศวร" ทุกรูป จะมีพระพุทธรูปเล็กๆ อยู่ที่หน้าผาก พระพุทธรูปองค์นั้นเป็นรูปแทนพระพุทธเจ้า "อมิตาภะ" ฉะนั้น "อวโลกิเตศวร" จึงเป็นสื่อหรือสะพานที่จะนำคนให้เข้าถึงพระพุทธเจ้าอมิตาภะ นี่เป็นการกล่าวโดยสมมติ หรือ ปุคคลาธิษฐาน. (๑๔๘) ถ้ากล่าวโดยธรรมาธิษฐาน "อวโลกิเตศวร" คือ คุณสมบัติหรือคุณธรรม ที่เราประพฤติแล้วจะทำให้เข้าถึง "อมิตาภะ" หรือ "อมิตายุ" ได้แก่สภาพแห่งความไม่ตาย หรือ นิพพาน. (๑๔๙) เมื่อรู้จักพระพุทธเจ้าอมิตาภะหรืออมิตายุ โดยลักษณะของการสมมติบัญญัติ หรือการปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมจักทำให้เป็นการง่ายต่อการที่จะเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" อันไม่มีการปรุงแต่งต่อไป. (๑๕๐) พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สร้างพระเจ้าเพื่อเข้าถึงง่าย เพื่อเป็นการป้องกันพุทธบริษัทบางพวกที่ยังไม่ฉลาดพอ มิให้หันไปนับถือศาสนาที่มีพระเจ้าเพราะถือได้ง่าย นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเป็นห่วงคนพวกนี้ จึงได้สร้างพระเจ้าขึ้นมาบ้าง ให้ชื่อว่า "อมิตาภะ" หรือ "อมิตายุ" อันหมายถึง "แสงสว่างและอายุ" ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ดังกล่าวแล้ว. (๑๕๑) แต่ข้อนี้ อาจจะยังเป็นการยากสำหรับบางพวก จึงลดให้ง่ายลงมาอีก ด้วยการสร้าง "อวโลกิเตศวร" ขึ้น ฝ่ายฮินดูเขามีพระอิศวร เราก็มีเหมือนกัน พระอิศวร คือ "อวโลกิเตศวร" (อวโลกิต-อิศวร) หมายถึง พระเจ้าผู้สอดส่องมองดูโลกอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือให้ได้รับความรอดปลอดภัย. (๑๕๒) เมื่อต้องการจะให้ "อวโลกิเตศวร" มาช่วย ก็จำเป็นที่จะต้องมีการสวดออกชื่อ "อมิตาภะ" วันหนึ่งเป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง ด้วยหวังว่าเมื่อดับจิตลง ก็จะมีรถมารับดวงวิญญาณไปสู่แดนสุขาวดี อันเป็นประเทศที่พระพุทธเจ้า "อมิตาภะ" ครอบครองอยู่ บทสวดมีว่า "นโม อมิทอฮุด ๆ" แปลว่า "ข้าพเจ้าขอไหว้พระอมิตาภะ" ดังนี้. (๑๕๓) การที่บุคคลมีความเชื่อ และทำการสวดอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นการแสดงว่า เป็นผู้มีจิตศรัทธาเชื่อมั่น โอกาสที่จะทำบาปทำกรรม โกหกหลอกลวง หรือเบียดเบียนใคร ก็จะไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทได้ระดับหนึ่งทีเดียว. (๑๕๔) เมื่อมีความเชื่อย่อมช่วยให้พ้นบาปกรรมได้ด้วยอาการอย่างนี้ แต่ถ้ามีความเชื่อด้วยและมีปัญญาด้วย ก็จะทำให้ดีขึ้น จนกระทั่งสามารถได้ใช้ปัญญาล้วนๆ ทำให้รู้ว่า "อมิตาภะ" และ "อมิตายุ" คืออะไร จะเข้าถึงได้อย่างไร โดยไม่ต้องปั้นเป็นรูปคนก็ทำให้รู้จักได้. (๑๕๕) "อวโลกิเตศวร" ไปถึงเมืองจีนมีชื่อเรียกว่า "กวนอิม" เป็นผู้หญิง หมายถึงชื่อของธรรมะที่ละเอียดอ่อน ในอันที่จะนำคนให้เข้าถึงธรรมะอันลึกซึ้ง คือ อมิตาภะ หรือ อมิตายุ ในการปั้นรูปจะปรากฎว่า อวโลกิเตศวรอยู่ขนาบข้างของพระพุทธเจ้าอมิตาภะ อีกข้างเป็นผู้หญิง เรียก "ปรัชญาปารมิตา". (๑๕๖) ฝ่ายมหายานมีพระเจ้าคือ อมิตาภะ หรือ อมิตายุ อันจัดเป็นพระเจ้าที่สูงสุด รองลงมาก็เป็นอวโลกิเตศวร เมื่อเปรียบด้วยธรรมะ อมิตาภะ หรืออมิตายุ ได้แก่ธรรมะฝ่ายโลกุตตระ หรืออสังขตะ ส่วนอวโลกิเตศวร ได้แก่ ธรรมะส่วนที่ยังมีตัวตนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จัดเป็นสังขตะ ดังนี้. (๑๕๗) โดยความหมายนี้ การไหว้อวโลกิเตศวร หมายถึงการบำเพ็ญธรรมที่เป็นลักษณะของอวโลกิเตศวร ได้แก่ บริสุทธิ์ ปัญญา เมตตา ขันติ อธิษฐาน เป็นต้น อันหมายถึงการบำเพ็ญบารมี คือสิ่งที่ทำคนให้ดีขึ้นๆ จนกระทั่งเต็มเปี่ยม. (๑๕๘) ความเต็มเปี่ยมหมายถึง อมิตาภะ หรือ อมิตายุ อันจักพบได้ที่หน้าผากของอวโลกิเตศวร ข้อนี้หมายความว่า จักพบพระพุทธเจ้าได้ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องไปวิ่งหาที่ไหน ที่แท้อยู่ที่หน้าผากของตัวเองทุกคนแล้ว. (๑๕๙) พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มีไกวัลย์เสมือนพระเจ้า สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทั้งที่เป็นภายในตัวเราและนอกตัวเรา นั่นคือ ทุกอณูที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเราและจักรวาล ย่อมมีสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม". (๑๖๐) โดยเหตุที่พระเจ้าคือกฎที่สูงสุด อันบันดาลให้สิ่งทั้งหลายเป็นไป แล้วควบคุมสิ่งนั้นอยู่ ทุกคนจึงถูกสร้างขึ้นและควบคุมไว้ด้วยกฎแห่งพระเจ้า ฉะนั้น พระเจ้ากับไกวัลยธรรมจึงมีสภาพอย่างเดียวกัน. (๑๖๑) ในความหมายนี้ ย่อมกล่าวได้ว่า พระโองการของพระเจ้าแห่งไกวัลยธรรม เป็นสิ่งที่ควบคุมบังคับสิ่งทั้งหลายให้เป็นไป ฉะนั้น ทุกชีวิตจะมีสิ่งที่เรียกว่า "พระเจ้า" ในฐานะเป็นผู้สร้างและควบคุมสิงสถิตอยู่ในทุกคนทุกๆ อณูแห่งชีวิต. (๑๖๒) ไกวัลยธรรม คือพระเจ้าในฐานะเป็นกฎ คำว่า God ในศาสนาคริสต์ ตรงกีบความหมายของคำว่า "กฎ" ในพุทธศาสนา เพราะคำว่า "กฎ" มีความหมายตรงกันกับ "กะตะ" (กต) คำลงท้ายด้วย "ตะ" มีการออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาฝรั่ง เช่น ในคำว่า "มะตะ" กับ mortal ซึ่งแปลว่า "ตาย" ในความหมายนี้พอจะอนุโลมได้ว่า คำว่า God มาจากคำว่า "กฎ" หรือ กะตะ ของฝ่ายตะวันออก. (๑๖๓) สิ่งที่เรียกว่า "กฎ" หมายถึง "ไกวัลยธรรม" อันมีลักษณะ คืออยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง เป็นแม่ของสิ่งทั้งปวง เป็นที่ไหลออกมาของสิ่งทั้งปวง แล้วควบคุมสิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งทุกเวลา ทุกสถานที่ อันมีลักษณะตรงกันกับสิ่งที่เรียกว่า God ซึ่งหมายถึงพระเจ้า ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า "ไกวัลยธรรม" คือ "พระเจ้า". (๑๖๔) ไกวัลยธรรม ในฐานะเป็นกฎแห่งอิทัปปัจจยตา ไกวัลยธรรมเป็นกฎของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดและมั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ต่างกับกฎที่มนุษย์ตั้งขึ้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาละเทศะ กฎอันนี้มี ๓ ประการ คือ:- ๑. กฎแห่งสามัญญลักษณะ ๒. กฎแห่งอิทัปปัจจยตา ๓. กฎแห่งจตุราริยสัจจ์. ในตอนนี้จะกล่าวเฉพาะกฎที่ ๒ คือกฎแห่งอิทัปปัจจยตา อันมีความหมายตามพระบาลีว่า :- อิมสฺมิ สติ อิทํ โหติ - เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้ย่อมมี อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปชฺชติ - เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น อิมสฺมิ อสติ อิทํ น โหติ - เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ - เพราะการดับแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ย่อมดับ. (๑๖๖) แล้วแสดงความหมายรวมของธรรมชาติแห่งการเกิด-ดับ ตามเหตุตามปัจจัยด้วยคำว่า :- ตถตา - ความเป็นอย่างนั้น อวิตถตา - ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น อนญฺญถตา - ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น อิทปฺปจฺจยตา - ความที่เมื่อสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น. (๑๖๗) พระบาลีทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงถึงลักษณะของกฎอิทัปปัจจยตา อันมีอำนาจในการควบคุมโลกให้เป็นไปตามกฎแห่งกรรม. (๑๖๘) เมื่อรู้จักกฎแห่งกรรมตามเป็นจริง ย่อมมีการปฏิบัติถูกตามกฎแห่งกรรมนั้น ผลที่สุดจะทำให้อยู่เหนือกรรมโดยประการทั้งปวง คือมีจิตใจอยู่เหนือความดีความชั่ว เหนือบุญเหนือบาป เหนือแพ้เหนือชนะ เหนือทุกอย่างที่เป็นของคู่ นี่คือลักษณะของการเข้าถึงพระเจ้าองค์แท้แห่งอิทัปปัจจยตา. (๑๖๙) วิธีจะเข้าถึงพระเจ้าอิทัปปัจจยตา คือการศึกษา วิธีที่จะนำชีวิตให้เข้าถึงพระเจ้าแห่งอิทัปปัจจยตา ได้แก่หลักการที่เรียกว่า "การศึกษา" คำว่า "ศึกษา" ในทางพุทธศาสนา หมายถึง "การปฏิบัติกาย วาจา ใจ" โดยอาศัยเครื่องมือ คือ "ศีล สมาธิ ปัญญา". (๑๗๐) เมื่อพูดถึงการศึกษา ทำให้นึกถึงคำอีก ๒ คำ คือ "ความรู้" กับ "สติปัญญา" คำว่า "ความรู้" หมายถึงการเล่าเรียนให้จำได้หมายรู้ ส่วน "สติปัญญา" หมายถึงการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ ในการช่วยชีวิตให้รอดปลอดภัยจากความทุกข์ ถ้ามีแต่ความรู้จะไม่สามารถช่วยให้รอดได้ดังมีคำกล่าวว่า "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด". (๑๗๑) คำว่า "ความรู้" ตรงกับภาษาฝรั่ง Knowledge ส่วน "สติปัญญา" ตรงกับคำว่า Intelligence หรือ Intellect เมื่อเอาความรู้กับสติปัญญามารวมกันเข้า จึงเป็นการศึกษา (education)" (๑๗๒) โดยหลักการอันนี้ นำมาใช้ในการเข้าถึงพระเจ้าแห่งอิทปปัจจยตา หรือไกวัลยธรรม ด้วยการทำให้เกิดความรู้ ชนิดที่เป็น material ของสติปัญญา คือมีสติปัญญาในการใช้สิ่งเหล่านั้น ให้เกิดประโยชน์เป็นการดับทุกข์ นั่นคือต้องมีการเรียนให้เกิดความรู้ แล้วมีการปฏิบัติให้เกิดความเห็นแจ้ง จึงจะชื่อว่าเป็นการเข้าถึงธรรม คือ ไกวัลยธรรม. (๑๗๓) เป็นอันได้ความว่า หลักการศึกษาในที่นี้ หมายถึงการใช้พระเจ้าที่เป็นตัวกฎเกณฑ์ ปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในจิตใจ จนทำให้พ้นจากโลกพ้นจากโลกิยธรรมทั้งหลาย มีจิตอยู่เหนือโลกทั้งปวง เป็นการได้อยู่กับพระเจ้า. (๑๗๔) ใช้กฎอิทัปปัจจยตาให้ถูกต้องแล้วมนุษย์จะกลายเป็นพระเจ้า เมื่อได้เครื่องมือแล้ว ก็มาถึงตอนที่จะใช้พระเจ้าเพื่อกระทำเราให้กลายเป็นพระเจ้า นั่นคือการใช้กฎอิทัปปัจจยตา มาเปลี่ยนแปลงจิตใจของเราให้กลายเป็นไกวัลยธรรม อันมีภาวะที่กว้างขวางไม่มีขอบเขตจำกัดในการนี้ จำเป็นจะต้องมีความแจ่มแจ้งต่อกฎของอิทัปปัจจยตาอยู่เป็นประจำ กำหนดรู้สิ่งทั้งปวงในฐานะที่มีการเกิด-ดับ ไปตามเหตุตามปัจจัย ตามกฎเกณฑ์ที่ว่า :- เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะการดับลงแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับลง. (๑๗๕) กฎเกณฑ์อันนี้ แสดงว่า จะใช้ให้เกิดทุกข์ก็ได้ หรือจะใช้ให้ดับทุกข์ก็ได้ นั่นคือ ทั้งความทุกข์และความดับทุกข์ เป็นพระเจ้าองค์เดียวกัน คือเป็นกฎอันเดียวกัน เพราะเหตุว่า จักพบความดับทุกข์ได้ที่ความทุกข์ ถ้าไม่รู้จักทุกข์ จะดับทุกข์ได้อย่างไร. (๑๗๖) อิทัปปัจจยตา ที่ยังผลให้เกิดเป็นความทุกข์ มาพิจารณาดูกันที่วัตถุล้วนๆ การที่จะแสวงหามาได้ ก็ย่อมอาศัยกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา แต่วัตถุนั้นๆ ยังมิใช่คำตอบที่ว่า เป็นสิ่งให้ความสุขที่แท้จริง เพราะคนที่มีวัตถุมีทรัพย์สมบัติมาก ก็ยังมีความทุกข์อยู่. (๑๗๗) แม้ว่ามนุษย์จะออกไปนอกโลก ไปถึงดวงจันทร์แล้วก็ตาม ชาวโลกก็ยังมีความทุกข์อยู่ เป็นการสร้างความหวาดระแวงกันให้เกิดขึ้น หมายความว่า ยังมิใช่เครื่องประกันแห่งสันติภาพของโลก แม้จะไปถึงโลกไหนก็ย่อมได้รับผลอย่างเดียวกัน. (๑๗๘) มาดูที่ร่างกาย คือวัตถุที่มีชีวิต เวลานี้หยูกยาดีขึ้น ทำให้คนตายน้อยลง ทำให้เกิดความทุกข์ว่าคนจะล้นโลก จึงต้องมีการคุมกำเนิดกัน แม้จะมีการอนามัยดี มนุษย์ชนะโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น แต่ชีวิตก็ยังไม่พบสันติสุขที่แท้จริง ยังผลให้มีการทำลายสันติภาพของโลก. (๑๗๙) มาดูให้ลึกลงไปถึงจิตใจ อันหมายถึงการได้รับการศึกษาเล่าเรียน มีความรู้อย่างกว้างขวาง มีความเฉลียวฉลาดในการประกอบอาชีพ แต่แล้วเป็นการสร้างความเห็นแก่ตัวให้ทวีขึ้นด้วย มีการชิงดีชิงเด่น เอารัดเอาเปรียบกัน จนเกิดเป็นสงครามมหาสงคราม มีอันธพาลเต็มโลก ฆ่ากันได้ทีหนึ่งเป็นแสนเป็นล้าน นี่คือความสามารถของผู้ที่สำคัญตนว่าเป็นผู้ฉลาด. (๑๘๐) การที่มีการรบราฆ่าฟันกัน ก็เพราะจิตถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางให้เกิดความลุ่มหลงในกิเลสตัณหา ชอบความสนุกสนานเอร็ดอร่อยทางเนื้อทางหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อันเป็นเรื่องของกามารมณ์ เป็นเหตุให้คนในโลกเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนทำลายล้างแก่กัน. (๑๘๑) เหล่านี้คือ "อิทัปปัจจยตา" ที่ยังผลให้เกิดความทุกข์ เป็นการเบียดเบียนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น. (๑๘๒) อิทัปปัจจยตา เป็นไปเพื่อผลเป็นความพ้นทุกข์ ความพ้นทุกข์เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากความทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ตามเป็นจริง ย่อมมีการแสวงหาความดับทุกข์ อันเป็นกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาในทางตรงกันข้าม ความทุกข์ความเลวร้ายของมนุษย์มาจากความประสงค์ของพระเจ้า เพื่อเป็นการกระตุ้นมนุษย์ให้ดิ้นรนเพื่อหลุดพ้นจากโลกแห่งความทุกข์เข้าสู่โลกแห่งความดับทุกข์ ด้วยการกลับไปอยู่ร่วมกับพระเจ้า. (๑๘๓) ข้อนี้เป็นการแสดงว่า ใช้พระกรณียกิจของพระเจ้านั่นเอง เพื่อเปิดทางไปสู่อาณาจักรแห่งพระเป็นเจ้า อย่างนี้เรียกว่า ใช้พระเจ้าเปลี่ยนแปลงพระเจ้า เพราะพระเจ้ามีความหมายกว้างจนเป็นอะไรได้ทุกอย่าง ตรงกับความหมายของ "ไกวัลยธรรม". (๑๘๔) ความหมายของไกวัลยธรรม หรือพระเจ้าแห่งอิทัปปัจจยตานั้น มิได้กำหนดถึงลักษณะของสิ่งที่เป็นคู่ ดังที่มนุษย์บัญญัติขึ้น คือไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ไม่มีดีไม่มีชั่ว ไม่มีบุญไม่มีบาป ไม่มีผิดไม่มีถูก มีแต่อาการที่สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นและดับไป ตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ดังเช่นที่แสดงว่า เมื่อมีการทำอย่างนี้ แล้วอย่างนี้ก็เกิดขึ้น ถ้าไม่มีอย่างนี้ อย่างนี้ก็ไม่มี ถ้าอย่างนี้ดับลง อย่างนี้ก็ดับด้วย ดังนี้ มันเป็นเพียงแต่ธรรมชาติที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีตัวผู้กระทำ และไม่มีตัวผู้ถูกกระทำ. (๑๘๕) เมื่อเอาความหมายอย่างนี้ จะทำให้เห็นว่า ปรากฎการณ์ทั้งหมดของจักรวาลอันไม่มีขอบเขตก็จะเต็มอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แต่อาการที่ปรากฎเป็นลักษณะของความเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ต้องปรากฎขึ้นก่อน เมื่อรู้จักความเปลี่ยนแปลงตามเป็นจริงแล้วปล่อยวางได้ ก็จะพบความไม่เปลี่ยนแปลงในที่เดียวกัน อันเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตอย่างเดียวกัน นี่เป็นลักษณะของความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง. (๑๘๖) ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงถึง "อิทัปปัจจยตา" ที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ด้วยการเข้าถึงสภาวะแห่งความไม่เปลี่ยนแปลง อันไม่มีขอบเขตจำกัด ตามความหมายของ "ไกวัลยธรรม". (๑๘๗) อำนาจของอิทัปปัจจยตา ทำให้เกิดปฏิกิริยา สภาวะเดิมแท้ของสิ่งทั้งปวง คือ "ความว่าง" หมายความว่า จุดเริ่มต้นทีแรกไม่มีอะไรเลย แม้สภาวะของความไม่มีอะไร ก็เรียกว่า "อิทัปปัจจยตา" ด้วยอำนาจการกระทำของกฎอิทัปปัจจยตา จึงทำให้เกิดสิ่งทั้งหลายขึ้น ถ้าจะกล่าวโดยบุคคลาธิษฐาน ก็อาจกล่าวได้ว่า แต่เดิมไม่มีอะไร พระเจ้าเป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวงขึ้น. (๑๘๘) อาศัยการกระทำของกฎแห่งอิทัปปัจจยตา เรียก "กิริยาของกฎ" กระทำลงที่ปรากฎการณ์ของเวลาและสถานที่ (time-space) ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ปฏิกิริยา" ขึ้น ฉะนั้น ความจริงของสิ่งทั้งปวงจึงไม่มีอะไรมากไปกว่า "กิริยา กับ ปฏิกิริยา" เท่านั้น นี่คือลักษณะของจิตที่กลับคืนสู่สภาวะเดิมแท้ ได้อยู่ร่วมเป็นอันเดียวกันกับพระเจ้า ในดินแดนแห่งพระเจ้า. (๑๘๙) กฎอิทัปปัจจยตา ทำให้เกิดธาตุต่างๆ การทำให้เกิดธาตุก็มีหลักอันเดียวกันกับที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานั่นคือ เริ่มต้นจาก อสังขตะธาตุ หรือสุญญธาตุ คือธาตุแห่งความว่างอันมีมาก่อนสิ่งใด โดยอาศัยกฎแห่งอิทัปปัจจยตา ธาตุทั้งหลายจึงถูกสร้างขึ้น จำแนกเป็นรูปธาตุ อรูปธาตุ และนิโรธธาตุ. (๑๙๐) อาศัยธาตุต่างๆ เหล่านี้ ต่อมาทำให้เกิด "โลกธาตุ" ขึ้น หลายๆ โลกธาตุที่รวมกลุ่มกันเรียก สุริยจักรวาล ทีแรกโลกทั้งหลายแยกมาจากดวงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนแปลงเรื่อยไม่หยุดยั้ง ไปตามกฎอิทัปปัจจยตา จนทำให้เกิดชีวิตเป็นพืช เป็นสัตว์ขึ้นมา จนกระทั่งวาระสุดท้าย โลกทั้งหลายก็จะกลับไปรวมกับดวงอาทิตย์ตามเดิมอีก กฎของความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นไปในลักษณะของการเกิด-ดับ ด้วยอาการอย่างนี้. (๑๙๑) โดยเหตุนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า กฎอิทัปปัจจยตาทำให้เกิดธาตุต่างๆ ขึ้น และในที่สุดก็จะทำให้ธาตุต่างๆ เหล่านั้นดับไป กลับคืนสู่สภาวะเดิม. (๑๙๒) อิทัปปัจจยตา กับการวิวัฒนาการ มองให้แคบเข้ามาดูการวิวัฒนาการของชีวิต ในโลกนี้เริ่มแรกมีแต่น้ำ ต่อมาเกิดสภาพชีวิตขึ้นมาเป็นพืช เป็นสัตว์ และเป็นคนในที่สุด เมื่อเกิดมนุษย์ขึ้นมาแล้ว ก็เกิดวิวัฒนาการทางจิต ทำให้เกิดกฎหมาย เกิดระเบียบวินัย เกิดวัฒนธรรม เกิดศาสนา จนกระทั่งเกิดการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล นิพพาน ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจของพระเจ้าแห่งกฎอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น. (๑๙๓) มองให้เล็กลงมาที่ตัวคนจะพบว่า เมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความแก่ ความเจ็บ ความตาย การวิวัฒนาการในทางสมอง หรือ ความคิดย่อมมีการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาอย่างมากมาย ชนิดที่เรียกว่า ล้นโลกอยู่ในเวลานี้ ก็สำเร็จมาจากพระเจ้าแห่งกฎอิทัปปัจจยตาเช่นเดียวกัน. (๑๙๔) การวิวัฒนาการในทางวัตถุย่อมสำเร็จมาจากอวิชชา มาจากกิเลสตัณหา อันจักนำไปสู่ความทุกข์ความเดือดร้อนโดยส่วนเดียว เมื่อมีความรู้อย่างนี้ การวิวัฒนาการไปในทางตรงกันข้าม คือวิวัฒนาการทางจิต อันเป็นไปเพื่อการดับทุกข์ ย่อมเกิดความโชติช่วงขึ้นในความต้องการ นั่นคือการดิ้นรนเพื่อกลับคืนสู่สวรรค์อันเป็นสภาวเดิมแท้ของพระเจ้า ซึ่งหมายถึงความไม่มีอะไร และเป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ก่อนสิ่งใด. (๑๙๕) ใช้อำนาจอิทัปปัจจยตาฝ่ายดับทุกข์แก้ปัญหา เมื่อรู้ตัวปัญหาก็ย่อมเป็นการง่ายต่อการแก้ปัญหา เพราะตัวปัญหากับการแก้ปัญหาเป็นอันเดียวกัน คืออิทัปปัจจยตา ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "หนามยอกเอาหนามบ่ง" คือใช้พระเจ้าสร้างพระเจ้า สิ่งที่จำเป็นที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ ปฏิจจสมุปบาท เมื่ออายตนะภายในกระทบกับอายตนะภายนอก ทำให้เกิดการปรุงแต่งเป็นกิเลสขึ้น ตามกฎแห่งอิทัปปัจจยตา ถ้ามีการยึดถือจะเป็นทุกข์ แต่ถ้ารับอารมณ์ด้วยปัญญาจะทำให้ปล่อยวางความยึดถือแล้วความทุกข์ก็จะดับลงในที่เดียวกัน. (๑๙๖) เช่นเมื่อตาเห็นรูป ถ้ามีการเห็นด้วยความเข้าใจผิดว่า "มีรูป" กิเลสย่อมเกิด แต่ถ้าเห็นด้วยปัญญาด้วยสัมมาทิฎฐิว่า "รูปไม่มี" กิเลสก็ย่อมดับลงตรงนั้น "ความเห็นผิดเป็นหนามยอก ความเห็นถูกเป็นหนามบ่ง" นั่นคือ "หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง" นี่เป็นหลักการของพระเจ้าแห่งอิทัปปัจจยตา. (๑๙๗) การรู้ทันกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาย่อมดับทุกข์ได้ วิธีบ่งหนามให้สำเร็จก็ต้องกำหนดรู้ว่า มันถูกยอกอยู่ตรงไหน คำตอบคือ การเสวยอารมณ์ด้วยความเห็นผิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ย่อมทำให้เกิดความทุกข์ เรียกว่าถูกหนามยอก ที่เป็นทุกข์เพราะเกิดกิเลส. (๑๙๘) ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตาเห็นรูปโดยอาศัยจักขุวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้เรียกผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดเวทนา กิเลสเกิดตรงที่เกิดเวทนานี่เอง คือเวทนามี ๓ ได้แก่ สุข ทุกข์ เฉยๆ เมื่อเกิดความสุขความพอใจในอารมณ์ ย่อมสร้างความโลภให้เกิดขึ้น เกิดความทุกข์ความไม่พอใจสร้างความโกรธ เกิดความรู้สึกเฉยๆ สร้างความหลง นี่แสดงว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเพราะอาศัยเวทนา นี่คือลักษณะของการถูกหนามยอก แล้วความเจ็บปวดเป็นความทุกข์ย่อมตามมา. (๑๙๙) เป็นการทำให้มองเห็นความจริงแล้วว่า วงจรของความทุกข์เริ่มต้นจากความเห็นผิด เมื่อเห็นผิดทำให้เกิดกิเลส เมื่อเกิดกิเลสย่อมเกิดทุกข์ ฉะนั้น ในการดับทุกข์จักสำเร็จได้ด้วยการเปลี่ยนความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ) ให้เป็นความเห็นถูก (สัมมาทิฎฐิ) เมื่อเห็นถูกกิเลสดับ ความทุกข์ดับ. (๒๐๐) ตามความเป็นจริง "รูปไม่มี" เมื่อเห็นผิดว่า "มีรูป" กิเลสเกิด เมื่อเห็นถูกตามเป็นจริงว่า "รูปไม่มี" กิเลสดับ ความทุกข์ก็ดับ กระแสแห่งการดับทุกข์ตามกฎของอิทัปปัจจยตา ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. (๒๐๑) ฝ่ายฆราวาสและบรรพชิตย่อมมีความต้องการตรงกันอยู่ที่การเอาชนะกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั่นเอง จึงจะได้นามว่า เป็นผู้ดำเนินตามหลักพุทธศาสนา อันจักนำไปสู่นิพพาน ตามกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตาในส่วนโลกุตตระ. (๒๐๒) นี่แสดงว่า ทุกคนย่อมมีหน้าที่พึงเกี่ยวข้องกับพระเจ้าแห่งความดับทุกข์ ฉะนั้น ต้องตั้งใจแน่วแน่ ซื่อตรงต่อพระเจ้าด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า "เราจักทำความดับทุกข์ให้ปรากฎจนได้". (๒๐๓) ไกวัลยธรรม คือพระเจ้าควบคุมทุกสิ่งตามกฎแห่งกรรม เป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งอยู่เสมอว่า ไกวัลยธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกๆ เซลล์ของสิ่งที่มีชีวิต และทุกๆ อณูของสิ่งที่ไม่มีชีวิต ทั้งปรากฎอยู่ตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งอยู่ในฐานะเป็นกฎของอิทัปปัจจยตา ทั้งในรูปของกิริยา และปฏิกริยา อันมีความหมายตรงกับสิ่งที่เรียกว่า "กฎแห่งกรรม" อันเป็นไปทั้งฝ่ายโลกิยะ และโลกุตตระ. (๒๐๔) คัดจาก หนังสือ ไกวัลยธรรม พุทธทาสภิกขุ ฉบับย่อ, ย่อโดย ภิกขุ ฉ.ช.วิมุตตยานันทะ ..................................................... |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 11:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
สำนักไหนเอ่ยหลอกเงินชาวบ้านทำบุญใส่กระเป๋าตัวเอง เอาคำกลอนไปอ่าน ไกวัลยธรรม คำกลอน พุทธภาวะ จะแจ่มแจ้ง แห่งจิตตน ผู้ฝึกฝน คืนอามิส คิดส่งเสริม นิรามิส สุขจริง หมดสิ่งเติม มิต้องเพิ่ม มีเต็ม ตลอดกาล ไม่จำกัด ด้วยกาล สถานที่ เป็นสิ่งมี ในทุกคน พ้นคำขาน ถอนสมมติ บัญญัติ ตัดนิพพาน เมื่อไม่เอา เนาว์ผ่าน สู่ไกวัลย์ น่ายินดี มีพุทธะ อยู่ในตน อันเป็นผล สุดท้าย ได้สุขสันติ์ เป็นจุดหมาย ทุกศาสนา กล้าจาบัล เรียกสวรรค์ พระศาสดา ว่าจงไป คำว่าไป ในที่นี้ มีย้อนจิต ดูชีวิต เห็นตามกฏ หมดสงสัย จึงกล่าวว่า ถึงได้ ไม่ต้องไป เพียงทำใจ ให้สว่าง ทางเปิดเอง เปรียบความมืด ย่อมสิ้นไป เมื่อไฟเกิด อย่าเตลิด เที่ยววิ่งหา คว้าโหรงเหรง พุทธธรรม สำคัญ อย่าหวั่นเกรง จักพบได้ ในตนเอง ทุกคนไป. -ชุติวัณณ์- ..................................................... |
เจ้าของ: | mes [ 08 ส.ค. 2010, 11:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทำไม ท่านพุทธทาส ไม่ชอบพระอภิธรรม และ สำนักวิปัสสนา ที่มีพื้ |
chalermsak เขียน: http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=33567&st=0&sk=t&sd=a&start=15 อ้างคำพูด: คุณ mes เขียน ผมเข้าไปที่เหลิมศาลาโกหกมาทำให้คิดถึงร้านรับซื่อของเก่าอย่างไหงอย่างนั้น มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง เมื่อยี่สิบกว่าปีผ่ามาแล้ว มีสำนักหนึ่งตั้งขึ้นแล้วใช้ชื่อว่าสำนักอภิธรรม เจ้าสำนักโฆษณาว่าตนเองเป็นผู้บรรลุธรรมสามารถไปสวรรค์นรกได้ตามใจตน อภิธรรมที่ใช้ตั้งชื่อชักจะไม่ใช่อภิธัมมัตถะเสียแล้วเป็นอภิธรรมชาติ ปรากฎว่ามีคนแห่กันมาที่สำนักนี้มากมายเหมือนวักธรรมกายปัจจุบันก็คงมีการหลอกให้ทำบุญกันตามธรรมเนียมปฏิบัติ ปรากฎว่าสำนักนี้ร่ำรวยเงินทองมาก กิจกรรมที่สำนักนี้จัดเป็นกิจวัตร์คือ พาเทียวสวรรค์ทัวร์นรก ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ก็มีท่านคึกฤทธิ์ ท่านสัญญา อาจารย์เสฐียรพงษ์ และแน่นอนท่านพุทธทาสออกมา เตือนสติชาวพุทธให้ใช้วิจารณญาณ ส้างความโกรธแค้นกับเจ้าสำนักเป็นอย่างยิ่งที่ตัดทางทำมาหากิน กันดื้อๆอย่างนี้ สมัยที่สำนักนี้รุ่งเรืองสุดขีดถึงกับคิดโอหังแก้พระไตรปิฎกทีเดียว สือมวลชนสมัยนั้นก็เห็นจะมีหนังสือพิมพิ์ที่ทรงอิทธิพลมาก ฉบับที่เกาะติดเรื่องนี้อย่างไม่ปล่อยคือเดลินิวล์ จึงมีการท้าพิสุจน์กันเกิดขึ้น วิธีการคือนักข่าวที่เข้าพิสุจน์จะไปนั่งกัมมฐานที่สำนักอภิธรรมแล้วเจ้าสำนักจะเข้าสมาธิพาไปเที่ยว สวรรค์ทัวร์นรก ปรากฎไม่สมารถทำได้ตามที่โอ้อวด มีการอ้างเหตุผลสารพัด หนังสือพิมพิ์ในยุคนั้นออกมาแฉพฤติกรรมหลอกลวงของสำนักนี้ทุกฉบร้อนถึงเถระสมาคมต้องออกมาประกาศว่าสำนักนี้ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ทางตำรวจจะเอาเรื่องหลอกลวงประชาชน สำนักนี้พยายามใช้มวลชนออกมาเคลื่อนไหว แต่ในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม มวลชนที่ศรัทธาหลงไหลน้อยลงทุกวัน มหาเถระสมาคมออกแถลงการณ์ว่าสำนักอภิธรรมไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นสำนักเถื่อน สำนักนี้จึงหาทางออกด้วยการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ เหลือสาวกอยู่ไม่กี่คนกับลูกหลานในวงศ์ตระกูล หนึ่งในนั้นคือ เฉลิมศักดิ์ ศาลาโกหก เนื่องจากท่านพุทธทาสออกมาแสดงธรรมเปิดเผยถึงธรรมที่แท้ทำให้ผู้ถูกหลอกตาสว่าง สาวกสำนักนี้จึงแค้น และตามชำระหนี้แค้นท่านพุทธทาส เหลิมคือกากเดนของการหลอกลวงจึงมีนิสัยเป็นพวกนักต้มตุ่น เจอใครก็สาธุแสดงอาการผู้ดีจอมปลอม เบืองหลังกักขฬะน่าขยักแขยง เดี๋ยวนี้เปิดเวป เฉลิมศักดิ์ศาลาโกหก สำหรับคนโง่งมงาย ..................................................... ดูทิฏฐิของคุณ mes แล้ว ดูไม่ต่างจากอาจารย์ใหญ่ของท่านเลย คุณ mes ครับ แบบนี้ใครจะกล้าไป นิพพานที่นี้เดี๋ยวนี้ ตามคุณและอาจารย์คุณไปนี้ ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ? http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187 อ้างคำพูด: จากการที่ได้เคย สนทนากับผู้ที่ศึกษา งานของท่านพุทธทาสมาก ๆ มักมีแนวความคิดดังนี้ 1. ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏก (เถรวาท ) โดยเริ่มตั้งแต่ พระอภิธรรม พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับหลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด ( เทวดา เปรต อสุรกาย) (พร้อมที่จะฉีกพระไตรปิฏกทิ้ง ตามอุดมการณ์ของท่าน) -- ไม่ต้องพูดถึง อรรถกถา คัมภีร์อื่น ๆ ของเถรวาท เช่น วิสุทธิมรรค, พระอภิธัมมัตถสังคหะ, มิลินทปัญหา ฯลฯ 2. ปฏิเสธการพูดถึงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ( เห็นว่าเป็นเรื่องสัสสตทิฏฐิทั้งหมด) 3. ยึดถือ ความเห็นของท่านพุทธทาส ยิ่งกว่า พระศาสดา ( พระไตรปิฏก ) โดยอ้าง การตีความของท่านพุทธทาส ที่อ้างว่าเป็นภาษาธรรม (ธรรมาธิษฐาน) ซึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา บางส่วนเป็นภาษาคน (บุคคลาธิษฐาน) บางส่วนถูกดัดแปลงเพิ่มเติมเข้ามาจากศาสนาพราหมณ์ ฯลฯ ----------------------------------------------------- คำวิจารณ์ของท่านพุทธทาสต่อ พุทธวิสัย http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 30962.html เปิดเข้าไป พบแต่ เหลิมศาลาโกหก ไม่น่าเชื่อมันสร้างมรดกกรรมเอาไว้สืบทอด ค่ายจะรับมั้ง |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |