ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

สมถะและวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=33184
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  mes [ 15 ก.ค. 2010, 11:50 ]
หัวข้อกระทู้:  สมถะและวิปัสสนา

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


สมถะและวิปัสสนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้
มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา
อันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อม
เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
อย่างนี้แล จึงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควรให้เจริญด้วย
ปัญญาอันยิ่ง.
จบ สูตรที่ ๑๔

เจ้าของ:  mes [ 15 ก.ค. 2010, 11:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนา

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต





ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวย
ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมละอวิชชาได้ ฯ
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้
จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ

เจ้าของ:  mes [ 15 ก.ค. 2010, 11:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนา

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอ
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้น
ย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
จบปฏิปทาวรรคที่ ๒

เจ้าของ:  mes [ 15 ก.ค. 2010, 11:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนา

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอ
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้น
ย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
จบปฏิปทาวรรคที่ ๒

เจ้าของ:  mes [ 15 ก.ค. 2010, 12:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนา

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌาน
ไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบ
จิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา
พอกพูนสุญญาคารอยู่ พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
*พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีสติ
มีฌาน ไม่มีความเพ่งเล็งในกามทั้งหลาย ย่อมเห็น
แจ้งธรรมโดยชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท มี
ปรกติเห็นภัยในความประมาท ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
ความเสื่อมรอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

เจ้าของ:  mes [ 15 ก.ค. 2010, 12:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนา

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พึงประกอบสมถะและวิปัสสนาตามเวลาอันสมควรอยู่เนืองๆ พึง
เป็นบัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรเป็นนิตย์ เป็นผู้ประกอบภาวนา
ทุกเมื่อ ด้วยความตั้งใจว่า ถ้ายังไม่ถึงที่สุดทุกข์ ไม่พึงถึง
ความวางใจ อาสวะทั้งปวงของภิกษุ ผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์
เป็นอยู่อย่างนี้ ย่อมสิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมบรรลุนิพพาน.

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/