ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=32270
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 02 มิ.ย. 2010, 14:14 ]
หัวข้อกระทู้:  หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

http://www.dhammakaya.org/vijja/vijja1.php%20-
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
Y9296500-22.jpg
Y9296500-22.jpg [ 39.79 KiB | เปิดดู 4224 ครั้ง ]

เจ้าของ:  sirisuk [ 02 มิ.ย. 2010, 16:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

tongue คุณหลับอยู่ค่ะ ลิงค์ไม่ไปค่ะ

หรือว่าเป็นที่คอมฯ ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบค่ะ
:b12: :b12:

เจ้าของ:  ศรีสมบัติ [ 02 มิ.ย. 2010, 18:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

หมือนกันครับ..เข้าไปมีแต่ความว่างเปล่า.. :b14: :b1:
ขอเจริญในธรรม :b8:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 02 มิ.ย. 2010, 21:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

๑. หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
๑. ขั้นสมถกัมมัฏฐาน ๒. ขั้นอนุวิปัสสนา ๓. ขั้นโลกุตตรวิปัสสนา

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานหลัก คือ ธรรมเป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน อันเป็นพื้นฐานสำคัญให้ถึงธรรมอันเป็นรากเหง้าให้วิปัสสนาเกิด เจริญขึ้น และตั้งอยู่ เพื่อเจริญปัญญาจากการที่ได้เห็นแจ้งและรู้แจ้ง ในสภาวะของสังขารธรรม และวิสังขารธรรมคือพระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ และในพระอริยสัจ ๔ ตามที่เป็นจริง
ไว้หลายวิธี อันผู้เจริญภาวนาพึงเลือกปฏิบัติให้ถูกจริตอัธยาศัยของตน

ข้าพเจ้าจึงขอเสนอวิธีเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ให้ผลดีมีประสิทธิภาพสูง ตามหลักปฏิบัติพระสัทธรรมเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว คือวิธีเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ให้ถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

ท่านปฏิบัติได้เข้าถึง ได้รู้เห็นและเป็นธรรมกายแล้ว จึงได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์จนตลอดชีวิตของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่าน และได้ถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏผลดีเป็นอย่างสูงแก่ผู้ปฏิบัติด้วยอิทธิบาทธรรม

โดยมี หลักปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย ให้เกิดอภิญญา และวิชชา คือความรู้ความสามารถพิเศษ ได้แก่ วิชชา ๓ วิชชา ๘ (รวมอภิญญา ๖) ชื่อว่า “วิชชาธรรมกาย” เป็นพื้นฐานสำคัญแก่การเจริญวิปัสสนาปัญญาถึงโลกุตตรปัญญา ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังต่อไปนี้


๑. ขั้นสมถกัมมัฏฐาน


มีหลักวิธีปฏิบัติเบื้องต้นที่สำคัญ ๓ ประการ คือ


1.กำหนด“ฐานที่ตั้งของใจ” ไว้ ณศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

ศูนย์กลางกายระดับสะดือเป็นที่สุด และเป็นต้นทางลมหายใจ (เข้า-ออก)

2.กำหนด “บริกรรมนิมิต”คือ นึกให้เห็นด้วยใจเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส ให้ใจรวมอยู่ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ (ตามข้อ ๑)
การเพ่งดวงแก้วกลมใส มีลักษณะเป็นการเพ่งแสงสว่าง (อาโลกกสิณ) กล่าวคือ ถ้าพระโยคาวจรเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ ถึงได้อุคคหนิมิต ก็จะเห็นเป็นดวงใสสว่าง หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านจึงใช้ดวงแก้วกลมใส (แทนดวงใสสว่าง) เป็นบริกรรมนิมิต

3.กำหนด“บริกรรมภาวนา”คือ ท่องในใจด้วยองค์บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ”ที่กลางของกลางจุดเล็กใส กลางดวงแก้วกลมใส ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือนั้น เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งตรงนั้น
คำว่า “สัมมา” เป็นคำย่อจากคำว่า “สัมมาสัมพุทโธ” แปลว่า พระผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ซึ่งหมายถึง พระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า
ส่วนคำว่า “อรหัง” แปลว่า พระผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรมทั้งปวง ซึ่งหมายถึง พระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า เมื่อบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” นึกน้อมพระพุทธคุณ คือ พระปัญญาคุณ และ พระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้ามาสู่ใจเราด้วย เป็นพุทธานุสสติ


ถ้าผู้ปฏิบัติภาวนากำหนดบริกรรมนิมิต คือ นึกเห็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใสด้วยใจได้ยาก ก็ให้สังเกตลมหายใจเข้า-ออก ที่ผ่านและกระทบดวงแก้ว ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อยู่ตรงนั้น (เป็นอานาปานสติอีกโสดหนึ่ง) โดยไม่ต้องตามลมหายใจเข้า-ออก ก็จะช่วยให้เห็นดวงนิมิตได้ง่ายเข้า เมื่อเห็นดวงใสปรากฏขึ้นแล้ว ก็ปล่อยความสนใจในลม




เมื่อรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะเข้าถึง และได้รู้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จนถึงธรรมกาย อันเป็นกายที่พ้นโลก เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ เป็นอุปการะสำคัญต่อการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาจากการที่ได้เห็นแจ้งและรู้แจ้ง




1.ในสภาวะของสังขาร คือ ธรรมอันไปในภูมิ ๓ ทั้งสิ้น และธรรมที่เป็นไปในภูมิที่ ๔ เฉพาะที่เป็นสังขตธรรม ตามที่เป็นจริง
2.ในสภาวะของวิสังขาร คือ พระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ อันเป็นคุณธรรมภายในของพระอริยเจ้า ทั้ง สภาวะนิพพาน ผู้ทรงสภาวะ และ อายตนะนิพพาน ตามที่เป็นจริง และ
3.ในอริยสัจ ๔ อันเป็นไปในญาณ ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีรอบ ๑๒



๒. ขั้นอนุวิปัสสนา


เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมสามารถเจริญภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนา ให้เกิดอภิญญา ความรู้ความสามารถพิเศษ และวิชชา ได้แก่ วิชชา๓ วิชชา ๘ (รวมอภิญญา ๖) จึงชื่อว่า “วิชชาธรรมกาย”ให้เกิดและเจริญความรู้ความสามารถพิเศษ ให้สามารถพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ให้เจริญ “วิปัสสนาปัญญา” เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของสังขาร อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) ว่ามีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ และอนตฺตา อย่างไร อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญโลกุตตรวิปัสสนา ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ เป็น “โลกุตตรปัญญา” ต่อไป


กล่าวคือ เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว


พึงฝึกเจริญฌานสมาบัติให้เป็นวสี แล้วย่อมเกิดอภิญญา มีทิพพจักษุ ทิพพโสต เป็นต้น ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ (การเริ่มเจริญสมถภาวนาโดยการกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสนั้น มีลักษณะเป็นการเพ่งกสิณแสงสว่าง ชื่อว่า “อาโลกกสิณ” อันเป็นกสิณกลาง และมีผลให้เกิดอภิญญาได้ง่าย)
สามารถน้อมไปเพื่อ “อตีตังสญาณ” เห็นอัตตภาพของตนและสัตว์อื่นในภพชาติ ก่อนๆ น้อมไปเพื่อ “อนาคตังสญาณ” เห็นจุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม และน้อมไปเพื่อ “ปัจจุปปันนังสญาณ” เห็นสัตว์โลกในทุคคติภูมิ ได้แก่ ภูมิของเปรต สัตว์นรก อสุรกาย และในสุคติภูมิ ได้แก่ เทวโลก และพรหมโลก ตามที่เป็นจริง ตามพระพุทธดำรัสได้
ให้สามารถรู้เห็นสภาวะของสังขาร ได้แก่ เบญจขันธ์ของสัตว์โลกทั้งหลาย อันปัจจัยปรุงแต่งด้วย ปุญญาภิสังขาร คือความปรุงแต่งด้วยบุญคือกุศลกรรม อปุญญาภิสังขาร คือความปรุงแต่งด้วยบาปคืออกุศลกรรม และ อเนญชาภิสังขาร คือ ความปรุงแต่งที่ไม่หวั่นไหว (ด้วยรูปฌานที่ ๔ ถึงอรูปฌานทั้ง ๔)


ได้เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลกในสังสารจักร อันเป็นไปตามกรรม โดยวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ และวิปากวัฏ และ


ให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของสังขารธรรม คือธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) กล่าวคือ ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งสิ้น ว่ามีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจฺจํ ทุกขํ และ อนตฺตา อย่างไร อย่างละเอียด และกว้างขวาง


ให้เจริญวิปัสสนาญาณ รวบยอดผ่านถึงโคตรภูญาณของธรรมกายได้อย่างรวดเร็ว และเป็นบาทฐานให้เจริญโลกุตตรวิปัสสนาได้เป็นอย่างดี




๓. ขั้นโลกุตตรวิปัสสนา

เมื่อพระโยคาวจรเจริญอนุวิปัสสนา ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ คือ มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายใน และ ณ ภายนอก เห็นแจ้งรู้แจ้งในสามัญญลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายอยู่แล้วนั้น


ธรรมกายย่อมเจริญฌานสมาบัติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือมีสติพิจารณาเห็นอริยสัจ ๔ ของกายในภพ ๓ แล้วทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ)ดับสมุทัย ปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ โดยวิธีดับหยาบไปหาละเอียด ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” อันกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ยึดครองอยู่ ปหานอกุศลจิต ชำระธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” ของกายในกาย (รวมเวทนา จิต และธรรม) จากกายสุดหยาบถึงสุดละเอียดจนเป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายที่บริสุทธิ์สุดละเอียด ถึงปล่อยวางอุปาทานในเบญจขันธ์ของกายในภพ ๓ และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติเสียได้


ปล่อยขาดพร้อมกันแล้ว ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ ธรรมกายที่บริสุทธิ์สุดละเอียดนั้นจะไปปรากฏในอายตนะนิพพานอันเป็นที่สถิตอยู่ (อายตน=วาสฏฺฐาน) ของพระนิพพานคือธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตเจ้า ที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ประทับเข้านิโรธสงบตลอดกันหมดนับไม่ถ้วน สว่างไสวด้วยธรรมรังสีของธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม เป็นความสูญ คือว่างอย่างมีประโยชน์สูงสุดเพราะไม่มีสังขาร ชื่อว่า “ปรมัตถสูญ”


โคตรภูจิต คือ ธรรมกายโคตรภูของพระโยคาวจรนั้นย่อมยึดหน่วงพระนิพพานอันละเอียด ประณีต สุขุมลุ่มลึกนั้นเป็นอารมณ์

เมื่อมรรคจิต และ มรรคปัญญา อันรวมเรียกว่า มรรคญาณ ของธรรมกายมรรคของพระโยคาวจรนั้นเกิดและเจริญขึ้น ปหานสัญโญชน์ กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ขึ้นไปได้ ย่อมก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชนเป็นพระอริยบุคคลตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ และ ณ บัดนั้น ธรรมกายมรรค ได้แก่ ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะตกศูนย์ และปรากฏผลจิต ได้แก่ ธรรมกายพระโสดาปัตติผล เข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ ๕ คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้ กิเลสที่ยังเหลือ (ในกรณีเสขบุคคล) และพิจารณาพระนิพพาน ต่อไป


นี้คือขั้นตอนของเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงมรรคผลนิพพาน ตามรอยบาทพระพุทธองค์ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติเข้าถึงได้รู้-เห็น และเป็นธรรมกาย แล้วได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ และได้ถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมาถึงปัจจุบัน


ข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติ ให้ทดลองปฏิบัติให้เห็นผลด้วยตนเอง แล้วท่านจะซาบซึ้งในคุณของวิชชาธรรมกาย ด้วยตัวของท่านเอง

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
สำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดราชบุรี
โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำจังหวัดราชบุรี
โดยมติมหาเถรสมาคม

:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
.jpg
.jpg [ 106.58 KiB | เปิดดู 4124 ครั้ง ]
8path.gif
8path.gif [ 103.1 KiB | เปิดดู 4123 ครั้ง ]

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 02 มิ.ย. 2010, 21:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

เสียงหลวงพ่อสด
ภูมิสมถะ,ภูมิวิปัสสนา
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
ขนาดไฟล์ 26 MB เวลา 27:38 นาที


http://www.watpaknam.org/teaching/view.php?id=10
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
Y7946772-1.jpg
Y7946772-1.jpg [ 46.22 KiB | เปิดดู 4107 ครั้ง ]

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 02 มิ.ย. 2010, 22:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



๕. สรภังเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระสรภังคเถระ

[๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ
โดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง
สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ
อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ
ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว
พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระ
เวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป

ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น
พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้
ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส
เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์
สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง
ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ
เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น
ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.
-----------------------------------------------------
พระเถระ ๕ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓๕ คาถาคือ
๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏภัททิยเถระ
๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
๕. พระสรภังคเถระ.
จบ สัตตกนิบาต.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:
:b45: :b45: :b45:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:


ไฟล์แนป:
Y9296500-37.jpg
Y9296500-37.jpg [ 37.75 KiB | เปิดดู 4099 ครั้ง ]

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 02 มิ.ย. 2010, 22:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑



อัตถสันทัสสกเถราปทานที่ ๗ (๑๓๗)
ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระพุทธเจ้า ๓ คาถา

[๑๓๙] เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ
ผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้บรรลุพลธรรมแวดล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑ แสน ผู้บรรลุวิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖
มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า ใครเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ใน
มนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกไม่มีอะไรเปรียบ ในพระญาณของพระสัมพุทธ-
เจ้าองค์ใด ใครได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณไม่สิ้นสุด
แล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า
ชนทั้งหลายแสดงธรรมกาย และไม่อาจทำ
รัตนากรทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า
พราหมณ์
นารทะนั้นชมเชยพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระผู้ไม่แพ้ด้วย ๓ คาถา
นี้แล้วเดินไปข้างหน้า ด้วยจิตอันเลื่อมใสและด้อยการชมเชยพระพุทธเจ้า
นั้น เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัลป ในกัลปที่ ๓๐๐๐ แต่กัลปนี้
ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์พระนามว่าสุมิตตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัตถสันทัสสกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ อัตถสันทัสสกเถราปทาน.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๔๐๒๓ - ๔๐๔๑. หน้าที่ ๑๘๖ - ๑๘๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

:b42: :b42: :b42:
:b47: :b47: :b47:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:


ไฟล์แนป:
.jpg
.jpg [ 43.04 KiB | เปิดดู 4086 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/