ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ความหมายของไตรลักษณ์ (อนิจจตา)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=30194
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 21 มี.ค. 2010, 09:39 ]
หัวข้อกระทู้:  ความหมายของไตรลักษณ์ (อนิจจตา)

ความหมายของไตรลักษณ์


พึงสังเกตว่า ท่านขยายขอบเขตการพิจารณาออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั้งขันธ์ 5 ที่เป็นภายใน และ

ขันธ์ 5 ที่เป็นภายนอก ทั้งอายตนะภายในและอายตนะภายนอก เป็นการมองทั้งชีวิตและสิ่งทั้งปวง

ที่ชีวิตเกี่ยวข้อง คือว่าด้วยชีวิตและโลกทั่วไปทั้งหมดทั้งสิ้น

ไฟล์แนป:
post-343-1181794836.jpg
post-343-1181794836.jpg [ 51.07 KiB | เปิดดู 3074 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 21 มี.ค. 2010, 09:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของไตรลักษณ์ (อนิจจตา)

1.อนิจจตา และอนิจจลักษณะ

คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคแสดงอรรถ (ความหมาย) ของอนิจจตาไว้อย่างเดียว ชื่อว่า เป็นอนิจจัง โดยความหมาย

ว่า เป็นของสิ้นไป *(* ขยฏฺเฐน –ขุ.ปฏิ.31/79/53)

หมายความว่า เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อใด ก็ดับที่นั้น เมื่อนั้น เช่น รูปธรรมในอดีต ก็ดับไปในอดีต

ไม่มาถึงถึงขณะนี้

รูปในขณะนี้ ก็ดับไปที่นี่ ไม่ไปถึงข้างหน้า

รูปในอนาคตจะเกิดถัดต่อไป ก็จะดับ ณ ที่นั่นเอง ไม่ยืนอยู่ถึงเวลาต่อไปอีก ดังนี้เป็นต้น

ต่อมา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกา ท่านต้องการให้ผู้ศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น จึงได้ขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆ

ยักย้ายคำอธิบายออกไปให้เห็นความหมายในหลายๆแง่ และหลายๆระดับ ตั้งแต่ระดับคร่าวๆ หยาบๆ ลงมา

จนถึงความเป็นไปในแต่ละขณะๆ เช่น เมื่อมองชีวิตของคน เบื้องต้นก็มองอย่างง่ายๆ ดูช่วงชีวิต

ทั้งหมด ก็จะเห็นว่า ชีวิตมีการเกิดและการแตกดับ

เริ่มต้นด้วยการเกิดและสิ้นสุดลงด้วยความตาย

เมื่อซอยลงไปอีก ก็ยิ่งเห็นความเกิดและความดับ

หรือ การเริ่มต้นและการแตกสลายกระชั้นถี่เข้ามา เป็นช่วงวัยหนึ่งๆ ช่วงระยะสิบปีหนึ่งๆ

ช่วงปีหนึ่งๆ ช่วงฤดูหนึ่งๆ ช่วงเดือนหนึ่งๆ ฯลฯ ช่วยยามหนึ่งๆ

ตลอดถึงชั่วเวลาขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแต่ละครั้งแต่ละหน จนกระทั่งมองเห็นความเกิดดับ

ที่เป็นไปในทุกๆขณะ ซึ่งเป็นของมองเห็นได้ยากสำหรับคนทั่วๆไป


อย่างไรก็ตามในสมัยปัจจุบันนี้ ที่วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากแล้ว อนิจจตาหรือความไม่เที่ยง

โดยเฉพาะในด้านรูปธรรม เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก จนเกือบจะกลายเป็นของสามัญไปแล้ว

ทฤษฎีต่างๆ ตั้งแต่ทฤษฎีว่าด้วยการเกิดดับของดาว ลงมาจนถึงทฤษฎีว่า ด้วยการสลายตัว

ของปรมาณู ล้วนใช้ช่วยอธิบายหลักอนิจจตาได้ทั้งสิ้น

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 21 มี.ค. 2010, 09:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของไตรลักษณ์ (อนิจจตา)

ที่ว่าคัมภีร์ชั้นอรรถกา ยักเยื้องคำอธิบายออกไปหลายๆแง่ ขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆนั้น

เช่น บางแห่งท่านอธิบายว่า ที่ชื่อว่า เป็นอนิจจัง ก็เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป

(อนจฺจนฺติกตาย)

และเพราะเป็นสิ่งที่มีความเริ่มต้นและความสิ้นสุด (มีจุดเริ่มและมีจุดจบ,อาทิอนฺตวนฺตตาย*

(* วิสุทธิ.3/237)

แต่คำอธิบายอย่างง่ายๆ ที่ใช้บ่อยก็คือข้อความว่า ชื่อว่า เป็นอนิจจัง โดยความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีแล้ว

ก็ไม่มี (คือ มีหรือปรากฏขึ้นแล้ว ก็หมดหรือหายไป หุตฺวา อภาวฏฺเฐน* (* วิสุทธิ.3/260)

บางแห่งก็นำข้อความอื่นมาอธิบายเสริมเข้ากับความนี้อีก เช่นว่า ชื่อว่า เป็นอนิจจัง เพราะเกิดขึ้น เสื่อมสลาย

และกลายเป็นอย่างอื่น หรือเพราะมีแล้ว ก็ไม่มี (อุปฺปาทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต วา -

วิสุทธิ.3/275) แต่ที่ถือว่า ท่านประมวลความหมายต่างๆมาแสดงไว้โดยครบถ้วน ก็คือ

การแสดงอรรถแห่งอนิจจตา เป็น 4 นัย หมายความว่า เป็นอนิจจังด้วยเหตุผล 4 อย่างคือ *

(* วิสุทธิ.3/246 ฯลฯ)

1. อุปฺปาทวยปฺปวตฺตโต เพราะเป็นไปโดยการเกิดและการสลาย คือ เกิดดับๆมีแล้วก็ไม่มี

2. วิปริณามโต เพราะเป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อยๆ

3. ตาวกาลิกโต เพราะเป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

4.นิจฺจปฏิกฺเขปโต เพราะแย้งต่อความเที่ยง คือ สภาวะของมันที่เป็นสิ่งไม่เที่ยงนั้น ขัดกันอยู่เอง

ในตัวกับความเที่ยง หรือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว เมื่อมองดูรู้เห็นตรงตามสภาวะ

ของมันแล้ว ก็จะหาไม่พบความเที่ยงเลย

ถึงคนจะพยายามมองให้เห็นเป็นเที่ยง มันก็ไม่ยอมเที่ยงตามที่คนอยาก จึงเรียกว่า มันปฏิเสธความเที่ยง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 21 มี.ค. 2010, 14:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมายของไตรลักษณ์ (อนิจจตา)

ต่อคำอธิบายทุกขตา คือ ธรรมชาติที่บีบคั้น ได้ที่

viewtopic.php?f=2&t=30198

ไฟล์แนป:
31658959.gif
31658959.gif [ 219.79 KiB | เปิดดู 3027 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/