ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=28547 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | jekky [ 13 ม.ค. 2010, 19:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
คือคุณกรัชกายท่านให้ผมมาตั้งกระทู้ถามประเด็นนี้น่ะครับ ตัวผมก็พึ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิเช่นกัน(นั่งทุกวัน วันล่ะประมาณ 30 นาที ได้เกือบสองอาทิตย์แล้วครับ) ที่ผมจะถามคือเวลานั่งสมาธิอยู่แล้วผมจะเมื่อยหลังน่ะครับ แล้วผมจะชอบขยับหลังยืดขึ้นลงทุกๆสิบนาทีน่ะครับ แต่มันสามารถทำให้นั่งนานขึ้นได้น่ะครับ (แต่มีวันหนึ่งครับคือกำหนดตัวเองว่าไม่ขยับแล้วก็ทำได้ แค่วันเดียวนะครับ) ผมเลยยากถามว่าลักษณะแบบนี้มีผลกระทบกับสมาธิของเราหรือเปล่าครับ หรือผมต้องทำอย่างไร มีใครเคยเจอปัญหานี้บ้างหรือเปล่าครับ ขอคำแนนะนำครับ.... ขอบคุณล่วงหน้าน่ะครับ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 13 ม.ค. 2010, 19:48 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย | ||
คุณเฉลิมศักดิ์ว่าไงครับ ![]() คุณ jekky นั่งอย่างนั้นเป็นไรไหม แล้วมีผลกระทบต่อสมาธิไหม เมื่อเค้ายึดตัวอย่างนั้น ในพระไตรปีฎก หรือ อรรถกถา ฎีกา ว่าไว้ยังไงขอรับ ![]()
|
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 13 ม.ค. 2010, 19:53 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย | ||
คุณ jekky ใช้คำภาวนาหรือไม่ครับ ท่าใช้ ๆ อะไร ยังไง แล้วใช้กรรมฐานอะไร ลมหายใจเข้า-ออก หรือใช้ พอง-ยุบ หรืออะไรอื่น บอกคุณเฉลิมศักดิ์ด้วยครับ
|
เจ้าของ: | jekky [ 13 ม.ค. 2010, 21:24 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย | ||
ใช้ครับ ขณะที่ผมนั่งสมาธิผมจะพิจารณาลมหายใจครับ หายใจเข้า-พุธ หายใจออก-โธ ครับ ตามนี้ตลอดการนั่งสมาธิครับ ยินดีรับการชี้แนะครับ เนื่องจากว่าผมไม่เคยเข้าคร์อสปฏิบัติธรรมที่ไหนมาก่อนเลยอ่ะครับ หลังจากศึกษาโดยการอ่านตามเว็บนี่แหละครับ ผมก็มาลองฝึกนั่งดูบ้างอ่ะครับเลยไม่มีอาจารย์มาชี้แนะครับ
|
เจ้าของ: | chalermsak [ 14 ม.ค. 2010, 05:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
อ้างคำพูด: ตัวผมก็พึ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิเช่นกัน(นั่งทุกวัน วันล่ะประมาณ 30 นาที ได้เกือบสองอาทิตย์แล้วครับ) ที่ผมจะถามคือเวลานั่งสมาธิอยู่แล้วผมจะเมื่อยหลังน่ะครับ แล้วผมจะชอบขยับหลังยืดขึ้นลงทุกๆสิบนาทีน่ะครับ แต่มันสามารถทำให้นั่งนานขึ้นได้น่ะครับ (แต่มีวันหนึ่งครับคือกำหนดตัวเองว่าไม่ขยับแล้วก็ทำได้ แค่วันเดียวนะครับ) ผมเลยยากถามว่าลักษณะแบบนี้มีผลกระทบกับสมาธิของเราหรือเปล่าครับ หรือผมต้องทำอย่างไร มีใครเคยเจอปัญหานี้บ้างหรือเปล่าครับ ขอคำแนนะนำครับ.... ![]() http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/009129.htm ๑๒. อานิสงส์ที่ได้รับจากการสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์นั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการแผ่เมตตาใ(เมตตากรรมฐาน =สมาธิ) ห้แก่สัตว์ทั้งหลายมีความสุขเพียงชั่วคราวไม่ได้ ๑๓. อานิสงส์ที่ได้รับจากการแผ่เมตตา (เมตตากรรมฐาน =สมาธิ) ให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีความสุขเพียงชั่วคราวนั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนาเพียงชั่วคราวไม่ได้ เท่าที่บรรยายถึงอานิสงส์ของการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา เป็นลำดับมานี้จะเห็นได้ว่าอานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนาเป็นอานิสงส์ที่สูงสุด ไม่จำเป็นจะต้องกล่าวถึงการเจริญเป็นเวลานานๆ แม้แต่จะเจริญเพียงหนึ่งวันหรือหนึ่งชั่วโมงก็ยังนับว่าได้อานิสงส์มากอยู่แล้ว ถ้าได้เจริญเป็นเวลานานๆนั้น ก็ย่อมได้รับอานิสงส์มากขึ้นไปจนหาประมาณไม่ได้ ----------------------------------------------------- และจะเกิด มหากุศลที่สูงขึ้นไปอีก หากคุณ jekky ดำเนินตามแนวทางของเจริญวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน คุณ jekky ศึกษาความแตกต่างของ สมาธิ - วิปัสสนา ได้จากกระทู้ที่ผมเคยรวบรวมไว้ 21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถ viewtopic.php?f=2&t=21049 21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ viewtopic.php?f=2&t=21062 สมาธิ - วิปัสสนา http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=2& หลักของสมถะและวิปัสสนา viewtopic.php?f=2&t=21049 ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้ ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา ----------------------------------------------------------- คุณ jekky ต้องมีจุดมุ่งหมาย ว่าจะเจริญ วิปัสสนา ในแบบไหน (สมถยานิก หรือ วิปัสสนายานิก) ไม่อยากให้ทำสมาธิแบบไร้เป้าหมาย ขาดคันถธุระ(ปริยัติศาสนา) แล้วไปติดเพียงความสุข สงบ เท่านั้น หากจะเจริญ วิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน บรรพไหนจึงจะเหมาะกับจริต ของเรา มหาสติปัฏฐานสูตร อรรถกถา และ การบรรยายจากพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0 |
เจ้าของ: | chalermsak [ 14 ม.ค. 2010, 06:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
อ้างคำพูด: ตัวผมก็พึ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิเช่นกัน(นั่งทุกวัน วันล่ะประมาณ 30 นาที ได้เกือบสองอาทิตย์แล้วครับ) ที่ผมจะถามคือเวลานั่งสมาธิอยู่แล้วผมจะเมื่อยหลังน่ะครับ แล้วผมจะชอบขยับหลังยืดขึ้นลงทุกๆสิบนาทีน่ะครับ แต่มันสามารถทำให้นั่งนานขึ้นได้น่ะครับ (แต่มีวันหนึ่งครับคือกำหนดตัวเองว่าไม่ขยับแล้วก็ทำได้ แค่วันเดียวนะครับ) ผมเลยยากถามว่าลักษณะแบบนี้มีผลกระทบกับสมาธิของเราหรือเปล่าครับ หรือผมต้องทำอย่างไร มีใครเคยเจอปัญหานี้บ้างหรือเปล่าครับ ขอคำแนนะนำครับ.... ----------------------------- ขณะที่ผมนั่งสมาธิผมจะพิจารณาลมหายใจครับ หายใจเข้า-พุธ หายใจออก-โธ ครับ ตามนี้ตลอดการนั่งสมาธิครับ ยินดีรับการชี้แนะครับ เนื่องจากว่าผมไม่เคยเข้าคร์อสปฏิบัติธรรมที่ไหนมาก่อนเลยอ่ะครับ หลังจากศึกษาโดยการอ่านตามเว็บนี่แหละครับ ผมก็มาลองฝึกนั่งดูบ้างอ่ะครับเลยไม่มีอาจารย์มาชี้แนะครับ สำหรับแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา ของผมเป็นแบบ วิปัสสนายานิก คือ มีสติตั้งอยู่ บนอิริยาบถต่าง ๆ และ นามธรรม ที่เป็น ปัจจุบันอารมณ์ หากคุณมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติ ตามแนว สมถะยานิกะ คุณคงต้องหาอาจารย์ สายสมถะยานิกะ ผู้เชี่ยวชาญ ผ่านการทำสมาธิขั้น อัปปนาสมาธิ ผ่านฌานต่าง ๆ ( เช่น ปฐมฌาน ) และสอนวิธีการยกองค์ฌานขึ้นส่การเจริญวิปัสสนาต่อ ( เหมือนหลักฐานจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ที่ผมตั้งเป็นกระทู้) เหมือนการจะเดินทาง(วิปัสสนาธุระ) ก่อนลงมือเดินทาง ก็ต้องมีแผนที่ (คันถธุระ) และศึกษาแผนที่ให้เข้าใจก่อน จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ฌาน คืออะไร http://abhidhamonline.org/aphi/p1/053.htm นิวรณ์ของฌาน http://abhidhamonline.org/aphi/p1/054.htm การเผานิวรณ์ http://abhidhamonline.org/aphi/p1/055.htm สัปปายธรรม http://abhidhamonline.org/aphi/p9/038.htm อนึ่ง สถานที่ในสังคมเมือง หรือ สำนักปฏิบัติสายสมาธิ ก็เต็มไปด้วยข้าศึกของฌาน คือ เสียงต่าง ๆ สถานที่จึงไม่เอื้อต่อการทำสมาธิให้เกิดแม้กระทั่ง อุปจารสมาธิ พระภิกษุในสมัยก่อน ที่ท่านทำสมาธิจนได้ฌานนั้น ท่านจึงต้องอาศัยตาม ป่า ถ้ำ ภูเขา จึงจะสัปปายะ อนึ่งผมว่า การจะทำสมาธิให้เกิด ฌาน และ การเจริญ วิปัสสนายานิกะให้เกิดวิปัสสนาญาณ นั้นมีความยาก พอ ๆ กัน |
เจ้าของ: | chalermsak [ 14 ม.ค. 2010, 06:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
ในปัจจุบันอาจจะมี สำนักทำสมาธิมากมาย และแนวการสอนก็จะไม่เน้น คันถธุระ (ปริยัติ) สอนว่า ภาวนา พุทโธ หรือ ยุบหนอ พองหนอ รู้หนอ ไปเรื่อย ๆ อย่าฟุ้งซ่าน เมื่อ สมาธิมาก ๆ ขึ้น ปัญญา ย่อมเกิดเอง อย่าไป ศึกษาธรรมะให้เสียเวลา หรือ อ้างคำพูด: กรัชกาย เขียน คุณนึกย้อนไปครั้งที่เจ้าชายสิทธิตถัตถะทิ้งสมบัติเข้าป่าดิ มีตำราไปกี่เล่ม ใช้คัมภีร์ไหนบ้าง อ่านความเห็นของคุณกรัชกายแล้ว นึกถึงข้อคิดของ พระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง คือ อาจารย์ไชยวัฒน์ นี้คุณกรัชกายกำลังสอนให้คนเป็นพระพุทธเจ้าหรือครับ ? http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=3& บางสำนักบอกว่าไม่ต้องฟังหรอก ปฏิบัติไปก็ได้รู้เอง ใครล่ะครับไม่ต้องฟัง ปฏิบัติไปแล้วก็เกิดปัญญารู้เอง ใครครับ พระพุทธเจ้านา ใครก็ตามไปปฏิบัติสำนักนี่เกิดความคลางแคลงสงสัยในข้อธรรม เรื่องหลักฐานตำราพระไตรปิฏก บาลี อรรถกถา มาถามอาจารย์ อาจารย์จะตัดบทไม่ต้องไปสนใจหรอกคุณ ฟุ้งซ่านไปเปล่า ๆ คุณปฏิบัติไปคุณก็เกิดรู้ขึ้นมาเอง ว่าอะไรเป็นอะไร สอนให้คนเป็นพระพุทธเจ้า ต้องเรียนต้องฟังต้องทบทวน ไม่เข้าใจสงสัยก็ ไตร่ถามท่านผูรู้ ปัญญาวุธ ก็ขาดไม่ได้ ปัญญาวุธในที่นี้เป็น “ วิปัสสนาปัญญา “ ถ้าพร้อมเพรียงอาวุธทั้ง ๓ นี้แล้วนั่นแหละ เอาชนะกิเลสได้ ท่านอาจารย์ไชยวัฒน์ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง ที่แตกฉานในพระไตรปิฏก อรรถกถา และแนวทางการปฏิบัติ วิปัสสนายานิก ท่านได้ บรรยายไว้น่าศึกษามากดังนี้ สติปัฏฐาน http://larndham.org/index.php?showtopic=23508&st=0 -------------------------------------------------------------------- อ้างคำพูด: ตัวผมก็พึ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิเช่นกัน(นั่งทุกวัน วันล่ะประมาณ 30 นาที ได้เกือบสองอาทิตย์แล้วครับ) ที่ผมจะถามคือเวลานั่งสมาธิอยู่แล้วผมจะเมื่อยหลังน่ะครับ แล้วผมจะชอบขยับหลังยืดขึ้นลงทุกๆสิบนาทีน่ะครับ แต่มันสามารถทำให้นั่งนานขึ้นได้น่ะครับ (แต่มีวันหนึ่งครับคือกำหนดตัวเองว่าไม่ขยับแล้วก็ทำได้ แค่วันเดียวนะครับ) ผมเลยยากถามว่าลักษณะแบบนี้มีผลกระทบกับสมาธิของเราหรือเปล่าครับ หรือผมต้องทำอย่างไร มีใครเคยเจอปัญหานี้บ้างหรือเปล่าครับ ขอคำแนนะนำครับ.... การขยับหลังยืดขึ้นลง ก็เนื่องจาก แก้ไขทุกข์ คือ ความปวดเมื่อยครับ http://larndham.org/index.php?showtopic=11408&st=0&hl= อ้างคำพูด: ๘. การทำสมถะ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธินั้น จะทำไปหยุดไป เป็นชั่วโมง หรือ ๒ ชั่วโมง ก็อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ติดกัน และส่วนใหญ่จะทำได้ใน อิริยาบถนั่ง เท่านั้น ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทุกๆ อิริยาบถ โดยไม่จำกัดและเวลาทำก็หยุดไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำติดต่อกันไปเว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น การขยับอิริยาบถบ่อย ๆ มีผลต่อการทำสมาธิ ทำให้ไม่ต่อเนื่อง ขาดช่วงนะครับ ทำให้สมาธิไม่ก้าวหน้า ยิ่งถ้าเกิด อาการปวดเมื่อย ปวดขา ก็ต้องทนภาวนาต่อ ซึ่งทำได้ยากมาก และเมื่อสมาธิไปข่ม ทุกขเวทนาไว้ได้ ก็จะเกิดความเป็น อัตตา ขึ้นมา ( ควบคุมได้ ) อาจจะทำให้เกิด ตัณหา ทิฏฐิ ขึ้นมาได้ ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้ แต่เมื่อมหาสติปัฏฐานเกิดขึ้นแล้ว กลับทำให้ความรู้สึกให้มหาสติปัฏฐานนั้นหมดไป ซึ่งถ้าพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้ว จะเป็นการถูกต้องไหม ? เมื่อการปฏิบัติเช่นนี้ โดยทุกขเวทนาหายไปด้วยอำนาจการบังคับ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเขาบังคับได้ ที่ถูกแล้วท่านกล่าวว่า ให้ดูทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ท่านไม่ได้สั่งให้ดูทุกขเวทนาเพื่อจะให้ทุกขเวทนาหายไป ในมหาสติปัฏฐานนั้น ท่านให้ดูทุกขเวทนาซึ่งเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสามารถจะบังคับได้ นี่ ท่านให้ดูอย่างนี้ ทุกขเวทนานั้นเป็นนามธรรม มาจากเบญจขันธ์ ให้แลเห็นทุกข์โทษของเบญจขันธ์ แล้วความอาลัย ความต้องการในเบญจขันธ์ ก็จะได้หมดไป ยิ่งเห็นทุกข์เห็นโทษในเวทนามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นเหตุให้การบรรลุพระนิพพานใกล้เข้ามาเท่านั้น ถ้าทุกขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีสุขเวทนา สุขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีอุเบกขาเวทนา อันใดอันหนึ่ง เพราะเวทนานี้ ประกอบกับจิตทั้งหมดทุกดวง ทั้ง ๘๙ ดวง ไม่มีเลยที่จะไม่ประกอบด้วยเวทนา เพราะฉะนั้น เมื่อบังคับให้ทุกขเวทนาหายไป หรือหมดไปแล้ว ก็แสดงว่า ผู้ปฏิบัตินั้นไม่พอใจในทุกขเวทนา และก็ยินดีสุขเวทนา การที่ยินดีพอใจในสุขเวทนา ก็คือยินดีพอใจในตัวเบญจขันธ์นั่นเอง -------------------------------------------------- แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้ โดยคุณกรัชกาย http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241 ------------------------------------------------------------ คุณกรัชกาย นำแนวทางการทำสมาธิของตน ที่เข้าใจว่าเป็นวิปัสสนาแล้ว เที่ยวไปตัดสินแนวทางอื่นว่าผิด ไม่สามารถแก้ไขการทำสมาธิของตนเองได้ จึงถือว่าแนวทางนั้นไม่ถูกต้อง จึงเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปของคุณกรัชกาย พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ(นักปฏิบัติธรรม) บางท่าน http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16059 ข.มีพฤติกรรม สวนกระแสพระสัทธรรม เช่น ๑)อติมานี มีมานะจัด มีนิสัยหยาบกระด้าง (ปากร้าย ชอบทะเลาะ เบาะแว้ง ) บุคคลอื่นแนะนำตักเตือนไม่ได้ ๒)โกธาภิภูโต มักโกรธ หงุดหงิดรำคาญง่าย ไร้เหตุผล ๓)พหุภาณี พูดมาก ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่เลือกสถานที่ และบุคคล ขาดความสุภาพ ๔)สาเถยยมายาวี เป็นคนเจ้าเล่ห์ มารยา มีเจตนาแอบแฝงที่ไม่ดี หน้าด้าน ไม่รู้จักอาย เป็นคนแก้อยาก ผมไม่อยากให้ใครที่ ศึกษา หรือ ปฏิบัติธรรมแล้ว มีพฤติกรรม เช่นนี้เลย |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2010, 08:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
คุณเฉลิมศักดิ์ตอบให้ตรงคำถามเขาสิขอรับ คือคุณ jekky เขาทำแล้วประสบปัญหาเช่นว่านั้น จึงถาม หน้าที่ของผู้ตอบคือตอบให้ตรงเป้าตรงจุดที่เขาเป็นเขาถาม เท่านี้จบ ใจไหมขอรับ ![]() แต่คุณร่ายไปเรื่อย อะไรนักก็ไม่รู้ ![]() นี่คือปัญหาที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน คือว่าโยคีปฏิบัติกรรมฐานแล้วประสบปัญหาอย่างนั้นเป็นต้น แล้วโพสต์ถาม แต่คนตอบ ตอบไม่ตรงกับที่เขาประสบ เขาเจอ เขาเห็น แล้วจะแก้ปัญหาให้เขาได้อย่างไร เหมือนอีกคนหนึ่งถามเรื่องน้ำ แต่คนตอบๆเกี่ยวกับบกกับภูเขา เห็นแล้วอนาถใจ ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2010, 08:28 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
อ้างคำพูด: อ่านความเห็นของคุณกรัชกายแล้ว นึกถึงข้อคิดของ พระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง คือ อาจารย์ไชยวัฒน์ นี้คุณกรัชกายกำลังสอนให้คนเป็นพระพุทธเจ้าหรือครับ ? คุณเฉลิมศักดิ์ขอรับ เวลานี้มีเราสองสามคนรวม จขกท.ด้วย ที่กำลังสนทนากันอยุ่ ณ ที่นี้ คุณอย่านำคำพูด ของคนอื่นมาเลย เช่น อ.อะไรนั่นเดี๋ยวเขาเสียคนเสียเปล่าๆ ![]() บอกไม่ให้ อ.แนบมา ก็ไปเอาคนอื่นมาอีก |
เจ้าของ: | jekky [ 14 ม.ค. 2010, 19:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
ขอบพระคุณคุณเฉลิมศักดิ์มากน่ะครับ อ่านผ่านๆนี้เนื้อหาเยอะมากครับ (อ่านไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ) แต่ผมจะพยายามค่อยศึกษาไปทีล่ะนิดน่ะครับ แต่หากมีข้อชี้แนนะอื่นๆหรือหากมีข้อสงสัยอันใดผมจะเข้ามาอ่านใหม่พรุ่งนี้ครับ ![]() |
เจ้าของ: | chalermsak [ 15 ม.ค. 2010, 06:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
อ้างคำพูด: ขอบพระคุณคุณเฉลิมศักดิ์มกน่ะครับ อ่านผ่านๆนี้เนื้อหาเยอะมากครับ (อ่านไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ) แต่ผมจะพยายามค่อยศึกษาไปทีล่ะนิดน่ะครับ ![]() อ้างคำพูด: หายใจเข้า-พุธ หายใจออก-โธ ครับ ตามนี้ตลอดการนั่งสมาธิครับ ยินดีรับการชี้แนะครับ เนื่องจากว่าผมไม่เคยเข้าคร์อสปฏิบัติธรรมที่ไหนมาก่อนเลยอ่ะครับ หลังจากศึกษาโดยการอ่านตามเว็บนี่แหละครับ ผมก็มาลองฝึกนั่งดูบ้างอ่ะครับเลยไม่มีอาจารย์มาชี้แนะครับ เมื่อก่อนตอนสนใจการปฏิบัติใหม่ ๆ ผมก็ภาวนา พุทโธ นี้แหละครับ ยังไม่มีครูบาอาจารย์ เหมือนกัน อ่านจากหนังสือ จากนั้นก็ไปฝึกหัดปฏิบัติสายยุบหนอ-พองหนอ ( แบบคุณกรัชกาย) เข้าคร์อส 3วันบ้าง 7 วันบ้าง ได้รับการแนะนำตลอดว่า นี้แหละคือ วิปัสสนา ไม่ใช่ สมาธิ ทำไปเถิดแล้วปัญญาจะ บริสุทธิ์ ขึ้นเอง ไม่ต้องไปศึกษา คันถธุระมากให้เสียเวลา ฟุ้งซ่านเปล่า ๆ จากนั้นก็ ลองฝึกตามแนวธรรมกาย (เห็นลูกแก้ว) , มโนมยิทธิ (เห็นนรกสวรรค์) แต่สมาธิก็ไม่ก้าวหน้าเท่าไหร พยายามจะให้สมาธิแน่วแน่ อยู่กับลมหายใจ แล้วเกิดนิมิต ขึ้น จะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ควันเข้าออก, ลูกแก้ว, นรกสวรรค์ แต่ก็ไม่เคยเห็นสักที มากสุดก็เหมือนจะเป็น แสงเล็ก ๆ เท่านั้นเอง อ้างคำพูด: ขอบพระคุณคุณเฉลิมศักดิ์มกน่ะครับ อ่านผ่านๆนี้เนื้อหาเยอะมากครับ (อ่านไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ) แต่ผมจะพยายามค่อยศึกษาไปทีล่ะนิดน่ะครับ คุณ jekky ครับ เนื้อหาที่ผ่านมา อ้างอิงจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา อาจจะอ่านยากนิดหนึ่ง ก็ขอให้ใช้ความเพียรเพื่อศึกษาต่อไป ขออนุญาต นำคำสอนของหลวงพ่อเสือ ที่เป็นพื้นฐาน ที่ท่านไม่ใช้ภาษาบาลีมาก มาแนะนำในเรื่อง การภาวนาดังนี้ http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/vipass.doc วิปัสสนาธุระ หมายถึง ธุระที่จะต้องทำตัวเองให้มีปัญญา และหลักในการปฏิบัติในพุทธศาสนามี ๒ วิธี คือ สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ทั้ง ๒ อย่างนี้ไม่ใช่การกระทำอย่างเดียวกัน สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น ให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น จิตก็จะมีสมาธิในอารมณ์ที่ต้องการ ฉะนั้น สมาธิคือการที่จิตกำหนดอยู่ในอารมณ์ๆ เดียว จะหาอะไรมากำหนดก็ได้เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์นั้น เช่น ภาวนาว่า "พุทโธ" "สัมมาอรหัง" หรือกสิณมีถึง ๔๐ อย่างที่เราจะสามารถนำมาใช้ได้ จิตจะได้กำหนดอยู่กับสิ่งนั้น ถ้าจะอธิบายให้ง่ายออกไปอีกนิดหนึ่ง เช่น เราหยิบกระบวยตักน้ำขึ้นมาจ้องแล้วก็ท่องว่า "นี่คือกระบวยตักน้ำ" นี่ก็เป็นสมถกรรมฐาน หรือการอ่านหนังสือด้วยความสนใจอยู่กับตัวสระพยัญชนะนั้น ไม่คิดไปในเรื่องอื่น หรือ เช่นขณะนี้เรากำลังตั้งใจฟัง ก็เป็นสมถกรรมฐาน ฉะนั้นคำว่า สมถกรรมฐานคือการทำสมาธิ เกิดได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก้ม เงย เหยียด คู้ อ่าน ดู หรือฟัง ทำให้เกิดความตั้งมั่นในอารมณ์ และเราก็รู้อารมณ์นั้นด้วยความเข้าใจด้วยความมั่นคง ---------------------------------------------------- บันไดสู่สติปัฏฐาน http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/bundai1.doc ----------------------------------------------- มงคลชีวิต มีบุญวาสนามาก่อน โดย..หลวงพ่อเสือ http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=12611 ฉะนั้น จะทำอย่างไรให้เราเจริญในมงคลข้อนี้ เราต้องสร้างบุญใหม่แต่บัดนี้เลย เคยสร้างมาแล้วก็สร้างต่อ ใครยังไม่เคยทำก็รีบทำ จะได้มีบุญเก่าติดไปในวันหน้า โดยยึดหลักดังต่อไปนี้ ๑.ตื่นเช้าขึ้นมาให้เจริญกุศลสักนิดหนึ่งแล้วค่อยปฏิบัติทางโลก เอาหลักวิปัสสนาเข้าปฏิบัติ คือ กำหนดนามตื่น กำหนดเป็นรูปเป็นนามสักนิดหนึ่ง นี่เขาเรียกว่าเจริญชีวิตอยู่ในกุศล เพราะพอเราตื่นขึ้นมา บิดขี้เกียจ วิ่งไปกิน วิ่งไปอาบน้ำ มีแต่โลภะ โทสะ โมหะ ฉะนั้น พอรู้สึกตัวก็นามตื่น พอลืมตาขึ้นมาก็นามเห็นสักนิดหนึ่ง เป็นขณะๆ สักสองสามขณะ นั่นคือการเริ่มต้นชีวิตด้วยการมีสติปัญญา หัดทำนะลูก ก่อนจะทำงานอย่างอื่น วันละครั้ง หรือไม่ก่อนจะ ลุกจากที่นอน นั่ง มีสติควบคุม อย่าลุกพรวดพราด ค่อยๆ นั่ง แล้วห้อยขา แล้วยืน แค่นี้พอ ดีกว่าไม่ทำเลย เริ่มต้นวันใหม่ด้วยสติปัญญา ๒.และในวันหนึ่งๆ ควรจะมีศีลรักษาให้ได้อย่าน้อยวันละข้อ ไม่ยากเลย ถ้าเป็นสุภาพสตรีก็ไม่ดื่มสุรายาเมา ไม่ฆ่าสัตว์ก็ได้ บางคนไม่ได้ทำเลยก็ตั้งใจเสียเลย คือ มีความตั้งใจว่าวันนี้จะไม่ฆ่าสัตว์ ตั้งใจมั่นนี่มันมีกำลัง ไม่ใช่ว่าฉันไม่ฆ่าอยู่แล้วไม่ต้องไปตั้งใจ เช้าตื่นขึ้นมา วันนี้จะตั้งใจละเว้นจากการฆ่าสัตว์ทุกชนิด จะละเว้นของมึนเมาทุกชนิด วันนี้จะไม่พูดโกหก แต่พวกออกไปทำงานยากหน่อย ๓.สุดท้ายก่อนเข้านอน ทำสมาธิทุกวันก่อนนอน แต่ละวันมีกุศลโบราณท่านว่า แข่งบุญแข่งวาสนากันไม่ได้ ใช่ไหมลูก แต่ของพ่อแข่งได้ แข่งด้วยการทำดีให้มากขึ้น แล้วเราจะมีบุญวาสนากับเขา แข่งด้วยการกระทำความดี อานิสงส์ของการมีบุญวาสนามาก่อน มี ๔ ประการ คือ ๑. ทำให้มีปัจจัยพร้อม ทำให้สามารถทำความดีใหม่ได้ ๒. อำนวยประโยชน์ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นให้เจริญได้ ๓. เป็นต้นเหตุแห่งความสุขทุกประการ ๔. เป็นทุนสะสมไว้ใช้ได้ในชีวิตนี้และชีวิตหน้า ------------------------------------------------------------- ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 15 ม.ค. 2010, 09:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
ความเห็นคุณเฉลิมศักด์ข้างบน คือหนึ่งในจำนวนผู้แนะนำคนอื่นตามจริตของตัวเอง มิใช่แนะนำกรรมฐานตาม จริตของผู้อื่น หมายความว่า ผู้ผู้ปฏิบัติกรรมฐานเขารู้เห็นอย่างหนึ่ง ไม่เข้าใจจึงถามเพราะต้องการรู้ว่าสิ่งทึ่ตน ประสบนั้นคืออะไรยังไง ต้องปฏิบัติต่อไปยังไง นี่คือความประสงค์ของคนถาม ![]() แต่คนแนะนำเช่นคุณเฉลิมศักดิ์เป็นต้น ก็ตอบตามจริตของตัวเองเสีย คือ ตนรู้ยังไงแค่ไหนก็ว่าไปตามนั้นตาม ถนัด อารมณ์ความรู้สึกของคนถามและคนตอบจึงแย้งกันขัดกัน ดังที่เคยบอกกับคุณเฉลิมศักดิ์ไว้ที่ http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241 ว่าผู้ทำกรรมฐานแบบอานาปานสติ (ลมเข้าออก) หรือ ใช้อาการท้องพองท้องยุบ เป็นต้น เป็นอารมณ์ กับการตริตรึกนึกคิดแบบที่คุณเฉลิมศักดิ์พรรณนานั่นเนี่ย ไปด้วยกันกันไม่ได้ แก้อารมณ์ให้กันและกันไม่ได้ เพราะอะไร ? เพราะสื่อไม่ถึงความรู้สึกกัน ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 15 ม.ค. 2010, 09:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
ก่อนสนทนาเรื่องนี้กันต่อไป ขอถามคุณ jekky หน่อยครับว่า เจตนาที่คุณทำกรรมฐานเนี่ยเพื่ออะไร มีความมุ่งหมายอย่างไรครับ |
เจ้าของ: | jekky [ 15 ม.ค. 2010, 22:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
ขอตอบคุณกรัชกายน่ะครับ คือผมลองฝึกนั่งสมาธิในที่หวังลึกๆแล้วคือผมอยากเห็นนิมิตหรือเห็นกรรมของตัวเองครับ(ลึกมากเลยน่ะครับ) แต่ที่ต้องบอกว่าหวังลึกๆนั้นผมเห็นว่าผมพึ่งหัดนั่งอีกทั่งยังไม่มีอาจารย์ค่อยชี้แนนะครับ แต่ที่หวังจะได้จริงคือบุญกุศลที่ได้จากการนั่งสมาธิครับและการที่เรามีสมาธิในการดำรงชีวิตประจำวันอ่ะครับ หรือหากไม่ได้อะไรจริงก็หวังเพียงเป็นการสะสมบารมีหรือสมาธิเอาไว้ใช้ในภายภาคหน้าน่ะครับ อาจจะอ่านแล้วเห็นว่าผมไม่ได้มีความตั้งใจแนวแน่อะไร แต่ผมขอยืนยันน่ะครับผมมีความตั้งใจในการนั่งสมาธิจริงเพียงแต่ผมอยากเดินไปทีล่ะก้าวครับ อีกทั่งความรู้ทางพุทธศาสนาและการนั่งสมาธิผมก็พึ่งเริ่มศึกษาครับ ![]() ![]() เห็นสมควรอย่างไรโปรดชี้แนนะด้วยครับ |
เจ้าของ: | chalermsak [ 17 ม.ค. 2010, 07:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนสอบถามคุณเฉลิมศักดิ์และคุณกรัชกาย |
อ้างคำพูด: กรัชกาย ก่อนสนทนาเรื่องนี้กันต่อไป ขอถามคุณ jekky หน่อยครับว่า เจตนาที่คุณทำกรรมฐานเนี่ยเพื่ออะไร มีความมุ่งหมายอย่างไรครับ อ้างคำพูด: jekky ขอตอบคุณกรัชกายน่ะครับ คือผมลองฝึกนั่งสมาธิในที่หวังลึกๆแล้วคือผมอยากเห็นนิมิตหรือเห็นกรรมของตัวเองครับ(ลึกมากเลยน่ะครับ) แต่ที่ต้องบอกว่าหวังลึกๆนั้นผมเห็นว่าผมพึ่งหัดนั่งอีกทั่งยังไม่มีอาจารย์ค่อยชี้แนนะครับ แต่ที่หวังจะได้จริงคือบุญกุศลที่ได้จากการนั่งสมาธิครับและการที่เรามีสมาธิในการดำรงชีวิตประจำวันอ่ะครับ หรือหากไม่ได้อะไรจริงก็หวังเพียงเป็นการสะสมบารมีหรือสมาธิเอาไว้ใช้ในภายภาคหน้าน่ะครับ อาจจะอ่านแล้วเห็นว่าผมไม่ได้มีความตั้งใจแนวแน่อะไร แต่ผมขอยืนยันน่ะครับผมมีความตั้งใจในการนั่งสมาธิจริงเพียงแต่ผมอยากเดินไปทีล่ะก้าวครับ อีกทั่งความรู้ทางพุทธศาสนาและการนั่งสมาธิผมก็พึ่งเริ่มศึกษาครับ คุณ jekky การนั่ง สมาธิเพื่อจะเห็น นิมิตกรรมของตัวเอง คงจะหมายถึง เรื่องของวิบากต่าง ๆ ว่าเกิดจาก กรรม อะไร ในภพชาติไหน ในทาง ธรรมแล้ว เป็น อภิญญาจิต แบบหนึ่งเรียกว่า ยถากัมมุปคญาณ พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค สมถะ - วิปัสสนา http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/062.htm ๕. ทิพพจักขุญาณ ตาเป็นทิพย์ สามารถเห็นสิ่งที่อยู่ไกลมากหรืออยู่ในที่กำบังต่าง ๆ นั้นได้ ซึ่งตามปกติแล้วนัยน์ตาอย่างธรรมดาสามัญไม่สามารถที่จะเห็นเช่นนั้นได้เลย เป็นการเห็นทางมโนทวารโดยชัดเจนเหมือนกับว่าเห็นด้วยนัยน์ตาจริง ๆ (อย่างฝันก็ไม่ได้เห็นด้วยนัยน์ตา แต่ก็ชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนกัน) ทิพพจักขุจะเกิดได้ด้วยกสิณ ๔ คือ เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ จุตูปปาตญาณ เป็นอภิญญาที่สามารถรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ อภิญญานี้เกิดขึ้นโดยทิพพจักขุเป็นบาท และไม่ต้องมีการบริกรรมเป็นพิเศษอีกต่างหากแต่อย่างใดเลย เมื่อทิพพจักขุเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นแต่เพียงตั้งอธิฏฐานน้อมใจไปในการจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ ก็จะรู้ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่า ทิพพจักขุญาณและจุตูปปาตญาณนี้เป็นอภิญญาเดียวกัน จะเรียกชื่อใดชื่อเดียวก็พึงเข้าใจว่ามีความหมายทั้ง ๒ อย่าง คือ ตาทิพย์ และรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายด้วย อนึ่ง ทิพพจักขุญาณ หรือจุตูปปาตญาณ นี้ยังมีญาณอื่นที่อาศัยเป็นบาทให้เกิดอีก ๒ ญาณ คือ ก. ยถากัมมุปคญาณ เป็นญาณที่รู้ว่าสัตว์ที่เข้าถึงความสุขและความทุกข์นั้น เพราะได้ทำกรรมอะไรมา ข. อนาคตังสญาณ เป็นญาณที่รู้ในกาลต่อไปทั้งของตนเองและของผู้อื่นว่า จะเป็นไปอย่างนั้น ๆ นับตั้งแต่ล่วงหน้าไปอีก ๗ วัน จนถึงไม่มีที่สุด แล้วแต่กำลังของสมาธิว่าจะมีความสามารถเพียงใด ----------------------------- http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก ต้องมีใจรักอย่างที่เรียกว่า มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยเอาใจจิตใจจ่ออย่างจริงจัง ทั้งต้องประกอบด้วยปัญญารู้ว่าฌานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบาทที่ก้าวขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงตั้งหน้าเจริญภาวนาตามวิธีการจนเกิดฌานจิต ฌานจิตที่เกิดจากการปฏิบัติเช่นที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมดนี้ มีชื่อเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยการประพฤติปฏิบัติ ได้ฌานด้วยการเจริญสมถภาวนา คุณ jekky ครับ ศึกษาแผนที่ (ปริยัติ) ให้ดี ให้รู้เส้นทางในการเดิน (วิปัสสนาธุระ) แล้วเลือกเส้นทางที่เดิน อย่าเชื่อว่า ภาวนาไปแล้วจะรู้เอง เมื่อนั้น คุณคงให้คำตอบ คุณกรัชกายได้ ..................................................... จะขอเป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่า..เพื่อเติมเต็มธรรมที่ขาดหาย ส่วนคุณกรัชกาย เปรียบได้กับ แก้วที่เต็มแล้ว เข้าใจว่าตนเองรู้แล้ว คงยากที่จะเติมได้ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |