ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=27320
หน้า 10 จากทั้งหมด 13

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 24 ธ.ค. 2009, 21:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
วิธีการของนักวิปัสสนานั้น เขาจะไม่ไปคิดทำ กำหนด สั่งการอะไรใหม่ แต่เขาจะนิ่งดูความโกรธหรือโทสะและสันตติของโทสะนั้น ด้วยตาปัญญาสัมมาทิฐิ นิ่งสังเกต พิจารณา สันตติของโทสะนั้น ด้วยปัญญาสัมมาสังกัปปะ จน รู้ขึ้นมาว่าสภาวธรรมใดจักเกิดขึ้นตามมาเป็นผลอีก จนจบกระบวนการของโทสะ แต่จะไม่ยอมอยู่อย่างเดียว คือไม่ยอมทำอะไรตามคำสั่งของโทสะ



สวัสดีครับคุณอโศกะ

ข้อความคำตอบนี้ของคุณก็แสดงถึงความรู้ผิด ความเข้าใจผิดในการปฏิบัติธรรมอย่างแจ่มชัดครับ

เมื่อมีจิตโกรธเกิดขึ้นคุณอโศกะกล่าวว่า..

อโศกะ เขียน:
วิธีการของนักวิปัสสนานั้น เขาจะไม่ไปคิดทำ กำหนด สั่งการอะไรใหม่ แต่เขาจะนิ่งดูความโกรธหรือโทสะและสันตติของโทสะนั้น ด้วยตาปัญญาสัมมาทิฐิ



เอาของจริงครับคุณอโศกะ ไม่ใช่จินตนาการในอากาศแบบคุณ
นามขันธ์ หรือจิต เกิดดับได้ทีละดวงครับ
ความโกรธเกิดในจิต หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับจิต เกิดพร้อมจิต ดับไปพร้อมจิต
การที่คุณอโศกะดูความโกรธแสดงว่าคุณกำลังสร้างจิตโกรธขึ้นมาใหม่ ให้เกิดดับซ้ำแล้วซ้ำอีก

เอาจิตโกรธดูจิตโกรธ
คุณจึงจะเห็นสันตติของจิตโกรธ
การปฏิบัติของคุณแบบนี้จึงเป็นการสร้างอกุศลมูลและอวิชชาขึ้นในจิต จิตโกรธที่คงไว้ต่อไปอย่างนี้ ย่อมก่อให้เกิดอุปธิ เป็นกรรมวิบากเพื่อภพต่อไป เพราะคุณไม่เปลี่ยนคุณภาพจิต ดื้อดึงดันทุรังสร้างจิตโกรธเพื่อดูต่อไป

เมื่อดูจิต ก็ดูด้วยจิตโกรธ เพราะนามขันธ์ หรือจิต เกิดดับได้ทีละดวงครับ
ไม่สามารถดูด้วยจิตอื่นนอกจากจิตโกรธดวงนี้ได้ เพราะคุณไม่ให้จิตอื่นเกิดฌานจิต มัคคจิต ผลจิตคุณก็ไม่ยอมสร้าง ไม่ยอมให้เกิด เอาแต่จิตโกรธมาครอบครอง เป็นการปิดกั้นมัคคผลของตนเองด้วยความโง่เขลาโดยแท้


อโศกะ เขียน:
วิธีการของนักวิปัสสนานั้น เขาจะไม่ไปคิดทำ กำหนด สั่งการอะไรใหม่ แต่เขาจะนิ่งดูความโกรธหรือโทสะและสันตติของโทสะนั้น ด้วยตาปัญญาสัมมาทิฐิ



ความรู้นี้ของคุณจึงเป็นความรู้ผิด เป็นการเข้าใจผิด ปฏิบัติผิดเส้นทางแห่งมัคคผล จิตโกรธอันเป็นเหตุแห่งอวิชชาของคุณอโศกะย่อมนำคุณไปสู่อบายอย่างแน่นอนครับ


วิธีนี้จึงไม่สามารถกล่าวว่าเป็น วิธีการของนักวิปัสสนา แต่ควรกล่าวว่าเป็นวิธีของคุณอโศกะ หรือสำนักปฏิบัติของคุณอโศกะครับ

เพราะผมก็เป็นนักวิปัสสนา แต่ไม่ได้ใช้วิธีอย่างคุณอโศกะครับ

วิธีนี้ของคุณอโศกะ ปัญญาญาณใด ๆ เกิดขึ้นไม่ได้ครับ เพราะความโกรธมันหลอมรวมอยู่ในจิตเสียแล้วครับ นิวรณ์ 5 เป็นเครื่องกั้นญาณปัญญาของจิตครับ
เป็นการปฏิบัติที่ผิดทางของคุณอโศกะครับ ปัญญามีขึ้นมาไม่ได้หรอกครับ



เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 24 ธ.ค. 2009, 22:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
ถ้ามีสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ มีปัญญาหรือสัมปชัญญะ เฝ้าดูและสังเกตพิจารณาอารมณ์ ที่เกิดดับเปลี่ยนไปไม่ขาดสาย ผู้ปฏิบัติจะได้เห็นตัว สมุทัย คือ อัตตาและตัณหา โผล่ผุดขึ้นมาให้เห็นให้รู้ เมื่อถึงตรงนั้น เขาจะได้พบกับความยินดี ยินร้าย กรณีโทสะ ก็จะเกิดความยินร้ายก่อนเป็นวิภวตัณหา งานของผู้ปฏิบัติก็คือ เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินร้าย (วิเนยยะโลเก โทมนัสสัง) นี่ สติปัฏฐานได้ทำงานแล้ว



สวัสดีครับ

ข้อความนี้ของคุณอโศกะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ครับ
โลกียะสติและโลกุตตระสติอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ในจิตโกรธครับ
เพราะทุกขสมุทัย คือจิตโกรธนั่นเอง ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
คุณอโศกะนั่งดูจิตโกรธ เป็นการนั่งสร้างทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ต่อไป
สิ่งที่คุณอโศกะสร้างคือ อวิชชาครับ ไม่ได้สร้างปัญญาญาณใด ๆ ครับ






อโศกะ เขียน:
จะเอาความยินร้ายออก ทำอย่างไร ก็ต้องสู้กับความเป็น กู ที่กำลังโกรธ กำลังยินร้ายอยู่ให้ได้ ด้วย วิริยะ ขันติ ตบะ และเครื่องช่วยอื่น นี่คือการสู้ที่เหตุ ไม่หลบเหตุ

สมถะ สู้ผล คือแก้โกรธด้วยสติ สมาธิ

แต่วิปัสสนา สู้เหตุ คือ อัตตาและตัณหา อันเป็นเหตุเกิดโทสะ



ในเมื่อจิตโกรธยังเกิดอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อสู้ เพื่อดู คุณอโศกะเข้าใจว่ากำลังสู้ ไม่หลบ จิตอื่นย่อมเกิดไม่ได้ เพราะจิตทยอยเกิดดับได้ทีละดวงเท่านั้น


ความรู้เรื่องสมถะและวิปัสสนาของคุณอโศกะจึงเป็นความรู้ที่รู้มาผิด เข้าใจมาผิด ปฏิบัติมาผิดทาง ปฏิบัติผิดคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ

ไม่มีการสู้เหตุ สู้ผล ตามที่คุณอโศกะเข้าใจตามข้อความนี้หรอกครับ
การปฏิบัติธรรมคือการเปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นจิตมัคคจิตผลครับ


เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 24 ธ.ค. 2009, 23:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

:b13:

เจ้าของ:  กระบี่ไร้เงา [ 25 ธ.ค. 2009, 00:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
tongue สวัสดีน้องกระบี่ไร้เงา และกัลยาณมิตรทุกท่าน

อโศกะตอบ

เห็นข้อเขียนของน้องกระบี่ไร้เงา ก็ยิ้มได้ หายเครียดแล้ว แล้วนี่จะใจดำหนีไปอยู่กับท่านมหาราชันย์แล้วหรือจ๊ะ

โดนรุม มะรุมมะตุ้ม เคาะคีย์บอร์ดตอบไม่ทัน เลยอาจสับสนไปหน่อย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ทำให้ท่านมหาราชันย์หัวเราะเยาะได้ คลายความตึงเครียด ได้บุญไม่น้อยเลยครับ สาธุ

มีคห.หนึ่งไปจะไปค้นหาก็ไม่ทันใจ คห.ที่น้องกระบี่ไร้เงาตอบแบบกระฟัดกระเฟียดว่า อย่างงี้ก็จะไม่ยอมตอบโจทย์ที่อโศกะตั้งมา

คิดอยู่ในใจว่าจะทำอะไรให้น้องได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ เลยได้คำนี้ขึ้นมาว่า

น้องกระบี่ไร้เงา เคยเห็น อัตตทิฐิ และ มานะทิฐิ อันเปรียบเหมือนกิเลสพี่ กิเลสน้องหรือยัง

ไอ้ที่น้องว่าไม่ยอมตอบโจทย์นั้นนะ ทั้งอัตตาและมานะทิฐิ โผล่ออกมาตัวเบ้อเร่อเลยนะค็ะ สังเกตเห็นไหมค๊ะ

ต้องอย่างท่านมหาราชันย์ ท่านยังพยายามตอบ แสดงว่า อัตตาและมานะทิฐิค่อนข้างเบาบาง หรืออาจถูกฌาณข่มอยู่จนโงหัวยังไม่ขึ้น ก็ได้นะครับ




อโศกะ วิจารณ์

น้องกระบี่ไร้เงา อย่าพึ่งวู่วาม รีบตามท่านมหาราชันย์นะครับ ต้องใช้สติ ปัญญาสังเกต พิจารณาให้ดี

ละอัตตา หรือสักกายะทิฐิแล้ว จะได้แค่มรรค 1 ผล 1 คือโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

อีก3 มรรค 3 ผลนั้น ต้องละไปอีกเป็นลำดับขั้น ไม่ใช่ละอัตตาพรวดเดียว ได้ 4 มรรค 4 ผล หรอกนะครับ

ถ้าจะว่าโดยละเอียดขึ้นอีกหน่อย ละอัตตา เป็นผล ให้ถึงอนัตตา ละความเห็นเป็นอนัตตา ปัญญามาอยู่ตรงกลางๆ ระหว่างอัตตา กับ อนัตตา ไม่ยึดทั้ง 2 ข้าง จึงจะได้ นิพพานนะครับ (วิมุติญาณทัศนะ)

ข้อนี้เลยขอตอบท่านหลับอยู่ไปด้วยนิดหน่อย ให้เห็นตัว อัพยากตาธรรมครับ

:b8: :b12:


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

อโศกะ เขียน:
คิดอยู่ในใจว่าจะทำอะไรให้น้องได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ เลยได้คำนี้ขึ้นมาว่า

น้องกระบี่ไร้เงา เคยเห็น อัตตทิฐิ และ มานะทิฐิ อันเปรียบเหมือนกิเลสพี่ กิเลสน้องหรือยัง

ไอ้ที่น้องว่าไม่ยอมตอบโจทย์นั้นนะ ทั้งอัตตาและมานะทิฐิ โผล่ออกมาตัวเบ้อเร่อเลยนะค็ะ สังเกตเห็นไหมค๊ะ


สาธุค่ะ ท่านพี่ อโศกะ
ที่ท่านพี่นำทั้งทิฐิ และ มานะ มาตอบ รออยู่ค่ะ รออยู่

เคยบ่งหนามไหมคะ นั่นแหล่ะค่ะ น้องกระบี่ฯ ใช้หนามมาทิ่มหนาม เอ๊ย มาบ่งหนาม
เพื่อรอท่านพี่อโศกะมาแสดงไงคะ เก็บกระบี่ทู่ๆ ไว้ในฝักค่ะ ใช้หนามบ่งดีกว่าใช้กระบี่นะคะ

เล่นกับคนมีทิฐิ ใช้ทิฐิ
เล่นกับคนมีมานะ ก็ใช้มานะ


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

อโศกะ เขียน:
โดนรุม มะรุมมะตุ้ม เคาะคีย์บอร์ดตอบไม่ทัน เลยอาจสับสนไปหน่อย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ทำให้ท่านมหาราชันย์หัวเราะเยาะได้ คลายความตึงเครียด ได้บุญไม่น้อยเลยครับ สาธุ



แบบนี้เรียกทิฐิ หรือมานะ หรือเรียกว่าอัตตา.... คะ ????



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

อโศกะ เขียน:
น้องกระบี่ไร้เงา อย่าพึ่งวู่วาม รีบตามท่านมหาราชันย์นะครับ ต้องใช้สติ ปัญญาสังเกต พิจารณาให้ดี

ละอัตตา หรือสักกายะทิฐิแล้ว จะได้แค่มรรค 1 ผล 1 คือโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

อีก3 มรรค 3 ผลนั้น ต้องละไปอีกเป็นลำดับขั้น ไม่ใช่ละอัตตาพรวดเดียว ได้ 4 มรรค 4 ผล หรอกนะครับ

ถ้าจะว่าโดยละเอียดขึ้นอีกหน่อย ละอัตตา เป็นผล ให้ถึงอนัตตา ละความเห็นเป็นอนัตตา ปัญญามาอยู่ตรงกลางๆ ระหว่างอัตตา กับ อนัตตา ไม่ยึดทั้ง 2 ข้าง จึงจะได้ นิพพานนะครับ (วิมุติญาณทัศนะ)


คุณอโศกะคะ

มรรค 4 ผล 4 ไม่ได้หมายถึง มรรคที่ 4 ผลที่ 4 ค่าาาาาาาา


อโศกะ เขียน:
ส่วนการละอัตตา หรือสักกายะทิฐิแล้ว จะได้แค่มรรค 1 ผล 1 คือโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล


การละอัตตา หรือสักกายะทิฐิ ยังค่ะ ยังไม่ได้นะคะ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลค่ะ
ใจคอละสังโยชน์ข้อเดียวได้เลยเหรอคะมรรคที่ 1โสดาปัตติมรรค หรือ ผลที่ 1 โสดาปัตติผล

คำถามของคุณมหาราชันย์ ใช่แค่คิดตื้นๆ ชั้นเดียวค่ะ

และที่สำคัญ คุณมหาราชันย์ท่านพูดถึง มรรค 4 ผล 4 ซึ่งเป็น 8 ใน 9 แห่งโลกุตระธรรมค่ะ
ไม่ใช่อรหัตมรรค อรหัตผล อย่างที่คุณเข้าใจ คุณจึงใช้ วลีที่ว่า
ไม่ใช่ละอัตตาพรวดเดียว ได้ 4 มรรค 4 ผล
ที่คุณตอบมานี่น่าสนใจค่ะที่ว่า

อโศกะ เขียน:
ถ้าจะว่าโดยละเอียดขึ้นอีกหน่อย ละอัตตา เป็นผล ให้ถึงอนัตตา ละความเห็นเป็นอนัตตา ปัญญามาอยู่ตรงกลางๆ ระหว่างอัตตา กับ อนัตตา ไม่ยึดทั้ง 2 ข้าง จึงจะได้ นิพพานนะครับ (วิมุติญาณทัศนะ)


ปัญญามาอยู่ตรงกลางๆ ระหว่าง อัตตา กับ อนัตตา ไม่ยึดทั้ง 2 ข้าง จึงจะได้ นิพพานนะครับ
เอามาจากตรงไหนคะ
กระบี่ฯ เป็นนักวิชาการค่ะ อย่าพูดลอยๆ คิดเอง
ช่วยอ้างอิงพระธรรมเทศนาตรงนี้หน่อยค่ะ


พระสัทธรรมไม่ใช่ วิชาคณิตศาสตร์
อย่างที่คุณเอาเรื่องเซท และตรรกศาสตร์ มาจับพระธรรมตามความเข้าใจของคุณ



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


กิเลสเครื่องกังวลใดมีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
ให้เหือดแห้งหายไป
กิเลสเครื่องกังวลใด
จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ในท่ามกลาง
ก็จักเป็นมุนีผู้สงบระงับแล้วเที่ยวไป....ดังนี้



ลองศึกษาคาถาธรรมบทบทนี้ดูนะคะว่า ทรงแสดงกับใคร
และผู้ที่ทรงโปรดแสดงนั้นบรรลุมรรค ผลใด

ใบ้ให้นิดนึงค่ะ ท่านผู้นี้เป็นปุถุชนค่ะ



ไฟล์แนป:
guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 3573 ครั้ง ]

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 25 ธ.ค. 2009, 00:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

:b4: :b4: :b4: :b22:

เจ้าของ:  อโศกะ [ 25 ธ.ค. 2009, 11:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

tongue

สำหรับท่านมหาราชันย์

........จน รู้ขึ้นมาว่าสภาวธรรมใดจักเกิดขึ้นตามมาเป็นผลอีก จนจบกระบวนการของโทสะ ......

สันตติต่อหลังจากโกรธนั้น จะเป็นไปตามวงปฏิจจสมุปบาท ให้เข้าใจไปถึงตรงนี้ด้วยครับ

มหาราชันย์ เอาจิตโกรธดูจิตโกรธ คุณจึงจะเห็นสันตติของจิตโกรธ

อโศกะ ผมบอกไว้ชัดว่าเอาสติ เอาปัญญา เฝ้าดู หรือ นิ่งดู นิ่ง สังเกต พิจารณานะครับ อย่าใส่ร้ายบิดเบือนกันก่อนแล้วบอกว่าผิด

ท่อนต่อไปนี้ยิ่งบิดเบือนใหญ่

อโศกะ เขียน:
ถ้า มีสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ มีปัญญาหรือสัมปชัญญะ เฝ้าดูและสังเกตพิจารณาอารมณ์ ที่เกิดดับเปลี่ยนไปไม่ขาดสาย ผู้ปฏิบัติจะได้เห็นตัว สมุทัย คือ อัตตาและตัณหา โผล่ผุดขึ้นมาให้เห็นให้รู้ เมื่อถึงตรงนั้น เขาจะได้พบกับความยินดี ยินร้าย กรณีโทสะ ก็จะเกิดความยินร้ายก่อนเป็นวิภวตัณหา งานของผู้ปฏิบัติก็คือ เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินร้าย (วิเนยยะโลเก โทมนัสสัง) นี่ สติปัฏฐานได้ทำงานแล้ว

มหาราชันย์

สวัสดีครับ

ข้อความนี้ของคุณอโศกะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ครับ
โลกียะสติและโลกุตตระสติอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ในจิตโกรธครับ

เพราะทุกขสมุทัย คือจิตโกรธนั่นเอง ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
คุณอโศกะนั่งดูจิตโกรธ เป็นการนั่งสร้างทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ต่อไป
สิ่งที่คุณอโศกะสร้างคือ อวิชชาครับ ไม่ได้สร้างปัญญาญาณใด ๆ ครับ

อโศกะ ถ้า มีสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ มีปัญญาหรือสัมปชัญญะ เฝ้าดูและสังเกตพิจารณาอารมณ์ ที่เกิดดับเปลี่ยนไปไม่ขาดสาย ผู้ปฏิบัติจะได้เห็นตัว สมุทัย คือ อัตตาและตัณหา

ไม่ใช่ จิตโกรธครับ เป็นนามคนละตัว ท่านแยกรูปแยกนามไม่เป็น จึงเอามามั่วกันไปหมด แล้วอธิบายไปตามทัศนะและสัญญาของท่าน ทำให้ข้อธรรมดีๆ สับสนไปหมด

สำหรับน้องกระบี่ไร้เงา

คุณอโศกะคะ

มรรค 4 ผล 4 ไม่ได้หมายถึง มรรคที่ 4 ผลที่ 4 ค่าาาาาาาา



อโศกะ เขียน:
ส่วนการละอัตตา หรือสักกายะทิฐิแล้ว จะได้แค่มรรค 1 ผล 1 คือโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

กระบี่ไร้เงา
การละอัตตา หรือสักกายะทิฐิ ยังค่ะ ยังไม่ได้นะคะ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลค่ะ
ใจคอละสังโยชน์ข้อเดียวได้เลยเหรอคะมรรคที่ 1โสดาปัตติมรรค หรือ ผลที่ 1 โสดาปัตติผล

คำถามของคุณมหาราชันย์ ใช่แค่คิดตื้นๆ ชั้นเดียวค่ะ

อโศกะ เขียน

น้องกระบี่ไร้เงา ทำเฉใฉ แฉลบไป แถมยังไปช่วยปกป้องมหาราชันย์อีกด้วย

ก็อโศกะไม่ได้คิดตื้นๆ อย่างท่านมหาราชันย์ จึงได้เตือนว่า ละอัตตาแล้ว ยังไม่ได้ มรรค 4 ผล 4 รอกนะ
มันยังมีขั้นตอนโดยละเอียดซ่อนอยู่ในระหว่างนั้นอีกตั้งหลายชั้น บอกขนาดนี้ยังไม่เข้าใจอีก

เวลามรรค 1 เกิดนั้น งานสำคัญที่สุดคือ ทำลายสักกายทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวตนให้ดับขาด ตายสนิท ก่อน

ส่วน วิจิกิจฉา นั้นเขาจะตายตามไปทันทีโดยอัตโนมัติ

กิเลสตายแค่ 2 ตัว สีลัพพตปรามาสนั้นเป็นผลพลอยได้ของการที่ วิจิกิจฉาดับขาด

ธรรมชาติของมรรค 1 เขาเป็นอย่างนี้นะคะ
ไว้วันหลังน้องกระบี่ไร้เงาโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่แล้วจะเข้าใจเรื่องพวกนี้ได้ดีเองนะจ๊ะ อย่าใจร้อน อย่าเชื่อใครง่ายๆ นะจ๊ะ

ไฟล์แนป:
03julibig3.jpg
03julibig3.jpg [ 22.39 KiB | เปิดดู 3550 ครั้ง ]

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 25 ธ.ค. 2009, 22:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
วิธีการของนักวิปัสสนานั้น เขาจะไม่ไปคิดทำ กำหนด สั่งการอะไรใหม่ แต่เขาจะนิ่งดูความโกรธหรือโทสะและสันตติของโทสะนั้น ด้วยตาปัญญาสัมมาทิฐิ นิ่งสังเกต พิจารณา สันตติของโทสะนั้น ด้วยปัญญาสัมมาสังกัปปะ จน รู้ขึ้นมาว่าสภาวธรรมใดจักเกิดขึ้นตามมาเป็นผลอีก จนจบกระบวนการของโทสะ แต่จะไม่ยอมอยู่อย่างเดียว คือไม่ยอมทำอะไรตามคำสั่งของโทสะ




อโศกะ เขียน:
อโศกะ ถ้า มีสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ มีปัญญาหรือสัมปชัญญะ เฝ้าดูและสังเกตพิจารณาอารมณ์ ที่เกิดดับเปลี่ยนไปไม่ขาดสาย ผู้ปฏิบัติจะได้เห็นตัว สมุทัย คือ อัตตาและตัณหา

ไม่ใช่ จิตโกรธครับ เป็นนามคนละตัว ท่านแยกรูปแยกนามไม่เป็น จึงเอามามั่วกันไปหมด แล้วอธิบายไปตามทัศนะและสัญญาของท่าน ทำให้ข้อธรรมดีๆ สับสนไปหมด




สวัสดียามดึกครับคุณอโศกะ

ยังคงแสดงความดื้อดึง แสดงความรู้ผิด เข้าใจผิดได้คงเส้นคงว่าดีนะครับ
แสดงธรรมหน้ากับหลังไม่ตรงกันแล้วครับ


ท่อนบนบอกว่าดูโกรธต่อไปไม่ยอมเปลี่ยนแปลงใด ๆ
ท่อนหลังบอกว่าไม่ใช่จิตโกรธ เป็นนามคนละตัว


ผมว่าคุณอโศกะสับสนทางจิตแล้วละครับ แล้วอย่างนี้จะทำตัวเป็นผู้เผยแผ่ธรรมะแก่ชาวพุทธหรือครับ ??


ใครเชื่อคุณก็เพี้ยนแน่ครับ

เพราะคุณเป็นคนโลเลในการแสดงธรรมครับ

เจ้าของ:  อโศกะ [ 27 ธ.ค. 2009, 13:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

tongue cool
พิจารณา สันตติของโทสะนั้น ด้วยปัญญาสัมมาสังกัปปะ จน รู้ขึ้นมาว่าสภาวธรรมใดจักเกิดขึ้นตามมาเป็นผลอีก
:b8:

ไฟล์แนป:
b16.jpg
b16.jpg [ 48.19 KiB | เปิดดู 3522 ครั้ง ]

เจ้าของ:  อโศกะ [ 27 ธ.ค. 2009, 13:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

tongue
วิธีการของนักวิปัสสนานั้น เขาจะไม่ไปคิดทำ กำหนด สั่งการอะไรใหม่ แต่เขาจะนิ่งดูความโกรธหรือโทสะและสันตติของโทสะนั้น ด้วยตาปัญญาสัมมาทิฐิ นิ่งสังเกต พิจารณา สันตติของโทสะนั้น ด้วยปัญญาสัมมาสังกัปปะ จน รู้ขึ้นมาว่าสภาวธรรมใดจักเกิดขึ้นตามมาเป็นผลอีก จนจบกระบวนการของโทสะ แต่จะไม่ยอมอยู่อย่างเดียว คือไม่ยอมทำอะไรตามคำสั่งของโทสะ

สวัสดียามดึกครับคุณอโศกะ

ยังคงแสดงความดื้อดึง แสดงความรู้ผิด เข้าใจผิดได้คงเส้นคงว่าดีนะครับ
แสดงธรรมหน้ากับหลังไม่ตรงกันแล้วครับ


ท่อนบนบอกว่าดูโกรธต่อไปไม่ยอมเปลี่ยนแปลงใด ๆ

มหาราชันย์ กลับไปอ่านใหม่ให้ดี เขาบอกว่าอย่างนี้ แต่จะไม่ยอมอยู่อย่างเดียว คือไม่ยอมทำอะไรตามคำสั่งของโทสะ


ท่อนหลังบอกว่าไม่ใช่จิตโกรธ เป็นนามคนละตัว

อโศกะชี้แจง ท่อนนี้ต้องนำมาเขียนให้ดูใหม่ แก้ไขคำสันธาน นิดหนึ่งให้คุณมหาราชันย์เข้าใจ

แต่เขาจะนิ่งดูความโกรธหรือโทสะและสันตติที่เกิดต่อจากโทสะนั้น ด้วยตาปัญญาสัมมาทิฐิ นิ่งสังเกต พิจารณา สันตติที่เกิดต่อจากโทสะนั้น


ผมว่าคุณอโศกะสับสนทางจิตแล้วละครับ แล้วอย่างนี้จะทำตัวเป็นผู้เผยแผ่ธรรมะแก่ชาวพุทธหรือครับ ??


ใครเชื่อคุณก็เพี้ยนแน่ครับ คำนี้ไม่รับ ขอส่งคืนเจ้าของนะครับ
:b34: :b34: :b34:

ไฟล์แนป:
ii308.jpg
ii308.jpg [ 59.63 KiB | เปิดดู 3515 ครั้ง ]

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 ธ.ค. 2009, 13:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
tongue
วิธีการของนักวิปัสสนานั้น เขาจะไม่ไปคิดทำ กำหนด สั่งการอะไรใหม่ แต่เขาจะนิ่งดูความโกรธหรือโทสะและสันตติของโทสะนั้น ด้วยตาปัญญาสัมมาทิฐิ นิ่งสังเกต พิจารณา สันตติของโทสะนั้น ด้วยปัญญาสัมมาสังกัปปะ จน รู้ขึ้นมาว่าสภาวธรรมใดจักเกิดขึ้นตามมาเป็นผลอีก จนจบกระบวนการของโทสะ แต่จะไม่ยอมอยู่อย่างเดียว คือไม่ยอมทำอะไรตามคำสั่งของโทสะ


สวัสดีท่านอโศกะ

ท่านนิ่งดูความโกรธหรือโทสะ จนจบกระบวนการของโทสะ ด้วยสัมมาทิฏฐิ จริงหรือ?

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 ธ.ค. 2009, 13:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

ผู้ปฏิบัติธรรม ย่อมอบรมจิต ตราบที่ยังไม่เสร็จกิจ
ผู้ปฏิบัติ ย่อมไม่ปล่อยจิตไปตามยถากรรม

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

นิทานสูตรที่ ๒
             [๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุให้เกิดกรรม

๓ อย่างเป็นไฉน คือ
ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑
ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ๑
ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมชาติ ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ

ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑
ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ๑
ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ๑

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 ธ.ค. 2009, 13:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามด้วยใจ
เมื่อเขาปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่
เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างนี้แล


ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรมอันที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรองตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความ
พอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างนี้แล

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 ธ.ค. 2009, 14:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต
ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างนี้แล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งฉันทราคะในอนาคต
ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างนี้แล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน อย่างนี้แล

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 27 ธ.ค. 2009, 14:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

ที่คุณเช่นนั้น ขีด เส้นใต้มา :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 ธ.ค. 2009, 14:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
วิธีการของนักวิปัสสนานั้น เขาจะไม่ไปคิดทำ กำหนด สั่งการอะไรใหม่ แต่เขาจะนิ่งดูความโกรธหรือโทสะและสันตติของโทสะนั้น ด้วยตาปัญญาสัมมาทิฐิ นิ่งสังเกต พิจารณา สันตติของโทสะนั้น ด้วยปัญญาสัมมาสังกัปปะ จน รู้ขึ้นมาว่าสภาวธรรมใดจักเกิดขึ้นตามมาเป็นผลอีก จนจบกระบวนการของโทสะ แต่จะไม่ยอมอยู่อย่างเดียว คือไม่ยอมทำอะไรตามคำสั่งของโทสะ


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา

หน้า 10 จากทั้งหมด 13 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/