ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา (ท่านเขมานันทะ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=25866
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 27 ก.ย. 2009, 19:55 ]
หัวข้อกระทู้:  ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา (ท่านเขมานันทะ)

รูปภาพรูปภาพ

ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา
ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)

นับตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาแล้ว
พระพุทธองค์ได้ทรงประกาศสอนการเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่
ท่ามกลางบรรยากาศของอุปนิษัทหรือของพราหมณ์

วัฒนธรรมของการเจริญสตินั้นเกิดภายใต้ต้นโพธิ์
ตอนที่พระพุทธเจ้าออกผนวช
ท่านเรียนกับอุททกดาบสและอาฬารดาบส
เรียนทำสมถะขั้นสูงในสมัยนั้น

อุททกดาบส และ อาฬารดาบส
เป็นที่ยอมรับของมหาชนชาวอินเดียสมัยนั้นว่าเป็นเลิศ

เมื่อไปเรียนจนถึงที่สุดแล้วท่านก็พบว่า
ฌานเช่นนั้นยังอาพาตได้
คือต้อง ปรุงแต่ง ต้องทำสมถะอยู่เรื่อยๆ
พระพุทธเจ้าทรงตระหนักว่า
ไม่ใช่อิสรภาพโดยสิ้นเชิง พระองค์จึงบอกลา

เกิดคำถามที่ผุดขึ้นในใจเราว่า

ถ้าทำสมถะจนถึงเจริญฌานไปจนถึงที่สุดจริงแล้ว
ทำไมพระพุทธเจ้าจึงบอกเลิก
ทำไมไม่ทำต่อไปให้จนถึงที่สุดในสายนั้น


วันที่พระพุทธเจ้าฉันข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา
แล้วลอยถาด เสี่ยงพระบารมีอธิษฐานนั้น
ถาดไหลทวนกระแสสู่ใต้กำเนิดน้ำ
และจมลงสู่นาคบาดาลพิภพ
เป็นรหัสบุคคลาธิษฐานของการภาวนาว่า

ต้องทวนเข้าสู่ต้นน้ำ หรือสมมุฏิฐานของความคิด
ความคิดออกมาจากที่ไหน ก็รู้ไปที่นั่น


ลำธารนั้นไม่ใช่แม่น้ำเนรัญชรา
แต่คือกระแสธารของอารมณ์
พระองค์ทรงข้ามแม่น้ำเนรัญชรา
และไปนั่งใต้ต้นโพธิ์ภายในคืนนั้นนั่นเอง

พระพุทธเจ้าของเราได้อุบัติขึ้นในช่วงเช้าตรู่
โดยการทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา


ซึ่งผิดแผกแตกต่างจากกรรมวิธีอื่นที่เพ่งอารมณ์เป็นใหญ่
อันนำจิตข้ามสู่ภพต่างๆ ไม่การสิ้นภพสิ้นชาติ
แต่ติดอยู่ในภพอันละเอียด
ดังสองดาบส คือ อุททกดาบส และอาฬารดาบส เป็นอาทิ

หลวงพ่อจะพูดอยู่เสมอว่า

อย่าเข้าไปในกระแสหรือห่วงโซ่ความคิด
อย่าหยุดความคิด แต่ให้ดูความคิด
เมื่อรู้สึกตัวแล้ว ก็จะไปที่จุดนั้นโดยไม่มีใครห้ามได้


รูปภาพ
ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)

:b8: :b8: :b8:

(คัดลอกบางตอนมาจาก : “ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ หลวงพ่อเทียนที่ข้าพเจ้ารู้จัก”
โดย เขมานันทะ, พิมพ์ครั้งที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ โดย สำนักพิมพ์อมรินทร์, หน้า ๑๘-๑๙)


:b47: รวมคำสอน “ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44291

:b47: ประวัติและผลงาน “ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24878

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 27 ก.ย. 2009, 21:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

กุหลาบสีชา เขียน:
วัฒนธรรมของการเจริญสตินั้นเกิดภายใต้ต้นโพธิ์
ตอนที่พระพุทธเจ้าออกผนวช
ท่านเรียนกับอุททกดาบสและอาฬารดาบส
เรียนทำสมถะขั้นสูงในสมัยนั้น


เรียกว่าเรียนการเจริญรูปฌาน 4 และเจริญอรูปฌาน 4
การนิยามศัพท์ว่า สมถะคือ การเจริญรูปฌาน 4 และเจริญอรูปฌาน 4 เป็นการใช้ภาษาธรรมะที่ไม่ถูกต้อง เพราะในจิตทุกดวง (ยกเว้นอกุศลจิตที่ฟุ้งซ่าน)มีองค์ธรรมที่ชื่ว่าสมถะครับ


เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 27 ก.ย. 2009, 22:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

กุหลาบสีชา เขียน:
ต้องทวนเข้าสู่ต้นน้ำ หรือสมมุฏิฐานของความคิด
ความคิดออกมาจากที่ไหน ก็รู้ไปที่นั่น



การตามรู้ความคิดคือการตามกระแสวัฏฏะ เพราะความคิดปุถุชนเป็นโลกียะธรรม
ตราบใดที่เจริญธรรมที่เป็นโลกียะอยู่เรียกว่าเป็นการตามกระแสอยู่ดี

เหตุของความคิดเป็นโลกียะธรรมเกิดที่ไหนให้ดับที่นั่น
การดับเหตุของความคิดที่เป็นโลกียะธรรมด้วยโลกุตตระฌานเรียกว่าการทวนกระแสวัฏฏะครับ


เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  walaiporn [ 27 ก.ย. 2009, 22:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

:b32:


แบบว่า รู้จักมั๊ยคะว่า คุณกุหลาบสีชาอ่านแล้วเห็นบทความนี้ดี
ก็เลยเกิดเมตตาจิต นำมาเผื่อแผ่กับบุคคลในบอร์ด
คุณไม่ไปตามหาท่านเขมาล่ะคะ จะได้ถกธรรมถูกตัวบุคคล

รู้สึกว่า คุณจะเอาความคิดของคุณเป็นเกณฑ์วัดว่าอันนี้ถูก อันนี้ผิด
หัดวางใจให้เป็นกลางๆบ้างสิคะ
ควรดูด้วยว่าอะไรควรไม่ควร เหมาะสมมั๊ย

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 27 ก.ย. 2009, 22:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

อ้างคำพูด:
พระพุทธเจ้าของเราได้อุบัติขึ้นในช่วงเช้าตรู่
โดยการทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา
อ้างคำพูด:


มหาราชันย์ เขียน:
พระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะทรงเห็นอริยะสัจ 4 ในเวลาปัจฉิมยาม จิตพระองค์จึงทรงหลุดพ้นด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ของวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
การเจริญโลกุตตระธรรมเรียกว่าการปฏิบัติทวนกระแสวัฏฏะครับ



มั่วแล้วกร่าง ตลอดเวลาเลยนะ
นี่ๆ ดู
เอามาตอกหน้าให้หงายหลัง

ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย,
ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง
เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม

ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.


จาก http://www.thaitux.info/dict/?words=%E0 ... 2%E0%B8%A1

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 ก.ย. 2009, 22:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

อ้างคำพูด:
พระพุทธเจ้าของเราได้อุบัติขึ้นในช่วงเช้าตรู่
โดยการทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา


มหาราชันย์ เขียน:
พระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะทรงเห็นอริยะสัจ 4 ในเวลาปัจฉิมยาม จิตพระองค์จึงทรงหลุดพ้นด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ของวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
การเจริญโลกุตตระธรรมเรียกว่าการปฏิบัติทวนกระแสวัฏฏะครับ

เจ้าของ:  โคตรภู [ 27 ก.ย. 2009, 23:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

walaiporn เขียน:
แบบว่า รู้จักมั๊ยคะว่า คุณกุหลาบสีชาอ่านแล้วเห็นบทความนี้ดี
ก็เลยเกิดเมตตาจิต นำมาเผื่อแผ่กับบุคคลในบอร์ด


ขอบคุณในความเป็นกัลยาณมิตร ที่มีจิตเมตตา แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสังวรไว้ด้วยครับว่ามันถูกต้องหรือเปล่า จากเมตตามันจะกลายเป็นบาปบริสุทธิ์ไป เพราะบอร์ดเป็นสาธารณชน มีทั้งผู้รู้และผู้เริ่ม จะได้ข้อมูลผิดไปครับ

walaiporn เขียน:
คุณไม่ไปตามหาท่านเขมาล่ะคะ จะได้ถกธรรมถูกตัวบุคคล

รู้สึกว่า คุณจะเอาความคิดของคุณเป็นเกณฑ์วัดว่าอันนี้ถูก อันนี้ผิด
หัดวางใจให้เป็นกลางๆบ้างสิคะ
ควรดูด้วยว่าอะไรควรไม่ควร เหมาะสมมั๊ย


ตรงนี้ไม่ได้แสดงถึงความเป็นกัลยาณมิตรเลยครับ ทั้งที่ลานนี้มีแต่กัลยาณมิตรครับ


ชาติสยาม เขียน:
อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าของเราได้อุบัติขึ้นในช่วงเช้าตรู่
โดยการทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา
อ้างอิงคำพูด:

มหาราชันย์ เขียน:
พระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะทรงเห็นอริยะสัจ 4 ในเวลาปัจฉิมยาม จิตพระองค์จึงทรงหลุดพ้นด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ของวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
การเจริญโลกุตตระธรรมเรียกว่าการปฏิบัติทวนกระแสวัฏฏะครับ


มั่วแล้วกร่าง ตลอดเวลาเลยนะ
นี่ๆ ดู
เอามาตอกหน้าให้หงายหลัง

ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย,
ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง
เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม

ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.


ท่านมหาราชันย์กล่าวถูกต้องแล้วไม่ใช่หรือครับ คำว่าเช้าตรู่ ก็ยังคงอยู่ในช่วงปัจฉิมยามไม่ใช่หรือครับ
ตี2 - 6 โมงเช้า
คุณชาติสยามคิดว่าเช้าตรู่นี้กี่โมงครับ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 ก.ย. 2009, 23:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

อ้างคำพูด:
ซึ่งผิดแผกแตกต่างจากกรรมวิธีอื่นที่เพ่งอารมณ์เป็นใหญ่
อันนำจิตข้ามสู่ภพต่างๆ ไม่การสิ้นภพสิ้นชาติ
แต่ติดอยู่ในภพอันละเอียด
ดังสองดาบส คือ อุททกดาบส และอาฬารดาบส เป็นอาทิ

มหาราชันย์ เขียน:
อุททกดาบส และอาฬารดาบส เป็นสุขด้วยอาเนญชาภิสังขารปรุงแต่ง มีธุลีกิเลสในจักษุน้อย
เมื่อใดที่มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในกาลข้างหน้าย่อมบรรลุธรรมโดยเร็ว

ถึงจะอยู่ในอรูปภพก็มีความสุข และสุขอันยาวนานด้วยครับ

เจ้าของ:  กระบี่ไร้เงา [ 27 ก.ย. 2009, 23:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

tongue
อ้างคำพูด:
โดยการทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา


มหาราชันย์ เขียน:
การเจริญโลกุตตระธรรมเรียกว่าการปฏิบัติทวนกระแสวัฏฏะครับ




สาธุค่ะ คุณมหาราชันย์
การปฏิบัติทวนกระแสวัฏฏะ


tongue เจริญในธรรมค่ะ

เจ้าของ:  walaiporn [ 27 ก.ย. 2009, 23:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

โคตรภู เขียน:
walaiporn เขียน:
แบบว่า รู้จักมั๊ยคะว่า คุณกุหลาบสีชาอ่านแล้วเห็นบทความนี้ดี
ก็เลยเกิดเมตตาจิต นำมาเผื่อแผ่กับบุคคลในบอร์ด


ขอบคุณในความเป็นกัลยาณมิตร ที่มีจิตเมตตา แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสังวรไว้ด้วยครับว่ามันถูกต้องหรือเปล่า จากเมตตามันจะกลายเป็นบาปบริสุทธิ์ไป เพราะบอร์ดเป็นสาธารณชน มีทั้งผู้รู้และผู้เริ่ม จะได้ข้อมูลผิดไปครับ

walaiporn เขียน:
คุณไม่ไปตามหาท่านเขมาล่ะคะ จะได้ถกธรรมถูกตัวบุคคล

รู้สึกว่า คุณจะเอาความคิดของคุณเป็นเกณฑ์วัดว่าอันนี้ถูก อันนี้ผิด
หัดวางใจให้เป็นกลางๆบ้างสิคะ
ควรดูด้วยว่าอะไรควรไม่ควร เหมาะสมมั๊ย


ตรงนี้ไม่ได้แสดงถึงความเป็นกัลยาณมิตรเลยครับ ทั้งที่ลานนี้มีแต่กัลยาณมิตรครับ


ชาติสยาม เขียน:
อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าของเราได้อุบัติขึ้นในช่วงเช้าตรู่
โดยการทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา
อ้างอิงคำพูด:

มหาราชันย์ เขียน:
พระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะทรงเห็นอริยะสัจ 4 ในเวลาปัจฉิมยาม จิตพระองค์จึงทรงหลุดพ้นด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ของวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
การเจริญโลกุตตระธรรมเรียกว่าการปฏิบัติทวนกระแสวัฏฏะครับ


มั่วแล้วกร่าง ตลอดเวลาเลยนะ
นี่ๆ ดู
เอามาตอกหน้าให้หงายหลัง

ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย,
ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง
เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม

ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.


ท่านมหาราชันย์กล่าวถูกต้องแล้วไม่ใช่หรือครับ คำว่าเช้าตรู่ ก็ยังคงอยู่ในช่วงปัจฉิมยามไม่ใช่หรือครับ
ตี2 - 6 โมงเช้า
คุณชาติสยามคิดว่าเช้าตรู่นี้กี่โมงครับ




อ่านแล้วถูกใจเพราะข้อคิดเห็นตรงกัน ก็บอกว่าเป็นกัลยาณมิตร
อ่านแล้วไม่ถูกใจเพราะข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็บอกว่าแบบนี้ไม่ใช่กัลยาณมิตร
ตามสบายค่ะท่านผู้รู้ ปรุงให้อร่อยนะคะ ลิ้นใครลิ้นมัน ชิมกันเองค่ะ
รสชาติใคร รสชาติมัน ต่างคนต่างรู้
ถ้ารสชาติยังไม่ถูกใจ ก็ปรุงกันต่อไป จนกว่าจะถูกใจ smiley

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 27 ก.ย. 2009, 23:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

กุหลาบสีชา เขียน:
หลวงพ่อจะพูดอยู่เสมอว่า

อย่าเข้าไปในกระแสหรือห่วงโซ่ความคิด
อย่าหยุดความคิด แต่ให้ดูความคิด
เมื่อรู้สึกตัวแล้ว ก็จะไปที่จุดนั้นโดยไม่มีใครห้ามได้




การใช้ความคิดหรือจิตโลกียะธรรมดูความคิดหรือจิตโลกียะธรรม การปฏิบัติอย่างนี้โลกียะธรรมย่อมเจริญ เป็นการตามกระแสวัฏฏะอยู่ดังเดิม

ยิ่งดูก็ยิ่งตามกระแสวัฏฏะ


ทวนกระแสวัฏฏะต้องไม่ตามดู แต่ให้เลือกดู เลือกเจริญความคิดหรือจิตที่เป็นโลกุตตระ
เจริญโลกุตตระธรรมหรือโลกุตตระฌาน เรียกว่า การทวนกระแสวัฏฏะ


เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  โคตรภู [ 27 ก.ย. 2009, 23:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

walaiporn เขียน:
อ่านแล้วถูกใจเพราะข้อคิดเห็นตรงกัน ก็บอกว่าเป็นกัลยาณมิตร
อ่านแล้วไม่ถูกใจเพราะข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็บอกว่าแบบนี้ไม่ใช่กัลยาณมิตร
ตามสบายค่ะท่านผู้รู้ ปรุงให้อร่อยนะคะ ลิ้นใครลิ้นมัน ชิมกันเองค่ะ
รสชาติใคร รสชาติมัน ต่างคนต่างรู้
ถ้ารสชาติยังไม่ถูกใจ ก็ปรุงกันต่อไป จนกว่าจะถูกใจ


เรียนคุณ walaiporn ท่านเข้าใจไหมครับว่าบอร์ดแห่งนี้เป็นลานธรรมของเหล่าผู้มีธรรมะ มีทั้งผู้เริ่ม กับผู้ต้องการรู้เพิ่ม ต่างคนต่างตรวจสอบซึ่งกันและกัน จึงเรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร ของที่เป็นสาธารณะชนเช่นนี้ เหล่าผู้ปฏิบัติธรรมเป็นผู้มีเมตตาจิตจึงทักทวงกัน ผิดหรือครับ ถึงได้กล่าวประโยคดังข้างต้นมาครับ ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรครับ

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 28 ก.ย. 2009, 00:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

คุณโคตรภู เข้าใจผิดเน้อ

บทความต้นฉบับของกระทู้ ใช้คำว่าเช้าตรู่
คุณมหาราชันย์มาบอกทำนองว่า ไม่ใช่เช้าตรู่

ผมก็เลยไปยกอ้างอิงมาให้ทราบว่า ปัจฉิมยาม คือตี 2 ถึงเช้าตรู่

ตอนผมพิมพ์อยู่ โพสต์นั้นลบไปแล้ว
คุณเช่นนั้นได้ช่วยยกกลับมาให้

เจ้าของ:  chefin [ 28 ก.ย. 2009, 00:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

tongue สวัสดีบัณฑิตทุกๆท่านค่ะ

คุณวไลพรคะ คุณเข้าใจคำว่ากัลยาณมิตรถูกต้องหรือปล่าวคะ?

อ้างคำพูด:
walaiporn เขียน:

อ่านแล้วถูกใจเพราะข้อคิดเห็นตรงกัน ก็บอกว่าเป็นกัลยาณมิตร
อ่านแล้วไม่ถูกใจเพราะข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็บอกว่าแบบนี้ไม่ใช่กัลยาณมิตร
ตามสบายค่ะท่านผู้รู้ ปรุงให้อร่อยนะคะ ลิ้นใครลิ้นมัน ชิมกันเองค่ะ
รสชาติใคร รสชาติมัน ต่างคนต่างรู้
ถ้ารสชาติยังไม่ถูกใจ ก็ปรุงกันต่อไป จนกว่าจะถูกใจ smiley


การเป็นกัลยาณมิตร นั้นย่อมมีจิตเมตตาต่อกันและกันค่ะ
ผิดถูกสนทนากันด้วยเหตุ-ผลมิใช่ด้วยเจตนาอคติค่ะ อย่าได้คิดแบบนั้นนะคะ
นิวรณ์แทรกค่ะ :b8:
ดิฉันขออนุญาติทุกท่านนำพระสัทธรรมพระสูตรหนึ่ง
มาฝากไว้ให้คุณวไลพรและกัลยาณมิตรอีกหลายๆท่านได้ศึกษาค่ะ
:b8:



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



พึงเว้นคนผู้มิใช่กัลยาณมิตรเสีย
ไม่ควรขวนขวายในลาภผล ท่านผู้
ปฏิบัติเช่นนั้น ย่อมจะต้องขวนขวายและติดในรสอาหาร ย่อมละทิ้ง
ประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ ภิกษุไม่พึงทำการงานให้มากนัก
พึงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย เมื่อภิกษุขวนขวายในการงานมาก
ก็จะต้องเยียวยาร่างกายลำบาก ผู้มีร่างกายลำบากนั้น ย่อมไม่ได้
ประสบความสงบใจ ภิกษุไม่รู้สึกตนด้วยเหตุสักว่าการท่องบ่นพุทธ
วจนะ ย่อมท่องเที่ยวชูคอ สำคัญตนประเสริฐกว่าผู้อื่น ผู้ใด
บิณฑบาตไม่ประเสริฐ เป็นพาล แต่สำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเขาเสมอเขา
นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้มีใจกระด้างเลย ผู้ใด
ไม่หวั่นไหวเพราะมานะ ๓ อย่าง คือ ว่าเราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ๑
เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑ นักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นแหละ
ว่า เป็นผู้มีปัญญา มีวาจาจริง ตั้งมั่นดีแล้วในศีลทั้งหลาย และว่าประกอบ
ด้วยความสงบใจ ภิกษุใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้เหินห่างจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดิน ฉะนั้น
ภิกษุเหล่าใดเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มีพรหมจรรย์อัน
งอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว ภิกษุผู้ยังมีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก
ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ภิกษุนั้นย่อมไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือน
กับวานรคลุมด้วยหนังราชสีห์ ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่
กลับกลอก มีปัญญา เครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ ย่อมงดงามเพราะ
ผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำ ฉะนั้น เทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีเกียรติยศเป็นอันมาก
ประมาณหมื่นและพรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบน้อม
ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มีฌานใหญ่ มีใจตั้งมั่น
เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่
ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข้าฌานอยู่ เพราะ
อาศัยอารมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลาย ย่อมรู้ไม่ถึงอารมณ์เหล่านั้นของท่าน
น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของท่านผู้รู้ทั้งหลาย ลึกซึ้งยิ่งนัก ข้าพเจ้า
ทั้งหลายผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ นับว่าเป็นผู้เฉียบแหลม ดุจนายขมังธนู
ก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้มได้ปรากฏมีแด่ท่านพระกัปปินเถระ เพราะ
ได้เห็นท่านพระสารีบุตร ผู้ควรแก่สักการะบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชาอยู่
เช่นนั้น ในเวลานั้น ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้นแต่สมเด็จพระ
มหามุนีองค์เดียวเท่านั้น เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในทางธุดงคคุณ ไม่มี
ใครเทียบเท่าเลย เราเป็นผู้คุ้นเคยกับพระบรมศาสดา เราทำคำสอนของ
พระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำ
ไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว พระสมณโคดมผู้ทรงพระคุณหาปริมาณมิได้ มีพระทัย
น้อมไปในเนกขัมมะ ทรงสลัดภพทั้ง ๓ ออกได้แล้ว ย่อมไม่ทรง
ติดอยู่ด้วยจีวรบิณฑบาตและเสนาสนะ เปรียบเหมือนบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ
ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นจอมนักปราชญ์ มีสติปัฏฐานเป็นพระศอ
มีศรัทธาเป็นพระอรหัตถ์ มีปัญญาเป็นพระเศียร ทรงพระปรีชามาก
ทรงดับเสียแล้วซึ่งกิเลสแลกองทุกข์ตลอดกาลทุกเมื่อ.
-----------------------------------------------------
ในจัตตาฬีสนิบาตนี้ มีพระมหากัสสปเถระองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิต
คาถาไว้ ๔๐ คาถา.
จัตตาฬีสนิบาตจบบริบูรณ์.


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r ... &A=8259&w=กัลยาณมิตร

:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
GetAttachment1.jpg
GetAttachment1.jpg [ 25.05 KiB | เปิดดู 9113 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 28 ก.ย. 2009, 00:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา : ท่านเขมานันทะ

มหาราชันย์ เขียน:
ทวนกระแสวัฏฏะต้องไม่ตามดู แต่ให้เลือกดู เลือกเจริญความคิดหรือจิตที่เป็นโลกุตตระ
เจริญโลกุตตระธรรมหรือโลกุตตระฌาน เรียกว่า การทวนกระแสวัฏฏะ


ผิดแล้วล่ะ

เจริญความคิดนี่แหละ คือไหลตามน้ำไปเรียบร้อยแล้ว

รู้..อยู่....ว่ากำลังเจริญความคิด
ถึงจะเรียกว่ายังตั้งมั่นนั่งดูกระแสน้ำไหลผ่านหน้าไป

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/