ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=25359
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 01 ก.ย. 2009, 14:29 ]
หัวข้อกระทู้:  อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

เรียน คุณเช่นนั้น คุณมหาราชันย์ :b8:

เพื่อความเหมาะสม...

กุหลาบสีชาขออนุญาตย้ายพื้นที่มาสนทนากันต่อในกระทู้ใหม่
ต่อจากกระทู้นี้ นะคะ : :b12:

จิ ต อ ยู่ ใ น ภ วั ง ค์ : พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) :b8:
viewtopic.php?f=2&t=25096&start=15

:b43: :b43: :b43:

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 01 ก.ย. 2009, 14:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

ตอบคุณเช่นนั้น

เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น ก็ไม่เข้าใจครับ ว่า มีจิตประเภทไหนที่ทำหน้าที่ ภวังค หรือภวังคจิตได้
คุณกุหลาบสีชา แสดงต่อครับ ว่า ภวังคจิตเป็นจิตประเภทไหน ที่ทำกิจเป็นภวังค์


:b43: :b43: :b43:

โดยความสัตย์
กุหลาบสีชาเกรงว่าจะเป็นการสอนหนังสือสังฆราชไป
เพราะตนเองเป็นเพียงผู้กำลังศึกษา
หาใช่ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือทรงภูมิในทางพระอภิธรรมไม่


แต่ไม่ว่าคำถามใดใดนับจากนี้ไป
โดยเจตนาของผู้ถามแล้วจะเป็นการวัดภูมิของผู้ตอบหรือไม่

กุหลาบสีชาก็ขอถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนสนทนากับผู้รู้
เพื่อความก้าวหน้าในธรรมของตนเอง
และประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจมากกว่าอื่นใดนะคะ
:b8:

:b43: :b43: :b43:

o กิจของจิตนั้น มีด้วยกัน ๑๔ อย่างคือ......

๑. ปฏิสนธิกิจ ทำหน้าที่สืบต่อภพใหม่
๒. ภวังคกิจ ทำหน้าที่รักษาองค์แห่งภพ
๓. อาวัชชนกิจ ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ที่ปรากฏใหม่
๔. ทัสสนกิจ ทำหน้าที่เห็น
๕. สวนะกิจ ทำหน้าที่ได้ยิน
๖. ฆายนกิจ ทำหน้าที่รู้กลิ่น
๗. สายนกิจ ทำหน้าที่รู้รส
๘. ผุสนกิจ ทำหน้าที่รู้ถูกต้อง-สัมผัส
๙. สัมปฏิจฉนกิจ ทำหน้าที่รับปัญจารมณ์ (อารมณ์ ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
๑๐. สันตีรณกิจ ทำหน้าที่ไต่สวนปัญจารมณ์
๑๑. โวฏฐัพพนกิจ ทำหน้าที่ตัดสินปัญจารมณ์
๑๒. ชวนะกิจ ทำหน้าที่เสพอารมณ์
๑๓. ตทาลัมพนกิจ ทำหน้าที่รับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ
๑๔. จุติกิจ ทำหน้าที่ดับสิ้นไปจากภพ

o กิจของภวังคจิต

ภวังคจิต คือ จิตที่ทำหน้าที่ รักษาองค์แห่งภพ
หมายความถึง รักษากรรมวิบากของรูปธรรม นามธรรม
สืบต่อจากปฏิสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกัมมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม)
ให้ดำรงอยู่ได้ในภพนั้นๆ ตราบเท่าอำนาจแห่งชนกกรรม(กรรมที่นำเกิด)
จะส่งผลให้เป็นไปเท่าที่อายุสังขาร จะพึงตั้งอยู่ได้

ภวังคจิตนี้ เป็นหน้าที่ตามธรรมดาของจิต ที่จะต้องทำกิจนี้อยู่เสมอ
จิตจะหยุดทำกิจนี้ ก็ต่อเมื่อขณะที่มีอารมณ์ใหม่
ในปัจจุบันมาคั่นตอนให้จิตขึ้นวิถี รับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันเสียเท่านั้น
พ้นจากการขึ้นวิถี รับอารมณ์ใหม่แล้ว
จิตจะต้องทำหน้าที่ในการรักษาองค์แห่งภพนี้ อยู่เสมอตลอดเวลา

:b43: :b43: :b43:

ส่วนที่ถามว่า ภวังคจิตเป็นจิตประเภทไหน

คงต้องขอเรียนถามก่อนว่า

ประเภทที่ให้ระบุนั้น

เป็นการจำแนกโดยใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์
และเป็นการจำแนกโดยย่อ หรือโดยพิสดาร....คะ?!
?

(คือนักเรียนสติปัญญาน้อย ไม่เคลียร์โจทย์น่ะค่ะ) :b8: :b12:

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 01 ก.ย. 2009, 15:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

มหาราชันย์ เขียน:
สวัสดีครับท่านกุหลาบสีชา

ผมต้องการถามสักเล็กน้อยนะครับ ว่า
1.ท่านกุหลาบสีชาเชื่อเรื่องกรรมและวิบากกรรมไหมครับ ถ้าเชื่อกรรมและวิบากกรรมให้ผลอย่างไรครับ??
2.วิถีจิตของท่านกุหลาบสีชาเกี่ยวข้องกับภวังคจิตอย่างไร และช่วยแสดงวิถีจิตของภวังคจิตให้ผมดูหน่อยครับว่าเป็นอย่างไรครับ ??


:b43: :b43: :b43:

ตอบคำถามคุณมหาราชันย์

กุหลาบสีชาเชื่อในเรื่องกรรม
และการให้ผลของกรรม(วิบากกรรม)แน่นอนค่ะ คุณมหาราชันย์ :b12:

จึงขออนุญาตอธิบายตอบรวมกันทั้ง ๒ ข้อ ดังนี้นะคะ

จิตในทางพุทธศาสตร์แบ่งออกโดยง่ายเป็น ประเภทคือ

๑. วิถีจิต (Vithi citta)

หมายถึงจิตที่ขึ้นวิถีรับอารมณ์ (สิ่งเร้า) ทางทวารทั้ง ๖
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ดังนั้น วิถีจิต จึงมี ๖อย่าง
ได้แก่ การเห็น (จักขุวิญญาณ) การได้ยิน (โสตวิญญาณ)
การได้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) การลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ)
การสัมผัส (กายวิญญาณ) และการนึกคิด (มโนวิญญาณ)

วิถีจิตเกิดขึ้นในขณะที่คนเราตื่นตัวหรือรู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่
วิถีจิตเมื่อเปรียบเทียบกับจิตวิทยาพลศาสตร์ (dynamic psychology)
ก็คือ จิตสำนึก (the conscious)
และจิตก่อนสำนึก (the preconscious)

๒. ภวังคจิต (Bhavanga citta or Life-continuum)

หมายถึงจิตที่ไม่ขึ้นวิถีหรือไม่รับอารมณ์ (สิ่งเร้า)
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ตัวอย่างของภวังคจิต
คือจิตที่เกิดขึ้นในคนที่นอนหลับสนิทและไม่ฝัน
หรือคนที่หมดสติจนไม่รู้สึกตัวเลย
เป็นจิตที่เป็นองค์แห่งภพ

ขณะใดที่จิตไม่รับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ จิตก็เป็นภวังค์
เป็นจิตตั้งแต่ปฏิสนธิคือ เกิดจนถึงจุติคือตาย
ถึงแม้จะเป็นจิตที่ไม่รับอารมณ์แต่ก็ทำงานอยู่ตลอดเวลาคือการเกิดดับ

ถ้าจะเปรียบเทียบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (dynamo)
ภวังคจิต คล้ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่หมุนอยู่ตลอดเวลาทำให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น
กระแสไฟฟ้าที่ปรากฏออกมาเป็นแสงสว่างในหลอดไฟก็เปรียบเสมือน วิถีจิต นั่นเอง


ภวังคจิตสามารถเปรียบเทียบได้กับจิตไร้สำนึก (the unconscious)
ตามแนวคิดของ Freud
และกับจิตไร้สำนึกรวม (the collective unconscious) ตามทรรศนะของ Jung
เพียงแต่ว่าภวังคจิตในพุทธศาสนามีขอบเขตกว้างขวาง
และลึกซึ้งกว่าในจิตวิทยาสมัยใหม่มาก

ภวังคจิตเป็นที่เก็บสั่งสมประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาแล้ว
บุญ บาป กุศลกรรม อกุศลกรรม
ความดีและความชั่วทั้งหลายที่ได้กระทำมาแล้วไม่สูญหายไปไหน
แต่จะถูกเก็บรวบรวมไว้ในภวังคจิต
เมื่อได้โอกาสวิบากกรรมจะปรากฏผลออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน


(ในภวังคจิตยังรวมถึงสิ่งที่ Jung เรียกว่า archetypes
ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญลักษณ์เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ศาสดา
เทพเจ้า เทพบุตร เทพธิดา นางฟ้า
บุคคลหรือสัตว์ประหลาดในเทพนิยาย
แม่มด ภูติผี ปีศาจ เปรต และอสุรกาย เป็นต้น)


ใน คัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ กล่าวว่า
เมื่อใกล้ตายแบ่งออกได้เป็น ๒ ระยะคือ

๑) มรณาสันนกาล และ
๒) มรณาสันนวิถี


มรณาสันนกาล หมายถึง เวลาใกล้จะตาย
ผู้ที่อยู่ในช่วงเวลานี้จะมีอารมณ์อยู่เสมอไม่ทวารใดก็ทวารหนึ่ง
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
สำหรับผู้ที่ถึงแก่วิสัญญีคือสลบหรือหมดสติไป
อารมณ์จะเกิดขึ้นเฉพาะทางใจเท่านั้น
มรณาสันนกาลนี้อาจเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ได้
และผู้ที่อยู่ในเขตนี้มีโอกาสที่จะฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาอีกได้

แต่ถ้าหากเข้าสู่มรณาสันนวิถี
ซึ่งเป็นช่วงเวลาสุดท้ายของชาตินี้เมื่อใดแล้ว
ก็ไม่มีหวังที่ชีวิตจะกลับคืนมาได้อีก

ดังนั้น ผู้ที่มีประสบการณ์ของภาวะใกล้ตาย
และกลับฟื้นคืนขึ้นมาอีกแสดงว่ายังอยู่ในมรณาสันนกาล
ในช่วงนี้กรรมที่ได้กระทำอยู่เสมอ ๆ
มักจะปรากฏผลออกมาเช่น
เคยทำกุศลหรืออกุศลในทางใดเสมอ ๆ
กรรมที่ถูกเก็บสั่งสมไว้ก็จะออกมากระทบกับจิต
ทำให้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจนและจริงจังต่อหน้าต่อตา

บางคนเห็นภาพที่ดี เช่น การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา
มองเห็นวัดวาอาราม โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น
บางคนก็เห็นภาพที่น่ากลัว
เช่น เห็นสัตว์ที่กำลังถูกฆ่า
อาวุธที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประหารสัตว์
เห็นเลือดไหลนอง เป็นต้น

มรณาสันนกาลเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า

"เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมมีทุคติเป็นที่หวัง
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว ย่อมมีสุคติเป็นที่หวัง"


หลักคำสอนในพุทธศาสนานั้นเน้นเรื่องสังสารวัฏ
หรือหลักแห่งการเวียนตายเวียนเกิด ซึ่งกล่าวไว้ว่า

ตราบใดที่คนยังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน และกรรมอยู่
เมื่อตายจากชาตินี้แล้วก็ต้องเกิดอีกในชาติหน้า
แรงขับอันสำคัญที่ทำให้คนต้องเกิดอีกคือตัณหา
ซึ่งมีจิตเป็นตัวกำหนดกรรม

ฉะนั้น..การกระทำกรรมแต่ละครั้ง
จิตจะทำหน้าที่บันทึกการการะทำ
และผลของการการะทำ (วิบาก) ในแต่ละครั้งเอาไว้
โดยที่ผู้กระทำไม่รู้สึกตัว
ผลของกรรมจะถูกเก็บสะสมปรากฏอยู่ในจิตใต้สำนึกที่เรียกว่า ภวังคจิต
โดยที่เจ้าตัวอาจรู้สึกหรือไม่รู้สึกในเหตุการณ์ปกติ


แต่หากเมื่อใดชีวิตเข้าสู่ภาวะคับขัน
เช่น เจ็บป่วยหนักหรือเมื่อจวนจะสิ้นใจ
วิบากกรรมที่จิตบันทึกเอาไว้จะปรากฏออกมาให้เห็นเป็น คตินิมิต
แม้ว่าจิตนั้นจะมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม

ในขณะที่จิตดวงเก่าจะดับลงจะถ่ายทอดวิบากกรรมนั้นให้กับจิตดวงใหม่
เรียกว่า การสะสมวิบาก
และเมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออยู่ในสถานการณ์ที่พอเหมาะตามเหตุปัจจัย
วิบากที่จิตสะสมเอาไว้จะแสดงผลออกมาให้ปรากฏ
ตามการกระทำที่เป็น กุศล อกุศล หรือเป็นกลางๆ (อัพยากฤต) ค่ะ


เจริญในธรรมเช่นกันค่ะ :b8:

เจ้าของ:  thanya sukjaem [ 01 ก.ย. 2009, 15:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

:b42: :b42: :b35: เยี่ยมจริงๆครับ ขออนุโมทนาครับ
อ่านแล้วเข้าใจอะไรมากขึ้นไม่เคยรู้เรื่องเลยครับ เป็นบุญแท้ๆ
ที่ลองแวะเข้ามาอ่าน น่านับถือครับ :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  thanya sukjaem [ 01 ก.ย. 2009, 16:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

:b6: :b55: พอดีคิดได้ ขออนุญาติถาม คุณ กุหลาบสีชาครับ
แล้วภวังค์จิตที่ว่านี้จะอยู่กับตัวกับจิตตลอดไปหรือไม่ถ้าใช่ มีวิธีที่จะลบ
ภวังค์นั้นให้หมดหรือหายไปได้มั้ย และ ภวังค์จิตนั้นมีหรือให้ผลอย่างไร
กับจิตหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 01 ก.ย. 2009, 16:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

อ้างคำพูด:
จิตในทางพุทธศาสตร์แบ่งออกโดยง่ายเป็น ๒ ประเภทคือ

๑. วิถีจิต (Vithi citta)

หมายถึงจิตที่ขึ้นวิถีรับอารมณ์ (สิ่งเร้า) ทางทวารทั้ง ๖
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ดังนั้น วิถีจิต จึงมี ๖อย่าง
ได้แก่ การเห็น (จักขุวิญญาณ) การได้ยิน (โสตวิญญาณ)
การได้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) การลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ)
การสัมผัส (กายวิญญาณ) และการนึกคิด (มโนวิญญาณ)

วิถีจิตเกิดขึ้นในขณะที่คนเราตื่นตัวหรือรู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่
วิถีจิตเมื่อเปรียบเทียบกับจิตวิทยาพลศาสตร์ (dynamic psychology)
ก็คือ จิตสำนึก (the conscious)
และจิตก่อนสำนึก (the preconscious)

๒. ภวังคจิต (Bhavanga citta or Life-continuum)

หมายถึงจิตที่ไม่ขึ้นวิถีหรือไม่รับอารมณ์ (สิ่งเร้า)
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ตัวอย่างของภวังคจิต
คือจิตที่เกิดขึ้นในคนที่นอนหลับสนิทและไม่ฝัน
หรือคนที่หมดสติจนไม่รู้สึกตัวเลย
เป็นจิตที่เป็นองค์แห่งภพ

ขณะใดที่จิตไม่รับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ จิตก็เป็นภวังค์
เป็นจิตตั้งแต่ปฏิสนธิคือ เกิดจนถึงจุติคือตาย
ถึงแม้จะเป็นจิตที่ไม่รับอารมณ์แต่ก็ทำงานอยู่ตลอดเวลาคือการเกิดดับ



สวัสดีครับ คุณกุหลาบสีชาครับ

คุณเชื่อไหมครับว่าไม่ว่าคุณจะหลับหรือตื่นอยู่ก็ตาม วิบากกรรมเมื่อตามมาทันวิบากกรรมนั้นย่อมให้ผลทันทีไม่ว่าตื่นอยู่ก็ตาม ไม่ว่าหลับอยู่ก็ตาม เช่น
1.คุณเคยสร้างบุญกุศลไว้ในอดีต คุณจะร่ำรวยทรัพย์สินเงินทองสุขภาพร่างกายแข็งแรงในปัจจุบัน เมื่อคุณเปิดร้านขายของ และเมื่อบุญคือวิบากกรรมดีให้ผล ลูกค้าก็คิดที่จะมาซื้อของที่ร้านคุณตั้งแต่คุณยังไม่ตื่นมากหน้าหลายตา มารอที่จะเอาเงินให้คุณคุณว่าเป็นไปได้หรือไม่ ??

2.ถ้าคุณเคยสร้างบาปเอาไว้ในอดีต คุณจะประสพภัยสูญเสียชีวิตหรือเจ็บไข้ได้ป่วย สูญเสียทรัพย์สินเงินทอง มีแต่คนคิดจะประทุษร้ายคุณทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ เช่นกรณีคนนอนหลับในบ้านแล้วมีโคลนไหลมาถล่มบ้านตายยกครอบครัว น้ำป่าไหลหลากพัดบ้านไปทั้งหลังขณะนอนหลับ หรือกรณีเคื่องบินตกขณะนอนหลับ หรือรถโดยสารคว่ำขณะนอนหลับ หรือกรณีเกิดคลื่นซึนามิถล่มชายฝั่งอันดามัน คุณว่ากรณีอย่างนี้เป็นไปได้ไหมครับ ??


3.ในกรณีที่คุณทำบุญมาบ้าง ทำบาปมาบ้าง ไม่ว่าคุณจะหลับหรือตื่นอยู่ก็ตาม วิบากกรรมที่เป็นบุญและวิบากกรรมที่เป็นบาป ย่อมสลับเปลี่ยนหมุนเวียนมาให้ผลแก่คุณ ให้ได้รับความสุขบ้าง ได้รับความทุกข์บ้าง ทั้งขณะหลับบ้างขณะตื่นบ้าง คุณว่ากรณีอย่างนี้เป็นไปได้ไหมครับ ??


คุณกุหลาบสีชายอมรับความจริง 3 ข้อนี้ไหมครับ??


เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 01 ก.ย. 2009, 17:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

วันนี้เพิ่งได้ฟังธรรมคุณพี่กุหลาบแบบ full option
ผมยกให้เลยคนนี้ :b8: :b4:

ผมคิดอะไรได้อย่างหนึ่ง

เพื่อนเรานี่นะครับ
เวลาเราพุดไม่ครบ เขาจะรู้ว่าเราพูดไม่ครบ เขาจะไม่ยกมันขึ้นมาหาเรื่องเรา
เขาเรียกว่าคุยแบบพยามจะเข้าใจกัน
สำนวนว่า รู้ใจกัน คือไม่ต้องพูดก้รู้ใจกันได้ อันที่ไม่ได้ด้วยจะด้วยเหตุผลอะไรก้ตาม
เราทราบว่าเชารู้ แต่ไม่ได้พูดตอนนี้



แต่คนมาหาเรื่องนะ ต่อให้พูดครบยังไง ก้ยังสามารถเอาอันไม่ครบยกขึ้นมาต่อว่าเราได้
ไม่ว่าเราจะพยามพูดให้ครบยังไงก้ตาม
เขาเรียกว่าคุยแบบ พยามจะไม่เข้าใจ

เหนื่อยแทนจริงๆครับ

ขนาดพูดมาตั้งขนาดนี้ ยังมาถามว่าวิบากมีตลอดเวลาหรือเปล่า
เหมือนเอาเลข ป. 1 มาถามคนเรียนปริญญา

ถามหาเรื่องนะ พูดง่ายๆ

มารุมพี่สาวชาติ ชาติไม่ยอมนะ จะกัดให้กระจุยเลย

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 01 ก.ย. 2009, 18:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

อ้างคำพูด:
มารุมพี่สาวชาติ ชาติไม่ยอมนะ จะกัดให้กระจุยเลย


อุ๊ยน่่ากลัว เ็ว็ปลานธรรมจักรมีหมาด้วย ชื่อชาติสยาม
บายดีกว่า เว็ปนี้ ขนาดระดับ 12 ยังเป็นหมาเลย

เหอๆ

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 01 ก.ย. 2009, 20:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

อ้าวเอ๊ะ

คุณเช่นนั้น :b32:

ยิ่งศึกษามากไปมากๆ
ไหง/ทำไม หมากลายเป้นของต่ำสำหรับคุณเช่นนั้นหล่ะครับ Onion_L
ถ้าศึกษาถูกทาง มันต้องยิ่งเท่ากันสิ

ยิ่งเข้าถึงธรรม ยิ่งต้องเข้าถึงความรู้สึก
ว่าความรู้สึกต่างหากเป้นตัวตัดสินว่าภพภูมิจิตของผู้ใดอยู่ชั้นไหน

คุณเช่นนั้นรู้สึกยังไงล่ะ
เวลาปล่อยความรู้สึกเหล่านั้นออกมาเป้นตัวหนังสือใส่ผมน่ะ
แล้วคิดว่าจิตดังเช่นนั้นเป็น มนุษย์ภูมิหรือ
อิๆๆๆ

อย่านะ ชาติมีเขี้ยวเล้บพอสมควร
แง๊งงงง!!!

หมาน่ารักจะตาย คนอารั๊ย รังเกียจหมา :b29:

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 01 ก.ย. 2009, 20:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

นี่ๆ คุณบัวสกล

อย่ามาๆ Onion_L

นี่พี่สาวชาตินะ

เดี๋ยวเถอะๆ :b32: :b34:

เจ้าของ:  อายะ [ 01 ก.ย. 2009, 21:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

ตามมาดูครับ ท่านกุหลาบสีชา อธิบายได้แจ่มดีแท้ครับ
ผมก็มีข้อสงสัยประการหนึ่งคือว่าถ้าเราสามารถเพิ่มสติ ให้เป็น super very fast มหาสติแล้ว เราจะสามารถเห็นการเกิดดับของจิตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ละดวงได้ไหมครับ และการเกิดดับของจิตนี้พระขีนาสพท่านสามารถมองเห็นได้หรือไม่ครับ

อันนี้สงสัยจริงนะครับไม่ได้วัดความรู้ รบกวน ท่าน เช่นนั้น มหาราชัน และท่านกุหลาบด้วยนะครับ

อนุโมทนาทุกท่าน

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 01 ก.ย. 2009, 22:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

แหม อยากตอบคุณอายะจัง

แต่ไม่ได้เชิญนี่นะ

อดอวดภูมิเลย

เศร้า :b7:

เจ้าของ:  อายะ [ 01 ก.ย. 2009, 22:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

อ้างคำพูด:
แหม อยากตอบคุณอายะจัง

แต่ไม่ได้เชิญนี่นะ

อดอวดภูมิเลย

เศร้า :b7:



ต้องขออภัยท่านชาติสยาม ด้วยครับ ขอเชิญด้วยนะครับ เอาแจ่มเลยนะครับ เิชิญท่านอื่นด้วยนะครับ

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 01 ก.ย. 2009, 22:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

อายะ เขียน:
ตามมาดูครับ ท่านกุหลาบสีชา อธิบายได้แจ่มดีแท้ครับ
ผมก็มีข้อสงสัยประการหนึ่งคือว่าถ้าเราสามารถเพิ่มสติ ให้เป็น super very fast มหาสติแล้ว เราจะสามารถเห็นการเกิดดับของจิตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ละดวงได้ไหมครับ และการเกิดดับของจิตนี้พระขีนาสพท่านสามารถมองเห็นได้หรือไม่ครับ

อันนี้สงสัยจริงนะครับไม่ได้วัดความรู้ รบกวน ท่าน เช่นนั้น มหาราชัน และท่านกุหลาบด้วยนะครับ

อนุโมทนาทุกท่าน


อิๆๆ ได้บัตรเชิญแล้ว :b32:

แต่ตอบไม่ได้อะ :b32:

กวนเฉยๆ :b13:

เจ้าของ:  อินทรีย์5 [ 01 ก.ย. 2009, 22:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อันว่าด้วยเรื่องภวังคจิต วิถีจิต และวิบากกรรม : สนทนากับคุณเ

คุณอายะนี่ช่างสงสัยเสียจริงๆ ผมคิดเราสามารถเห็นได้นะ เราที่นี้หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติหมายถึงทุกๆคนที่เป็นนักกรรมฐาน มันมีความหมายว่าเราตามจิตในปัจจุบันได้ทันรึยัง... ถ้าจะไปดูจิตเกิด ดับ เกิด ดับ
ทีละดวง หรือเกิด ดับ เกิด ดับต่อเนื่องกันไป เหมือนหลอดไฟกระพริบแต่ดูแล้วมันสว่างต่อเนื่องกัน
ต้องแยกรูป แยกนามออกจากกันให้ได้เด็ดขาดเสียก่อน ถึงจะไปจับอาการอย่างที่คุณกล่าวถึง
เพราะสิ่งที่คุณอายะปฏิบัติก้เพื่อเห็นรุปเห็นนาม หรือก้เพื่อให้รู้ว่ารูปกับนามแยกกันออกเป็นสัดส่วนได้
ไม่ปนกันเหมือนหยดน้ำกลอกกลิ้งบนใบบัว อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ก็คือนั่งเอาชนะเวทนาทางกายให้ได้เสียก่อน เป็นวิธีแยกรูป แยกนามที่ได้ผลดีมากที่สุดวิธีหนึ่ง.....แต่ถ้าไม่ชอบวิธีนี้ก็ให้ดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งต่างๆมากระทบทางอินทรีย์ทั้ง6 แล้วกำหนดจิตให้ทันให้ได้แต่วิธีนี้ดูเหมือนง่ายแต่ลึกๆแล้วทำยาก

หน้า 1 จากทั้งหมด 4 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/