ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
วิปัสสนากรรมฐานปริยัติธรรม http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=24009 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ภัทร์ไพบูลย์ [ 18 ก.ค. 2009, 11:04 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | วิปัสสนากรรมฐานปริยัติธรรม | ||
ในพระศาสนานี้ มีธุระ 2 อย่างคือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ คันถธุระคือการศึกษาในเรื่องปริยัติ วิปัสสนาธุระคือการศึกษาในเรื่องวิปัสสนา สำหรับวิปัสสนากรรมฐานนี้ ที่องสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระกรุณาธิคุณประทานไว้แก่พุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตราบ[เท่าเวลา 45 พรรษา ก่อนพุทธ ปรินิพพาน มีเนื้อหาลึกซึ้งคัมภีรภาพ ยังเวไนยสัตว์ให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล ถึงอมตมหานิพพานอันเป็นที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งปวง/size] ![]() ![]() 1. ได้แก่ปริยัติศาสนา คือ การสอนปริยัติให้รอบรู้ภายในเขตของ วิปัสสนาภูมิ 6 ประการ ที่เป็นการทำความเข้าใจ ให้รู้ความมุ่งหมายของการปฎิบัติวิปัสสนา และปลูกศรัทธาปสาทะให้มีอินทรีย์แก่กล้าขึ้นไปตามลำดับวาสนาบารมีของแต่ละท่าน ![]() 2. ได้แก่ปฎิบัติศาสนา คือ กาสอนการปฎิบัติฝึกหัดอบรมตามที่ได้ศึกษามาในภาค 1 คือ ภาคปริยัติ ว่าด้วยการละปลิโพธ การจัดสถานที่สัปปายะ พิธีวันเข้าปฎิบัติวิปัสสนา วิธีตั้งสติกำหนดรู้ทันรูป นาม ตามแบบปฎิบัติทุกๆ แบบปฎิบัติ หรือรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ![]() 3. ได้แก่ปฎิเวธศาสนา ว่าด้วย มรรค ผล นิพพาน สอนให้รู้ในญาณทั้งโลกีย์และโลกุตตระ และฝึกหัดเข้าผลสมาบัติ กับนิโรธ สมาบัติ เป็นต้น ![]() ตามลำดับของการปฎิบัติของการปฎิบัตินั้น แสดงถึงปริยัติศาสนาให้ทราบในสัจธรรม ที่พระบรมศาสดาตรัสไว้ 48,000 (แปดหมื่นสี่พัน) พระธรรมขันต์ คือพระไตรปิฎกทั้ง 3 นั่นเอง ได้แก่ ในพระวินัยปิฎก มี 21,000 พระธรรมขันต์ ในพระสุตตันตปิฎก 21, 000 พระธรรมขันต์ ในพระอภิธรรมปิฎก 42,000 พระธรรมขันต์ รวม 48,0000 พระธรรมขันต์ ทรงประกาศสัจจธรรมคือความจริงเมื่อสรุปย่อลงแล้วมีอยู่ 2 ประการ คือ 1. สมมุติสัจจะ อาศัยบัญญัติตั้งขึ้น คือ ความจริงโดยสมมุติ ![]() 2. ปรมัตถสัจจะ คือ สภาวะความปรากฏอยู่ตามความเป็นจริง ![]() วิปัสสนานั้น คือ การมีปัญญาญาณ รู้แจ้งเห็นจริงในพระปรมัตถสัจจะและสมมุติสัจจะได้โดยเด็ดขาด แต่จะกล่าวถึง สมมุติสัจจะก่อน ดังต่อไปนี้ ![]() คำว่า ชีวะ หรือ ชีวี นี้ เป็นส่วนสำคัญของอัตตะ เท่ากับศรีษะ ของอัตตะ อัตตะจะทรงอยู่ได้นาน ก็ด้วยอำนาจชีวะ หรือ ชีวี พิทักษ์รักษาไว้ คือความเป็นอยู่ซึ่งตรงกับคำว่าตาย ![]() คำสัณฐาน เป็นชื่อที่พึงกำหนดนับได้ตั้งแต่ ปรมณู อณูของ ปภวีธาตุ คือ ธาตุดิน ตลอดถึงขุนเขา อันสามารถกำหนดกว้าง ยาว สั้น สูง ต่ำ ทุกส่วนสัดของรูปร่างลักษณะตามสภาพความเป็นไปต่างๆ ![]() ![]() จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ สุภนิมิต และอสุภนิมิต ได้แก่นิมิตที่ สวยงาม และไม่สวยงามของสรรพสิ่งทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในโลกนี้ ![]() คำว่า อนุพยัญชนะ คือการเคลื่อนไหวของสัตว์และบุคคล เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น ซึ่งลักษณะทั้งสุภะงาม และอสุภะไม่งาม ![]() คำว่า สมมุติ นี้ หมายความว่ารู้พร้อม เช่น การเห็นผู้ชายเมื่อเห็นก็รู้พร้อมขึ้นมาว่า เป็นผู้ชาย การรู้พร้อมขึ้นมาว่าผู้ชายนั้นมีบัญญัติธรรมการตั้งขึ้นก่อนเป็นปัจจัย ให้สมมุติคือ ความรู้พร้อมเกิดขึ้นในภายหลัง ![]() คำว่า บัญญัติ เป็นภาษาบาลีว่า ปญฺญตฺติ แปลว่า รู้ได้ด้วยปการะ คือ ตั้งขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ![]() 1. สัททบัญญัติ คือ ตั้งขึ้นตามเสียง 2. อัตถบัญญัติ คือ ตั้งขึ้นตามเนื้อความ หรือ ตามความหมายนั้นๆ ของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ ขอนอบน้อมเผยแพร่ให้เพื่อนกัลญาณมิตรทุกท่านด้วยความเคารพ ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นทางแยก จะไปสูงต่ำ จะไปดีร้าย เลือกได้ในชีวิตนี้ เท่านั้น พึงสำนึกข้อนี้ให้จงดี แล้วจงเลือกเถิด เลือกให้ดีเถิด ขอท่านทั้งหลายพึงเจริญในธรรมเถิด สาธุ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]()
|
เจ้าของ: | rawisada [ 18 ก.ค. 2009, 12:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนากรรมฐานปริยัติธรรม |
ขอบคุณค่ะ ได้รับความรู้มากมายเลยนะค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ความสว่าง สุกใส ของดวงจิต หมั่นพินิจ ด้วยปัญญา ยิ่งสุกใส อบรมจิต ทีละนิด ทำเรื่อยไป อย่าเฉไฉ ผลัดวัน จนเป็นปี ![]() ![]() |
เจ้าของ: | somchnok [ 18 ก.ค. 2009, 12:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนากรรมฐานปริยัติธรรม |
ขอบคุณครับ ได้รับความรู้มากมายเลย ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ |
เจ้าของ: | ภัทร์ไพบูลย์ [ 21 ก.ค. 2009, 21:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนากรรมฐานปริยัติธรรม |
สาธุขออนุโมทนาเช่นเดียวกันครับท่านกัลญาณมิตรทุกท่านครับ เทพบุตร |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |