ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
สัมมาสมาธิ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=24000 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 8 |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 09:37 ] |
หัวข้อกระทู้: | สัมมาสมาธิ |
ได้ยินมาว่า สมาธิในการปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิของคนทั่วไปเป็นมิจฉาสมาธิ เลยไม่รู้ว่าสมาธิทังสองนี้แตกต่างกันอย่างไร มีไครพอจะอธิบายได้กระจ่างได้ใหมครับ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 16:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
Supareak Mulpong เขียน: ได้ยินมาว่า สมาธิในการปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิของคนทั่วไปเป็นมิจฉาสมาธิ เลยไม่รู้ว่าสมาธิทังสองนี้แตกต่างกันอย่างไร มีไครพอจะอธิบายได้กระจ่างได้ใหมครับ ได้ยินมาว่า สมาธิในการปฏิบัติธรรมนั้นต้องเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิของคนทั่วไปเป็นมิจฉาสมาธิ ได้ยินมาจากใคร เขาว่าอย่างไรหรือขอรับ ![]() สมาธิของคนทั่วไปเป็นมิจฉาสมาธิ ก็ในเมื่อคนทั่วไปเป็นมิจฉาสมาธิเสียแล้ว แล้วใครที่ไหนจะมีสัมมาสมาธิล่ะ ![]() |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 17:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
ก็ได้มาจากอ่านพระไตรปิฎกนั่นแหละครับ มีสัมมาสมาธิ สัมมาสติ ฯ มันน่าสงสัยว่าทำสมาธิให้เป็นสัมมาสมาธิได้อย่างไร ถ้ามันเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ ก็แปลว่าทำเสียเปล่า ไม่ใช่สมาธิทางพุทธศาสนา |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:13 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ | ||
Supareak Mulpong เขียน: ก็ได้มาจากอ่านพระไตรปิฎกนั่นแหละครับ มีสัมมาสมาธิ สัมมาสติ ฯ มันน่าสงสัยว่าทำสมาธิให้เป็นสัมมาสมาธิได้อย่างไร ถ้ามันเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ ก็แปลว่าทำเสียเปล่า ไม่ใช่สมาธิทางพุทธศาสนา ยกตัวอย่างสมาธิทางพุทธศาสนาให้ดูหน่อยสิครับ เขาว่าไง
|
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 17:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
บอกง่ายๆ แค่ว่า เป็นสมาธิที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด หรือโมหะ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:29 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
Supareak Mulpong เขียน: บอกง่ายๆ แค่ว่า เป็นสมาธิที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด หรือโมหะ พอมีอะไรวัดว่า ขณะใดเห็นผิด แล้วเห็นผิดเห็นยังไง เห็นอะไร ขณะใดเห็นถูก เห็นถูกเห็นอะไร |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 17:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
อ้าว.. ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
Supareak Mulpong เขียน: อ้าว.. ![]() คนไม่เคยอ่านไตรปิฏก (ตะกร้าสามใบ) ถามคนเคยอ่านขอรับ ![]() |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 17:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
เราก็กะจะหาคนเคยอ่าน เผื่อเราแปลความผิดไป จะได้ถามไถ่ ตอนนี้ก็อ่านเจอบ้างแล้วในพระอภิธรรม แต่มันอธิบายความไว้เข้าใจได้ยาก เลยยังไม่เอามาอธิบายดีกว่า ก็รอให้คนที่พอเข้าใจเขามาอธิบายก็น่าจะได้ความกระจ่าง |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 17:51 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
Supareak Mulpong เขียน: เราก็กะจะหาคนเคยอ่าน เผื่อเราแปลความผิดไป จะได้ถามไถ่ ตอนนี้ก็อ่านเจอบ้างแล้วในพระอภิธรรม แต่มันอธิบายความไว้เข้าใจได้ยาก เลยยังไม่เอามาอธิบายดีกว่า ก็รอให้คนที่พอเข้าใจเขามาอธิบายก็น่าจะได้ความกระจ่าง แล้วที่อ่านผ่านมาหลายเล่มแล้วใครแปลให้ครับ |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 17:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
เอาเล่มที่เขาแปลเป็นภาษาไทยสิครับ บาลีเราอ่านไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปเรียนบาลีหรอก ยิ่งแถวบ้านผมพระไตรปิฎกเป็นตัวล้านนาเขียนเป็นภาษาบาลี (บาลีเป็นภาษาพูด ไม่ตัวเขียนเป็นของตัวเอง) ขืนไปเรียนภาษาก่อนก็คงไม่ได้ความกันพอดี ส่วนความที่ได้ ก็มีกลุ่มคนที่เขาอ่านพระไตรปิฎกให้ถามอยู่บ้างเหมือนกัน มีคนหนึ่งอ่านจบแล้ว 6 รอบ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 18:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
Supareak Mulpong เขียน: เอาเล่มที่เขาแปลเป็นภาษาไทยสิครับ บาลีเราอ่านไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปเรียนบาลีหรอก ยิ่งแถวบ้านผมพระไตรปิฎกเป็นตัวล้านนาเขียนเป็นภาษาบาลี (บาลีเป็นภาษาพูด ไม่ตัวเขียนเป็นของตัวเอง) ขืนไปเรียนภาษาก่อนก็คงไม่ได้ความกันพอดี ส่วนความที่ได้ ก็มีกลุ่มคนที่เขาอ่านพระไตรปิฎกให้ถามอยู่บ้างเหมือนกัน มีคนหนึ่งอ่านจบแล้ว 6 รอบ ส่วนความที่ได้ ก็มีกลุ่มคนที่เขาอ่านพระไตรปิฎกให้ถามอยู่บ้างเหมือนกัน มีคนหนึ่งอ่านจบแล้ว 6 รอบ อ่านจบ 6 รอบแล้วหรือขอรับ สาธุๆ แจ่ม (ยืมสำนวนสมาชิกท่านหนึ่งมา ![]() แล้วตั้งใจจะอ่านสักกี่รอบครับ อ้อคุณอยู่ทางเหนือหรือขอรับ อ่านจบ 6 รอบแล้วอย่างนี้ก็ไปไกลแล้วสิรอรับ |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 18 ก.ค. 2009, 18:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
ที่อ่านไป 6 รอบนี่อาจารย์ผม ท่านอายุ 66 ปีแล้ว ผมเพิ่งอ่านได้ไม่ถึงครึ่ง |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 18 ก.ค. 2009, 18:18 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ | ||
Supareak Mulpong เขียน: ที่อ่านไป 6 รอบนี่อาจารย์ผม ท่านอายุ 66 ปีแล้ว ผมเพิ่งอ่านได้ไม่ถึงครึ่ง สาธุๆแจ่ม ![]() ติดขัดตรงไหนถามอาจารย์เลยครับ คนในนี้ที่อ่านๆกันบ้าง ก็อ่านที่เขาแปลๆ มาแล้ว เขาว่าไงก็ว่างั้น หากคุณสนใจจริงๆ ไมไม่ไปอินเดียที่ต้นกำเนิดพุทธศาสนาเลยเล่าครับ หรือไม่ก็ดูต้นฉบับที่พระบาลีล้วนๆเลย (เก็บไว้ที่ไหนไม่รู้นะ ถามๆเขาดูครับแล้วแปลเองมาจากนั้นเลย) กรัชกายเองก็ไม่เคยอ่านตะกร้าสามใบ ธรรมะก็เก็บๆเอาจากตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ธรรมะก็เห็นมีอยู่ทั่วไปนี่ ขอรับ คุณนี่เก่งนะขอรับ อ่านได้เกือบครึ่งหนึ่งของอาจารย์แล้ว ![]()
|
เจ้าของ: | ตรงประเด็น [ 21 ก.ค. 2009, 22:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาสมาธิ |
สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค(อริยะสัมมาสมาธิ) เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะในพระศาสนานี้เท่านั้น ย่อมเป็นผลมาจากการเจริญภาวนาตามหลักแห่งสติปัฏฐาน เสนอ อ่านพระสูตรนี้ ทันตภูมิสูตร ที่ ๕ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0 ทรงแสดงแก่ท่าน สมณุทเทสอจิรวตะ(พระพุทธองค์ทรงเรียกท่านว่า อัคคิเวสสนะ) พระสูตรนี้ค่อนข้างยาว เริ่มจากการสนทนาระหว่างท่านสมณุทเทสอจิรวตะ กับ พระราชกุมารชยเสนะ ในประเด็นที่ว่า Quote Tipitaka: ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึง สำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้ ฯ http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0 ถ้ามีเวลาว่าง ลองค่อยๆอ่านบทสนทนาระหว่าง ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ กับ พระราชกุมารชยเสนะ และ ในสุดท้าย พระราชกุมารชยเสนะ ก็สรุปด้วยภาวะมุมมองแห่งตนเอง(ที่ยังคงข้องกับกามอยู่) ว่า ประเด็นนี้ เป็นไปไม่ได้... คือ ไม่มีทางที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้... Quote Tipitaka: ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส แก่สมณุทเทสอจิรวตะแล้ว ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป ฯ http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0 ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ จึงมาทูลให้พระพุทธองคฺทรงทราบ และ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรม ชี้เหตุผลกับท่าน ![]() ใน พระพุทธเทศนานั้น บรรยายตั้งแต่ เหตุที่พระราชกุมารไม่อาจจะคาดหยั่งถึงการสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ เพราะยังคงเสพกามอยู่ Quote Tipitaka: ดูกรอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความ ข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการ แสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0 และ ต่อจากนั้น ทรงแสดงถึงธรรมขั้นสูงๆต่อไป คือ เนกขัมมะ คือ การออกจากกาม(ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต) ต่อด้วย การเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ต่อด้วย การเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ละนิวรณ์๕ได้ เมื่อละนิวรณ์๕ได้แล้ว ก็ต่อด้วย การพิจารณากายในกาย (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม)มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ (ตรงนี้ ไม่ได้แสดงชัดเจนว่า นี่เป็นสมาธิระดับใด แต่ ผมเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง บรรลุรูปฌานที่๑แล้ว เพราะถัดจากท่อนนี้ไปก็ทรงบรรยายถึงทุติยฌานแล้ว) http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0 ต่อมาทรงแสดง สติปัฏฐานสี่ ว่าคือ หลักผูกใจของอริยสาวก เปรียบด้วยเสาตะลุงใหญ่เอาไว้ล่ามคอช้างป่า http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0 # พระสูตรในตอนต่อจากนี้ น่าสนใจนมากครับ http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0 ทรงแสดงถึง Quote Tipitaka: "พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย" (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม) จึงยังให้เกิด Quote Tipitaka: "เธอย่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่". การพิจารณาเห็นกายในกาย แต่ไม่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย(ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม) ซึ่งบรรยายว่า วิตก-วิจาร สงบไป จึงบรรลุถึงทุติยฌาน ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง Quote Tipitaka: "ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน" ซึ่งนี่ คือ การละวางปีติอย่างมีสติ จึงบรรลุตติยฌาน ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง Quote Tipitaka: " ย่อมเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ" ซึ่งนี่คือ การละวางสุขที่เกิดขึ้น จิตจึงลุถึงจตุตฌานที่มีสติบริสุทธิ์ หลังจากนั้นจึงทรง แสดงถึง วิชชาสามประการ ๆลๆ # # พระสูตรนี้น่าสนใจมาก เพราะ ทรงตรัสแสดงถึง ความสัมพันธ์ของสติปัฏฐาน กับ รูปฌาน๑-๔ โดยตรง (ตรงกับ คำว่า"เอกัคคตาแห่งจิต" ที่ เป็นประเด็นสนทนาระหว่าง ท่านสมณุทเทสอจิรวตะกับพระราชกุมารชยเสนะ ในตอนต้นพระสูตร).... ซึ่ง นี่คือ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค อันเป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐาน |
หน้า 1 จากทั้งหมด 8 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |