ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19929
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 06 ม.ค. 2009, 05:16 ]
หัวข้อกระทู้:  ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕ หรือ ชีวิตกับชีวิตซึ่งเป็นปัญหา


ในพุทธพจน์แสดงความหมายของอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ประมวลใจความทั้งหมด

ของพระพุทธศาสนา

มีข้อความเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ปรากฏอยู่ในอริยสัจข้อที่ ๑ คือข้อว่าด้วยทุกข์

ในอริยสัจข้อที่ ๑ นั้น

ตอนต้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงความหมายหรือคำจำกัดความของทุกข์ ด้วยวิธียกตัวอย่างเหตุการณ์

ต่างๆ ที่มองเห็นได้ง่ายและมีอยู่เป็นสามัญในชีวิตของบุคคลขึ้นแสดงว่าเป็นความทุกข์

แต่ละอย่างๆ

แต่ในตอนท้าย พระองค์ตรัสสรุปลงเป็นข้อเดียวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ดังพุทธพจน์ว่า


“ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ ทุกขอริยสัจ: ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์

ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”


(วินย.4/14/18 ฯลฯ)

พุทธพจน์นี้ นอกจากแสดงถึงฐานะของขันธ์ ๕ ในพุทธธรรมแล้ว ยังมีข้อสังเกตสำคัญ คือ

ความหมายของ “ทุกข์” นั้น

จำง่ายๆด้วยคำสรุปที่สั้นที่สุดว่า คือ อุปาทานขันธ์ ๕ หรือ เบญจอุปาทานขันธ์เท่านั้น

และคำว่า ขันธ์ในที่นี้มี “อุปาทาน” นำหน้าด้วย

สิ่งที่ควรศึกษาในที่นี้ ก็คือคำว่า “ขันธ์” กับ “อุปาทานขันธ์” ซึ่งขอให้พิจารณาตามพุทธพจน์

ต่อไปนี้

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และ อุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง”

“ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?

รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต

อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม

ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕”


“อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?

รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน

เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม

ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้ เรียกว่า

อุปาทานขันธ์ ๕”

(สํ.ข. 17/95-96/58-60)


“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน

เธอทั้งหลายจงฟัง”

“รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

ฉันทราคะ * ใน รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้น คือ อุปาทานใน (สิ่ง) นั้นๆ”


(สํ.ข. 17/309/202)


หลักดังกล่าวนี้ เป็นพื้นฐานความเข้าใจที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการศึกษาพุทธธรรมต่อๆไป


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


*ฉันทราคะ ความชอบใจจนติด หรือ อยากอย่างแรงจนยึดติด

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 07 ม.ค. 2009, 11:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕

คุณค่าทางจริยธรรม

ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า

ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน *

บ้างก็ยึดว่ามีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงอยู่ในจิตนั้นซึ่งเป็นเจ้าของและเป็นตัวการที่คอยควบคุม

บังคับบัญชากายและใจนั้นอีกขั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ มุ่งให้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า

สัตว์ บุคคล เป็นต้นนั้น เมื่อแยกออกไปแล้วก็จะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น

ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ และแม้ขันธ์ ๕ เหล่านั้นแต่ละอย่าง

ก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกันไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง

ดังนั้นขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน

รวมความว่า หลักขันธ์ ๕ แสดงถึงความเป็นอนัตตา ให้เห็นว่า ชีวิตเป็นการประชุมเข้าของส่วน

ประกอบต่างๆ หน่วยรวมของส่วนประกอบเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ตัวตน


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นเอง ก็ไม่ใช่ตัวตน และสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านี้

ก็ไม่มี- (สํ.ข. 17/4-5,32-33 ฯลฯ)

เมื่อมองเห็นเช่นนั้นแล้ว ก็จะถอนความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องตัวตนได้

ความเป็นอนัตตานี้ จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อเข้าใจกระบวนการของขันธ์ ๕ ในวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท



อนึ่ง เมื่อมองเห็นว่า ขันธ์ ๕ มีอยู่อย่างสัมพันธ์และอาศัยซึ่งกันและกัน ก็จะไม่เกิดความเห็นผิดว่า

ขาดสูญ ที่เรียกว่า อุจเฉททิฐิ และ ความเห็นผิดว่าเที่ยง ที่เรียกว่า สัสสตทิฐิ

นอกจากนั้น เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนและมีอยู่อย่างสัมพันธ์อาศัยกันและกันเช่นนี้แล้ว

ก็จะเข้าใจหลัก กรรม โดยถูกต้องว่าเป็นไปได้อย่างไร


กระบวนการแห่งความสัมพันธ์และอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายนี้ มีอธิบายในหลักปฏิจจสมุปบาท

อีกประการหนึ่ง การมองสิ่งทั้งหลายโดยวิธีแยกส่วนประกอบออกไปอย่างวิธีขันธ์ ๕ นี้

เป็นการฝึกความคิด หรือ สร้างนิสัยที่จะใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ความจริง คือ

เมื่อประสบหรือเข้าเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ความคิดก็ไม่หยุดติดอึ้ง ยึดถือเฉพาะรูปลักษณะภายนอก

เท่านั้น

เป็นการสร้างนิสัยชอบสอบสวนสืบค้นหาความจริง และที่สำคัญยิ่งคือ ทำให้รู้จักมองสิ่งทั้งหลาย

ตามสภาวะล้วนๆของมัน หรือ ตามแบบสภาววิสัย (objective)

คือ มองเห็นสิ่งทั้งหลาย “ตามที่มันเป็น” ไม่นำเอาตัณหาอุปาทานเข้าไปจับ

อันเป็นเหตุให้มองเห็นตามที่อยากหรือไม่อยากให้มันเป็น อย่างที่เรียกว่า สกวิสัย (Subjective)

คุณค่าอย่างหลังนี้ นับเป็นว่าเป็นการเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการของพุทธธรรม

และของหลักขันธ์ ๕ นี้ คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่น

การไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายด้วยการใช้ตัณหาอุปาทาน แต่เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการด้วย

ปัญญา

อย่างไรก็ดี ในการแสดงพุทธธรรมนั้น ตามปกติท่านไม่แสดงเรื่องขันธ์ ๕ โดยลำพังโดดๆ

เพราะขันธ์ ๕ เป็นแต่สภาวะ ที่ยกขึ้นเป็นตัวตั้งสำหรับพิจารณา

และการพิจารณานั้น ย่อมเป็นไปตามแนวแห่งหลักธรรมอย่างอื่น ที่เป็นประเภทกฎสำหรับนำมาจับ

หรือกำหนดว่าขันธ์ ๕ มีสภาวะเป็นอย่างไร มีความเป็นไปอย่างไร เป็นต้น

คือ ต้องแสดงโดยสัมพันธ์กับหลักธรรมอย่างอื่น เช่น หลักอนัตตา เป็นต้น จึงจะปรากฏคุณค่า

ในทางปฏิบัติโดยสมบูรณ์

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

* พึงสังเกตพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย การที่บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้จะเข้าไปยึดถือร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔

ว่าเป็นตัวตน ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้

ยังปรากฏให้เห็นว่าดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓-๔-๕ ปีบ้าง ๑๐-๒๐-๓๐-๔๐-๕๐ ปีบ้าง

๑๐๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง

แต่สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือ วิญญาณ นี้เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งคืนทั้งวัน


(สํ.นิ. 16/231/114)

ไฟล์แนป:
05.jpg
05.jpg [ 103.12 KiB | เปิดดู 2256 ครั้ง ]

เจ้าของ:  BlackHospital [ 26 ม.ค. 2009, 11:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕

อุปาทานกับอุปาทานขันธ์มิใช่อันเดียวกัน

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อุปาทานนั้นเองหรือ ชื่อว่า ปัญจุปาทานนักขันธ์
เหล่านั้น ? หรือว่าอุปทาน เป็นอื่นไปจาก ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลายเล่า? พระเจ้าข้า !"
ภ ิก ษ ุ!

ต ัว อ ุป า ท า น นั ้น ไ ม ่ใ ช ่ต ัว ป ัญ จ ุป า ท า น ัก ข ัน ธ ์,
แต่อุปาทานนั้น ก็มิได้มีในที่อื่น นอกไป จาก ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย;
เพราะว่า ตัวฉันทราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานักขันธ์ นั่นแหละ คือ ตัวอุปาทาน
ในที่นี้แล.
- อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.
:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/