ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19451
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 10 ธ.ค. 2008, 04:48 ]
หัวข้อกระทู้:  สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล)

รูปภาพ

สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี


ส่วนหนึ่งของธรรมบรรยาย ณ อาคารอัมรินทร์ พลาซา
ย่านราชประสงค์ กรุงเทพฯ (กิจกรรมชมรมคนรู้ใจ)



“สมถะ” กับ “วิปัสสนา” จริงๆ แล้วทั้งสองคำเป็นลำดับขั้นตอนที่เกื้อหนุนกัน

คือ “สมถะ” เป็นการอบรมใจให้สงบ (มีสมาธิ) ให้หยุดนิ่ง เป็นอารมณ์เดียว ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก คำบริกรรมคาถา เป็นต้น ส่วนการ “วิปัสสนา” หมายถึงการอบรมปัญญาให้เกิด โดยการปฏิบัติธรรมแล้วใช้ปัญญาพิจารณาสภาวธรรม ทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง จนมี “จิต” ที่เป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์

หากปฏิบัติทั้งสองอย่างควบคู่กันไปจะเกื้อหนุนกัน คือ ผลของสมถะจะทำให้เกิดวิปัสสนาปัญญาได้ง่ายขึ้น และผลของวิปัสสนา (ความปล่อยวาง, ความไม่ยึดมั่น) ก็ทำให้นิวรณ์ (สิ่งขวางกั้นสมาธิ) เกิดน้อยลง ทำให้สมาธิเกิดได้ง่ายขึ้น

หลายคนมองว่าภาวะปัจจุบันนั้นยากในการจะปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ขอเพียงมีกายมีจิตอยู่ตลอดเวลา หากใครเคยศึกษาพุทธศาสนามาบ้าง อาจเคยได้ยินเรื่อง “ม้ากระจอก” กับ “ม้าอาชาไนย” ที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสเปรียบเปรยไว้

“ม้ากระจอก” ผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ก็จะมองเห็นแต่ข้าวเหนียวว่าเป็นข้าวเหนียว เพราะเพ่งเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้เพ่งอย่างลึกซึ้งเเละไม่ได้ใช้ปัญญาในการคิดต่อถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น แตกต่างกับ “ม้าอาชาไนย” ถูกผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวเหมือนกัน แต่จะไม่คิดว่าข้าวเหนียวเป็นเพียงข้าวเหนียว แต่จะคิดว่าวันนี้เจ้าของจะให้ทำอะไร เราจะทำสิ่งใดเป็นการตอบแทน

“เรื่องนี้ก็คล้ายกันกับคนเรา ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่สถานที่ใด จะเป็นอยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี หรืออยู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ไม่มีจิตอันกามราคะรุมเร้าแล้ว ย่อมรู้ถึงวิธีสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีจิตอันพยาบาท ซึ่งคล้ายกับเป็นการบอกว่าไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ใด ก็สามารถทำสมถะ-วิปัสสนาได้”

ในชีวิตประจำวันเราสามารถปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนาที่ไหนก็ได้ ขอเพียงมีกายมีจิตตลอดเวลา มีวิธีง่ายๆ อยู่หลายวิธี เช่น เมื่อมีเวลาว่างให้ลองคิดทบทวนถึงการดำเนินชีวิตที่ผ่านมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

“ทบทวนช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน แล้วพยายามทบทวนถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในแต่ละเหตุการณ์ ให้มองให้ชัดเจนว่าความสุขที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมา กับความทุกข์ที่ต้องเผชิญมันคุ้มกันหรือไม่ การกระทำของเราในขณะนั้น เป็นไปตามความปรารถนาของเราอย่างแท้จริง หรือว่าเราควบคุมมันไม่ได้ ความสุขความทุกข์นั้นอยู่กับเราได้นานเพียงใด ที่สำคัญคือต้องทำจิตใจให้เป็นกลาง และต้องมองให้ลึกทุกแง่มุม

ความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในอดีต ถ้าภายหลังทำไม่ได้ หรือมีใครมาพูดให้กระทบกระเทือนจนสูญเสียความมั่นใจ ก็อาจทำให้เราเป็นทุกข์อย่างมากมายก็ได้ แต่อย่ามองแง่เดียว เพราะสิ่งที่มีคุณอนันต์ก็มักจะมีโทษมหันต์เช่นกัน ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันลองคอยสังเกตความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ถ้าเผลอไปก็ไม่เป็นไร พยายามสังเกตให้ได้มากที่สุด จนเคยชินเป็นนิสัย มีสติรู้ทันความรู้สึกตลอดเวลา

การสังเกตนั้นเพื่อศึกษาธรรมชาติของร่างกายของจิตใจของเราเองว่า มีสุขมีทุกข์มากน้อยเพียงใด เกิดความแปรปรวนเพราะอะไรบ้าง บังคับได้หรือไม่ได้ ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน จนกระทั่งหลับไปในที่สุด คือรู้ตัวเมื่อไหร่ก็สังเกตเมื่อนั้น แล้วสิ่งที่ท่านคิดว่า คือ ‘เรา’ นั้น ก็จะแสดงธรรมชาติที่แท้จริงให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ”

อย่าลืมว่า “พระพุทธศาสนาสอนให้เรากล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและความเป็นจริง แทนที่จะหลบลี้ไปจากความจริง ทรงพบว่าเพียงการหันเหจิตใจจากความทุกข์เฉพาะหน้าไปสู่สิ่งอื่น ในส่วนลึกของจิตนั้นเรายังคงรู้สึกถึงความทุกข์อยู่ และยังสร้างสังขารหรือความคิดปรุงแต่งของจิต ให้เกิดโลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) หรือโมหะ (ความหลง) ขึ้นมาอีก ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้น

‘การปฏิบัติสมถะวิปัสสนา’ จะช่วยให้เราเพ่งเพียรในอารมณ์ เพราะเราจะรู้สิ่งใดอย่างแท้จริง เราก็ต้องเฝ้าดู เพ่งดูซึ่งสิ่งนั้น” เจ้าอาวาสวัดนาป่าพงย้ำถึงหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา

หลายคนเวลามีความทุกข์เกิดขึ้นในชีวิต มีความเดือดเนื้อร้อนใจ จนไม่อาจจะทนทุกข์อยู่ต่อไปได้ ก็อยากจะหนีความทุกข์นั้นไปให้พ้น อาจจะไปดูหนัง ดูละคร หรือไปสถานบันเทิงต่างๆ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยให้หลบไปจากความทุกข์ได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น เป็นเพียงการหันเหความสนใจไปจากความทุกข์เป็นการชั่วคราว แล้วก็นึกเองว่าได้พ้นจากความทุกข์นั้นแล้ว แต่ความเป็นจริงนั้นไม่ได้หลุดพ้นจากความทุกข์

ในทางตรงกันข้าม ความทุกข์กลับจะเพิ่มพูนขึ้น การหนีไปจากความทุกข์จึงมิใช่เป็นการแก้ปัญหา

คำบรรยายของพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ซึ่งมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของคนเรา เรื่องของทุกข์-สุข เรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองว่า ความสุขที่แท้จริงนั้น ไม่ต้องหาสิ่งใดมาปรุงแต่ง ไม่ต้องใช้ตัวช่วยที่แลกมาด้วยความสิ้นเปลือง

และพระพุทธศาสนานี่เองที่สอนให้รู้ว่า “ขอเพียงสร้างความรู้เท่าทันให้เกิดขึ้นในจิตใจด้วยตัวเอง ไม่ให้ถูกครอบงำด้วยความมืดดำแห่งกิเลสแล้ว ชีวิตก็นับว่าได้สัมผัสกับความสุขที่แท้จริง”


:b8: คัดลอกมาจาก : http://www.matichon.co.th/

เจ้าของ:  น้องพลอย [ 19 มิ.ย. 2009, 11:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล)

:b8: :b8: :b8: :b20:

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 26 มิ.ย. 2009, 18:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิ

สาธุครับ :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 26 มิ.ย. 2009, 19:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล)

:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  dhama [ 15 ก.ค. 2009, 20:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล)

ผมเคยไปนั่งฟังอาจารย์ท่านบรรยายธรรม ท่านมีเมตตาครับอยากบวชที่นั้นจริงๆ

เจ้าของ:  Yodyood [ 27 ก.พ. 2011, 17:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิ

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 10 ส.ค. 2011, 14:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิ

smiley smiley smiley

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ทักทาย [ 08 ก.ย. 2011, 21:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิ

สาธุค่ะ :b8:

เจ้าของ:  คนธรรมดาๆ [ 11 ก.ย. 2011, 09:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิ

:b8: ขอบคุณครับ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/