ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=18998 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 10 พ.ย. 2008, 12:57 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน | ||
การตีความเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท มีผู้ถกเถียงกันมากพอๆกันกับถกเถียงเรื่อง สมถะ-สมาธิ-วิปัสสนา เหมือนกัน ที่เป็นดังนี้ เพราะหรือถือตำรากันคนละเล่มคนละที่มา ถ้าหากดูตำราอย่างทั่วถึงแล้ว ปัญหาดังกล่าวจะเบาลง ในที่นี้จะกล่าวถึงปฏิจจสมุปบาทที่เห็นต่างกัน ปฏิจจสมุปบาทที่อธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติก็มี ที่อธิบายแบบขณะจิตเดียวก็มี มีความเป็นมาอย่างไร ดูหลักฐานที่มาทั้งสองแห่งนั้น ![]()
|
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 10 พ.ย. 2008, 13:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท |
คัมภีร์อรรถกถาวิภังค์แห่งพระอภิธรรมปิฎก (สัมโมหวิโนทนี) หน้า 260-278 ได้แสดงกระบวนธรรม ปฏิจจสมุปบาทแบบที่เกิดครบถ้วนในขณะจิตเดียว ความข้อนี้เห็นว่า ควรยกมากล่าวย้ำไว้อีก เพราะการเล่าเรียนเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่สืบๆกันมา ล้วนเป็นการแปลความและอธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติ ทั้งสิ้น เมื่อมีผู้ตีความและอธิบายปฏิจจสมุปบาทนั้นแบบกระบวนธรรมในชีวิตประจำวัน ท่านผู้ยึดถือหลักฐานทางคัมภีร์ เป็นใหญ่อาจเห็นว่า การทำเช่นนั้นเป็นการตีคามนอกแบบแผน ขาดหลักฐาน และเกิดความห่วงใย ไม่สบายใจ เพื่อความอุ่นใจและสบายใจร่วมกัน จึงได้ยกหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า การตีความปฏิจจสมุปบาท แบบชีวิตประจำวันนั้น มีหลักฐานในคัมภีร์ เป็นแต่มีข้อน่าสังเกตว่า หลักฐานที่มีนั้น อาจเป็นเพียง ร่องรอยของอดีตที่กำลังเลือนรางหรือลืมกันไปแล้ว และที่ยังเหลืออยู่ได้ก็เพราะมีแกนคือพระไตรปิฎก ยืนยันบังคับอยู่ ที่กล่าวมานี้ ขอขยายความว่า คำอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติที่ยึดถือเป็นหลักกันอยู่ ในวงการศึกษาพุทธศาสนานั้น มาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคซึ่งเป็นนิพนธ์ของพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อ พ.ศ.900 เศษ แต่ยังมีคัมภีร์อีกเล่มหนึ่งซึ่งอธิบายปฏิจจสมุปบาทไว้ด้วยเช่นกันคือ คัมภีร์สัมโมหวิโนทนีที่กล่าวถึงข้างต้น คำอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทในสัมโมหวิโนทนีแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกอธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติเหมือนวิสุทธิมรรค แต่ตอนสองอธิบายแบบความเป็นไปในขณะจิตเดียว คัมภีร์สัมโมหวิโนทนีก็เป็นนิพนธ์ของพระพุทธโฆษาจารย์เช่นเดียวกัน และตามตำนานว่าท่านเขียนหลัง คัมภีร์วิสุทธิมรรคด้วย แปลกกันเพียงว่า วิสุทธิมรรคท่านแต่งเป็นอิสระอย่างเป็นผลงานของท่านเอง ส่วนคัมภีร์สัมโมหวิโนทนีเป็นอรรถกถาอธิบายความในพระอภิธรรมปิฎก และพระพุทธโฆษาจารย์ได้กล่าวไว้ ในอารัมภกถาด้วยว่า คัมภีร์สัมโมหวิโนทนีนั้น “ข้าพเจ้าสะสางนัยอรรถกถาเก่าๆ เรียบเรียงขึ้น” (วิภงฺค. อ.1) แม้ว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่ว่าเป็นผลงานอิสระของท่านเอง พอถึงตอนว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท ท่านก็เขียนออกตัวว่า “การอธิบายความแห่งปฏิจจสมุปบาททำได้ยาก” “วันนี้ใคร่จะกล่าว พรรณนาปัจจยาการ ทั้งที่ยังหาที่อาศัยไม่ได้ เหมือนดังก้าวลงสู่สาครยังไม่ได้ที่เหยียบยัน ก็แต่ว่า คำสอน เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ประดับประดาไปด้วยนัยแห่งเทศนาต่างๆ อีกทั้งแนวทางของบูรพาจารย์ก็ยังเป็นไปอยู่ ไม่ขาดสาย เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะอาศัยหลักสองอย่างนั้น ลงมือพรรณนาความแห่ง ปฏิจจสมุปบาท” (วิสุทธิ.3/114; ตรงกับวิภงฺค.อ. 118) ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() คำอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทในวิสุทธิมรรคนี้ เมื่อเทียบกับในสัมโมหวิโนทนี มีตอนเดียว คือ ตอนแรกที่ อธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติ ไม่มีตอนที่อธิบายแบบเป็นไปในขณะจิตเดียว และตอนที่อธิบายแบบข้ามภพ ข้ามชาติ ก็แทบไม่แตกต่างกันเลยกับคำอธิบายในสัมโมหวิโนทนี เพียงแต่ขยายความบางส่วนให้พิสดารออก ไปกว่ากันบ้าง* เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อาจมีผู้ตั้งคำถามว่า เหตุใดในวิสุทธิมรรค จึงไม่มีตอนที่อธิบายปฏิจจสมุปบาท แบบเป็นไปในขณะจิตเดียวเหมือนอย่างในสัมโมหวิโนทนี ที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นไปได้ว่า แม้แต่ในสมัย ของพระพุทธโฆษาจารย์ การเรียนการสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทในวงการศึกษาพระศาสนามีแต่อธิบายแบบ ข้ามภพข้ามชาติกันทั้งนั้น ในวิสุทธิมรรค ท่านจึงจับเฉพาะแง่นั้น อีกอย่างหนึ่งอาจเป็นด้วยว่า ในการอธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติ ท่านอาจสะดวกใจมากกว่า เพราะถึง จะยากอย่างที่ท่านเขียนปรารภไว้ ก็ยังมีแนวของอาจารย์สอนกันสืบๆมาจนถึงเวลานั้น ส่วนการอธิบายแบบเป็นไปในขณะจิตเดียว เป็นเรื่องยากและการอธิบายในวงการศึกษาก็ขาดตอนไปเสียแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า แม้แต่ในคัมภีร์สัมโมหวิโนทนีเอง ตอนที่อธิบายแบบขณะจิตเดียว ก็สั้นอย่างยิ่ง อาจเป็นได้ว่า ที่ยังมีอยู่ ก็เพราะมีพระไตรปิฎกยืนยันบังคับอยู่ จำเป็นต้องอธิบาย เมื่อไม่อธิบายมาก ก็อธิบายแต่น้อย และเพราะมีร่องรอยจากอรรถกถาเก่าๆ เหลืออยู่ จึงว่าไป ตามที่พอจะมีหลักฐานเดิมเท่านั้น ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() * คำอธิบายในวิสุทธิมรรค มี 100 หน้า (3 / 106-205) ส่วนในสัมโมหวิโนทนีมี 92 หน้า (หน้า 168-260) |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 11 พ.ย. 2008, 11:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท |
ทีนี้ หันมาพูดถึงคำอธิบายในสัมโมหวิโนทนีโดยเฉพาะ สัมโมหวิโนทนีเป็นอรรถกถาอธิบายคัมภีร์วิภังค์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 2 แห่งพระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์วิภังค์ตอนที่อธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาท เรียกว่า ปัจจยาการวิภังค์ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ สุตตันตภาชนีย์ (แจงความหรือขยายความแบบพระสูตร) และ อภิธรรมภาชนีย์ (แจงความหรือขยายความแบบอภิธรรม) คัมภีร์สัมโมหวิโนทนีซึ่งเป็นอรรถกถา ก็แบ่งอธิบายเป็น 2 ตอนตามนี้ด้วย คัมภีร์สัมโมหวิโนทนีได้แสดง ความแตกต่างแห่งคำอธิบาย 2 ตอนนี้ไว้ว่า “พระศาสดา ครั้นทรงแสดงปัจจยาการ...แบบจิตต่างๆดวงในสุตตันตภาชนีย์แล้ว เนื่องด้วยปัจจยาการนี้ จะมีเฉพาะในจิตต่างๆ ดวงอย่างเดียวก็หาไม่ ย่อมมีแม้ในจิตขณะเดียวนี่แหละ ฉะนั้น ในบัดนี้ ทรงประสงค์ จะแสดงปัจจยาการเป็นไปในขณะจิตต่างๆกัน ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ ทรงปรารภปัจจยาการเป็นไปในขณะจิต เดียว” (วิภงฺค.อ. 262) มีตัวอย่างคำอธิบายแบบเป็นไปในขณะจิตเดียวในชีวิตประจำวันเช่น “เพราะชาติเป็นต้น (ความเกิด แก่ ตาย) เหล่านี้ ได้แก่ ความเกิด (แก่ ตาย) ของอรูปธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น จึงมิได้ตรัสว่าภาวะ ที่ฟันหัก ภาวะที่ผมหงอก ภาวะที่หนังเหี่ยวย่น การจุติ กิริยาที่เคลื่อน (จากภพ) ดังนี้” (วิภงฺค.อ. 272) มีข้อน่าสังเกตว่า ในคัมภีร์วิภังค์ ในพระไตรปิฎก ภาคสุตตันตภาชนีย์ที่ว่าด้วยปัจจยาการในจิตต่างๆดวง (แบบเน้นการข้ามภพข้ามชาติ) มีเพียง 5 หน้า ภาคอภิธรรมภาชนีย์ที่ว่าด้วย ปัจจยาการในจิตดวงเดียวมีถึง 72 หน้า * แต่คำอธิบายในสัมโมหวิโนทนีกลับตรงข้าม คือ ตอนอธิบายสุตตันตภาวชนีย์ยาวถึง 92 หน้า ส่วนคำอธิบายอภิธรรมภาวชนีย์มีเพียง 19 หน้า ** การที่คำอธิบายในอภิธรรมภาวชนีย์สั้นนัก อาจเป็นเพราะพระอรรถกถาจารย์ คือ พระพุทธโฆษาจารย์ไม่มีอะไรจะพูดมากนักเกี่ยวกับเรื่องนั้น หรือเป็นเพราะท่านเห็นว่า ในพระไตรปิฎกแสดงไว้ยืดยาวละเอียดดีแล้ว ไม่ต้องอธิบายมาก จะอย่างไรก็ตามเป็นอันให้เห็นว่า ความหมายปฏิจจสมุปบาทแบบชีวิตประจำวัน เป็นของมีมาแต่เดิม ตั้งแต่ในพระไตรปิฎกและมีร่องรอยอยู่ในอรรถกถา เป็นแต่ว่าได้ค่อยๆ เลือนรางหรือถูกหลงลืมไป ในเวลาต่อๆมา *อภิ.วิ.สุตตันตภาวชนีย์ 35/255/161-273/185; อภิธรรมภาวชนีย์ 35/274/185-430/257 ** วิภงฺค.อ. สุตตันตภาวชนีย์ 168-260: อภิธรรมภาวชนีย์ 260-278 ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() จบประเด็นเท่านี้ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 16:20 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน | ||
ปฏิจจสมุปบาทที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์ก็มีทั้งพระสูตรและอภิธรรม คนที่เคยอ่านแต่พระสูตร ก็ติดพระสูตร ใครที่เคยอ่านแต่อภิธรรมก็ติดสำนวนอภิธรรม เมื่อทั้งสองฝ่ายสนทนาปฏิจจสมุปบาทกันก็จึงขัดแย้งกันได้ ส่วนใหญ่จะคุ้นสำนวนพระสูตร ไม่คุ้นสำนวนอภิธรรม ฉะนั้นจะนำทั้งสองสำนวนมาให้ดูคู่กันไป (ตามลิงค์) ปฏิจจสมุปบาทแนวอภิธรรม ในพระอภิธรรมปิฎก ท่านจำแนกกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทออกเป็นหลายแบบ ตามประเภทแห่งจิต ที่เป็นอกุศล กุศล อัพยากฤต (วิบาก และกิริยา) และซอยละเอียดออกไปอีกตามระดับจิตที่เป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ* (*อภิ.วิ.35/255-430/181-257) องค์ธรรมที่เป็นปัจจัยในกระบวนธรรมเหล่านั้น บางอย่างเปลี่ยนแปลกออกไปตามประเภทของจิตด้วย ไม่เป็นแบบเดียวเหมือนอย่างที่แสดงไว้ในพระสูตร เช่น ในกุศลจิตบางอย่าง กระบวนธรรมอาจเริ่มต้นด้วยสังขารทีเดียว ไม่มีอวิชชา หรืออาจเริ่มด้วยกุศลมูลแทนอวิชชา เป็นต้น โดยเฉพาะที่น่าสังเกตยิ่ง คือ ตัณหามีเฉพาะในอกุศลจิตอย่างเดียวเท่านั้น ในจิตประเภทอื่นๆ ตัณหาถูกแทนด้วยปสาทะ หรือไม่ก็ข้ามไปเสียทีเดียว ทั้งนี้เพราะอภิธรรมศึกษาจิตซอยเป็นแต่ละขณะๆ จึงวิเคราะห์องค์ธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัย ในกระบวนธรรมเฉพาะขณะนั้นๆ อวิชชาและตัณหาเป็นต้น ที่ถูกข่มถูกเบียนในขณะนั้นๆ จะไม่ถูกแสดง ไว้ตามชื่อของมัน แต่แสดงในรูปองค์ธรรมอื่นที่ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาแทนที่ หรือไม่ก็ข้ามไปทีเดียว นอกจากนั้น บาลีในพระอภิธรรมปิฎกยังได้แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในลักษณะที่สัมปยุต (ประกอบ) และ ที่เป็นปัจจัยในทางกลับกัน (เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารก็เป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ฯลฯ ) ไว้ด้วย link ปฏิจจสมุปบาท แนวอภิธรรม viewtopic.php?f=7&t=28121 link ปฏิจจสมุปบาท พระสูตร viewtopic.php?f=7&t=28122
|
เจ้าของ: | เอรากอน [ 03 ม.ค. 2010, 17:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
จานป้อ...ปฏิจจสมุปบาท ไตรภาค หรือเจ้าคะ... ![]() ![]() ![]() กำลังรอจานป้อ... ลงให้จบก่อน แล้วค่อยอ่านทีเดียว... ![]() ![]() แบบว่าเหมือน ถ้าจะเบิ้ลกินก๋วยเตี๋ยวชามที่สอง ต้องสั่งไว้รอเลย จะได้อร่อยไม่ขาดช่วง ![]() ![]() ![]() อุ๋ย...พูดถึง เตี๋ยว หิวเตี๋ยวไก่มะระ ขึ้นมาตะหงิด ๆ ... จานป้อ..จะไปแถว ๆ บ้านไบกอน เมื่อไร...บอกนะ จะพาไปเลี้ยงเตี๋ยวไก่มะระ... ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 17:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
เอรากอน เขียน: จานป้อ...ปฏิจจสมุปบาท ไตรภาค หรือเจ้าคะ... ![]() ![]() ![]() กำลังรอจานป้อ... ลงให้จบก่อน แล้วค่อยอ่านทีเดียว... ![]() ![]() แบบว่าเหมือน ถ้าจะเบิ้ลกินก๋วยเตี๋ยวชามที่สอง ต้องสั่งไว้รอเลย จะได้อร่อยไม่ขาดช่วง ![]() ![]() ![]() อุ๋ย...พูดถึง เตี๋ยว หิวเตี๋ยวไก่มะระ ขึ้นมาตะหงิด ๆ ... จานป้อ..จะไปแถว ๆ บ้านไบกอน เมื่อไร...บอกนะ จะพาไปเลี้ยงเตี๋ยวไก่มะระ... ![]() ![]() ท่อนนี้ลงไว้ก่อนหน้าแล้ว (แต่ก็อยู่ในภาคเดียวกัน) แต่ตัดต่อใหม่หลังจากลง ๒ link นั่นแล้ว ปฏิจจสมุปบาทยาวและเข้าใจยาก อาจแบ่งซอยเป็น จตุภาค ปัญจภาค ฯลฯ ก็ย่อมได้ แต่ก็ยังเป็นเรื่อง เดียวกัน แต่ซอยๆ เป็นช่วงๆ เพื่อให้อ่านสะดวกๆ และไม่ลายตาจนเกินไป ส่วนเตี๋ยวไก่มะระดังกล่าวนั่นฝากคนแถวๆนั่นกินแทนแล้วกันครับ เพราะกรัชกายไม่รู้แห่งบ้านไบกอน 555 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 17:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
ไหนๆก็ไหนๆแล้วลงประเด็นปลีกย่อยที่ควรรู้ต่ออีกหน่อย การแปลความหมาย หลักปฏิจจสมุปบาท หลักปฏิจจสมุปบาท ถูกนำมาแปลความหมายและอธิบายโดยนัยต่างๆ ซึ่งสรุปเป็นเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การอธิบายแบบแสดงวิวัฒนาการของโลกและชีวิต โดยการตีความพุทธพจน์บางแห่ง ตามตัวอักษร เช่น พุทธดำรัสว่า โลกสมุทัย (สํ.นิ.16/178/93) เป็นต้น 2. การอธิบายแบบแสดงกระบวนการเกิด-ดับแห่งชีวิต และความทุกข์ของบุคคล ซึ่งแยกได้เป็น 2 นัย 1) แสดงกระบวนการช่วงกว้างระหว่างชีวิตต่อชีวิต คือ แบบข้ามภพข้ามชาติ เป็นการแปลความหมาย ตามรูปศัพท์อีกแบบหนึ่ง และเป็นวิธีอธิบายที่พบทั่วไปในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ซึ่งขยายความหมายออกไป อย่างละเอียดพิสดาร ทำให้กระบวนการนี้มีลักษณะเป็นแบบแผน มีขั้นตอนและคำบัญญัติเรียกต่างๆ จนดูสลับซับซ้อนแก่ผู้เริ่มศึกษา 2) แสดงกระบวนการที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาในทุกขณะของการดำรงชีวิต เป็นการแปลความหมายที่แฝงอยู่ ในคำอธิบายนัยที่ 1 นั่นเอง แต่เล็งเอานัยอันลึกซึ้งหรือนัยประยุกต์ของศัพท์ตามที่เข้าใจว่าเป็น พุทธประสงค์ (หรือเจตนารมณ์ตามหลักธรรม) เฉพาะส่วนที่เป็นปัจจุบัน วิธีอธิบายนัยนี้ยืนยันตัวเอง โดยอ้างพุทธพจน์ในพระสูตรได้หลายแห่ง เช่น ในเจตนาสูตร (สํ.นิ.16/145/78) ทุกขนิโรธสูตร (สํ.นิ.16/163/87) และโลกนิโรธสูตร (สํ.นิ.16/164/87) เป็นต้น ส่วนในพระอภิธรรม มีบาลีแสดงกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาททั้งหมดที่เกิดครบถ้วน ในขณะจิตอันเดียวไว้ด้วย จัดเป็นตอนหนึ่งในคัมภีร์ทีเดียว (อภิ.วิ.35/274-430/185-257) การอธิบายแบบที่ 1 บางครั้งมีผู้พยายามตีความหมายให้หลักปฏิจจสมุปบาทเป็นทฤษฎี แสดงต้นกำเนิดของโลก โดยถือเอาอวิชชาเป็นมูลการณ์ (The First Cause)* แล้วจึงวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับหัวข้อทั้ง 12 นั้น การแปลความหมายนี้ ทำให้เห็นไปว่าคำสอนใน พระพุทธศาสนามีส่วนคล้ายคลึงกับศาสนาและระบบปรัชญาอื่นๆ ที่สอนว่ามีตัวการอันเป็นต้นเดิมสุด เช่น พระผู้สร้าง เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสัตว์และสิ่งทั้งปวง ต่างกันเพียงว่า ลัทธิที่มีพระผู้สร้าง แสดงกำเนิดและความเป็นไปของโลกในรูปของการบันดาลโดยอำนาจเหนือธรรมชาติ ส่วนคำสอนในพระพุทธศาสนา (ที่ตีความหมายอย่างนี้) แสดงความเป็นไปในรูปวิวัฒนาการ ตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติเอง อย่างไรก็ดี การตีความหมายแบบนี้ ย่อมถูกตัดสินได้แน่นอนว่า ผิดพลาดจากพุทธธรรม เพราะคำสอนหรือหลักลัทธิใดก็ตาม ที่แสดงว่า โลกมีมูลการณ์ (คือเกิดจากตัวการที่เป็นต้นเค้าเดิมที่สุด) ย่อมเป็นอันขัดต่อหลักอิทัปปัจจยตา หรือหลักปฏิจจสมุปบาท หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงเหตุผลเป็นกลางๆว่า สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกัน เกิดสืบต่อกันมาตามกระบวนการแห่งเหตุผล อย่างไม่มีที่สิ้นสุด มูลการณ์เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะในรูปพระผู้สร้างหรือสิ่งใดๆ ด้วยเหตุนี้ การแปลความหมายหลักปฏิจจสมุปบาทให้เป็นคำอธิบายวิวัฒนาการของโลกและชีวิต จึงเป็นที่ยอมรับได้ เฉพาะในกรณี ที่เป็นการอธิบายให้เห็นความคลี่คลายขยายตัวแห่งกระบวนการธรรมชาติในทางที่เจริญขึ้น และทรุดโทรมเสื่อมสลายลงตามเหตุปัจจัยหมุนเวียนกันเรื่อยไป ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีเบื้องปลาย |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 17:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับประกอบการพิจารณาว่า การแปลความหมายอย่างใดถูกต้อง ควรยอมรับหรือไม่ ก็คือพุทธประสงค์ในการแสดงพุทธธรรม พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมาย และสั่งสอนเฉพาะสิ่งที่จะนำมาใช้ปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริงได้ เกี่ยวข้องกับชีวิต การแก้ไขปัญหาชีวิต และการลงมือทำจริงๆ ไม่ทรงสนับสนุนการพยายามเข้าถึงสัจธรรมด้วยวิธีครุ่นคิด และ ถกเถียงหาเหตุผลเกี่ยวกับปัญหา ทางอภิปรัชญา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ การกำหนดความเป็นพุทธธรรม จึงต้องอาศัยการพิจารณาคุณค่าทางจริยธรรมประกอบด้วย ในกรณีการแปลความหมายแบบวิวัฒนาการชนิดหมุนเวียนไม่มีต้นปลายนั้น แม้จะพึงยอมรับได้ ก็ยังจัดว่ามี คุณค่าทางจริยธรรม (คือคุณค่าในทางปฏิบัติ เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตจริง)น้อย คือ ได้เพียงโลกทัศน์ อย่างกว้างๆว่า ความเป็นไปของโลกและชีวิตดำเนินไปตามกระแสแห่งเหตุผล ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ในกระบวนการของธรรมชาติเอง ไม่มีผู้สร้าง ผู้บันดาล และไม่เป็นไปลอยๆโดยบังเอิญ ดังนั้นผลที่ต้องการ จึงไม่อาจให้สำเร็จเพียงด้วยความหวังความปรารถนาการอ้อนวอนต่อพระผู้สร้าง หรืออำนาจเหนือธรรมชาติใดๆ หรือ ด้วยการรอคอยโชคชะตาความบังเอิญ แต่ต้องสำเร็จด้วยการลงมือทำ คือ บุคคลจะต้องพึงตน ด้วยการทำเหตุปัจจัยที่จะให้ผลสำเร็จที่ต้องการนั้นเกิดขึ้น 1 การกระทำเหตุปัจจัยเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ จะเป็นไปได้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในตัวเหตุ ตัวปัจจัย พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเหตุปัจจัยต่างๆ ภายในกระบวนการของธรรมชาตินั้นอย่างถูกต้อง ปัญญาจึงเป็นคุณธรรมสำคัญ คือ ต้องเกี่ยวข้องและจัดการกับสิ่งทั้งหลายด้วยปัญญา 1 การรู้เข้าใจในกระบวนการของธรรมชาติ ว่าเป็นไปตามกระแสแห่งเหตุปัจจัย ย่อมช่วยลด หรือทำลายความหลงผิด ที่เป็นเหตุให้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายว่า เป็นตัวตนของตนลงได้ ทำให้เข้าไปเกี่ยวข้องสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง เป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์โดยไม่กลับตก เป็นทาสของสิ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้องนั้นเสีย ยังคงเป็นอิสระอยู่ได้ 1 โลกทัศน์และชีวทัศน์ที่กล่าวมานี้ แม้จะถูกต้องและมีคุณตรงตามความมุ่งหมายของพุทธธรรมทุกประการ ก็ยังนับว่าหยาบ ไม่หนักแน่นและกระชั้นชิดพอที่จะให้เกิดคุณค่าทั้ง 3 ประการ นั้น (โดยเฉพาะประการที่ 3) อย่างครบถ้วนและแน่นอน |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 17:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
เพื่อให้การแปลความหมายแบบนี้มีคุณค่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะต้องพิจารณากระบวนการหมุนเวียนของ ธรรมชาติ ให้ชัดเจนถึงส่วนรายละเอียดยิ่งกว่านี้ คือจะต้องเข้าใจรู้เท่าทันสภาวะของกระบวนการนี้ ไม่ว่า ณ จุดใดก็ตาม ที่ปรากฏตัวให้พิจารณาเฉพาะหน้าในขณะนั้นๆ และมองเห็นกระแสความสืบต่อเนื่อง อาศัยกันแห่งเหตุปัจจัยทั้งหลาย แม้ในช่วงสั้นๆ เช่นนั้นทุกช่วง เมื่อมองเห็นสภาวะแห่งสิ่งทั้งหลายต่อหน้าทุกขณะโดยชัดแจ้งเช่นนี้ คุณค่า 3 ประการนั้น จึงจะเกิดขึ้น อย่างครบถ้วนแน่นอน และย่อมเป็นการครอบคลุมเอาความหมายแบบวิวัฒนาการช่วงยาวเข้าไว้ในตัว ไปด้วยพร้อมกัน ในการแปลความหมายแบบที่ 1 ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นความหมายอย่างหยาบหรืออย่างละเอียด ก็ตาม จะเห็นว่า การพิจารณาเพ่งไปที่โลกภายนอก ส่วนการแปลความหมายแบบที่ 2 เน้นหนักทางด้านชีวิตภายใน สิ่งที่พิจารณาได้แก่ กระบวนการสืบต่อ แห่งชีวิตและความทุกข์ของบุคคล เป็นการมองเข้าไปข้างใน การแปลความหมายแบบที่ 2 นัยที่ 1 เป็นแบบที่ยอมรับและนำไปอธิบายกันมากในคัมภีร์ รุ่นอรรถกถาทั้งหลาย- (วิสุทธิ. 3/107-206,วิภงฺค.อ.168-278 -เฉพาะหน้า 260-278 แสดงกระบวนการแบบที่เกิดครบถ้วนในขณะจิตอันเดียว) มีรายละเอียดพิสดาร และมีคำบัญญัติต่างๆเพิ่มอีกมากมาย เพื่อแสดงกระบวนการให้เห็นเป็นระบบที่มีขั้นตอน แบบแผนชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ในเวลาเดียวกัน ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกตายตัวจนกลายเป็นยึดถือแบบแผน ติดระบบขึ้นได้ พร้อมกับที่กลาย เป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนสำหรับผู้เริ่มศึกษา ส่วนความหมายตามนัยที่ 2 ก็มีลักษณะสัมพันธ์กับนัยที่ 1 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 17:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
ขยายความ (-เอาอวิชชาเป็นมูลการณ์) คห. ถัดขึ้นไป ที่มี * * ผู้ตีความหมายอย่างนี้ บางพวกแปลคำ “อวิชชา” ว่าสิ่งหรือภาวะที่ไม่มีความรู้ จึงอธิบายว่า วัตถุเป็นต้นกำเนิดแห่งชีวิต บางพวกแปลคำว่า “อวิชชา” ว่าภาวะที่ไม่อาจรู้ได้ หรือภาวะที่ไม่มีใครรู้ถึง จึงอธิบายอวิชชาเป็น God ไปเสีย ส่วนคำว่า “สังขาร” ก็ตีความหมายคลุมเอาสังขตธรรมไปเสียทั้งหมด ดังนี้ เป็นต้น |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 03 ม.ค. 2010, 20:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
กรัชกาย เขียน: ปฏิจจสมุปบาทที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์ก็มีทั้งพระสูตรและอภิธรรม คนที่เคยอ่านแต่พระสูตร ก็ติดพระสูตร ใครที่เคยอ่านแต่อภิธรรมก็ติดสำนวนอภิธรรม เมื่อทั้งสองฝ่ายสนทนาปฏิจจสมุปบาทกันก็จึงขัดแย้งกันได้ ส่วนใหญ่จะคุ้นสำนวนพระสูตร ไม่คุ้นสำนวนอภิธรรม ฉะนั้นจะนำทั้งสองสำนวนมาให้ดูคู่กันไป ![]() ![]() พระพุทธพจน์ ไม่มี สอง นัย จำไว้นู๋.....กรัชกาย พระไตรปิำฏก ไม่ใช่ตำรา ..... สิ่งที่ขัดแย้งคือสิ่งที่นู๋กรัชกาย พูดเอง เออเอง |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 21:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
เช่นนั้น เขียน: กรัชกาย เขียน: ปฏิจจสมุปบาทที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์ก็มีทั้งพระสูตรและอภิธรรม คนที่เคยอ่านแต่พระสูตร ก็ติดพระสูตร ใครที่เคยอ่านแต่อภิธรรมก็ติดสำนวนอภิธรรม เมื่อทั้งสองฝ่ายสนทนาปฏิจจสมุปบาทกันก็จึงขัดแย้งกันได้ ส่วนใหญ่จะคุ้นสำนวนพระสูตร ไม่คุ้นสำนวนอภิธรรม ฉะนั้นจะนำทั้งสองสำนวนมาให้ดูคู่กันไป ![]() ![]() พระพุทธพจน์ ไม่มี สอง นัย จำไว้นู๋.....กรัชกาย พระไตรปิำฏก ไม่ใช่ตำรา ..... สิ่งที่ขัดแย้งคือสิ่งที่นู๋กรัชกาย พูดเอง เออเอง ท่านเช่นนั้น ผู้มีธรรมจักษุ เห็นเช่นนั้นก็ดีแล้ว ถามหน่อยเคยเห็นกลุ่มคนที่เขาขัดแย้งโต้เถียงเรื่องนี้กันไหมล่ะ ที่กรัชกายลงไว้ก็เพื่อให้เขาเห็นทั้งสองสูตร |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 21:05 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน | ||
ท่านเช่นนั้น ไปตั้งกระทู้ปฏิจจสมุปบาทไว้ให้เขาเทียบเคียงกันด้วยดินะ 555 แล้วกรัชกายจะไปถามความเข้าใจคุณเอง แล้วดูสิว่า เราจะขัดแย้งกันใหม่ ทดสอบๆ ![]()
|
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 21:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
อ้างคำพูด: พระไตรปิำฏก ไม่ใช่ตำรา ถามหน่อยนะขอรับท่านเช่นอะโป๊ะ พระไตรปีฎกไม่ใช่ตำราแล้วเป็นอะไร ? |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2010, 21:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การตีความปฏิจจสมุปบาทต่างกัน |
ท่านเช่นนั้น น่อมแน้มเอ๋ย ![]() อีกตัวอย่างหนึ่งเห็นง่ายๆในที่นี้แหละ ที่เถียงกันเห็นต่างกันอีก เช่น สมถะ สมาธิ วิปัสสนา สติ ชื่อธรรม ๔ ตัวนี้ ที่ถกเถียงกันมากที่สุด ว่าต้องแค่ไหน เท่าใด ฯลฯ จึงจะเป็นเช่นนั้น หรือ คุณว่าไม่จริง ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |