ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=22506 |
หน้า 2 จากทั้งหมด 19 |
เจ้าของ: | rjasaen [ 26 พ.ค. 2009, 22:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
อโศกะ เขียน: :b8: วิปัสสนากรรมฐาน กับ นั่งสมาธิ พูดอีกอย่างก็ได้ว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนา กับการทำสมถะภาวนา ต่างกันอย่างไร สมถะภาวนาหรือการทำสมาธิ เป็นวิชาโบราณมีมาคู่กับโลกนี้ เป็นวิชาของเหล่าชาวพราหมณ์ ฮินดู ฤาษี ชีไพร ต่างๆ หรือผู้คนในศาสนาอื่นๆ หลักการสำคัญคือทำใจให้นิ่ง ด้วยการเอาจิตไปผูกยึดไว้กับอารมณ์กรรมฐานต่างๆ ซึ่งที่นิยมมาแต่โบราณมีอยู่ 40 อย่าง เป็นอรูปกรรมฐาน 4 อย่าง เช่นการเพ่งอากาศ เพ่งความว่าง เป็นรูปกรรมฐาน 36 อย่าง เช่นการเพ่งกสิณ 10 อย่าง โดยเพ่งดิน เพ่งน้ำ ลม ไฟ เป็นอารมณ์ การเพ่งซากศพ 10 อย่าง การท่องชื่อเทวดาหรือพระเจ้า การทำพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ วูปสมานุสติ(ท่องนิพพานเป็นอารมณ์) สี่ข้อหลังนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพิ่มเข้าไป ฯลฯ ผลที่จะได้รับจากการทำสมถะหรือสมาธิคือ ได้บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ผลสุดท้ายได้อัปปนาฌาณ คือการที่จิตนิ่งมากที่สุดจนหยุดลมหายใจได้ ตัวแข็งทื่อเหมือนคนตาย แต่ไม่ตาย เป็นสุขอย่างยิ่งจากการหลบทุกข์ไปได้เป็นพักๆ นาน มากน้อยแล้วแต่กำลังของสมาธิของแต่ละคน วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาใหม่ที่ค้นพบโดยพระพุทธเจ้า เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการเจริญปัญญา สติ สมาธิควบคู่กันไป โดยเอาปัญญานำหน้า มีสติและสมาธิเป็นกองหนุน วิธีเจริญก็คือ เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาเข้าไปใน รูป - นาม กาย - ใจ ที่ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ในที่สุดจะได้พบความจริงทีเกิดขึ้นภายในกาย - ใจ ว่า มีแต่ อนิจจัง เปลี่ยนแปลง ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่แก่นสาร ตัวตน ในที่้สุดจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายจางละวางความเห็นผิดว่าขันธ์ทั้ง 5 หรือรูป - นาม กาย - ใจ นี้เป็นอัตตา ตัวตน เกิดความเห็นถูกต้องว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็นอนัตตา จิตก็จะหลุดพ้น เข้าถึงนิพพาน ดังนี้ ยาวไปหน่อยไหมครับ แต่ยังไม่อาจละเอียดพอเพราะจะยาวเกินไป สนใจก็ถามต่อเป็นส่วนๆนะครับ ยาวจริงๆ ค่ะ... แต่ไม่เป็นไร กำลังอ่านแล้วก็ทำความเข้าใจค่ะ เป็นความรู้ใหม่.... ขอบคุณมากๆๆ ค่ะ |
เจ้าของ: | อินทรีย์5 [ 27 พ.ค. 2009, 12:28 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
อ้างคำพูด: วิธีเจริญก็คือ เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาเข้าไปใน รูป - นาม กาย - ใจ ที่ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ในที่สุดจะได้พบความจริงทีเกิดขึ้นภายในกาย - ใจ ว่า มีแต่ อนิจจัง เปลี่ยนแปลง ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ตรงที่อ้างถึงเป็นสิ่งที่ จขกท.กำลังทำอยู่ แต่ยังเป็นเพียงขณิกะสมาธิ ต้องทำไปจนถึงขั้นอุปจารสมาธิ หรือ ไปจนถึงอัปปนาสมาธิแล้วถอนจิตกลับมามาพอให้รู้สึกตัวบ้างในอุปจารสมาธิ(ซึ่งนี่คือฐานใหญ่ของสมาธิที่ใช้ประหัตประหารกิเลสทั้งหลายให้เบาบางลงไป ) จึงจะถือได้ว่าจิตมีการพัฒนาไปได้มาก ซึ่งที่พูดมาก็ยังอยู่ในสมถะ พุทโธ ยุบหนอ-พองหนอ สัมมา-อะระหัง ก็ยังจัดอยู่ในสมถะ เมื่อเดินต่อ เดินข้ามไปยังวิปัสสนาก็ต้องใช้ราวเกาะ ราวที่ว่าก้คือ "สมถะ" เมื่อข้ามไปได้เราถึงค่อยปล่อยราวที่ว่านั้นออก |
เจ้าของ: | PloYSaii [ 28 พ.ค. 2009, 01:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
ก็ยังงงๆอยู่อ่าค่ะ คือ แบบ อยากได้ข้อต่างเด่นอ่ะ คือ อโศกะ เขียน: :b8: วิปัสสนากรรมฐาน กับ นั่งสมาธิ พูดอีกอย่างก็ได้ว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนา กับการทำสมถะภาวนา ต่างกันอย่างไร สมถะภาวนาหรือการทำสมาธิ เป็นวิชาโบราณมีมาคู่กับโลกนี้ เป็นวิชาของเหล่าชาวพราหมณ์ ฮินดู ฤาษี ชีไพร ต่างๆ หรือผู้คนในศาสนาอื่นๆ หลักการสำคัญคือทำใจให้นิ่ง ด้วยการเอาจิตไปผูกยึดไว้กับอารมณ์กรรมฐานต่างๆ ซึ่งที่นิยมมาแต่โบราณมีอยู่ 40 อย่าง เป็นอรูปกรรมฐาน 4 อย่าง เช่นการเพ่งอากาศ เพ่งความว่าง เป็นรูปกรรมฐาน 36 อย่าง เช่นการเพ่งกสิณ 10 อย่าง โดยเพ่งดิน เพ่งน้ำ ลม ไฟ เป็นอารมณ์ การเพ่งซากศพ 10 อย่าง การท่องชื่อเทวดาหรือพระเจ้า การทำพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ วูปสมานุสติ(ท่องนิพพานเป็นอารมณ์) สี่ข้อหลังนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพิ่มเข้าไป ฯลฯ ผลที่จะได้รับจากการทำสมถะหรือสมาธิคือ ได้บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ผลสุดท้ายได้อัปปนาฌาณ คือการที่จิตนิ่งมากที่สุดจนหยุดลมหายใจได้ ตัวแข็งทื่อเหมือนคนตาย แต่ไม่ตาย เป็นสุขอย่างยิ่งจากการหลบทุกข์ไปได้เป็นพักๆ นาน มากน้อยแล้วแต่กำลังของสมาธิของแต่ละคน วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาใหม่ที่ค้นพบโดยพระพุทธเจ้า เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการเจริญปัญญา สติ สมาธิควบคู่กันไป โดยเอาปัญญานำหน้า มีสติและสมาธิเป็นกองหนุน วิธีเจริญก็คือ เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาเข้าไปใน รูป - นาม กาย - ใจ ที่ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ในที่สุดจะได้พบความจริงทีเกิดขึ้นภายในกาย - ใจ ว่า มีแต่ อนิจจัง เปลี่ยนแปลง ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่แก่นสาร ตัวตน ในที่้สุดจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายจางละวางความเห็นผิดว่าขันธ์ทั้ง 5 หรือรูป - นาม กาย - ใจ นี้เป็นอัตตา ตัวตน เกิดความเห็นถูกต้องว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็นอนัตตา จิตก็จะหลุดพ้น เข้าถึงนิพพาน ดังนี้ ยาวไปหน่อยไหมครับ แต่ยังไม่อาจละเอียดพอเพราะจะยาวเกินไป สนใจก็ถามต่อเป็นส่วนๆนะครับ อันนี้มันยาวอ่าค่ะอ่านแล้วงง เข้าใจที่ต่างก็คือ สมาธิมาจากพราหมณ์ ฮินดู และอื่นๆ แต่วิปัสสนาภาวนา ได้มาจากพระพุทธเจ้า เหอะๆ อยากเข้าใจวิธีปฏิบัติที่แตกต่างอ่าค่ะ เตี่ยบอกว่าวิปัสสนากรรมฐาน คือเคร่งกว่านั้น ปฏิบัติแล้วก็ปลีกตัวแบบว่าไม่พูดไม่คุยกันเลย ก็ยังงงๆอยู่ค่ะ เหอะๆ ใครก็ได้ช่วยอธิบายให้เข้าใจกว่านี้ทีนะคะ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 28 พ.ค. 2009, 07:12 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ | ||
อ้างคำพูด: เหอะๆ คุณ PloYSaii หัวเราะหรืออะไรครับน่า เหอะๆ
|
เจ้าของ: | อินทรีย์5 [ 28 พ.ค. 2009, 13:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
จขกท. เขียน: อ้างคำพูด: อโศกะ เขียน: เตี่ยบอกว่าวิปัสสนากรรมฐาน คือเคร่งกว่านั้น ปฏิบัติแล้วก็ปลีกตัวแบบว่าไม่พูดไม่คุยกันเลย ก็ยังงงๆอยู่ค่ะ เหอะๆ ใครก็ได้ช่วยอธิบายให้เข้าใจกว่านี้ทีนะคะวิปัสสนากรรมฐาน กับ นั่งสมาธิ พูดอีกอย่างก็ได้ว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนา กับการทำสมถะภาวนา ต่างกันอย่างไร สมถะภาวนาหรือการทำสมาธิ เป็นวิชาโบราณมีมาคู่กับโลกนี้ เป็นวิชาของเหล่าชาวพราหมณ์ ฮินดู ฤาษี ชีไพร ต่างๆ หรือผู้คนในศาสนาอื่นๆ หลักการสำคัญคือทำใจให้นิ่ง ด้วยการเอาจิตไปผูกยึดไว้กับอารมณ์กรรมฐานต่างๆ ซึ่งที่นิยมมาแต่โบราณมีอยู่ 40 อย่าง เป็นอรูปกรรมฐาน 4 อย่าง เช่นการเพ่งอากาศ เพ่งความว่าง เป็นรูปกรรมฐาน 36 อย่าง เช่นการเพ่งกสิณ 10 อย่าง โดยเพ่งดิน เพ่งน้ำ ลม ไฟ เป็นอารมณ์ การเพ่งซากศพ 10 อย่าง การท่องชื่อเทวดาหรือพระเจ้า การทำพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ วูปสมานุสติ(ท่องนิพพานเป็นอารมณ์) สี่ข้อหลังนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพิ่มเข้าไป ฯลฯ ผลที่จะได้รับจากการทำสมถะหรือสมาธิคือ (1)ได้บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ผลสุดท้ายได้อัปปนาฌาณ คือการที่จิตนิ่งมากที่สุดจนหยุดลมหายใจได้ ตัวแข็งทื่อเหมือนคนตาย แต่ไม่ตาย เป็นสุขอย่างยิ่งจากการหลบทุกข์ไปได้เป็นพักๆ นาน มากน้อยแล้วแต่กำลังของสมาธิของแต่ละคน วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาใหม่ที่ค้นพบโดยพระพุทธเจ้า เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการเจริญปัญญา สติ สมาธิควบคู่กันไป โดยเอาปัญญานำหน้า (2)มีสติและสมาธิเป็นกองหนุน วิธีเจริญก็คือ เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาเข้าไปใน รูป - นาม กาย - ใจ ที่ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ในที่สุดจะได้พบความจริงทีเกิดขึ้นภายในกาย - ใจ ว่า มีแต่ อนิจจัง เปลี่ยนแปลง ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่แก่นสาร ตัวตน ในที่้สุดจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายจางละวางความเห็นผิดว่าขันธ์ทั้ง 5 หรือรูป - นาม กาย - ใจ นี้เป็นอัตตา ตัวตน เกิดความเห็นถูกต้องว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็นอนัตตา จิตก็จะหลุดพ้น เข้าถึงนิพพาน ดังนี้ ยาวไปหน่อยไหมครับ แต่ยังไม่อาจละเอียดพอเพราะจะยาวเกินไป สนใจก็ถามต่อเป็นส่วนๆนะครับ อันนี้มันยาวอ่าค่ะอ่านแล้วงง เข้าใจที่ต่างก็คือ สมาธิมาจากพราหมณ์ ฮินดู และอื่นๆ แต่วิปัสสนาภาวนา ได้มาจากพระพุทธเจ้า เหอะๆ อยากเข้าใจวิธีปฏิบัติที่แตกต่างอ่าค่ะ ก็ยังงงๆอยู่อ่าค่ะ ที่ขีดเส้นใต้ข้อ1 คือสมถะกรรมฐาน (อาจมีสติหรือไม่มีสติกำกับอยู่ก้ได้เน้นจิตสงบนิ่งเป็นที่ตั้ง) ที่ขีดเส้นใต้ข้อ2 คือวิปัสสนากรรมฐาน (ต้องมีสติกำกับตลอดเวลาเน้นการดูรุปนามขันธ์5 เป็นอารมณ์และนิยมทำได้ใน 4 อริยาบถใหญ่คือ นั่ง นอน ยืน เดิน ถึงจะได้ผล) คงน่าจะหายงงนะ????? |
เจ้าของ: | อโศกะ [ 29 พ.ค. 2009, 08:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
เตี่ยบอกว่าวิปัสสนากรรมฐาน คือเคร่งกว่านั้น ปฏิบัติแล้วก็ปลีกตัวแบบว่าไม่พูดไม่คุยกันเลย ก็ยังงงๆอยู่ค่ะ เหอะๆ ใครก็ได้ช่วยอธิบายให้เข้าใจกว่านี้ทีนะคะ อ้างอิงคุณ PloYSaii วิปัสสนากรรมฐานคือเคร่งกว่า นั้น คงจะเป็นการเข้าใจผิด หรือได้รู้มาอย่างไม่ถูกต้องดีนัก วิปัสสนาภาวนานั้น จริงๆแล้วเป็นการทำบุญกุศล เป็นการทำภาวนาที่ง่ายที่สุด ไม่หนีโลก ไม่หลบทุกข์ ไม่หลบปัญหา ไม่หนีเสียงหรือสิ่งรบกวนทั้งหลาย อย่างการทำสมถะภาวนา ไม่ทำอย่างพวกฤาษ๊ ชีไพร วิปัสสนาภาวนาที่ถูกต้อง ต้องเข้าไปเผชิญหน้ากับความทุกข์ หรือทุกขสัจจะ อันเป็นอริยสัจจข้อที่ 1 ในอริยสัจจ 4 พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ชัดเจนในว้นปฐมเทศนา ว่า "ทุกข์ควรกำหนดรู้ เราก็กำหนดรู้ และเราได้กำหนดรู้แล้ว" ทำไมวิปัสสนาภาวนาต้องไปกำหนดรู้ทุกข์ ก็เพราะจะได้อาศัยทุกข์ที่ปรากฏนั้นเป็นเหตุ เป็นเงื่อนไขที่จะสาว สืบค้นเข้าไปหา เหตุทุกข์ หรือสมุทัยสัจจะ เมื่อพบเหตุทุกข์ที่แท้จริงแล้ว จะได้ถอนเหตุทุข์นั้นออกเสีย ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า "สมุทัย ควรละ เราได้เพียรละ และเราก็ละได้แล้ว" สิ่งที่มาค้นหาเหตุทุกข์ คือ มรรคสัจจะ ซึ่งพระบิดาสอนว่า มรรค ควรเจริญ การเจริญมรรคคือการเจริญทั้งสติและปัญญา ควบคู่กันไปโดยไปร่วมกันค้นหา สติทำหน้าที่รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ปัญญาสัมมาทิฐิ ทำหน้าที่ ดู เห็น ปัญญาสัมมาสังกัปปะ ทำหน้าที่สืบค้น โดยการสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์นั้น ในที่สุดปัญญาก็จะได้พบความจริง ว่าทุกข์อารมณ์ที่เกิดขึ้น ทนอยู่ไม่ได้ เป็นทุกขัง จึงต้องเปลี่ยนแปลงไป เป็นอนิจจัง แต่ทั้งอนิจจังและทุกขังเมื่อพิจารณาลงไปแล้ว ล้วนแต่เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน ที่สำคัญที่สุด ในกระบวนการเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาธรรมชาติของ กาย และ จิต (Observation) อยู่นั้น ปัญญาจะได้พบเห็นสมุทัยตัวจริง คือได้พบกับอุปาทาน ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู โผล่ขึ้นมา สร้างความวุ่นวายแทบจะทุกครั้งไปที่มีการกระทบสัมผัสของอายตนะทั้ง 6 คือ อัตตา กู จะโผล่ขึ้นมา ยินดี ยินร้าย หรือ เฉยๆ ต่อการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป เมื่อเวทนาทั้ง 3 เกิดขึ้น ตัณหา อันเป็นต้นเหตุแห่งกรรมที่จะทำให้เป็นทุกข์จึงเกิดอยู่มิรู้หยุดหย่อนเป็นลูกโซ่อยู่ตลอดวันและตลอดไป หากไม่พบคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็จะต้องโง่ งม เง่า หลงเห็นผิดเป็นทาสความเป็นกูเป็นเราอยู่ตลอดไป หากฮึดสู้ เอาอัตตา ตัวกูออกได้ ก็จะพบชีวิตวิไล พ้นไปจากห่วงโซ่ เกิด - ตาย ดังนี้ วิปัสสนาภาวนาที่ถูกต้องนั้นสามารถทำหรือปฏิบัติได้ทุกวัน เวลา นาฑี วินาฑี ในชีวิตประจำวัน เมื่อระลึกได้และมีโอกาส เพราะวิปัสสนาภาวนา เป็นหน้าที่ของชาวพุทธ การปฏิบัติธรรมหรือการเจริญวิปัสสนาภาวนา คือการทำหน้าที่ ๆ ๆ ทำหน้าที่ของชาวพุทธเป็น แล้วขยันทำทุกวัน ในชีวิตประจำวัน ผล ไม่ต้องไปถามหา ถึงเวลาเมื่อเหตุ มันเพียงพอครบสมบูรณ์ดีแล้ว ผล หรือ มรรค ผล นิพพาน ที่เขาว่านั้นนะ มันจะเกิดขึ้นมาเองโดยธรรมไม่ต้องสงสัย สำคัญว่าขณะนี้ ข้าพเจ้ารู้จักหน้าที่ของชาวพุทธ และได้ทำหน้าที่ของชาวพุทธ เป็นหรือยัง :b11: ทำท่าจะยาวอีกแล้ว ค่อยคุยกันต่อตอนใหม่ภายหลังนะครับ สาธุ |
เจ้าของ: | อโศกะ [ 29 พ.ค. 2009, 22:37 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
แล้วจริงไหมคะที่บางคน นั่งสมาธิแล้วเห็นภาพต่างๆ ที่น่ากลัว พอได้ทราบอย่างนี้ ทำให้ไม่กล้าค่ะ...กลัวเห็นภาพต่างๆ เหล่านั้นค่ะ จริงอย่างยิ่งเลยครับ เพราะการนั่งสมาธิ หรือการเจริญสมาธิ นั้นเป็นเหตุให้เกิดนิมิต ถ้าอยากจะเจริญไปในทางแห่งสมาธิจนเกิดเป็นฌาณต่างๆ ก็จงอย่าได้กลัวนิมิต ต้องเอานิมิตดี มาชนะนิมิตที่ไม่ดี เช่นเอานิมิตรูปพระพุทธเจ้ามาเป็นกรรมฐานมายึดไว้ในจิตให้แน่น เอาคำบริกรรมเช่น พุทโธ หนอ หรือสัมมาอรหังมาท่องบ่นถี่ๆ ตามลมหายใจเข้าออก เมื่อสมาธิดี จิตมีกำลังมากขึ้น อยู่กับองค์กรรมฐานได้ดีขึ้นแล้วนิมิตไม่ดีทั้งหลายก็จะพ่ายแพ้ไป แต่ เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ตั้งใจจะเป็นพุทธสาวก คือเดินตามรอยเท้ารอยบาทของพระพุทธเจ้า เราควรจะสนใจมาเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือเจริญมรรค 8 อันเป็นทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เดิน เพราะเป็นทางอันประเสริฐที่จะพาเราพ้นจากความเห็นผิด(อวิชชา) เพิ่มพูนความเห็นถูกต้อง(วิชชา) ให้มากขึ้นทุกวัน เวลา นาฑี วินาฑี จนที่สุดผลการทำความดีซึ่งเรียกว่า"โลกุตรกุศล"นี้ จะส่งผลให้จิตวิญญาณดวงนี้ได้รับการปลดปล่อยสู่เสริภาพที่แท้จริง คือพระนิพพาน เมื่อเหตุที่ทำเพียงพอแล้ว วิปัสสนาภาวนาคืออะไร จะปฏิบัติอย่างไร นั่นคือสิ่งที่เราจะต้องขวันขวาย ค้นคว้า หาให้เจอ รู้ให้จริง จนลงมือปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง คำตอบที่สมบูรณ์ก็มีแล้วในลานธรรมจักรนี้ หาดูดีๆนะครับ ขอให้พบความสำเร็จโดยเร็วพลัน ทันในปัจจุบัุนชาตินี้เถิด สาธุ โฉลกธรรม เพราะไม่รู้ จึงอยู่เช่น วัวควาย กิน ขี้ สี่ นอน ไป เท่านี้ โกรธ โลภ หลง เต็มกาย ทั่วถ้วน วนว่ายวัฏฏ์สุดลี้ ตราบชั่ว กัปกัลป์ จนกุศลส่งได้ ส่งได้ เป็นคน พบพุทธธรรมช่วยดล จิตให้ พลิกรู้สัจจ์ในตน จบแจ้ง จึ่งจักอาจพ้นได้ ข่ายทุกข์ สงสาร จงดูอริยสัจจ ๔ พิจรณ์ให้ดีอย่าข้าม เพียรสอบถามผู้รู้ ทางออกสู่เสรี มีอยู่แล้วในตน อย่าวกวนบัญญัติ อย่าผูกมัดสิ่งใด จงเป็นไทยทุกเมื่อ เชื่อคำพระชินวร คำสอนท่านสุดง่าย เฝ้ารู้กายและจิต อย่างพินิจ พิจารณา ณ เพลาปัจจุ จักรู้ลุทั่วตัว ความเมามัวจักหาย หลักใหญ่คืออัตตา อย่าให้มาเข้าร่วม ทิ้งความเห็นเป็นตน กมลมั่นกับธรรม ที่เกิดตามยถา ซึ่งบัญชาไม่ได้ ไร้ศัพท์ใดบัญญัติ จึ่งจักอาจเห็นจริง ตัดทิ้งซึ่งตัวข้า โคนเหง้าแห่งอวิชชา ขาดสิ้น สู่มรรค ผล นิพพาน |
เจ้าของ: | PloYSaii [ 29 พ.ค. 2009, 23:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
ขอบคุณมากๆค่ะ เข้าใจมากๆขึ้นมากเลย ส่วนคำว่าเหอะๆ เป็นการหัวเราะโดยส่วนตัวอ่าค่ะ^^" |
เจ้าของ: | อโศกะ [ 08 มิ.ย. 2009, 03:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
สวัสดีครับคุณ ploYSai กำลังนั้งสมาธิ (ทำจิตให้นิ่งด้วยกรรมฐานต่างๆ) หรือเจริญปัญญาวิปัสสนาอยู่ครับ 1 วัน 24 ชั่วโมง ถ้าเรากู้อิสรภาพคืนมาได้จาก กิเลส ตัณหา อัตตา ได้สักวันละ 1 - 2 ชั่วโมง มาเจริญวิปัสสนาภาวนา นั่นคือการที่เราได้มาทำหน้าที่ที่แท้จริงของเรา คือหน้าที่ของชาวพุทธ หน้าที่ของชาวพุทธ คือเจริญวิปัสสนาภาวนาให้ได้ในชีวิตประจำวัน เวลาที่เหมาะคือเวลาที่โลกหลับแล้วเราตื่น คือประมาณ 4 ทุ่มจนถึงตี 4 หรือ ตี 5 ครับ |
เจ้าของ: | koi [ 08 มิ.ย. 2009, 13:29 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
ดิฉันก็แยกไม่ค่อยออกเหมือนกันว่าแตกต่างกันอย่างไร แต่ก็นั่งเป็นประจำ และอยากแนะนำให้เจ้าของกระทู้นั่งสมาธิต่อไป สมาธิเป็นสิ่งที่ดีมากๆ อยากให้ฝึกบ่อยๆ ดีอย่างไรนั้นไม่ขออธิบายเป็นคำพูด เอาเป็นว่าสักวันคุณจะทราบเองค่ะถ้าคุณนั่งบ่อย ขอเพิ่มอีกนิดนะค่ะ สมาธิที่ดีต้องไม่เห็นอะไร หรือถ้าเห็นภาพนิมิตร อะไรก็อย่าไปสนใจค่ะ นั่งไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคำนึงพะวงถึงอะไรทั้งนั้น เช่นว่า จะไปถึงขั้นไหน หรือจะต้องเกิดอะไรขึ้นต่อไป ดิฉันศึกษาและเรียนสมาธิมากับหลวงพ่อ และหลวงพี่หลายองค์ท่านก็ให้คำแนะนำมาเช่นนี้ค่ะ แต่อยากให้อดทนฝึกต่อไปค่ะ สักวันคุณจะทราบเองว่า สมาธิทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นค่ะ |
เจ้าของ: | มิตรตัวน้อย [ 08 มิ.ย. 2009, 14:52 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
กรรมฐานแบ่งเป็น ๒ - สมถะกรรมฐาน คือ การฝึกสติ ฝึกสมาธิ - วิปัสสนากรรมฐาน คือ การฝึกปัญญา ฝึกความคิด สมาธิ = การฝึกสติ เพื่อควบคุมจิตให้สงบ ไม่คิด ไม่นึก ให้เป็นเอกัคคตา เป็นอุเบกขา วิปัสสนา = การฝึกปัญญา การคิดนึก การพิจารณา เช่น ยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาคิด มาพิจารณา โดยอาศัยกำลังของสติที่ฝึกดีแล้ว เป็นเครื่องหนุน เป็นกำลังเสริม ให้การใช้ปัญญา ใช้ความคิดนั้น ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างชำนาญและว่องไว เปรียบได้กับผู้มีกำลังกายอันแข็งแรง(สมาธิ) ถือดาบอันคมกริบ(ปัญญา) ฟันอะไรก็ขาด ทำอะไรก็ว่องไว ปราดเปรียว เจริญธรรม |
เจ้าของ: | อโศกะ [ 11 มิ.ย. 2009, 08:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
กรรมฐานแบ่งเป็น ๒ - สมถะกรรมฐาน คือ การฝึกสติ ฝึกสมาธิ - วิปัสสนากรรมฐาน คือ การฝึกปัญญา ฝึกความคิด :b19: อนุโมทนากับคุณมิตรตัวน้อย อย่างยิ่ง กับความเห็นสั้นๆแต่เปี่ยมความหมายนี้ สาธุ ๆ ๆ |
เจ้าของ: | อโศกะ [ 19 ส.ค. 2009, 23:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
สวัสดีครับ รู้สึกว่าจะชอบนั่งสมาธิกันมาก จนไม่ยอมเดินตามพระพุทธเจ้า คือ นั่งเจริญวิปัสนาภาวนา วันนี้นำมิเตอร์วัดระดับสมาธิหรือความนิ่งของจิต มาแจกทุกๆท่านไปลอง วัดผล ประเมินผล การฝึกสมาธิที่ท่านทำมาตั้งนาน สมาธิระดับที่ 1 เครื่องชี้วัด รู้ลมหายใจชัด ประโยชน์ สติ ปัญญา เริ่มทำงานได้ดี สมาธิระดับที่ 2 เครื่องชี้วัด รู้สึกหัวใจเต้น ชัดขึ้นมา ประโยชน์ นาม - รูป เริ่มแยกจากกัน ปัญญาวิปัสสนาเริ่มเดินได้ สติจะรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ได้ดี ปัญญาสัมมาทิฐิ จะเห็น ดู รู้สึก รู้ ปัญญาสัมมาสังกัปปะ จะสังเกต พิจารณา รูป - นาม ได้ดี สมาธิระดับที่ 3 เครื่องชี้วัด รู้สึกชีพจรชัด ประโยชน์ สติ ปัญญา มีความคม ชัด ละเอียด ลึกซึ้ง สามารถเห็นธรรมตามความเป็นจริง เห็น(รู้สึก)เวทนา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อัตตา ชัดเจน สมาธิระดับที่ 4 เครื่องชี้วัด รู้สึกความสั่นสะเทือนในร่างกาย (Vibration) ชัด ประโยชน์ สติปัญญามีความคมกล้ามาก เห็ันธรรมทั้งหยาบและละเอียดชัดมาก จนไม่มีอะไรจะรอดสายตาของสติ ปัญญา ไปได้ สมาธิระดับที่ 5 สังขารุเปกขาญาน เครื่องชี้วัด จิตนิ่งโดยสมบูรณ์ หยุดนึก คิด ปรุงแต่ง โดยสิ้นเชิง ใครเข้ามาถึงตรงนี้ทรงสภาวะได้นาน หลังจากออกจากสภาวะนี้แล้ว สติ ปัญญาจะมีความคมเฉียบแหลม ละเอียด สูงสุด จนสามารถเห็นอุปาทาน อัตตา ประหาณอัตตา (สักกายทิฐิ) เข้าถึงอนัตตาได้จริงๆด้วยใจ ไม่ใช่คิดเอา ลองเอาไปทดสอบกันดูนะครับ ผู้ที่ชำนาญ หรือ มีบุญบารมีมาก โมหะอวิชชาน้อย จะสามารถสัมผัสสภาวะธรรมชาติทั้ง 5 ระดับได้ ภายในเวลาไม่เกิน 1 - 3 นาที ใตรทำได้อย่างนี้ ชาตินี้บรรลุธรรมแน่ถ้าได้พบกัลยาณมิตร หวังว่าคงชอบของฝากชิ้นนี้นะครับ พิสูจน์เลยนะครับ ท้าพิสูจน์ด้วย |
เจ้าของ: | อโศกะ [ 16 ก.ย. 2009, 01:38 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ | ||
กระทู้นี้ดี ต้องขออนุญาตยกกลับมาไว้หน้า 1 ใหม่นะครับ วิธีเจริญวิปัสสนาภาวนาก็คือ เอา สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาเข้าไปใน รูป - นาม กาย - ใจ ที่ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ในที่สุดจะได้พบความจริงทีเกิดขึ้นภายในกาย - ใจ ว่า มีแต่ อนิจจัง เปลี่ยนแปลง ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้
|
เจ้าของ: | อินทรีย์5 [ 16 ก.ย. 2009, 19:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสนากรรมฐานกับนั่งสมาธิต่างกันอย่างไรคะ |
การฝึกสมาธิในทางพระพุทธศาสนานั้น ถือว่า -จิตสงบเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดแสงสว่างให้แก่โลก -เป็นบ่อเกิดพลังอันยิ่งใหญ่แก่ชีวิต -เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาของมวลมนุษยชาติทั้งโลก -และเป็นความสุขที่มีค่าสูงสุดแก่ผู้ปฏิบัติ |
หน้า 2 จากทั้งหมด 19 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |