

อาณาจักรอ้ายลาว..ความเจริญรุ่งเรือง..ในช่วงปี พ.ศ. 400-1200
หลังจากอาณาจักรไทเมือง..ของชนเผ่าไท (Tai)..ล่มสลายไป ชนเผ่าไท (Tai)..ก็มีความเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง..ในยุคของอาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งอยู่บริเวณต้นน้ำ..แยงซีเกียง..บริเวณมลฑลเสฉวน..ในปัจจุบัน
อาณาจักรอ้ายลาว..เจริญเติบโตขึ้นมา..พร้อมกับการนับถือศาสนาพุทธ ในปี พ.ศ. 449 ก็มีพระไตรปิฏก..และรู้จักการนับปีศักราชเป็นของตนเอง
นั่นหมายความว่า..ชนเผ่าไทและลาวนั้น..พัฒนาอาณาจักรขึ้นมา โดยมีความรู้..มีวัฒนธรรมประเพณี..ตามหลักศาสนาพุทธมาโดยตลอด ซึ่งชนเผ่าลาวนั้น..มีชื่อเรียกขานอีกชื่อว่า..เป็นชนชาวไทน้อย..นั่นเอง
หลังจากอาณาจักรอ้ายลาว..ล่มสลายลง..ในปี พ.ศ. 1200 ชนเผ่าไท (Tai)..ก็เริ่มอพยพลงมาทางใต้..โดยแยกออกเป็นหลายกลุ่ม
ในช่วงของการอพยพนี่เอง..จึงเกิดการสร้างเมืองใหม่ ๆ ตามลุ่มแม่น้ำสายต่าง ๆ เมืองใหม่ที่เกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขง..จึงกลายเป็นจุดกำเหนิดของ..อารยะธรรมแห่งลุ่มน้ำโขง
อาณาจักรอ้ายลาว..ต้นกำเหนิด..แห่งอารยะธรรมลุ่มน้ำโขง

เชียงรุ้ง, เชียงตุง, เชียงแสน, เชียงทอง (หลวงพระบาง)
วัฒนธรรมการตั้งชื่อเมืองหลวงเหล่านี้..เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1182 และเริ่มนับปีจุลศักราชใหม่..เพื่อแสดงถึง..การเริ่มต้นอาณาจักรแห่งใหม่..บนลุ่มน้ำโขง ซึ่งได้มาจากการนับถือศาสนาพุทธ..เมื่อครั้งที่ยังเป็น..อาณาจักรอ้ายลาว..นั่นเอง
เชียงรุ้ง..คือ..เมืองหลวงของชนชาวไท..สิบสองพันนา
เชียงตุง..คือ..เมืองหลวงของชนชาวไทใหญ่..รัฐฉานพม่า
เชียงแสน..เมืองหลวงของชนชาวไท..อาณาจักรล้านนา
เชียงทอง (หลวงพระบาง)..เมืองหลวงของชนชาวไท..อาณาจักรล้านช้าง
และที่สำคัญก็คือ..ยังมีเมืองอื่น ๆ..บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เช่น เชียงราย..เชียงใหม่..เชียงม่วน..เชียงคำ..เชียงคาน..เชียงยืน เป็นต้น
ชื่อของเมืองเหล่านี้..น่าจะบอกได้ถึง..ความสัมพันธ์วัฒนธรรมทางความคิด และการมีรากเหง้า..ที่เป็นชนเผ่าเดียวกัน..ผูกพันกันมา..เป็นระยะเวลายาวนาน และอาจทำให้เรามองเห็นภาพ..ความงดงามของอารยะธรรม..แห่งลุ่มแม่น้ำโขงได้ดี
วัฒนธรรมการตั้งชื่อเมือง..อารยะธรรมที่งดงาม..แห่งลุ่มน้ำโขง
|