ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
อยู่อย่างไรให้ปลอดโรคยามสูงวัย http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=35297 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลูกโป่ง [ 27 ต.ค. 2010, 12:03 ] |
หัวข้อกระทู้: | อยู่อย่างไรให้ปลอดโรคยามสูงวัย |
![]() อยู่อย่างไรให้ปลอดโรคยามสูงวัย เมื่ออายุมากขึ้นโรคภัยต่างๆ ยิ่งมากตามไปด้วย ทั้งจากความเสื่อมตามสภาพของร่างกาย ตามกาลเวลา และจากพฤติกรรมอันก่อให้เกิดโรค ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นผู้สูงวัยที่มากด้วยโรคภัยแล้วล่ะก็ คุณควรจะดูแลสุขภาพตัวเองเสียแต่เนิ่นๆ เพราะการจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงคงไม่สามารถสร้างได้ภายในวันเดียว พื้นฐานการมีสุขภาพดียามสูงวัย เริ่มได้ตั้งแต่ยังหนุ่มสาว การจะมีสุขภาพดีเมื่อยามสูงวัยต้องเริ่มตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ตามหลัก 3 อ. คือ ![]() ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ต้องนั่งโต๊ะทำงานเกือบตลอดทั้งวันและยังมีอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ คอยช่วยอำนวยความสะดวกให้มากมาย ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวน้อยลง ดังนั้นเราจึงต้องเพิ่มการขยับและการเคลื่อนไหวของร่างกายให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง โดยอาจเลือกการออกกำลังกายง่ายๆ ที่ทำให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยสักนิดหนึ่ง เช่น การว่ายน้ำ การเดินเร็ว แค่เพียงวันละประมาณครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว ![]() การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายมีความสดใส แข็งแรงได้ในยามสูงวัย ควรเน้นการกินอาหารให้ครบหมวดหมู่ โดยในแต่ละหมวดหมู่ควรมีลักษณะดังนี้ © คาร์โบไฮเดรต ควรเลือกกินในกลุ่มที่เป็นข้าว แป้ง และน้ำตาลเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต แป้งไม่ขัดขาว © โปรตีน เลือกกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันอิ่มตัว หรือที่เรียกว่าโคเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) ต่ำๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดหนัง เนื้อหมูไม่ติดมัน © ไขมัน ควรกินแต่น้อย นอกจากนี้ยังควรระวังไขมันแฝง ที่มักจะปนมากับอาหารชนิดต่างๆ เช่น ของทอด อาหารจานผัด น้ำซุปหรือน้ำแกงต่างๆ เป็นต้น © ผลไม้และผัก ผลไม้ควรเลือกกินชนิดที่ไม่หวานมาก หรือถ้าจะกินควรกินแต่น้อย ส่วนในกลุ่มของผักสามารถกินได้ในปริมาณไม่จำกัด แต่ควรกินผักให้ครบ 5 สี ได้แก่ - สีเขียว เช่น ตำลึง คะน้า บรอกโคลี - สีส้มและสีแดง เช่น แครอท พริกแดง มะเขือเทศ - สีเหลือง เช่น ฟักทอง พริกหยวกเหลือง ข้าวโพด - สีม่วง เช่น มะเขือม่วง กะหล่ำปลีม่วง - สีขาว เช่น ดอกแค หัวไช้เท้า หัวหอม เห็ด ![]() มีส่วนสำคัญกับสุขภาพเพราะการที่มีอารมณ์ดีอยู่เสมอ จะช่วยให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานดีขึ้น อีกทั้งอารมณ์หงุดหงิดและความเครียดยังเป็นปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆ อีกมาก เช่น โรคกระเพาะ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น แม้ในช่วงวัยหนุ่มสาวจะเป็นช่วงที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี แต่เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนก็อาจเริ่มมีโรคภัยต่างๆ เข้ามา โดยเฉพาะกลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็งบางชนิด โรคกระดูกพรุน เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยกลางคนจึงควรไปตรวจสุขภาพ เพราะในกลุ่มโรคเรื้อรังมักจะไม่ค่อยแสดงอาการ กว่าจะรู้ตัวก็อาจเป็นมากหรือรักษาได้ยากแล้ว เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุหากมีโรคเรื้อรังต่างๆ ที่ได้ตรวจพบแล้วในตอนต้น การดูแลอย่างต่อเนื่องและควบคุมโรคให้มีความใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด เป็นเรื่องที่สำคัญมาก นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรกินยา และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ด้วยการปฏิบัติตามหลักง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้คุณอยู่อย่างปลอดโรคได้ในยามสูงวัย ที่มา: เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง “อยู่อย่างไรให้ปลอดโรคยามสูงวัย” โดย พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์ Elderly Care © ผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนที่สำคัญๆ คือ วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ © สิ่งที่ควรระวังอีกเรื่องหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุคือ อุบัติเหตุ เพราะในวัยสูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้สูง เนื่องจากการเสื่อมสภาพของร่างกายที่เป็นไปตามวัย ไม่ว่าจะในเรื่องของสายตาหรือแม้กระทั่งการทรงตัวที่ทำให้มีโอกาสสะดุดหกล้มได้ง่าย นอกจากนี้ยังควรระวังการเกิดอุบัติเหตุจากไฟ สารเคมี และการใช้ยาอีกด้วย ผู้สูงอายุบางรายมักจะหลงลืมหรือจำไม่ได้ว่ากินยาไปแล้วหรือยัง จึงกินยาซ้ำใหม่อีกครั้ง ซึ่งยาบางชนิด อาจก่อให้เกิดอันตรายหากได้รับในปริมาณที่มากเกินกำหนด © ผู้สูงอายุบางรายควรได้รับวิตามินเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่กินอาหารมังสวิรัติและกลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง และต้องกินยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ผู้ที่ต้องกินยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ เนื่องจากยาชนิดนี้มักเข้าไปทำให้ปริมาณวิตามินในร่างกายลดลง หรือยารักษาโรคหัวใจบางชนิดทำให้รู้สึกเบื่ออาหารและกินอาหารได้น้อยลง ดังนั้นก่อนตัดสินใจกินวิตามินหรืออาหารเสริมทางการแพทย์ชนิดใด ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง ที่มา.... http://www.healthtoday.net/thailand/eld ... r_112.html ภาพประกอบจาก... http://www.fotosearch.com/bthumb/UNC/UN ... 802630.jpg ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 19 มี.ค. 2011, 15:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยู่อย่างไรให้ปลอดโรคยามสูงวัย |
![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Supatorn [ 16 ส.ค. 2011, 07:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยู่อย่างไรให้ปลอดโรคยามสูงวัย |
ขอบพระคุณค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |