ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
“โคเลสเตอรอล” ภัยเงียบทำร้ายหัวใจ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=31199 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลูกโป่ง [ 29 เม.ย. 2010, 11:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | “โคเลสเตอรอล” ภัยเงียบทำร้ายหัวใจ |
![]() “โคเลสเตอรอล” ภัยเงียบทำร้ายหัวใจ โคเลสเตอรอลเป็นไขมันประเภทที่พบได้บ่อยที่สุดประเภทหนึ่งในร่างกายมนุษย์ แต่เป็นไขมันชนิดที่ไม่มีใครอยากมี เนื่องจากการมีระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดการพัฒนาของโรคหัวใจและหลอดเลือด โคเลสเตอรอลมาจากไหน โคเลสเตอรอลได้มาจาก 2 ทางด้วยกัน ทางแรกคือร่างกายสร้างขึ้นเองจากตับ ซึ่งตับจะควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในร่างกาย ด้วยการสร้างโคเลสเตอรอลที่ร่างกายต้องการ และรักษาระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด ด้วยการกำจัดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดีและนำโคเลสเตอรอลที่จำเป็นมาแทนที่ ทางที่ 2 ได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป แล้วมีการดูดซึมผ่านลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารประเภทจานด่วน หรือของขบเคี้ยวนั้นเป็นตัวการที่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดสูง ร่างกายของคนเราต้องการโคเลสเตอรอลจากอาหารวันหนึ่ง ๆ ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ระดับโคเลสเตอรอลทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย จะเริ่มสูงขึ้นเมื่ออายุประมาณ 20 ปี จึงไม่ค่อยพบว่าเด็กหรือพวกวัยรุ่น เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหรือโรคหัวใจ โคเลสเตอรอลมีกี่ชนิด โคเลสเตอรอลเป็นไขมันที่มีประโยชน์เป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีโคเลสเตอรอลมากเกินไป จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย อาจแบ่งโคเลสเตอรอล ได้ย่อย ๆ 2 ชนิด คือ 1. โคเลสเตอรอล ชนิดร้าย หรือ แอล-ดี-แอล (Low Density Lipoprotein Cholesterol, LDL-C) เป็นตัวที่มีบทบาทสำคัญในการสะสมในผนังของหลอดเลือดแดง ไขมันชนิดนี้ร่างกายสร้างขึ้นเองส่วนหนึ่ง และมาจากอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์ 2. โคเลสเตอรอล ชนิดดี หรือ เอช-ดี-แอล (High Density Lipoprotein Cholesterol, HDL-C) ไขมันชนิดนี้จะช่วยในการขนถ่ายโคเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ออกมาทำลาย จึงช่วยป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือด ดังนั้นหากยิ่งสูงจะยิ่งเป็นผลดี ไขมันนี้ร่างกายสร้างขึ้นเอง และจะสูงขึ้นในผู้ที่ออกกำลังแบบแอโรบิค อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่ง ที่มาจากอาหารร่วมกับร่างกายสร้างขึ้นที่ตับ ไตรกลีเซอไรด์เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย โดยอาหารพวกแป้งและน้ำตาล รวมทั้งโปรตีนที่เหลือใช้ จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และถูกเก็บสะสมไว้ที่ชั้นไขมัน เพื่อเป็นพลังงานสำรอง ไขมันชนิดนี้ปัจจุบันมีข้อมูลบ่งชี้ว่า เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีระดับ เอช-ดี-แอล ต่ำ ไขมันสูงเท่าไหร่ จึงเป็นอันตราย ความจริงแล้วตัวไขมันในเลือดที่สูงนั้นไม่ได้ทำให้เกิดอาการ อาการต่างๆ เป็นผลมาจากการตีบตันของหลอดเลือดแดง ซึ่งต้องอาศัยเวลาหลายปี การสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดแดงนี้ เริ่มพบตั้งแต่ในวัยรุ่นแล้ว จากข้อมูลการศึกษาต่างๆ พบว่า ระดับไขมัน โคเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด และจะมีอันตรายมากขึ้นหากไขมันโคเลสเตอรอลรวม มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จากข้อมูลต่างๆ จึงกำหนดค่าของไขมันในเลือดไว้ดังนี้ ![]() ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 200 มก.ต่อดล. เริ่มสูง คือ 200-239 มก.ต่อดล. สูงคือมากกว่า 240 มก.ต่อดล. ![]() ระดับที่เหมาะสม น้อยกว่า 130 มก.ต่อดล. เริ่มสูง คือ 130-160 มก.ต่อดล. สูงคือมากกว่า 160 มก.ต่อดล. สูงมาก คือ มากกว่า 190 มก.ต่อดล. ![]() ระดับที่เหมาะสม มากกว่า 40 มก.ต่อดล. สูง (เป็นผลดี) มากกว่า 60 มก.ต่อดล. ![]() ระดับเหมาะสม น้อยกว่า 150 มก.ต่อดล. เราจะป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้อย่างไร โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสื่อมตามอายุ จึงไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้100% แต่จากการศึกษาต่างๆ ล้วนยืนยันว่า การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลง สามารถช่วยชะลอการเกิดโรค และช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนทางหลอดเลือดลงได้ เช่น ![]() เช่น เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก หอยแครง หอยแมลงภู่ ไข่แดง เนย และให้รับประทานอาหารไขมันโคเลสเตอรอลต่ำแทน เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ขาว นมพร่องมันเนย ควรควบคุมโคเลสเตอรอลจากอาหารไม่ให้เกินวันละ 300 มก. ![]() เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยอาหารมากขึ้น จะช่วยลดการดูดซึมไขมันโดเลสเตอรอลที่จะเข้าสู่ร่างกายให้น้อยลง ![]() ![]() หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันควรใช้น้ำมันพืชจากถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอยแทน ![]() ครั้งละอย่างน้อย 15-20 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ![]() ![]() แต่หันมาดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแทน หากพบว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงและควบคุมอาหารไม่ได้ผล ควรรับการรักษาเพื่อลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งจะช่วยป้องกันผลแทรกซ้อนระยะยาวได้ ที่มา... http://www.nutrimaster.com/tip01.asp ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |